งานสถานทูต องค์กรระหว่างประเทศ

งานสถานทูต องค์กรระหว่างประเทศ

โครงสร้าง-แผนผังองค์กร

การแบ่งส่วนราชการในกระทรวงการต่างประเทศ
ปัจจุบัน กระทรวงการต่างประเทศ มีการแบ่งส่วนราชการ ดังนี้
1. สำนักงานเลขานุการรัฐมนตรี
2. สำนักงานปลัดกระทรวง ประกอบด้วย กองกลาง กองการเจ้าหน้าที่และฝึกอบรม กองคลัง กองการพัสดุ กองการสื่อสาร กองนโยบายและวางแผน กองบรรณสารและห้องสมุด คณะทูตถาวรประจำองค์การสหประชาชาติตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี สถานกงสุลใหญ่ตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี สถานเอกอัครราชทูตตามที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี
3. กรมการกงสุล ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองคุ้มครองและดูแลผลประโยชน์คนไทยในต่างประเทศ กองตรวจลงตราและกิจการคนต่างด้าว กองสัญชาติและนิติกรณ์ กองหนังสือเดินทาง
4. กรมพิธีการทูต ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองรับรอง กองแบบพิธี กองเอกสิทธิและความคุ้มกันทางการทูต
5. กรมยุโรป ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองยุโรป 1 กองยุโรป 2 กองยุโรป 3
6. กรมเศรษฐกิจ ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กองส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ กองสนเทศเศรษฐกิจ
7. กรมสนธิสัญญาและกฎหมาย ประกอบด้วย กองกฎหมาย กองเขตแดน กองแปล กองสนธิสัญญา
8. กรมสารนิเทศ ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองการสื่อมวลชน กองประมวลและวิเคราะห์ข่าว กองวัฒนธรรมสัมพันธ์ กองวิทยุกระจายเสียง
9. กรมองค์การระหว่างประเทศ ประกอบด้วย กองการประชุมระหว่างประเทศ กองการเมือง กองการสังคม กองงานพัฒนาระหว่างประเทศ
10. กรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองอเมริกาเหนือ กองลาตินอเมริกา กองแปซิฟิกใต้
11. กรมอาเซียน ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองคมนาคม กองวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กองนโยบายเศรษฐกิจและการคลัง กองพาณิชย์และอุตสาหกรรม กองสังคม วัฒนธรรมและสนเทศ
12. กรมเอเชียตะวันออก ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองเอเชียตะวันออก 1 กองเอเชียตะวันออก 2 กองเอเชียตะวันออก 3 กองเอเชียตะวันออก 4
13. กรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลาง และแอฟริกา ประกอบด้วย สำนักงานเลขานุการกรม กองเอเชียใต้ กองตะวันออกกลาง กองแอฟริกา
14.สำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ
ส่วนราชการในต่างประเทศ
นอกเหนือจากส่วนราชการในประเทศแล้ว กระทรวงการต่างประเทศยังมีส่วนราชการในต่างประเทศ ได้แก่ สถานเอกอัครราชทูต สถานกงสุลใหญ่ และสำนักงานหรือคณะทูตถาวรแห่งประเทศไทยประจำองค์การระหว่างประเทศ
ตราบจนวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2544 กระทรวงการต่างประเทศมีส่วนราชการในต่างประเทศ ดังนี้ สถานเอกอัครราชทูต 57 แห่ง คณะทูตถาวร 2 แห่ง สถานกงสุลใหญ่ 19 แห่ง สำนักงานการค้าและเศรษฐกิจไทย 1 แห่ง สำนักงานสาขาสถานเอกอัครราชทูต 1 แห่ง ยังมีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์และสถานกงสุลกิตติมศักดิ์อีก 102 แห่ง ใน 59 ประเทศทั่วโลก

อำนาจหน้าที่

(1) รวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์กลั่นกรองเรื่องเพื่อเสนอต่อรัฐมนตรี รวมทั้งเสนอความเห็นประกอบการวินิจฉัยสั่งการของรัฐมนตรี
(2) สนับสนุนการทำงานของรัฐมนตรีในการดำเนินงานทางการเมืองระหว่างรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี รัฐสภาและประชาชน
(3) ประสานงานการตอบกระทู้ ชี้แจงญัตติ ร่างพระราชบัญญัติ และกิจการอื่นทางการเมือง
(4) ดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องทุกข์ ร้องเรียน หรือร้องขอความช่วยเหลือต่อรัฐมนตรี
(5) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานรัฐมนตรี หรือ ตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

วิสัยทัศน์ / พันธกิจ

เป็นองค์กรนำในการเสริมสร้างสถานะและบทบาทของไทยในเวทีระหว่างประเทศอย่างมีเกียรติและสมศักดิ์ศรี ทั้งทางด้านเสถียรภาพและความมั่นคงทางการเมือง ศักยภาพความเจริญทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาทางสังคม ตลอดจนนำโอกาสจากกระแสโลกาภิวัตน์มาสู่สังคมมไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ภารกิจ / วัตถุประสงค์ของหน่วยงาน

พันธกิจ
1. ปกป้อง รักษา และส่งเสริมสถานะและผลประโยชน์ของไทยในความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
2. เป็นตัวแทนรัฐบาลในการเจรจาระหว่างประเทศ
3. ให้คำปรึกษา ข้อเสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ นโยบาย และกลยุทธ์ด้านการต่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศ
4. สร้างนักการทูตที่มีจิตสำนึกและมีความเข้าใจสังคมไทย ตลอดจนมีความเชี่ยวชาญและรอบรู้ในด้านต่างๆ เพื่อเป็นตัวแทนในการรักษาและส่งเสริมผลประโยชน์ขของไทยในต่างประเทศ
5. ให้ความคุ้มครอง ส่งเสริม และดูแลสิทธิและผลประโยชน์ขของคนไทยในต่างประเทศ ตลอดจนการให้บริการแก่ประชาชนด้านการกงสุล
6. ให้ความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องต่อสาธารณชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเกี่ยวกับการดำเนินงานเชิงรุกด้านการต่างประเทศของไทยที่เป็นผลประโยชน์แห่งชาติ และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับประเทศไทยให้ประชาคมโลกได้รับทราบ
7. ดำเนินงานเกี่ยวกับพิธีการ ระเบียบแบบแผน ที่สนับสนุนการดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ด้านการต่างประเทศ
8. บูรณาการและประสานการดำเนินภารกิจต่างประเทศกับทุกภาคส่วน
9. ดำเนินงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

ยินดีต้อนรับสู่เว็บไซ์กระทรวงการต่างประเทศ

สถานเอกอัครราชทูตและหน่วยงานในสถานทูตฯ

บทความ

ข้อมูลเกี่ยวกับสถานเอกอัครราชทูตและหน่วยงานในสถานทูตฯ

  1. เอกอัครราชทูต
  2. แผนกการเมือง
  3. แผนกเศรษฐกิจ
  4. แผนกประชาสัมพันธ์
  5. แผนกกฏหมายและกงสุล
  6. แผนกวัฒนธรรม
  7. แผนกธุรการ
  8. คณะผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร

เอกอัครราชทูต

เอกอัครราชทูตเป็นผู้แทนสูงสุดของประเทศเยอรมนีในประเทศไทย มีภารกิจหลักในการสนับสนุนและเสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเยอรมนี และไทยในทุกด้าน รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับคณะผู้แทนระดับสูงด้านการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรมและสื่อต่างๆ อีกด้วย

แผนกการเมือง

แผนกการเมืองมีหน้าที่สังเกตการณ์และวิเคราะห์สถานการณ์ความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างประเทศเยอรมนีและประเทศไทย การเมืองภายในและภายนอกประเทศของไทย รายงานข้อมูลเกี่ยวกับการเมืองของรัฐบาลเยอรมนีต่อรัฐบาลไทย รวมทั้งความเคลื่อนไหวทางการเมืองในประเทศไทยโดยเฉพาะในเรื่องที่ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์ของเยอรมันให้แก่รัฐบาลเยอรมนี

แผนกเศรษฐกิจ

แผนกเศรษฐกิจรับผิดชอบการส่งเสริมและดูแลความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างเยอรมัน-ไทย มีภารกิจหลักคือการสนับสนุนเศรษฐกิจและการลงทุนในเยอรมนี ส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศและการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างหน่วยงานรัฐบาล สมาคมและบริษัทต่างๆ ของทั้งสองประเทศ แผนกเศรษฐกิจยังทำหน้าที่ส่งเสริมความสัมพันธ์ด้านการค้าของเยอรมนีและไทย โดยทำงานร่วมกับหอการค้าเยอรมัน-ไทยอย่างใกล้ชิด

แผนกประชาสัมพันธ์

แผนกประชาสัมพันธ์มีหน้าที่สังเกตการณ์ วิเคราะห์และประเมินข่าวสารในสื่อต่างๆ ของประเทศไทย ติดต่อประสานงานกับนักข่าวและสื่อต่างๆ หัวหน้าแผนกประชาสัมพันธ์มีฐานะเป็นโฆษกของสถานทูตฯ ทำหน้าที่รับผิดชอบภาพลักษณ์ของประเทศเยอรมนีในสายตาชาวไทย หรือ “งานประชาสัมพันธ์ด้านการเมือง” เพื่อให้ชาวไทยเข้าใจประเทศเยอรมันได้ครอบคลุมและตรงกับความเป็นจริง แผนกประชาสัมพันธ์ยังทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูลและสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเมืองในเยอรมนีอีกด้วย

แผนกกฏหมายและกงสุล

แผนกกฎหมายและกงสุลทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือและแนะนำด้านกฎหมายและสิทธิต่างๆ แก่ผู้มีสัญชาติเยอรมันที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเป็นการชั่วคราวหรือถาวร

การออกใบอนุญาตทำงานจะอยู่ภายใต้กฎหมายกงสุลและกฎระเบียบทางกฎหมายอื่นๆ ของเยอรมันรวมทั้งข้อบังคับทางกฎหมายของประเทศเจ้าบ้าน ผู้ถือสัญชาติไทยสามารถขอคำแนะนำด้านกฎหมายและกงสุลได้เช่น ในการยื่นขอวีซ่า

ในแผนกกฎหมายและกงสุลยังมี สำนักงานเจ้าหน้าที่ประสานงานสำนักงานตำรวจแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (BKA) ทำหน้าที่เสริมสร้างและกระชับความร่วมมือกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทย โดยมุ่งเน้นการสนับสนุนงานสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่เยอรมันโดยร่วมมือของฝ่ายไทย และประสานงานติดต่อเจ้าหน้าที่กฎหมายของเยอรมันให้แก่หน่วยงานบังคับใช้กฎหมายของไทย

แผนกวัฒนธรรม

แผนกวัฒนธรรมมีหน้าที่กำหนดนโยบายและดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและการศึกษาของรัฐบาลเยอรมันในประเทศไทย ช่วยสนับสนุนการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรมและการศึกษาระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านโปรแกรมการศึกษาและภาษา เช่น ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและประชาสัมพันธ์การศึกษาต่อในประเทศเยอรมนี นอกจากนี้แผนกวัฒนธรรมยังทำหน้าที่สนับสนุนการดำเนินงานขององค์กรเยอรมันในประเทศไทยเช่น สถาบันเกอเธ่หรือองค์กรแลกเปลี่ยนทางวิชาการของเยอรมนี (DAAD) ซึ่งมีหน้าที่ในการสนับสนุนการศึกษาต่อในเยอรมนีโดยตรง

แผนกธุรการ

แผนกธุรการมีหน้าที่บริหารจัดการงานธุรการต่างๆ ในสถานทูต เช่น การรับสมัครเจ้าหน้าที่ในสถานทูต การติดตั้งระบบต่างๆ ในสถานทูต งานบำรุงรักษาอาคารและดูแลความปลอดภัยในบริเวณสถานทูต

คณะผู้ช่วยทูตฝ่ายทหาร

คณะผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารมีหน้าที่รายงานสถานการณ์ด้านการทหารในประเทศเจ้าบ้านต่อรัฐบาลเยอรมัน อีกทั้งยังทำหน้าที่สร้างความสัมพันธ์ระหว่างกระทรวงกลาโหมของเยอรมนีและประเทศไทย

งานสถานทูต องค์กรระหว่างประเทศ