อุด ฟัน สี เดียว กับ ฟัน

การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันคืออะไร
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟัน คือการใช้วัสดุอุดฟันเรซิน (พลาสติก) ที่มีสีเหมือนฟัน ซ่อมแซมฟันที่ผุ บิ่น แตก หรือเปลี่ยนสี การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันแตกต่างจากเคลือบฟันเทียมตรงที่เคลือบฟันเทียมนั้น ต้องผลิตในห้องปฏิบัติการทดลองโดยใช้แบบพิมพ์ฟันของผู้ป่วยแต่ละรายเพื่อให้ครอบไปบนฟันได้พอดี การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันสามารถทำเสร็จได้ภายในครั้งเดียว เราเรียกการรักษาแบบนี้ว่าการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเพราะต้องใช้วัสดุยึดติดเข้ากับฟัน

มีประโยชน์อย่างไร
การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันเป็นการรักษาฟันเพื่อความสวยงามแบบหนึ่งที่ทำได้ง่ายและราคาย่อมเยาที่สุด สารประกอบเรซินที่ใช้ในการอุดฟันสามารถปรับรูปร่างและขัดเงาให้เหมือนกับฟันซี่ที่อยู่ใกล้กันได้ ส่วนใหญ่แล้ว การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันมักใช้เป็นการรักษาเพื่อความสวยงาม โดยมีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงรูปลักษณ์ของฟันที่เปลี่ยนสีหรือบิ่นได้ดูดีขึ้น นอกจากนี้ยังใช้อุดช่องว่างระหว่างฟัน ทำให้ฟันดูยาวขึ้นหรือจะใช้เปลี่ยนรูปร่างหรือสีของฟันก็ได้

ในบางครั้งการอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันจะใช้แทน การอุดฟันด้วย อะมัลกัม หรือเพื่อปกป้องราก ฟันที่โผล่พ้นเหงือกเนื่องจากภาวะเหงือกร่น

การเตรียมตัว ไม่จำเป็นต้องเตรียมตัวใด ๆ การอุดฟันด้วยวัสดุสีเหมือนฟันมักจะไม่ต้องใช้ยาชา ยกเว้นกรณีอุดฟันผุ

ขั้นตอนการรักษาเป็นอย่างไร
ทันตแพทย์จะเลือกสารประกอบเรซินที่มีสีใกล้เคียงกับสีฟันของคุณมากที่สุดโดยใช้ชุดเลือกสีเป็นแนวทาง

หลังจากเลือกสีได้แล้ว ทันตแพทย์จะกัดหรือขัดผิวของฟันออกเล็กน้อยเพื่อให้ผิวฟันหยาบขึ้น จากนั้นจึงเคลือบผิวฟันบาง ๆ ด้วยน้ำยาปรับสภาพฟันซึ่งจะช่วยให้วัสดุอุดฟันติดแน่นหนา

เมื่อเตรียมฟันเสร็จแล้ว ทันตแพทย์จะทาเรซินสีเหมือนฟันที่มีลักษณะเหมือนปูนลงไปบนผิวฟัน จากนั้นจึงปรับรูปร่างและปรับผิวเรซินให้เรียบเนียน จนกระทั่งได้รูปร่างที่ต้องการ แล้วฉายแสงอัลตราไวโอเล็ตหรือเลเซอร์เพื่อทำให้แข็ง

หลังจากวัสดุอุดฟันแข็งดีแล้ว ทันตแพทย์จะตกแต่งรูปร่างและขัดเงาต่อไป จนกระทั่งผิวของฟันเงาเท่ากับผิวฟันส่วนที่เหลือ

การอุดฟันแบบนี้ปกติแล้วจะใช้เวลา 30 นาทีถึง 1 ชั่วโมง แต่หากคุณต้องอุดฟันมากกว่าหนึ่งซี่ คุณอาจจะต้องเผื่อเวลาไว้นานกว่านี้หรือต้องนัดพบทันตแพทย์อีกหลายครั้ง

ชา กาแฟ และการสูบบุหรี่ ตลอดจนสารอย่างอื่นอาจทำให้เกิดคราบบนเรซินได้ เพื่อป้องกันและลดการเกิดคราบให้น้อยที่่สุด คุณไม่ควรรับประทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มเหล่านี้ภายใน 48 ชั่วโมงหลังอุดฟัน นอกจากนี้ ควรแปรงฟันบ่อย ๆ และไปพบนักทันตสุขอนามัยเพื่อทำความสะอาดฟันทุก ๆ เป็นประจำ

ความเสี่ยง
สารประกอบเรซินที่ใช้อุดฟันไม่แข็งแรงเหมือนฟันจริง ดังนั้น หากคุณกัดเล็บ เคี้ยวน้ำแข็งหรือปากกา ก็อาจทำให้วัสดุอุดฟันแตกหักได้ ตามปกติแล้ว วัสดุอุดฟันจะอยู่ได้นานหลายปี หลังจากนั้นคุณจะต้องไปพบทันตแพทย์เพื่อบูรณะฟันใหม่ แต่วัสดุอุดฟันของคุณจะอยู่ได้นานเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับปริมาณวัสดุอุดฟันที่ทันตแพทย์ใช้และนิสัยในการดูแลช่องปากของคุณด้วย

ต้องไปพบทันตแพทย์เมื่อไหร่
หลังจากอุดฟันมาระยะหนึ่ง หากคุณสังเกตเห็นว่าฟันที่อุดมานั้นมีขอบแหลมคม รู้สึกว่าฟันแปลก ๆ หรือ "ไม่อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง" ตอนกัดฟัน ให้ติดต่อทันตแพทย์

ติดต่อทันตแพทย์ได้ทุกเวลาหากวัสดุอุดฟันแตกหรือหลุดออกมา

2/28/2004

อุด ฟัน สี เดียว กับ ฟัน

ทันตกรรมอุดฟัน

การอุดฟันเป็นวิธีการรักษาทางทันตกรรมสำหรับผู้ป่วยที่มีฟันผุ หรือบิ่น โดยทันตแพทย์จะทำการซ่อมแซมบริเวณนั้นด้วยวัสดุอุดฟันต่างๆ เช่น วัสดุ อมัลกัม และวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

ประเภทของการอุดฟัน

การอุดฟันโดยทั่วไปแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามชนิดของวัสดุที่ใช้ดังนี้

  • การอุดฟันด้วยวัสดุอมัลกัม
  • การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

เราเลือกใช้วัสดุที่มีคุณภาพในการอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน เป็นชนิดที่ยอมรับด้านนาโนเทคโนโลยี ซึ่งมีประสิทธิภาพและความแข็งแรงสูงในการอุดฟัน

คุณสมบัติของวัสดุอุดฟันที่เลือก

  • ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กจึงให้ความเงางามและการเกาะยึดที่ดี
  • มีระดับการหดตัวต่ำจึงช่วยลดโอกาสที่จะเกิดการเสียวฟันของผู้ป่วย
  • ให้ความใสสว่างจึงช่วยให้แลดูเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
  • คุณสมบัติเฉพาะที่ได้รับจากการพัฒนาด้วยนาโนเทคโนโลยีจึงทำให้การอุดฟันที่ได้มีประสิทธิภาพการทำงานสูง
  • มีความแข็งแรงและทนทานสูงแม้ใช้ในฟันกรามที่ต้องรับแรงบดเคี้ยว
  • สามารถใช้ในงานอุดฟันแบบง่ายๆจนถึงซับซ้อน สามารถปรับแต่งผสมสีให้มีความสวยงามใกล้เคียงกับสีของฟันตามธรรมชาติมากที่สุด

การอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

ขั้นตอนการอุดฟันด้วยวัสดุเรซินสีเหมือนฟัน

  • ขั้นการตรวจวินิจฉัยและการกรอฟันที่ผุออก
    • กรอเนื้อฟันที่ผุและติดเชื้อทิ้งไป
    • เตรียมพื้นที่ฟันเพื่อการอุด
  • ขั้นตอนการอุดฟัน
    • ใส่วัสดุเรซินสีเหมือนฟัน สลับกับการฉายแสงให้วัสดุแข็งตัวเป็นชั้นๆ
    • หลังจากได้รับการอุดเต็มพื้นที่แล้ว กรอแต่งให้ได้รูปร่างที่เหมาะสมตามต้องการ
    • ขัดวัสดุให้มีความเงางามดูเป็นเนื้อเดียวกันกับฟันตามธรรมชาติ

อาการหลังการอุดฟัน

การอุดฟันหรือการเปลี่ยนวัสดุอุดนั้นสามารถทำได้ด้วยขั้นตอนง่ายๆ ในเวลาสั้นๆ ดังนั้นอาการต่างๆ เช่น การเสียวฟันหลังการรักษาจึงเกิดขึ้นได้น้อยมาก การอุดฟันสามารถทำและเสร็จภายในวันเดียว แต่สำหรับกรณีทีผู้ป่วยมีจำนวนฟันที่ต้องเข้ารับการอุดมากๆนั้น ควรนัดมาทำหลายๆครั้ง

การดูแลรักษาหลังได้รับการอุดฟัน

  • ควรทำความสะอาดด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง การแปรงฟันหลังรับประทานอาหารเป็นการเริ่มวินัยที่ดีในการดูแลสุขภาพปากและ ฟันซึ่งเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติอย่างยิ่ง
  • ควรใช้น้ำยาบ้วนปากที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ก่อนเข้านอนทุกวัน โดยกลั้วน้ำยาบ้วนปากและอมไว้ประมาณ 1 นาที และไม่ควรดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารภายใน 30 นาทีหลังจากนั้น
  • ควรพบทันตแพทย์เพื่อตรวจสุขภาพฟันและเข้ารับการขัดฟันขูดหินปูนเป็นประจำทุก 4-6 เดือน
  • ในกรณีที่มีอาการเสียวฟันหรือปวดฟัน หรือมีการแตกและหลุดของวัสดุอุดฟัน ควรเข้าพบทันตแพทย์ทันที

ควรทำความสะอาดด้วยไหมขัดฟันอย่างน้อยวันละ 1 – 2 ครั้ง