การหาพื้นที่ รอบรูป สามเหลี่ยม

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 15 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง

บทความนี้ถูกเข้าชม 369,954 ครั้ง

ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation: SD) เป็นค่าที่บอกถึงการกระจายของตัวเลขในกลุ่มข้อมูล การหาค่านี้เพื่อใช้สำหรับกลุ่มข้อมูล คุณจะต้องหาค่าเฉลี่ยและค่าความแปรปรวนของข้อมูลก่อน ค่าความแปรปรวนคือค่าที่บอกการกระจายตัวของข้อมูลจากค่าเฉลี่ย การหาส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานนั้นทำได้โดยการถอดรากค่าความแปรปรวนของข้อมูล บทความนี้จะบอกวิธีการหาค่าเฉลี่ย ค่าความแปรปรวนและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

วิกิฮาวเป็น "wiki" ซึ่งหมายความว่าบทความหลายๆ บทความของเรานั้นเป็นการร่วมมือกันเขียนของผู้เขียนหลายคน ในการเขียนบทความชิ้นนี้ ผู้คน 15 คน ซึ่งบางคนไม่ขอเปิดเผยตัว ได้ร่วมกันเขียนและปรับปรุงเนื้อหาของบทความอย่างต่อเนื่อง

บทความนี้ถูกเข้าชม 610,985 ครั้ง

ตารางเมตรคือหน่วยวัดของ “พื้นที่” มักใช้ในการวัดพื้นเรียบ อย่างสนาม หรือพื้น เช่น คุณอาจต้องการวัดขนาดของเก้าอี้โซฟาในหน่วยตารางเมตร จากนั้นก็วัดพื้นที่ห้องนั่งเล่นเป็นหน่วยตารางเมตรเหมือนกัน เพื่อดูว่าเก้าอี้โซฟาของคุณพอดีกับขนาดห้องไหม ถ้าคุณมีเพียงไม้บรรทัดหรือตลับเมตรที่ใช้หน่วยฟุต หรือระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่เมตริก คุณก็ใช้คำนวณพื้นที่ได้เหมือนกัน แล้วจากนั้นค่อยแปลงหน่วยเป็นตารางเมตรทีหลังก็ได้

ขั้นตอน

  1. เลือกใช้ไม้เมตรหรือตลับเมตร. ใช้ไม้เมตรหรือตลับเมตรที่มีหน่วยเมตร (m) หรือเซนติเมตร (cm) เขียนอยู่ เครื่องมือพวกนี้จะช่วยให้คุณคำนวณตารางเมตรง่ายขึ้น เพราะถูกออกแบบมาโดยใช้ระบบมาตราวัดเดียวกัน

    • ถ้าคุณมีแค่ไม้บรรทัดที่ใช้หน่วยฟุต (ft) หรือนิ้ว (in) ก็ใช้วัดได้เหมือนกัน แล้วก็ข้ามไปอ่านขั้นตอน “แปลงหน่วยอื่นๆ เป็นตารางเมตร” ได้เลย

  2. วัดความยาวของพื้นที่ที่คุณต้องการ. ตารางเมตรคือหน่วยวัดของพื้นที่ หรือขนาดของวัตถุสองมิติ เช่น พื้น หรือสนาม ใช้เครื่องมือของคุณวัดที่ด้านหนึ่งของวัตถุ จากมุมหนึ่งไปยังอีกมุมหนึ่ง จากนั้นจดคำตอบไว้

    • ถ้าวัตถุนั้นยาวเกินหนึ่งเมตร อย่าลืมจดค่าทั้งหน่วยเมตรและเซนติเมตร เช่น “2 เมตร 35 เซนติเมตร”
    • ถ้าคุณต้องการวัดขนาดของวัตถุที่ไม่ใช่รูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก หรือสี่เหลี่ยมจัตุรัส ให้ข้ามไปอ่านส่วน “คำนวณตารางเมตรสำหรับรูปเรขาคณิตซับซ้อน” ได้เลย

  3. ถ้าคุณไม่สามารถวัดความยาวได้ทั้งหมดในทีเดียว. ก็ให้วัดเป็นส่วนๆ ไป วางเครื่องมือวัดลงบนวัตถุ ใช้ก้อนหินหรือสิ่งของชิ้นเล็กๆ ทำสัญลักษณ์ว่าวัดถึงจุดไหนแล้ว (เช่น 1 เมตร หรือ 25 เซนติเมตร) หยิบเครื่องมือออก แล้ววางลงบนวัตถุนั้นอีก โดยคราวนี้เริ่มจากจุดที่เราทำสัญลักษณ์ไว้ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนครบความยาวของวัตถุนั้น จากนั้นก็รวมความยาวที่วัดได้ทั้งหมดเข้าด้วยกัน

  4. วัดความกว้าง. ใช้เครื่องมือเดิมวัดความกว้างของพื้นที่หรือวัตถุเดิม ด้านกว้างก็คือด้านที่ทำมุม 90 องศากับด้านยาวซึ่งคุณได้วัดไปก่อนหน้า เช่น ด้านสองด้านของสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่อยู่ถัดจากกัน จดค่าที่ได้ไว้ด้วย

    • ถ้าวัตถุที่คุณวัดสั้นกว่า 1 เมตรเพียงเล็กน้อย คุณสามารถประมาณค่าเป็นหน่วยเซนติเมตรที่ใกล้ที่สุดได้เลย เช่น ถ้าความกว้างมากกว่า 1 เมตร 8 เซนติเมตรเล็กน้อย คุณก็ประมาณเป็น “1 เมตร 8 เซนติเมตร” ไม่ต้องเขียนเลขทศนิยมหรือมีหน่วยมิลลิเมตร

  5. แปลงค่าจากหน่วยเซนติเมตรเป็นเมตร. บ่อยครั้งที่ขนาดความยาวที่วัดได้จะไม่ได้เป็นหน่วยเมตรพอดี เรามักจะได้ตัวเลขที่มีทั้งหน่วยเมตรและเซนติเมตร เช่น “2 เมตร 35 เซนติเมตร” เนื่องจาก 1 เซนติเมตร = 0.01 เมตร คุณสามารถแปลงหน่วยเซนติเมตรเป็นเมตรได้โดยการเลื่อนจุดทศนิยมไปทางซ้ายสองตำแหน่ง นี่คือตัวอย่าง

    • 35 cm = 0.35 m, ดังนั้น 2 m 35 cm = 2 m + 0.35 m = 2.35 m
    • 8 cm = 0.08 m, ดังนั้น 1 m 8 cm = 1.08 m

  6. คูณความยาวกับความกว้าง. เมื่อขนาดของคุณมีหน่วยเป็นเมตรแล้ว ให้คูณทั้งสองค่าเข้าด้วยกัน ก็จะได้พื้นที่เป็นหน่วยตารางเมตร ใช้เครื่องคิดเลขก็ได้ถ้าจำเป็น เช่น

    • 2.35 m x 1.08 m = 2.538 ตารางเมตร (m2)

  7. ประมาณค่าเพื่อให้ดูง่ายขึ้น. ถ้าคุณได้คำตอบที่มีเลขทศนิยมยาวๆ เช่น 2.538 ตารางเมตร ถ้าอาจต้องการประมาณตัวเลขให้เหลือทศนิยมน้อยลง เช่น “2.54 ตารางเมตร” ในความเป็นจริง เนื่องจากคุณไม่อาจวัดค่าได้ถูกต้องครบถ้วนจนถึงตัวเลขทศนิยมที่น้อยที่สุดได้อยู่แล้ว เลขทศนิยมตำแหน่งสุดท้ายนี้ก็อาจไม่ใช่ค่าที่แท้จริง ส่วนใหญ่ คุณสามารถประมาณค่าเป็นหน่วยเซนติเมตรที่ใกล้เคียงที่สุด (0.01 m) แต่ถ้าอยากได้คำตอบที่ถูกต้องแม่นยำยิ่งกว่า ก็ไปอ่านวิธีการประมาณค่าตัวเลข

    • เมื่อไหร่ก็ตามที่คูณเลขสองตัวที่มีหน่วยเดียวกัน (เช่น เมตร) คำตอบจะต้องอยู่ในหน่วยของพื้นที่กำลังสอง (m2 หรือ ตารางเมตร)

  1. คูณหน่วยตารางฟุตด้วย 0.093. วัดความยาวและความกว้างในหน่วยฟุต จากนั้นก็จับคูณกัน ได้พื้นที่ในหน่วยตารางฟุต เนื่องจาก 1 ตารางฟุต = 0.093 ตารางเมตร การคูณค่าที่ได้ด้วย 0.093 ก็จะทำให้ได้พื้นที่ในหน่วยตารางเมตร หนึ่งตารางเมตรใหญ่กว่าหนึ่งตารางฟุต ดังนั้นคำตอบที่ได้จึงมีค่าน้อยลงนั่นเอง

    • เพื่อความถูกต้องมากขึ้น ให้คูณกับ 0.092903 แทน

  2. คูณตารางหลาด้วย 0.84. ถ้าคุณวัดเป็นหน่วยตารางหลา ก็คูณค่านั้นกับ 0.84 เพื่อให้ได้พื้นที่ในหน่วยตารางเมตร

    • เพื่อความถูกต้องมากขึ้น ให้คูณกับ 0.83613 แทน

  3. คูณเอเคอร์ด้วย 4050. 1 เอเคอร์ขนาดประมาณ 4050 ตารางเมตร ถ้าคุณอยากได้คำตอบที่ถูกต้องมากขึ้น ก็ให้คูณกับ 4046.9 แทน

  4. แปลงตารางไมล์เป็นตารางเมตร. หนึ่งตารางไมล์มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งตารางเมตรมาก ส่วนใหญ่เราจึงแปลงเป็นหน่วยตารางกิโลเมตรแทน โดยการคูณตารางไมล์กับ 2.6 (หรือ 2.59 เพื่อให้ได้คำตอบที่ถูกต้องมากกว่า)

    • ถ้าคุณอยากแปลงเป็นหน่วยตารางเมตรจริงๆ ก็ให้เทียบจาก 1 ตารางกิโลเมตร = 1,000,000 ตารางเมตร

  5. แปลงตารางเมตรเป็นหน่วยวัดพื้นที่อื่นๆ ไม่ใช่ความยาว. ตารางเมตรคือหน่วยวัดของ “พื้นที่” หรือพื้นผิวสองมิติ ไม่สามารถไปเปรียบเทียบกับหน่วยวัดของ “ความยาว” หรือระยะทางใดๆ ได้เลย คุณสามารถแปลงหน่วยระหว่าง “ตารางเมตร” กับ “ตารางฟุต” ได้ แต่ ”ไม่ใช่” ระหว่าง “ตารางเมตร” กับ “ฟุต” เด็ดขาด

    • ห้ามใช้การคำนวณในส่วนนี้แปลงหน่วยความยาวเด็ดขาด เพราะความยาวต้องใช้ตัวเลขอื่น

  1. แบ่งรูปเรขาคณิตเป็นหลายๆ ส่วน. ถ้าคุณกำลังแก้โจทย์เลขอยู่ ให้วาดเส้นแบ่งเป็นรูปเรขาคณิตที่ดูง่ายขึ้น เช่น สี่เหลี่ยมมุมฉากหรือสามเหลี่ยม หรือถ้าคุณจะวัดขนาดพื้นที่ห้องหรือวัตถุอะไรก็ตาม ก็ให้ร่างแผนภาพของพื้นที่นั้นๆ ออกมาก่อน จากนั้นก็ทำเหมือนกัน วัดความยาวของส่วนต่างๆ แล้วจดลงไปบนแผนภาพนั้น จากนั้นก็ทำตามวิธีการด้านล่างเพื่อหาพื้นที่ของแต่ละส่วน สุดท้ายก็รวมค่าทั้งหมดเข้าด้วยกัน

  2. วัดขนาดของส่วนที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉากตามปกติ. ถ้าต้องการหาพื้นที่ตารางเมตรของส่วนสี่เหลี่ยมมุมฉาก ก็ไปอ่าน “คำนวณพื้นที่ในหน่วยตารางเมตร” ข้างบนได้เลย

    • ถ้าคุณคำนวณโดยใช้หน่วยอื่นๆ ก็ไปอ่านส่วน “แปลงหน่วยอื่นๆ เป็นตารางเมตร”

  3. วัดขนาดของสามเหลี่ยมมุมฉากด้วยวิธีเดิม. จากนั้นหารด้วยสอง สามเหลี่ยมมุมฉากซึ่งมีมุม 90 องศาเหมือนกับมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัส จะหาพื้นที่ได้ง่ายอยู่แล้ว โดยวัดความยาวด้านสองด้านที่อยู่ถัดจากมุม 90 องศานั้น (ความยาวและความกว้าง) คูณค่าเข้าด้วยกัน จากนั้นหารด้วยสองเพื่อให้ได้พื้นที่ในหน่วยตารางเมตร

    • วิธีนี้ใช้ได้ก็เพราะสามเหลี่ยมมุมฉากมีขนาดเท่ากับสี่เหลี่ยมมุมฉากตัดครึ่ง วิธีการง่ายๆ คือ วัดพื้นที่สี่เหลี่ยมตามปกติ จากนั้นก็หารคำตอบด้วยสอง ก็จะได้พื้นที่ของสามเหลี่ยมแล้ว

  4. เปลี่ยนสามเหลี่ยมอื่นๆ ให้เป็นสามเหลี่ยมมุมฉากก่อนแล้วค่อยวัด. ลากเส้นจากมุมใดๆ ก็ได้ของสามเหลี่ยมไปยังด้านตรงข้าม ที่จุดปลายของเส้น เส้นจะทำมุม 90 องศากับด้านนั้นพอดี (นึกภาพมุมของสี่เหลี่ยมจัตุรัส)) เมื่อคุณแบ่งสามเหลี่ยมเป็นสองส่วนแล้ว แต่ละส่วนก็คือสามเหลี่ยมมุมฉากนั่นเอง อ่านวิธีด้านบนเพื่อหาพื้นที่ของสามเหลี่ยมมุมฉากได้เลย เมื่อวัดพื้นที่ของสามเหลี่ยมทั้งสองเสร็จแล้ว ก็ให้บวกคำตอบเข้าด้วยกัน