ในช่วง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 ดนตรี มีการเปลี่ยนแปลง ไป อย่างไร

เรื่อง: ศิริพจน์ เหล่ามานะเจริญ

            กิจกรรมประเภทการ ‘ร้องรำทำเพลง’ ถูกใช้เป็นเครื่องมือของรัฐ โดยเฉพาะรัฐสยามประเทศไทย อยู่บ่อยๆ โดยมีเป้าประสงค์ก็เพื่อสร้างอุดมคติร่วมของ ‘ความเป็นไทย’ อย่างมีอารยะนั่นแหละครับ

                   ช่วงทศวรรษ  2480 ประเทศสยามภายหลังผ่านเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 ตรงกับช่วงที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม ก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรก (16 ธันวาคม พ.ศ.​ 2481-1 สิงหาคม พ.ศ. ​2487) และคาบเกี่ยวกับเหตุการณ์ในช่วงสงครามมหาเอเชียบูรพา ซึ่งก็คือส่วนหนึ่งในสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลจอมพล ป. ก้าวขึ้นมาพร้อมกับ ‘ลัทธิชาตินิยม’ มีการประกาศสิ่งที่เรียกว่า ‘รัฐนิยม’ 12 ฉบับ ในช่วงระยะเวลาเพียง 4 ปี คือระหว่างปี พ.ศ.​ 2482-2485

                   ‘รัฐนิยม’ ที่ว่าก็คือประกาศของทางการ เกี่ยวกับรูปแบบการปฏิบัติทางวัฒนธรรมของประชาชนที่จะแสดงให้เห็นถึงความเป็นชาติอันมีอารยธรรม ซึ่งเป็นแนวทางที่กำหนดขึ้นเพื่อปรับปรุงแก้ไขวัฒนธรรมบางอย่างของชาติ สำหรับให้ใช้เป็นหลักให้ประชาชนได้ยึดถือปฏิบัติ

                   24 มิถุนายน พ.ศ. 2482 คือวันที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยรัฐนิยมฉบับแรก ใจความสำคัญของประกาศฉบับนี้ก็คือ การเปลี่ยนชื่อประเทศจาก ‘สยาม’ ให้เป็น “ไทย” พร้อมๆ กับที่เปลี่ยนคำเรียกประชาชน และสัญชาติ จากสยามให้เป็นไทยด้วยไปในคราวเดียวกันนั้นเอง

                   ต่อมารัฐนิยมฉบับที่ 3 ซึ่งประกาศออกมาในเวลาไม่ถึง 2 เดือนนับจากประกาศฉบับแรก ตรงกับเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ปีเดียวกันนั้นเอง มีสาระสำคัญว่าด้วย การเรียกชื่อชาวไทย ด้วยการไม่ให้เรียกชื่อคนในประเทศไทยตามเชื้อชาติ และความนิยมของผู้ถูกเรียก หรือแบ่งแยกคนไทยออกเป็นหลายหมู่เหล่า เช่น ชาวไทยเหนือ ชาวไทยอิสาณ ไทยใต้ ไทยอิสลาม เป็นต้น ประกาศฉบับนี้ให้ “ใช้คำว่า ‘ไทย’ แก่ชาวไทยทั้งมวลไม่แบ่งแยก”

          กล่าวโดยอีกในนัยยะหนึ่ง “รัฐนิยม” ก็คือบทบัญญัติที่เขียนออกมาบังคับ เพื่อลดทอนความหลากหลายทางวัฒนธรรมของคนในประเทศ ที่มีทั้ง มอญ​ จีน เขมร เวียด จาม แขก และอีกสารพัด  ให้กลายเป็น ‘ไทย’ เหมือนๆ กันไปหมดนั่นแหละ

                   น่าสนใจนะครับที่ในบรรดารัฐนิยมทั้งสิบสองฉบับ ซึ่งมีทั้งเรื่องการบังคับให้ภาคภูมิใจในหนังสือและภาษาไทย (ฉบับที่ 9 ประกาศวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2483) บังคับเรื่องการแต่งกายของประชาชนชาวไทย (ฉบับที่ 10 ประกาศวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2484) และบังคับในเรื่องกิจวัตรประจำวัน (ฉบับที่ 11 ประกาศวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2484) มีอยู่ถึงสองฉบับที่ว่าด้วยเรื่องของเพลงดนตรีคือ ฉบับที่ 4 การเคารพธงชาติ เพลงชาติ และเพลงสรรเสริญพระบารมี ประกาศเมื่อวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2482 และฉบับที่ 6 ทำนองและเนื้อเพลงชาติไทย ประกาศเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2482 เช่นกัน

                   ควรสังเกตด้วยว่า ประกาศรัฐนิยมที่เกี่ยวข้องกับเพลงดนตรีทั้งสองฉบับดังกล่าว ก็สำคัญพอที่จะต้องประกาศออกมาก่อนเรื่องของภาษาไทย, การแต่งกาย และกิจกรรมประจำวันของผู้คนเลยทีเดียว

                   และก็สำคัญขนาดที่ว่า เพลงดนตรีดังกล่าวสามารถบงการร่างกายที่กำลังเข้าทรง ‘ความเป็นไทย’ ให้ยืนตัวตรงเมื่อได้ยินเพลงดังกล่าวกันมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้เลยเหอะ

          ดนตรีและการแสดงออกทางเรือนร่างจึงเกี่ยวข้องกับอำนาจของรัฐโดยตรง แต่นี่ก็เป็นเพียงแค่เฉพาะตัวอย่างที่มีลักษณะเชิงพิธีกรรม และพิธีการ ที่สัมพันธ์กับอำนาจรัฐอย่างเห็นกันชัดๆ เท่านั้น ยังมีดนตรีและการแสดงออกทางเรือนร่างที่รัฐบอกให้คนไทยทำอย่างอื่นอีกด้วย

                   ‘รำวง’ ก็เริ่มเกิดขึ้นในช่วงสมัยนี้เหมือนกัน ไม่ใช่ของเก่าแก่ที่มีมาแต่ดั้งเดิม อย่างที่มักอ้างกันเรื่อยเปื่อยโดยไม่มีหลักฐานรองรับ โดยพัฒนามาจาก ‘รำโทน’ ที่เก่าแก่กว่า และมีร่องรอยหลักฐานในยุคโบราณเหลือให้เห็น

                   ‘รำโทน’ มีบันทึกอยู่ในจดหมายเหตุของลา ลูแบร์ ราชฑูตชาวฝรั่งเศส ในพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับอยุธยาในแผ่นดินของสมเด็จพระนารายณ์ เมื่อ พ.ศ. 2330 ดังมีข้อความตามสำนวนแปลของ สันต์ ท. โกมลบุตร ว่า

        

ในช่วง การเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ ศ 2475 ดนตรี มีการเปลี่ยนแปลง ไป อย่างไร

          “พวกราษฎรก็พอใจขับร้องเล่นในตอนเย็นๆ ตามลานบ้าน พร้อมด้วยกลองชนิดหนึ่งเรียกว่าโทน (tong) เขาถือโทนไว้ในมือซ้าย แล้วใช้กำปั้นมือขวาทุบหน้าโทนเป็นระยะๆ โทนนั้นทำด้วยดิน (เผา) รูปร่างเหมือนขวดไม่มีก้น แต่หุ้มหนังแทน (ก้น) มีเชือกผูกรัดกระชับไว้กับคอ (ขวดดิน) นั้น”

                   ถึงแม้ลา ลูแบร์ จะไม่ได้บันทึกไว้ว่า มีการ ‘รำ’ แต่ก็เชื่อขนมกินได้ว่ามีการรำอยู่ด้วย เพราะนอกจากชื่อจะบอกอยู่เห็นๆ นะครับว่า ‘รำโทน’ แล้ว การฟ้อนรำประกอบเครื่องดนตรีให้จังหวะยังเป็นสิ่งที่มีมาช้านานแล้วอีกต่างหาก

          การรำโทนน่าจะพบอยู่เป็นเรื่องปกติทั่วไปในภูมิภาคอุษาคเนย์ ไม่จำกัดอยู่เฉพาะในอยุธยา ลพบุรี กรุงเทพฯ​ หรือเพียงบางพื้นที่อย่างที่ตำราสมัยเก่าอ้างเอาไว้ เพราะการรำโทนเป็นความบันเทิงอย่างง่ายๆ ไม่ได้มีกฎเกณฑ์พิธีการมากำหนดให้ยุ่งยากวุ่นวาย โดยเฉพาะเมื่อไม่ได้มีเครื่องดนตรีประกอบจังหวะอื่นนอกจากโทน (อันที่จริงแล้ว ต่อให้ไม่มีโทน ขวด ถ้วย ถัง กะละมัง หม้อ หรือถ้าหาอะไรไม่ได้แล้วจริงๆ ก็ใช้มือลุ่นๆ ทั้งสองข้างนั่นแหละ มาใช้ปรบตีประกอบจังหวะแทน)

                   อดีตอธิบดีคนสำคัญที่สุดของกรมศิลปากรอย่าง ธนิต อยู่โพธิ์ (พ.ศ. 2450-2547) ได้เขียนเล่าไว้ว่า ระหว่างช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ประชาชนในพระนครและธนบุรีต่างนิยมเล่นรำโทนกันโดยทั่วไป พอมาถึง พ.ศ. 2487 ซึ่งเป็นช่วงปลายของสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นปีสุดท้ายของรัฐบาลจอมพล ป. ที่ครองตำแหน่งนายกฯ ในรอบแรก (จอมพล ป. ครองตำแหน่งนายกรัฐมนตรีรอบที่สอง ซึ่งเป็นครั้งสุดท้ายระหว่าง พ.ศ. 2491-2500) รัฐบาลได้มอบหมายให้กรมศิลปากรพิจารณาปรับปรุงการละเล่นรำโทนขึ้นใหม่

                   การปรับปรุงที่ว่านอกจากจะได้มีการสร้างบทร้องขึ้นใหม่เพื่อให้ได้มาตรฐาน และเพิ่มเติมเครื่องดนตรีในการทำเพลงทั้งเครื่องไทย และเครื่องสากลจนหรูหรา แล้วยังได้มีการจัดทำท่ารำให้ ‘งดงาม’ ตามแบบฉบับของ ‘นาฏศิลป์ไทย’ อย่างการนำเอาท่า สอดสร้อยมาลา ชักแป้งผัดหน้า ฯลฯ มากำหนดเป็นแม่ท่าอีกด้วย

                   ที่สำคัญคือกรมศิลปากรได้เปลี่ยนชื่อจาก ‘รำโทน’ เป็น ‘รำวง’ เพราะเห็นว่า ผู้เล่นย่อมรวมวงกันเล่น และรำเคลื่อนย้ายเวียนเป็นวง

                ผมไม่แน่ใจว่า สมัยยังเป็น ‘รำโทน’ ที่รัฐไม่ลงมายุ่มย่ามจัดระเบียบ ผู้เล่นจะเคลื่อนย้ายเวียนเป็นวงหรือเปล่า? แต่แน่ใจได้ว่าก่อนจะเป็น ‘รำวง’ ใครใคร่ทำเพลงอันใดก็ทำ ใครใคร่จะรำอย่างไรก็รำ ไม่อย่างนั้นรัฐบาลของจอมพล ป. ท่านจะมาปรับทัศนคติให้ได้ ‘มาตรฐานความเป็นไทย’ ของท่านทำไมให้เสียเวลา?

                   แถมคำว่า ‘มาตรฐาน’ ที่ถูกใช้เป็นสร้อยท้ายคำเรียก ‘รำวง’ ว่า ‘รำวงมาตรฐาน’ ตามที่กรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้นมาในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. เอง ยิ่งเป็นพยานปากเอกอยู่แล้วว่า มีรำวง หรือรำโทน ที่ไม่ได้มาตรฐานของรัฐไทย คือไม่นับว่าเป็น ‘ไทย’ อยู่ด้วย

          การปรับเปลี่ยน ‘รำโทน’ ให้มาเป็น ‘รำวง’ แถมยังไม่ใช่รำวงเฉยๆ เพราะเป็น ‘รำวงมาตรฐาน’ ซึ่งก็คือมาตรฐานของความเป็นไทยนั้น จึงเป็นการปฏิเสธข้อกล่าวหาว่า คณะราษฎรไม่มีความนิยมในดนตรีไทยได้เป็นอย่างดี เพราะที่จริงแล้วไม่ได้ไม่ชอบ เพียงแต่ต้องการที่จะสร้างมาตรฐานให้ต้องตรงกับจริตความเป็นไทยในแบบของพวกตนเองต่างหาก

          เพราะอะไรก็ตามที่ไม่ได้มาตรฐาน ‘ความเป็นไทย’ ในสมัยนั้น มันช่างดูไม่ ‘ศิวิไลซ์’ เอาเสียเลย เรือนร่างที่ไม่ได้แสดงออกถึงท่วงท่าที่รัฐการันตีว่าเป็นไทย จึงเป็นการแสดงท่าท่างที่ไม่เป็นอารยะ ความเป็นไทยจึงบงการร่างกายของเรามาอย่างน้อยก็ตั้งแต่ในสมัยของจอมพล ป. นู่นแหนะเป็นอย่างน้อย

          ดังนั้นการที่รัฐบาลในชุดปัจจุบัน มีนโยบายให้เด็กไทยทุกคน สามารถเล่นเครื่องดนตรีไทยได้ อย่างน้อยคนละ 1 อย่าง โดยจะเริ่มตั้งแต่ภาคการศึกษาที่ 1 ในปี พ.ศ. 2560 ซึ่งก็คือปีหน้านี้เอง จึงไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร เพราะนอกจากลัทธิท่านผู้นำในอดีตเขาเคยทำมาก่อนตั้งแต่เมื่อเกือบๆ 80 ปีที่แล้ว แถม ความเป็นไทย’ นี่พอเข้าทรง องค์ประทับอยู่ในตัวของเราแล้ว มันบงการได้แม้กระทั่งร่างกายของเราเลยนี่ครั