แนวทาง การแก้ไขปัญหา ภัย แล้ง ใน แอฟริกา

สหภาพแอฟริกา องค์การระหว่างประเทศในทวีปแอฟริกา จัดการประชุมสุดยอด โดยเน้นหารือเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง

สหภาพแอฟริกา องค์การระหว่างประเทศในทวีปแอฟริกา จัดการประชุมสุดยอด โดยเน้นหารือเรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้ง และการกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจภายในทวีปแอฟริกา

สหภาพแอฟริกาจัดการประชุมสุดยอดครั้งที่ 18 ที่สำนักงานใหญ่ของคณะกรรมาธิการสหภาพแอฟริก ในกรุงแอดดิส อะบาบา ประเทศเอธิโอเปีย โดยการประชุมในครั้งนี้เน้นการหารือเรื่อง ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วทวีปแอฟริกา เป็นหลัก 

เนื่องจากปัญหาภัยแล้งในปี 2554 ถือว่าเป็นครั้งที่ร้ายแรงที่สุดในรอบ 60 ปี และส่งผลให้ประชาชนกว่า 12 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นเด็กถึง 2 ล้านคน ต้องอพยพออกนอกภูมิลำเนา 

นอกจากประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกาแล้ว ยังมีตัวแทนจากองค์การระหว่างประเทศ และประเทศมหาอำนาจ เช่น จีน เข้าร่วมประชุม เพื่อรับทราบปัญหาและเสนอความช่วยเหลือให้แก่สมาชิกสหภาพแอฟริกา

โดยก่อนหน้านี้ ในการประชุมสุดยอดเมื่อเดือนสิงหาคม ปีที่แล้ว สหภาพแอฟริกาสามารถระดมเงินได้จำนวน 350 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 11,000 ล้านบาท เพื่อใช้ในการบรรเทาปัญหาภัยแล้งในภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกเฉียงเหนือ  

โดยได้รับความช่วยเหลือจากธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งแอฟริกา หรือเอดีบี เป็นจำนวน 300 ล้านดอลลาร์ ขณะที่อีก 50 ล้านดอลลาร์มาจากประเทศสมาชิกในสหภาพแอฟริกา

ขณะที่นางจูเลีย ดอลลี จอยเนอร์ ข้าหลวงใหญ่ด้านการเมือง กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งในที่ประเทศในแอฟริกากำลังประสบอยู่ในขณะนี้เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องได้รับการแก้ไขโดยด่วน และสหภาพแอฟริกาก็กำลังเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภัยแล้งที่สถานการณ์เริ่มย่ำแย่ลงเรื่อยๆ 

นอกจากนี้ นางจอยเนอร์ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของปี 2555 ที่ประเทศสมาชิกสหภาพแอฟริกาตกลงกันปฏิบัติตามค่านิยมร่วมกัน ในด้านสิทธิมนุษยชน การเลือกตั้ง ความโปร่งใสด้านการคลัง รวมทั้งการย้ายถิ่นอย่างเสรี เพื่อช่วยเร่งกระบวนการบูรณาการทางเศรษฐกิจภายในสหภาพแอฟริกา

ความแห้งแล้งในแอฟริกาแถบตะวันออกเฉียงเหนือทวีความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 11.7 ล้านคน เผชิญกับความอดอยาก

วันที่ 23 มิ.ย. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา (21 มิ.ย.) องค์การสหประชาชาติ (UN) รายงานว่า ความแห้งแล้งอย่างรุนแรงในแถบจะงอยแอฟริกา (Horn of Africa) หรือ แอฟริกาแถบตะวันออกเฉียงเหนือ ส่งผลให้ประชาชนต้องเผชิญกับปัญหาความไม่มั่นคงด้านอาหารราว 11.7 ล้านคน

รายงานของสำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (OCHA) ระบุว่า เด็กๆ กว่า 785,000 คนเผชิญกับภาวะขาดสารอาหารอย่างรุนแรงในประเทศเอธิโอเปีย เคนยา โซมาเลีย และยูกันดา เนื่องจากสภาพอากาศแห้งแล้ง

OCHA กล่าวว่า ภัยแล้งจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดเชื้อ เช่น อหิวาตกโรค ไข้ไทฟอยด์ ท้องร่วง การติดเชื้อทางเดินหายใจเฉียบพลัน และโรคหัด

นอกจากนี้ หลายพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งทั่วทั้งภูมิภาค ยังได้รับผลกระทบจากความรุนแรงและความขัดแย้งภายในประเทศอีกด้วย

ความไม่มั่นคงด้านอาหารที่เพิ่มสูงขึ้นก็มีแนวโน้มที่จะเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้หญิงและเด็กผู้หญิงที่ต้องเดินทางไกลขึ้นเพื่อไปยังแหล่งอาหารและน้ำสะอาด

OCHA เตือนว่าจำนวนผู้คนที่ต้องเผชิญกับความไม่มั่นคงด้านอาหารจะพุ่งสูงขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า อันเป็นผลมาจากความขาดแคลนสะสม ซึ่งได้ทำลายวิถีชีวิตและความสามารถในการรับมือของชุมชน

ข้อมูลของยูเอ็นระบุเพิ่มเติมว่า ปริมาณน้ำฝนในแถบจะงอยแอฟริการะหว่างเดือนมีนาคมถึงกลางเดือนพฤษภาคมน้อยกว่าร้อยละ 50 ของค่าเฉลี่ยทั้งปี

โจนาธาน ฟาร์ (Jonathan Farr) หัวหน้าทีมศึกษาความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำแห่ง วอเตอร์ เอด (Water Aid) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำงานเพื่อจัดหาน้ำสะอาดแก่ประชาชนในชุมชนที่ยากจนที่สุดในโลก รวมทั้งแอฟริกาทางใต้

เขากล่าวว่า มีคนทั่วโลกแล้ว 844 ล้านคนที่ขาดแคลนน้ำสะอาดซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นพื้นฐานอย่างหนึ่งของชีวิต เเละมากกว่า 8 ล้านคนของคนเหล่านี้ทั้งหมดอาศัยในทางใต้ของทวีปแอฟริกา

ฟาร์ กล่าวว่า ปรากฏการณ์ทางสภาพภูมิอากาศเอลนีลโญ่เป็นต้นเหตุให้เกิดวิกฤติน้ำทั่วทางใต้ของทวีปแอฟริกาตั้งเเต่ปี พ.ศ. 2558 ทำให้เกิดภาวะเเห้งแล้งที่เลวร้ายที่สุดของภูมิภาคนี้ในรอบ 35 ปี

เขากล่าวว่า เมื่อตอนต้นปีที่เเล้ว ภัยเเล้งนี้ได้กระทบต่อคนราว 41 ล้านคนในประเทศต่างๆ รวมทั้ง โมซัมบิก มาดากัสก้า มาลาวี เเซมเบีย เเละแอฟริกาใต้ เเละหลายประเทศเหล่านี้เจอกับภัยเเล้งรุนแรงกว่าเมืองเคปทาวน์ในแอฟริกาใต้

ฟาร์กล่าวว่า ในปี พ.ศ. 2559 รัฐบาลของมาดากัสก้าได้ประกาศภาวะฉุกเฉินในทางใต้ของประเทศหลังจากประชาชนเกือบล้านคนประสบกับความอดอยากในระดับรุนแรงจนน่าเป็นห่วง

เเละในเดือนเมษายนปีที่แล้ว ประธานาธิบดีของมาลาวียังได้ประกาศภาวะวิกฤติระดับประเทศ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศเจอกับการขาดแคลนอาหารรุนแรงเนื่องมาจากภัยเเล้ง

และในเดือนกุมภาพันธ์ โมซัมบิกได้ลดปริมาณน้ำที่เเจกจ่ายแก่ประชาชนในกรุงมาพูโต ลดลงมากกว่าครึ่งหนึ่ง และได้กลับไปเเจกจ่ายน้ำปริมาณปกติในเดือนเมษายนต่อมา

แต่ปัญหาความมั่นคงทางทรัพยากรน้ำกำลังถูกคุกคามทั่วทั้งแอฟริกา เเละสภาพอากาศที่ร้อนเเละแห้งแล้งขึ้นไม่ได้เป็นเพียงสาเหตุเดียวเท่านั้นของปัญหานี้

ฟาร์ กล่าวว่า มีคนจำนวนมากกำลังย้ายจากชุมชนชนบทเข้าไปอยู่ในเมืองเเละเมืองต่างๆ ยังไม่พร้อมที่จะรองรับการย้ายถิ่นของคนจำนวนมาก เเละความต้องการใช้น้ำที่มากขึ้นเป็นเงาตามตัว สร้างเเรงกดดันเเก่ลุ่มน้ำบางแห่งเเละทางการของประเทศต่างๆ เหล่านี้กำลังพยายามรับมือกับปัญหาภัยเเล้งที่รุนแรงนี้อยู่

ในหลายประเทศในแอฟริกาตอนใต้ มีการสูญเสียน้ำผ่านระบบสาธารณูปโภคที่ไม่ได้มาตรฐาน การขาดแคลนการทำนุบำรุงเเละผู้ใช้น้ำอย่างผิดกฏหมาย

ฟาร์ กล่าวว่า รัฐบาลในหลายประเทศแอฟริกาเหล่านี้ไร้ประสิทธิภาพในการจัดเก็บค่าธรรมเนียม ทำให้ขาดเงินในการทำนุบำรุงเเละขยายระบบน้ำประปา

หน่วยงานพัฒนา วอเตอร์ เอด ที่ฟาร์ทำงานอยู่ได้ร่วมมือกับรัฐบาลประเทศต่างๆ วิศวกรเเละสถาปนิก ในการศึกษาภัยคุกคามต่อเเหล่งน้ำ ตั้งเเต่ท่อส่งน้ำรั่วไปจนถึงการปรับปรุงคุณภาพน้ำ

แม้ว่าหลายชาติในแอฟริกาตอนใต้จะเจอกับภัยเเล้งที่รุนแรงกว่าเมืองเคปทาวน์ของแอฟริกาใต้ แต่กลับไม่ตกเป็นข่าว ฟาร์กล่าวว่าที่เป็นเช่นนั้นเพราะว่าเมืองเคปทาวน์ได้กำหนดเส้นตายที่เรียกว่า Day Zero ซึ่งได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน

Day Zero เป็นวันที่ทางการจะหยุดจ่ายน้ำประปาแก่ครัวเรือนเกือบทั้งหมดในเมือง หากระดับน้ำในเขื่อนต่างๆ ของเมืองลดลงไปเหลือแค่ 13.5 เปอร์เซ็นต์ โดยประชาชนจะต้องไปเข้าแถวรอรับน้ำตามปริมาณที่ได้รับอนุญาตต่อวัน

ในตอนต้นปีนี้ เจ้าหน้าที่เมืองเคปทาวน์เตือนว่า วัน Day Zero อาจจะเกิดขึ้นในเดือนนี้หรือไม่ก็เดือนกรกฏาคม

ฟาร์กล่าวว่า ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากการหยุดจ่ายน้ำในเมืองเคปทาวน์จะใหญ่หลวงมากเเละนี่กลายเป็นตัวอย่างแก่เมืองอื่นๆ ทั่วโลกที่ต้องให้ความสำคัญกับการจัดการทรัพยากรน้ำของตนเอง เพราะปัญหาเดียวกันนี้อาจจะเกิดขึ้นกับตนในอนาคตอันใกล้ได้เช่นกัน