ตัวอย่าง บริษัท ที่ นำ big data มาใช้

การทำงานกับ Data สามารถเปลี่ยนแคมเปญการตลาดของคุณให้มีประสิทธิภาพและพัฒนาต่อยอดไปถึงการสร้างยอดขายให้กับธุรกิจได้ บริษัทยักษ์ใหญ่หลายต่อหลายเจ้า มีการทำงานกับข้อมูลที่มากกว่าการเก็บข้อมูลทั่วไป แต่เป็นการลงไปยังข้อมูลเชิงลึก ที่เข้าถึงตัวลูกค้ากลุ่มเป้าหมายมากกว่าที่เคย ที่เราเห็นกันบ่อย ๆ ก็จะเป็นธุรกิจจำพวกการเงิน ธนาคารต่าง ๆ แต่จะสร้างกลยุทธ์ทางการตลาด ที่ทำงานร่วมกับ Data อย่างไรให้ประสบความสำเร็จ

การสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดด้วย Data ให้ประสบความสำเร็จนั้นทำได้อย่างไร ?

เมื่อธุรกิจมี Data อยู่ในมือแล้ว สิ่งที่ควรจะทำในขั้นตอนต่อไปคือการสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดด้วย Data ที่มี ซึ่งการจะสร้างกลยุทธ์ขึ้นมานั้น ต้องลองศึกษาดูก่อนว่า กลยุทธ์ใดที่เหมาะสมกับธุรกิจและทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จได้ มาลองดูกันดีกว่า ว่ากลยุทธ์ใดบ้าง ที่เหมาะสมและสามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจคุณให้ประสบความสำเร็จได้

  • ทำการตลาดแบบ Personalization Marketing

การตลาดแบบ Personalization Marketing เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ที่กำลังได้รับความนิยมสำหรับการนำมาทำงานร่วมกับ Data เพราะเป็นการทำการตลาดแบบเฉพาะบุคคล เจาะลึกไปถึงผู้บริโภค ว่าต้องการอะไร จดจำสิ่งที่ผู้บริโภคชอบ รวมถึงพฤติกรรมการซื้อสินค้าแบบรายบุคคล ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถทำการตลาดแบบเจาะกลุ่มเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายของตัวเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปัจจุบัน ธุรกิจใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือเข้ามาวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทำ Personalization Marketing ธุรกิจจะเข้าใจลูกค้า มอบประสบการณ์ที่ดีแก่ลูกค้าได้ ดึงดูดและสามารถสื่อสารกับลูกค้าในช่องทางต่าง ๆ ได้เฉพาะกลุ่ม นอกจากนี้ ธุรกิจยังสามารถทำ Hyper-Personalization Marketing ควบคู่กันไปด้วยได้ เพราะการทำ Hyper-Personalization จะเป็นการนำ Big Data มาวิเคราะห์พฤติกรรมการซื้อ และคาดการณ์ล่วงหน้าว่าลูกค้าจะซื้อสินค้าไหนต่อไปในอนาคตได้ ข้อมูลที่นำมาใช้ ก็จะเป็นข้อมูลที่ลึกกว่า และเข้าใจลูกค้าได้มากขึ้นกว่าเดิม

  • เชื่อมต่อลูกค้าทั้งออนไลน์และออฟไลน์

Data มีอยู่รอบ ๆ ตัวเรา ไม่ว่าจะเป็นช่องทางออนไลน์หรือออฟไลน์ ธุรกิจสามารถนำกลยุทธ์ Omni-Channel ที่เป็นการทำการตลาดแบบเชื่อมต่อออนไลน์กับออฟไลน์เข้าด้วยกัน มาใช้เพื่อสร้างประโยชน์ต่าง ๆ ให้ธุรกิจได้ ยกตัวอย่างเช่น

– กำหนดช่องทางในการเก็บ Data และส่งคอนเทนต์ไปยังลูกค้าได้ถูกทาง
อย่างที่รู้ว่ากลยุทธ์ Omni-Channel เชื่อมต่อลูกค้าได้ทั้งช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ดังนั้น ธุรกิจจะรู้ได้เลยว่า ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายของตัวเองอยู่ในช่องทางไหนมากกว่ากัน และเลือกที่จะเสิร์ฟคอนเทนต์ดี ๆ หรือโปรโมชั่นไปหาลูกค้าได้ถูกที่ ถูกเวลามากกว่าการเสิร์ฟแบบโดยหว่าน ๆ ไป
– ปรับปรุง Data ที่ได้มาอย่างสม่ำเสมอ
การทำการตลาดผ่านช่องทางออนไลน์และออฟไลน์ ทำให้ธุรกิจเห็นความเคลื่อนไหวของลูกค้าในทุกช่องทาง Data ที่เปลี่ยนไปในแต่ละวันตามช่องทางต่าง ๆ ลูกค้าทางออนไลน์วันนี้ชอบแบบนี้ ลูกค้าทางออฟไลน์ชอบอีกอย่างนึง ธุรกิจมีปรับปรุง Data ในทุก ๆ เพื่อให้รับมือการเปลี่ยนไปของลูกค้าในแต่ละวันได้อย่างสม่ำเสมอ

  • นำเครื่องมือ MarTech เข้ามาช่วยวิเคราะห์ลูกค้า

อย่างในบทความ เริ่มต้นทำ Data Driven Marketing ใช้เครื่องมืออะไรได้บ้าง ที่เขียนไปก่อนหน้านี้ จะเห็นได้ว่ามีเครื่องมือที่ธุรกิจสามารถนำมาใช้เพื่อทำให้ Data Driven Marketing ของตัวเองประสบความสำเร็จได้หลายต่อหลายตัว เครื่องมือ MarTech ในปัจจุบัน ถูกพัฒนามาเพื่อให้รองรับการทำงานการตลาดในหลายด้าน รวมถึงการทำการตลาดร่วมกับ Data เครื่องมือเหล่านี้สามารถนำมาวิเคราะห์แคมเปญการตลาด, วิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายของธุรกิจ และวัดผลการทำงานในแต่ละเดือน เพื่อหาผลลัพธ์ที่ดีที่สุดต่อธุรกิจนั่นเอง

เครื่องมือ MarTech บางตัว ช่วยให้คุณได้ Data ใหม่ ที่เป็นทั้ง Second Party Data และ Third Party Data เป็น Data ที่คุณไม่เคยมีมาก่อน และช่วยวิเคราะห์ Data เหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่สุด และส่งต่อไปยังทีมการตลาดเพื่อสร้างแคมเปญการตลาดต่อไปในอนาคต ไม่เพียงเท่านั้น เครื่องมือ MarTech ยังทำ Report ของแต่ละเดือนออกมาเพื่อให้คุณปรับปรุงและพัฒนาแผนการตลาดต่อไปได้เช่นกัน

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจส่วนใหญ่ที่สร้างกลยุทธ์ทางการตลาดด้วย Data ประมาณ 80% ใช้เครื่องมือ MarTech ในการเก็บ Data และวิเคราะห์ Data กันทั้งนั้น ถ้าคุณอยากให้การทำการตลาดด้วย Data ของคุณประสบความสำเร็จ ก็ควรเริ่มใช้เครื่องมือเหล่านี้

ตัวอย่าง บริษัท ที่ นำ big data มาใช้

จริง ๆ มีอีกหลายกลยุทธ์ทางการตลาดที่ทำงานด้วย Data แต่ก่อนจะเลือกใช้กลยุทธ์ไหน ควรดูตามความเหมาะสมของแผนและแคมเปญทางการตลาดที่คุณจะนำไปใช้ด้วย จะได้ใช้เครื่องมือที่ถูก วิธีที่ใช่ และส่งผลดีต่อธุรกิจของคุณ มีหลายธุรกิจที่นำ Data Driven Marketing เข้ามาใช้ทำการตลาดและประสบความสำเร็จแล้ว ซึ่งตัวอย่างธุรกิจที่นำ Data Driven Marketing มาใช้งาน มีดังนี้

5 ตัวอย่างธุรกิจที่นำ Data Driven Marketing มาใช้และประสบความสำเร็จ

Netflix

Netflix เป็นธุรกิจที่ให้บริการ Streming ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เพราะเขามีการนำ Data ของผู้ใช้บริการ พฤติกรรมการใช้บริการ มาปรับและพัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเองให้รองรับการใช้งานและความสนใจของผู้ใช้ เราจะเห็นว่า เวลาที่เราเปิด Netflix ขึ้นมา มักจะมีภาพยนตร์ ซีรีส์ ที่แนะนำ ซึ่งเรื่องที่ Netflix แนะนำ จะเป็นแนวคล้าย ๆ กับที่เราดูบ่อย ๆ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงนี้คุณดูซีรีส์เกาหลีบ่อย ๆ หน้าแรกของคุณ ก็จะมีแต่ซีรีส์เกาหลีให้เราเลือกดูเต็มไปหมด ซึ่ง Netflix เก็บข้อมูลจากพฤติกรรมที่คุณใช้งานบนแพลตฟอร์มมาวิเคราะห์และนำเสนอสิ่งที่คุณสนใจในช่วงนั้นออกมา

พฤติกรรมที่ Netflix รวบรวมมาเป็น Big Data นั่นคือ

  • การให้คะแนน (Rating) ภาพยนตร์หรือซีรีส์เรื่องนั้น
  • การค้นหาภาพยนตร์
  • อุปกรณ์ที่ใช้ดู Netflix
  • วันที่เปิดดู

ซึ่งผลลัพธ์ที่ได้จากการทำการตลาดกับ Big Data ของ Netflix ทำให้มียอดผู้ใช้งานเพิ่มขึ้นและสามารถสร้างฐานลูกค้าเก่าให้ยังอยู่ได้มากถึง 90% และยังมีจำนวนผู้ชม Netflix สูงถึง 1 หมื่นล้านชั่วโมง ในไตรมาสแรกของปี 2015 อีกด้วย

Starbucks

ธุรกิจร้านกาแฟที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก สามารถเข้าถึงผู้คนได้ง่ายด้วยการใช้ Data จากลูกค้าและแหล่งข้อมูลจาก Third Party ย้อนกลับไปเมื่อ 10 ปีที่แล้ว Starbucks ยอดขายตกลงมากจากการที่มีสาขาเยอะมากเกินไป ทำให้ผู้บริหารจำเป็นต้องหาลู่ทางในการทำรายได้เพิ่มขึ้น จึงมีการประกาศปิดสาขาพร้อมกัน และไล่ปิดสาขาที่ไม่ได้ทำรายได้ให้ตัวเอง และทำการเลือกตั้งร้านสาขาใหม่ ๆ

โดยก่อนที่ Starbucks จะเปิดสาขาใหม่ ไม่ใช่แค่มองว่าเป็นทำเลทอง ที่ดินถูก แล้วจึงเปิดร้าน แต่ตัวธุรกิจมีการนำ Data หลาย ๆ ด้านมาวิเคราะห์ อย่างจำนวนประชากรในแต่ละพื้นที่ ข้อมูลการจราจร ของตำแหน่งที่ตั้งที่จะไปทำการเปิดร้านมาวิเคราะห์หาแนวโน้มก่อนว่า ถ้าไปเปิดร้านในพื้นที่นี้ จะสามารถทำรายได้ให้กับธุรกิจได้มากหรือน้อยเท่าไหร่ เพื่อไม่ให้ตัวธุรกิจเองขาดทุนและลดความเสี่ยงในการลงทุนที่อาจจะมาเกินไปในแต่ละสาขาได้เช่นกัน

ไม่เพียงแต่การนำ Data มาใช้เพื่อเลือกที่ตั้งในการตั้งสาขาใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังนำ Data มาใช้ในการวิเคราะห์เพื่อสร้างโปรโมชั่นในแต่ละเดือนให้กับลูกค้า เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีกับลูกค้าของตัวเอง และ Starbucks ก็เป็นอีกหนึ่งธุรกิจ ที่มากกว่าร้านกาแฟ แต่เป็นธุรกิจที่เป็นหนึ่งในด้านของ Data ของโลกไปแล้วเรียบร้อย

Spotify

อีกหนึ่งธุรกิจ Streaming ที่ครองใจผู้ใช้งานมายาวนานเช่นกัน Spotify ใช้ AI เป็นเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูลการฟังเพลงของผู้ใช้งาน ผ่านการใช้ Machine Learning รวบรวมเพลย์ลิสต์ที่มีลักษณะความชอบคล้ายคลึงกับที่ผู้ใช้งานเลือกฟัง นำเสนอเพลย์ลิสต์ที่คาดว่าผู้ใช้งานจะสนใจ

ตัวอย่าง บริษัท ที่ นำ big data มาใช้

ซึ่ง Data ที่ Spotify เก็บส่วนใหญ่ก็มาจากพฤติกรรมการฟังของผู้ใช้งานล้วน ๆ เลย ทำให้คอนเทนต์ที่ส่งไปยังผู้ใช้งานสามารถสร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้งานเป็นอย่างมาก ไม่เพียงเท่านั้น ใน 1-2 ปีที่ผ่านมา Spotify ได้เริ่มนำ Data มาสร้างแคมเปญที่ให้ผู้ใช้งานสามารถดูได้ว่า ตลอดปีที่ผ่านมา ฟังเพลงไหนไปมากที่สุด กี่ครั้ง เป็น Top Song ประจำปี เพลย์ลิสต์ประจำปี เฉพาะบุคคล แถมข้อมูลตรงนี้ที่ผู้ใช้งานได้เห็นยังสามารถแชร์ไปยังช่องทาง Social Media ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Instagram Stories นับได้ว่าเป็นการทำ Data Driven แบบที่มีประสิทธิภาพและได้รับความสนใจจากผู้ใช้งานเป็นอย่างมากทีเดียว

Photo Ref : Spotify Thailand

Amazon

บริษัท E-commerce เจ้าใหญ่ระดับโลก ที่มีการทำงานร่วมกับ Data มาอย่างยาวนาน Amazon มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาแพลตฟอร์มของตัวเองให้ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้งานให้ได้มากที่สุด โดยการเพิ่มสินค้าเข้าไปในแพลตฟอร์มของตัวเองให้ได้มากที่สุด แต่เมื่อสินค้ามากเกินไป ก็ทำให้ผู้ใช้งานไม่สามารถหาสินค้าที่ตัวเองต้องการเจอได้ Amazon จึงพัฒนาระบบต่าง ๆ ในแพลตฟอร์มของตัวเองเพื่อตอบสนองการซื้อ-ขายของผู้ใช้ ยกตัวอย่าง Recommendation Engine ที่เป็นระบบแนะนำสินค้าให้กับผู้ใช้งานตามสิ่งที่พวกเขาเหล่านั้นสนใจ

ตัวอย่าง บริษัท ที่ นำ big data มาใช้

หรือแม้แต่ Customer 360 degree view ที่ Amazon นำมาใช้วิเคราะห์ Data ของลูกค้าในเชิงลึกได้มากขึ้น นำเสนอสินค้าที่ลูกค้าต้องการได้ ลูกค้าที่ผ่านมาใช้งาน Amazon ต่างได้รับความพึงพอใจและกลับมาใช้บริการเสมอ ทำให้ Amazon ก้าวมาเป็นเจ้าตลาดโลก E-Commerce ได้ในปัจจุบัน

Photo Ref : Amazon

McDonald’s

นับได้ว่า Mc Donald’s เป็นบริษัทที่มีการลงทุนกับการทำการตลาดด้วย Data เป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่า เวลาที่เราไปใช้บริการ จะมีหน้าจอ Digital เพื่อแสดงเมนูอาหารทั้งหมดของร้านอยู่ ซึ่งเป็นการลงทุนใช้ Big Data นำเสนอเมนูที่น่าสนใจให้แก่ผู้ใช้บริการ สร้างความประทับใจให้กับผู้ใช้บริการได้มากขึ้น

นอกจากนี้ Mc Donald’s มีการนำ Realtime Data อย่าง สภาพอากาศ, การจราจรในแต่ละวัน และช่วงเวลาของวันนั้น ๆ มาทำ Personalization Marketing เพื่อนำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจให้กับผู้ใช้บริการอีกด้วย ยิ่งเป็นธุรกิจที่ขึ้นชื่อว่าขาย Fast Food แล้วละก็ อาจมีการทำเมนูในช่วงเวลาที่เร่งรีบก่อนเข้าทำงานด้วยเมนูที่ทำง่าย ทานง่าย ไม่ต้องรอเวลานาน ๆ หรือการสั่งอาหารผ่านแอปพลิเคชันบนโทรศัพท์มือถือ ที่ทำให้ผู้ใช้บริการสะดวกในการซื้อ และตัวธุรกิจเองก็ได้ Data ของผู้ใช้บริการนั้นเข้ามาในระบบของตัวเองด้วย

สรุป

เห็นไหมว่า หลายธุรกิจยักษ์ใหญ่ในปัจจุบัน ต่างนำ Data เข้ามาใช้และทำ Data Driven Marketing กันทั้งนั้น เพราะ Data เป็นพลังสำคัญที่ทำให้ธุรกิจสามารถเข้าถึงลูกค้า เข้าใจลูกค้า และ Data นี่แหละ ที่ทำให้ธุรกิจสามารถเหนี่ยวรั้งลูกค้าให้อยู่กับธุรกิจได้นาน ๆ เหมือนกับบริษัทใหญ่ ๆ ที่กล่าวไปด้านต้น และสุดท้าย ถ้าอยากทำการตลาดด้าน Data ไม่ควรหยุดอยู่กับที่ ยิ่งในยุคดิจิทัลแบบนี้ Data มีเปลี่ยนไปได้ทุกวัน ดังนั้น ต้องมีการพัฒนาและหา Data ใหม่ ๆ เข้ามาเสมอ แล้วจะทำให้ธุรกิจของคุณอยู่รอด เติบโต และวิ่งตาม Data ได้ทันเสมอ

ตัวอย่างขององค์กรที่ใช้ Big Data มีอะไรบ้าง

รู้จัก Big Data แล้ว แต่สงสัยว่าจะนำมาใช้กับธุรกิจของตัวเองได้ไหม หรือ ธุรกิจอะไรบ้างที่สามารถนำ Big data ไปใช้ได้.
ด้านอุตสาหกรรมดนตรี การแสดง และภาพยนต์ (Music, Shows, and Movies).
อุตสาหกรรมเกี่ยวกับสุขภาพ หรือทางการแพทย์ (Healthcare and Medical Services).
ธุรกิจห้างสรรพสินค้า และการตลาด (Shopping and Marketing).

Starbucks ใช้ข้อมูล Big Data อย่างไร

Starbucks. Starbucks ธุรกิจร้านกาแฟที่มีสาขาทั่วโลก ได้นำ Big Data ไปใช้ในการเก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้บริการของลูกค้า ผ่านMobile App โดยให้ลูกค้าสามารถ สั่งเครื่องดื่ม และอาหารล่วงหน้าผ่านทาง Starbucks App โดยข้อมูล Orderที่ลูกค้าสั่งก็จะส่งตรงไปถึง Barista ทันที

Big Data สามารถนำมาใช้ภาคธุรกิจอย่างไร

แนะนำ 5 วิธีประยุกต์ใช้ Big Data กับธุรกิจและองค์กร 1. กำหนดเป้าหมายและตั้งโจทย์ในการใช้ Big Data. 2. ทำความเข้าใจข้อมูลและเลือกวิธีวิเคราะห์ข้อมูล 3. เลือกเทคโนโลยีจัดการ Big Data ที่เหมาะสม

บทบาทของบิ๊กดาต้าที่ใช้ในงานต่างๆ มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง

สำหรับตัวอย่างการใช้ประยุกต์ใช้งาน Big Data ในภาครัฐสามารถนำมาใช้งานได้ในหลายๆ หน่วยงานเช่น ด้านสาธารณสุข ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านความมั่นคง ด้านการเงิน ด้านการบริการประชาชน ด้านเกษตรกรรม ด้านสาธารณูปโภค หรือด้านคมนาคม อาทิเช่น การใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาในการพยากรณ์อากาศ การใช้เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลการจราจร