หมอบรัดเลย์ เข้ามาในสยามเพื่อจุดประสงค์ใด

หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม หมายถึง, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม คือ, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม ความหมาย, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม คืออะไร

หมอบรัดเลย์ เข้ามาในสยามเพื่อจุดประสงค์ใด

          หมอบรัดเลย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันผู้ทุ่มเทบุกเบิกงานพิมพ์ในสยามมากกว่างานสอนศาสนา แล้ว Bangkok Recorder หนังสือพิมพ์ฉบับแรกของสยามก็อวดโฉม สร้างสมาชิกกว่า 100 คน ซึ่งสมาชิกหมายเลข ๑ ก็คือ คิงมงกุฎ (ร.๔) นั่นเอง

         หมอบรัดเลย์ หรือ ด็อกเตอร์แดน พีช แบรดเล เป็นชาวเมือง Marcellus นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา บรัดเลย์เป็นคนมีความรู้ที่ร.๔ เคยสั่งให้เข้าไปสอนภาษาอังกฤษแก่ฝ่ายใน

        ในปีพ.ศ. ๒๓๗๘ หมอบรัดเลย์ได้ตั้งศาลาโอสถขึ้น ณ ศาลาข้างใต้วัดเกาะ เปิดรักษาโรคให้แก่ผู้ป่วยตลอดวัน ซึ่งการตั้งโรงหมอของบรัดเลย์เกิดจากความต้องการดึงดูดความสนใจของคนให้เข้ามาสนใจศาสนาของตน กล่าวคือ เมื่อมีคนมารักษาจะไม่คิดค่ารักษาและค่ายา แต่จะแจกหนังสือเกี่ยวกับศาสนาให้แทน ซึ่งได้รับความสนใจจากชาวบ้านที่ยากจนเป็นอย่างมาก เฉลี่ยแล้ววันหนึ่งมีคนมารักษาประมาณ ๘๕ คนเลยทีเดียว


        แต่เมื่อเปิดได้สองสามเดือน ก็ถูกเจ้าของที่ไล่ให้ไปอยู่ที่อื่น จึงได้ย้ายไปอยู่ที่กุฎีจีน ปลูกบ้านอยู่ใกล้ๆกับโบสถ์ซางตาครู้ส และเปิดร้านจ่ายยาขึ้นเป็นครั้งที่สอง พร้องกับตั้งกิจการโรงพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยสั่งเครื่องพิมพ์ของมิชชันนารีเข้ามาในปีพ.ศ. ๒๓๗๗ งานแรกที่พิมพ์คือ พิมพ์กิจการศาสนาคริสต์แจก และพิมพ์ประกาศของทางราชการ เรื่องห้ามนำฝิ่นเข้ามาในประเทศสยามจำนวน ๙ ฉบับในปี พ.ศ. ๒๓๘๒

         หลังจากทำงานพิมพ์เล็กๆน้อยๆอยู่ซักระยะ หมอบรัดเลย์ก็ออกหนังสือพิมพ์ฉบับรายปีชื่อ “บางกอกคาเลนเดอร์” ขึ้นเป็นครั้งแรกในสยามประเทศ แล้วต่อมาก็ออกหนังสือพิมพ์รายเดือนเพิ่มขึ้นอีกหนึ่งฉบับ ชื่อ “หนังสือจดหมายเหตุใหม่” (Bangkok Recorder)

          ด้วยความเป็นนักหนังสือพิมพ์ ทำให้หมอบรัดเลย์เกิดปัญหาโต้แย้งกับคนเกือบทุกฝ่าย อาทิ  เขียนบทความว่าพระมหากษัตริย์ใช้เงินอย่างไม่มีประโยชน์ แทนที่จะเอาเงินไปพัฒนาบ้านเมืองให้เจริญ กลับต้องเอาไปใช้เลี้ยงดูผู้คนในวังอย่างไม่จำเป็นถึง ๒๒,๗๕๔ คน ซึ่งเป็นการตำหนิด้วยความหวังดี ร.๔ จึงไม่ทรงกริ้ว(คงเพราะความเป็นพระสหายด้วย)

           แต่กรณีที่หนักหนาถึงขั้นขึ้นโรงขึ้นศาล ก็คือกรณีพิพาทระหว่างนายโอบาเรต์กงสุลฝรั่งเศส ซึ่งเป็นผู้ที่ทำการละเมิดต่ออำนาจของไทย โดยการชักชวนข้าทาสคนไทยไปอยู่ในร่มธงฝรั่งเศส และตั้งตนเป็นเอเย่นขายสุราโดยมิได้แจ้งแก่รัฐบาลไทย เมื่อหมอบรัดเลย์ทราบเรื่องจึงได้นำไปเขียนลงหนังสือพิมพ์ นายโอบาเรต์ไม่พอใจจึงเกิดการฟ้องร้องขึ้น

            ซึ่งการตัดสินความปรากฎว่า หมอบรัดเลย์แพ้คดี ถูกปรับ แต่มีชาวไทยช่วยเรี่ยไรเงินมาจ่ายค่าปรับแทน และ ร.๔ ก็ได้พระราชทานเงินมาร่วมด้วย

        จากนั้นก็พิมพ์หนังสือเล่มจำหน่าย อาทิ เรื่องสามก๊ก ซึ่งร.๔ ทรงสั่งซื้อเป็นจำนวนถึง ๕0 เล่ม เพื่อประทานแก่โอรสธิดา

        หมอบรัดเลย์เป็นหมอฝรั่งคนแรก ที่นำเอาหลักวิชาแพทย์สมัยใหม่เข้ามาเผยแพร่ในเมืองไทย โดยได้เริ่มการผ่าตัดครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๗0 และเริ่มการปลูกฝีบำบัดไข้ทรพิษ โดยปลูกของตนเองเป็นตัวอย่างในงานฉลองวัดประยูรวงศ์ ซึ่งร.๓ ได้ส่งหมอหลวงมาเรียนด้วย

          ปัญหาสำคัญที่สุดของหมอบรัดเลย์คือการระหกระเหินย้ายถิ่นฐานเสมอ ดังนั้นในปี พ.ศ. ๒๓๙๕ ร.๔ จึงโปรดเกล้าฯให้เช่าอยู่ที่หลังป้อมวิไชยประสิทธิ์อย่างเป็นทางการ โดยมีหนังสือสำคัญเรื่องการเช่าที่ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษเป็นหลักฐาน

        ปัจจุบันหมอบรัดเลย์ ผู้นำเครื่องพิมพ์เข้ามายังสยามประเทศเป็นครั้งแรก ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งการพิมพ์ หรือ CNN ประจำกรุงสยามนั่นเอง

 ภาพและที่มา  www.bloggang.com

หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม หมายถึง, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม คือ, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม ความหมาย, หมอบรัดเลย์ CNN ประจำกรุงสยาม คืออะไร

ร่วมเป็นแฟนเพจเรา บน Facebook..ได้ที่นี่เลย!!

การแพทย์แผนปัจจุบันหรือการแพทย์แบบตะวันตกได้เข้ามาในประเทศไทยพร้อมๆ กับการมาของนักสอนศาสนาคริสต์ในยุคของการแผ่ขยายอิทธิพลของชาติตะวันตก มิชชันนารีที่เข้ามาในประเทศไทยนอกจากภารกิจการเผยแผ่ศาสนาแล้วยังมีภารกิจอันเป็นประโยชน์แก่ชาวพื้นเมือง ได้แก่ การสอนหนังสือและการรักษาโรคภัยไข้เจ็บ จนชาวบ้านพากันเรียกมิชชันนารีว่า “หมอ” โดยที่มิชชันนารีบางคนไม่ได้ศึกษาด้านการแพทย์มาก่อน

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้นกล่าวกันว่าไม่มีแพทย์ไทยแผนปัจจุบันแม้แต่คนเดียว โดยในช่วงร้อยปีระหว่าง พ.ศ.2371-2471 มีมิชชันนารีที่เป็นแพทย์ปริญญาเข้ามาปฏิบัติงานในประเทศไทยถึง 46 คน แต่ผู้ที่นำการแพทย์แผนปัจจุบันและวิทยาศาสตร์ เข้ามาเผยแพร่จนเป็นที่รู้จักกันดีมี 2 คน คนแรกเป็นแพทย์คือ นพ.บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) เข้ามาในปี พ.ศ. 2377 อีกคนเป็นทั้งแพทย์และนักวิทยาศาสตร์คือ นพ.เฮาส์ (Reynolds Samuel House)

หมอบรัดเลย์ เข้ามาในสยามเพื่อจุดประสงค์ใด

นพ.บรัดเลย์ Dan Beach Bradley

นพ.บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) หรือ “หมอบรัดเลย์” เป็นบุคคลสำคัญที่ได้นำการแพทย์แผนปัจจุบันมาสู่ประเทศไทย เขาเป็นคนแรกที่ทำการถ่ายเลือดเพื่อแก้ไขผู้ป่วยที่เสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก เป็นผู้ตั้งร้านจำหน่ายยาและเป็นต้นกำเนิดความคิดของการทำคลินิกแห่งแรกในสยาม อีกทั้งยังเป็นผู้นำวิธีป้องกันโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษที่ระบาดในสมัยนั้นด้วย

การปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2378 โดยหมอบรัดเลย์ เป็นผู้นำเข้ามาเผยแพร่ สยามในเวลานั้นประสบปัญหาเรื่องการขนส่งพันธุ์หนองฝีวัวที่ใช้ปลูกฝี ซึ่งต้องนำเข้ามาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ทำให้หมอบลัดเลย์ต้องใช้หนองฝีจากผู้ที่ปลูกฝีขึ้นดีแล้วมาใช้ต่อ และหมอบรัดเลย์ยังได้พยายามหาวิธีการที่จะทำให้มีพันธุ์หนองฝีไว้ใช้ได้ตลอด จึงได้ทำการทดลองผลิตพันธุ์หนองฝีขึ้นเองในปลายปี พ.ศ.2385 โดยการฉีดหนองฝีจากผู้ป่วยไข้ทรพิษเข้าไปในวัวจนประสบความสำเร็จ ทำให้ในสมัยนั้นภารกิจหลักของบรรดามิชชันนารีก็คือการเดินทางออกไปปลูกฝีตามที่ต่างๆ ทั่วประเทศ

หมอบรัดเลย์ เข้ามาในสยามเพื่อจุดประสงค์ใด

นพ.ซามูเอล เรโนลด์ เฮาส์ Reynolds Samuel House

สำหรับ นพ.ซามูเอล เรโนลด์ เฮาส์ (Reynolds Samuel House) เดินทางจากสหรัฐอเมริกามาถึงสยาม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2390 ขณะที่ นพ.บรัดเลย์ได้เดินทางกลับไปยังสหรัฐอเมริกาชั่วคราวแล้วเพียง 2 สัปดาห์ เมื่อข่าวการมาของ “หมอฝรั่งคนใหม่” ได้แพร่สะพัดออกไปก็มีผู้ป่วยมาขอรับการรักษาจาก นพ.เฮาส์เป็นจำนวนมาก

นพ.เฮาส์ได้เปิดคลินิกขึ้น ณ ที่ทำการเดิมของ นพ.บรัดเลย์ ซึ่งเป็นเรือนแพหลังเล็ก ๆ หน้าสำนักงานมิชชันนารี ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักเป็นผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรังหรือผู้ได้รับบาดเจ็บจากการทะเลาะวิวาท

ในปี พ.ศ.2390 นพ.เฮาส์ได้ให้ยาระงับความรู้สึกเป็นครั้งแรกด้วยอีเทอร์ ผู้ป่วยเป็นหญิงชราอายุ 84 ปี ถูกไม้รวกตำเข้าเนื้อลึก 8 นิ้ว โดยไม้ที่ตำหักคาแผลอยู่ นพ.เฮาส์อ่านพบเรื่องการใช้อีเทอร์ในวารสารการแพทย์จึงได้ทดลองใช้ดูบ้างทั้ง ๆ ที่ยังไม่มีเครื่องมือสำหรับให้อีเทอร์โดยเฉพาะการผ่าตัด แต่นับว่าการให้ยาระงับความรู้สึกด้วยอีเทอร์ครั้งนั้นสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งอาจเรียกได้ว่าเป็นครั้งแรก ๆ ในทวีปเอเชีย เนื่องจากเหตุการณ์เกิดขึ้นเพียง 2 ปี หลังการใช้อีเทอร์ในทางศัลยกรรมครั้งแรกในโลก ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับการให้ยาระงับความรู้สึกครั้งแรกในเกาะสิงคโปร์อาณานิคมของอังกฤษ

เมื่อกล่าวถึง นพ.เฮาส์ เขานับเป็นศัลยแพทย์คนแรกในสยามที่ศึกษาด้านการใช้ยาระงับความรู้สึก และอาจกล่าวได้ว่านอกจากหมอบรัดเลย์แล้ว นพ.เฮาส์เป็นหมอฝรั่งที่มีชื่อเสียงที่สุดในยุคนั้น กล่าวคือในช่วงเวลา 18 เดือนแรกเฮาส์ได้รักษาผู้ป่วยไปแล้วถึง 3,117 ราย กระทั่งคนสยามเรียกขานเขาว่า “หมอเหา”

เมื่อคราวเกิดอหิวาตกโรคระบาดในปี พ.ศ. 2492 ซึ่งตรงกับการระบาดครั้งใหญ่ครั้งที่ 2 ในโลก มีผู้เสียชีวิตในสยามไม่น้อยกว่า 40,000 คน นพ.เฮาส์ได้ทำการช่วยเหลือผู้ป่วยอหิวาตกโรคอย่างไม่เห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อยโดยไม่เกรงว่าจะติดโรคในระหว่างการบำบัดผู้ป่วย

นอกจากนี้เขายังได้ตระเวนทำการปลูกฝีแก่ประชาชนทั้งในเมืองหลวงและตามหัวเมืองต่างๆ ตลอดจนถวายการรักษาแก่เจ้านายในวังเป็นครั้งคราว บางครั้งต้องนอนค้างคืนเปลี่ยนเวรในการถวายการรักษา อย่างไรก็ตามหลังจากการทำงานด้านการแพทย์ได้ 6 ปี เฮาส์ได้อุทิศชีวิตส่วนใหญ่ไปกับการเผยแผ่คริสต์ศาสนา

ในขณะเดียวกัน นพ.เฮาส์ยังสนใจวิทยาศาสตร์หลายสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยาและได้ถ่ายทอดวิชาเหล่านี้แก่คนไทย เขาได้ทำการทดลองวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับสรีระวิทยา การใช้โครงกระดูกมนุษย์ประกอบการสอนทำให้คนแตกตื่นขอดูกันเป็นจำนวนมาก อีกทั้งยังได้รายงานการค้นพบหอยชนิดใหม่ในประเทศไทย 2 ชนิด คือ Cyclostoris  Housei และ Spiraculum  Housei และต่อมาได้เป็นผู้บุกเบิกการตั้งโรงเรียน Samray Boy’s School (หรือโรงเรียนเด็กชายที่สำเหร่) อันเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนกรุงเทพคริสเตียน และ Harriet House School (หรือโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง) อันเป็นต้นกำเนิดของโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย

นอกจากนี้ นพ.เฮาส์ยังมีส่วนช่วยเหลือในการแปลและการร่างสนธิสัญญาระหว่างไทยและจักรวรรดิอังกฤษสมัยครั้งที่ เซอร์ จอห์น เบาว์ริง เป็นราชฑูตเข้ามาเจริญพระราชไมตรีในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย

เก็บความและภาพจาก

สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แหล่งที่มา: http://kanchanapisek.or.th/kp6/sub/book/book.php?book=8&chap=1&page=t8-1-infodetail06.html

สมรัตน์ จารุลักษณานันท์ และเทวารักษ์ วีระวัฒกานนท์. นายแพทย์เฮาส์: แพทย์ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกคนแรกในสยาม.ใน Thai Journal of Anesthesiology, Volume 37 Number 1 January - March 2011.

ขอบคุณรูปภาพจาก : https://en.wikipedia.org/wiki/Dan_Beach_Bradley

หมอบรัดเลย์ เข้ามาในสมัยใด

นายแพทย์แดน บีช แบรดลีย์ หรือ “หมอบรัดเลย์” ที่เราคุ้นเคย เป็นนายแพทย์ชาวอเมริกันที่เข้ามาเมืองไทยในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นนายแพทย์ผู้ริเริ่มบุกเบิกวิทยาการทางการแพทย์หลายอย่างในไทย เช่น การผ่าตัดในประเทศไทยเป็นครั้งแรก, การปลูกฝี และมีส่วนผลักดันให้สตรีหลังคลอดเลิกอยู่ไฟ ฯลฯ

หมอบรัดเลย์ทำอะไร

นพ.บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) หรือ “หมอบรัดเลย์” เป็นบุคคลสำคัญที่ได้นำการแพทย์แผนปัจจุบันมาสู่ประเทศไทย เขาเป็นคนแรกที่ทำการถ่ายเลือดเพื่อแก้ไขผู้ป่วยที่เสียเลือดไปเป็นจำนวนมาก เป็นผู้ตั้งร้านจำหน่ายยาและเป็นต้นกำเนิดความคิดของการทำคลินิกแห่งแรกในสยาม อีกทั้งยังเป็นผู้นำวิธีป้องกันโรคไข้ทรพิษหรือฝีดาษที่ระบาดในสมัย ...

หมอบรัดเลห์ เดินทางเข้ามาในสยามในฐานะอะไร

บรัดเลย์เข้ามาในสยามในยามที่ชนชั้นนำกำลังปรับปรุงโลกทัศน์ตนเอง โดยเฉพาะหลังการขึ้นครองราชย์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และเจ้านายฝ่ายนั้น พร้อมกับการขึ้นมาเป็นหัวหน้าขุนนางของเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ซึ่งเป็นขุนนางหัวก้าวหน้ามาตั้งแต่สมัยมิชชันนารีเริ่มเข้าสู่สยาม จากบันทึกของหมอบรัดเลย์ ในปีแรก ...

จุดประสงค์แรกที่ หมอบรัดเลย์ เดินทางมาในประเทศไทยคือข้อใด

หมอบรัดเลย์เดินทางมาเผยแพร่ศาสนาในประเทศไทยในแผ่นดินของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 โดยได้แวะที่สิงคโปร์และได้รับชุดตัวพิมพ์ภาษาไทยที่ American Board of Commissioners of Foreign Missions ในประเทศสิงคโปร์ได้ซื้อไว้ ก่อนจะเดินทางเข้ามาสู่ประเทศไทย