พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า tmd

พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 มกราคม 2565 - 12 มกราคม 2565

การคาดหมาย

บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนตลอดช่วง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในตอนเช้า บริเวณยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-15 องศาเซลเซียส และบริเวณยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส

ในช่วงวันที่ 6 ? 12 ม.ค. 65 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังอ่อน โดยอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง

1-2 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนบริเวณทะเลอันดามันคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลรักษาสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและระมัดระวังการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกไว้ด้วย ตลอดช่วง

ภาคเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 14-21 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-15 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกบางในตอนเช้า ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 13-19 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8-15 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 18-21 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก) ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค

อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

คลื่นสูงประมาณ 1 เมตร

ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.

คลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก) ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 21-26 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า ตลอดช่วง

อุณหภูมิต่ำสุด 20-24 องศาเซลเซียส

อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส

ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ออกประกาศ 6 มกราคม 2565

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


พยากรณ์อากาศ 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 4 ตุลาคม 2565 - 10 ตุลาคม 2565

การคาดหมาย

ในช่วงวันที่ 5 ? 8 ต.ค. 65 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดเข้ามาปกคลุมประเทศไทยและอ่าวไทย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังอ่อนพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 10 ต.ค. 65 บริเวณความบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนอีกระลอกหนึ่งจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้ร่องมรสุมพาดผ่านภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง

สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 ? 2 เมตร ตลอดช่วง

ข้อควรระวัง

ขอให้ประชาชนระวังอันตรายจากฝนที่ตกหนัก และฝนที่ตกสะสมซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่ม ตลอดช่วง ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ภาคเหนือ ในช่วงวันที่ 4 ? 8 ต.ค. 65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค

ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 10 ต.ค. 65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 4 ? 8 ต.ค. 65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค

ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 10 ต.ค. 65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

อุณหภูมิต่ำสุด 20-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-33 องศาเซลเซียส

ภาคกลาง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

อุณหภูมิต่ำสุด 20-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร

อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-35 องศาเซลเซียส

ภาคใต้ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4 ? 8 ต.ค. 65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ส่วนในช่วงวันที่ 9 ? 10 ต.ค. 65 ฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.

ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-34 องศาเซลเซียส

กรุงเทพมหานครและปริมณฑล มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง

ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม.

อุณหภูมิต่ำสุด 24-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส

ออกประกาศ 4 ตุลาคม 2565

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา