หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถาบันการเมือง (อังกฤษ: Political Institution) คือ รูปแบบของการบริหารจัดการทางการเมืองที่ถูกจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มีความเป็นทางการ สถาบันการเมืองเป็นมโนทัศน์ (concept) หนึ่งที่มักถูกสอนในวิชาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ (Compartive Politcs) และวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของวิชารัฐศาสตร์

"สถาบัน" ในทางรัฐศาสตร์[แก้]

กำเนิดของการใช้คำว่า “สถาบัน (institution)” ในทางรัฐศาสตร์นั้น เกิดจากการที่นักวิชาการ [1]

  • ความคิดที่ว่า “เศรษฐกิจเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญที่สุดในสังคมการเมือง” ที่นำเสนอโดยนักรัฐศาสตร์สายมาร์กซ์ (marxists)
  • ความคิดที่ว่า “พฤติกรรมในทางสังคม และพฤติกรรมทางการเมืองถูกกำหนดมาจากมุมมองในทางจิตวิทยาสังคม (socio-psychological perspectives)” ของนักรัฐศาสตร์สายวัฒนธรรมศึกษา (culturalists)

นักรัฐศาสตร์กลุ่มนี้จะเรียกตัวเองว่านักรัฐศาสตร์สายสถาบัน (institutionists) ได้เสนอค้านความคิดทั้งสองข้างต้นว่าการทำความเข้าสังคมการเมืองนั้น จะต้องเข้าใจว่าบทบาท และหน้าที่ของสถาบันต่างๆของรัฐและสังคมนั้นมีลักษณะสำคัญอย่างไรบ้าง

คุณลักษณะของสถาบันในทางการเมือง[แก้]

การทำให้กฎเกณฑ์และโครงสร้าง ของภาคส่วนใดๆของสังคมเป็นสถาบัน หรือทำให้เกิดสภาวะการกลายเป็นสถาบัน (institutionalization) กลายเป็นตัวชี้วัดใหญ่ของการเข้าใจปรากฏการณ์ต่างๆในทางการเมืองของนักรัฐศาสตร์สายสังคมศาสตร์ ในอีกภาษาหนึ่งหากสังคมการเมืองใดยิ่งมีสภาวะความเป็นสถาบันสูงเท่าใดก็เท่ากับว่าระบบการเมืองจะเป็นระเบียบทางการเมือง (political order) ซึ่งก็คือสังคมการเมืองนั้นมีเสถียรภาพทางการเมือง (political stability) และความสามารถสูงในการจัดการกับปัญหาต่าง ๆ ในสังคม[2]

ซามูเอล ฮันทิงตัน (Samuel Phillipe Huntington) นักรัฐศาสตร์สายสังคมศาสตร์คนสำคัญ นำเสนอเงื่อนไขของสภาวะความเป็นสถาบันการเมืองว่าจะประกอบไปด้วย [3]

  • ความสามารถในการปรับตัว (adaptability) ซึ่งดูได้จากความยืนยาวในการทำหน้าที่ของกฎเกณฑ์และโครงสร้างองค์การ นั่นก็คือถึงแม้สภาพแวดล้อมจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา แต่กฎเกณฑ์และองค์การก็ยังคงอยู่ โดยมีการปรับตัวไปตามสภาพแวดล้อม
  • ความสลับซับซ้อน (complexity) ซึ่งดูจากความหลากหลายและการทำหน้าที่อย่างประสานงานของกฎเกณฑ์และองค์การ
  • ความเป็นอิสระ (autonomous) หมายถึง ความสามารถในการทำหน้าที่โดยไม่ถูกครอบงำจากองค์การอื่น และ
  • ความเป็นเอกภาพ (coherence) ซึ่งพิจารณาได้จากความเห็นพ้องต้องกันในกฎเกณฑ์ ความสำนึกร่วมกลุ่มและการเข้าไปมีส่วนร่วมตามที่กฎเกณฑ์ระบุเอาไว้

ดังกล่าว่าการศึกษาสถาบันการเมืองเป็นมโทัศน์ของวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งต้องศึกษาว่าสังคมการเมืองใดที่จะพัฒนาหรือไม่นั้น ต้องมีการการทำความเข้าใจเรื่องกระบวนการสร้างสถาบันการเมือง และรูปแบบต่างๆของสถาบันการเมือง กล่าวอีกภาษาหนึ่งการศึกษาสถาบันการเมืองคือความพยายามของนักพัฒนาการเมืองที่จะแสวงหารูปแบบการปกครองที่ดีที่สุดสำหรับการพัฒนาการเมืองของสังคมการเมืองเพื่อให้กลายเป็นสังคมการเมืองประชาธิปไตย สถาบันการเมืองในสายตาของนักพัฒนาการเมืองเป็นส่วนสำคัญในการสร้างสมาชิกในสังคมการเมืองให้มีพฤติกรรมที่เป็นไปในทางที่สังคมการเมืองต้องการ หรือก็คือสร้างให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองขึ้นมา ในขณะเดียวกันสถาบันการเมืองก็ต้องสนองตอบต่อความต้องการทางการเมืองการปกครองของสมาชิกในทางการเมืองด้วย กล่าวอีกภาษาหนึ่งสถาบันการเมืองและสมาชิกทางการเมืองต้องพันผูกซึ่งกันและกัน (interplay) ต่อกัน[4] ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นย่อมหมายความว่าถ้าสถาบันการเมืองไม่สามารถสนองตอบวัฒนธรรมทางการเมืองของสมาชิกในสังคมการเมืองได้ สถาบันการเมืองก็ต้องถูกเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้แล้วการทำความเข้าใจกระบวนวิชาการพัฒนาการเมืองจึงหลีกเลี่ยงการศึกษาวัฒนธรรมการเมืองไปไม่พ้น[5]

รูปแบบ[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Damien Kingsbury. Political Development. New York : Routledge, 2007, p. 145
  2. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. มโนทัศน์ที่สำคัญในวิชาการพัฒนาการเมือง. มหาสารคาม : หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2553.
  3. Samuel Huntington. Political Order in Changing Societies. (Second edition). Connecticut: Yale University Press, 1969
  4. Olle Törnquis. Politics and Development: a critical introduction. London • Thousand Oaks • New Delhi : SAGE Publication, 1999, p. 93 - 103.
  5. พิสิษฐิกุล แก้วงาม. มโนทัศน์ที่สำคัญในวิชาการพัฒนาการเมือง. มหาสารคาม : หลักสูตรสาขาวิชารัฐศาสตร์ วิทยาลัยกฎหมายและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, 2553.

ดูเพิ่ม[แก้]

  • รัฐศาสตร์
  • การเมือง
  • ทฤษฎีการเมือง

หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
 
หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง

แหล่งที่มาภาพ : http://www.oknation.net/blog/home/blog_data/887/24887/images/Pariament.jpg

  5.  สถาบันทางการเมืองการปกครอง  หมายถึง  สถาบันสังคมที่เป็นแบบแผนที่เกี่ยวข้องกับการสนองความต้องการของสมาชิกในการดำรงชีวิตตามกฎระเบียบของสังคม ควบคุมให้กลุ่มคนอยู่ในสังคมอย่างสงบสุข

กลุ่มสังคมในสถาบันการเมืองการปกครอง  ประกอบด้วยกลุ่มสังคมต่าง ๆ  ที่สำคัญ คือ กลุ่มสังคมที่มีการจัดระเบียบอย่างชัดแจ้ง ที่เรียกว่า องค์การ เช่น พรรคการเมือง กระทรวง ทบวง กรม เป็นต้น แต่ละองค์การประกอบด้วยตำแหน่งหรือสถานภาพทางสังคม เพื่อกระทำบทบาทและหน้าที่ตามสถานภาพนั้น

องค์กรของสถาบันการเมืองที่สำคัญ  มีดังนี้               
1. ฝ่ายนิติบัญญัติ คือ องค์กรที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
2. ฝ่ายบริหาร  คือ  องค์กรที่ทำหน้าที่ในการบริหารและการบริการให้แก่สมาชิกโดยส่วนรวม
3. ฝ่ายตุลาการ  คือ  องค์การที่ทำหน้าที่ตีความกฎหมายในกรณีที่สมาชิกในสังคมเกิดความขัดแย้งระหว่างกัน
4. ฝ่าย องค์กรอิสระ  คือ องค์กรที่ประกอบด้วยคณะบุคคลที่ตั้งขึ้นด้วยวิธีปลอดจากอำนาจอิทธิพลของ บุคคลที่มีส่วนอาจได้เสียกับกิจการอันเป็นหน้าที่ขององค์กรอิสระนั้น โดยเฉพาะอำนาจของข้าราชการเมืองและข้าราชการประจำ

        หน้าที่ของสถาบันการเมืองการปกครอง
1. สร้างระเบียบกฎเกณฑ์ให้แก่สังคม  เช่น  สถาบันเศรษฐกิจย่อมจะต้องมีกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการเงิน
2. วินิจฉัยข้อขัดแย้งระหว่างสมาชิกในสังคม มีองค์การทางตุลาการคอยให้ความยุติธรรมแก่สมาชิกที่มีความขัดแย้งต่อกัน
3. หน้าที่ในการบริหารองค์การของรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น
4. การป้องกันและรักษาความปลอดภัยทั้งภายในสังคมและจากภายนอกสังคม

สร้างโดย: 

คุณคูรธานินทร์ พร้อมสุข และ นางสาวกาญจน์มณี จรุงพรสวัสดิ์ (โรงเรียนสตรีศรีสุริโยทัย)

แหล่งอ้างอิง: 

http://nucha.chs.ac.th/1.2.htm และ http://www.bp-smakom.org/BP_School/Social/Institute-Social.htm

สถาบันการเมืองการปกครองคืออะไร

สถาบันการเมือง (อังกฤษ: Political Institution) คือ รูปแบบของการบริหารจัดการทางการเมืองที่ถูกจัดตั้งขึ้นในลักษณะที่มีความเป็นทางการ สถาบันการเมืองเป็นมโนทัศน์ (concept) หนึ่งที่มักถูกสอนในวิชาการเมืองการปกครองเปรียบเทียบ (Compartive Politcs) และวิชาการพัฒนาการเมือง ซึ่งเป็นสาขาวิชาย่อยของวิชารัฐศาสตร์

สถาบันการศึกษามีหน้าที่อะไร

บทบาทหน้าที่ของสถานศึกษาตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ 1. จัดทำนโยบายแผนพัฒนาการศึกษาด้านวิชาการ บุคคล งบประมาณ บริหารทั่วไป 2. จัดตั้ง/รับผิดชอบการใช้จ่ายงบประมาณ 3. พัฒนาหลักสูตร/จัดการเรียนการสอน 4. ออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ แนวปฏิบัติ 5. กำกับ ติดตามประเมินผลตามแผนงานโครงการ 6. ระดมทรัพยากร ปกครอง ...

สถาบันการเมืองการปกครองของไทย มีอะไรบ้าง

เนื้อหา.
1 พระมหากษัตริย์.
2 สภานิติบัญญัติ 2.1 สภาผู้แทนราษฎร 2.2 วุฒิสภา.
3 ฝ่ายบริหาร.
4 ฝ่ายตุลาการ.
5 การปกครองส่วนท้องถิ่น.
6 พรรคการเมือง.
7 พัฒนาการการเมืองไทย 7.1 รัฐธรรมนูญ.
8 ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ 8.1 การเข้าร่วมองค์การการเมืองระหว่างประเทศ.

สถาบันทางศาสนามีหน้าที่อะไรบ้าง

สถาบันศาสนาทำหน้าที่เสมือนเป็นกลไกสำคัญในการควบคุมทางสังคมเพื่อให้เกิดความประพฤติและพฤติกรรมอันถูกต้อง เพื่อนำไปสู่ความสงบสุข ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี เช่น คำสอนหรือกฎเกณฑ์ทางศาสนาที่สอนมิให้มีการประพฤติชั่ว หรือเบียดเบียนกันระหว่างสัตว์โลก