ความ ปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า 2558

กฎกระทรวง
กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย
และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ.2558

ความ ปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า 2558

ความ ปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า 2558

กฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า

ความ ปลอดภัย เกี่ยวกับไฟฟ้า 2558
บริษัท พีดีเอส อินเตอร์แนชชั่นแนล (ประเทศไทย) จำกัด
2092 หมู่ 10 ซอยแบริ่ง26 ถนนสุขุมวิท107 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ 10270
Tel : 02-361-8191 (AUTO) Fax : 02-361-8193

สาระสำคัญ

บริภัณฑ์ไฟฟ้า หมายความว่า  อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องใช้ วัสดุ เครื่องประกอบหรือเครื่องจักรที่ใช้ไฟฟ้าเป็นต้นกำลังหรือเป็นส่วนประกอบ หรือที่ใช้เกี่ยวเนื่องกับไฟฟ้า
ฉนวนไฟฟ้า หมายความว่า วัสดุที่มีคุณสมบัติในการกั้นหรือขัดขวางการไหลของกระแสไฟฟ้า หรือวัสดุที่กระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลผ่านได้ง่าย เช่น ยาง ไฟเบอร์ พลาสติก
แรงดันไฟฟ้า หมายความว่า ค่าความต่างศักย์ของไฟฟ้าระหว่างสายกับสาย หรือ สายกับดิน หรือ ระหว่างจุดหนึ่งกับจุดอื่น โดยมีหน่วยวัดค่าความต่างศักย์เป็น โวลต์
กระแสไฟฟ้า หมายความว่า การถ่ายโอนประจุไฟฟ้าสุทธิต่อหนึ่งหน่วยเวลา โดยมีหน่วยวัดเป็น แอมแปร์
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า หมายความว่า เครื่องจักรที่เปลี่ยนพลังงานใด ๆ เป็นพลังงานไฟฟ้า
สวิตซ์ หมายความว่า เครื่องปิดเปิดวงจรไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่ใช้ทำหน้าที่ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้า"

- นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้  เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม

- นายจ้างต้องจัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้ามีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จำเป็นในการทำงานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศ

- นายจ้างต้องจัดให้มีและเก็บรักษาแผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในสถานประกอบกิจการทั้งหมดซึ่งได้รับการรรับรองจากวิศวกรหรือการไฟฟ้าประจำท้องถิ่นไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ หากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงจากเดิมต้องดำเนินการแก้ไขแผนผังนั้นให้ถูกต้อง

- นายจ้างต้องจัดให้มีแผ่นป้ายที่มีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนให้ระวังอันตรายจากไฟฟ้าที่มองเห็นได้ชัดเจนติดตั้งไว้โดยเปิดเผยในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า และเป็นไปตามแบบที่กำหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม หรือ มาตรฐานอื่นตามที่อธิบดีกำหนด

- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้าใกล้ หรือนำสิ่งที่เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ไม่มีที่ถือหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าในระยะที่น้อยกว่าระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูถัมภ์

- หากยังไม่มาตรฐานดังกล่าวให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจำท้องถิ่นกำหนด เว้นแต่นายจ้างได้ดำเนินการ ดังต่อไปนี้
(1) ให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมสกับแรงดันไฟฟ้า หรือ นำฉนวนไฟฟ้าที่สามารถป้องกันแรงดันไฟฟ้านั้นได้มาหุ้มสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า และ
(2) จัดให้มีวิศวกร หรือ กรณีการไฟฟ้าประจำท้องถิ่นอาจจัดให้ผู้ที่ได้รับการรับรองเป็นผู้ควบคุมงานจากการไฟฟ้าประจำท้องถิ่น เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของลูกจ้าง

- ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานอื่น หรือ อนุญาตให้ผู้ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าในระยะที่น้อยกว่าระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หากยังไม่มีมาตรฐานดังกล่าวให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจำท้องถิ่นกำหนด

- นายจ้างต้องดูแลไม่ให้ลูกจ้างสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เปียกหรือเป็นสื่อไฟฟ้าปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 50 โวลต์ โดยไม่มีฉนวนไฟฟ้าปิดกั้น เว้นแต่นายจ้างจะได้จัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล หรือ อุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงานของลูกจ้าง

- กรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานโดยใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า หรือ อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า ให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์ชนิดที่เป็นฉนวนไฟฟ้า หรือหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสำหรับการปฏิบัติงานของลูกจ้าง

- นายจ้างต้องดูแลบริภัณฑ์ไฟฟ้า และสายไฟฟ้าให้ใช้งานได้โดยปลอดภัย หากพบว่าชำรุด หรือ มีกระแสไฟฟ้ารั่ว  หรือ อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน ให้ซ่อมแซม หรือ ดำเนินการให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีหลักฐานในการดำเนินการเพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้

- นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบำรุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียน หรือนิติบุคคลที่ได้รับใบอนุญาตตาม พรบ.ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554 เป็นผู้จัดทำบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่อธิบดีกำหนด

- นายจ้างต้องจัดให้มีแผ่นภาพพร้อมคำบรรยายติดไว้ในบริเวณที่ทำงานที่ลูกจ้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจน โดยมีดังนี้
(1) วิธีปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า
(2) การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน โดยการผายปอดด้วยวิธีปากเป่าอากาศเข้าทางปาก หรือ จมูกของผู้ประสบอันตราย และวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก

- จัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจร หรือจัดให้มีระบบ ระวังป้องกันมิให้เกิดการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรตลอดเวลาที่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทำงาน ติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบำรุงระบบไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้า และให้ติดป้ายแสดงเครื่องหมาย หรือ สัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ด้วย

- การติดตั้งบริภัณฑ์ทางไฟฟ้า ติดตั้งเต้ารับ สายไฟฟ้า อุปกรณ์ และเครื่องป้องกัน ให้เป็นไปตามมาตรฐาน

- การใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้าต้องติดตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างพอเพียง มีการระบายอากาศ มีเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน และจัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงที่เหมาะสมไว้

- จัดให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่าตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าไว้ที่สถานประกอบกิจการ อาคาร ปล่องควัน ถังเก็บของเหลวไวไฟหรือก๊าซไวไฟ

- จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าที่ได้มาตรฐาน และเหมาะสมกับลักษณะงาน รวมต้องดูแลบำรุงรักษาให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัยตลอดเวลาตามวิธีที่ถูกต้อง

- การปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่อยู่ใกล้หรือเหนือน้ำซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างเกิดอันตราย จากการจมน้ำ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ชูชีพกันจมน้ำ เว้นแต่การสวมใส่ชูชีพอาจทำให้ลูกจ้าง ได้รับอันตรายมากกว่าเดิม ให้นายจ้างใช้วิธีการอื่นที่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแทน

ศึกษากฎหมายฉบับเต็ม ตามไฟล์แนบท้ายนี้