ขายก๋วยเตี๋ยวต้องเสียภาษีไหม

Skip to content

ขายก๋วยเตี๋ยวต้องเสียภาษีไหม

ขายข้าวไข่เจียว (ร้านอาหาร) เสียภาษีอย่างไร ?

ขายก๋วยเตี๋ยวต้องเสียภาษีไหม

"ขายข้าวไข่เจียวหน้าบ้าน หรือ เปิดร้านอาหารข้างทาง เสียภาษียังไง ยืนก่อนเลยได้ไหม" เป็นคำถามที่น่าสนใจที่นำมาฝากกันวันนี้ครับ

อยากทราบว่า พอดีจะขายข้าวไข่เจียวหน้าบ้าน แต่ยังไม่ได้ลงทุนเริ่มต้นอะไรเลยไปเสียภาษีก่อนได้เลยไหมคะ ?

โดยคำถามเต็มๆ ที่โพสท์ในกลุ่ม ภาษีมีคำตอบ : ถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนปัญหาภาษี คือประโยคนี้ บอกเลยว่า อ่านคำถามนี้จบแล้ว รู้สึกเลยว่านี่คือคนดีที่โลกรอ หมอ...

เดี๋ยว !! แต่สิ่งที่ต้องขอก่อน คือ อย่าเพิ่งไปจ่ายภาษีครับผม เพราะว่าเรายังไม่มีรายได้ใด ๆ และก็ไม่รู้ว่าจะเอาอะไรไปยื่นส่งสรรพากรเหมือนกัน

แนะนำให้มาดูสิ่งที่ต้องทำมีอะไรบ้าง โดยพรี่หนอมลองย่อยประเด็นสำคัญ ๆ ให้อ่านเพื่อตัดสินใจดังนี้ครับ (หลักการนี้สามารถใช้กับธุรกิจร้านอาหารที่เป็นบุคคลธรรมดาได้หมดนะครับ)

จากคำถามการ "ขายไข่เจียวหน้าบ้าน" ขอเดาว่าน่าจะเริ่มทำในรูปแบบบุคคลธรรมดา เพราะว่าไม่น่าจะจดบริษัท มันดูยิ่งใหญ่อลังการไป

ดังนั้นภาษีหลัก ๆ ที่ต้องเสียแน่ ๆ คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กับ ภาษีมูลค่าเพิ่ม

เอาเป็นว่าเราจะพูดถึงเรื่อง ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ก่อน ซึ่งภาษีตัวนี้มีวิธีคำนวณอยู่ 2 วิธี คือ วิธีเงินได้สุทธิ กับ เงินได้พึงประเมิน อ่านบทความเรื่อง วิธีคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หรือ ดูคลิปด้านล่างนี้ได้เลยครับ

โดยปกติแล้ว เราจะเสียวิธีเงินได้สุทธิ เพราะมักจะคำนวณออกมาแล้วได้ภาษีที่ต้องเสียมากกว่า ซึ่ง หลักการคำนวณ คือ เงินได้ - ค่าใช้จ่าย - ค่าลดหย่อน = เงินได้สุทธิ ได้มาเท่าไร เอาไปคำนวณภาษีตามอัตราภาษี ซึ่งจากกรณีนี้จะสรุปได้ว่า

1. เงินได้ = รายได้จากการขายข้าวไข่เจียว (ถ้าคน ๆ นี้มีรายได้อื่น ก็ต้องเอามาเสียภาษีด้วยนะ)
2. ค่าใช้จ่าย = สิ่งที่กฎหมายกำหนดให้หัก โดยการ ขายข้าวไข่เจียว = ประกอบธุรกิจภัตตาคาร ซึ่งกฎหมายให้ทางเลือกในการหักค่าใช้จ่ายไว้ 2 ทาง คือ หักเหมา 60% หรือ หักค่าใช้จ่ายตามจริง

3. ค่าลดหย่อน = หักค่าลดหย่อนภาษีที่กฎหมายมีให้ เช่น ลดหย่อนส่วนตัว ลดหย่อนอื่นๆ ทุกอย่างที่มี

ถ้าใครคำนวณตรงนี้เป็น ก็จะเห็นตัวเลขภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ออกมาได้ล่ะครับ โดยถ้าเริ่มในปี 2563 เราจะมีหน้าที่ยื่นแบบ ปีละ 2 ครั้ง คือ ภาษีเงินได้ครึ่งปี เดือนกันยายน 2563 ภาษีเงินได้เต็มปีของปี 2563 ยื่นภายในมีนาคมปี 2564

ทีนี้มาภาษีอีกตัว คือ VAT หรือภาษีมูลค่าเพิ่ม ตรงนี้คำนวณ 7% จากยอดขาย เรียกว่าภาษีขาย และมีหน้าที่ต้องจดเมื่อมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี

รายได้ คือ รายได้
ไม่ต้องหักค่าใช้จ่ายใดๆ (ถ้าหักจะเรียกกำไร)

ดังนั้น ถ้าคิดว่าร้านของเรายอดขายถึงแน่ ๆ ไม่ปีนี้ก็ปีหน้า ก็ให้เตรียมจด VAT ล่วงหน้าไว้ได้เลยจ้า แต่ถ้ายังไม่ถึง 1.8 ล้านบาทต่อปีแน่ๆ แบบนี้อาจจะเลือกไม่จดภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้ เอาที่สะดวกใจ แต่อย่างไรก็ดี อย่าลืมคิดราคาขายที่รวม VAT ไว้ด้วยนะ

คำแนะนำเพิ่มเติม คือ ทำบัญชีรายรับรายจ่ายไว้ด้วย เพื่อยืนยันว่า รายได้เรามีเท่าไร
ต้นทุนจริง ๆ ที่เกิดขึ้นมันมากแค่ไหน เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันเผื่อถูกตรวจสอบ และใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนกิจการต่อไป อย่าลืมแยกบัญชีร้านขายข้าวไข่เจียว กับรายการค่าใช้จ่ายส่วนตัวให้ชัด ถ้าทำแบบนี้ได้ตั้งแต่แรก รับรองว่าไม่มีปัญหา

สุดท้ายนี้ พรี่หนอมฝากทุกคนติดตามบทความภาษีที่ บล็อกภาษีข้างถนน และแฟนเพจ TAXBugnoms ด้วยนะครับ ขอบคุณครับผม

เมื่ออาหารเป็นปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อชีวิตมนุษย์ จึงไม่แปลกใจที่อาชีพเกี่ยวกับการขายอาหารได้ผุดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งขนาดเล็กเรื่อยไปจนถึงใหญ่ กระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นแบบหาบเร่ มีหน้าร้านแบบซื้อกลับ หรือเปิดเป็นร้านขายอาหารมีที่นั่งรับประทานในร้าน ถือเป็นอาชีพที่มั่นคงเพราะทุกคนย่อมต้องรับประทานอาหารอยู่แล้ว อีกทั้งธุรกิจยังสร้างรายได้ได้ตลอด

ดังนั้น รายได้จากการขายอาหารนี้เอง ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา แต่หากมีการเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรืออาจมีหุ้นส่วนร่วมธุรกิจร้านอาหารด้วย จะยังคงเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัทจึงจะถูกต้อง และแบบไหนจะใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่ากัน เราไปทำความเข้าใจกัน

เปิดร้านอาหารแบบ...บุคคลธรรมดา

การเปิดร้านอาหารที่ผู้ประกอบการต้องการทำธุรกิจในนามบุคคลธรรมดา ซึ่งสิ่งที่ต้องทำประกอบด้วย

1. จดทะเบียนพาณิชย์ (ทะเบียนการค้า)

ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ต้องการทำธุรกิจในนาม "บุคคลธรรมดา" ต้องจดทะเบียนพาณิชย์ (ทะเบียนการค้า) ตามพระราชบัญญัติทะเบียนพาณิชย์ พ.ศ.2499 ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เริ่มประกอบการร้านอาหารโดยระบุวัตถุประสงค์ของการจดทะเบียนพาณิชย์ว่า “เป็นการประกอบกิจการร้านอาหารหรือจำหน่ายอาหาร”

ทั้งนี้ ร้านอาหารในเขตกรุงเทพฯ สามารถยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์ได้ที่ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง สำนักการคลัง กรุงเทพมหานคร และสำนักงานเขตที่ร้านอาหารตั้งอยู่ ส่วนต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอได้ที่ เทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบลที่ร้านอาหารตั้งอยู่ในท้องที่

สำหรับเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอจดทะเบียนพาณิชย์คือ

- คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้จดทะเบียนพาณิชย์

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนพาณิชย์ กรณีที่ผู้จดทะเบียนพาณิชย์ไม่ได้เป็นเจ้าบ้านของสถานที่ตั้งร้าน ต้องแนบเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้

1) หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานใหญ่

2) สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม

- แผนที่ตั้งของร้าน

- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตัวเอง)

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

- ค่าธรรมเนียม 50 บาท

หลังจากจดทะเบียนพาณิชย์เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการร้านอาหารต้องแสดงใบทะเบียนพาณิชย์ ไว้ที่สำนักงานในบริเวณที่เปิดเผยและมองเห็นได้ง่าย และต้องติดป้ายชื่อร้านที่ใช้ในการประกอบพาณิชย์ไว้หน้าร้านและร้านสาขา (ถ้ามี) บริเวณที่เปิดเผย

2. ภาษีที่ต้องเสีย

สำหรับผู้ประกอบการร้านอาหารที่จดทะเบียนพาณิชย์ และเลือกเสียภาษีในนามบุคคลธรรมดา จัดเป็นอาชีพเงินได้ประเภทที่ 8 หรือ เงินได้ 40(8) หลักการเสียภาษีจะเหมือนบุคคลธรรมดาผู้มีเงินได้ทั่วไป ซึ่งอธิบายได้ดังนี้

2.1 ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีที่ผู้ประกอบการร้านอาหารมีรายได้ 120,000 บาท/ปี ต้องยื่นแบบฯ ภาษีแต่ไม่เสียภาษี ทว่าถ้าหากมีรายได้เกิน 150,000 บาท/ปี จึงต้องเสียภาษี โดยใช้วิธีการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ตามอัตราภาษีขั้นบันได ตั้งแต่ 5-35%

โดยยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ

- ครั้งที่ 1 ยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน (รายได้ 6 เดือนแรก ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน) ซึ่งสามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th

- ครั้งที่ 2 ยื่นชำระภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.90) ช่วงเดือนมกราคม - มีนาคม ของปีถัดไป (รายได้ตั้งแต่เดือนมกราคม – ธันวาคม โดยนำภาษีที่จ่ายครั้งแรกมาหักออกจากภาษีที่คำนวณได้ในครั้งที่ 2) ซึ่งสามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ถึงวันที่ 8 เมษายน ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th

2.2 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ผู้ประกอบการร้านอาหารมีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท จะต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT 7%) ภายใน 30 วัน และต้องทำการยื่นภาษีแบบ ภ.พ.30 ภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน

2.3 ภาษีป้าย ในกรณีที่ร้านอาหารมีการติดป้ายชื่อร้าน ยี่ห้อ เครื่องหมายการค้า หรือการโฆษณาร้าน เป็นต้น จะต้องเสียภาษีตามพ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ.2510 โดยเก็บภาษีตามลักษณะป้าย ดังนี้

- ป้ายที่มีอักษรภาษาไทยล้วน อัตราภาษีป้าย 5,10 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

- ป้ายที่มีอักษรภาษาไทยปนภาษาต่างประเทศ และ/หรือปนกับภาพ และ/หรือเครื่องหมายอื่น อัตราภาษีป้าย 26, 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

- ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆ หรือไม่ และป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ อัตราภาษีป้าย 50, 52 บาท ต่อ 500 ตร.ซม.

2.4 ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง สำหรับภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ต้องพิจารณาก่อนว่าพื้นที่ร้านอาหารเป็นของผู้ประกอบการเองหรือเช่า ในกรณีที่เช่าจะต้องทำการตกลงให้ชัดเจนกับเจ้าของพื้นที่ว่าภาษีในส่วนนี้ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ

ทั้งนี้ อัตราภาษีที่ต้องเสียหากเป็นที่ดินจะใช้การประเมินทุนทรัพย์สิน และสิ่งปลูกสร้างจะใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์สิ่งปลูกสร้าง ดังนี้

มูลค่า 0-50 ล้านบาท อัตราภาษี 0.30%

มูลค่า >50 – 200 ล้านบาท อัตราภาษี 0.40%

มูลค่า >200 – 1,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.50%

มูลค่า >1,000 – 5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.60%

มูลค่า >5,000 ล้านบาท อัตราภาษี 0.70%

เปิดร้านอาหารแบบจดบริษัท...นิติบุคคล

การเปิดร้านอาหารที่ผู้ประกอบการต้องการทำธุรกิจในนาม "นิติบุคคล"  ซึ่งสิ่งที่ต้องทำประกอบด้วย

1. จดทะเบียนพาณิชย์นิติบุคคล

การจดทะเบียนพาณิชย์นิติบุคคล หรือการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทนั้น ส่วนใหญ่จะนิยมจดอยู่ 2 ประเภท คือ บริษัทจำกัดกับห้างหุ้นส่วนจำกัด โดยการจดทะเบียนพาณิชย์นิติบุคคล ค่อนข้างซับซ้อนยุ่งยากกว่าการจดทะเบียนพาณิชย์บุคคลธรรมดา (ทะเบียนการค้า) ซึ่งผู้ประกอบการร้านอาหาร จะต้องดำเนินการให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท ดังนี้

- ให้ผู้เริ่มก่อการจัดตั้งบริษัท จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิ กำหนดทุนจดทะเบียน และหาผู้ร่วมทุนเข้ามาซื้อหุ้นบริษัท

- กำหนดมูลค่าหุ้น และผู้ถือหุ้นสามารถจัดสรรกันเองได้ว่า ผู้ถือหุ้นจะถือหุ้นคนละจำนวนเท่าไร

- ผู้ถือหุ้นทั้งหมดทำการเลือกกรรมการหนึ่งคนหรืออาจจะหลายคนก็ได้ ให้เข้ามาบริหารจัดการร้านอาหาร ซึ่งทั้งหมดจะต้องจดแจ้งไว้ในรายการที่จดทะเบียน

และผู้ประกอบการต้องระบุวัตถุประสงค์ในการประกอบธุรกิจที่เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหาร หรือธุรกิจร้านอาหารในหนังสือรับรองนิติบุคคล

ทั้งนี้ ร้านอาหารที่ขอจดทะเบียนนิติบุคคล หากอยู่กรุงเทพมหานคร ยื่นขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทกลาง กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ หรือสำนักงานทะเบียนพาณิชย์เขต ส่วนต่างจังหวัดสามารถยื่นขอจดทะเบียนได้ที่ สำนักงานทะเบียนพาณิชย์จังหวัด

โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ยื่นขอจดทะเบียนนิติบุคคลคือ

- คำขอจดทะเบียนพาณิชย์ (แบบ ทพ.)

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน

- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน

- หนังสือหรือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคล

- หนังสือให้ความยินยอมให้ใช้สถานที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่

- สำเนาทะเบียนบ้านที่แสดงให้เห็นว่าผู้ให้ความยินยอมเป็นเจ้าบ้านหรือผู้ขอเลขที่บ้าน หรือสำเนาสัญญาเช่า โดยมีผู้ให้ความยินยอมเป็นผู้เช่า หรือเอกสารสิทธิ์อย่างอื่นที่ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์เป็นผู้ให้ความยินยอม

- แผนที่แสดงที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่และสถานที่สำคัญบริเวณใกล้เคียงโดยสังเขป

- หนังสือมอบอำนาจ (กรณีที่ผู้ประกอบร้านค้าไม่ได้ไปยื่นจดทะเบียนด้วยตัวเอง)

- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ (ถ้ามี)

- ค่าทำเนียมการจดทะเบียน 50 บาท

หลังจากจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทเป็นนิติบุคคลแล้ว การดำเนินการจะต้องผ่านกรรมการผู้มีอำนาจของบริษัท ภายใต้วัตถุประสงค์ของบริษัทที่ได้กำหนดไว้ในรายการจดทะเบียน

2. ภาษีที่ต้องเสีย

เมื่อผู้ประกอบการร้านอาหารได้จดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลแล้ว กำไรที่เกิดขึ้นจะถูกนำมาคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งมีหลักการ (สำหรับกิจการที่มีรายได้ไม่เกิน 30 ล้านบาทต่อปี และมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท จะได้รับสิทธิภาษีอัตราของ SME) ดังนี้

กำไร 300,000 บาทแรก = ยกเว้นภาษี

กำไร 300,001 – 3 ล้าน = ภาษี 15%

กำไรมากกว่า 3 ล้านบาทขึ้นไป = ภาษี 20%

โดยยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้ง คือ

- ครั้งที่ 1 ยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปี (ภ.ง.ด.51) โดยต้องยื่นและชำระภาษีภายใน 2 เดือนนับจากวันสุดท้ายของ 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี

- ครั้งที่ 2 ยื่นแบบชำระภาษีสิ้นปี (ภ.ง.ด.50) โดยต้องยื่นแบบและชำระภาษีภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีป้าย และภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะเหมือนกับรูปแบบบุคคลธรรมดา

ความแตกต่างของการจดทะเบียนบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล

เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ระหว่างจดบริษัทนิติบุคคล หรือไม่จดยังคงอยู่ในรูปแบบบุคคลธรรมดาดีกว่า สามารถสรุปข้อดีและข้อเสียของทั้ง 2 แบบได้ดังนี้

  • จดทะเบียนรูปแบบบุคคลธรรมดา

ลักษณะ บุคคลทั่วไป

ข้อดี

- จัดตั้งง่ายเหมาะกับกิจการขนาดเล็ก

- จะได้กำไรหรือขาดทุน เจ้าของเป็นผู้รับผิดชอบแต่พียงผู้เดียว

- อำนาจการตัดสินใจอยู่ในมือเจ้าของ มีอิสระในการบริหารเต็มที่

- ค่าใช้จ่ายในการบริหารต่ำ

- อยากยกเลิกกิจการเมื่อไหร่ก็ทำได้ง่าย

- ข้อบังคบทางกฎหมายน้อย

ข้อเสีย

- เจ้าของรับผิดชอบในหนี้สิน ไม่จำกัดจำนวน

- การหาเงินทุนเพิ่มอาจทำได้ยาก

- ขาดความน่าเชื่อถือ

- กิจการมีอายุอยู่ตราบเท่าเจ้าของยังมีชีวิตอยู่เท่านั้น ไม่ยืนยาวและไม่ต่อเนื่อง

- เสียเปรียบด้านภาษีอากร

  • จดทะเบียนรูปแบบนิติบุคคล (บริษัทจำกัด)

ลักษณะ บุคคล 3 คนขึ้นไป ลงทุนและเป็นเจ้าของกิจการ ผู้ถือหุ้นรับผิดในหนี้ต่างๆ ไม่เกินจำนวนเงินที่ผู้ถือหุนแต่ละคนลงทุน และต้องจดทะเบียนนิติบุคคล

ข้อดี

- ผู้ถือหุ้นมีความรับผิดจำกัดเพียงไม่เกินจำนวนเงินค่าหุ้นที่ค้างชำระ

- มีจำนวนหุ้นส่วนได้ไม่จำกัด

- ซื้อ ขายหรือโอนหุ้นให้แก่บุคคลอื่นได้

- สามารถหักค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ (เสียภาษีจากกำไรสุทธิทางภาษี)

- มีความน่าเชื่อถือ

- เสียภาษีน้อยกว่าบุคคลธรรมดา

ข้อเสีย

- ขั้นตอนการจัดตั้งยุ่งยาก

- จำนวนผู้ถือหุ้นที่ลดลง อาจเป็นเหตุให้เลิกบริษัทได้

- การเลิกบริษัทมีขั้นตอนยุ่งยาก

- ค่าใช้จ่ายการดำเนินการสูงกว่า

- ต้องจัดการเอกสาร ยุ่งยากวุ่นวายกว่าบุคคลธรรมดา

- มีเรื่องภาษีต่างๆมากเกี่ยวข้องมากขึ้น

สรุป

จะเห็นได้ว่าตั้งแต่บรรทัดแรกจนมาถึงบรรทัดนี้ แม้ว่าทั้ง 2 รูปแบบ จะมีรายละเอียดที่เหมือนและแตกต่างกันไปบ้าง รวมถึงข้อดีและข้อเสียที่ช่วยในการตัดสินใจ ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบบุคคลธรรมดา มีธุรกิจขนาดเล็ก ไม่ยุ่งยากซับซ้อน มีเจ้าของเพียงคนเดียว หรือต้องการเติบโตเป็นธุรกิจอาหารที่มีความมั่นคงในรูปแบบนิติบุคคลก็ตาม

แต่สุดท้ายก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกอบการร้านอาหารเองว่า ได้มองเป้าหมายของการทำธุรกิจร้านอาหารของตนเองไว้อย่างไร แล้วตัดสินใจไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้ไม่ยาก

-----------------------------------
Source : Inflow Accounting
อ่านบทความน่ารู้เกี่ยวกับภาษีเพิ่มเติม คลิกที่นี่

ขายของต้องเสียภาษีอะไรบ้าง

ภาษีอะไรบ้าง ที่คนทำธุรกิจต้องทำความรู้จัก.
1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล ... .
2. ภาษีหัก ณ ที่จ่าย ... .
3. ภาษีมูลค่าเพิ่ม ... .
4. ภาษีธุรกิจเฉพาะ ... .
5. อากรแสตมป์.

เปิดร้านค้าต้องเสียภาษีที่ไหน

สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ www.rd.go.th (ยื่นออนไลน์อาจยื่นได้ถึงต้นเดือนตุลาคม) ครั้งที่ 2 ภ.ง.ด.90 ยื่นภายในเดือนมีนาคมของปีถัดไป สามารถยื่นด้วยตัวเองที่สำนักงานสรรพากรทั่วประเทศ หรือยื่นออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ (จะได้รับสิทธิขยายเวลายื่นภาษีไปอีก 8 วัน)

ขายของต้องเสียภาษีไหม

ดังนั้น รายได้จากการขายอาหารนี้เอง ผู้ขายมีหน้าที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายด้วย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ขายจะเสียภาษีในรูปแบบบุคคลธรรมดา แต่หากมีการเปิดเป็นร้านอาหารแบบจริงจัง หรืออาจมีหุ้นส่วนร่วมธุรกิจร้านอาหารด้วย จะยังคงเสียภาษีรูปแบบบุคคลธรรมได้หรือไม่ หรือควรจดทะเบียนบริษัทจึงจะถูกต้อง และแบบไหนจะใช้ประโยชน์ทางภาษีได้มากกว่า ...

ขายอาหารยื่นภาษีแบบไหน

ร้านอาหารที่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลจะต้องยื่นแบบชำระภาษีปีละ 2 ครั้งเช่นกัน คือ - ครั้งแรก ภ.ง.ด.51 เรียกว่าภาษีเงินได้ครึ่งรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นภายใน 2 เดือนเมื่อครบ 6 เดือนของรอบระยะเวลาบัญชี - ครั้งที่สอง ภ.ง.ด.50 เรียกว่าภาษีเงินได้สิ้นรอบระยะเวลาบัญชี ยื่นภายใน 150 วันนับตั้งแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี