อาหารสําหรับนักกีฬา

ในระยะเวลาการแข่งขัน การบริโภคอาหาร เพื่อการฟื้นตัวให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก

การทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากการออกกำลังอย่างหนักในครั้งแรก เพื่อเตรียมตัวในการฝึกครั้งต่อไป จะต้องบริโภคอาหารภายใน 30-60 นาที หรือทันทีเท่าที่ร่างกายรับได้ และถ้าหากจะต้องฝึกในอีก 6 ชั่วโมงถัดไป ต้องเลือกทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตเท่านั้นที่สามารถเติมพลังงานกลับไปสู่กล้ามเนื้อได้

สำหรับผู้ที่เล่นกีฬาควรมีการวางแผน และเตรียมอาหารไว้ล่วงหน้า เพราะหากไม่มีการวางแผน อาจจะทำให้ได้รับอาหารที่ไม่เหมาะสม หรือไม่เพียงพอแก่การฟื้นตัวของกล้ามเนื้อ

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง สำหรับผู้ที่เล่นกีฬา

  • อาหารที่มีไขมันสูงเกินไป เช่น โดนัท ฮอทด็อก อาหารทอดแบบอมน้ำมัน ขนมกรุบกรอบ มันฝรั่งทอด เป็นต้น
  • อาหารที่มีโปรตีนมากเกินไป เช่น โปรตีนเชค เบอร์เกอร์ สเต็ก ไก่ทอด อาหารเหล่านี้ทำให้อิ่มท้อง แต่ไม่ได้เป็นการเติมพลังงานให้กลับสู่กล้ามเนื้อ อาหารเพื่อการฟื้นตัวควรเป็นจำพวกน้ำผลไม้สด ผลไม้ พาสต้า มันฝรั่งอบ ผักชนิดต่างๆ และทานโปรตีนเป็นตัวเสริม
  • อาหารที่ให้พลังงานน้อยเกินไป ในผู้เล่นกีฬาที่ต้องการควบคุมปริมาณอาหาร หรือควบคุมน้ำหนัก การบริโภคอาหารจำพวกธัญญพืช ผลไม้และผัก และการบริโภคคาร์โบไฮเดรตเป็นสิ่งที่จำเป็น และไม่ได้ทำให้อ้วน การได้รับพลังงานเกินต่างหากที่เป็นปัญหา

Recovery After Hard Exercise

เคล็ดลับที่จะทำให้สามารถจัดสรรอาหาร เพื่อการฟื้นฟูทั้งในโปรแกรมการฝึกซ้อมปกติ และหลังการแข่งขัน มีดังต่อไปนี้

อาหารสําหรับนักกีฬา

  1. อาหารเพื่อการฟื้นฟู ควรยึดหลักด้วยขนมปัง ซีเรียล ธัญญพืช ผลไม้และผัก เพื่อสร้างไกลโคเจนให้กลับคืนสู่กล้ามเนื้อ เพราะโปรตีนและไขมัน ไม่สามารถสร้างไกลโคเจนได้
  2. บริโภคคาร์โบไฮเดรต 0.45 กิโลกรัมต่อน้ำหนักตัว ภายหลังการออกกำลังการอย่างหนัก (ได้รับพลังงานประมาณ 300-450 แคลอรี่) เร็วที่สุดเท่าที่ร่างกายจะรับได้ หลังจากนั้นบริโภคทุกๆ 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 6 ชั่วโมง
  3. เลือกทานอาหารที่มีสัดส่วนของคาร์โบไฮเดรตมากกว่าโปรตีน 3 เท่า เนื่องจากคาร์โบไฮเดรตจะถูกเปลี่ยนเป็นไกลโคเจนเข้าสู่กล้ามเนื้อ และโปรตีนมาซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ถูกทำลาย ตัวอย่างเช่น ซีเรียลโฮลเกรนใส่นม และกล้วย เฟรนซ์โทสต์ใส่ไซรัป พร้อมนม 1 แก้ว สปาเก็ตตี้มีทบอล ในบางกรณีที่ไม่สามารถบริโภคอาหารหนักได้หลังออกกำลัง ลองทานเป็นสมูทตี้ผลไม้ เบอร์รี่ผสมโยเกิร์ต หรือช็อกโกแลต

อาหารสําหรับนักกีฬา

  1. ดื่มน้ำเพื่อดับกระหาย หากเกิดอาการขาดน้ำ ซึ่งสามารถประเมินได้จากการที่ไม่สามารถปัสสาวะ ดังนั้นจะต้องดื่มน้ำทดแทนภาวะขาดน้ำเป็นเวลา 24-48 ชั่วโมง ถึงแม้ว่าจะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม ควรพยายามจิบน้ำเรื่อยๆ จนกว่าปัสสาวะจะเป็นสีเหลืองอ่อนเป็นเวลา 2-4 ชั่วโมง ให้สังเกตว่าหากปัสสาวะยังเป็นสีเหลืองเข้ม เนื่องจากความเข้มข้นของของเสียยังสูงอยู่ แสดงว่าความสมดุลของน้ำในร่างกายยังไม่ดีพอ
  2. บริโภคอาหารเค็มได้หากต้องการ แต่ความเลือกอาหารที่มีความเค็มแบบธรรมชาติ เช่น ซุป เพรตเซล ขนมปังกรอบ แม้ว่าการออกกำลังกายจะทำให้ร่างกายสูญเสียเหงื่อ แต่ปริมาณโซเดียมที่สูญเสียออกมามีเพียงปริมาณเล็กน้อย จึงไม่จำเป็นต้องชดเชยโซเดียม ยกเว้นการออกกำลังกายอย่างหนักในอากาศร้อน และใช้เวลามากกว่า 3-4 ชั่วโมง ทั้งนี้ควรเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
  3. ควรบริโภคผัก ผลไม้ และน้ำผักผลไม้ ที่มีโพแทสเซียมและแร่ธาตุ ที่อาจลดลงจากการสูญเสียเหงื่อ จากการออกกำลังกาย อาหารที่มีโพแทสเซียมและคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น ส้มหรือน้ำส้มธรรมชาติ กล้วย ลูกเกด แอปริคอตอบแห้ง มันฝรั่ง

อาหารสําหรับนักกีฬา

  1. ดื่มน้ำผลไม้จากธรรมชาติ 100% แทนเครื่องดื่มเกลือแร่ ภายหลังจากการออกกำลังกาย น้ำผลไม้ น้ำส้ม องุ่น เชอรี่ มีโพแทสเซียม วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และคาร์โบไฮเดรตสูง ซึ่งช่วยในการฟื้นตัวของร่างกาย ในทางตรงข้ามกับเครื่องดื่มเกลือแร่ ที่ให้คาร์โบไฮเดรตน้อยกว่า เนื่องจากถูกเจือจางมาแล้ว เพื่อทำให้ง่ายต่อการดูดซึมเข้าสู่ร่างกายขณะออกกำลังกาย คุณค่าทางโภชนาการต่ำ ตัวอย่างเช่น น้ำส้มมีโพแทสเซียมมากกว่าเครื่องดื่มเกลือแร่ถึง 20 เท่า

อาหารสําหรับนักกีฬา

  1. ในวันพักควรบริโภคอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง และหลังจากการออกกำลังกายอย่างหนัก เพื่อฝึกความทนทาน ควรบริโภคคาร์โบไฮเดรตเป็นเวลาอย่างน้อย 2 วัน เพื่อทดแทนไกลโคเจนที่กล้ามเนื้อสูญเสียไป เพราะกล้ามเนื้อต้องการเวลาในเติมไกลโคเจนประมาณ 24-48 ชั่วโมง

ดังนั้นแล้วการพักจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อโปรแกรมการฝึกและการฟื้นตัว การพักไม่ใช่การแสดงออกถึงความขี้เกียจ แต่เป็นการเพิ่มความสามารถในการฟื้นฟู เป็นการเติมพลังงานความสามารถในการฝึกที่จะมีประสิทธิภาพมากขึ้นในครั้งต่อไป

ทุกวันนี้ไม่ว่ามองไปทางไหน ก็จะเห็นคนไทยหันมาสนใจเล่นกีฬาและออกกำลังกายมากขึ้นเรื่อยๆ ถึงขนาดที่ผู้เชี่ยวชาญหลายท่านเอ่ยว่า กระแสการมีสุขภาพที่ฟิตและแข็งแรงสมบูรณ์จะกลายเป็นเทรนด์สุดฮอตที่คนไทยนิยมชมชอบไปอีกนาน เพราะผู้คนเริ่มให้เวลากับการออกกำลังมากขึ้นเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว

นอกจากนี้ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา นักกีฬาชาวไทยหลายต่อหลายคนก็ยังได้แสดงฝีมืออันโดดเด่นในรายการแข่งขันระดับโลก และกลายเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้เยาวชนหันมาออกกำลังด้วยการเล่นกีฬา บางคนก็ฝึกฝนจนฝีมือเข้าขั้น ฉายแววที่จะเจริญตามรอยรุ่นพี่ได้ดีไม่น้อย ยิ่งไปกว่านั้น สถานที่เล่นกีฬาอย่างฟิตเนส สวนสาธารณะ หรือแม้แต่สนามแบดมินตัน นอกจากจะเป็นสถานที่ออกกำลังกายฟิตเสริมซิคแพคหรือรูปร่างสุดเฟิร์มแล้ว ก็ยังกลายเป็นอีกแหล่งพบปะสังสรรค์ของคอกีฬาด้วย!

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังประเภทใด กุญแจสำคัญที่ช่วยให้ผู้เล่นไปถึงจุดหมายที่ตั้งเอาไว้ คงหนีไม่พ้นการฟิตซ้อม ความอุตสาหะมุ่งมั่น และประสบการณ์ที่สั่งสมมา รวมถึงช่วงเวลาของการฝึกฝนอันยาวนานและหนักหน่วงของพวกเขาเพื่อที่จะโชว์ผลงานอันยอดเยี่ยมได้อย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ดี ยังมีอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อการออกกำลัง แต่อาจถูกมองข้ามไปบ่อยครั้ง นั่นก็คือ โภชนาการที่ช่วยเสริมผลลัพธ์ด้านการกีฬาและออกกำลังกาย

“การที่ผู้เล่นทั้งชายและหญิงจะสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดได้นั้น จำเป็นต้องเสริมสร้างด้วยโภชนาการสำหรับการเล่นกีฬาและออกกำลังกาย ควบคู่ไปกับการฝึกฝนอย่างหนัก ไม่ว่าจะเป็นการฝึกซ้อมกีฬาในระดับใดก็ตาม”
ข้อความนี้ กล่าวโดย ดร.จูเลียน อัลวาเรซ แพทย์สาขาเวชศาสตร์การกีฬาชื่อดังจากประเทศสเปน ผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและสุขภาพของเฮอร์บาไลฟ์ ซึ่งได้ทำงานร่วมกับทีมนักกีฬาโอลิมปิคของสเปนมานานกว่า 25 ปี อีกทั้งเป็นแพทย์ประจำของนักกีฬาทีมชาติสเปนในหลากหลายประเภทกีฬาด้วย
พลังสำคัญของโภชนาการที่ถูกต้อง

ในระหว่างกิจกรรมเสวนายามเช้าร่วมกับสมาชิกองค์กรด้านกีฬาต่าง ๆ ที่กรุงเทพฯ ดร.อัลวาเรซ ได้อธิบายว่า “หากคุณต้องการสร้างผลงานดีเด่นด้านกีฬา หัวใจสำคัญคือคุณต้องมีโภชนาการที่ดีตลอดทั้งวงจรของกิจกรรมกีฬา นั่นหมายความว่า นอกจากจะต้องมีโภชนาการที่เหมาะสมในช่วงก่อนการแข่งขันจริงแล้ว คุณยังต้องเอาใจใส่เรื่องโภชนาการในช่วงฝึกซ้อมทุกวันด้วย เพราะมันจะมีผลอย่างยิ่งให้สมรรถภาพร่างกายของคุณสามารถปรับตัวให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นกว่าเดิม ซึ่งเกิดร่วมจากการพากเพียรฝึกซ้อม”

สำหรับ ดร.อัลวาเรซ แล้ว สิ่งสำคัญที่สุดคือ สิ่งที่คุณรับประทานทั้งก่อนการเล่นกีฬา และเน้นเป็นพิเศษคือหลังการเล่นกีฬา โดยกล่าวว่า “เป้าหมายสำคัญ 2 เรื่องที่เราจำเป็นต้องใส่ใจหลังการออกกำลังหรือเล่นกีฬา ก็คือ การฟื้นคืนพละกำลัง และการฟื้นฟูหรือพัฒนาเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ เนื่องจากการออกกำลังสามารถทำให้เกิดความเสียหายของเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ การเสริมด้วยโภชนาการที่สมบูรณ์จะให้พละกำลัง สารอาหาร วิตามิน และเกลือแร่ที่ร่างกายต้องการในช่วงหลังการออกกำลังกายได้เป็นอย่างดี”

ใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงและมีสุขภาพดี

ดร.อัลวาเรซ ยังได้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการใช้ชีวิตอย่างกระฉับกระเฉงว่า “เนื่องจากคนไทยชื่นชอบการดูกีฬา แต่ในบางครั้งอาจไม่ได้มีส่วนร่วมในการเล่นกีฬามากพอ เช่นเดียวกับคนในประเทศสเปนบ้านเกิดของผม และนี่อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ประเทศไทยติดอันดับกลุ่ม 5 ประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียที่มีจำนวนประชากรเป็นโรคอ้วนสูงสุด และแน่นอนว่าด้วยความหลากหลายของอาหารในประเทศไทยที่แสนล่อตาล่อใจ ทำให้เป็นเรื่องยากเหลือเกินในแต่ละวันที่จะห้ามใจไม่ให้เผลอรับประทานอาหารมากมื้อเกินไป”

ปัญหาหลักในทุกวันนี้คือ ความไม่สมดุลอย่างยิ่งระหว่างแคลอรี่จากอาหารที่ผู้คนรับประทานเข้าไปกับแคลอรี่ที่ใช้ไปต่อวัน ทำให้จำนวนประชากรที่มีน้ำหนักเกินเพิ่มสูงขึ้น และนำมาซึ่งการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของความเจ็บป่วยและเสียชีวิตจากโรคหัวใจและหลอดเลือด อันได้แก่โรคหัวใจล้มเหลวและปัญหาหลอดเลือดในสมอง อีกทั้งโรคเบาหวานชนิดที่ 2 และโรคหลักอื่น ๆ ที่พูดถึงกันเรื่อยมาในช่วงศตวรรษที่ 21 นี้

อย่างไรก็ตาม เราสามารถพลิกวิกฤตนี้ได้ โดยการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตและเลือกสรรอาหารที่จะรับประทานให้ดีขึ้น เริ่มสร้างสมดุลทางโภชนาการด้วยสารอาหารที่ดีและมีแคลอรี่ต่ำ ซึ่งสามารถทำได้โดยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูงเพื่อช่วยการฟื้นฟูกล้ามเนื้อ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตโดยเปลี่ยนแนวคิดจากการรับประทานเพื่อสร้างพลังงานไปเป็นแนวคิดของการรับประทานเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปเท่านั้น และดื่มน้ำหรือเครื่องดื่มที่เหมาะสมเพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่สูญเสียไป ซึ่งควรได้รับสารอาหารเหล่านี้ทันทีหลังการออกกำลังกาย

ดร.อัลวาเรซ ยังชี้ให้เห็นถึงคุณค่าของสารอาหารหลัก 3 อย่าง รวมถึงแหล่งอาหารที่มีสารอาหารเหล่านี้ ว่าจะช่วยให้ร่างกายของคุณได้รับพลังงานเต็มที่อีกครั้งหลังการออกกำลังกาย ดังนี้

โปรตีน
การทานโปรตีนก่อนและหลังการออกกำลัง จะช่วยให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อใหม่ ๆ รวมถึงช่วยฟื้นฟูซ่อมแซมกล้ามเนื้อที่ถูกใช้งานเพราะการออกกำลังอีกด้วย แหล่งโปรตีนแบบลีนคุณภาพดีที่ได้รับการแนะนำ ได้แก่ เนื้อสัตว์ที่ผ่านการย่าง อบ ปิ้ง และต้ม อาทิ เนื้อปลา ไก่ ไก่งวง อาหารทะเล ไข่ขาว และเนื้อวัวไม่ติดมัน นอกจากนี้ แหล่งโปรตีนที่ไม่ใช่เนื้อสัตว์ที่มาจากนม (เช่น เวย์) ดูดซึมเข้าสู่กระแสโลหิตได้รวดเร็วกว่าโปรตีนจากถั่วเหลือง แต่อย่างไรก็ดี โปรตีนทั้งสองถือเป็นโปรตีนคุณภาพสูงและสามารถนำมารับประทานเป็นมื้ออาหารที่ดีต่อสุขภาพ ซึ่งแนะนำโปรตีนจากพืชให้มีสัดส่วนอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของโปรตีนทั้งหมดในมื้ออาหาร

คาร์โบไฮเดรต
ช่วงเวลาและปริมาณของคาร์โบไฮเดรต ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อประสิทธิผลในการออกกำลังกายของเรา คาร์โบไฮเดรตชนิดดีที่ควรรับประทานก่อนออกกำลังกายสัก 1-2 ชั่วโมง ได้แก่ ขนมปังธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ธัญพืช ข้าว มันฝรั่ง ถั่วต่างๆ ผลไม้อบแห้ง และผลไม้สด หรือของว่างก่อนการออกกำลังกายก็อาจเป็นประโยชน์เช่นกัน หากเป็นเวลาหลังอาหารมื้อสุดท้ายก่อนออกกำลังกายอย่างน้อย 4 ชั่วโมง แนะนำให้ทานอาหารที่ย่อยง่าย อาทิเช่น ผลไม้ แคร็กเกอร์ที่ทำจากแป้งหยาบ กราโนล่า หรือ energy bar ที่มีไขมันต่ำ

น้ำและเครื่องดื่ม
]สิ่งสำคัญที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร คือ ชดเชยน้ำที่สูญเสียไปหลังการออกกำลังกาย การสูญเสียน้ำแม้เพียงร้อยละ 2 ของน้ำหนักตัว (สิ่งนี้สามารถเกิดขึ้นได้หลังการออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง เช่น การปั่นจักรยาน วิ่ง หรือว่ายน้ำ) จะทำให้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อร่างกายและจิตใจได้

ดร. อัลวาเรซ ยังได้แนะนำให้ดื่มเครื่องดื่มประเภทโปรตีนเชคที่ช่วยเติมสารอาหารสำคัญให้กับร่างกาย และเน้นย้ำด้วยว่า ไม่ใช่เครื่องดื่มประเภทโปรตีนเชคทุกชนิดจะมีสารอาหารเท่ากัน โปรตีนเชคบางชนิดมีโปรตีนมาก จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักเพาะกาย ในขณะที่โปรตีนเชคบางชนิดมีคาร์โบไฮเดรตมากจึงเหมาะกับนักวิ่ง นักฟุตบอล และนักแบดมินตันที่ต้องการฟื้นฟูระดับพลังงานให้กับร่างกายมากขึ้น รวมถึงโปรตีนเชคบางชนิดที่สามารถใช้เป็นอาหารเสริมทดแทนมื้ออาหาร

“ต้องขอบคุณเหล่าโภชนากรทั้งหลาย ทุกวันนี้เราพัฒนาศาสตร์ทางด้านสรีรวิทยาได้อย่างลึกซึ้งขึ้น ทำให้เราเข้าใจความต้องการของร่างกายในการเสริมความแข็งแกร่งเพื่อชัยชนะในการแข่งขันและฟื้นฟูสภาพร่างกายหลังการแข่งขันได้ดีขึ้น ด้วยเหตุนี้ เราจึงสามารถพัฒนาคุณภาพและสามารถวางแผนโภชนาการด้านการกีฬาเฉพาะบุคคลได้อย่างครอบคลุมทั่วถึงอีกด้วย” ดร. อัลวาเรซ สรุปทิ้งท้าย




ดร.จูเลียน อัลวาเรซ การ์เซีย เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบและจัดการเรียนการสอนหลักสูตรพิเศษเกี่ยวกับการออกกำลังกายที่มหาวิทยาลัยอาลิกันเต ประเทศสเปน เขาเป็นสมาชิกคณะกรรมการที่ปรึกษาทางด้านโภชนาการของเฮอร์บาไลฟ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญทางด้านโภชนาการและสุขภาพ ที่มีหน้าที่ในการให้ความรู้และฝึกอบรมแก่สมาชิกอิสระเฮอร์บาไลฟ์และบุคคลทั่วไปเกี่ยวกับหลักการด้านโภชนาการ การออกกำลังกาย และไลฟ์สไตล์เพื่อสุขภาพที่แข็งแรง

อาหารที่เหมาะสมกับนักกีฬามีอะไรบ้าง

อาหารที่ควรรับประทาน ควรเน้นหนักไปทางอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต อย่าง ข้าว ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว หรือผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล พร้อมกับทานอาหารกลุ่มอื่นในปริมาณพอเหมาะ เช่น เนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำและปรุงอาหารโดยใช้ไขมันน้อย อย่างเช่น อกไก่ต้ม ปลานึ่ง ทูน่า

สารอาหารสำคัญของนักกีฬามีอะไรบ้าง

สารอาหารที่สำคัญสำหรับนักกีฬามีหลายชนิด ตั้งแต่คาร์โบไฮเดรต ไขมัน โปรตีน เกลือแร่ วิตามิน และน้ำ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันไป และเสริมกันเพื่อให้สารแต่ละตัวทำหน้าที่ได้เต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ข้อใดคือปริมาณแคลอรี่ที่เหมาะสมกับนักกีฬาโดยทั่วไปที่ใช้ในแต่ละวัน

พลังงาน 1600 กิโลแคลอรี – สำหรับเด็ก หญิงวัยทำงาน และผู้สูงอายุ พลังงาน 2000 กิโลแคลอรี – สำหรับวัยรุ่น ชายวัยทำงาน พลังงาน 2400 กิโลแคลอรี – สำหรับผู้ที่ใช้พลังงานมาก เช่น นักกีฬา เกษตรกร กรรมกร

ร่างกายของนักกีฬาใช้สารอาหารใดเป็นแหล่งพลังงานสําหรับการทํางานของกล้ามเนื้อ

คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานที่มีประสิทธิภาพที่สุดสําหรับนักกีฬา เพราะคาร์โบไฮเดรตสามารถ ย่อยและดูดซึมได้ง่าย และร่างกายสามารถนําไปใช้ได้เร็วที่สุด โดยคาร์โบไฮเดรตที่รับประทานเข้าไปนั้นจะถูก เปลี่ยนเป็นกลูโคสและถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดเพื่อให้พลังงาน และกลูโคสที่เหลือร่างกายจะเก็บสะสมเป็น แหล่งพลังงานสํารองในรูปของ ...