นายจ้าง ต้อง ทํา ประกันสังคม หรือ ไม่

  • หน้าแรก

  • News

  • HR Articles

  • นายจ้างหรือกรรมการบริษัท มีสิทธิ์เข้ากองทุนประกันสังคมหรือไม่

นายจ้าง ต้อง ทํา ประกันสังคม หรือ ไม่

สำหรับคำถามนี่เราจะต้องวิเคราะห์ให้ได้ว่า "กรรมการ" ทำงานในฐานะ "นายจ้าง" หรือ "ลูกจ้าง" เพราะการขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนตามมาตรา 33 เป็นกำหนดให้ลูกจ้างเท่านั้นที่สามารถขึ้นทะเบียนได้ สำหรับ “นายจ้าง” หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่ง กรรมการหรือผู้ถือหุ้น ที่จะไม่อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง” 

                แล้วคำว่า “กรรมการ” หรือ “นายจ้าง” มีเงื่อนไขอะไรที่ช่วยแยกชัดเจนหรือ บริบทของคำจำกัดความดังกล่าวไหม มาดูกันสิว่ามีอะไรบ้าง

  1. เป็นผู้เริ่มก่อการและก่อตั้งบริษัท หรือเป็นผู้ถือหุ้น
  2. ไม่ต้องอยู่ในบังคับภายใต้กฏระเบียบของบริษัท เช่น ลางานไม่ต้องเขียนใบลา เข้าออกงานได้ตามใจชอบ
  3. ทำงานในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัท เป็นการทำกิจการด้วยจุดประสงค์เพื่อจะแบ่งปันกำไรอันพึงได้เท่านั้น
  4. สำคัญที่สุดคือ “ไม่มีหัวหน้างาน”

นายจ้าง ต้อง ทํา ประกันสังคม หรือ ไม่

ขอบคุณที่มาดี ๆ

https://www.iliketax.com/กรรมการมีสิทธิเข้าระบบ/14ผู้เข้าชม

๐๐๐๐ "นายจ้าง" ไม่มีสิทธิยื่นประกันสังคมให้ตนเอง ๐๐๐๐

นายจ้าง ต้อง ทํา ประกันสังคม หรือ ไม่
ผมได้รับคำชี้แจงจากเจ้าหน้าที่ประกันสังคมว่า นายจ้างยื่นขอประกันสังคมให้ตนเองไม่ได้

ระหว่างที่ผมรอเอกสารเกี่ยวกับเรื่องนี้  ผมลองค้นเอง พบข้อมูลน่าสนใจ ดังนี้


1. กรรมการมีสิทธิเข้าระบบประกันสังคมหรือไม่??

                ต่อคำถามที่ท่านอาจมีข้อสงสัยเกี่ยวกับกรณีกรรมการบริษัท ซึ่งได้รับเงินค่าจ้างจากบริษัทจริงในการทำงาน แต่ กรรมการ หรือ ผู้ถือหุ้น จึงไม่สามารถเข้าสู่ระบบประกันสังคมได้ ทั้งที่ตนเองก็รับเงินเดือนในการทำงานจริงเช่นเดียวกันกับพนักงาน จึงขอนำข้อสรุปมาให้ทราบดังนี้

                เมื่อนำเอกสารไปขอขึ้นทะเบียนประกันสังคม ทางสำนักงานประกันสังคมก็จะตรวจสอบเอกสารและสอบถามข้อเท็จจริงว่า  ผู้ที่เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น ๆ มีนิติสัมพันธ์การเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างกันแน่  โดยพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์  ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541  บุคคลผู้เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นดังกล่าว  อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง” หรือเป็น “นายจ้าง”  โดยกฎหมายที่ว่าได้ให้ความหมายพอสรุปได้ว่า

                “ลูกจ้าง” คือ  ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง โดยอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างอันหมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานตามที่นายจ้างสั่ง  และต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง  หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างสามารถลงโทษได้

                สำหรับ “นายจ้าง” หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่ง  กรรมการหรือผู้ถือหุ้น ที่จะไม่อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง”  จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1.    เป็นผู้เริ่มก่อการและก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่แรก หรือเป็นผู้ถือหุ้น
2.    ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท กล่าวคือ  ลักษณะงานไม่เหมือน ลูกจ้าง  ไม่มีการสมัครงาน ปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ต้องมาทำงานในเวลาทำการทุกวัน การลา  ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท
3.    ไม่มีผู้บังคับบัญชา
4.    การทำงานให้กับบริษัท เป็นการทำงานในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของบริษัท  เป็นการทำกิจการด้วยจุดประสงค์เพื่อจะแบ่งปันกำไรอันพึงได้เท่านั้น
                ดังนั้น  หากแม้ว่ามีตำแหน่งเป็น กรรมการ  แต่ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท  และยังเป็นผู้ที่ถูกว่าจ้างให้ทำงานโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งจะต้องทำงานอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท  ซึ่งหากฝ่าฝืน  บริษัทสามารถลงโทษได้  และหากมีการเลิกจ้าง  บุคคลผู้นี้สามารถเรียกค่าชดเชยจากบริษัทได้  ก็จะถือว่ากรรมการผู้นี้เป็น “ลูกจ้าง” ของบริษัท ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
                ในปัจจุบันยังมีอีกหลาย ๆ บริษัทที่ผู้ดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” ไม่อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง” ของบริษัท เพราะมีคุณสมบัติครบตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้ง 4 ข้อ  เพียงแต่ได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทเป็นรายเดือน  ซึ่งผู้ทำหน้าที่หักเงินประกันสังคมของบริษัทก็เข้าใจว่าการรับค่าตอบแทนจากบริษัทก็ถือเป็นค่าจ้าง  ซึ่งจะต้องนำไปหักเงินสมทบประกันสังคมเพื่อนำส่งให้กับสำนักงานประกันสังคมทุกเดือนตามปกติ
                  ซึ่งการตีความของประกันสังคมจะมองว่า ในเมื่อตนเองเป็น “นายจ้าง” ก็กลายเป็นว่าตนเองในฐานะ “นายจ้าง”  ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมถึง 2 ส่วน  ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ถึงแม้จะมีสิทธิใช้บริการจากสำนักงานประกันสังคมใน 7 เรื่องที่ทราบกันอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว  คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ไปใช้บริการเหล่านี้  จากสำนักงานประกันสังคมเลย  ยิ่งถ้าพูดถึงระดับอายุ ส่วนใหญ่ก็เลยวัยคลอดบุตรหรือมีบุตรแล้ว  หรือถ้ามีบุตรก็โตเกินกว่าจะใช้บริการสงเคราะห์บุตร  ถ้าพูดถึงฐานะการเงินก็มีพอที่จะใช้จ่ายโดยไม่ต้องพึ่งพาจากรัฐ  ส่วนเรื่องการว่างงานก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึง  เพราะคนกลุ่มนี้คงไม่ถูกเลิกจ้างแน่ ๆ ยกเว้นอยากจะทำตัวว่างงานเอง  และตามพระราชบัญญัติประกันสังคมแล้ว บุคคลที่เข้าข่ายเป็น “นายจ้าง” ก็ไม่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคมอีกด้วย
                 ดังนั้น  หากบริษัทใดมีผู้ดำรงตำแหน่งที่เข้าข่ายไม่ได้เป็น “ลูกจ้าง” และยังคงหักเงินสมทบประกันสังคมอยู่ ก็สามารถทำหนังสือถึงฝ่ายเงินสมทบและการตรวจสอบ สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ ที่บริษัทท่านส่งเงินสมทบอยู่  เพื่อแจ้งขอไม่ส่งเงินสมทบของบุคคลที่มีฐานะเป็น “นายจ้าง” อีกต่อไป พร้อมทั้งทำแบบ สปส 6-09 แจ้งออก  ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะคืนให้เพียงบางส่วนตามเปอร์เซ็นต์ที่ประกันสังคมกำหนด (จะขอรับเงินคืนได้เมื่ออายุครบ 55 ปี) หากผู้ประกันตนยังคงทำงานอยู่จริงหลังจากอายุเกิน 55 ปีแล้วก็ตาม ก็สามารถอยู่ในระบบได้ต่อไป
                  ** เกี่ยวกับข้อหารือของสำนักงานประกันสังคม ได้อนุโลมให้กรรมการที่ได้อยุ่ในระบบประกันสังคมมาก่อนปี 2550 สามารถอยู่ต่อในระบบได้โดยไม่ต้องออกจากระบบ แต่กรรมการที่ประสงค์จะเข้าระบบประกันสังคมหลังจาก ปี 2550 เป็นต้นมา จะไม่สามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ดังกล่าว
                  **อนึ่ง หากจะออกจากกรรมการบริษัท จะต้องจัดทำแบบยื่น สปส .6-09 เพื่อแจ้งออกให้ถูกต้อง หากไม่แจ้งและออกจากระบบให้ถูกต้อง เมื่อประกันสังคมตรวจสอบพบ อาจทำให้ต้องเสียเบี้ยปรับย้อนหลังได้

2. ผู้ถือหุ้น(ที่มีชื่อในบัญชีหุ้น) มีสิทธิเข้าประกันสังคมหรือไม่?
               ในกรณีมีผู้ถือหุ้นบางท่านที่มีชื่อในบัญชีหุ้น จะสามารถเข้าระบบประกันสังคมได้หรือไม่ จะมีเกณฑ์พิจารณาเบื้องต้นจากเจ้าหน้าที่ประกันสังคม เช่น ผู้ถือหุ้นคนดังกล่าวถือหุ้นอยู่ในสัดส่วนที่ไม่มาก เช่น ถ้าบริษัทกำหนดทุนมีจำนวน 10,000 หุ้น และผู้ถือหุ้นคนดังกล่าวถือหุ้นอยู่ 100 หุ้น ก็จะสามารถเข้าระบบประกันสังคมได้ ทั้งนี้ต้องแล้วแต่เงื่อนไขของประกันสังคมแต่ละพื้นที่

3. ลูกจ้างที่มีนามสกุลเดียวกับกรรมการ เช่น ญาติ,พี่น้อง,ภรรยา,สามี ของกรรมการ (ทั้งที่มีและไม่มีชื่อในบัญชีหุ้น บอจ.5 )  มีสิทธิเข้าประกันสังคมหรือไม่??
               กรณีนี้หากมีลูกจ้างรายใดที่ประสงค์จะขึ้นทะเบียนประกันสังคม เนื่องจากมีเงินเดือนที่ได้รับจริงจากบริษัทที่มีกรรมการเป็นนายจ้าง ซึ่งมีนามสกุลเดียวกับกรรมการ เช่น เป็นพี่น้อง,เป็นญาติ,เป็นภรรยา สามารถทำเอกสารชี้แจงเมื่อต้องการเข้าสุ่ระบบประกันสังคม หรือหากได้ทำการยื่นแจ้งเข้าประกันสังคมแล้ว และต่อมาทางประกันสังคมมีจดหมายมาเพื่อให้ทางบริษัททำชี้แจงในชุดตรวจสอบพร้อมกับยื่นเอกสารประกอบเพิ่มเติม เช่น ใบสมัครงาน,ใบลงเวลา, ใบสำคัญการจ่ายเงินที่บริษัทจ่ายให้ เป็นต้น
         เมื่อได้ยื่นเอกสารตามที่ประสังคมขอมาแล้ว ทางประกันสังคมก็จะพิจารณาว่าเอกสารที่จัดทำไปนั้นมีเหตุผลสมควรให้อนุมัติเข้าระบบประกันสังคมได้หรือไม่ต่อไป

                               ที่มา www.thei99account.com

อ้างอิง

ลิ้งค์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง

นายจ้าง ต้อง ส่ง ประกันสังคม ไหม

แม้ว่าระบบประกันสังคมจะมีผลคุ้มครองสำหรับลูกจ้าง แต่ผู้ประกอบการมือใหม่ที่ถือว่าเป็นนายจ้างก็มีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามกฏหมายนายจ้างจะต้องยื่นแบบ และมีหน้าที่ดังนี้ 1. แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (สปส. 1-01)

ลูกจ้างรายวันต้องขึ้นประกันสังคมไหม

ผู้ประกอบการบางรายยังมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง โดยคิดว่าการจ้างลูกจ้างแบบเป็นพนักงานรายวันไม่ใช่รายเดือนแล้วจะไม่ต้องขึ้นทะเบียนเข้าระบบประกันสังคม ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดเพราะไม่ว่าลูกจ้างจะเป็นพนักงานรายวันหรือรายเดือนก็ตาม หากมีการจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปก็ถือว่าต้องขึ้นทะเบียนเป็นนายจ้างและลูกจ้างก็ต้องขึ้นทะเบียนเป็น ...

ทำไมนายจ้างต้องทำประกันสังคมให้ลูกจ้าง

ประกันสังคม ทำไมเจ้าของธุรกิจต้องทำให้พนักงาน สิทธิประกันสังคมเป็นสิทธิประโยชน์ร่วมกันระหว่างเจ้าของธุรกิจและพนักงาน โดยเงินที่เจ้าของธุรกิจจ่ายสมทบให้กับพนักงานในแต่ละเดือนถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่พนักงานจะได้รับเพื่อเป็นการสร้างหลักประกันในการใช้ชีวิตตลอดช่วงทำงาน จนไปถึงเกษียณอายุ

เจ้าของ หจก. ทำประกันสังคมได้ไหม

หาก กรรมการบริษัท + ถือหุ้นบริษัทอย่างมีสาระสำคัญก็จะ ไม่ถือเป็นค่าจ้างที่ต้องนำไปหักสมทบประกันสังคม ตามพระราชบัญญัติประกันสังคมแล้ว บุคคลที่เข้าข่ายเป็น “นายจ้าง” ก็ไม่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคมครับ