ร่าง แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ ศ 2566 -- 2570

วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน 2564

ร่าง แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของ ประเทศไทย พ ศ 2566 -- 2570

ดีอีเอส เร่งจัดทำร่างแผนกระทรวงฯ ระยะ 5 ปี เน้นเชื่อมโยงสอดคล้องแผนระดับชาติ

ดีอีเอส เร่งจัดทำร่างแผนกระทรวงฯ ระยะ 5 ปี เน้นเชื่อมโยงสอดคล้องแผนระดับชาติ

          เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 นายเวทางค์ พ่วงทรัพย์ รองปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม เป็นประธานการประชุมคณะทำงานจัดทำแผนกระทรวงครั้งที่ 1/2564 ณ ห้องประชุม 801 ชั้น 8 สำนักงานปลัดกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ที่ประชุมได้พิจารณาทบทวนความเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ชาติ และแผนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำมาใช้ถ่ายทอดประกอบการจัดทำร่างแผนปฏิบัติราชการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2566 – 2570 ให้มีความสอดคล้องในทิศทางที่เหมาะสม สำหรับแผนระดับชาติที่เกี่ยวข้อง อาทิ 1. ร่างแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (สศช.) 2. นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยการพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (พ.ศ. 2561 – 2580) (แผน DE) 3. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 4. แผนปฏิบัติการฯ เพื่อผลักดันการใช้ประโยชน์เทคโนโลยี 5G 5. แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทยระยะ 7 ปี (พ.ศ. 2564 – 2570) และ 6. แผนยุทธศาสตร์เกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2564-2565) (อยู่ระหว่างทำกรอบ 2566 -2570) เป็นต้น พร้อมกันนี้ ที่ประชุมได้เตรียมกำหนดการประชุมเพื่อนำเสนอร่างยุทธศาสตร์กระทรวงฯ ซึ่งกำหนดการเบื้องต้นผ่านการประชุมออนไลน์ ภายในวันที่ 25 พ.ย. 64
 

**********************

 

แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 - 2565

       จากบริบทของการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่กล่าวมานี้ ทำภาครัฐเล็งเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้หน่วยงานภาครัฐ ซึ่งรวมทั้งการให้บริการและกระบวนการทำงานให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล (Digital Transformation) เพื่อรองรับกับพฤติกรรมและสถานการณ์ในความต้องการรับบริการผ่านช่องทางออนไลน์ของประชาชน และภาคธุรกิจมากยิ่งขึ้น ซึ่งการที่จะทำให้การปรับเปลี่ยนรูปแบบนี้อย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจึงได้มีการตราพระราชบัญญัติการบริการงานและการให้บริการภาครัฐผ่านช่องทางดิจิทัล พ.ศ. 2562 ซึ่งได้มีการกำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยเพื่อรองรับการดำเนินการปรับเปลี่ยนกระบวนการให้บริการและการทำงานของภาครัฐให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และแผนดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ด้วยเหตุนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัลจึงได้ดำเนินการจัดทำ แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2563 – 2565 โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้

1. เพื่อบูรณาการการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชน
2. เพื่อให้มีกรอบการขับเคลื่อนกิจกรรม/โครงการที่ชัดเจนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกัน
3. เพื่อกำหนดกรอบการขับเคลื่อนการบูรณาการรัฐบาลดิจิทัลที่สำคัญ สำหรับกำหนดประเด็นแผนบูรณาการประจำปีงบประมาณ
4. เพื่อกำหนดหน่วยงานหลักและหน่วยงานรองในการขับเคลื่อนประเด็นที่เกี่ยวข้อง พร้อมกรอบงบประมาณในการดำเนินงาน
5.เพื่อเป็นกรอบแนวทางให้หน่วยงานภาครัฐจัดทำแผนการดำเนินงานที่สอดคล้องกับ พระราชบัญญัติการบริการงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562

ที่มา : https://www.dga.or.th/

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 ในรูปแบบออนไลน์

แชร์หน้านี้


         เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565 สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านการประชุมประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็น (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 ในรูปแบบออนไลน์ จากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป โดยมีนายดอน ปรมัตต์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นประธานการประชุม และนางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้ร่วมเป็นวิทยากรในช่วงการเสวนา ประชาพิจารณ์ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ที่ 4

         สรุปสาระสำคัญของการประชุม ดังนี้

         1. พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562 มาตรา 5 กำหนดให้มีการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลเพื่อกำหนดกรอบและทิศทางการบริหารงานภาครัฐ และการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบของเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาประเทศ มีการปฏิบัติงานที่สอดคล้องกันระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และมีกรอบการพัฒนาและแผนการดำเนินงานของประเทศ โดยแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2563 – 2565 กำลังจะสิ้นสุด ตามกรอบระยะเวลา และเพื่อให้การดำเนินการมีความต่อเนื่อง สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จึงได้ดำเนินการจัดทำ (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 ที่มุ่งเน้นการบริหารงานและการจัดทำบริการสาธารณะในรูปแบบและช่องทางดิจิทัล ด้วยการบริหารจัดการและการบูรณาการข้อมูลภาครัฐ เพื่อให้การทำงานที่มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกันอย่างมั่นคงปลอดภัยและมีธรรมาภิบาล อันจะก่อให้เกิดการบริหารงานที่มีประสิทธิภาพและความสะดวกในการเข้าถึงบริการของประชาชนและภาคเอกชน พร้อมทั้งเปิดเผยข้อมูลภาครัฐต่อสาธารณชนเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน

        

2. (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566-2670 มีวิสัยทัศน์ “บริการภาครัฐสะดวก โปร่งใส ทันสมัย ตอบโจทย์ประชาชน” มีเป้าหมายในการให้บริการที่ตอบสนองประชาชนและลดความเหลื่อมล้ำ (Responsive Government) เพิ่มความสามารถและศักยภาพในการแข่งขันของภาคธุรกิจ (Enhance Competitiveness) โปร่งใส เปิดเผยข้อมูลประชาชน เชื่อถือและมีส่วนร่วม (Open Government & Trust) และภาครัฐที่ปรับตัวทันการณ์ (Agile Government) ประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์สำคัญ ได้แก่

             ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาบริการที่สะดวกและเข้าถึงง่ายด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
             ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างมูลค่าเพิ่มและอำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
             ยุทธศาสตร์ที่ 3 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชน และเปิดเผยข้อมูลเปิดภาครัฐ
             ยุทธศาสตร์ที่ 4 บูรณาการข้อมูลและกระบวนงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อการบริหารงานที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และมีประสิทธิภาพ

        

3. รองเลขาธิการ ก.พ.ร. ได้นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวข้องกับร่างแผนดังกล่าวใน 3 ประเด็น ประกอบด้วย

             3.1 สิ่งที่ภาครัฐดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ได้แก่ การบูรณาการข้อมูล ในรูปแบบ Biz portal Citizen portal และแอฟลิเคชันทางรัฐ เป็นต้น รวมถึงการผลักดันงานบริการ e-Service ให้เป็นแบบ Fully Digital ตั้งแต่การค้นหาข้อมูล การยืนยัน การกรอกข้อมูล การยื่นคำขอ การตรวจสอบข้อมูล การชำระค่าธรรมเนียม ใบอนุญาต และการจัดส่งใบอนุญาต ซึ่งเป็นเป็นดิจิทัลจะทำให้เกิดการปรับกระบวนงานให้สั้นลง มุ่งเน้นการทำ Digital Transformation และ Agile Government
             3.2 การเป็น Fully Digital Government ในอนาคต ควรต้องมีแนวทางในการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ มีโครงการที่ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์ชาติ และต้องเชื่อมโยงรัฐและเอกชนเข้าด้วยกันในการบูรณาการการทำงาน
             3.3 ข้อเสนอแนะในการดำเนินการ ควรปรับเปลี่ยนวิธีคิดและกระบวนการทำงาน โดยบริหารงานแบบยืดหยุ่น ควรสร้างระบบการทำงานแบบไร้รอยต่อ (Seamless) โดยต้องคำนึงถึงการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลด้วย และ Digital Policy ทั้งด้านงบประมาณ ด้านการพัฒนาบุคลากร และการแก้ไขกฎหมายให้รองรับการเปลี่ยนแปลง

         ทั้งนี้ สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) จะได้ปรับปรุง (ร่าง) แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วน จากการเก็บรวบรวมข้อมูล ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลดังกล่าวมาประกอบการจัดทำแผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลฯ ให้สามารถกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนประเทศได้อย่างเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้ และตอบสนองต่อความต้องการของทุกภาคส่วนได้อย่างแท้จริงต่อไป