หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

Static Website : เว็บไซต์ที่สร้างด้วยภาษา HTML ธรรมดา และมักจะบันทึกเป็นไฟล์นามสกุล .html เหมาะกับเว็บไซต์ ที่มีขนาดเล็กจำนวนหน้าเว็บเพจไม่มาก และเปลี่ยนแปลงข้อมูลไม่บ่อย

Dynamic Website : เว็บไซต์ที่สามารถเปลี่ยนแปลงข้อมูลเองได้โดยไม่ต้องเขียนแต่ละหน้าเว็บเพจเอง ซึ่งอาจมีระบบหลังบ้านเพื่ออัปเดตข้อมูลส่วน Body

หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

หลักการออกแบบเว็บไซต์

แนวทางในการออกแบบเว็บไซต์ สามารถแบ่งออกเป็นขั้นตอนต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับผู้เริ่มต้นใช้เป็นแนวทางในการสร้างเว็บไซต์ ของบริษัททำเว็บไซต์ และพัฒนาเว็บไซต์ ตลอดจนการเชื่อมโยงเว็บเพจแต่ละหน้าเข้าด้วยกัน แบ่งเป็นขั้นตอนดังนี้

1) การวางแผน : นับว่ามีความสาคัญมากในการสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้การทำงานในขั้นตอนต่างๆ มีแนวทางที่ชัดเจน และสามารถปฏิบัติได้ตามที่ตั้งเป้าไว้

2) การกำหนดเนื้อหาและจุดประสงค์ของเว็บไซต์ : นับเป็นสิ่งสาคัญอย่างมากในการเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้เห็นภาพว่าเราต้องการนำเสนอข้อมูลแบบใด มีข้อมูลอะไรบ้าง

3) การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย : เพื่อให้การสร้างและออกแบบเว็บไซต์ได้รับความนิยม เราต้องการทำเว็บไซต์ให้กลุ่มใด ใครเป็นผู้เข้าเข้ามาดู เข้ามาใช้เว็บไซต์

4) การเตรียมข้อมูล : เนื้อหาบนเว็บไซต์หรือข้อมูลต่างๆ บนเว็บเพจ จัดว่าเป็นสิ่งที่เชิญชวนให้ผู้อื่นเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และต้องการทราบว่าข้อมูลข่าวสารต่างๆ

5) การเตรียมสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นในการออกแบบเว็บไซต์ : ต้องอาศัยความสามารถต่างๆ เช่น โปรแกรมสำหรับสร้างเว็บไซต์ ภาพต่างๆ มัลติมีเดีย การจดทะเบียนโดเมนเนม เป็นต้น

6) การออกแบบหน้าเว็บหลัก (หน้า index) : หน้าแรกของเว็บเพจ ถือเป็นหน้าสำหรับต้องรับผู้ชม และเป็นหน้าเริ่มต้นของเว็บไซต์ ตัวอย่างการออกแบบหน้าเว็บหลัก (หน้า index)

ใน website หนึ่งเว็บจะประกอบไปด้วยหน้าเว็บเพจหลายๆอัน ซึ่งตามหลักสากลทั่วไปจะมีหน้าสำคัญอยู่ 5 หน้าคือ Homepage, About, Blog, Shop และ Contact มาดูกันว่ารายละเอียดจะเป็นอย่างไรบ้าง

 

1.หน้า Home หรือ Front Page

เป็นหน้าแรกที่ว่าถ้าหากใครพิมพ์ชื่อเว็บไซท์เข้ามาก็จะเจอ และหน้าแรกนี้ก็สำคัญมาก ควรจะทำให้ดุสวยสะดุดตาที่สุด มีข้อมูลของเว็บไซท์ที่เราอยากจะบอกคนภายนอกให้ครบถ้วน และส่วนประกอบต่างๆต้องหาง่ายตามหลักการของ User Experience

2.หน้า About

หน้านี้เป็นส่วนที่บอกรายละเอียดว่าเว็บไซท์ของเราต้องการจะสื่อสารอะไร เป็นใครมาจากไหน ให้ท่านผู้ชมได้รับรู้ข้อมูลที่มาที่ไป เข้าใจจุดประสงค์ของเว็บไซท์และตัวเจ้าของเว็บด้วย

3.หน้า Blog

หน้านี้เป็นส่วนสำคัญอีกส่วนหนึ่งที่ใช้สำหรับการดึงลูกค้า แฟนคลับ ในแง่ของการทำ Content Marketing เพื่อให้คนเข้ามาอ่านและทำความรู้จักกับเนื้อหาสาระที่เราเขียนมากขึ้น หากว่าเค้าไว้วางใจและเชื่อในข้อมูลที่เราเขียนเห็นว่ามันเป็นประโยชน์ ก็จะทำให้ลูกค้าสามารถเข้ามาซื้อสินค้าและบริการจากเราได้ เป็นการสร้าง Brand Awareness ไปในตัวด้วย

4.หน้า Shop/Service

ในเว็บไซท์นั้นถ้าอยากจะให้สมบูรณ์ เราก็ต้องมีส่วนของสินค้าและบริการเข้าไปด้วย เพื่อให้เป็นออฟฟิศออนไลน์ที่สามารถสร้างรายได้ได้อย่างแท้จริง ในหน้านี้ควรบอกรายละเอียดของสินค้าและบริการที่เราจะขาย เพื่อที่ว่าลูกค้าที่ถูกใจงานของเราสามารถซื้อสินค้าหรือบริการได้เลยในเดี๋ยวนํ้น

5.หน้า Contact

หน้านี้เป็นหน้าระบุช่องทางการติดต่อกลับในกรณีที่มีคนสนใจในตัวสินค้าและบริการ หรือมีคำถามอยากรู้เพิ่มเติม จะใส่อีเมลล์ เบอร์โทรศัพท์ ไลน์ หรือทาง Facebook Messenger ก็ได้หมดค่ะ ไม่มีปัญหา

รายละเอียดหลักก็มีดังนี้ แต่ถ้าหากใครอยากจะเพิ่มหน้าเพจในรายละเอียดอื่นๆเพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงของลูกค้าก็สามารถทำเพิ่มได้ตามใจชอบ ที่แถบเมนูด้านบนจะมีชื่อเพจแต่ละหน้าอยู่ ข้อควรระวังคือควรใช้ชื่อตามที่คนทั่วไปเข้าใจ มิเช่นนั้นอาจทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเกิดอาการงง หาข้อมูลไม่เจอซึ่งอาจทำให้เค้าปิดเว็บของเราไปเลย แล้วไปดูเว็บอื่นที่เป็นคู่แข่งแทนได้

ส่วนประกอบของ Website เรียกว่าอะไรบ้าง

หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

*ภาพประกอบจาก Pinterest

ในหน้า Home Page จะมีส่วนประกอบเยอะหน่อยเพื่อให้ข้อมูลลูกค้าได้ครบถ้วน เริ่มจากส่วนบนสุด

-Header หรือเป็นส่วนที่สามารถใส่แถบข้อความ ปุ่มโซเชี่ยลต่างๆ ถัดลงมาก็ใส่โลโก้ไว้ตรงกลางเพื่อให้คนจดจำได้ก็ได้ ถัดลงมาอีกคือแถบ Menu ที่เป็นการบอกหน้าเพจที่มีทั้งหมดในเว็บไซท์ของเรา

-Banner ถัดลงมาจากส่วนของ Header ก็จะเป็นเรื่องของรายละเอียดที่น่าสนใจที่เราอยากให้คนเห็นเป็นอย่างแรก ซึ่งก็จะมีทั้ง โฆษณาสินค้า พร้อมกับมีปุ่มกดสั่งซื้อ เพื่อให้คนที่เข้ามาสะดุดตาตั้งแต่แรกเห็น

-About ต่อมาคือการบอกว่าเว็บไซท์นี้คืออะไร สร้างขึ้นมาเพื่อขายของ ให้ความรู้ หรือสร้าง Community เฉยๆ

-Blog Post เอาไว้เพื่อให้คนที่เข้ามาชมได้เข้าไปอ่านบทความด้านใน รับความรู้เพิ่มเติมว่ามีเนื้อหาสาระที่ให้ประโยชน์อะไรกับเค้าได้บ้าง

-Footer ส่วนสุดท้ายล่างสุด ใช้สำหรับวางแถบเมนูที่น่าสนใจของเว็บอีกครั้ง กันลูกค้างงและเสี่ยงกับการหาสิ่งที่ต้องการไม่เจอจนปิดเว็บไปเพราะงง นอกจากแถบเมนูบางเว็บก็มีการวางช่องทาง Social อีกหลายอันเพื่อใช้ในการติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหว และอาจมีช่องสำหรับกรอกอีเมลล์เพื่อรับข่าวสารจากทางร้านได้

การวางข้อมูลต่างๆในหน้า Home หรือ Landing Page นั้น สามารถปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมได้ตามความต้องการของแต่ละคน แต่สุดท้ายต้องทำให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมที่เว็บเราเข้าใจง่ายและมีประโยชน์กับชีวิตของเค้า

และทั้งหมดทั้งมวลนี้นอกจากจะเป็นเว็บไซท์ที่มีหน้าแสดงผลบนจอคอมพิวเตอร์แล้ว ก็ต้องมีความสามารถในการแสดงผลบนโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ทด้วย ที่เรียกกันว่าเว็บไซท์แบบ Responsive นั่นเอง ซึ่งแพลทฟอร์มที่นิยมใช้กันก็ได้แก่ WordPress, Squarespace และ Wix

ลองมาดูตัวอย่าง Website ดีๆกันดีกว่า

Food Blog >>> https://pinchofyum.com/

หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

Food Blog+Designer >>> http://www.thelittlepine.com/

หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

Travel Blog >>> https://www.nomadicmatt.com/

หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

Travel Blog ภาษาไทย >>> https://www.dayinus.com/

หน้าเอกสารแต่ละหน้าของเว็บไซต์

ดูตัวอย่างเว็บไซท์เลย์เอาท์สวยๆเพิ่มเติมกันได้ที่ >>> Napat.Plaradise.Pinterest

แนะนำว่าถ้าเราอยากจะเป็น Online Entrepreneur กัน เราก็ควรจะศึกษาเรื่องราวของเว็บไซท์ไว้เยอะๆนะคะ ไปอัพเดทเทรนด์แล้วก็ลองดูเว็บไซท์ของคนที่เค้าทำไว้สวยๆ เราชอบอะไรตรงไหนก็สังเกตเอาไว้ให้ดีแล้วก็นำมาปรับใช้กับเว็บของเราเพื่อให้เว็บไซท์น่าใช้และดึงดูดคนให้สนใจมากขึ้น ซึ่งถ้าเราทำได้ก็จะเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ลูกค้าชอบและเชื่อถือผลงานเรามากขึ้นนะคะ