ทำบัตรประชาชนต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

บัตรประจำตัวประชาชนไทย เป็นบัตรประจำตัวประชาชนที่รัฐออกให้แก่ผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุตั้งแต่ 7 ถึง 70 ปี โดยเกิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 ในสมัยรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม โดยเดิมได้กำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ให้ไปร้องขอทำบัตร ต่อมาลดอายุลงเหลือ 15 ปีในปี พ.ศ. 2526 และ 7 ปีในปี พ.ศ. 2554

Show

บัตรนี้ถูกใช้เพื่อการยืนยันตัวตนของผู้ถือบัตรและรับการบริการจากภาครัฐ รวมทั้งในธุรกิจเอกชนบางประเภท เช่น การเปิดใช้หมายเลขโทรศัพท์ หรือการเปิดบัญชีธนาคาร ทั้งนี้หากผู้ใดไม่อาจแสดงบัตรโดยไม่มีเหตุอันควรต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 200 บาท

ทำบัตรประชาชนต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

การทำบัตรประจำตัวประชาชน

บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารราชการที่ออกให้สำหรับคนไทยที่มีชื่อในทะเบียนบ้านเท่านั้น เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการแสดงตน ใช้พิสูจน์และยืนยันตัวบุคคลในการติดต่อราชการ การขอรับบริการหรือสวัสดิการในด้านต่างๆ จากหน่วยงานของรัฐรวมทั้งใช้ประกอบการทำธุรกรรมต่างๆ ทำนิติกรรม ฯลฯ เช่น การสมัครงาน การขอเปิดบัญชีเพื่อทำธุรกรรมกับธนาคาร การโอนอสังหาริมทรัพย์/อสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น

คุณสมบัติของผู้ที่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

  1. มีสัญชาติไทย
  2. ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14)
  3. มีอายุตั้งแต่ 7 ปี แต่ไม่เกิน 70 ปี
  4. สำหรับผู้มีอายุเกิน 70 ปี และผู้ได้รับการยกเว้น จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

บุคคลที่กฎหมายยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน

  1. สมเด็จพระบรมราชินี
  2. พระบรมวงศานุวงศ์ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป
  3. ภิกษุ สามเณร นักพรต และนักบวช
  4. ผู้มีกายพิการเดินไม่ได้ หรือเป็นใบ้ หรือตาบอดทั้งสองข้าง หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ
  5. ผู้อยู่ในที่คุมขังโดยชอบด้วยกฎหมาย
  6. บุคคลซึ่งกำลังศึกษาวิชา ณ ต่างประเทศ และไม่สามารถยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนได้

ทำบัตรประชาชนครั้งแรก ต้องทำยังไง?

ทำได้ทันทีเมื่อมีอายุ 7 ปีบริบูรณ์ และมีชื่อในทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) ต้องทำบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน หากพ้นกำหนดจะเสียค่าปรับ ไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีทำบัตรครั้งแรก

  • สูติบัตร หรือหลักฐานอื่นที่ราชการออกให้ เช่น ใบสุทธิ สำเนาทะเบียนนักเรียน หนังสือเดินทาง เป็นต้น เพื่อแสดงว่าเป็นบุคคลเดียวกับผู้มีชื่อในทะเบียนบ้าน
  • หากเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย และหากบิดา มารดาของเด็กเคยเปลี่ยนชื่อตัว ชื่อสกุล ต้องนำใบสำคัญมาแสดงด้วย
  • หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง
  • กรณีบิดามารดาเป็นคนต่างด้าว ให้นำใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวของบิดา มารดามาแสดงด้วย หรือนำใบมรณบัตรของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ถึงแก่กรรมไปแสดง
  • การขอมีบัตรครั้งแรกเมื่ออายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ต้องนำเอกสารหลักฐานที่กำหนดตามข้อ 1,2,3,4 และให้นำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถืออย่างน้อย 2 คน ไปพบเจ้าหน้าที่เพื่อสอบสวนและให้การรับรอง

บุคคลน่าเชื่อถือ หมายถึง “บุคคลใดๆ ซึ่งมีภูมิลำเนาที่อยู่แน่นอน มีอาชีพมั่นคงและมีความรู้จักคุ้นเคยกับผู้ขอมีบัตรเป็นอย่างดี อาจเกี่ยวข้องเป็นญาติกันหรือไม่ก็ได้”

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีบัตรประชาชนเดิมหมดอายุ ต้องทำยังไง?

เมื่อบัตรเดิมหมดอายุให้ทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมหมดอายุ หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท ผู้ถือบัตรสามารถขอทำบัตรใหม่ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุก็ได้ โดยให้ยื่นคำขอภายใน 60 วัน ก่อนวันที่บัตรเดิมหมดอายุ

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรประชาชนหมดอายุ 

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่หมดอายุ
  • หากบัตรเดิมหมดอายุเป็นเวลานาน ต้องนำเจ้าบ้านหรือพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรองด้วย

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีบัตรประชาชนหาย บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง?

เมื่อบัตรประจำตัวประชาชนหาย หรือถูกทำลายให้ไปแจ้งความไว้เป็นหลักฐาน ณ ที่ว่าการอำเภอ สำนักงานเขตเทศบาลหรือเมืองพัทยา แล้วแต่กรณี และขอทำบัตรใหม่ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรหายหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรประชาชนหาย

  • เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
  • หากไม่มีหลักฐานตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุลแล้วต้องเปลี่ยนบัตรประชาชน ต้องทำยังไง?

เมื่อผู้ถือบัตรเปลี่ยนชื่อตัว/ชื่อสกุล ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่แก้ไขชื่อตัว ชื่อสกุล ในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีเปลี่ยนชื่อ-สกุล

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ต้องการเปลี่ยน
  • หลักฐานการเปลี่ยนชื่อตัวหรือชื่อสกุล แล้วแต่กรณี

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย ต้องทำยังไง?

หากบัตรเดิมชำรุดในสาระสำคัญ บัตรถูกทำลาย เช่น บัตรถูกไฟไหม้บางส่วน บัตรชำรุด เลอะเลือน เป็นต้น ต้องเปลี่ยนบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่บัตรเดิมชำรุดหรือถูกทำลาย หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรเดิมชำรุด

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลาย
  • เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น
  • หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีบุคคลที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่นพระภิกษุ สามเณร ฯลฯ จะขอทำบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีที่ได้รับการยกเว้นการมีบัตรประจำตัวประชาชน

  • กรณีพระภิกษุ หรือสามเณร ต้องย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านของวัดก่อน แล้วแก้ไขคำนำหน้านามในทะเบียนบ้านเป็นพระ สามเณร หรือสมศักดิ์ ก่อนจึงจะขอมีบัตรได้
  • หลักฐานที่แสดงว่าเป็นบุคคลซึ่งได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสุทธิของพระ หรือหนังสือเดินทาง กรณีเป็นผู้ที่อยู่ระหว่างการศึกษา ณ ต่างประเทศ

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร

ผู้ซึ่งพ้นสภาพได้รับการยกเว้นไม่ต้องมีบัตรประจำตัวประชาชน เช่น ผู้พ้นโทษจากเรือนจำหรือทัณฑสถาน เป็นต้น ต้องไปขอทำบัตรประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันพ้นสภาพได้รับการยกเว้น หากพ้นกำหนดจะต้องเสียค่าปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบุคคลที่พ้นสภาพได้รับการยกเว้นขอทำบัตร

  • หลักฐานที่แสดงว่าพ้นสภาพจากการยกเว้นไม่ต้องมีบัตร เช่น หนังสือสำคัญของเรือนจำหรือทัณฑสถาน (ร.ท.5) หรือหนังสือเดินทางและเอกสารที่แสดงว่าเป็นผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศ มีบัตรประจำตัวข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจแล้วแต่กรณี เป็นต้น
  • หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานแล้ว ต้องนำเจ้าบ้านและบุคคลน่าเชื่อถือมารับรองด้วย

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่

เพื่อให้รายการที่อยู่ที่ปรากฏในบัตรประจำตัวประชาชนตรงกับรายการในทะเบียนบ้านผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรโดยที่บัตรเดิมยังไม่หมดอายุสามารถทำได้แต่หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรนั้นได้ต่อไปจนกว่าบัตรจะหมดอายุ

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีผู้ถือบัตรย้ายที่อยู่

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม

เสียค่าธรรมเนียม 20 บาท

กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร

คนสัญชาติไทยซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี จะขอมีบัตรประจำตัวประชาชนก็ได้

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีผู้ซึ่งมีอายุเกิน 70 ปี ขอมีบัตร

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม (ถ้ามี)
  • หากไม่ปรากฏข้อมูลการทำบัตร หรือบัตรเดิมได้หมดอายุนานมากแล้ว ต้องนำเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้มาแสดง พร้อมทั้งนำเจ้าบ้านและบุคคลที่น่าเชื่อถือมารับรอง

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การขอมีบัตรกรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

ต้องยื่นขอมีบัตรประจำตัวประชาชนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่เพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน หากพ้นกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีเป็นบุคคลได้รับการเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน

  • เพิ่มชื่อกรณีแจ้งเกิดเกินกำหนด ใช้หลักฐานสูติบัตร และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลน่าเชื่อถือ
  • เพิ่มชื่อกรณีชื่อตกสำรวจให้สำเนาทะเบียนบ้านที่ผู้นั้นเคยมีชื่ออยู่ก่อน หลักฐานการเพิ่มชื่อหรือหลักฐานที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

การขอมีบัตรกรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย หรือได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทย หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย

ยื่นคำขอมีบัตรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับสัญชาติไทย หากเกินกำหนดมีโทษปรับไม่เกิน 100 บาท

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบุคคลซึ่งได้สัญชาติไทย 

  • กรณีได้ได้รับอนุมัติให้มีสัญชาติไทยโดยการแปลงสัญชาติ หรือได้กลับคืนสัญชาติไทย ใช้หนังสือสำคัญการแปลงสัญชาติเป็นไทย หรือหนังสือสำคัญแสดงการได้กลับคืนสัญชาติเป็นไทยแล้วแต่กรณี
  • หลักฐานอื่นๆ ที่ทางราชการออกให้ และสอบสวนเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือ

ขอเปลี่ยนบัตร กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีเปลี่ยนคำนำหน้านาม

  • บัตรประจำตัวประชาชนเดิม
  • หลักฐานแสดงการเปลี่ยนคำนำหน้านาม เช่น ทะเบียนสมรส ทะเบียนอย่า เป็นต้น

ไม่เสียค่าธรรมเนียม

ทำบัตรประชาชนต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

ทําบัตรประชาชนที่ไหนได้บ้าง?

การทำบัตรประชาชน สามารถไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ก็ยังมีจุดบริการด่วนมหานคร (BMA Express Service) ที่เปิดให้ไปติดต่อทำบัตรประชาชน ณ สถานีรถไฟฟ้า BTS ในกรุงเทพฯ (ยกเว้นกรณีบัตรหาย ไม่สามารถติดต่อทำที่ BTS ได้)

รวมสถานที่ทำบัตรประชาชน ตามสถานีรถไฟฟ้า

สถานีรถไฟฟ้าสยาม (หน้าศูนย์การค้าสยามพารากอน)

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.30-19.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าหมอชิต

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าพร้อมพงษ์

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 09.00-20.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-18.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าอุดมสุข

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

สถานีรถไฟฟ้าวงเวียนใหญ่

  • วันจันทร์-วันศุกร์ เวลา 10.00-19.00 น.
  • วันเสาร์-อาทิตย์ และนักขัตฤกษ์ เวลา 10.00-19.00 น.

ทําบัตรประชาชนต้องใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงไหม

ผู้ถือบัตรผู้ใดย้ายที่อยู่จะขอเปลี่ยนบัตรก็ได้ (ตามความสมัครใจ) หากไม่ขอเปลี่ยนบัตรก็สามารถใช้บัตรประจำตัวประชาชนนั้นได้ จนกว่าบัตรจะหมดอายุ หลักฐานเอกสารที่ต้องนำไปแสดง 1 สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน (ท.ร.14) 2 บัตรประจำตัวประชาชนเดิม

การทำบัตรประชาชนต้องใช้อะไรบ้าง

เอกสารที่ต้องใช้ทำบัตรประชาชน กรณีบัตรเดิมชำรุด บัตรประจำตัวประชาชนเดิมที่ชำรุดหรือถูกทำลาย เอกสารที่มีรูปถ่ายของผู้ขอมีบัตรใหม่ที่ทางราชการออกให้ เช่น ใบอนุญาตขับขี่ หลักฐานการศึกษา หรือหนังสือเดินทาง เป็นต้น หากไม่มีเอกสารตามข้อ 2 ให้นำเจ้าบ้านหรือบุคคลผู้น่าเชื่อถือมาให้การรับรอง

ทำบัตรประชาชนเด็กต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

เอกสารสำคัญที่ต้องเตรียม ทำบัตรประชาชนใหม่ สูติบัตรของเด็กที่จะทำบัตรประชาชน (ตัวจริงหรือถ่ายเอกสาร) ทะเบียนบ้านตัวจริงที่มีชื่อเด็ก เพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่มีชื่อในทะเบียนบ้านนั้น บัตรประชาชนตัวจริงของบิดา มารดา หรือผู้ปกครองตามกฎหมายของเด็ก หากเด็กหรือผู้ปกครองเคยเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล ต้องใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุลมาแสดงด้วย

ทำบัตรประชาชนที่อื่นได้ไหม

การทำบัตรประชาชน สามารถไปติดต่อ ณ สถานที่ราชการ เช่น สำนักงานเขต, สำนักงานเทศบาล, สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง, ที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ ปัจจุบันสามารถทําบัตรประชาชนนอกเขตได้แล้ว โดยยื่นขอทำบัตรประจำตัวประชาชนได้ทุกจังหวัดทั่วประเทศ