ตัวอย่าง กิจกรรม ความคิดริเริ่ม

(การริเริ่มสรรค์สร้างและเป็นตัวของตัวเอง) ทักษะชีวิตและการทำงาน การริเริ่มสร้างสรรค์และเป็นตัวของตัวเอง ทักษะชีวิต เป็นความสามารถของบุคคลที่จะจัดการกับปัญหาต่างๆ รอบตัวในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับการปรับตัวในอนาคต ทักษะการคิดสร้างสรรค์ (Creative thinking) ความคิดสร้างสรรค์จึงเป็นความสามารถที่อยู่ในตัวมนุษย์ทุกคน เป็นการคิดค้นเพื่อค้นพบความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆ ที่มีประโยชน์มีคุณค่า รวมทั้งเป็นลักษณะความคิดที่แปลกใหม่ ไม่ลอกเลียนแบบ ซึ่งอาจเกิดจากการคิดปรับปรุงเปลี่ยนแปลงจากความคิดเดิมให้เป็นความคิดแปลกใหม่ แตกต่างไปจากเดิม โดยบางครั้งอาจคงเคาโครงเดิมไว้ หรืออาจแปลกไปจนไม่คงแนวคิดเดิมไว้เลย ลักษณะสำคัญของความคิดริเริ่ม (Originality) , ความคิดคล่องแคล่ว (Fluency) ,ความคิดยืดหยุ่น (Flexibility) , ความคิดละเอียดลออ (Elaboration) การเป็นตัวของตัวเอง = การยินยอมให้ตนเองปรับปรุงบุคลิกภาพของตนเองให้เป็นบุคคลที่ตนเองต้องการจะ นักชีววิทยาที่มีชื่อเสียงได้กล่าวว่า โอกาสที่ฝาแฝดจะมีทุกอย่างเหมือนกันได้นั้น มีแค่เศษหนึ่งส่วนอิเล็คตรอนทั้งหมดในโลกนี้เท่านั้น คนเราแต่ละคนจะมีลักษณะพิเศษเฉพาะตน เป็นตัวของตัวเองที่ไม่เหมือนใครและไม่มีใครจะเหมือนเราได้เลย"ให้รู้จักตนเอง" ให้รู้จักสิ่งที่สิ่งที่ตนเองเข้มแข็ง สิ่งที่ตนเอง การรับรู้อารมณ์ของตนเองและผู้อื่น รู้ว่าอารมณ์มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมอย่างไร รู้วิธีการจัดการกับอารมณ์โกรธ และความเศร้าโศก ที่ส่งผลทางลบต่อร่างกาย และจิตใจได้อย่างเหมาะสม บทของการทำงาน การคิดสร้างสรรค์ 1.มีความคิด ประดิษฐ์ หรือการทำที่แปลกใหม่ เป็นผลงานที่ริเริ่มเอง ไม่มีตัวอย่างไว้ให้มีประโยชน์มีคุณค่า 2. มีความคิดหรือการกระทำที่แก้ปัญหาได้ โดยสามารถมองหาทางเลือกหลายทิศหลายทางในการแก้ปัญหา 3. มีความคิดริเริ่มที่แสดงออกอย่างมีหลักเกณฑ์ มีความคงทน และสามารถดัดแปลงพัฒนาไปจนถึงจุดที่สมบูรณ์ได้ การรู้จักตนเอง หลายๆครั้งในความเป็นตัวของตัวเอง ในเส้นทางการทำงาน มักพบว่า มันมีเรื่องการขัดแย้งไม่ยอมรับทางด้านความคิด ให้รู้จักสิ่งที่สิ่งที่ตนเองเข้มแข็ง สิ่งที่ตนเองอ่อนแอ รู้จักวิถีความสัมพันธ์ของตนกับโลกมนุษย์ รู้จักกำลังและศักยภาพของตน รู้จักมรดกทางจิตใจ รู้จักจุดหมายและเป้าหมายของตน และรู้จักการสะสมเพื่อสร้างตนเองด้วย 

ที่มาhttp://www.kruinter.com/show.php?id_quiz=3243&p=1

ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) 

  การคิดประดิษฐ์ค้นสิ่งใหม่ ๆ เกิดนวัตกรรมที่สร้างความสะดวกสบายและความเจริญ  เพื่อให้คนเรามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มาจากบุคคลต่าง ๆ ที่มีความคิดสร้างสรรค์ริเริ่มให้มีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุงและพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง... และในขณะเดียวกัน ความคิดริเริ่มที่แปลกใหม่ในเชิงลบ เป็นความคิดริเริ่มที่ทำลาย ก่อให้เกิดผลเสียและความเสียหายได้อย่างมหันต์เช่นเดียวกัน
          ดังนั้น คนฉลาดคิด ฉลาดทำ จึงต้องมีจริยธรรม และคุณธรรมประกอบคู่ไปกับการมีความคิดริเริ่มเพื่อสร้างสรรค์ด้วย  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ (Creative Thinking) เป็นกระบวนการของความคิดชนิดหนึ่งที่มีรูปแบบและลักษณะของความคิดแตกต่างไปจากความคิดชนิดอื่น ๆ ซึ่งผลผลลัพธ์ที่ได้จากความคิดริเริ่มนี้ จะอยู่ในรูปของการสร้างสรรค์ก่อให้เกิดประโยชน์สุข และมีการพัฒนาให้ดีขึ้นไม่สร้างให้เกิดความเสียหายหรือเกิดทุกข์แต่อย่างใด
จะทราบได้อย่างไรว่าความคิดสร้างสรรค์หรือไม่สร้างสรรค์ ?
          ลักษณะสำคัญของความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะประกอบด้วยคุณลักษณะต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ คือ
            (1)  เป็นความคิดที่มีอิสระ และสร้างให้เกิดเป็นแนวคิดใหม่ ๆ
            (2)  ไม่มีขอบเขตจำกัด หรือกฎเกณฑ์ตายตัว และเป็นแนวคิดที่เข้าท่า
            (3)  เป็นแนวคิดที่อาศัยการมองที่ก้าวไกล สร้างให้เกิดความคิดที่ต่อเนื่อง
            (4)  เป็นความคิดที่อยู่ในลักษณะของจินตนาการ ซึ่งคนปกติจะไม่ค่อยคิดกัน
            (5)  ระบบของความคิดนี้จะกระจายไปได้หลายทิศทาง และหลายทางเลือก
            (6)  เป็นความคิดที่อยู่ในลักษณะแปลก และแหวกแนวออกไปจากความคิดปกติ
            (7)  สร้างให้เกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่  นวัตกรรมใหม่  และมีการพัฒนาที่แปลกใหม่ที่เป็นประโยชน์และสร้างสรรค์
            (8)  ความคิดนี้จะไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย

          ตัวอย่างเช่น คนปกติถ้าจะวาดรูปวิว จะมีส่วนประกอบและรายละเอียดของรูปวิวคล้าย ๆ กัน แต่คยที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะวาดรูปวิวที่แตกต่างออกไปอย่างเห็นได้ชัด กล่าวคือ รายละเอียดรูปวิวของคนทั่วไปจะประกอบด้วย
            ''ภูเขา 2 ลูก มีพระอาทิตย์โผล่หว่างเขา มีนกบินมา 3 - 5 ตัว มีการแบ่งเส้นทะเลและภูเขาอย่างชัดเจน มีเรือใบ 2 - 3 ลำลอยอยู่ในทะเล มีต้นมะพร้าวที่มีลูกกระจุกอยู่เป็นทะลายสัก 2 - 3 ต้น''...นี่แหละ ''รูปวิว''  ...แต่ผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จะวาดแบบที่ไม่มีรายละเอียดเหล่านี้อยู่เลย
จะต้องฝึกและพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์กันไปทำไม?
          ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์สามารถฝึกและพัฒนาได้ โดยคนเราจะมีความพร้อมตั้งแต่ 6 - 7 ขวบ ซึ่งอยู่ในระดับประถมศึกษาที่จะจัดหลักสูตรให้เอื้ออำนวยและกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างสร้างสรรค์ก็ได้ ซึ่งจะพบว่า การฝึกและพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์นี้จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง และสังคมได้เป็นอย่างดี ดังนี้คือ
          (1)  สร้างให้บุคคลกล้าคิดกล้าแสดง  คนที่มีความคิดสร้างสรรค์มักจะเป็นบุคคลที่กล้าเสนอวิธีการและแนวทางใหม่ ๆ ที่ไม่มีใครคิดกันมาก่อน และจะเป็นคนที่ต่อสู้อย่างเต็มที่เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นที่ถูกต้องของตนเอง
          (2)  ความคิดนี้จะนำบุคคลไปสู่สิ่งใหม่ และวิธีการใหม่  ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะก่อให้เกิดสิ่งใหม่ นวัตกรรมใหม่ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างหนึ่งในการที่จะให้บุคคลหลุดพ้นจากเรื่องจำเจที่ต้องประสบอยู่ทุกวัน
          (3)  สร้างให้บุคคลเป็นผู้ที่มองโลกในมุมกว้าง และยืดหยุ่น  นอกจากจะสร้างความคิดใหม่ หรือได้ค้นพบสิ่งใหม่ ๆ และสร้างวิธีการใหม่ ๆ แล้ว ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นแม้จะมองสิ่งเดียวกันกับที่ทุกคนมองอยู่ แต่ความคิดของเขาจะไม่เหมือนคนอื่น ๆ โดยจะคิดแตกต่างไปอย่างไร้ขอบเขต เป็นความคิดตามจินตนาการที่มองและรับรู้สิ่งต่าง ๆ รอบข้างในแง่มุมที่แตกต่างจากคนทั่ว ๆ ไป
          (4)  สร้างให้บุคคลไม่อยู่กับที่ และบ่มเพาะความขยัน  คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะเป็นผู้ที่ทำงานหนัก มีสมาธิสามารถทำงานได้นาน มีความขยันและกระตือรือร้น อยากรู้ อยากเห็น ค้นคว้า และทดลองสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ
          (5)  สร้างให้บุคคลเกิดความสามารถในการแก้ไขปัญหาตามสภาพ และตามความจำกัดของทรัพยากร  คนที่มีความคิดสร้างสรรค์จะไม่มีการสร้างเงื่อนไขในความคิด สามารถคิดหาแนวทางแก้ไขปัญหา และตัดสินใจตามสภาพแวดล้อมของปัญหาได้ ภายใต้อุปสรรคและความจำกัดของทรัพยากรต่าง ๆ ในทำนองที่ว่า ...Small and Beautiful...
          (6)  สร้างผลงาน และเกิดสิ่งใหม่ ๆ  นักสร้างสรรค์จะมีความสามารถในการอธิบาย สื่อความเข้าใจให้ผู้อื่นนำความคิดที่มีค่าของตนไปทำให้เกิดประโยชน์ได้
          งานของผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ จึงมีรูปแบบออกมาในลักษณะของผลงานที่เป็นรูปธรรมจับต้องได้ ไม่ว่าตัวผลงาน รูปแบบ วรรณกรรม ภาพเขียน ดนตรี เพลง การขับร้อง เนื้อร้อง  ศิลปกรรม การละคร และการแสดงต่าง ๆ ...ผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์จึงใช้สิ่งที่กล่าวมานี้เป็นสื่อและเป็นแนวทางในการแสดงความสามารถของเขาได้
จะพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างไร?

ตัวอย่าง กิจกรรม ความคิดริเริ่ม


          การพัฒนาให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ในตนเอง จะต้องฝึกและพัฒนาตนเองดังนี้
              1)  ให้อิสระตนเอง
              2)  นำตนออกนอกขอบเขต กฏเกณฑ์ กรอบ และเกราะกำบังต่าง ๆ
              3)  คิดให้มาก
              4)  อาศัยการใช้สมาธิและสติให้อยู่เหนืออารมณ์
              5)  ปราศจากอคติ ค่านิยมสังคม และการประเมิน
              6)  ต่อสู้กับคำตำหนิได้
              7)  อย่าให้เวลามาเร่งรัดความคิดจนเกินไป
              8)  ไม่มุ่งหวังผลกำไรจากความคิด
              9)  มีทักษะในการฟัง
            10)  หมั่นฝึกฝนความคิดอย่างสม่ำเสมอ
วิธีกระตุ้นให้เกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
          การกระตุ้นให้บุคคลเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ได้นั้น ผู้ที่เป็นตัวกระตุ้น อาทิเช่น พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ครู หรือผู้บังคับบัญชา สามารถใช้วิธีการต่าง ๆ ต่อไปนี้ให้เกิดการฝึกใช้ความคิดอย่างสร้างสรรค์ได้ คือ
              1)  การระดมสมองอย่างอิสระ
              2)  การเขียนวิจารณ์ความคิด
              3)  การแยกความเหมือน - ต่าง
              4)  การอุปมาอุปไมย
              5)  การมีความคลุมเครือ
          ทั้งนี้ จะอยู่ในบรรยากาศที่ดี เอื้ออำนวยให้เกิดการใช้ปัญญา
อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์
              1)  อุปสรรคจากตนเอง
                    ไม่มั่นใจในตนเอง  ใช้ความเคยชิน/สัญชาตญาณแก้ไขปัญหา  ขี้เกียจ  พอใจในคำตอบเดิม ๆ  ไม่กล้า กลัว(กลัวพลาด  ไม่กล้าเสี่ยง  ไม่กล้ารับผิดชอบ)  ชอบสร้างขอบเขตและกฎเกณฑ์ให้ตนเอง  ชอบเลียนแบบ แอบอ้างผู้อื่น  ชอบเป็นผู้ตาม  สามารถทำตามคำสั่งได้ดี  ไม่แสวงหาความรู้  ไม่เสาะหาประสบการณ์  ไม่เปิดใจ ปราศจากการยืดหยุ่น  ไม่มีสมาธิ ไม่มีสติ(ย่อมไม่เกิดปัญญา)
              2)  อุปสรรคจากบุคคลอื่น
                    ไม่ยอมรับฟัง  มุ่งตำหนิ วิจารณ์ และปฏิเสธทุกประเด็น  อิจฉา เยาะเย้ย ถากถาง  ปิดโอกาส
              3)  สิ่งแวดล้อมที่เป็นอุปสรรค
                    ขาดการกระตุ้นส่งเสริม  ไม่เปิดโอกาส  มีการบั่นทอนกำลังใจ  ปราศจากการยอมรับ  เน้นผลกำไรจนเกินไป  มีความจำกัดด้านเวลา ทรัพยากรอื่น ๆ
          ดังนั้น การจะสร้างให้ตนเองมีความคิดสร้างสรรค์ หรือส่งเสริม กระตุ้นให้บุคคลเกิดความคิดริเริ่มสร้างจึงควรจัดกิจกรรมและสภาพแวดล้อมให้เอื้ออำนวย พร้อม ๆ กับการป้องกัน และขจัดอุปสรรคดังที่กล่าวมาข้างต้นด้วย

ที่มาhttp://www.sl.ac.th/html_edu/cgi-bin/sl/main_php/print_informed.php?id_count_inform=8419