จง อธิบาย ถึง การ ศึกษา ภาค บังคับ ตาม พระราชบัญญัติ การ ศึกษา ภาค บังคับ พ ศ 2545

การส่งเด็กเข้าเรียนตามกฎหมาย

จง อธิบาย ถึง การ ศึกษา ภาค บังคับ ตาม พระราชบัญญัติ การ ศึกษา ภาค บังคับ พ ศ 2545

การส่งเด็กเข้าเรียนในการศึกษาภาคบังคับ เป็นไปตาม "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษา พ.ศ. 2546" และ "ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการปฏิบัติสำหรับผู้ที่มิใช่ผู้ปกครองซึ่งมีเด็กที่มีอายุในเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับอาศัยอยู่" ออกตามความในพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ซึ่งเป็นกฎหมายที่มีโทษทางอาญา โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. คำว่า "เด็ก" หมายถึง เด็กซึ่งมีอายุย่างเข้าปีที่ 7 จนถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 เว้นแต่เด็กที่สอบได้ชั้นปีที่ 9 ของการศึกษาภาคบังคับแล้ว

2. ผู้ปกครอง คือ 

    2.1 บิดามารดา 

    2.2 บิดาหรือมารดา ซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครอง 

    2.3 ผู้ปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

    2.4 บุคคลที่เด็กอยู่ด้วยเป็นประจำหรือที่เด็กอยู่รับใช้การงาน

3. ผู้ปกครองดังกล่าว มีหน้าที่ส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาในวันแรกของการเปิดเรียนภาคต้น (ภาคเรียนที่ 1)

4. กรณีผู้ปกครองยังไม่ได้ส่งเด็กเข้าเรียนภายใน 7 วัน นับแต่วันแรกของการเปิดเรียนภาคต้น ถ้าสถานศึกษายังมิได้รับเด็กเข้าเรียน 

    4.1 สถานศึกษามีหน้าที่จะต้องแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองทราบเพื่อให้นำเด็กมาเข้าเรียน และจะต้องรายงานให้คณะกรรมการศึกษาธิการจังหวัด (กศจ.) หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ 

    4.2 ให้ กศจ. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทำหนังสือแจ้งเตือนให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนในสถานศึกษาทันที พร้อมแจ้งเตือนว่าถ้าไม่ส่งเด็กเข้าเรียน จะมีความผิดตามมาตรา 13 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 คือ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท

5. การผ่อนผันเด็กเข้าเรียนก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ 

    5.1 ผู้ปกครองจะต้องส่งคำร้องต่อสถานศึกษาโดยตรง เพื่อให้สถานศึกษาพิจารณา 

    5.2 การพิจารณาต้องเป็นไปตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการผ่อนผันให้เด็กเข้าเรียน ก่อนหรือหลังอายุตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2546 ซึ่งประกาศ ณ วันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2546

6. เด็กจะหยุดเรียนเกินกว่าที่กำหนดไว้ดังต่อไปนี้ไม่ได้ เว้นแต่มีเหตุผลอันสมควร

    6.1 ถ้าหยุดเรียนเกิน 7 วันในหนึ่งเดือน ให้สถานศึกษามีหนังสือแจ้งให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนโดยพลัน

    6.2 ถ้าหยุดเรียนติดต่อกันเกิน 5 วัน ให้สถานศึกษามีหนังสือแจ้งให้ผู้ปกครองส่งเด็กเข้าเรียนโดยพลัน

    กรณีผู้ปกครองไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามที่ได้รับแจ้ง (ตามข้อ 6.1 และ 6.2) สถานศึกษาจะต้องรายงานให้ กศจ. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ แล้วแต่กรณี เพื่อดำเนินการให้เด็กเข้าเรียนหรือดำเนินการตามมาตรา 15 แห่งพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545 ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

7. กรณีย้ายเด็กไปเรียนในสถานศึกษาอีกแห่งหนึ่ง 

    7.1 ผู้ปกครองต้องแจ้งย้ายต่อสถานศึกษา เพื่อนำหลักฐานการเรียนไปแสดงต่อสถานศึกษาที่รับย้ายเด็ก 

    7.2 ให้สถานศึกษาที่รับย้ายเด็กแจ้งการรับย้ายเด็กไปให้สถานศึกษาเดิมทราบ พร้อมทั้งรายงานต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สังกัด 

    7.3 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตท้องที่ที่ย้ายเด็กออกได้ทราบ เพื่อจำหน่ายออกจากทะเบียน

8. ให้สถานศึกษารายงานจำนวนเด็กในเกณฑ์บังคับที่มาเข้าเรียนเป็นประจำทุกปี ในวันทำการแรกของเดือนมิถุนายน ต่อ กศจ. หรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

9. ผู้ใดที่มีเด็กอายุย่างเข้าปีที่ 7 ถึงอายุย่างเข้าปีที่ 16 มาอาศัยอยู่ด้วย และยังมิได้เข้าเรียนในสถานศึกษา ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต้องแจ้งให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทราบ แล้วแต่กรณี (เว้นแต่เรียนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ดังนี้

    9.1 ให้แจ้งภายใน 1 เดือน นับแต่วันที่เด็กอาศัยอยู่ด้วย โดยแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรตามแบบที่กำหนดหรือแจ้งด้วยวาจาโดยตรงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

    ผู้ที่ไม่แจ้งภายในเวลากำหนดหรือแจ้งข้อมูลอันเป็นเท็จ ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

    9.2 แนบหลักฐานทะเบียนหรือสูติบัตร หรือหลักฐานทางการศึกษา หรือหลักฐานอื่นที่เกี่ยวข้อง (ถ้ามี) ด้วย และให้ระบุจำนวนเด็กและสถานที่อยู่อาศัยที่สามารถติดต่อได้

ที่มา : 

4. คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 10/2559 เรื่อง การขับเคลื่อนการปฏิรูปการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการในภูมิภาค