โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

หากต้องการสมัครสิทธิ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ให้กับคนในครอบครัว เตรียมเอกสารและไปสมัครได้ที่สำนักงานเขต ในกรุงเทพมหานคร และสำนักงานบัตรทองใกล้บ้าน รวมถึงสมัครบัตรทองออนไลน์ ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. ก็ได้ โดยมีขั้นตอนดังนี้

1. เตรียมเอกสาร
2. ตรวจสอบสถานพยาบาลบัตรทองใกล้บ้าน (คลิกที่นี่)
3. ตรวจสอบสถานะการสมัคร และสถานพยาบาลที่เกิดสิทธิ

ทําบัตรทองใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารขอทำบัตรทองมี 2 อย่าง ได้แก่

1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (ถ้าผู้ทำบัตรทองเป็นเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ใช้สูติบัตร)
2. สำเนาทะเบียนบ้าน

กรณีที่อยู่ไม่ตรงกับทะเบียนบ้าน ใช้เอกสารเพิ่ม 2 อย่าง ได้แก่

1. สำเนาทะเบียนบ้านที่ไปพักอาศัย
2. หนังสือรับรองของเจ้าบ้าน หรือหนังสือรับรองของผู้นำชุมชนว่าได้ไปพักอยู่อาศัยจริง

ปัจจุบันนี้คุณสามารถเลือกเดินทางไปทำบัตรทอง หรือบัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้าได้ที่สถานที่สำนักงานตามที่กำหนด หรือผ่านช่องทางแอปพลิเคชัน สปสช

1. สถานที่ในการทำบัตรสิทธิหลักประกันสุขภาพ หรือ บัตรทอง

คุณสามารถเดินทางไปทำบัตรทองได้ที่สำนักงานเขต จำนวน 19 เขต ตามชื่อที่อยู่ในทะเบียนบ้าน
การทำบัตรทอง ต่างจังหวัด

ภาคเหนือ
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดเชียงใหม่

ภาคกลาง
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดพิษณุโลก
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดนครสวรรค์
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดสระบุรี

ภาคอีสาน
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดขอนแก่น
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดนครราชสีมา
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดอุดรธานี
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดอุบลราชธานี

ภาคตะวันออก
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดระยอง

ภาคตะวันตก
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดราชบุรี

ภาคใต้
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดสงขลา
สำนักงานบัตรทอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี

2. สมัครบัตรทองออนไลน์ 2565 ผ่านแอป สปสช.

ขั้นตอนการสมัครบัตรทองออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน สปสช. ทางผู้สมัครต้องเตรียมบัตรประชาชน และดาวน์โหลดแอปตามขั้นตอนต่อไปนี้

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา


1. ติดตั้งแอปพลิเคชัน พิมพ์คำว่า “สปสช” ใน Google Play หรือ App Store
2. เปิดหน้าแอปพลิเคชัน “สปสช”
3. กดปุ่ม “ลงทะเบียน”
4. กดอ่านเงื่อนไขข้อตกลง และกด “ยอมรับ”
5. กรอกเลขบัตรประชาชน
6. สแกนลายนิ้วมือหรือตั้งรหัสผ่านสำหรับเข้าสู่แอป

เมื่อเข้าสู่หน้าหลักของแอปพลิเคชัน กดลงทะเบียนสิทธิหลักประกันฯ

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

7. คลิกเลือก “ลงทะเบียนสิทธิหลักประกันฯ”
8. ตรวจสอบที่อยู่ปัจจุบันตรงกับหน้าบัตรประจำตัวประชาชนหรือไม่ กด “ไม่ตรง” หรือ “ตรง”
9. ถ่ายรูปบัตรประชาชน
10. ถ่ายรูปตัวเองถือบัตรประชาชน
11. แนบหลักฐานแสดงที่อยู่ปัจจุบัน และเอกสารอื่นๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น
12. กรอกที่อยู่ปัจจุบัน
13. เลือกเครือข่ายหน่วยบริการ

เมื่อทำตามขั้นตอนเสร็จแล้ว ตรวจสอบสถานะลงทะเบียน ตามรอบการลงทะเบียนสิทธิหลักประกัน เมื่อระบบรับข้อมูลการลงทะเบียนและตรวจสอบหลักฐานแล้ว รอเกิดสิทธิตามรอบที่ระบุไว้ในแอปพลิเคชัน โดยจะมีข้อความส่งมาแจ้งเตือนเขียนว่า “ขณะนี้สิทธิของท่านได้รับการลงทะเบียน ..” หากมีข้อสงสัย โทร 1330

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

สิทธิ์ “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ใช้รักษาอะไรได้บ้าง

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

  • สิทธิการคลอดบุตรไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • สิทธิในการตรวจและเข้ารักษาพยาบาล ตลอดจนฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์
  • สิทธิได้รับค่าอาหารและห้องสามัญ
  • สิทธิในการถอนฟัน อุดฟัน ขูดหินปูน ทำฟันปลอม รักษาโพรงประสาทฟันน้ำนม ใส่เพดานเทียมสำหรับผู้ที่เป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่
  • ยาและเวชภัณฑ์ตามกรอบบัญชียาหลักแห่งชาติ

การสมัคร “บัตรทอง” หรือ “บัตรประกันสุขภาพถ้วนหน้า” เอาไว้ ถือว่าเป็นการรักษาสิทธิพื้นฐานของคนไทย เมื่อเจ็บป่วยจะได้รับการรักษาจากสถานพยาบาล เป็นทางเลือกเพื่อควบคุมค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลได้เบื้องต้น

“ผอ.รพ.ลำลูกกา” ระบุ แก้ กม.บัตรทอง ต้องฟังเสียงประชาชน และความเห็น คกก.สธ.-สปสช.ชุด 5x5 และ 7x7 พร้อมห่วงข้อเสนอแยกเงินเดือนงบบัตรทอง กระทบ รพช. เหตุบุคลากรถูกดูดเข้า รพ.ใหญ่ หลัง 10 ปี เริ่มเห็นการกระจายบุคลากรสู่ รพ.ทั่วประเทศ ขณะที่ข้อเสนอร่วมจ่าย ย้ำต้องเก็บก่อนป่วย หากเก็บหลังป่วย ณ จุดบริการ หวั่นทำคนไข้ไม่กล้ารักษาเพราะห่วงไม่มีเงินจ่าย ชี้เพิ่มภาระหมอต้องดูแลหลังป่วยหนัก

โรงพยาบาล บัตร ทอง ลำลูกกา

นพ.นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส

นพ.นราพงศ์ ธีรอัครวิภาส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลลำลูกกา กล่าวถึงการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 ว่า ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถือเป็นสวัสดิการให้กับประชาชนที่รัฐต้องลงทุน โดยไม่ควรคิดเรื่องกำไรและขาดทุน ที่ผ่านมามองว่างบประมาณที่ภาครัฐจัดสรรในด้านสุขภาพประเทศนั้นน่าจะเพียงพอแล้ว แต่ปัญหาหลักน่าจะเกิดจากการกระจายทรัพยากรมากกว่า และในการเสนอแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยเฉพาะข้อเสนอการแยกเงินเดือนนั้น แม้ว่าคนในระบบส่วนใหญ่อาจมองว่าเป็นเรื่องที่ดีในการบริหารโรงพยาบาล แต่ในความเห็นตนมองว่าการแยกเงินเดือนนี้อาจส่งผลต่อโรงพยาบาลที่ห่างไกลได้ โดยเฉพาะโรงพยาบาลขนาดเล็กที่ไกลจากตัวเมือง เนื่องจากคนส่วนใหญ่จะเลือกทำงานอยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ในเมือง แต่หลังจากที่มีการดำเนินระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ซึ่งได้มีการผูกเงินเดือนส่วนหนึ่งไว้ในงบเหมาจ่ายรายหัวเริ่มมองเห็นการกระจายบุคลากรไปยังพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศแล้ว

“ในอดีตก่อนมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า งบประมาณจะถูกส่งมาตามระบบรวมถึงเงินเดือนบุคลากรที่ไม่ว่าอยู่ที่ไหน เงินเดือนจะถูกส่งติดตามไปด้วย ทำให้โรงพยาบาลไม่ต้องกังวลต่อค่าใช้จ่ายและเงินเดือนบุคลากร ในการบริการจะมีคนไข้หรือไม่ หรือจะต้องดูแลประชากรเท่าไหร่ แต่หลังมีระบบหลักสุขภาพถ้วนหน้าที่งบประมาณผูกติดกับการให้บริการ รวมถึงเงินเดือนส่วนหนึ่ง ทำให้โรงพยาบาลดูเรื่องค่าใช้จ่ายรวมถึงเงินเดือนบุคลากรซึ่งต้องบริหารตามงบประมาณที่ได้รับ จึงส่งผลให้เกิดการกระจายบุคลากร”  

นพ.นราพงศ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีข้อเสนอเพื่อแก้ไขสัดส่วนบอร์ด สปสช.ที่ให้เพิ่มเติมในส่วนของวิชาชีพนั้น มีความเห็นว่าแต่เดิมผู้แทนที่เข้าร่วมบอร์ด สปสช.มีสัดส่วนที่พอกัน ทั้งฝั่งผู้ให้บริการ ผู้ซื้อบริการ และประชาชน แต่หากมีการเพิ่มเติมตามที่มีข้อเสนอจะทำให้การทำหน้าที่ของบอร์ด สปสช. ไม่สมดุลแบบเดิม และอาจโน้มเอียงไปยังฝั่งผู้ให้บริการได้ ซึ่งในการทำหน้าที่ของบอร์ด สปสช.ที่ผ่านมา  มองว่าบางครั้งผู้ทำหน้าที่บอร์ด สปสช.ไม่เข้าใจประชาชน และไม่ค่อยเชื่อถือของมูลจากภาคประชาสังคม ทั้งที่คนเหล่านี้เป็นตัวแทนของผู้ป่วย เป็นตัวแทนประชาชนที่ใช้บริการ ทั้งยังเป็นกลุ่มคนที่รักหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงควรที่จะรับฟังความเห็นของคนเหล่านี้ ไม่ควรที่จะตั้งแง่มองว่าประชาชนจะมาเรียกร้องสิทธิประโยชน์การรักษาต่างๆ เพิ่มเติม   

“ผมทำงานอยู่โรงพยาบาลชุมชนมานานจึงรู้ว่าตัวแทนภาคประชาชนเหล่านี้ต่างหวังดีต่อระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยข้อเสนอที่มีการนำเสนอมานั้นควรที่จะรับฟังและพิจารณา เนื่องจากปัจจุบันประเทศไทยยังมีกลุ่มคนที่ยังยากจนและยังมีปัญหาการเข้าไม่ถึงการรักษาพยาบาลอยู่มาก และทีผ่านมา สปสช.พยายามขยายสิทธิประโยชน์บริการให้ครอบคลุมและทั่วถึง แต่ขณะเดียวกันทางฝ่ายผู้บริหารภาครัฐจะมองว่าคนเหล่านี้มีการเรียกร้องต่อเนื่องและอาจเป็นปัญหาต่องบประมาณได้”  ผอ.รพ.ลำลูกกา กล่าวและว่า ภาคประชาชนที่ผ่านมามักมีการออกสื่ออยู่บ่อยครั้ง และดูเหมือนว่าจะเป็นกลุ่มที่เสียงดัง แต่ข้อเท็จจริงแล้วเป็นกลุ่มที่มีอำนาจน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับภาครัฐ

นพ.นราพงศ์ กล่าวว่า ส่วนที่มีข้อเสนอในเรื่องการร่วมจ่ายเพื่อลดภาระงบประมาณนั้น เห็นด้วยกับการ่วมจ่ายก่อนป่วย โดยอาจเป็นการจ่ายภาษีหรือจ่ายร่วมในกองทุนต่างๆ แต่หากเป็นการจ่ายขณะที่ป่วย ที่มีข้อเสนอว่าคนป่วยมากจ่ายมาก คนป่วยน้อยจ่ายน้อย อาจเป็นปัญหาต่อการเข้าถึงการรักษาของผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดด้านรายได้ อีกทั้งการรักษาพยาบาลเป็นบริการที่ไม่เหมือนธุรกิจอื่น เพราะคนไข้ไม่มีความรู้ทางการแพทย์ การรักษาจึงต้องเชื่อหมอทั้งหมด ขณะที่บ้านเรายังมีปัญหาค่ารักษาพยาบาลที่ยังควบคุมไม่ได้ ดังนั้นหากปล่อยให้เป็นการร่วมจ่าย ณ จุดบริการ จะส่งผลต่อการเข้าถึงการรักษาประชาชนได้

“การร่วมจ่ายควรเป็นการจ่ายตั้งแต่ระบบงบประมาณที่เข้าสู่กองทุน ทั้งนี้เพื่อความเท่าเทียมในการเข้าถึงการรักษา และเรื่องนี้รัฐบาลไม่ควรมองเป็นกำไรหรือขาดทุน เพียงแต่หากงบประมาณไม่เพียงพอจำเป็นต้องหาทางเพื่อให้มีงบประมาณเข้าสู่ระบบเพิ่มเติม อย่างการจ่ายภาษีที่นำมารวมเป็นกองกลาง มองว่าแนวทางที่ยุติธรรมดี” ผอ.รพ.ลำลูกกา กล่าว

ทั้งนี้ห่วงว่า หากเป็นการร่วมจ่ายในการเข้ารับบริการ คนไข้ที่รายได้น้อยอาจไม่กล้ามาโรงพยาบาลเพราะกลัวค่ารักษาและรู้สึกด้อย ปัญหาการเข้าถึงการรักษาก็จะวนกลับไปเหมือนเมื่อ 10 ปีก่อน ขณะเดียวกันหมอเองก็จะลำบากในการรักษา เพราะคนไข้เหล่านี้ส่วนใหญ่จะมาเมื่อมีอาการหนักมากแล้ว

ต่อข้อซักถามว่า ตัวชี้วัดอะไรที่สะท้อนว่าการรวมเงินเดือนในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้โรงพยาบาลชุมชนดีขึ้น นพ.นราพงศ์ กล่าวว่า ไม่มีตัวชี้วัดที่ชัดเจน แต่สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ ในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้มีการพัฒนาและขยายสิทธิประโยชน์เพื่อให้ชาวบ้านเข้าถึงบริการเพิ่มขึ้น ทั้งการผ่าตัดต้อกระจก การรักษาผู้ป่วยหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ซึ่งจากระบบนี้ทำให้โรงพยาบาลลำลูกกาสามารถจัดบริการคลินิกโรคหัวใจเดือนละ 1 ครั้ง ที่มาจากการบริหารงบเหมาจ่ายในปัจจุบัน

นพ.นราพงศ์ กล่าวต่อว่า ในการแก้ไข พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ ในประเด็นอื่นยังไม่เห็นรายละเอียด แต่ที่กังวลคือกลัวว่าการแก้ไขกฎหมายจะฟังแต่เสียงจากภาครัฐเท่านั้น แต่อยากให้ฟังเสียงประชาชนว่าเขาอยากให้ระบบดำเนินไปอย่างไร และต้องไม่โน้มเอียงไปฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ส่วนที่มีปัญหาขัดแย้งในการบริหาร ที่ผ่านมาทั้ง สปสช.และกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีกลไกคณะกรรมการ 5x5 และ 7x7 ในการแก้ไขปัญหา ซึ่งเริ่มเห็นข้อเสนอเป็นรูปธรรม ดังนั้นการแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ จึงต้องฟังเสียงจากคณะทำงานทั้ง 2 ชุดนี้ โดยปรับแก้ไขเฉพาะส่วนที่เป็นปัญหาเท่านั้น และให้คงส่วนที่ดีไว้ต่อไป