นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ สมัยธนบุรี

�����Է�ҹԾ��� ���ɰ�Ԩ���¸�����
THE ECONOMY DURING THE THONBURI PERIOD. ���͹��Ե ���Ҹ� �ҵ�����
Jirathorn Chartsiri �����Ҩ�������֡�� �.��. ����ѵ � ����ྪ�
Dr. Dhiravat Na Pombejra ����ʶҺѹ ����ŧ�ó�����Է�����. �ѳ�Ե�Է�����
Chulalongkorn University. Bangkok (Thailand). Graduate School. �дѺ��ԭ�������������´�Ң��Ԫ� �Է�ҹԾ�����Һѳ�Ե. �ѡ����ʵ�� (����ѵ���ʵ��)
Master. Arts (History) �շ�診����֡�� 2547 ���Ѵ���(��) ����٭���¢ͧ��ا�����ظ�� �觼�������ɰ�Ԩ��С�ä�ҷ�������ҡ���������»յ�ͧ�������� �Է�ҹԾ�������ͧ���ɰ�Ԩ���¸����� �.�. 2310-2325 �֧����֡��㹴�ҹ��ÿ�鹿����ɰ�Ԩ��С�ä������¸����� ��к��ҷ�ͧ���稾����ҵҡ�Թ㹴�ҹ��ҧ��� ��º��㹴�ҹ��ä�� ��駡�ä��������С�ä����¹͡, ��º��㹡�â����ҳ�ࢵ����觼ŵ�͡�ÿ�鹿����ɰ�Ԩ �������֡�����ɰ�Ԩ���¸�����㹰ҹз���繾�鹰ҹ���Ѻ���ɰ�Ԩ�ͧ��ا�ѵ���Թ���㹪�ǧ���ҵ���� �ҡ����֡�Ҿ�������ɰ�Ԩ����¸����������ɰ�Ԩ����ա�ÿ�鹵�����ҧ������ͧ��ʹ�Ѫ���� ��ÿ�鹿١�ä��������ɰ�Ԩ���¸������Դ������ջѨ����Ӥѭ�������ä�ҡѺ��ҧ����������ǡѺ������ظ�� ��੾�����ҧ��觡�ä�����������Ҥ��С�ä�ҡѺ�չ����繡�ä���͡���ҡ���ҡ�ä����к���óҡ�� �¼���պ��ҷ㹡�÷ӡ�ä���͡������¡�ا�����դ�;�ͤ����Тع�ҧ��Ǩչ ��â����ӹҨ�ͧ���稾����ҵҡ�Թ��ѧ���ͧ��ҧ� �繡�â����ӹҨ��觤ӹ֧�֧�Ż���ª��ҧ���ɰ�Ԩ�Ǻ���仡Ѻ������ͧ ���Ѵ���(English) The final fall of Ayutthaya led to the collapse of the centuries-old economy and trade in Siam.This thesis therefore aims to study the revival of the economy and of trade during the Thonburiperiod, and the various roles of King Taksin in this process, such as his trade policies andhis territorial conquests, which helped effect this economic revival. The economy during theThonburi period will also be interpreted as having laid the foundations for the Siamese economyduring the early Bangkok period. This thesis finds that the economy during the Thonburi period revived steadily throughout thereign of King Taksin. The revival of commerce and the economy during this period was greatlyhelped by Siam's overseas trade, especially trade within the region and trade with China, thelatter being more of a private nature than tributary. Naturally the people who played key rolesin this commerce were Chinese traders and Chinese officials in Siam. The expansion of KingTaksin's power into several neighbouring territories was often undertaken with economicobjectives in mind as well as purely political ones. ���ҷ������¹�Է�ҹԾ��� �ӹǹ˹�Ңͧ�Է�ҹԾ��� 218 P. ISBN 974-17-6729-3 ʶҹ���Ѵ���Է�ҹԾ��� ���Ӥѭ THONBURI, KING TAKSIN, ECONOMY, CHINESE TRADER, TRADE �Է�ҹԾ���������Ǣ�ͧ

เนื่องในโอกาสวันที่ 28 ธันวาคม ของทุกปี เป็น “ วันพระเจ้าตากสินมหาราช ” วีรกษัตริย์ผู้กอบกู้เอกราชให้แก่แผ่นดินไทย ดังนั้น เพื่อเป็นน้อมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ และพระปรีชาสามารถ ตลอดจนการเสียสละอย่างใหญ่หลวงของพระองค์ กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม จึงขอนัอมนำเรื่อง ปัญหาเศรษฐกิจและแนวทางการแก้ไขในยุคกรุงธนบุรี อันสรุปบางส่วนมาจากหนังสือ “ นวมหาราช ” ของสภาสังคมสงเคราะห์ฯ และ ” สารานุกรม พระราชประวัติสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ” ของมูลนิธิอนุรักษ์โบราณสถานในพระราชวังเดิม มานำเสนอเพื่อให้พวกเราปัจจุบันได้ทราบว่าในสมัยนั้น มีวิธีการแก้ไขปัญหาให้ผ่านพ้นไปได้อย่างไร เพราะไม่ว่ายุคใดสมัยไหน ปัญหาเศรษฐกิจอันเป็นเรื่องเกี่ยวกับปากท้องชาวบ้านนับเป็นเรื่องใหญ่ และสำคัญของบ้านเมืองเสมอ ดูอย่างสมัยปัจจุบัน หากรัฐบาลไหนแก้ปัญหาเศรษฐกิจไม่ได้ ก็มักไปไม่รอด จึงเป็นเรื่องที่น่าศึกษาและเรียนรู้ว่าในอดีต โดยเฉพาะในช่วงที่ประเทศชาติยังตกอยู่ในภาวะไม่ปกติจากภัยสงคราม นอกจากปัญหาเรื่องความปลอดภัยและความมั่นคงของราชอาณาจักร ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชจะต้องฝ่าฟันแล้ว พระองค์ท่านมียุทธศาสตร์อย่างไรในการเผชิญหน้ากับปัญหาเศรษฐกิจที่คงจะหนักหนาสาหัสไม่น้อยในสมัยนั้น

ตลอดระยะเวลา 15 ปี ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช นับตั้งแต่ปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงธนบุรี ในปีพ.ศ. 2310 จนถึงปีพ.ศ. 2325 ที่เสด็จสวรรคต พระองค์ต้องทรงตรากตรำกรำศึกมาโดยตลอด นอกจากต้องรบพม่าเพื่อกอบกู้เอกราชในครั้งแรก รวมถึงการทำศึกกับก๊กต่างๆ ที่ตั้งตัวเป็นใหญ่แล้ว ยังต้องทำการรบกับพม่าที่ยกมาโจมตีอีกถึง 9 ครั้งใหญ่ ในขณะเดียวกันก็ยังได้ทำสงครามขยายอาณาเขตอีกหลายครั้ง เป็นผลให้ไทยมีประเทศราชหลายแห่งกลับคืนมาเหมือนสมัยอยุธยา ซึ่งในช่วงแรกหลังจากการเสียกรุงครั้งที่ 2 กล่าวได้ว่าเศรษฐกิจของบ้านเมืองอยู่ในภาวะตกต่ำเป็นอย่างยิ่ง การทำไร่นาและการค้าขายกับต่างประเทศหยุดชะงักลงเกือบจะสิ้นเชิง และแม้หลังการกอบกู้ชาติได้แล้ว ความอดอยากและการขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคก็เกิดขึ้นอยู่แทบจะตลอดรัชกาล เนื่องจากมีปัจจัยและสิ่งแวดล้อมที่ต้องทำให้สิ้นเปลืองและกระทบกับสภาพเศรษฐกิจโดยส่วนรวมหลายอย่าง อาทิ

-ในช่วงก่อนกรุงแตก พม่าได้ยกทัพมาปิดล้อมกรุงศรีอยุธยาอยู่นาน ทำให้ชาวบ้านไม่สามารถทำไร่ทำนา หรือค้าขายได้ตามปกติ ความขาดแคลนจึงเกิดขึ้นไปทั่ว

-เมื่อครั้งทำศึกกับก๊กต่างๆ รวมทั้งศึกพม่าและชาติอื่นๆที่มีอีกหลายครั้ง ทำให้ต้องใช้กำลังพลในการตระเตรียมอาวุธยุทโธปกรณ์ เช่น การต่อเรือ การระดมพลเพื่อฝึกปรือ ฯลฯ ซึ่งมีผลกระทบต่อกำลังการผลิตเป็นอย่างมาก

-ในระยะแรกที่มีการสร้างเมืองหลวงใหม่ การสถาปนาเจ้านายต่างๆ รวมไปถึงการปูนบำเหน็จความดีความชอบแก่ข้าราชการขุนนาง ต้องใช้กำลังทรัพย์ไม่น้อย ทำให้มีรายจ่ายมากขึ้น

-ในรัชสมัยของพระองค์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเร่งรีบฟื้นฟูและทำนุบำรุงพระศาสนา ตลอดจนชำระสะสางคณะสงฆ์ให้ตั้งมั่นอยู่ในธรรมวินัย เพราะได้ทรุดโทรมลงมากในช่วงบ้านเมืองเกิดจลาจล จึงจำเป็นต้องใช้พระราชทรัพย์เป็นอันมากเพื่อการดังกล่าว

นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ สมัยธนบุรี

จากเหตุข้างต้น เราจะเห็นได้ว่าสภาพเศรษฐกิจบ้านเมืองเวลานั้น ถ้าพูดแบบสมัยนี้ก็ต้องว่า ตกอยู่ภาวะวิกฤตอย่างยิ่ง ด้วยเหตุนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชหรือพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้วางนโยบายที่จะผ่อนปรนความเดือดร้อนของราษฎร หรือการแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญ ดังนี้

ประการแรก ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องความอดอยากและขาดแคลน ด้วยการพระราชทานข้าวสารให้แก่บรรดาข้าราชการทหารและพลเรือนทั้งไทย/จีน คนละ 1 ถังต่อ 20 วัน นอกจากนี้ ยังทรงแจกจ่ายอาหารเลี้ยงดูพลเรือนที่อดโซด้วย

ประการที่สอง ในช่วงแรกที่ครองราชย์ และเพิ่งผ่านพ้นจากการจลาจลสงคราม จึงยังไม่มีผู้ทำไร่ทำนาเพื่อเพิ่มผลผลิตให้พอเลี้ยงดูผู้คน ทรงแก้ปัญหาด้วยการซื้อข้าวสารจากพ่อค้าสำเภาจีน โดยยอมซื้อในราคาแพงเพื่อแจกจ่ายคนทั้งปวง ซึ่งเมื่อข้าวขายได้ในราคาแพง บรรดาพ่อค้าจีนจากที่ต่างๆก็นำข้าวมาขายเพิ่มขึ้น เกิดการแข่งการขาย ข้าวจึงมีราคาถูกลงตามหลักดีมานด์ซัพพลาย ราษฎรก็ได้รับประโยชน์

ประการที่สาม โปรดให้ข้าราชการผู้ใหญ่และผู้น้อยทำนาปีละ 2 ครั้งในปีพ.ศ. 2311 เป็นการแก้ปัญหาความขาดแคลน เพราะช่วงนั้นข้าวสารราคาสูงมาก ทำให้ราษฎรเดือดร้อน

ประการที่สี่ ปรากฏว่าในปีพ.ศ. 2311 นั้นเอง ข้าวในยุ้งฉางและทรัพย์สินต่างๆเสียหายเป็นอันมาก เนื่องจากมีกองทัพหนูมากัดกินเป็นจำนวนมาก พระองค์จึงทรงรับสั่งให้ข้าราชการและพลเรือนทั้งหลายจับหนูมาส่งกรมพระนครบาลทุกวัน หนูจึงสงบหายไป

ประการที่ห้า ทรงให้มีการส่งเสริมการค้าขายกับต่างประเทศ ซึ่งพ่อค้าที่มีบทบาทสำคัญในช่วงนั้นคงจะเป็นพ่อค้าจีน ซึ่งการค้ากับต่างประเทศนี้ก็ได้ช่วยบรรเทาความขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภคภายในบ้านเมืองได้ในระดับหนึ่ง

ประการที่หก การที่ทรงสามารถปราบปรามหัวเมืองต่างๆ รวมทั้งประเทศราช ทำให้มีฐานอำนาจทางการเมืองมั่นคง ซึ่งมีผลต่อการเก็บภาษีอากร ส่วย และเครื่องราชบรรณาการมาเป็นรายได้ ได้อีกส่วนหนึ่ง
นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจ สมัยธนบุรี

ประการที่เจ็ด ในช่วงพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยานั้น ปรากฏว่าราษฎรได้ฝังทรัพย์สินไว้ตามบ้านเรือนเป็นจำนวนมาก เมื่อเสร็จสงคราม ก็มีเจ้าของไปขุดบ้าง ผู้อื่นไปขุดหาทรัพย์ที่เจ้าของตายแล้วบ้าง ดังนั้น ในสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีจึงได้จัดเก็บภาษีแก่ผู้ที่ไปขุดหาทรัพย์เหล่านี้ โดยมีเจ้าหน้าที่ไปประจำอยู่ที่กรุงเก่า และห้ามมิให้ผู้ใดขุดทรัพย์โดยพลการ ซึ่งการเก็บภาษีผูกขาดเช่นนี้ เป็นการเพิ่มพูนรายได้แก่แผ่นดินไม่น้อย

ประการที่แปด ทรงเอาผิดและลงโทษผู้ที่บ่อนทำลายทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงและเฉียบขาด เช่น ลงโทษประหารชีวิตผู้ที่ลักลอบทำเงินพด หรือผู้ที่เบิกข้าวหลวงแล้ว แทนที่จะไปแจกราษฎรกลับเอาไปให้ภรรยา ก็ได้ลงอาญาเฆี่ยนตี 100 ทีและปรับข้าวเป็น 10 เท่า ลดตำแหน่งลง และเอาลูกเมียไปจองจำ ต่อเมื่อมีศึก จึงค่อยไปทำราชการแก้ตัว อย่างนี้เป็นต้น การดำเนินการอย่างเฉียบขาดเช่นนี้ ทำให้คนกลัวและช่วยพยุงฐานะเศรษฐกิจได้บ้างส่วนหนึ่ง

นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาประเทศในแนวแปลกใหม่สำหรับสมัยนั้นด้วย คือ ทรงให้มีการตัดถนนในฤดูหนาวคราวว่างศึก เพื่อใช้เป็นเส้นทางสัญจรไปมาของพ่อค้าประชาชน ซึ่งตามธรรมดาเส้นทางคมนาคมสมัยเมื่อ 200 ปีมาแล้ว มักจะเป็นทางน้ำทั้งสิ้น นับว่าพระองค์ทรงมีแนวคิดพัฒนาประเทศทันสมัยทีเดียว

อย่างไรก็ดี แม้จะดำเนินการต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างที่กล่าวมาแล้วก็ตาม สภาพเศรษฐกิจในสมัยพระองค์ก็มิได้มีความเจริญเติบโตสมบูรณ์อย่างเต็มที่ ทั้งนี้ คงเป็นเพราะการศึกสงครามที่ยังมีอยู่แทบตลอดรัชกาลนั่นเอง ซึ่งปัญหาความอดอยากนี้ นับว่าเป็นปัญหาหนักทีเดียว จนพระองค์ถึงกับเคยเอ่ยพระโอษฐ์ด้วยความทุกข์พระทัยว่า “ ...บุคคลผู้ใด เป็นอาทิ คือ เทวดา บุคคลผู้มีฤทธิ์มาประสิทธิ์ มากระทำ ให้ข้าวปลาอาหารสมบูรณ์ขึ้น ให้สัตว์โลกเป็นสุขได้ แม้ผู้นั้นจะปรารถนาพระพาหาแห่งเราข้างหนึ่ง ก็อาจตัดบริจาคให้แก่ผู้นั้นได้ ความกรุณาเป็นสัตย์ฉะนี้... ”

จากพระราชปรารภข้างต้น คงจะทำให้เราได้เห็นน้ำพระทัยของพระเจ้ากรุงธนบุรีอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น ว่าทรงตั้งใจเสียสละเพื่อราษฎรเพียงใด ตลอดรัชกาล พระองค์ต้องคิดทั้งเรื่องการรบข้าศึกศัตรู คิดเรื่องการฟื้นฟูและทำนุบำรุงบ้านเมือง คิดถึงการแก้ปัญหาปากท้องราษฎร แต่ละเรื่องนับเป็นภาระที่หนักยิ่ง หากมิใช่เพราะพระปรีชาสามารถ น้ำพระทัยที่ห้าวหาญ และความเสียสละของพระองค์ท่านแล้ว คงยากที่เราจะมีวันนี้ได้ ดังนั้น ในโอกาส “ วันพระเจ้าตากสินมหาราช ” วันที่ 28 ธันวาคม 2548 จะได้เวียนมาบรรจบอีกรอบหนึ่ง นอกเหนือไปจากการจัดกิจกรรมต่างๆเพื่อเทิดพระเกียรติพระองค์ท่านแล้ว สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม ใคร่ขอเชิญชวนพี่น้องชาวไทยได้ตั้งจิตอธิษฐานที่จะร่วมกันทำความดี เพื่อชาติบ้านเมืองของเรา ให้สมกับที่พระองค์ได้ทรงเสียสละ จนเรามีประเทศไทยมาจนทุกวันนี้

ในสมัยธนบุรีมีการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างไร

ทรงมีพระราโชบายทำให้กรุงธนบุรีมีสถานะเป็นเมืองท่า โดยชักชวนให้สำเภาจีนก็ดี เรือบริษัทการค้าตะวันตกก็ดีเข้ามาขายสินค้าเพื่อให้เกิดการแข่งขัน ทำให้ราคาสินค้าถูกลงจนในที่สุดสามารถแก้ไขปัญหาเรื่องความอดอยากขาดแคลน

ข้อใดเป็นนโยบายแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำในสมัยธนบุรี

ประการแรก ทรงแก้ปัญหาเฉพาะหน้าในเรื่องความอดอยากและขาดแคลน ด้วยการพระราชทานข้าวสารให้แก่บรรดาข้าราชการทหารและพลเรือนทั้งไทย/จีน คนละ 1 ถังต่อ 20 วัน นอกจากนี้ ยังทรงแจกจ่ายอาหารเลี้ยงดูพลเรือนที่อดโซด้วย

การฟื้นฟูเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดในสมัยธนบุรีคือด้านใด

ภายหลังจากกรุงศรีอยุธยาแตก พระเจ้าตากทรงรวบรวมกำลังกอบกู้บ้านเมืองสำเร็จ แต่การจะสร้างความแข็งแกร่งให้กรุงธนบุรีนั้นเป็นเรื่องยากลำบาก เพราะเวลานั้นต้องประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจหลายประการ ทว่าสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เศรษฐกิจกรุงธนบุรีมั่นคงได้นั้นคือกำไรจากการค้าสำเภา

พระเจ้าตากทรงมีนโยบายฟื้นฟูปัญหาเศรษฐกิจอย่างไร

3. สมเด็จพระเจ้าตาก (สิน) ทรงมีนโยบายในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง 1) ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าสำเภาจีนซึ่งมีราคาแพง เพื่อนำมาแจกจ่ายให้แก่ราษฎร 2) โปรดให้ข้าราชการทำนาปีละ 2 ครั้ง เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนข้าวสาร 3) ทรงรับสั่งให้กำจัดหนู เพื่อให้หนูที่กัดกินข้าวในยุ้งฉางลดจำนวนลง