คณะอักษรศาสตร์ จุฬา ฯ หลักสูตร

งานนำเสนอเรื่อง: "หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย"— ใบสำเนางานนำเสนอ:

1 หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สาขาวิชาภาษาจีน คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 1. ชื่อหลักสูตร: หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีน (Doctor of Philosophy Program in Chinese) 2. ชื่อปริญญา: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต อ.ด. (Doctor of Philosophy Ph.D.) 3. ชื่อที่ลงในใบTranscript: Field of Study: Chinese

2 4. ปรัชญา วัตถุประสงค์ของหลักสูตร คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ และภาวะความต้องการบัณฑิต
4.1 ปรัชญาของหลักสูตร เป็นหลักสูตรภาษาจีนระดับดุษฎีบัณฑิตที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ 4.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร 4.2.1 มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ลึกซึ้งและมีความเชี่ยวชาญทางภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมจีน พร้อมที่จะสอนในสถาบันอุดม ศึกษาทุกระดับ

3 4.2.2 มุ่งเน้นการสร้างองค์ความรู้ใหม่ในสาขาวิชาภาษาจีน เพื่อกระตุ้นให้มีผลงานวิจัยทางด้านภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมจีนให้มากขึ้น และเป็นไปตามมาตรฐานสากล 4.3 คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ 4.3.1 มีความสามารถในการวิเคราะห์ สังเคราะห์ ผลงานวิจัยทางด้านภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมจีนที่เผยแพร่ในระดับสากล 4.3.2 มีความสามารถในการสร้างผลงานวิจัยที่มีคุณภาพและมาตรฐานระดับสากล และเป็นองค์ความรู้ใหม่

4 4.3.3 สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาจีน และงานที่เกี่ยวข้องได้
5. ระบบการศึกษา ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิตเป็นแบบทวิภาค ปีการศึกษาหนึ่งๆ แบ่งการศึกษาออกเป็น 2 ภาคการศึกษา คือ ภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย และอาจมีภาคฤดูร้อนต่อจากภาคการศึกษาปลายอีกภาคหนึ่งก็ได้ ภาคการศึกษาหนึ่งๆ มีระยะเวลาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ ส่วนภาคฤดูร้อนมีระยะเวลาการศึกษาประมาณ 6-8 สัปดาห์

5 6. ระยะเวลาการศึกษา ไม่เกิน 5 ปีการศึกษา (สำหรับหลักสูตรแบบ 1.1 และ 2.1) หรือ 8 ปีการศึกษา (สำหรับหลักสูตรแบบ 1.2 และ 2.2) 7. การลงทะเบียนเรียน ไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิตและไม่เกิน 15 หน่วยกิตในแต่ละภาคการศึกษา ส่วนภาคฤดูร้อนไม่เกิน 6 หน่วยกิต

6 8. การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การประเมินผลรายวิชาให้ใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F ส่วนวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และ ตก โดยผลงาน วิทยานิพนธ์หรือส่วนหนึ่งของผลงานวิทยานิพนธ์ของนิสิตจะต้องได้รับการตีพิมพ์ หรือได้รับการยอมรับให้ตีพิมพ์ในวารสาร หรือสิ่งพิมพ์ทางวิชาการที่มีกรรมการภายนอกมาร่วมกลั่นกรอง (Peer review) ก่อนการตีพิมพ์ และเป็นที่ยอมรับในสาขาวิชานั้น หรือในวารสารที่มีการเผยแพร่ในระดับนานาชาติ

7 9. หลักสูตรแบบ 1.1 9.1 จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร หน่วยกิต 9.2 โครงสร้างหลักสูตร วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต ในภาคการศึกษาใดที่นิสิตไม่ได้ลงทะเบียนเรียนรายวิชาสัมมนา นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชา สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต ทุกภาคการศึกษาจนกว่าจะสำเร็จการศึกษาโดยไม่นับหน่วยกิตและประเมินผลเป็น S/U

8 2222 828* วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
10. หลักสูตรแบบ 1.1 วิทยานิพนธ์ (48 หน่วยกิต) * วิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต Dissertation *รายวิชาเปิดใหม่

9 ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่สอง
11. แผนการศึกษา แบบ 1.1 ปีที่ 1 ภาคการศึกษาแรก * วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต รวม หน่วยกิต ปีที่ 1 ภาคการศึกษาที่สอง * วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต *รายวิชาเปิดใหม่

10 ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่สอง
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาแรก * วิทยานิพนธ์ หน่วยกิต รวม หน่วยกิต ปีที่ 2 ภาคการศึกษาที่สอง ปีที่ 3 ภาคการศึกษาแรก * วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต รวม หน่วยกิต

ช่วงระยะนี้เป็นช่วงเวลาที่อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ กำลังประชุมกันเพื่อปรับแก้หลักสูตรอักษรศาสตร์บัณฑิตระดับปริญญาตรี ซึ่งทั้งคณะมีอยู่หลักสูตรเดียว เนื่องจากมีกำหนดว่าจะต้องมีการปรับปรุงหลักสูตรทุกๆห้าปีหรืออย่างไรนี่แหละ เป็นไปเงื่อนไขของมหาวิทยาลัยกับกระทรวงที่กำหนดว่าหลักสูตรทุกๆหลักสูตรต้องมีการแก้ไขปรับปรุง

ผมเคยเป็นกรรมการของหลายๆหลักสูตร เท่าที่ผ่านมาหลายๆหลักสูตรนั้นก็ไม่ค่ยอแก้ไขอะไรมาก เหมือนกับว่าแก้ไขหลักสูตรเพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขพวกนี้เท่านั้น บางหลักสูตรก็เอาหนึ่งวิชาออก แล้วเอาอีกหนึ่งวิชาที่เนื้อหาใกล้กันมากๆใส่เข้าไปแทน บางหลักสูตรก็ปรับจำนวนหน่วยกิตของบางวิชาจากสองหน่วยเป็นสามบ้าง หรือจากสามเป็นสองบ้าง อะไรทำนองนี้

คณะอักษรศาสตร์ จุฬา ฯ หลักสูตร

การปรับแบบนี้เป็นการปรับเฉพาะที่ผิวหน้าเท่านั้น หรือที่เรียกว่า cosmetic change คือเนื้อในไม่เปลี่ยน หลักการและเหตุผล กับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรยังคงเดิม กรรมการที่ประเมินหลักสูตรก็มักจะพอใจกับการเปลี่ยนแบบนี้ และแทนที่จะดูว่าหลักการกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรยังสอดคล้องกับโลกที่เปลี่ยนไปหรือไม่ ก็ไปดูเรื่องปลีกย่อย เช่นเรื่องตัวสะกดต่างๆกับการใช้คำแทน ที่เป็นเช่นนี้ก็เนื่องจากว่า พอไม่ดูเรื่องเนื้อหาของหลักสูตร เช่นตั้งคำถามว่าเหตุใดวิชานั้นวิชานี้จึงยังจำเป็นอยู่ในหลักสูตร หรือเหตุใดถึงไม่มีวิชานั้นวิชานี้ซึ่งจำเป็น ก็ไม่มีงานอะไรเหลือนอกจากดูเรื่องปลีกย่อย การปรับแก้หลักสูตรก็เป็นไปอย่างเรียบร้อย คือเป็นไปตามเงื่อนไขข้างต้น แต่จริงๆก็คือไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง

แต่หลักสูตรของอักษรศาสตรบัณฑิตไม่เป็นแบบนั้น เพราะในการปรับหลักสูตรทุกครั้งจะมีการถกเถียงอย่างหนักเสมอว่าควรจะเปลี่ยนอย่างไร และข้อเสนอในการเปลี่ยนก็ไม่ใช่เพียงแค่ฉาบหน้า แต่เป็นการเปลี่ยนอย่างหนัก ซึ่งลงลึกไปถึงโครงสร้างของหลักสูตรทั้งหมด (เท่าที่ทำได้ เพราะทุกหลักสูตรมีเกณฑ์บางอย่างควบคุมอยู่ เช่นเรื่องการศึกษาทั่วไป)

ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า การถกเถียงเกี่ยวกับหลักสูตรอักษรศาสตร์ ไม่ใช่เพียงแค่จะเอาวิชานั้นวิชานี้ หรือจะให้หน่วยกิตวิชานั้นวิชานี้เป็นเท่าใด แต่เป็นเรื่องของปัญหาสำคัญที่สุดของหลักสูตร ก็คือว่า เราจะผลิตบัณฑิตอักษรศาสตร์เป็นแบบใด

หลักสูตรของคณะอื่นๆอาจไม่มีข้อถกเถียงมากนักว่า จะผลิตบัณฑิตแบบใด หลักสูตรแพทย์ก็มุ่งผลิตแพทย์ อาจมีข้อถกเถียงว่าแพทย์สมัยใหม่จะต้องเป็นแบบใด ควรเรียนวิชาอะไร หรือมีวิชาอะไรที่ยกเลิกไปได้บ้าง แต่หลักการก็ยังเป็นแบบเดิม คือผลิตแพทย์

แต่หลักสูตรอักษรไม่เป็นแบบนั้น เพราะไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เช่นว่าจะผลิตแพทย์ หรือวิศวกร หรือสถาปนิก หรือครู แต่ผลิต “บัณฑิตอักษรศาสตร์” โดยตรง ทีนี้ปัญหาก็คือว่า ใครคือบัณฑิตอักษรศาสตร์กันแน่ หลักสูตรแพทย์หรือวิชาชีพอื่นๆไม่ค่อยมีปัญหาตรงนี้ เพราะมีความชัดเจนอยู่ว่าบัณฑิตแพทย์หรือวิศวะเป็นอย่างไร ทำอะไร ประกอบอาชีพอะไร แต่บัณฑิตอักษรศาสตร์ไม่เป็นอย่างนั้น

ตรงนี้เองที่เป็นคำตอบว่า เหตุใดการปรับหลักสูตรอักษรศาสตร์จึงก่อให้เกิดการถกเถียงเป็นอันมาก แต่ละคนก็มีความคิดเห็นที่แตกต่างกันว่าบัณฑิตอักษรศาสตร์เป็นแบบใด และเนื่องจากการผลิตบัณฑิตอักษรศาสตร์เป็นเรื่องของเป้าหมายของการศึกษาที่เน้นถึงความสำคัญของการศึกษาโดยตรง หรืออีกนัยหนึ่งก็คือว่า มุ่งผลิต “ผู้มีการศึกษา” ในภาพรวม การปรับหลักสูตรอักษรศาสตร์จึงเท่ากับการกำหนดหรือการถกเถียงว่า ผู้มีการศึกษาในภาพรวม ควรจะเป็นอย่างไร

ที่พูดอย่างนี้ไม่ได้หมายความว่า หลักสูตรอื่นๆเช่นแพทย์หรือวิศวะไม่ได้ผลิตผู้มีการศึกษา แต่เป้าหมายนี้เป็นเป้าหมายรองที่สนับสนุนเป้าหมายหลักของหลักสูตร ซึ่งได้แก่ผลิตแพทย์หรือวิศวะ หรือวิชาชีพอื่นๆ เมื่อเราไปถามคนทำหลักสูตรพวกนี้ เขาก็จะไม่บอกว่าหลักสูตรของเขาผลิต “ผู้มีการศึกษา” แต่บอกว่าจะผลิตผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ

ตรงนี้เองที่ทำให้การปรับหลักสูตรอักษรศาสตร์มีความสำคัญ เพราะเป็นการถกเถียงเกี่ยวกับเป้าหมายของการศึกษาในระดับปริญญาตรีโดยตรง ใครคือผู้มีการศึกษาในภาพรวม (ที่ไม่ใช่วิชาชีพ แต่เป็นพื้นฐานให้แก่วิชาชีพ) คำถามนี้นำไปสู่คำถามว่าใครคือบัณฑิตอักษรศาสตร์

คำถามนี้แม้แต่อาจารย์ที่เป็นผู้ร่างหลักสูตร ก็ยังแบ่งออกเป็นกลุ่มความคิดที่แตกต่างกัน กลุ่มหนึ่งจะมองเป้าหมายของหลักสูตรว่าเป็นการผลิต “นักวิชาการอาชีพ” ซึ่งหมายถึงว่าบัณฑิตอักษรศาสตร์ในระดับปริญญาตรี จะต้องทำงานวิชาการแบบเดียวกันนิสิตที่เรียนในระดับปริญญาโทหรือเอก พูดอีกอย่างก็คือว่า ผลิตบัณฑิตเพื่อเข้าสู่หลักสูตรบัณฑิตศึกษาโดยตรง เป้าหมายสุดท้ายก็ได้แก่ปริญญาเอก คนที่คิดแบบนี้จะมองว่าเป้าหมายของหลักสูตรปริญญาตรี คือปูทางเข้าสู่การเรียนในระดับบัณฑิตศึกษา วิธีการก็คือทำให้การเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นนิสิตบัณฑิตศึกษา เป็นไปได้อย่างราบรื่นใช้เวลาน้อยที่สุด

อีกกลุ่มหนึ่งได้แก่กลุ่มที่เชื่อว่า เป้าหมายของหลักสูตรได้แก่การผลิต “นักวิชาชีพ” ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนักวิชาการเช่นกลุ่มแรก อาจารย์กลุ่มที่เชื่อเช่นนี้คิดว่า เป้าหมายหลักของหลักสูตรจะต้องเป็นการเตรียมการนิสิตให้เข้าสู่โลกของการทำงานในด้านต่างๆ เช่นเป็นนักแปล นักเขียนโฆษณา เลขานุการ หรืออาชีพอื่นๆที่บัณฑิตอักษรทำกัน เป้าหมายไม่ควรจะแคบจนกลายเป็นผลิตนักวิชาการอาชีพ หรือผู้มีอาชีพเป็นนักวิชาการอย่างเดียว แบบที่กลุ่มแรกเสนอ แต่มีความยืดหยุ่นมากกว่า ผลิตคนทำงานได้หลากหลายมากกว่า ไม่ใช่ว่าจะเป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยอย่างเดียว

สองกลุ่มนี้ดูเผินๆอาจจะแตกต่างกัน แต่จริงๆแล้วเป้าหมายรวมเหมือนกัน คือผลิตคนให้ประกอบอาชีพโดยตรง กลุ่มแรกมุ่งผลิตบัณฑิต ป ตรีเพื่อป้อนเข้าสู่บัณฑิตวิทยาลัย เป้าหมายสุดท้ายก็คือคนจบ ป เอก ซึ่งเป็นใบประกอบวิชาชีพอาจารย์มหาวิทยาลัย กลุ่มที่สองมุ่งผลิตบัณฑิตเข้าสู่ตลาดแรงงานโดยตรง แต่ไม่ได้จำกัดอยู่แค่ว่าต้องเป็นอาชีพอาจารย์เท่านั้น

นอกจากนี้ยังมีกลุ่มที่สาม ซึ่งผมเองก็อยู่ในกลุ่มนี้ คือเชื่อว่าเป้าหมายสูงสุดของหลักสูตรปริญญาตรี ไม่ใช่เพื่อผลิตบัณฑิตป้อนตลาดแรงงาน แต่เพื่อผลิต “ผู้มีการศึกษา” แบบที่พูดไว้ข้างต้น เป้าหมายนี้เป็นเป้าหมายดั้งเดิมของการศึกษาแบบอักษรศาสตร์ หรือที่เรียกกันว่า liberal education ในภาษาอังกฤษ เป้าหมายนี้ ซึ่งมีมาในโลกตะวันตกมาเป็นเวลายาวนาน ก็คือไม่ใช่การผลิตคนไปประกอบอาชีพโดยตรง แต่ผลิตคนที่มีความรอบรู้ มีความคิด มีความสามารถในการเข้าใจและซาบซึ้งกับงานศิลปะชั้นสูง โดยไม่มุ่งว่าจะให้ไปทำอาชีพอะไรโดยเฉพาะ

อย่างไรก็ตาม สองกลุ่มแรกก็อ้างได้ว่า ทำตามเป้าหมายดั้งเดิมของคณะอักษรศาสตร์เช่นกัน เพราะเมื่อเริ่มตั้งคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ขึ้นในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ไม่ได้เน้นไปที่ liberal education แต่เน้นผลิตคนไปประกอบอาชีพต่างๆโดยตรง เช่นไปเป็นครู หรือสอนความรู้พื้นฐานให้แก่คนที่เรียนวิชาชีพ เช่นแพทย์หรือวิศวกร สิ่งที่แตกต่างกันก็คือว่า ในการออกแบบหลักสูตร สองกลุ่มแรกจะมีแนวโน้มเน้นไปที่ความลึกของสาขาวิชาที่เลือก ดังนั้นสองกลุ่มนี้จึงมักจะมองว่าควรให้เรียนเนื้อหาวิชาเอกมากๆ เพื่อเตรียมตัวไปยังบัณฑิตวิทยาลัย หรือโลกของการทำงานในภาคอื่นที่ไม่ใช่วิชาการ ซึ่งในทั้งสองกรณีก็เชื่อว่ามีความจำเป็นต้องเน้นหนักไปที่เนื้อหาความรู้เฉพาะสาขาวิชา แต่กลุ่มที่สามกลับเห็นว่าการให้ความรู้ในระดับลึกนั้น เป็นหน้าที่ของบัณฑิตวิทยาลัยอยู่แล้ว การให้การศึกษาระดับปริญญาตรีควรเน้นให้นิสิตเห็นความเชื่อมโยงกันของสาขาวิชาการต่างๆมากกว่า

เมื่อเป็นเช่นนี้ กลุ่มที่สามต่างจากสองกลุ่มแรกตรงเป้าหมายสูงสุด คือเป้าหมายสูงสุดไม่ใช่การเข้าสู่ตลาดแรงงาน แต่เพื่อเตรียมคนเข้าสู่โลกของความเป็นจริงและของความคิด ในท้ายที่สุดคนที่ได้รับการศึกษาแบบนี้อาจจะเข้าสู่บัณฑิตวิทยาลัย หรือไปเรียนหลักสูตรวิชาชีพ แล้วไปประกอบอาชีพอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่สิ่งหนึ่งที่ผู้ที่เรียนแบบนี้มีมากกว่าคนที่เรียนสองแบบแรก ก็คือว่าเขาจะมี เวลาว่าง มากพอที่จะสำรวจตัวเอง อยู่ว่างๆ เฉยๆ ไม่ต้องเรียนอะไรมากเกินไป (คือต้องเรียนอยู่แล้ว แต่ไม่ต้องเรียนหนักขนาดกลุ่มแรกที่มุ่งเข้าปริญญาโทแบบทางลัด) แต่ที่สำคัญคือเวลาว่างนี่แหละ ที่จะเป็นประโยชน์แก่เขามากๆในอนาคตและในชีวิตของเขาเอง เพราะเมื่อเขาเข้าสู่ชีวิตของผู้ใหญ่ จะหาเวลาว่างแบบนี้ไม่ได้อีกแล้ว

กลุ่มทั้งสามนี้ทำให้การถกเถียงเกี่ยวกับการปรับหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต มีความสำคัญมาก และแนวโน้มของการถกเถียงของอาจารย์ในคณะเวลานี้ก็คือว่า จะให้โอกาสแก่นิสิตเป็นคนเลือกเองว่าจะไปตามทางของกลุ่มไหน อย่างไรก็ตาม ความสำคัญของเรื่องนี้ไม่ใช่แก่คณะอักษรศาสตร์จุฬาเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับระบบการศึกษาและเป้าหมายของการสร้างผู้มีการศึกษากับ liberal education ของประเทศไทยอีกด้วย เพราะเชื่อได้ว่าหลักสูตรแบบเดียวกันในมหาวิทยาลัยอื่นๆ ก็กำลังจับจ้องความเปลี่ยนแปลงกับการอภิปรายที่กำลังเกิดขึ้นที่นี่อย่างใกล้ชิด

Published by soraj

I teach philosophy at Chulalongkorn University and am a Director of the Center for Ethics of Science and Technology there. For more info go to my homepage or http://www.stc.arts.chula.ac.th/ ดูเรื่องทั้งหมดโดย soraj

เผยแพร่แล้ว 22 พฤศจิกายน 202123 พฤศจิกายน 2021

เมนูนำทาง เรื่อง