เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม ท้อง

  1. หน้าหลัก
  2. บทความสุขภาพ
  3. แบบนี้สิท้องแล้ว

แบบนี้สิท้องแล้ว

เวียนหัว คลื่นไส้ พะอืดพะอม ท้อง

HIGHLIGHTS:

  • ความเครียดหรือความวิตกกังวล อาจทำให้ประจำเดือนผิดปกติ จนเข้าใจผิดว่ากำลังตั้งครรภ์
  • คลื่นไส้ – อาเจียน เหม็นไปหมดทุกอย่าง เจ็บหน้าอก เหนื่อยง่าย ปัสสาวะบ่อย ท้องผูก เหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าคุณ “ท้อง”
  • หากมีการตั้งครรภ์ อาจเกิดการตกขาวได้เพราะการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจน แต่ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ กับการตั้งครรภ์

คุณผู้หญิงหลายคน หากประจำเดือนขาดไปสัก 5-7 วัน รวมถึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเล็กน้อย มักทึกทันทันทีว่า “ท้องแน่” ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว อาการของคนท้อง นั้นมีหลากหลายแตกต่างกัน

สัญญาณที่บ่งบอกว่า “ท้อง”

  • ประจำเดือนขาด หากประจำเดือนที่เคยมาอย่างสม่ำเสมอและค่อนข้างตรงเวลา แต่อยู่ๆ เกิดขาดไป นี่คือสัญญาณ เบื้องต้นที่จะทำให้เชื่อได้ว่าคุณแม่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อให้แน่ใจแนะนำให้ซื้อเครื่องตรวจการตั้งครรภ์มาตรวจ เพราะการที่ประจำเดือนไม่มา อาจมาจากสาเหตุอื่น เช่น มีความเครียด หรือวิตกกังวลสูง รวมถึงอาการป่วย
  • คลื่นไส้ – อาเจียน เป็นสัญลักษณ์ของการตั้งครรภ์ก็ว่าได้ อาการคลื่นไส้อาเจียนมักเกิดขึ้นหลังจากที่ตัวอ่อนปฏิสนธิได้ 1 เดือน อย่างไรก็ตามอาการคลื่นไส้ไม่ใช่สูตรสำเร็จของการตั้งครรภ์เสมอไป บางคนอาจไม่มีอาการแพ้ท้องเลย ในขณะที่บางคนกลับแพ้ท้องอย่างหนักจนถึงเดือนสุดท้ายก่อนคลอด แต่ส่วนใหญ่แล้วอาการคลื่นไส้จะบรรเทาลงได้เมื่อการตั้งครรภ์เข้าสู่ระยะไตรมาสที่ 2 (ช่วงเดือนที่ 4-6)
  • ได้กลิ่นเหม็นรุนแรง ผลจากฮอร์โมนเอสโตรเจนที่เพิ่มขึ้นขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้กลายเป็นคนจมูกไว ได้กลิ่นอะไรก็พานเหม็นจนอยากอาเจียน บางครั้งอาจถึงกับทนกลิ่นน้ำหอมเดิมของตัวเองไม่ได้
  • เจ็บหน้าอก คัดเต้านม การตั้งครรภ์ในไตรมาสแรก (ช่วงเดือนที่ 1-3) อาจทำให้หน้าอกมีอาการบวม เนื่องจากมีเลือดไปเลี้ยงบริเวณหน้าอกมากขึ้น จนบางครั้งเกิดการคัดเต้านม รวมถึงหน้าอกไวต่อสัมผัสหรือรู้สึกตึงคล้ายกับอาการช่วงมีประจำเดือน
  • เหนื่อยล้า รู้สึกเหนื่อยมากๆ ทั้งที่ไม่ได้ทำอะไรเลย มีอาการง่วงเหงาหาวนอนตลอดทั้งวัน อาจเป็นผลจากระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่อาการดังกล่าวจะบรรเทาลงเมื่อเข้าช่วงไตรมาสที่ 2 (ช่วงเดือนที่ 4-6)
  • เลือดออกทางช่องคลอด คุณแม่บางท่านอาจมีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอด ในช่วงหลังจากตัวอ่อนปฏิสนธิได้ 11-12 วัน ซึ่งเป็นเวลาเดียวกับประจำเดือนขาด เลือดที่ไหลออกมามักเป็นเลือดจางสีแดงหรือชมพู และจะหยุดไปเองภายใน 1-2 วัน แต่หากพบว่ามีเลือดไหลออกมาทางช่องคลอดร่วมกับอาการปวดท้อง ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะอาจเป็นสัญญาณของภาวะท้องนอกมดลูกหรือการแท้งบุตรได้
  • ปัสสาวะบ่อย หลังจากประจำเดือนขาดไป 1-2 สัปดาห์ คุณแม่จะปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ เนื่องจากร่างกายผลิตเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ มากขึ้น ทำให้ไตขับของเสียในรูปของของเหลวมากขึ้นตามไปด้วย
  • ท้องผูก เมื่อตั้งครรภ์ ฮอร์โมนในร่างกายมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้การย่อยอาหารช้าลง รวมถึงมดลูกขยายตัว กดทับลำไส้ อาจทำให้คุณแม่หลายคนมีอาการท้องผูก ระหว่างตั้งครรภ์จึงควรรับประทานอาหารที่มีกากใยสูง ดื่มน้ำมากๆ และออกกำลังกายเบาๆ สม่ำเสมอ
  • หงุดหงิด โกรธง่าย สตรีตั้งครรภ์มักมีอารมณ์หงุดหงิด โกรธง่าย ใจน้อยเป็นประจำ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่กำลังพยายามปรับตัวเข้าสู่สมดุลใหม่ หากทำความเข้าใจ อารมณ์ของคุณแม่ก็จะเข้าสู่ภาวะปกติได้ไม่ยาก
  • เกิดตกขาวเล็กน้อย เมื่อฮอร์โมนเอสโตรเจนมีการเปลี่ยนแปลง อาจทำให้มีเลือดมาคั่งบริเวณช่องคลอดตรงคอมดลูก ทำให้ต่อมต่างๆ ที่คอมดลูกทำงานมากขึ้น จึงมีน้ำไหลออกมาจากช่องคลอดมากขึ้น เมื่อมาเจอกับแบคทีเรียที่มีตามปกติที่ช่องคลอดก็จะย่อยน้ำบริเวณนี้ กลายเป็นตกขาวได้ แต่ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ

แม้อาการตั้งครรภ์ของคุณแม่ส่วนใหญ่จะคล้ายคลึงกัน แต่ก็มีอีกหลายอาการที่อาจเกิดกับบางคนเท่านั้น ในขณะที่ บางรายแทบไม่มีอาการใดเลย ทั้งนี้หากพบและมั่นใจว่าตั้งครรภ์ คุณแม่ควรดูแลสุขภาพในระยะแรกของการตั้งครรภ์ โดยรับประทานอาหารที่ มีประโยชน์ ดื่มน้ำให้เพียงพอ และออกกำลังกายที่เหมาะสม รวมถึงไปฝากครรภ์เพื่อรับคำแนะนำจากแพทย์

นต.พญ. ณัฐยา รัชตะวรรณ

อนุสาขาเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์

ดูประวัติ

อาการแพ้ท้องจะพบเมื่อไหร่ อย่างไร?

อาการแพ้ท้องจะแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละคน

แต่หากรับรู้เอาไว้ว่าโดยส่วนใหญ่อาการแบบใดจะเกิดขึ้นได้ง่ายในเวลาใด

จะช่วยนำไปสู่วิธีจัดการได้

ทำไมถึงเกิดอาการแพ้ท้อง?

เป็นเรื่องที่น่าแปลก โดยปัจจุบันยังไม่สามารถระบุสาเหตุของอาการแพ้ท้องได้อย่างชัดเจน สำหรับคำอธิบายที่น่าเชื่อถือมีอยู่หลากหลาย เช่น

เนื่องจากฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากวิลลัส (Villus) ของรก (Human chorionic gonadotropin;hCG) ไปกระตุ้นศูนย์ควบคุมการอาเจียน (vomiting center)

เนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติ (autonomic nervous system) บกพร่องซึ่งเกิดจากสมดุลฮอร์โมนมีการเปลี่ยนแปลง

เนื่องจากเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้จากการแทรกซึมของสเปริ์ม หรือทารกในครรภ์และร่างกายแม่ต่อต้านสิ่งแปลกปลอม

นอกจากนั้น ก็มีสาเหตุมาจากเรื่องจิตใจด้วย และเนื่องจากยังไม่สามารถระบุสาเหตุได้ จึงยังไม่พบวิธีการแก้ปัญหาที่ได้ผลจนบอกได้ว่า “หากทำเช่นนี้ก็จะหาย”!

ระยะเวลาที่เริ่มมีอาการแพ้ท้อง?

กรณีส่วนใหญ่ อาการแพ้ท้องเป็นอาการป่วยที่พบได้ในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์ และหากเป็นผู้ที่มีอาการแพ้ท้องเร็ว อาจจะเริ่มมีอาการในช่วงที่รู้สึกว่า “รอบประจำเดือนมาช้า” มีหลายกรณีที่มีอาการแพ้ท้องตั้งแต่ประมาณ 4 สัปดาห์จนถึงประมาณ 15 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ และช่วงเวลาที่ทรมานที่สุดส่วนใหญ่จะเป็นช่วง 8 - 9 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์

แต่ช่วงเวลาของอาการแพ้ท้องจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน มีบางคนที่อาการแพ้ท้องบรรเทาลงตอนตั้งครรภ์ประมาณ 10 สัปดาห์ และมีบางคนที่มีอาการแพ้ท้องไปจนถึงช่วงหลังตั้งครรภ์ หรือมีบางคนที่ไม่มีประสบการณ์การแพ้ท้องเลย

อาการแพ้ท้องคือ?

อาการหลักของการแพ้ท้องคือ “รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน” ส่วนใหญ่จะเป็นตอนลืมตามาในตอนเช้า หรือจะเป็นหนักตอนที่ท้องว่าง อาการเหล่านี้จะแตกต่างกันไปในแต่ละคน

ตัวอย่างอาการป่วยหลัก ๆ มีดังต่อไปนี้

●รู้สึกคลื่นไส้อาเจียน

จะรู้สึกอึดอัดท้องและหน้าอกมากจนอาเจียนออกมา เมื่ออาเจียนตอนท้องว่างและไม่มีอะไรออกมา จะรู้สึกทรมานมาก

บางคนจะมีอาการที่เรียกว่า “แพ้ท้องจนต้องกิน” หากไม่มีอะไรในปากตลอดจะรู้สึกคลื่นไส้

●รู้สึกไวต่อกลิ่น

อาการนี้เกิดขึ้นเนื่องจากระบบประสาทอัตโนมัติไม่มั่นคง อาจจะรู้สึกไม่สบายทันทีเมื่อได้กลิ่นเหม็นจากสิ่งที่ปกติไม่รู้สึกเหม็น หรือรู้สึกหอมมากกับบางสิ่ง เช่น กลิ่นหุงข้าว กลิ่นไอน้ำจากของต้ม

●ความชอบของกินเปลี่ยนไป

จู่ ๆ ก็ไม่สามารถกินของที่เคยชอบได้ และบางครั้งก็อยากกินของที่ไม่เคยชอบอย่างมาก

●รู้สึกง่วงนอน

อาจจะรู้สึกร่างกายเมื่อยล้า นอนเท่าไรก็ไม่หายง่วงนอน

●รู้สึกหงุดหงิด และปวดหัว

พบว่ามีหลายคนที่รู้สึกปวดหัวและหงุดหงิดแบบปวดประจำเดือนในช่วงที่แพ้ท้อง

มีวิธีจัดการกับอาการแพ้ท้องอย่างไร?

ก่อนอื่น “จะต้องไม่ฝืน” ซึ่งช่วงนี้เป็นช่วงที่สำคัญ

แม้ว่าจะรู้สึกคลื่นไส้ แต่ขอให้สร้างสภาพแวดล้อม

ให้สามารถกินของที่อยากกินได้เมื่อท้องว่าง

หรือสามารถพักผ่อนได้เมื่อร่างกายอ่อนล้า!

แม้ว่าจะไม่สามารถกินได้อย่างสมดุลก็ไม่เป็นไร!

อาจจะมีคุณแม่บางคนกังวลว่า “หากแพ้ท้องจนไม่สามารถกินได้ ลูกจะสามารถเติบโตได้อย่างแข็งแรงได้อย่างไร?” แต่ว่าเรื่องนี้ไม่เป็นปัญหา ทารกในช่วงแพ้ท้องในไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์นี้ ยังคงเล็กมาก ดังนั้นไม่จำเป็นต้องได้รับสารอาหารมากขนาดนั้น

นอกจากนี้ ในร่างกายมีกลไกการทำงานที่จะป้อนสารอาหารที่จำเป็นให้แก่ทารกก่อน ซึ่งถือว่าเป็นความลึกลับของผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์! คุณแม่จะต้องได้รับวิตามินที่จำเป็นต่อทารก เช่น กรดโฟลิก (วิตามินชนิดหนึ่งในกลุ่มวิตามิน B) แต่นอกเหนือจากนั้นก็ขอให้กินของที่อยากกินเท่าที่จะสามารถกินได้

จุดสำคัญที่ทำให้ผ่านอาการแพ้ท้องไปได้

อาการแพ้ท้องจะแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ขอให้รู้จุดสำคัญพื้นฐานที่จะทำให้ผ่านช่วงเวลานี้ไปได้

●ตอนที่ไม่สามารถกินได้ ขอให้กินอาหารเสริมเพิ่มเติม

ในช่วงแพ้ท้อง จะเป็นช่วงเวลาที่ยังไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับปริมาณหรือความสมดุลของสารอาหารมากนัก แต่ในตอนที่คุณแม่สามารถกินได้เองแม้ว่าจะไม่มีความอยากอาหาร ขอให้กินไว้แม้เพียงเล็กน้อยก็ตามเพื่อพลังงานในร่างกายของคุณแม่

อย่างไรก็ตาม เมื่อไม่นานมานี้ มีรายงานวิจัยเพิ่มขึ้นว่าการขาดแคลนกรดโฟลิกในช่วงไตรมาสที่ 1 ของการตั้งครรภ์เป็นสาเหตุของการแท้งหรือทำให้เด็กในครรภ์ไม่สมประกอบ

ก่อนหน้านี้ กล่าวกันว่าคุณแม่สามารถกินแค่อาหารฟาส์ตฟู้ดหรืออาหารขยะ ฯลฯ ที่อยากกินมากโดยไม่มีเหตุผลในระหว่างตั้งครรภ์อย่างเดียวก็ได้ แต่ในช่วงนี้จำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิก วิตามินที่จำเป็นต่อการดูดซึมกรดโฟลิก วิตามิน B12 วิตามิน B6 และวิตามินซีเท่าที่จะทำได้ กรดโฟลิกมีอยู่มากในสตรอเบอร์รี่ เกรปฟรุต ผักขม และบร็อคโคลี่ ในตอนที่ไม่สามารถรับสิ่งเหล่านี้ได้เนื่องจากแพ้ท้อง ควรเสริมด้วยอาหารเสริมวิตามินรวมที่มีกรดโฟลิกผสมอยู่

●ให้มีปริมาณน้ำที่พอดี

เมื่อปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ และทำให้ปัสสาวะเข้มข้น ขอให้พยายามเติมน้ำบ่อย ๆ ขอแนะนำ Ion drink ที่มีเกลือแร่ผสมอยู่มาก และดูดซึมน้ำได้ดี

●ให้เตรียมของที่สามารถกินได้ทันทีที่ข้างเตียง

ส่วนใหญ่จะรู้สึกคลื่นไส้ในตอนที่ตื่นนอนตอนเช้า พอเป็นเช่นนั้น จะทำให้รู้สึกทรมานไปทั้งวัน ขอให้เตรียมของที่สามารถกินได้ทันทีไว้ที่ข้างเตียง เช่น บิสกิต แครกเกอร์ หลังจากลืมตามาและได้กินของเหล่านั้นทั้ง ๆ ที่นอนอยู่ จะทำให้ผ่านวันนั้นไปได้สบายขึ้น

●ไม่ฝืนทำงานบ้านหรือทำงาน

ในช่วงที่มีอาการแพ้ท้องรู้สึกไวต่อกลิ่น ส่วนใหญ่จะรู้สึกทนต่อกลิ่นปรุงอาหาร กลิ่นรถไฟฟ้าที่ใช้เดินทางไปทำงานได้ยาก ในช่วงเวลานี้ สภาพร่างกายของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์และสภาพของลูกยังไม่มั่นคง หลักการสำคัญคือจะต้องไม่ฝืน

และที่บ้านจะต้องได้รับความเข้าใจจากครอบครัว ในตอนที่แพ้ท้องหนัก ขอให้เปลี่ยนให้คนอื่นทำอาหารแทน หรือซื้ออาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือกับข้าวที่วางขายแทน เพื่อให้ผ่านพ้นไปได้

●พยายามเปลี่ยนอารมณ์

อาการแพ้ท้องส่วนใหญ่จะมีสาเหตุมาจากจิตใจ หากได้พบและพูดคุยกับเพื่อน หรือหมกหมุ่นอยู่กับสิ่งที่ชอบ ฯลฯ อาจจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นได้เนื่องจากได้เปลี่ยนอารมณ์

หากมีอาการมากขนาดนี้ ขอให้พบแพทย์!

ถึงจะรู้สึกว่าแพ้ท้องหนัก แต่หากสามารถกินอาหารได้แม้ว่าจะไม่สม่ำเสมอ และไม่เป็นอุปสรรคต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็ถือว่าไม่เป็นปัญหา

แต่หากมีสภาพรุนแรงที่เรียกว่า “ภาวะแพ้ท้องขั้นรุนแรง (hyperemesis gravidarum)” ดังที่ระบุไว้ด้านล่างนี้ อาจจะส่งผลกระทบต่อทั้งคุณแม่และลูกได้ ขอให้ไปพบแพทย์

●อยู่ในภาวะขาดน้ำเนื่องจากอาเจียนหลายครั้งตลอดทั้งวัน

●แทบจะกินไม่ได้เลยเป็นเวลาหลายวัน

●น้ำหนักลดลง 5 กิโลกรัม จากก่อนตั้งครรภ์

●รู้สึกหมดแรงและวิงเวียน

วิธีการรักษา อาจจะเติมน้ำหรือสารอาหาร หรือให้เป็นสารวิตามินที่มีกรดโฟลิกเป็นหลัก และบางกรณีอาจจะให้สารกล่อมประสาทหรือสารระงับการอาเจียนทางเส้นเลือด

สำหรับอาการป่วย มีทั้งกรณีที่ต้องไปพบแพทย์ตามกำหนดเป็นระยะและกรณีที่จำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล

นอกจากนี้ กรณีที่ไม่มีความอยากอาหารเนื่องจากแพ้ท้องติดต่อกัน แม้จะเป็นช่วงหลังไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ อาจจะส่งผลกระทบต่อลูกได้ ดังนั้นขอให้ไปพบแพทย์

  • ตั้งครรภ์
  • เตรียมตัวตั้งครรภ์
  • แพ้ท้อง

ระบบมีการใช้งานคุกกี้บนเบราเซอร์ของคุณ หากต้องการใช้งานโปรดเปิดใช้งานคุกกี้ กรณีที่คุณใช้ Safari บน iPhone หรือ iPad โปรดปิดโหมดการเรียกดูส่วนตัว หากคุณลบข้อมูลคุกกี้ รายการโปรดที่คุณเลือกไว้จะถูกลบไปด้วย

พะอืดพะอม มวนท้อง เวียนหัว เป็นอะไร

จากที่เล่ามาน่าจะเป็นอาการของกระเพาะอาหารอักเสบนะคะ ซึ่งสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น การรับประทานยาแก้ปวด, ความเครียด, การดื่มแอลกอฮอล์หรือคาเฟอีนปริมาณมาก, การติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไดโลไร เป็นต้น

ทำไมรู้สึกพะอืดพะอม จะอ้วก

อาการพะอืดพะอมตลอดเวลา อาเจียน มีไข้ อาจมีสาเหตุมาจาก ภาวะอาหารเป็นพิษ ซึ่งเป็นไปได้มากจากที่กล่าวมา สาเหตุอื่นๆเช่น ลำไส้อักเสบหรือติดเชื้อ หรือการมีกระเพาะอาหารอักเสบหรือแผลในกระเพาะอาหารที่กำเริบเช่นจากชนิดของอาหารที่รับประทานเข้าไป หรืออาจเกิดจาก อิทธิพลของฮอร์โมนที่สร้างจากรกในหญิงตั้งครรภ์ การมีความดันในสมองสูง ...

เวียนหัวแพ้ท้องเป็นแบบไหน

อาการแพ้ท้องเป็นยังไงหนอ? เวียนหัวคลื่นไส้ คุณแม่ท้องจะรู้สึกอยากอาเจียนตลอดเวลา โดยอาการนี้มักจะเกิดในช่วงเช้า เราจึงเรียกว่าอาการMorning Sick แต่คุณแม่บางคนอาจจะเป็นตลอดทั้งวันก็ได้นะ หน้ามืดอาการนี้จะต่อเนื่องมาจากการที่คุณแม่อาเจียนบ่อย ทำให้ขาดน้ำ จึงเกิดอาการหน้ามืดตามมาค่ะ

ทำไมคนท้องต้องเวียนหัว

การตั้งครรภ์ทำให้คุณรู้สึกร้อนได้ง่าย ถ้าร้อนจนเกินไปอาจจนหน้ามืดตาลาย อากาศที่สดชื่นและเครื่องดื่มเย็นๆ จะช่วยทำให้คุณรู้สึกดีขึ้นได้ หากมีความดันเลือดต่ำอาจทำให้คุณรู้สึกเวียนหัวได้เช่นกัน