การบริหารทรัพยากรในครอบครัว

      การวางแผนการใช้ทรัพยากรภายในบ้าน

การบริหารทรัพยากรในครอบครัว

     การจัดการด้านการวางแผนการทำงานและการใช้ทรัพยากรในบ้าน เป็นการบริหารจัดการเกี่ยวกับการปฏิบัติกิจกรรมต่างๆ รวมทั้งการจัดการเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรของครอบครัวที่มีอยู่ให้คุ่มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากสมาชิกในครอบครัวเป็นการแบ่งเบาภาระงานต่างๆตามกำลังความสามารถ ความถนัดและความพอใจของสมาชิก เช่น การประกอบอาหาร การทำความสะอาด การตัดเย็บเสื้อผ้า การทำสวนครัว ทำบัญชีรายรับรายจ่ายในบ้านซึ่งในการจัดการนั้นจะเกี่ยวข้องกับทรัพยากร ดังนี้

       1. ทรัพยากรส่วนบุคคล เป็นสิ่งที่มีประจำตัวบุคคล เช่น เวลา แรงงาน ความสนใจ ความสามารถ สติปัญญา เป็นต้น

       2. ทรัพยากรประเภทวัสดุและบริการ เป็นสิ่งของหรือบริการที่อำนวยความสะดวกให้แก่ครอบครัว เช่น เงินรายได้ครอบครัว สิ่งของเครื่องใช้ อาหาร งานบริการจากภาครัฐและเอกชน เช่นโรงเรียน การไฟฟ้า ธนาคาร การประปา เป็นต้น

       3. ทรัพยากรธรรมชาติ เป็นสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติ ซึ่งส่งผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในครอบครัว เช่น ดินฟ้า อากาศ ฤดูกาล ต้นไม้ แม่น้ำ ลำคลอง เป็นต้น 

การบริหารทรัพยากรในครอบครัว

ผู้แต่ง

  • ประภาศรี บัวศรี สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • โชติมา แก้วกอง สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน, Household Resources Management to Reduce Global Warming

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ของนิสิตเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน 2) ศึกษาความรู้ของนิสิตเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน 3) ศึกษาพฤติกรรมของนิสิตในการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน 4) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมของนิสิตในการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ ชั้นปี คณะที่ศึกษา จำนวนสมาชิกในครอบครัว รายได้ของครอบครัวต่อเดือน อาชีพบิดา อาชีพมารดา 5) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนิสิตในการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อช่วยลดปัญหาภาวะโลกร้อน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตระดับปริญญาตรี ภาคปกติ ปีการศึกษา 2555 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จำนวน 376 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ซึ่งหาค่าความเชื่อมั่นได้เท่ากับ .850 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับภาวะโลกร้อน ระดับมาก ( =.694, S.D.= .090) 2) นิสิตมีความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อลดภาวะโลกร้อน ระดับมาก ( =.898, S.D.= .122) 3) นิสิตมีพฤติกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อช่วยลดภาวะโลกร้อน ระดับปานกลาง ( =1.802, S.D.= .352) 4) นิสิตที่มีปัจจัยส่วนบุคคล คือ คณะที่ศึกษา (F=6.893, p-value=.000) และจำนวนสมาชิกในครัวเรือน (F=4.094, p-value=.017) แตกต่างกัน มีพฤติกรรมในการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อลดภาวะโลกร้อนแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาวะโลกร้อน (r=-.001, p-value =.985) และความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน (r = -.081, p-value =.177) ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของนิสิตในการบริหารจัดการทรัพยากรครอบครัวเพื่อลดปัญหาภาวะโลกร้อน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

UNDERGRADUATE STUDENTS’ HOUSEHOLD RESOURCES MANAGEMENT TO REDUCE
GLOBAL WARMING: A CASE STUDY OF UNDERGRADUATE STUDENTS OF KASETSART UNIVERSITY, KAMPHAENG SAEN CAMPUS

The purposes of this research were 1) to study undergraduate students’ knowledge of global warming, 2) to study undergraduate students’ knowledge of household resources management to decrease global warming, 3) to study undergraduate students’ behaviors in household resources management to decrease global warming, 4) to compare undergraduate students’ behaviors in household resources management to decrease global warming classified by age, sex, year of study, faculty, family members, family income, father’s occupation and mother’s occupation, and 5) to study factors correlate to undergraduate students’ behaviors in household resources management to decrease global warming. The sample consisted of 376 undergraduate students who studied at Kasetsart University, Kamphaeng Saen Campus in 2012. The stratified random sampling technique was used in this study. The data were collected by questionnaires with Cronbach’s alpha coefficient of .850. The statistics used in the research were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, one-way analysis of variance, and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient with the level of statistical significance at .05.

The results of the research showed that:

1) undergraduate students’ knowledge of global warming was high ( =.694, S.D.= .090),

2) undergraduate students’ knowledge of household resources management was high ( =.898, S.D.= .122),

3) undergraduate students’ behaviors in household resources management were moderate ( =1.802, S.D.= .352),

4) undergraduate students’ behaviors in household resources management were affected by faculty (F=6.893, p-value=.000) and family member (F=4.094, p-value=.017) significantly, and

5) the relationships among knowledge of global warming (r=-.001, p-value=.985) and knowledge of household resources management (r=-.081, p-value=1.77) and undergraduate students’ behaviors in household resources management household resources management were not found.

Downloads

Download data is not yet available.