ตัวอย่างแผนระยะสั้น กลาง ยาว

ประเภทของแผน
- แบ่งตามระยะเวลาของแผน
1. แผนระยะสั้น (Short range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี
2. แผนระยะกลาง (Intermediate range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 1-5 ปี
3. แผนระยะยาว (Long range plan) คือแผนที่มีระยะเวลาตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป
- แบ่งตามชนิดของแผน
1. แผนกลยุทธ์ (Strategic plan) เป็นแผนระยะยาวที่รวบรวมทิศทางในการปฏิบัติงานเพื่อมุ่งสู่เป้าหมายของ องค์การที่กำหนดไว้ โดยมีผู้บริหารระดับสูงเป็นผู้รับผิดชอบแผน
2. แผนยุทธวิธี (Tactical plan) เป็นแผนระยะกลางที่แสดงรายละเอียดที่สอดรับกับแผนกลยุทธ์และเป้าหมายของธุรกิจที่วางไว้
3. แผนปฏิบัติการ (Operational plan) เป็นแผนระยะสั้นที่กำหนดเฉพาะเจาะจงว่าต้องปฏิบัติอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร โดยใคร เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์การ
- แบ่งตามความถี่ในการใช้แผน
ก. แผนประจำ (Standing plan) แผนที่ถูกนำมาปฏิบัติตลอดเวลา ประกอบไปด้วย
1. นโยบาย (Policy) จะเป็นแนวทางกว้างๆที่ใช้ในการตัดสินใจและปฏิบัติภารกิจในองค์การ
2. ระเบียบวิธีปฏิบัติ (Procedure) เป็นข้อกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน ซึ่งไม่เปิดโอกาสให้ใช้ดุลยพินิจในการตัดสินใจแต่อย่างใด
3. วิธีการ (Method) มีลักษณะใกล้เคียงกับระเบียบวิธีปฏิบัติ แต่จะมีรายละเอียดที่เจาะลึกและเฉพาะเจาะจงมากกว่า
4. กฎ (Rule) เป็นคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจง ไม่แสดงลำดับขั้นตอนของการกระทำ และมักมีบทลงโทษไว้สำหรับผู้ที่ไม่ปฏิบัติตาม
      ข. แผนใช้ครั้งเดียว (Single use plan) เป็นแผนที่แสดงลักษณะการปฏิบัติงานในช่วงระยะเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ และจะมีการวางแผนใหม่เมื่อได้ดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของแผนนั้นแล้ว

แผนใช้ครั้งเดียวนี้ประกอบไปด้วย
1. โครงการ (Programme) เป็นชุดของวัตถุประสงค์สำหรับบรรลุเป้าหมายที่สำคัญขององค์การเพียงครั้ง เดียว มักมีระยะเวลาที่ยาวนาน และมักจะระบุข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมาย วิธีการ ผู้รับผิดชอบ ระยะเวลา และการคาดการณ์ค่าใช้จ่าย
2. โครงงาน (Project) เป็นส่วนที่ย่อยลงไปของโครงการและมีระยะเวลาที่สั้น
3. งบประมาณ (Budget) เป็นแผนซึ่งแสดงออกในรูปตัวเงินของโครงการดำเนินงานในระยะเวลาหนึ่ง แผนนี้มักจะแสดงการกะประมาณ การบริหารโครงการ ค่าใช้จ่าย ตลอดจนทรัพยากรที่จำเป็นในการสนับสนุนการดำเนินงาน
4. ตารางการทำงานของโครงงาน (Project schedule) แผนงานที่ใช้กำหนดกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติในกรอบของเวลาเพื่อให้บรรลุตามเป้า หมายของโครงการ โดยทั่วไปนิยมใช้ Gantt chart

ตัวอย่างแผนระยะสั้น กลาง ยาว

 (Type of planning)

               เมื่อองค์การได้กำหนดนโยบาย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายในการทำงานที่ชัดเจนแล้ว  กิจกรรมต่อไปคืกระบวนการวางแผนคือ  การจัดทำแผนให้บรรลุเป้าหมาย  ดังนั้นผู้บริหารต้องจัดทำแผนที่ดี  ให้สมาชิกในองค์การมีแบบแผนวิธีการขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ  ไม่สูญเสีย หรือสิ้นเปลืองทรัพยากรไม่มีความขัดแย้งระหว่างสมาชิกในองค์การ  จึงจำเป็นที่ผู้บริหาร ผู้จัดการ  หรือผู้วางแผน  ต้องเข้าใจประเภทของการวางแผน สาคร  สุขศรีวงศ์ (2551: 108 -111)  ได้แบ่งประเภทของแผนตามลักษณะ ดังภาพที่ 2.3

ตัวอย่างแผนระยะสั้น กลาง ยาว

ภาพที่ 2.3 ประเภทของแผน

ที่มา  สาคร  สุขศรีวงศ์  (2551: 109)

2.1  แผนแบ่งตามระยะเวลา  สามารถแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ     

                        2.1.1  แผนระยะสั้น  (Short – Range Plan)  โดยทั่วไปจะกำหนดระยะเวลาภายใน 1 ปี  แผนระยะสั้นเป็นแผนที่ได้รับการกำหนดไว้อย่างเฉพาะเจาะจง เช่น แผนงบประมาณ แผนการฝึกอบรมพนักงานใหม่ เป็นต้น

                        2.1.2  แผนระยะปานกลาง หมายถึง แผนที่มีระยะเวลาปฏิบัติมากกว่า 1 ปี ตามปกติจะอยู่ในช่วง 1 - 5 ปี  เช่น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นต้น

                        2.1.3  แผนระยะยาว (Long – Range  Plan)  มีระยะเวลากำหนดไว้เกิน 5 ปีขึ้นไป  กำหนดไว้อย่างกว้าง ๆ เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นหรือคล่องตัวสูง เช่น แผนการก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ และแผนการสร้างท่อส่งก๊าซไทย มาเลเซีย เป็นต้น  การกำหนดระยะเวลาและแผนระยะสั้นหรือระยะยาว อาจมีความแตกต่างกันบ้าง ซึ่งแผนแบ่งตามระยะเวลา  ดังภาพที่  2.4

ตัวอย่างแผนระยะสั้น กลาง ยาว

ภาพที่ 2.4 แผนแบ่งตามระยะเวลา

ที่มา  ดัดแปลงมาจาก สาคร  สุขศรีวงศ์ (2551 : 109)

2.2  แผนแบ่งตามระดับการบริหารงาน  มี 3 ระดับ  คือ

                            2.2.1  แผนเชิงกลยุทธ์  (Strategic plan) หมายถึง  แผนที่กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ โดยปกติจัดทำโดยผู้บริหารระดับสูง  เพื่อระบุถึงวิธีที่จะทำให้องค์การโดยรวมบรรลุเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ที่กำหนด

                             2.2.2  แผนเชิงยุทธวิธี  (Tactical  plan) หมายถึง แผนที่กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงยุทธวิธี  โดยปกติจัดทำโดยผู้บริหารระดับกลาง  เพื่อระบุถึงวิธีที่จะทำให้แต่ละฝ่ายในองค์การบรรลุเป้าหมายเชิงยุทธวิธีของฝ่ายนั้น ๆ

                             2.3.3  แผนเชิงปฏิบัติการ (Operational plan) หมายถึง แผนที่กำหนดขึ้นให้สอดคล้องกับเป้าหมายเชิงปฏิบัติการ โดยปกติจัดทำโดยผู้บริหารระดับต้น  เพื่อระบุถึงวิธีที่จะทำให้พนักงานแต่ละหน่วยงานบรรลุเป้าหมายเชิงปฏิบัติการของหน่วยงานย่อยนั้น ๆ ซึ่ง แผนแบ่งตามระดับการบริหารงาน ดังภาพที่ 2.5

ตัวอย่างแผนระยะสั้น กลาง ยาว

ภาพที่ 2.5  แผนแบ่งตามระดับการบริหารงาน

ที่มา  ดัดแปลงมาจาก สาคร  สุขศรีวงศ์  (2551 

2.3  แผนแบ่งตามปริมาณการใช้งาน  แบ่งเป็น 3 ลักษณะ  คือ

                             2.3.1  แผนที่ใช้ครั้งเดียว  (Single – use  plan)  หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้นเพื่อรองรับเป้าหมายสำหรับงานใดงานหนึ่งเพียงงานเดียวและเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวเมื่อทำงานตามแผนสำเร็จตามที่วางไว้แล้วก็จะไม่นำแผนดังกล่าวกลับมาใช้ในงานอื่น ๆ อีก แผนประเภทนี้จะให้สำหรับงาน 2 ลักษณะ คือ

                                         2.3.1.1 โครงงาน (Project) หมายถึง แผนที่ระบุกิจกรรม วิธีการทำงาน  กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดและรายละเอียดอื่น ๆที่จำเป็นสำหรับการทำให้งานใดงานหนึ่งบรรลุเป้าหมาย เช่น โครงงานติดตั้งระบบอินเทอร์เน็ตภายในสำนักงาน  เป็นต้น

                                         2.3.1.2  โครงการ (Program)  หมายถึงแผนที่ประกอบด้วยกิจกรรม หรือโครงงานหลาย ๆ อย่างรวมเข้าด้วยกันมีความซับซ้อนในการดำเนินงานและจำเป็นต้องอาศัยการประสานงานเพื่อเชื่อมโยงให้กิจกรรมหรือโครงงานต่างๆเหล่านั้นสอดคล้องสนับสนุนและเป็นไปได้ในทิศทางเดียวกันเพื่อความสำเร็จของโครงการ ตัวอย่าง เช่น โครงการพัฒนาสนามบินสุวรรณภูมิ  ประกอบด้วยกิจกรรมและโครงงานต่าง ๆ เช่น การออกกฎหมายเวนคืนที่ดินการหาที่อยู่ใหม่ให้แก่ราษฎรที่ถูกเวนคืนที่ดิน การถมทราย การก่อสร้างรันเวย์  การก่อสร้างอาคารผู้โดยสารเป็นต้น ซึ่งการเขียนโครงการการปฏิบัติงานตามโครงการจะนำเสนอรายละเอียดในหน่วยที่ 3 ต่อไป

                            2.3.2  แผนที่ใช้ประจำ  (Standing plan)  หมายถึง แผนที่จัดทำขึ้น เพื่อรองรับการทำงานประจำหรืองานตามปกติขององค์การเพื่อให้งานนั้นๆบรรลุเป้าหมายที่กำหนดแผนประเภทนี้มักจะประกาศใช้เพื่อให้สมาชิกรับทราบทั่วทั้งองค์การโดยไม่กำหนดระยะเวลาสิ้นสุดของแผนเนื่องจากแผนประเภทนี้จะใช้งานอย่างต่อเนื่องไปตลอดจนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนที่ใช้ประจำกันโดยทั่วไป  ได้แก่

                                         2.3.2.1  นโยบาย  (Policy)  เป็นแผนซึ่งระบุแนวทางกว้าง ๆ ในการปฏิบัติงาน โดย เปิดโอกาส ให้ผู้ปฏิบัติงานใช้วิจารณญาณพิจารณาเลือกดำเนินการภายใต้ขอบเขตและแนวทางที่กำหนดไว้  เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขององค์การ

                                         2.3.2.2  กฎ  (Rules)  เป็นแผนประเภทหนึ่งซึ่งระบุสิ่งที่สมาชิกจะต้องกระทำหรือ ห้ามกระทำภายใต้เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งอย่างชัดเจน  เพื่อให้องค์การบรรลุเป้าหมายที่วางไว้

                                         2.3.2.3  ระเบียบวิธีปฏิบัติ  (Procedures) เป็นแผนที่ซึ่งระบุรายละเอียดและวิธีปฏิบัติงานแต่ละขั้นตอนอย่างชัดเจน   เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานปฏิบัติตามรายละเอียดและขั้นตอนที่กำหนดโดยไม่สับสน และเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อย

                             2.3.3  แผนฉุกเฉิน (Contingency plan) เป็นแผนที่จัดทำขึ้นโดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการใช้งานที่ชัดเจน แต่จะถูกนำมาใช้เมื่อเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินตามที่กำหนดหรือแผนงานที่ใช้อยู่ปกติล้มเหลวหรือไม่สามารถนำมาใช้งานให้บรรลุเป้าหมายขององค์การได้ ซึ่งแผนแบ่งตามปริมาณการใช้งาน  ดังภาพที่ 2.6

ตัวอย่างแผนระยะสั้น กลาง ยาว

ภาพที่ 2.6  แผนแบ่งตามปริมาณการใช้งาน 

      ที่มา  ดัดแปลงมาจาก สาคร  สุขศรีวงศ์  (2551 : 109)