ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน

ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน

การดำเนินการต่าง ๆ ในชีวิตของเรา บางเรื่องราวสามารถแก้ปัญหาได้หลายวิธี แต่ละวิธีจะมีประสิทธิภาพต่างกัน เช่น การเดินทางจากสถานที่หนึ่งไปยังสถานที่หนึ่ง การโดยสารรถประจำทางในบางจังหวัดมีรถหลายสาย แต่ไปจุดหมายปลายทางเดียวกันได้ รถแต่ละสายจะวิ่งเส้นทางไม่เหมือนกัน มีจุดจอดไม่เหมือนกัน ดังนั้น เราต้องเลือกเส้นทางที่เหมาะสมกับการเดินทางของเรา

ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน

ตัวอย่าง รถยนต์แต่ละคันอาจวิ่งด้วยความเร็วไม่เท่ากัน รถยนต์ที่วิ่งด้วยความเร็วเฉลี่ย 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หมายความว่า 1 ชั่วโมงจะวิ่งไปได้ 50 กิโลเมตรถ้าระยะทาง 100 กิโลเมตรจะใช้เวลาวิ่ง 2 ชั่วโมง

ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน

รถยนต์ Aวิ่งด้วยความเร็ว 50 กิโลเมตรต่อชั่วโมงรถยนต์ Bวิ่งด้วยความเร็ว 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางจากต้นทางไปถึงปลายทางของรถยนต์ทั้ง 2 คัน เท่ากันคือ 400 กิโลเมตร และเส้นทางของรถยนต์ B มีจุดจอด P โดยรถยนต์ทุกคัน ที่ผ่านจุดนี้จะต้องจอดเป็นเวลา 1 ชั่วโมง การหาเวลาที่รถยนต์ทั้ง 2 คัน ต้องเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทางจะทำได้ ดังนี้
รถยนต์ A ไม่มีจุดจอด ใช้เวลาเท่ากับ 400 กิโลเมตร / 50 กิโลเมตร
ต่อชั่วโมง = 8 ชั่วโมง
รถยนต์ B มีจุดจอดหนึ่งจุด (1) ใช้เวลาวิ่งจากจุดต้นทางไปยังจุดจอดเท่ากับ 300 / 100 = 3 ชั่วโมง (2) ใช้เวลาจอด 1 ชั่วโมง (3) ใช้เวลาวิ่งจากจุดจอดไปยังปลายทางเท่ากับ 100 / 100 = 1 ชั่วโมง
ดังนั้น เวลาที่รถยนต์ B วิ่งจากจุดต้นทางไปยังปลายทางคือ 3+1+1 = 5 ชั่วโมง

การแก้ปัญหาในบางเรื่องที่มีความซับซ้อน ต้องมีการทำซ้ำหลายๆ ครั้งเราอาจนำเทคโนโลยี เช่น คอมพิวเตอร์มาใช้งานได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์สามารถทำงานซ้ำ ๆ ได้ดี และทำงานตามโปรแกรมได้อย่างถูกต้อง โดยอาจเลือกโปรแกรมที่เหมาะสมกับงานมาใช้ หรือเขียนโปรแกรมขึ้นมาใช้งานเอง ซึ่งการออกแบบโปรแกรมนั้นจะต้องออกแบบแนวทางการแก้ปัญหาให้ครบถ้วนทุกกรณี เช่นการพัฒนาโปรแกรมสำหรับคำนวณเวลาที่ใช้ในการเดินทาง โดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลระยะทางกับความเร็วในการเดินทางเข้าไป แล้วให้คอมพิวเตอร์คำนวณเวลาที่ต้องใช้ออกมา

ในการออกแบบโปรแกรมนั้นจะต้องรับข้อมูลทั้ง 2 ค่า เข้ามาเก็บในหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ และเมื่อประมวลผลจะเก็บไว้ในหน่วยความจำเช่นกัน โดยข้อมูลต่าง ๆ จะเก็บไว้ในตัวแปร ถ้าให้ตัวแปร S แทนระยะทาง ตัวแปร V แทนความเร็วและตัวแปร T แทนเวลา
การประมวลผลสามารถเขียนวิธีการได้ ดังนี้

ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน
การประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์

เริ่มต้น
1. รับค่าระยะทางมาเก็บใน S
2. รับค่าความเร็วมาเก็บใน V
3. คำนวณเวลาโดย T = S/V
4. แสดงผลเวลา T
จบ

กิจกรรมที่ 4 คำนวณการเดินทาง
นักเรียนแสดงวิธีคิดและตอบคำถามจากสถานการณ์ต่อไปนี้
รถประจำทาง 2 คัน ต้องเดินทางจากต้นทางไปยังปลายทาง มีระยะทางเท่ากัน คือ 180 กิโลเมตร โดยจะใช้คนละเส้นทางกัน ในแต่ละเส้นทางจะมีจุดจอด P รถต้องจอด 20 นาที และจุดจอด W รถต้องจอด 15 นาที รถคันที่ 1(เส้นทางสีน้ำเงิน) วิ่งด้วยความเร็ว 60 กิโลเมตรต่อชั่วโมง รถคันที่ 2 (เส้นทางสีแดง) วิ่งด้วยความเร็ว 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยมีเส้นทาง ดังภาพ

ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน
แผนที่การเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน
  • รถประจำทางคันที่ 1 ใช้เวลาเดินทางเท่าไร
  • รถประจำทางคันที่ 2 ใช้เวลาเดินทางเท่าไร
  • รถประจำทางคันใดไปถึงปลายทางได้เร็วที่สุด และเร็วกว่ากี่นาที

ตัวอย่าง ปัญหาในชีวิตประจําวัน

  • Kruaof
  • การแก้ปัญหา
  • การแก้ปัญหาชีวิตประจำวัน