ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ธอส

หากใครที่ไม่มีประสบการณ์ขอสินเชื่อบ้านมาแล้ว ต้องแปลกใจกับกรมธรรม์ที่ยื่นมาให้ทำพร้อมกับการรับสินเชื่อ เพราะไม่เคยรู้มาก่อนว่าต้องทำประกันภัยด้วย (ซึ่งมีทั้งที่กฎหมายบังคับและไม่บังคับ) 

ถ้าหากคุณกำลังจะมองหาสินเชื่อบ้านหรือกำลังจะซื้อ/สร้างบ้าน การทำประกันภัยบ้านมีความสำคัญมากกว่าแค่กฎหมายกำหนด ในบทความนี้ เราจะมาดูกันว่า ประกันภัยบ้านแต่ละประเภทเป็นอย่างไร และแบบไหนบ้างที่กฎหมายบังคับให้ต้องมี

หัวข้อหลัก

  • ทำไมต้องทำประกันภัยบ้าน
  • ประเภทของประกันภัยและความคุ้มครอง
  • ข้อควรรู้และคำแนะนำในการซื้อประกันภัยบ้าน
  • สรุป

ทำไมต้องทำประกันภัยบ้าน

ประกันภัยบ้าน คือ ประกันที่ให้ความคุ้มครองสิ่งปลูกสร้างที่เป็นที่อยู่อาศัย โดยเมื่อเกิดเหตุที่สร้างความเสียหายให้แก่ตัวบ้านหรือทรัพย์สินภายในบ้าน บริษัทประกันเข้าประเมินความเสียหายและชดเชย/บรรเทาความสูญเสียตามกรมธรรม์ที่กำหนด ซึ่งมีลักษณะไม่ต่างจากการทำประกันชีวิต

การทำประกันภัยบ้านถือเป็นเรื่องจำเป็น ควรให้ความสำคัญ เพราะประโยชน์ของประกันคือการชดเชยความเสียหาย ซึ่งสำหรับบ้าน คือ สินทรัพย์มูลค่าสูง หากเกิดเหตุไม่คาดคิดขึ้น เช่น ไฟไหม้ น้ำท่วม แก๊สระเบิด ฯลฯ จะได้มีเงินชดเชยเพื่อมารับมือกับเหตุที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกรณีที่บ้านยังไม่หมดภาระหนี้สิน หากต้องเสียบ้านไป ก็ยังได้เงินจากประกันเพื่อมาจ่ายยอดเงินกู้คงเหลือของธนาคารได้

ประเภทของประกันภัยและความคุ้มครอง

ประกันภัยบ้านมีหลากหลายประเภทแบ่งอาจความคุ้มครอง เมื่อจะเลือกทำประกันประเภทใดก็ต้องทราบรายละเอียดเพื่อที่จะได้เลือกทำประกันให้เหมาะสมกับความเสี่ยงไม่ต่างจากการเลือกประกันชีวิต และสำหรับประกันภัยบ้านก็สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภทหลักๆ ได้ดังนี้

ประกันอัคคีภัย (กฎหมายบังคับ)

ประกันอัคคีภัย เป็นประกันที่คุ้มครองเหตุไฟไหม้ซึ่งครอบคลุมทั้งเหตุที่เกิดจากภัยธรรมชาติ เช่น ไฟป่า ฟ้าผ่า ฯลฯ และทั้งเหตุสุดวิสัยจากมนุษย์ เช่น ไฟฟ้าลัดวงจร การระเบิดของแก๊สหุ้งต้ม ฯลฯ หรือความเสียหายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 

ประกันประเภทนี้จะให้ความคุ้มครองในระยะสั้น เช่น 1 ปี หรือ 2 – 3 ปี ค่าเบี้ยประกันจะขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทและลักษณะของอาคาร ทั้งนี้ ประกันอัคคีภัยเป็นประกันภัยภาคบังคับที่บ้านใหม่ทุกหลังต้องมี ซึ่งเป็นเหตุผลที่หลายๆ ธนาคารที่ให้สินเชื่อบ้านมักจะยื่นกรมธรรม์ให้ทำทันที ทั้งนี้ ยังเป็นการรับประกันว่า หากเกิดเหตุขึ้นกับบ้าน ธนาคารจะยังได้เงินที่ปล่อยสินเชื่อไปแล้วจากบริษัทประกัน 

  • คุ้มครองตัวบ้านจากเหตุไฟไหม้ ระเบิด ความสูญเสียที่เกี่ยวข้อง
  • คุ้มครองระยะสั้น 1 – 3 ปี
  • กฎหมายบังคับ
  • ค่าเบี้ยประกัน ไม่แน่นอน แต่ไม่เกิน 0.1% ของความคุ้มครอง

ประกันภัยพิบัติ (กฎหมายไม่บังคับ)

ประกันภัยพิบัติ คือ ประกันที่คุ้มครองความเสียหาย-สูญเสียของตัวบ้านหรือทรัพย์สินที่เกิดจากเหตุธรรมชาติ ได้แก่ น้ำท่วม แผ่นดินไหว ลมพายุ หรือเหตุการณ์ภัยพิบัติอื่นๆ ที่คณะรัฐมนตรีประกาศว่าเป็นสถานการณ์ภัยพิบัติรุนแรง

ความคุ้มครองของประกันภัยบ้านประเภทนี้ จะเป็นแบบจำกัดความรับผิด (Sub limit) หมายความว่า ไม่สามารถซื้อความคุ้มครองได้เต็มมูลค่าของบ้าน  โดยอัตราเบี้ยประกันภัยไม่เกิน 0.5% ของความคุ้มครองต่อปี 

ทั้งนี้ หากต้องการความคุ้มครองมากกว่า 100,000 บาท ค่าเบี้ยประกันอาจสูงกว่า 0.5% ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของแต่ละบริษัท

  • คุ้มครองตัวบ้านจากสถานการณ์ภัยพิบัติ
  • คุ้มครองรายปี 
  • กฎหมายไม่บังคับ
  • ค่าเบี้ยประกันไม่เกิน 0.5% ของความคุ้มครอง

ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม (กฎหมายไม่บังคับ)

ประกันภัยคุ้มครองการโจรกรรม มักจะไม่ค่อยมีคนรู้จักหรือนิยมทำกันเท่าไร แต่สำหรับบ้านที่มีสินทรัพย์มูลค่าสูง อยากได้รับความคุ้มครองสินทรัพย์สำคัญบางอย่าง และบ้านอยู่ในพื้นที่ที่มีประวัติการโจรกรรม แนะนำให้ทำประกันภัยประเภทนี้เพื่อบรรเทาความสูญเสียหากเกิดการโจรกรรม

ความคุ้มครองของประกันโจรกรรมจะคุ้มครอง 2 ส่วน ได้แก่ ความสูญเสียต่อทรัพย์สินที่เอาประกัน และความสูญเสียต่อตัวอาคารที่เก็บทรัพย์สินซึ่งเกิดจากการโจรกรรม โดยซื้อความคุ้มครองได้แบบปีต่อปี ซึ่งเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทประกันแต่ละเจ้า 

  • คุ้มครองทรัพย์สินและอาคารที่เก็บทรัพย์สินจากเหตุโจรกรรม
  • คุ้มครองรายปี
  • กฎหมายไม่บังคับ
  • ค่าเบี้ยประกันขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของบริษัทประกัน

ข้อควรรู้และคำแนะนำในการซื้อประกันภัยบ้าน

ประกันคุ้มครองวงเงินสินเชื่อ ธอส

  1. การทำประกันภัยบ้าน หากเลือกความคุ้มครองหรือเงินชดเชยได้ ควรเลือกอย่างต่ำ 70% ของมูลค่าสินทรัพย์ เพื่อให้ครอบคลุมค่าเสียหายส่วนใหญ่ได้ เช่น ประทำประกันอัคคีภัย
  2. เบี้ยประกันต่อปีจะถูกลงตามระยะเวลาเอาประกันที่ทำนานขึ้น
  3. เมื่อได้รับเงินชดเชยจากความสูญเสียแรกแล้ว หากเกิดเหตุในระยะเวลาเอาประกันอีกครั้ง จะได้รับเงินชดเชยจากการประเมินความสูญเสียในจำนวนเงินเอาประกันที่เหลืออยู่
  4. หากทำประกันมากกว่าหนึ่งประกัน เมื่อเกิดความสูญเสียประกันแต่ละเจ้า/แต่ละประกันจะหารความรับผิด (ผู้เอาประกันจะไม่ได้เงินประกันเกินกว่าที่ประเมินความเสียหาย)
  5. นอกจากประกันภัยบ้านทั้ง 3 ประเภทแล้ว ยังมีประกันสำหรับการมีบ้านอีกประเภท นั่นคือ ประกันชีวิตเพื่อคุ้มครองหนี้สินบ้าน/ประกันคุ้มครองหลักทรัพย์ TMRA

ประกันประเภทนี้ จะคอยคุ้มครองภาระหนี้สินที่ใช้ซื้อบ้านในกรณีที่ผู้ชำระหนี้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพที่ทำให้ไม่สามารถประกอบอาชีพเพื่อผ่อนชำระหนี้สินได้ โดยบริษัทประกันจะเป็นผู้ชำระหนี้สินแทน เหมาะสำหรับผู้ที่เป็นเสาหลักในการหารายได้ให้ครอบครัวเพื่อหลีกเลี่ยงการส่งต่อภาระหนี้ให้กับสมาชิกครอบครัว ในวันที่ไม่สามารถชำระหนี้สินได้แล้ว

สรุป

การทำประกันภัยบ้านเป็นเรื่องที่ไม่ควรมองข้าม ถือเป็นการเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับเหตุไม่คาดฝัน เพราะถ้าหากเกิดอะไรขึ้นกับที่อยู่อาศัยของเราหรืออาจถึงขั้นต้องสูญเสียบ้านไป แล้วไม่มีประกันที่มาช่วยบรรเทาความสูญเสีย เหตุการณ์เหล่านั้นจะกลายเป็นวิกฤตที่ยากจะผ่านพ้นไปได้

ทั้งนี้ ประกันอัคคีภัยเป็นประกันภาคบังคับที่บ้านหลังใหม่ทุกหลังต้องทำ ส่วนประกันภัยบ้านประเภทอื่นๆ ให้เลือกทำที่ตรงกับความเสี่ยงในพื้นที่นั้นๆ และหากไม่อยากทิ้งภาระหนี้สินไว้ให้กับครอบครัวหากไม่สามารถชำระหนี้สินบ้านได้อีกต่อไป ประกันชีวิตคุ้มครองหนี้สินบ้านก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจ

คุณกำลังจะซื้อหรือสร้างบ้านอยู่หรือเปล่า? 

นอกจากเรื่องประกันภัยบ้านแล้ว ยังมีเรื่องอื่นๆ ที่คุณอาจจะยังไม่รู้ อ่านบทความเพื่อเตรียมตัวมีบ้านในฝันกับ ธอส. ได้