เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

1.ทฤษฎีแม่เหล็ก แม่เหล็กไฟฟ้า

ทฤษฎีแม่เหล็กไฟฟ้า (อังกฤษ: Electromagnetism) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา แรงแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งเป็นปฏิสัมพันธ์ทางกายภาพชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นระหว่างอนุภาคใดๆที่มีประจุไฟฟ้า แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามักจะแสดงสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นสนามไฟฟ้า, สนามแม่เหล็ก, และแสง แรงแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นหนึ่งในสี่ปฏิสัมพันธ์พื้นฐานในธรรมชาติ อีกสามแรงพื้นฐานได้แก่ อันตรกิริยาอย่างเข้ม, อันตรกิริยาอย่างอ่อน และแรงโน้มถ่วง[1]

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

ฟ้าผ่าเป็นการระบายออกของไฟฟ้าสถิตแบบหนึ่งที่ไฟฟ้าสถิตจะเดินทางระหว่างสองภูมิภาคท​​ี่มีประจุไฟฟ้า

แม่เหล็กไฟฟ้ามาจากภาษาอังกฤษ electromagnet คำนี้ป็นรูปแบบผสมของคำภาษากรีกสองคำได้แก่ ἤλεκτρον หมายถึง อิเล็กตรอน และ μαγνῆτιςλίθος (Magnetis Lithos) ซึ่งหมายถึง "หินแม่เหล็ก" ซึ่งเป็นแร่เหล็กชนิดหนึ่ง วิทยาศาสตร์ของปรากฏการณ์แม่เหล็กไฟฟ้าถูกกำหนดไว้ในความหมายของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า บางครั้งถูกเรียกว่าแรงลอเรนซ์ (อังกฤษ: Lorentz force) ซึ่งประกอบด้วยทั้งไฟฟ้าและแม่เหล็กในฐานะที่เป็นสององค์ประกอบของปรากฏการณ์

แรงแม่เหล็กไฟฟ้ามีบทบาทสำคัญในการกำหนดคุณสมบัติภายในของวัตถุส่วนใหญ่ที่พบในชีวิตประจำวัน สสารทั่วไปจะได้รูปแบบของมันจากผลของแรงระหว่างโมเลกุลของโมเลกุลแต่ละตัวในสสาร อิเล็กตรอนจะถูกยึดเหนี่ยวตามกลไกคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเข้ากับวงโคจรรอบนิวเคลียสเพื่อก่อตัวขึ้นเป็นอะตอมซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักของโมเลกุล กระบวนการนี้จะควบคุมกระบวนการที่เกี่ยวข้องทั้งหลายในทางเคมีซึ่งเกิดขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างอิเล็กตรอนในวงโคจรของอะตอมหนึ่งกับอิเล็กตรอนอื่นในวงโคจรของอะตอมที่อยู่ใกล้เคียงซึ่งจะถูกกำหนดโดยการปฏิสัมพันธ์ระหว่างแรงแม่เหล็กไฟฟ้ากับโมเมนตัมของอิเล็กตรอนเหล่านั้น

มีคำอธิบายของสนามแม่เหล็กไฟฟ้าทางคณิตศาสตร์จำนวนมาก ในไฟฟ้าพลศาสตร์แบบคลาสสิก (อังกฤษ: classical electrodynamics) สนามไฟฟ้าจะอธิบายถึงศักย์ไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้า ในกฎของฟาราเดย์ สนามแม่เหล็กจะมาพร้อมกับการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้าและแม่เหล็ก, และสมการของแมกซ์เวลจะอธิบายว่า สนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กถูกสร้างขึ้นได้อย่างไร มีการเปลี่ยนแปลงซึ่งกันและกันอย่างไร และมีการเปลี่ยนแปลงโดยประจุและกระแสได้อย่างไร

การแสดงเจตนาเป็นนัยในทางทฤษฎีของแรงแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะในการจัดตั้งของความเร็วของแสงที่ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของ "ตัวกลาง" ของการกระจายคลื่น (ความสามารถในการซึมผ่าน(อังกฤษ: permeability) และแรงต้านสนามไฟฟ้า(อังกฤษ: permittivity)) นำไปสู่​​การพัฒนาทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษโดย อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ในปี 1905

แม้ว่าแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในสี่แรงพื้นฐาน แต่ที่ระดับพลังงานสูงอันตรกิริยาอย่างอ่อนและแรงแม่เหล็กไฟฟ้าถูกรวมเป็นสิ่งเดียวกัน ในประวัติศาสตร์ของจักรวาล ในช่วงยุคควาร์ก แรงไฟฟ้าอ่อน (อังกฤษ: electroweak) จะหมายถึงแรง(แม่เหล็ก)ไฟฟ้า + (อันตรกิริยาอย่าง)อ่อน 0.1+.1+1.0=10


2.โครงสร้างและส่วนประกอบ วงจรขดลวดอาเมเจอร์ของเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงประกอบด้วยส่วนประกอบสำคัญ 4 ส่วน คือ อาเมเจอร์ขั้วแม่เหล็ก

คอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่าน นอกจากนั้นยังมีส่วนประกอบอื่นๆอีก เช่น แกนเพลา ตลับลูกปืน

ชุดยึดแปรงถ่าน และโครงเครื่อง เป็นต้น

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่ 1.1 โครงสร้างเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงภายใน

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่ 1.2 อาเมเจอร์

1.อาเมเจอร์ (Armature) คือ ส่วนที่หมุนตัดกับสนามแม่เหล็กเพื่อผลิตแรงเคลื่อนไฟฟ้า โครงสร้างของอาเมเจอร์ประกอบด้วย เพลา แกนเหล็กอาเมเจอร์และขดลวดอาเมเจอร์

- แกนเพลา (Shaft) เป็นตัวสำหรับยืดคอมมิวเตเตอร์และยึดแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ เพื่อบังคับให้หมุนอยู่ในแนวนิ่งไม่มีการสั่นสะเทือนได้

-  แกนเหล็กอาเมเจอร์ (Armature Core)  ทำจากแผ่นเหล็กซิลิกอนหนาประมาณ 0.5 มม. ผิวทั้งสองด้านฉาบด้วยฉนวนไฟฟ้าจำพวกวานิช นำมาอัดซ้อนกับเป็นรูปทรงกระบอก เพื่อลดการสูญเสียเนื่องจากฮิสเตอรีซิส (Hysteresis loss) และกระแสไหลวน (Eddy current loss) ในแกนเหล็ก

     - ขดลวดอาเมเจอร์ (Armature Winding) ทำจากเส้นลวดทองแดงอาบฉนวนไฟฟ้า

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่ 1.3 ขั้วแม่เหล็ก

                2.ขั้วแม่เหล็ก (Pole) คือ ส่วนที่สร้างสนามแม่เหล็กให้ผ่านแกนเหล็กอาเมเจอร์ขั้วแม่เหล็กขอเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงจะยึดติดกับโครงเครื่อง

- โครงเครื่อง เป็นส่วนที่ยึดแกนของขั้วแม่เหล็กและฝาครอบเครื่อง นอกจากนั้นยังใช้เป็นทางผ่านของสนามแม่เหล็กเพื่อให้เส้นแรงแม่เหล็กเดินครบวงจร

- แกนของขั้วแม่เหล็กและโปลชู (Pole Core) ทำจากเหล็กแผ่นลามิเนท (Laminated sheet steel) ปั๊มเป็นแกนของขั้วแม่เหล็กและโปลชูในแผ่นเดียวกัน

- ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field Coil) คือขดลวดฟีลด์ที่พันรอบแกนของขั้วแม่เหล็กหลักทุกขั้ว โดยมากมักใช้ขดลวดฟีลด์ที่พันไว้ล่วงหน้า หุ้มฉนวน (พันด้วยเทปผ้าฝ้าย) อาบวานิชและอบแห้งแล้วจึงนำไปสวมเข้ากับแกนของขั้วแม่เหล็ก

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่ 1.4 คอมมิวเตเตอร์

             3.คอมมิวเตเตอร์ (Commutator)เป็นส่วนที่ทำหน้าที่เรียงกระแสหรือเปลี่ยนแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสสลับในขดลวดอาเมเจอร์ให้เป็นแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่ 1.5 แปรงถ่านและชุดยึดแปรงถ่าน

4.แปรงถ่านและชุดยึดแปรงถ่าน (Brushes) แปรงถ่านจะสัมผัสกับผิวหน้าของคอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลา เพื่อต่อวงจรขดลวดอาเมเจอร์กับวงจรภายนอกเข้าด้วยกัน

ชุดยึดแปรงถ่าน ทำหน้าที่ยึดแปรงถ่านให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมมีสปริงกดแปรงถ่านให้สัมผัสกับผิวหน้าของคอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลา  

3.หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง

หลักการทำงานเบื้องต้นของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

โดยทั่วไปแล้วเครื่องกำเนิดไฟฟ้าจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือส่วนที่เรียกว่า โรเตอร์ (Rotor) ซึ่งจะมีขดลวดตัวนำฝังอยู่ในร่องรอบแกนโรเตอร์ที่ทำจากแผ่นเหล็กซิลิคอน (Silicon Steel Sheet) ขนาดหนาประมาณ 0.35-0.5 มิลลิเมตร นำมาอัดแน่นโดยระหว่างแผ่นเหล็กซิลิคอนจะมีฉนวนเคลือบ ทั้งนี้เพื่อลดการสูญเสียที่เกิดจากกระแสไฟฟ้าไหลวน (Eddy Current) ภายในแกนเหล็กของโรเตอร์จะได้รับไฟฟ้ากระแสตรงจากเอ็กไซเตอร์(Excitor) เพื่อทำหน้าที่ในการสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าขึ้น อีกส่วนหนึ่งของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าคือส่วนที่อยู่กับที่ เรียกว่า สเตเตอร์(Stator) ภายในร่องแกนสเตเตอร์ มีขดลวดซึ่งทำจากแผ่นเหล็กอัดแน่นเช่นเดียวกับโรเตอร์ฝังอยู่ อาศัยหลักการของการเคลื่อนที่ของแม่เหล็กผ่านลวดตัวนำ จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำแรงดันไฟฟ้าที่สเตเตอร์และนำแรงดันไฟฟ้านี้ไปใช้ต่อไป

หลักการง่ายของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนผ่านขดลวดบนสเตเตอร์จะเหนี่ยวนำให้เกิด กระแสและแรงดันขึ้นที่ขดลวด สนามแม่เหล็กเกิดขึ้นได้จากการป้อนไฟ DC เข้าขดลวดของโรเตอร์ กระแสไฟ DC จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นที่โรเตอร์และเมื่อโรเตอร์หมุนจะเหนี่ยวนำแรงดัน AC และกระแส ขึ้นที่ขดลวดสเตเตอร์

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

จากรูปเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่แสดง เมื่อสนามแม่เหล็กหมุนผ่านทุกๆ ขดลวด ในการหมุนครบ 1 รอบ ของโรเตอร์ เราเรียกว่า 1 cycle ถ้าโรเตอร์ หมุน 50 รอบใน 1 วินาที สนามแม่เหล็กจะหมุนผ่านทุกๆ ขดลวด 50 ครั้งใน 1 วินาที เราอาจจะพูดได้ว่า electrical power มีความถี่(Frequency) เท่ากับ 50cycle/sec(Hz) แสดงเป็นสมการได้ดังนี้

               F     =     N

คือความถี่(Frequency) เท่ากับจำนวนรอบของการหมุนต่อวินาที ดังนั้น

               F     =     N/60    =   รอบ/วินาที

จากสมการที่ได้ใช้เฉพาะ Machine ที่เป็นแบบ 2 pole(ขั้ว) N กับ S (North and South) หรือ 1 คู่ของ pole

               ถ้าโรเตอร์มี 4 pole ทุกๆการหมุน 1 รอบ ของโรเตอร์ จะได้ความถี่ออกมา 2 cycle ดังนั้นจำนวน pole ต้องนำมาพิจารณาด้วย เมื่อจะคำนวณความสัมพันธ์ระหว่างความถี่และความเร็วรอบ

               ดังนั้นเราจะได้สมการใหม่ดังนี้

               F      =     N x P (P = จำนวนคู่ของ pole)

               P คือ จำนวนคู่ของ pole (pair of pole) ไม่ใช่จำนวน pole เช่น 2-pole ของโรเตอร์ จะมี 1 คู่ของ pole, โรเตอร์ 4-pole จะมี 2 คู่ของ pole เช่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าอันหนึ่งมีความถี่ 50 cycle/sec, 2 pole จะหมุนด้วยความเร็ว 3,000 RPM แต่ถ้าเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวเดียวกัน แต่โรเตอร์เป็นแบบ 4 pole จะหมุนด้วยความเร็ว 1,500 RPM

             
แต่ในทางกลับกันเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวหนึ่งหมุนที่ความเร็วรอบ 300 RPM จำนวน pole ที่ต้องใช้ในการทำให้ได้ความถี่ 50 cycle/sec จะต้องทำให้โรเตอร์ มีขนาด 10 คู่ pole หรือ 20 pole ซึ่งเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ชนิดนี้ส่วนมากใช้กับ Hydro turbine เป็นตัวหมุนโรเตอร์(โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ)

              
เครื่องกำเนิดไฟฟ้า ซึ่งใช้กับ Steam turbine หรือ Gas turbine เป็นตัวหมุนโรเตอร์ส่วนมากเป็นพวก High speed และรูปร่างโรเตอร์เป็นทรงกระบอกดังรูปด้านล่าง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
Turbo Generator Rotor หรือโรเตอร์ทรงกระบอก

              ขดลวดโรเตอร์จะวางลงในช่อง slot และต่อเข้าด้วยกันที่ปลายของแต่ละชุด เพื่อวางรูปให้เป็นขดลวดและกำหนดขั้ว N และ S ซึ่งจะเป็นตัวกำหนดการหมุนของสนามแม่เหล็ก

              ความถี่(Frequency) คือตัววัดความเร็ว ถ้าเพิ่มพลังงานที่ได้จากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าโดยไม่เพิ่มพลังงานให้กับ turbine จะทำให้ความเร็วลดลง ซึ่งเราสามารถรู้ได้ด้วยความถี่ลดลงด้วย

              ควรจำไว้ว่าเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ไม่ได้เป็นตัวสร้างพลังงานไฟฟ้า แต่เครื่องกำเนิดไฟฟ้า เป็นเครื่องมือที่เปลี่ยนพลังงานทางกล ไปเป็น พลังงานไฟฟ้า

4.ชนิดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง

การแบ่งชนิดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง
เครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง แบ่งออกตามลักษณะการนำกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นขดลวดสนามแม่เหล็ก ได้ 2 แบบ คือ

เครื่องกำเนิดชนิดกระตุ้นแบบแยก (Separately excited generator)
           คือเครื่องกำเนิดชนิดหรือประเภทที่ซึ่ง ขดลวดสนามแม่เหล็กของมันถูกกระตุ้นจากแหล่งจ่ายไฟฟ้ากระแสตรงจากภายนอกที่แยกต่างหาก ซึ่งแหล่งจ่ายที่ใช้ในการกระตุ้นสำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงจากภายนอกที่แยกต่างหาก ซึ่งแหล่งจ่ายที่ใช้ในการกระตุ้นสำหรับเครื่องกำเนิดชนิดนี้อาจจะเป็นแบตเตอรี่ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงตัวอื่นๆ เมื่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าตัวอื่นๆถูกนำมาใช้ในการกระตุ้น มันก็จะถูกเรียกว่า ตัวกระตุ้นหรือเอ็กเซเตอร์(Exciter)สัญลักษณ์ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงชนิดกระตุ้นแบบแยก
เนื่องจากการกระตุ้นแบบแยกต้องการแบตเตอรี่หรือเครื่องกำเนิดที่แยกต่างหาก ดังนั้น โดยทั่วไป มันจึงมีราคาแพงกว่าการกระตุ้นตัวเอง ตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นโดยปกติแล้วการกระตุ้นแบบแยกจะถูกนำมาใช้เมื่อการกระตุ้นตัวเองให้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจ ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นในกรณีที่เครื่องกำเนิดต้องตอบสนองอย่างรวดเร็ว และถูกต้องแน่นอนต่อการควบคุมแหล่งจ่ายจากภายนอก หรือเมื่อแรงดันด้านออกของเครื่องกำเนิดต้องเปลี่ยนแปลงไปในย่านที่กว้างในระหว่างที่มันทำงานตามปกติ
เครื่องกำเนิดชนิดกระตุ้นตัวเอง(Self excited generator) คือ เครื่องกำเนิดชนิดหรือประเภทซึ่งชุดขดลวดสนามแม่เหล็กของมัน ถูกกระตุ้นด้วยกระแสที่เกิดจากตัวของมันเอง เนื่องจากแม่เหล็กตกค้างจึงมีฟลักซ์แม่เหล็กบางส่วนหลงเหลืออยู่ภายในแท่งขั้วแม่เหล็กเสมอ เมื่ออาร์เมเจอร์หมุนจะมีแรงเคลื่อนจำนวนหนึ่งเกิดขึ้น และทำให้กระแสเหนี่ยวนำจำนวนหนึ่งเกิดขึ้นด้วยซึ่งเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดที่มันเคลื่อนที่ผ่านชุดขดลวดสนามแม่เหล็ก เพราะฉะนั้นฟลักซ์แม่เหล็กที่ตกค้างที่แท่งขั้วแม่เหล็กจึงถูกทำให้มีความเข้มมากขึ้น

เครื่องกำเนิดชนิดกระตุ้นตัวเอง
        แบ่งออกตามลักษณะการต่อขดลวดสนามแม่เล็กกับวงจรขดลวดอาร์เมเจอร์ได้เป็น 3 แบบ คือ
1. เครื่องกำเนิดแบบอนุกรม (Series generator)
2. เครื่องกำเนิดแบบขนาน(Shunt generator)
3. เครื่องกำเนิดแบบผสม(Compound generator)

เครื่องกำเนิดแบบอนุกรม (Series generator) เครื่องกำเนิดชนิดนี้ชุด ขดลวดสนามแม่เหล็กจะต่ออนุกรมเข้ากับเอาต์พุดของเครื่องกำเนิด กระแสกระตุ้นที่ไหลผ่านชุดขดลวดสนามแม่เหล็กจะเป็นค่าเดียวกันกับกระแสที่เครื่องกำเนิดจ่ายให้โหลด ถ้าโหลดมีความต้านทานสูง มันก็จะดึงกระแสดจากเครื่องกำเนิดได้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น และกระแสกระตุ้นก็จะมีค่าเพียงเล็กน้อยตามไปด้วยทำให้ความเข้มของสนามแม่เหล็กน้อย ซึ่งจะทำให้แรงเคลื่อนที่ขั้วของเครื่องกำเนิดมีค่าต่ำ ในลักษณะทำนองเดียวกัน ถ้าโหลดดึงกระแสมากกระแสกระตุ้นก็จะมีค่ามากด้วย ซึ่งจะทำให้สนามแม่เหล็กของชุดขดลวดสนามแม่เหล็กมีความเข้มมาก และแรงดันที่ขั้วของเครื่องกำเนิดก็จะมีค่าสูง ดังนั้นจึงพิจารณาเห็นได้ว่าเครื่องกำเนิดแบบอนุกรม การเปลี่ยนแปลงของกระแสโหลดจะมีผลอย่างมากต่อแรงดันที่ขั้วของเครื่องกำเนิด เพราะฉะนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่า เครื่องกำเนิดแบบอนุกรมจะมีความสม่ำเสมอของแรงดันที่แย่(Poor voltage regulation) และจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบอนุกรมจึงไม่มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับโหลดที่ไม่คงที่หรือมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

เครื่องกำเนิดแบบขนาน(Shunt generator) เครื่องกำเนิดชนิดนี้ชุดขดลวด สนามแม่เหล็กจะพันด้วยขดลวดเส้นเล็ก พันจำนวนมากรอบต่อขนานกับอาร์เมเจอร์และโหลด ค่าของกระแสกระตุ้นในเครื่องกำเนิดแบบขนานจะขึ้นอยู่กับ แรงดันที่ขั้วและความต้านทานของชุดขดลวดสนามแม่เหล็ก โดยปกติกระแสกระตุ้นจะถูกรักษาให้มีค่าอยู่ระหว่าง 0.5 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ของกระแสทั้งหมดที่ไหลออกจากเครื่องกำเนิด

เครื่องกำเนิดแบบผสม(Compound generator) ทั้งเครื่องกำเนิดแบบ อนุกรมและแบบขนานต่างก็มีข้อเสียที่เหมือนกัน กล่าวคือ เมื่อกระแสโหลดของมันเกิดการเปลี่ยนแปลงจากค่าศูนย์จนถึงค่าใช้งานปกติ จะทำให้แรงดันที่ขั้วของมันเกิดการเปลี่ยนแปลง สำหรับในเครื่องกำเนิดแบบอนุกรมเมื่อกระแสไหลเพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้แรงดันที่ขั้วเพิ่มขึ้น ในขณะที่ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบขนานเมื่อกระแสโหลดเพิ่มขึ้นเป็นเหตุให้แรงดันที่ขั้วลดลง ในการใช้งานหลายอย่างที่เครื่องกำเนิดต้องการให้ได้แรงดันที่ขั้วของมันมีเสถียรภาพมากกว่าเช่นที่มันจ่าย โดยเครื่องกำเนิดอนุกรมหรือแบบขนาน วิธีหนึ่งที่ใช้เพื่อที่จะให้ได้แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วมีเสถียรภาพ คือ การใช้เครื่องกำเนิดแบบขนานในรูปแบบการปรับค่าแรงดันไฟฟ้าให้ดีขึ้น และอีกวิธีหนึ่งของการจ่ายแรงดันที่ขั้วให้มีเสถียรภาพ คือ การใช้เครื่องกำเนิดแบบผสม
เครื่องกำเนิดแบบผสมเชิงสะสม แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
เครื่องกำเนิดแบบผสมชนิดผสมเรียบ(Flat compound generator)
เครื่องกำเนิดแบบผสมชนิดผสมเกิน(Over compound generator)
เครื่องกำเนิดแบบผสมชนิดผสมขาด(Under compound generator)

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบกังหันไอน้ำที่ทันสมัยของสหรัฐฯ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ Ganz รุ่นแรกๆใน Zwevegem, West Flanders, Belgium

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

alternator ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 20 ในห้องโถงของสถานีผลิตไฟฟ้ากำลังน้ำ ทำในบูดาเปสท์ประเทศฮังการี


5.อาเมเจอร์รีแอคชั่น(Armaturereaction)

อาเมเจอร์รีแอคชั้นและคอมมิวเตชั่น

อาเมเจอร์รีแอคชัน หมายถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในอาเมเจอร์ เนื่องจากมีกระแสไหลผ่านขดลวดอาเมเจอร์  หรือเกิดเส้นแรงแม่เหล็กจากกระแสอาเมเจอร์ มีผลกระทบกับเส้นแรงแม่เหล็กของขั้วแม่เหล็กหลัก ทำให้เส้นแรงแม่เหล็กต่อขั้วลดลง เป็นสาเหตุให้แรงดันไฟฟ้าที่ขั้วของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าลดลง จะเกิดขึ้นเมื่อเครื่องกำเนิดจ่ายโหลด และทำให้เกิดประกายไฟที่     แปรงถ่านกับคอมมิวเตเตอร์

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2


6.ดีแม็กเนไตซิ่ง(Demagnetizing)

ลบล้างสภาพแม่เหล็ก (Demagnetization) เนื่องจากผลกระทบของสนามแม่เหล็กภายนอก

ถ้านำวัสดุที่มีสภาวะเป็นแม่เหล็กเข้ามาใกล้กับแม่เหล็กที่มีการทำให้มีคุณสมบัติของแม่เหล็กหรือเมื่อสนามแม่เหล็กได้รับการเพิ่มจากภายนอก จุดทำงานจะเคลื่อนที่และแรงแม่เหล็กจะเปลี่ยนแปลง กรณีที่สนามแม่เหล็กได้รับการเพิ่มจากภายนอกซึ่งหันตรงข้ามกับแม่เหล็กที่มีการทำให้มีคุณสมบัติของแม่เหล็กจะเป็นการลบล้างสภาพแม่เหล็ก การทำงานในขั้นตอนนี้สามารถวิเคราะห์ได้ตาม Demagnetization curve ซึ่งเส้นโค้ง B-H จะแสดงการเปลี่ยนแปลงของความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็ก (B)ในขณะที่สนามแม่เหล็กกำลังทำปฏิกิริยากับแม่เหล็ก ในความเป็นจริงค่า B ในขณะนั้นจะกลายเป็นค่าที่แสดงความแรงของการทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเองรวมถึงความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กจากภายนอกที่ทำปฏิกิริยากับแม่เหล็กด้วย

แม่เหล็กเฟอร์ไรต์ ถ้าจะแสดงการลบล้างสภาพแม่เหล็กของแม่เหล็กเฟอร์ไรต์จะแสดงได้ตามรูปด้านขวามือ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

ในหน่วย CGS นั้น ความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเองจะมีค่าเป็น 4πI ดังนั้น ความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กโดยดูจากข้างบนจะเท่ากับ B = 4πI-H ถ้าไม่รวมผลกระทบของสนามแม่เหล็กจากภายนอก จะสามารถแสดงความสัมพันธ์ระหว่างความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเองและสนามแม่เหล็กจากภายนอกด้วยเส้นโค้ง 4πI-H สำหรับสภาพบังคับ BHc ตามเส้นโค้ง B-H นั้น ความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กซึ่งค่าความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กของแม่เหล็กด้านบนที่มองเห็นเป็น 0 เราเรียกความหนาแน่นของสนามแม่เหล็กซึ่งความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็กเอง 4πI เป็น 0 ว่า iHc ดังนั้น ถ้าเพิ่มสนามแม่เหล็กจากภายนอกซึ่งมีขนาดใหญ่เท่ากับ iHc จากนั้นกำจัดสนามแม่เหล็กนั้นออก ความหนาแนนของฟลักซแมเหล็กคงคางในแม่เหล็กจะเป็น 0 ทั้งหมด ซึ่งเราจะเรียก iHc ว่าสภาพบังคับ (Coercivity) ที่แท้จริง

ตามรูปเป็นการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเส้นโค้ง B-H กับเส้นโค้ง 4πI-H จุด A เป็นจุดตัดระหว่างเส้นโค้ง B-H กับเส้น P2 ซึ่งแสดงค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (Permeance) กล่าวคือ แสดงจุดทำงาน หากเลื่อนเส้นตั้งฉากให้สูงขึ้นจากจุด A มาตัดกับเส้นโค้ง 4πI-H ที่ด้านบน จุดตัดนี้ คือ B จุด B นี้ เป็นสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก(Demagnetizing Field) ซึ่งแสดงถึงความแรงของการทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กในขณะที่จุดทำงานเป็น 0 (ความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กของตัวแม่เหล็ก โดยตั้งสมมุติฐานเฉพาะสนามแม่เหล็กที่ลบล้างสภาพแม่เหล็กให้หมดไปเอง)

ความแรงที่ทำให้มีสภาวะเป็นแม่เหล็กในขณะที่สนามแม่เหล็กซึ่งผลักดันพลังแม่เหล็ก-H1 ทำงาน จุด C ตามแกน H จะเริ่มทำงาน ส่วนเส้นที่ลากขนานกับส่วนของเส้น BO ซึ่งเชื่อมระหว่างจุด B กับจุดตั้งต้น 0 จะเริ่มตัดกับเส้นโค้ง J-H ที่จุดตัด S จากนั้นจะเลื่อนเส้นตั้งฉากลงไปจากจุดตัด S ไปยังเส้นโค้ง B-H แล้วหาค่าจุดตัด K (จุดทำงานในขณะที่ได้รับผลกระทบจากสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก-H1) จากนั้นตำแหน่งของจุดทำงานในขณะที่กำจัดสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก-H ซึ่งเพิ่มเข้ามา จะแสดงด้วยจุดตัด A' ซึ่งเป็นจุดตัดระหว่างเส้นคอยล์ที่ลากจากจุด k กับเส้นแสดงค่าสัมประสิทธิ์การซึมผ่าน (Permeance) P2 ความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กในขณะนี้จะเป็น Bd1 กล่าวคือ จะเกิดค่าความแตกต่าง BdO-Bd1 ระหว่างสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็กความหนาแน่นของฟลักซ์แม่เหล็กในช่วงแรกก่อนเพิ่มสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็กBdO กับ Bd1 ซึ่งค่านี้เป็นค่าการลบล้างสภาพแม่เหล็กจากสนามแม่เหล็กที่ผลักดันพลังแม่เหล็ก-H1

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

7.คอสแม็กเนไตซิ่ง( Cross-Magnetizing(

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

3.2.2.2 แม็กเนไตเซชัน (Magnetization)
          พิจารณานิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนจำนวนหนึ่ง ในสภาวะปกติซึ่งไม่มีสนามแม่เหล็กจากภายนอกเข้าไปรบกวน พบว่า แม็กเนติกโมเมนต์ของนิวเคลียสแต่ละตัวมีทิศทางแบบสุ่ม ดังแสดงในรูป 3.2.2

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
รูป 3.2.2 การจัดตัวของแม็กเนติกโมเมนต์ขณะไม่มี
สนามแม่เหล็กจากภายนอกเข้าไปรบกวน  (ขยายภาพ)

         แม็กเนไตเซชันนิยามว่า เป็นค่าผลรวมแบบเวคเตอร์ของแม็กเนติกโมเมนต์ในหนึ่งหน่วยปริมาตร แทนด้วยสัญลักษณ์ ดังนั้น เมื่อเรานำแม็กเนติกโมเมนต์ซึ่งมีทิศทางแบบสุ่มดังรูป 3.2.2 มารวมกันแบบเวคเตอร์จะได้ผลลัพท์เท่ากับศูนย์(M=0)
         ต่อมา เมื่อใส่สนามแม่เหล็กสถิตสม่ำเสมอ (uniform static magnetic field: ) ให้กับระบบนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนนี้ พบว่า แม็กเนติกโมเมนต์ของนิวเคลียสไฮโดรเจนส่ายรอบสนามแม่เหล็กที่ใส่เข้าไป โดยประพฤติตัวสองแบบ คือ ส่ายแบบขนาน (parallel) แทนด้วย P และส่ายแบบปฏิขนาน (anti-parallel) แทนด้วย A ดังรูป 3.2.3 ความถี่ของการส่าย ( ω ) เท่ากับ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

         ความถี่นี้เป็นความถี่ธรรมชาติมีชื่อเรียกว่า ความถี่ลาร์มอร์ (Larmor frequency) ขนาดของความถี่นี้ขึ้นกับชนิดของนิวเคลียสและความแรงของสนามแม่เหล็ก

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูป 3.2.3 โมเมนต์แม่เหล็กจัดตัวแบบขนานและปฏิขนาน เมื่อมีสนามแม่เหล็กภายนอกเข้าไปรบกวน  (ขยายภาพ)

         โดยทั่วไปจำนวนนิวเคลียสที่ส่ายทั้งสองแบบขึ้นกับอุณหภูมิ และมักพบว่ามีจำนวนนิวเคลียสที่ส่ายแบบขนานมากกว่าที่ส่ายแบบปฏิขนาน และเฟส (phase) เริ่มต้นของการส่ายของแม็กเนติกโมเมนต์ไม่จำเป็นต้องตรงกัน ดังนั้น เมื่อรวมแม็กเนติกโมเมนต์ในหนึ่งหน่วยปริมาตรแบบเวคเตอร์ สำหรับกรณีนี้จะได้แม็กเนไตเซชันมีค่าไม่เท่ากับศูนย์ และมีทิศทางไปทางเดียวกับสนามแม่เหล็ก ดังรูป 3.2.4 แม็กเนไตเซชันที่ได้นี้ มีความถี่ธรรมชาติหรือความถี่ลาร์มอร์เท่ากับความถี่ของแม็กเนติกโมเมนต์

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
รูป 3.2.4 แม็กเนไตเซชันของระบบนิวเคลียสในสนาม
แม่เหล็กสม่ำเสมอมีทิศชี้ตามสนามแม่เหล็ก (ขยายภาพ)

         กล่าวโดยสรุป คือ สมมติพิจารณาสารตัวอย่างเช่นน้ำ และพิจารณานิวเคลียสของไฮโดรเจนที่เป็นส่วนประกอบของน้ำ ขณะที่น้ำอยู่ในสภาวะปกติโดยไม่มีสนามแม่เหล็กจากภายนอกเข้ามารบกวน แม็กเนไตเซชันของสารตัวอย่างจะมีค่าเป็นศูนย์ ดังรูป 3.2.5 เมื่อใส่สนามแม่เหล็กสม่ำเสมอให้สารตัวอย่าง แม็กเนไตเซชันของสารตัวอย่างจะมีค่าไม่เท่ากับศูนย์ มีทิศเดียวกีบสนามแม่เหล็กที่ใส่เข้าไป และมีความถี่ธรรมชาติหรือความถี่ลาร์มอร์เท่ากับ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2


เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูป 3.2.5 สารตัวอย่างน้ำเมื่ออยู่ในสภาวะปกติ
และเมื่อมีสนามแม่เหล็กสม่ำเสมอ

8ขดลวดชดเชย(Compensating Winding)

ขดลวดชดเชย  เป็นขดลวดที่พันอยู่ที่ผิวหน้าของขั้วแม่เหล็กหลักและต่ออนุกรมกับขดลวดอาร์เมเจอร์โดยมีทิศทางการพันให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กมีขั้วตรงกันข้ามที่เกิดในอาร์เมเจอร์  ทำหน้าที่ทำให้สนามแม่เหล็กลดมีค่าเป็นกลาง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

9.คอมมิวเตชั่น(Commutation

คอมมิวเตชั่น(Commutation)
               คือ กระบวนการกลับทิศทางการไหลของกระแสในขดลวดอาร์เมเจอร์ย่อยแต่ละขดและนำพากระแสไฟตรงไปสู่วงจรภายนอกโดยผ่านซี่คอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่านซึ่งเกิดขึ้นในระยะเวลาสั้นๆ คอมมิวเตชั่นจะเกิดขึ้นพร้อมๆกันในทิ้งสองขดลวดที่กำลังถูกลัดวงจร โดยที่ขดลวด จะถูกลัดวงจรด้วยแปรงถ่านบวก และขดลวดที่อยู่ฝั่งตรงข้ามจะถูกลัดวงจรด้วยแปรงถ่านลบ เพื่อไม่ให้เกิดการ สปาร์คขึ้นระหว่างซี่คอมมิวเตเตอร์และแปรงถ่าน ก็จะต้องวางแปรงถ่านให้อยู่ในตำแหน่งระนาบเป็นกลางที่แท้จริงในขณะที่เครื่องกำเนิดกำลังจ่ายโหลด(ระนาบเป็นกลางทางไฟฟ้า) ทั้งนี้รู้เพราะว่าไม่มีแรงเคลื่อนเหนี่ยวนำเกิดขึ้นในขดลวดทั้งสอง ณ เวลาในขณะนั้น

10.การลดประกายไฟที่เกิดจากคอมมิวเตชั่น

คอมมิวเตเตอร์ ทำหน้าที่เป็นตัวเปลี่ยนแรงดันไฟสลับที่เกิดขึ้นภายในวงขดลวด ให้เป็นแรงดันไฟตรง อย่างไรก็ตามมันเป็นตัวเชื่อมต่อระหว่างแปรงถ่านไปยังขดลวดหมุนด้วย วิธีที่มันเปลี่ยนไฟสลับไปเป็นไฟตรงจะมีความเกี่ยวพันโดยตรงกับบทบาทหน้าที่ของมัน
                      ส่วนจุดประสงค์ของแปรงถ่าน ก็คือ เป็นตัวเชื่อมต่อแรงดันของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าไปยังวงจรภายนอก เพื่อที่จะกระทำสิ่งนี้ แปรงถ่านแต่ละอันจะต้องต่อเชื่อมจะต้องต่อเชื่อมเข้ากับปลายแต่ละข้างของวงขดลวด แต่การเชื่อมต่อเข้าด้วยกันโดยตรงไม่สามารถจะกระทำได้เนื่องจากวงขดลวดเป็นตัวเคลื่อนที่หมุน ดังนั้นแปรงถ่านทั้งสองจึงถูกต่อเชื่อมเข้ากับปลายทั้งสองของวงขดลวดโดยการผ่านคอมมิวเตเตอร์แทนคอมมิวเตเตอร์มีลักษณะเป็นรูปทรงกระบอกผ่าครึ่งสองชิ้นประกบกัน มีผิวเรียบทำจากวัสดุตัวนำและมีวัสดุที่เป็นฉนวนคั่นกลาง แต่ละชิ้นหรือแต่ละซึกของคิมมวิเตเตอร์จะต่อเข้ากับปลายข้างหนึ่งของวงขดลวดถาวร เพราะฉะนั้นในขณะที่วงขดลวดหมุนคอมมิวเตเตอร์ก็จะหมุนตามไปด้วย แปรงถ่านแต่ละอันจะถูกกดให้สัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์แต่ละซีกและมันจะสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลาในขณะที่วงขดลวดเคลื่อนที่หมุน ในวิธีนี้จะทำให้แปรงถ่านแต่ละอันถูกต่อเข้ากับปลายทั้งสองของวงขดลวดโดยผ่านคอมมิวเตเตอร์แต่ละซีกที่แปรงถ่านกดอยู่ เมื่อคอมมิวเตเตอร์หมุนในขณะที่แปรงถ่านอยู่กับที่ ในตอนแรกแปรงถ่านแต่ละอันจะสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์ซีกหนึ่ง และหลังจากนั้นก็จะสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์อีกซีกหนึ่ง ซึ่งสิ่งนี้ให้ความหมายว่า ในตอนแรกแปรงถ่านแต่ละอันจะต่อเข้ากับปลายข้างหนึ่งของวงขดลวด และต่อมาก็จะต่อเข้ากับปลายอีกข้างหนึ่งของวงขดลวด โดยที่แปรงถ่านทั้งสองอันวางอยู่ในตำแหน่งที่ตรงข้ามกับซีกทั้งสองข้างของคอมมิวเตเตอร์ ดังนั้นมันจึงสัมผัสกับคอมมิวเตเตอร์จากซีกหนึ่งไปสู่อีกซีกหนึ่ง ณ เวลาในขณะเดียวกันกับที่ วงขดลวดเคลื่อนที่หมุนมาถึงจุดที่มันเปลี่ยนขั้วของแรงดันเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นพอดี ดังนั้นที่ทุกๆ ขณะเวลาที่ปลายทั้งสองของวงขดลวดเปลี่ยนขั้ว แปรงถ่านทั้งสองอันจะเปลี่ยนจุดสัมผัส(สวิตซ์) จากซีกหนึ่งของคอมมิวเตเตอร์ไปสู่อีกซีกหนึ่ง ซึ่งในวิธีการนี้จะทำให้แปรงถ่านอันหนึ่งเป็นบวกเสมอเมื่อเทียบกับอีกอันหนึ่ง เพราะฉะนั้นค่าหรือขนาดของแรงดันระหว่างแปรงถ่านทั้งสองอันจึงขึ้นลงหรือแกว่งไปมาระหว่างค่าศูนย์และค่าสูงสุด แต่มันมีขั้วเดียวเสมอ ดังนั้นแรงดันไฟตรงขึ้นลงหรือแกว่งไปมาจึงเป็นเอาต์พุตของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรง
ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในทางปฏิบัติ วงของขดลวดและคอมมิวเตเตอร์จะประกอบเข้าด้วยกันอยู่บนแกนหมุน ซึ่งเรียกว่า อาร์เมเจอร์ และบางครั้งเรียกว่าโรเตอร์ (Rotor) ดังนั้นอาร์เมเจอร์ในเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบนี้จึงเป็นส่วนที่หมุน


แปรงถ่านไฟแลบสุดๆ & กินด้านเดียว - Pantip

pantip.com





11.ขั่วแทรกหรืออินเตอร์โพล


3.ขดอินเตอร์โพล(interpole winding) ประกายไฟที่เกิดขึ้นบนคอมมิวเตเตอร์และก้อนถ่าน สามารถบรรเทาได้ด้วยขด "interpole" เป็นขดที่วางตัวแทรกอยู่ระหว่างขดฟีล ติดตั้งอยู่ที่สเตเตอร์ ต่ออนุกรมกับอาร์เมเจอร์ หน้าที่หลักคือ ลดการอาร์คที่หน้าสัมผัสถ่าน ฟลักซ์ที่ออกมาจะเท่ากับฟลักซ์อาร์เมเจอร์เพื่อหักล้างกันจนหมดไป โดยไม่ส่งผลไปถึงฟลักซ์เมน(ฟลักซ์ฟีล)


12.สาเหตุที่ทำให้ไม่เกิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าอาเมเจอร์รีแอ็กชั่นคอมมิวเตชั่น

ความสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้า (Losses)

หม้อแปลงไฟฟ้านับได้ว่าเป็นเครื่องกลไฟฟ้าที่มีการสูญเสียน้อยที่สุด เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับเครื่องกลไฟฟ้าชนิดอื่น เช่น มอเตอร์ หรือเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เพราะหม้อแปลงไฟฟ้าไม่มีส่วนประกอบใดๆที่เคลื่อนที่ได้ ดังนั้นจึงไม่มีการสูญเสียเนื่องจากความฝืดและแรงต้านจากลม จะมีการสูญเสียเพียงสองส่วนเท่านั้น คือ การสูญเสียในแกนเหล็ก และการสูญเสียในขดลวดตัวนำ

การสูญเสียในแกนเหล็กจะมีค่าไม่สูงนักและมีค่าคงที่ตลอดเวลาไม่ว่าโหลดจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร ส่วนการสูญเสียในขดลวดตัวนำ จะมีค่าเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามการเปลี่ยนแปลงของโหลด ถ้าโหลดมากการสูญเสียในขดลวดตัวนำก็มาก ถ้าโหลดน้อยการสูญเสียในขดลวดตัวนำก็น้อย

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

(a) รูปอย่างง่ายของหม้อแปลงขณะที่มีโหลด

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

(b) ผังวงจร

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

(c) รูปเวกเตอร์ปฐมภูมิ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

(d) รูปเวกเตอร์ทุติยภูมิ

 รูปแสดงหลักการทำงานของหม้อแปลงกับแรงดันขณะที่มีโหลด และรูปเวกเตอร์ของกระแส

13.การคำนวณหาค่าแรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำ

งานพื้นฐานวงจรไฟฟ้าและการวัด

แรงดันไฟฟ้าที่สมบูรณ์ต้องประกอบไปด้วย 3 สิ่งดังนี้
(1). แรงดันไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โวลล์ (V)
(2).กระแสไฟฟ้า มีหน่วยเป็น แอมแปร์ (A)

(3).ตัวนำ (ความต้านทาน) มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ω)

การแปลงหน่วย

1 A = 1,000 mA หรือ  1,000,000 µA

Ω = 1,000 K

ไฟฟ้ามี 2 ชนิด

(1). ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

(2). ไฟฟ้าที่มนุษย์สร้างขึ้น ประกอบด้วย

     2.1 ไฟฟ้ากระแสตรง ( Direct Current )  (DC)

     2.2 ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Cuttent) (AC)

กฎของโอห์ม

(1). แรงดันไฟฟ้า Volt,V เป็นแหล่งจ่ายพลังงานภายนอกทำให้เกิดกระแสไฟฟ้า

(2). โหลด คือ ภาระที่ทำให้เกิดค่าต้านทานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น โอห์ม (Ohm,) เป็นปฎิภาคผกผันค่ากระแสไฟฟ้า

(3). กระแสไฟฟ้า (Ampere,A) อัตราส่วนระหว่างค่าของแรงดันไฟฟ้าที่มีค่าต่อค่าความต้านทานไฟฟ้า

จอร์จ ไซมอน โอห์ม กล่าวว่า ปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าเมื่อผ่านค่าความต้านทานไฟฟ้าย่อมทำให้เกิดค่าของแรงดันไฟฟ้า

รูปวงจร

***สรุป ปริมาณการไหลของกระแสไฟฟ้าเมื่อไหลผ่านความต้านทาน ย่อมทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้ากำหนดเป็นสูตรการหาค่าต่าง ๆ ในวงจรไฟฟ้าได้ดังนี้

(1).  E = IR (I*R)

คือ การหาค่าแรงดันไฟฟ้า

(2).  I  = E

            R

คือ การค่าของกระแสไฟฟ้า เมื่อทราบค่า E และ I

(3). R = E

           I

การหาค่าความต้านทานไฟฟ้า เมื่อทราบค่า E และ I

*** สรุป สูตรการคำนวณกฎของโอห์มเมื่อประกอบด้วย E,I,R

กำลังไฟฟ้า (Electical Power)

หมายถึง อัตราการเปลี่ยนแปลงพลังงาน หรือ อัตราของการทำงานจากรูปแบบหนึ่งไปอีกรูปแบบหนึ่ง เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ P และหน่วยเป็น วัตต์ Walt (W)

***ดังนั้น กำลังไฟฟ้าเป็นผลคูณของแรงดันไฟฟ้ากับกระแสไฟฟ้า

P = EI   Walt (W)

เมื่อ  P = กำลังไฟฟ้ามีหน่วยเป็นวัตต์         (W)

        E = แรงดันไฟฟ้ามีหน่วยเป็นโวล์ล     (V)

        I =  กระแสไฟฟ้ามีหน่วยเป็นแอมแปร์ (A)

สามารถอ้างอิงจากกฎของโอห์ม

E = IR

P = (IR)I

ดังนั้น P = I2R  Walt (W)

และ    I =  E   แทนค่า I จะได้

                 R

          P = E * E

                       R

ดังนั้น P = E  Walt (W)

                 R

การแปลงหน่วยของวัตต์

1,000 วัตต์ = 1 กิโลวัตต์ (kw)

1,000,000 วัตต์ = 1 เมกะวัตต์ (mw)

1,000 กิโลวัตต์ = 1 เมกะวัตต์ (mw)

746 วัตต์ = 1 แรงม้า (HP)

***ดังนั้น การทฤษฎีของกฎของโอห์มสามารถสรุปสูตรผลของการคำนวณได้ดังนี้

พลังงานไฟฟ้า (Electinal Energy)

พลังงานไฟฟ้า คือ กำลังไฟฟ้าที่ถูกนำไปใช้ในช่วงระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง ของปริมาณไฟฟ้าที่หมดซึ่งก็คือ ผลคูณของกำลังไฟฟ้า กับระยะเวลาที่ใช้เป็นวันที่เป็นแทนสัญลักษณ์ W โดยจะมีความสัมพันธ์ของพลังงานไฟฟ้าและเวลาดังนี้

W = Pt

เมื่อ  W คือ พลังงานไฟฟ้า มีหน่วยเป็น วัตต์/วินาที (W/S)
         P  คือ กำลังไฟฟ้า มีหน่วยเป็นวัตต์ (W)
         t   คือ เวลา มีหน่วยเป็นวินาที (S)

หน่วยและการเปลี่ยนหน่วยวัดพลังงานไฟฟ้า

(1). วัตต์ - วินาที (Walt - Second ) คือ พลังงานไฟฟ้าที่เกิดจากกำลังไฟ 1 วัตต์ ในเวลา 1 วินาที หรือ พลังงานไฟฟ้า 1 จูล ( Joule)
(2). วัตต์ - ชั่วโมง (Walt - Hour ) คือ พลัังงานไฟฟ้าเกิดจากกำลัไฟฟ้า 1 วัตต์ใน 1 ชั่วโมง
(3). กิโลวัตต์ - ชั่วโมง (Kilowalt - Hour ) คือ พลัังงานไฟฟ้าที่เกิดจากกำลังไฟฟ้า 1,000 วัตต์ ในเวลา 1 ชั่วโมง(Hour) หรือ 1 หน่วย หรือ 1 ยูนิต (Unit)ตัวอย่าง1  มีบ้านหลังหนึ่งใช้หลอดไฟขนาด 60W จำนวน 5 หลอด ใช้งานวันละ 6 ชั่วโมง จะชำระไฟฟ้าวันละเท่าไร ถ้าคิดคา่ไฟฟ้ายูนิตละ 3 บาท
วิธีทำ
          จากสมการ W = Pt
          แทนค่า      = 60*5*6
                            = 1,800 walt/h 
                 หรือ    = 1.8 kw/h
                 หรือ    = 1.8 unit
ถ้าคิิดค่าไฟฟ้ายูนิตละ 3 บาท
                          = 1.8*3 บาท
                          = 5.40 บาท/วัน
***ดังนั้น ต้องชำระค่าำไฟฟ้าต่อวันคือ 5.40 บาท/วัน

ตัวอย่าง 2 บ้านพักหลังหนึ่งมีเครื่องใช้ไฟฟ้าดังนี้
1. หม้อหุงข้าว ขนาด 60 W ใช้งานวันละ 30 นาที
2. ตู้เย็นขนาด 150 W ใช้งานวันละ 24 h
3. โทรทัศน์ขนาด 100 W ใช้งานวันละ 6 h
4. เตารีดขนาด 1,000 W ใช้งานวันละ 1 h
5. พัดลมขนาด 70 W ใช้งานวันละ 4 h
หาค่าภายในเวลา 1 เดือน บ้านหลังนี้จะชำระค่าไฟฟ้าเท่าไร หากการไฟฟ้าคิดค่าไฟฟ้ายูนิตละ 2 บา
วิธีทำ
           = (60*0.5) + (150*24) + (100*6) + (1,000*1) + (70*4)
           = 30 + 3,600 + 600 + 1,000 + 280 
           = 5,510 W
ใน 1 วัน ใช้พลังงานไฟฟ้า
           W = 5,510 W/N
หรือ    W = 551 kw/N หรือ 5.51  ยูนิต
ค่าไฟฟ้า ยูนิต ละ 2 บาท  = 5.51 * 2
                                         = 11.02/วัน
ภายใน 1 เดือน                 = 11.02 * 30  วัน
                                         = 330.6 บาท / เดือน 
***ดังนั้น ต้องชำระค่าไฟฟ้าต่อเดือนละ 330.6 บาท/เืดือน

14.ประสิทธิภาพของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

ประสิทธิภาพและการสูญเสียของมอเตอร์

ประสิทธิภาพของมอเตอร์ขึ้นอยู่กับค่าของการสูญเสียที่เกิดขึ้นในตัวมอเตอร์ โดยทั่วๆ ไปแล้วการสูญเสียในมอเตอร์จะมาจาก 2 ส่วนคือ

  1. ค่าการสูญเสียขณะที่มอเตอร์ไม่มีภาระ (No-Load Losses) เป็นการสูญเสียที่มีค่าคงที่และไม่ขึ้นกับโหลดของมอเตอร์เป็นการสูญเสียที่แกนเหล็ก (Core loss) การสูญเสียจากแรงลมและแรงเสียดทาน (Windage and Friction loss)
  2. ค่าการสูญเสียขณะมีภาระ (Load Losses) ซึ่งเป็นการสูญเสียที่สเตเตอร์ (Stator loss) โรเตอร์ (Rotor loss) และจากภาระการใช้งาน (Stray loss)

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

กราฟแสดงประสิทธิภาพของมอเตอร์แบบเหนี่ยวนำเทียบกับภาระ

เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดควรให้มอเตอร์ทำงานที่ประมาณ 80-100%ของพิกัด แต่อย่าให้เกินพิกัด เพราะจะทำให้เกิดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นอาจทำให้มอเตอร์เสียหายได้

15.คุณลักษณะของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

มอเตอร์ DC แบบกระตุ้นด้วยไฟฟ้า

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

การทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้แปรงกับโรเตอร์สองขั้วและสเตเตอร์ที่เป็นแม่เหล็กถาวร (ขั้ว "N" หรือขั้ว "S" ที่บ่งไว้บนผิวหน้าด้านในของแม่เหล็ก; ผิวหน้าด้านนอกเป็นขั้วตรงข้าม)

มอเตอร์ DC ที่มีตัวสับเปลี่ยนจะมีหนึ่งชุดของขดลวดที่พันรอบอเมเจอร์ที่ขี่อยู่บนเพลาโรเตอร์ เพลายังแบกตัวสับเปลี่ยนอยู่ด้วย ตัวสับเปลี่ยนจะทำตัวเป็นสวิตช์ไฟแบบหมุนที่ใช้งานได้นานปีในการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสตามช่วงเวลาที่ไหลในขดลวดของโรเตอร์ในขณะที่เพลาหมุน ดังนั้น ทุกๆมอเตอร์ DC ที่ใช้แปรงจะมีกระแส AC ไหลผ่านขดลวดที่กำลังหมุน กระแสจะไหลผ่านหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งคู่ของแปรงที่แตะอยู่กับตัวสับเปลี่ยน; แปรงเชื่อมต่อแหล่งจ่ายไฟภายนอกกับอเมเจอร์ที่กำลังหมุน

อเมเจอร์ที่กำลังหมุนประกอบด้วยหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งคอยล์ของขดลวดที่พันรอบแกนเหล็กอ่อนเคลือบฉนวน กระแสจากแปรงไหลผ่านตัวสับเปลี่ยนและขดลวดหนึ่งขดของอเมเจอร์ทำให้อเมเจอร์เป็นแม่เหล็กชั่วคราว (แม่เหล็กที่เกิดจากไฟฟ้า) สนามแม่เหล็กที่ผลิตโดยอเมเจอร์จะทำปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กอยู่กับที่ ที่ผลิตโดยแม่เหล็กถาวรหรือจากขดลวดสร้างสนามอื่นๆอย่างใดอย่างหนึ่ง แรงระหว่างสองสนามแม่เหล็กมีแนวโน้มที่จะหมุนเพลาของมอเตอร์ ตัวสับเปลี่ยนจะสลับกระแสไฟที่ให้กับคอยล์ในขณะที่โรเตอร์หมุน เป็นการรักษาขั้วแม่เหล็กของโรเตอร์ให้อยู่ในแนวที่สอดคล้องกับขั้วแม่เหล็กของสเตเตอร์ เพื่อให้โรเตอร์ไม่เคยหยุดนิ่ง (เช่นเข็มทิศที่ไม่หมุนไปทางอื่น) แต่ช่วยให้หมุนตราบเท่าที่พลังงานถูกจ่ายให้

มอเตอร์ DC แบบใช้ตัวสับเปลี่ยนแบบคลาสสิกมีหลายข้อจำกัด เนื่องมาจากความจำเป็นสำหรับแปรงที่ต้องกดกับตัวสับเปลี่ยน แรงกดนี้จะสร้างแรงเสียดทานและจะเกิดประกายไฟในขณะที่แปรงต่อวงจรและตัดวงจรกับคอยล์ของโรเตอร์ตอนที่แปรงเลื่อนผ่านรอยต่อที่เป็นฉนวนระหว่างเซ็กชั่นหนึ่งไปอีกเซ็กชั่นหนึ่ง หรือแปรงอาจไปช๊อตเซ็กชั่นที่อยู่ติดกัน นอกจากนี้ การเหนี่ยวนำของขดลวดโรเตอร์ทำให้เกิดแรงดันตกคร่อมในแต่ละขดเพิ่มขึ้นเมื่อวงจรของมันจะเปิดออก ซึ่งไปเพิ่มประกายไฟของแปรง ประกายไฟนี้จะจำกัดความเร็วสูงสุดของมอเตอร์ เนื่องจากประกายไฟที่เร็วมากเกินไปจะร้อนมากเกินไป, จะกัดกร่อน หรือแม้กระทั่งละลายตัวสับเปลี่ยน ความหนาแน่นของกระแสต่อหน่วยพื้นที่ของแปรง รวมทั้งค่าตวามต้านทานจะจำกัดเอาต์พุตของมอเตอร์ การต่อและการจากของหน้าสัมผ้สยังสร้างคลื่นรบกวน; ประกายไฟย้งสร้าง Radio Frequency Interference (RFI) ในที่สุด แปรงจะเสื่อมสภาพ และต้องเปลี่ยนและตัวสับเปลี่ยนเองก็เสื่อมสภาพได้และต้องการการบำรุงรักษา (สำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่) หรือเปลี่ยน (สำหรับมอเตอร์ขนาดเล็ก) ชุดใหญ่ของตัวสับเปลี่ยนของมอเตอร์ขนาดใหญ่เป็นชิ้นส่วนที่มีราคาแพงและต้องใช้ความแม่นยำในการประกอบหลายชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน สำหรับมอเตอร์ขนาดเล็ก ปกติแล้วตัวสับเปลี่ยนจะประกอบมาเป็นส่วนหนึ่งของโรเตอร์ ดังนั้นถ้าต้องเปลี่ยนตัวสับเปลี่ยน ต้องเปลี่ยนโรเตอร์ทั้งตัว

ในขณะที่ตัวสับเปลี่ยนส่วนใหญ่เป็นรูปทรงกระบอก บางตัวยังเป็นจานแบน ประกอบด้วยหลายเซ็กเมนท์ (โดยทั่วไปอย่างน้อยสาม) ติดตั้งอยู่บนฉนวน

แปรงขนาดใหญ่ต้องการพื้นที่สัมผัสขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มกำลังของมอเตอร์อย่างเต็มที่ แต่แปรง ขนาดเล็กต้องการหน้าสัมผัสเล็กเพื่อเพิ่มความเร็วของมอเตอร์ให้เต็มที่โดยที่แปรงไม่กระดอนและเกิดประกายไฟมากเกินไป (แปรงขนาดเล็กยังราคาถุกกว่า) สปริงของแปรงที่แข็งหน่อยยังสามารถใช้เพื่อให้แปรงทำงานหนักที่ความเร็วสูงขึ้นแต่ด้วยค่าใช้จ่ายที่เป็นการสูญเสียจากแรงเสียดทานสูงขึ้น (ประสิทธิภาพต่ำลง) และเร่งให้แปรงและตัวสับเปลี่ยนสึกหรอเร็วขึ้น เพราะฉะนั้น การออกแบบแปรงของมอเตอร์ DC ต้องแลกเปลี่ยนระหว่างกำลังงาน ความเร็ว ประสิทธิภาพ และการสึกหรอ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

A: shunt B: series C: compound f = field coil

มอเตอร์ DC แบบใช้แปรงมีห้าประเภทดังต่อไปนี้:

  1. แบบขดลวดพันขนาน
  2. แบบพันอนุกรม
  3. แบบผสม มีสองแบบได้แก่:
    1. ผสมสะสม
    2. ผสมที่แตกต่างกัน
  4. แบบแม่เหล็กถาวร (ไม่มีรูปแสดง )
  5. Separately excited (ไม่มีรูปแสดง)

มอเตอร์ DC แบบแม่เหล็กถาวร

บทความหลัก: Permanent-magnet electric motor

มอเตอร์แม่เหล็กถาวรไม่ได้มีสนามแม่เหล็กจากขดลวดบนสเตเตอร์ แต่อาศัยสนามจากแม่เหล็กถาวรแทนในการปฏิสัมพันธ์กับสนามแม่เหล็กของโรเตอร์เพื่อสร้างแรงบิด ขดลวดชดเชยทึ่ต่ออนุกรมกับอเมเจอร์อาจถูกนำมาใช้ในมอเตอร์ขนาดใหญ่เพื่อปรับปรุงการสับเปลี่ยนภายใต้โหลด เนื่องจากสนามนี้มีค่าคงที่ จึงใช้ปรับความเร็วไม่ได้ สนามแม่เหล็กถาวร (สเตเตอร์) มีความสะดวกในมอเตอร์ขนาดจิ๋ว ที่จะกำจัดการบริโภคพลังงานของขดลวด มอเตอร์ DC ขนาดใหญ่ส่วนมากเป็นแบบ"ไดนาโม" ที่มีขดลวดในสเตเตอร์ ในอดีต แม่เหล็กถาวรไม่สามารถรักษา flux ที่สูงไว้ได้ถ้าถูกถอดออกเป็นชิ้นๆ; ขดลวดจึงจำเป็นเพื่อให้ได้ปริมาณของ flux ตามต้องการ อย่างไรก็ตาม แม่เหล็กถาวรขนาดใหญ่จะมีราคาแพง ทั้งอันตรายและยากที่จะประกอบ; ขดลวดจึงเป็นที่นิยมสำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่

เพื่อลดน้ำหนักและขนาด มอเตอร์แม่เหล็กถาวรขนาดจิ๋วอาจใช้แม่เหล็กพลังงานสูงที่ทำด้วย สารนีโอดิเมียม หรือสารเชิงกลยุทธ์อื่นๆ เช่น ส่วนใหญ่เป็นโลหะผสม นีโอดิเมียม-เหล็ก-โบรอน ด้วยความหนาแน่นที่สูงกว่าของฟลักซ์ของสารเหล่านี้ มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้แม่เหล็กถาวร พลังงานสูงมีความสามารถในการแข่งขันน้อยกว่ามอเตอร์ไฟฟ้าแบบซิงโครนัสที่ถูกออกแบบอย่างดีสุดแบบ single feed และมอเตอร์แบบเหนี่ยวนำ มอเตอร์ขนาดจิ๋วมีโครงสร้างคล้ายกับ โครงสร้างที่แสดงในภาพประกอบ ยกเว้นว่าพวกมันมีอย่างน้อยสามขั้วโรเตอร์ (เพื่อให้แน่ใจในการสตาร์ทโดยไม่คำนึงถึงตำแหน่งของโรเตอร์) และตัวเครื่องด้านนอกจะเป็นท่อเหล็กที่เชื่อมโยงทางแม่เหล็กกับภายนอกของแม่เหล็กสนามรูปโค้ง

มอเตอร์ DC แบบไม่ใช้แปรงแก้ไข

บทความหลัก: Brushless DC electric motor (BLDC)

บางส่วนของปัญหาของมอเตอร์ DC ที่ใช้แปรงจะถูกตัดทิ้งไปในมอเตอร์แบบ BLDC ซึ่งแทนที่ "สวิทช์หมุน"หรือตัวสับเปลี่ยนแบบกลไก ไปเป็นแบบสวิทช์อิเล็กทรอนิกส์ภายนอก ที่จะ synchronise กับตำแหน่งของโรเตอร์ มอเตอร์แบบ BLDC มักจะมีประสิทธิภาพประมาณ 85-90% และสูงได้ถึง 96.5% ในขณะที่ มอเตอร์กระแสตรงที่ใช้ brushgear มักจะมีประสิทธิภาพเพียง 75-80% เท่านั้น

รูปคลื่นสี่เหลี่ยมคางหมูของมอเตอร์แบบ BLDC ซึ่งเป็น back-emf จะได้บางส่วนมาจากขดลวดของสเตเตอร์ และบางส่วนได้จากการจัดตำแหน่งของแม่เหล็กถาวรของโรเตอร์ เซนเซอร์แบบ Hall Effect จะถูกติดตั้งอยู่บนขดลวดของสเตเตอร์เพื่อการตรวจจับตำแหน่งโรเตอร์ เพื่อให้วงจรควบคุมจ่ายกระแสให้ชุดเฟสของขดลวดชุดใดชุดหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งชุดเพื่อให้โรเตอร์หมุนตามความเร็วที่ต้องการ มอเตอร์ DC ที่มีตัวสับเปลี่ยนแบบอิเล็กทรอนิกส์จะเป็นเหมือนมอเตอร์ DC ที่เอาข้างในออกข้างนอก

BLDC มอเตอร์ถูกใช้กันโดยทั่วไปในที่ซึ่งการควบคุมความเร็วอย่างแม่นยำเป็นสิ่งที่จำเป็น อย่างเช่นในดิสก์ไดรฟ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องบันทึกวิดีโอเทป, ไดรฟ์ภายใน CD, CD - ROM ( ฯลฯ ) และกลไกภายในผลิตภัณฑ์สำนักงาน เช่นพัดลม, เครื่องพิมพ์เลเซอร์ และ เครื่องถ่ายเอกสาร. พวกมันมีข้อดีหลายอย่างมากกว่ามอเตอร์ธรรมดา เช่น:

  • เมื่อเทียบกับพัดลม โดยใช้มอเตอร์ AC ทั่วไป มอเตอร์แบบ BLDC มีขดลวดอยู่บนสเตเตอร์ที่ติดอยู่กับโครงสร้างของมอเตอร์ ทำให้การระบายอากาศทำได้จากภายนอก การทำงานในอากาศที่เย็นจึงทำให้มีประสิทธิภาพมากกว่า ตัวมอเตอร์สามารถทำเป็นโครงสร้างปิด ทำให้ไม่มีฝุ่นละอองผ่านเข้าไปได้ ทำให้สามารถควบคุมการทำงานได้แม่นยำตลอดอายุการใช้งาน
  • เนื่องจากไม่มีตัวสับเปลี่ยนที่สึกหรอได้ อายุการใช้งานของมอเตอร์ BLDC จึงยาวนานกว่ามอเตอร์ที่ใช้แปรงและตัวสับเปลี่ยนอย่างมีนัยสำคัญ ตัวสับเปลี่ยนยังสร้างคลื่นรบกวนและเมื่อไม่มีตัวสับเปลี่ยนและแปรง มอเตอร์ BLDC อาจถูกใช้ในอุปกรณ์ที่ไวต่อสัญญาณไฟฟ้า เช่นเครื่องเสียงและคอมพิวเตอร์
  • เซนเซอร์ Hall Effect ยังสามารถใช้ส่งสัญญาณของเครื่องวัดวามเร็วสำหรับการควบคุมแบบ closed-loop (ควบคุมเซอร์โว) ในพัดลม สัญญาณเครื่องวัดวามเร็วถูกนำมาใช้เป็นสัญญาณ "Fan OK" รวมทั้งให้สัญญาณ feedback ของความเร็วที่มอเตอร์กำลังหมุนอยู่
  • มอเตอร์สามารถ synchronise กับสัญญาณนาฬิกาภายในและภายนอกได้ง่ายมาก เพื่อควบคุมความเร็วได้อย่างแม่นยำ
  • BLDC มอเตอร์ไม่มีโอกาสที่จะเกิดประกายไฟ, ซึ่งแตกต่างจากมอเตอร์ที่ใช้แปรง, ทำให้มัน เหมาะกับสภาพแวดล้อมที่มีสารเคมีระเหย และเชื้อเพลิง นอกจากนี้ ประกายไฟยังสร้างโอโซน ซึ่งสามารถสะสมอยู่ในอาคารที่มีการระบายอากาศไม่ดี ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัย
  • BLDC มอเตอร์มักจะใช้ในอุปกรณ์ขนาดเล็กเช่น เครื่องคอมพิวเตอร์และโดยทั่วไปจะใช้พัดลมในการกำจัดความร้อนที่ไม่พึงประสงค์
  • มันเสียงเงียบมาก ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบถ้าถูกนำไปใช้ในอุปกรณ์ที่จะมีผลกระทบถ้ามีการสั่นสะเทือน
  • BLDC มอเตอร์ที่ทันสมัยจะมีขนาดกำลังตั้งแต่เศษเสี้ยวของวัตต์จนถึงหลายกิโลวัตต์ มอเตอร์ BLDC ขนาดใหญ่ที่มีกำลังสูงถึงประมาณ 100 กิโลวัตต์ ถูกใช้ในรถไฟฟ้า พวกมันยังมีประโยชน์อย่างมีนัยสำคัญเครื่องบินไฟฟ้าประสิทธิภาพสูง

มอเตอร์แรงต้านแม่เหล็กแก้ไข

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

มอเตอร์แรงต้านแม่เหล็กแบบ 6/4 (6 stator 4 rotor)

SRM ไม่มีแปรงหรือแม่เหล็กถาวรและโรเตอร์ก็ไม่มีกระแสไฟฟ้า แต่แรงบิดเกิดจากแนวไม่ตรงกันเล็กน้อยของขั้วแม่เหล็กบนโรเตอร์ กับขั้วแม่เหล็กบนสเตเตอร์ โรเตอร์จะวางตัวเองให้อยู่ในแนวสนามแม่เหล็กของสเตเตอร์ ในขณะที่สเตเตอร์ถูก energize โดยกระแสในขดลวด

flux แม่เหล็กที่สร้างขึ้นโดยขดลวดจะไปตามเส้นทางของแรงต้านแม่เหล็ก(อังกฤษ: magnetic reluctance)ที่มีค่าน้อยที่สุด(เหมือนกระแสไฟฟ้าที่ไหลในทิศทางที่มีความต้านทานน้อยที่สุด) นั่นคือ flux จะไหลผ่านขั้วของโรเตอร์ที่อยู่ใกล้กับขั้วของสเตเตอร์ที่ถูก energize มากที่สุด ขั้วของโรเตอร์นั้นจะกลายเป็นแม่เหล็ก และสร้างแรงบิดขึ้น ในขณะที่โรเตอร์หมุน ขดลวดชุดต่อไปก็จะถูก energize ไปเรื่อยๆ ทำให้โรเตอร์ยังคงหมุนอยู่ตลอด

SRMs ในปัจจุบันยังคงถูกใช้ในเครื่องไฟฟ้าบางอย่าง

มอเตอร์ AC-DC สากลแก้ไ

มอเตอร์สากลต้นทุนต่ำที่ทันสมัยจากเครื่องดูดฝุ่น ขดลวดสนามบนสเตเตอร์มีสีทองแดงเข้มทั้งสองด้าน, แกนเคลือบของโรเตอร์เป็นโลหะสีเทา กับสล็อตสีเข้ม สำหรับพันขดลวด ตัวสับเปลี่ยนอยู่ด้านหน้า (ซ่อนบางส่วน)ได้กลายเป็นสีเข้มเนื่องจากการใช้งาน ชิ้นส่วนขึ้นรูปพลาสติกขนาดใหญ่สีน้ำตาลที่อยู่ด้านหน้าใช้รองรับแนวแปรงและแปรง (ทั้งสองด้าน) และแบริ่ง

มอเตอร์สากลเป็นมอเตอร์ชนิดหนึ่งที่ทำงานได้ทั้ง AC และ DC เพาเวอร์ มันเป็นมอเตอร์แบบใช้ตัวสับเปลี่ยนและมีคอยล์สนามของสเตเตอร์ต่อแบบอนุกรมกับคอยล์ของโรเตอร์ผ่านทางตัวสับเปลี่ยน มอเตอร์สากลสามารถทำงานได้ดีบน AC เพราะ กระแสทั้งในสเตเตอร์และในโรเตอร์ (ซึ่งทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก) จะสลับกัน(กลับขั้ว)ทำ synchronize กับแหล่งจ่ายไฟ ทำให้ได้แรงกลเกิดขึ้นในทิศทางของการหมุนอย่างต่อเนื่อง เป็นอิสระต่อทิศทางของแหล่งจ่าย แต่เป็นไปตามตัวสับเปลี่ยนและขั้วของคอยล์สนาม มอเตอร์สากลมีแรงบิดเริ่มต้นสูง หมุนที่ความเร็วสูงและมีน้ำหนักเบา จึงมักถุกนำมาใช้ในอุปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายไปมาได้และใช้ภายในครัวเรือน มันยังง่ายในการควบคุมด้วยอิเล็กทรอนิกส์ ถึงอย่างไรก็ตาม ตัวสับเปลี่ยนมีแปรงที่สึกหรอได้ ดังนั้นมันจึงไม่เหมาะที่จะใช้ในงานที่ต้องทำงานแบบต่อเนื่องนานๆ นอกจากนั้นตัวสับเปลี่ยนยังทำให้เกิดเสียงรบกวนด้วย

ในการทำงานที่ความถี่สายไฟปกติ มอเตอร์สากลมักจะมีขนาดกำลังน้อยกว่า 1000 วัตต์ มอเตอร์สากลหลายตัวยังรวมตัวกันเป็นพื้นฐานสำคัญของมอเตอร์ฉุดลากแบบดั้งเดิม ใน การเดินรถไฟที่ใช้ไฟฟ้า ในการใช้งานแบบนี้ การใช้ AC เพื่อจ่ายกำลังให้มอเตอร์ไฟฟ้าที่แต่เดิมถูกออกแบบมาให้ทำงานบน DC จะนำไปสู่​​การสูญเสียประสิทธิภาพเนื่องจาก eddy current ไปทำให้ชิ้นส่วนที่เป็นแม่เหล็กร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นส่วนขั้วสนามของมอเตอร์ เพราะว่า, สำหรับ DC, อาจมีการใช้เหล็กแข็ง (ไม่เคลือบ) และปัจจุบันไม่ค่อยได้ใช้แล้ว

ความได้เปรียบของมอเตอร์สากลคือ แหล่งจ่ายไฟ AC อาจจะนำมาใช้กับมอเตอร์ ที่มีลักษณะ สมบัติบางอย่างที่เหมือนกับในมอเตอร์ DC โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงบิดช่วงเริ่มต้นที่สูง และการออกแบบที่กะทัดรัดมากถ้าทำงานด้วยความเร็วสูง ด้านลบคือปัญหาการบำรุงรักษาและอายุอันแสนสั้นของตัวสับเปลี่ยน มอเตอร์ดังกล่าวจะใช้ในอุปกรณ์เช่น เครื่องผสมอาหารและ เครื่องมือไฟฟ้า ซึ่งจะใช้เป็นระยะๆเท่านั้น และมักจะมีความต้องการแรงบิดเริ่มต้นสูง บนขดลวดสนามอาจมี tap ได้หลายจุดเพื่อปรับความเร็วเป็นขั้นบันได เครื่องปั่นน้ำผลไม้ในครัวเรือน ที่โฆษณาว่ามีหลายความเร็ว มีบ่อยๆที่มีขดลวดสนามที่มีหลาย tap และไดโอด เพื่อให้แทรกอนุกรมเพื่อเรียงกระแสแบบครึ่งคลื่นจ่ายให้กับมอเตอร์ มอเตอร์สากลยังถูกใช้เป็นตัวควบคุมความเร็วอิเล็กทรอนิกส์เพื่อเป็นทางเลือกที่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับอุปกรณ์เช่นเครื่องซักผ้าตามบ้าน มอเตอร์สามารถหมุนถังซัก(ทั้งเดินหน้าและถอยหลัง)โดยการเปลี่ยนขดลวดสนามเมื่อเทียบกับอเมเจอร์

ในขณะที่ มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก (SCIM) จะไม่สามารถหมุนเพลาเร็วกว่าความถี่ สายไฟฟ้า, มอเตอร์สากลสามารถวิ่งด้วยความเร็วที่สูงกว่ามาก สิ่งนี้จะทำให้มีประโยชน์สำหรับเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่นปั่นน้ำผลไม้ เครื่องดูดฝุ่น และเครื่องเป่าผม ที่ต้องการความเร็วสูงและ น้ำหนักเบา นอกจากนั้นยังมีใช้กันทั่วไปใน เครื่องมือไฟฟ้าแบบพกพาเช่น สว่าน, เครื่องขัด, เลื่อยกลมและเลื่อยจิ๊กซอ ซึ่งลักษณะสมบัติของมอเตอร์แบบนี้จะทำงานได้ดี เครื่องดูดฝุ่นและมอเตอร์ ตัดวัชพืชจำนวนมากใช้ความเร็วเกิน 10,000 รอบต่อนาที ขณะที่หลายเครื่องบดขนาดเล็กที่คล้ายกันใช้ความเร็วเกิน 30,000 รอบต่อนาที

16.การนำไปใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

การทำงานของมอเตอร์ กระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าในขดลวดที่พันรอบเหล็กอ่อนบนแกนหมุน(โรเตอร์) ทำให้เกิดอำนาจแม่เหล็กไปดูดหรือผลักกับอำนาจแม่เหล็กถาวรบนตัวนิ่ง(สเตเตอร์) หรือป้อนกลับกัน หรือป้อนทั้งสองที่

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

มอเตอร์ไฟฟ้าแบบต่างๆเมื่อเทียบกับแบตเตอรี 9V

  • มอเตอร์ไฟฟ้า (อังกฤษ: electric motor) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่แปลงพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล

การทำงานปกติของมอเตอร์ไฟฟ้าส่วนใหญ่เกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างสนามแม่เหล็กของแม่เหล็กในตัวมอเตอร์ และสนามแม่เหล็กที่เกิดจากกระแสในขดลวดทำให้เกิดแรงดูดและแรงผลักของสนามแม่เหล็กทั้งสอง ในการใช้งานตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการขนส่งใช้มอเตอร์ฉุดลาก เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว มอเตอร์ไฟฟ้ายังสามารถทำงานได้ถึงสองแบบ ได้แก่ การสร้างพลังงานกล และ การผลิตพลังงานไฟฟ้า


มอเตอร์ไฟฟ้าถูกนำไปใช้งานที่หลากหลายเช่น พัดลมอุตสาหกรรม เครื่องเป่า ปั๊ม เครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือน และดิสก์ไดรฟ์ มอเตอร์ไฟฟ้าสามารถขับเคลื่อนโดยแหล่งจ่ายไฟกระแสตรง (DC) เช่น จากแบตเตอรี่, ยานยนต์หรือวงจรเรียงกระแส หรือจากแหล่งจ่ายไฟกระแสสลับ (AC) เช่น จากไฟบ้าน อินเวอร์เตอร์ หรือ เครื่องปั่นไฟมอเตอร์ขนาดเล็กอาจจะพบในนาฬิกาไฟฟ้า มอเตอร์ทั่วไปที่มีขนาดและคุณลักษณะมาตรฐานสูงจะให้พลังงานกลที่สะดวกสำหรับใช้ในอุตสาหกรรม มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดใช้สำหรับการใช้งานลากจูงเรือ และ การบีบอัดท่อส่งน้ำมันและปั้มป์สูบจัดเก็บน้ำมันซึ่งมีกำลังถึง 100 เมกะวัตต์ มอเตอร์ไฟฟ้าอาจจำแนกตามประเภทของแหล่งที่มาของพลังงานไฟฟ้าหรือตามโครงสร้างภายในหรือตามการใช้งานหรือตามการเคลื่อนไหวของเอาต์พุต และอื่น ๆ

อุปกรณ์เช่นขดลวดแม่เหล็กไฟฟ้าและลำโพงที่แปลงกระแสไฟฟ้าให้เป็นการเคลื่อนไหว แต่ไม่ได้สร้างพลังงานกลที่ใช้งานได้ จะเรียกถูกว่า actuator และ transducer ตามลำดับ คำว่ามอเตอร์ไฟฟ้านั้น ต้องใช้สร้างแรงเชิงเส้น(linear force) หรือ แรงบิด(torque) หรือเรียกอีกอย่างว่า หมุน (rotary) เท่านั้น

ภาพตัดขวางเพื่อแสดงสเตเตอร์ ของมอเตอร์เหนี่ยวนำ

17.หลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

มอเตอร์ คือ เครื่องกลไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานกล โดยสร้างมอเตอร์จะเหมือนกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงทุกอย่าง จะมีข้อแตกต่างออกไปบ้างก็เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทั้งนี้เพราะว่าสภาพที่นำมาใช้งานแตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น เครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั่วไปจะเป็นชนิดเปิด (open type) กล่าวคือขดลวดอาร์เมเจอร์ และขดลวดสนามแม่เหล็กจะพันเป็นแบบเปิดทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายขึ้นกับลวดอย่างไรก็ตามเครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรงเครื่องเดียว สามารถใช้ทำเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าหรือเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าได้
หลักการทำงานของมอเตอร์
เมื่อมีกระแสไหลในขดลวดตัวนำที่พันอยู่บนแกนอาร์เมเจอร์ จะเกิดสันแรงแม่เหล็กรอบ ๆ ตัวนำ และทำปฏิกิริยากับเส้นแรงแม่เหล็กที่เกิดจากขั้วแม่เหล็กของมอเตอร์ ทำให้เกิดแรงผลักขึ้นบนตัวนำทำให้อาร์เมเจอร์หมุนไปได้
ขดลวดที่มีกระแสไฟฟ้าไหลและวางอยู่บนแกนของอาร์เมเจอร์ โดยวางห่างจากจุดศูนย์กลางเป็นระยะ r กำหนดให้กระแสไฟฟ้าไหลเข้าขดลวดที่ปลาย A และไหลออกที่ปลาย B จากคุณสมบัติของเส้นแรงแม่เหล็กจะไม่ตัดผ่านซึ่งกันและกัน ดังนั้นปริมาณของเส้นแรงแม่เหล็กจะมีจำนวนมากที่ด้านบนของปลาย A จึงทำให้เกิดแรง F1 กดตัวนำ A ลงด้านล่างและขณะเดียวกันที่ปลาย B นั้น เส้นแรงแม่เหล็กจะมีปริมาณมากที่ด้านหน้าทำให้เกิดแรง F2 ดันให้ตัวนำ B เคลื่อนที่ด้านบนของแรง F1 และ F2 นี้เองทำให้อาร์เมเจอร์ของมอเตอร์เกิดการเคลื่อนที่ไปได้
ดังนั้นการทำงานของมอเตอร์จึงขึ้นอยู่กับหลักการที่ว่า เมื่อเอาตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปวางในสนามแม่เหล็ก มันจึงพยายามทำให้ตัวนำเคลื่อนที่ไปในทิศทางที่ตั้งฉากกับสนามแม่เหล็ก
คุณสมบัติของมอเตอร์
คุณสมบัติของมอเตอร์ไฟฟ้าสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ลักษณะ คือ คุณสมบัติทั่วไปและคุณสมบัติทางเทคนิค ดังนี้
คุณสมบัติทั่วไป
เป็นคุณสมบัติประจำตัวของมอเตอร์ ไฟฟ้าแต่ละประเภทที่ควรจะทราบอย่างกว้าง ๆ โดยมิได้เจาะลึกเข้าไปในเนื้อหาเชิงวิชาการแต่อย่างใด ได้แก่ ลักษณะโครงสร้าง ลักษณะงาน ลักษณะของวงจรเช่นคุณสมบัติ ของมอเตอร์อนุกรม คือ ลักษณะโครงสร้าง ประกอบด้วยลวดหนามแม่เหล็กที่มีความต้านทานต่ำมาก (พันด้วยลวดทองแดงเส้นใหญ่น้อยรอบแกนขั้วแม่เหล็ก) ต่อเป็นอนุกรมกับอาร์เมเจอร์และต่อโดยตรงกับแรงดันเมน ลักษณะวงจร A1 – A2 เป็นอาร์เมเจอร์ต่อเป็นอนุกรมกับขดลวดสนามแม่เหล็กชุดอนุกรม D1 – D2 และต่อโดยตรงกับสายเมน L+, L- และลักษณะสนามแม่เหล็กทำให้ความเร็วสูงเมื่อโหลดลง จึงเป็นมอเตอร์ที่หมุนไม่คงที่ความเร็วเปลี่ยนแปลงไปตามโหลดจะเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้เป็นมอเตอร์สตาร์ทเครื่องพ่นน้ำ
คุณสมบัติทางเทคนิค
เป็นคุณสมบัติประจำเครื่องกลไฟฟ้าแต่ละประเภทเช่นเดียวกัน ที่ให้รายละเอียดซึ่งเจาะลึกเข้าไปในเชิงวิชาการ สามารถทดสอบและวัดด้วยเครื่องวัดได้ด้วยวิธีทดลองในห้องปฏิบัติการทดลอง ส่วนใหญ่จะแสดงด้วยกราฟเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าหนึ่งกับอีกค่าหนึ่ง เช่น สมรรถในการกำเนิดแรงเคลื่อนไฟฟ้าของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสดงด้วย “กราฟแม่เหล็กอิ่มตัว (Saturation หรือ Magnetization curve)” สมรรถนะในการจ่ายโหลดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าแสดงด้วย External Characteristic ส่วนคุณสมบัติทางเทคนิคของมอเตอร์จะแสดงด้วย Performance Curve ซึ่งได้แก่ สมรรถนะในการหมุนขับโหลด (Speed load Curves หรือ Speed/load Characteristic) แสดงให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบกับกระแสมอเตอร์ (n = ความเร็วรอบให้อยู่บนแกน Y หรือ Ordinate และ Ia = กระแสอาร์เมเจอร์ให้อยู่บนแกน X หรือ abscissae) หรืออาจให้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วรอบ
(n เ เป็น ordinate หรือ แกน Y) กับทอร์ค หรือกำลังที่หมุนขับงาน ( T= ทอร์ด, P=กำลังวัตต์หรือกิโลวัตต์ ให้อยู่บนแกน x หรือ abscissae ) จุดประสงค์เพื่อต้องการแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของความเร็วรอบของมอเตอร์ที่หมุนขับโหลดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรเมื่อโหลดเปลี่ยนแปลงไป
กฎมือซ้ายสำหรับมอเตอร์
เนื่องจากมีความสัมพันธ์อย่างแน่นอนเกิดขึ้นระหว่าทิศทางของสนามแม่เหล็ก ทิศทางของกระแสไฟฟ้าในตัวนำและทิศทางที่ตัวนำเคลื่อนที่ซึ่งมีความสัมพันธ์ของปริมาณเหล่านี้ให้ตั้งเป็นกฎมอเตอร์ขึ้น ซึ่งกฎนี้ได้นำไปใช้แบบเดียวกันกับกฎมือขวาของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเป็นแต่เพียงใช้มือซ้ายแทนเท่านั้น กฎนี้ ได้แสดงให้เห็นดังรูปที่ 1 และได้กล่าวไว้ดังนี้คือ กลางหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลาง ให้ตั้งฉากซึ่งกันและกัน โดยใช้นิ้วชี้ ชี้ไปตามทิศทางของสนามแม่เหล็ก (Magnotic flux = B) นิ้วกลางชี้ไปตามทิศทางการไหลของกระแสไฟฟ้า (Current = I) แล้วหัวแม่มือจะบอกทิศทางของการเคลื่อนที่ของตัวนำ (Force = F)

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

แรงที่เกิดขึ้นในตัวนำ
การกระทำของแรงที่เกิดขึ้นเป็นตัวนำที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านในขณะที่มันวางอยู่ในสนามแม่เหล็กจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก ความยาวของตัวนำและค่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวนำแรงที่เกิดขึ้นบนตัวนำสามารถหาได้จากสมการ
F = BIL
เมื่อ F = แรงที่เกิดขึ้นบนตัวนำหนึ่งตัว หน่วย นิวตัน

B = ความหนาแน่นสนามแม่เหล็ก หน่วย Wb/m2
I = กระแสที่ไหลในตัวนำ หน่วย แอมแปร์ (A)
L = ความยาวของตัวนำ หน่วย เมตร (m)
แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่อต้าน เกิดขึ้นเนื่องจากเมื่อขดลวดตัวนำหมุนอยู่ในสนามแม่เหล็ก มันจะติดกับเส้นแรงแม่เหล็กแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่เหนี่ยวขึ้นในขดลวด แรงเคลื่อนไฟฟ้าเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นจะมีทิศทางขัดขวางกับแรงเคลื่อนที่ไฟฟ้าที่จ่ายให้มอเตอร์ จึงเรียกว่า “แรงเคลื่อนไฟฟ้าต่อต้าน” (Back e.m.f) ซึ่งมันจะเกิดขึ้นในขดลวดอาร์เมเจอร์เสมอ ดังนั้นแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่มีผลต่อการใช้งานจริง ๆ ในอาร์เมเจอร์จึงมีค่าเท่ากับแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้ลบด้วยแรงเคลื่อน

ไฟฟ้าต้านกลับจึงเขียนสมการได้ดังนี้
Vt = Ia + Eb
หรือ IaRa = Vt - Eb
เมื่อ Eb = แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้านกลับ หน่วยโวลท์ (V)
Vt = แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ หน่วยโวลท์ (V)
Ia = กระแสที่ไหลในอาร์เมเจอร์ หน่วยแอมแปร์ (A)
Ra = ความต้านทานของขดลวดในอาร์เมเจอร์ หน่วยโฮม ()
สมการแรงเคลื่อนไฟฟ้าของมอเตอร์
จากวงจรสามารถเขียนเป็นสมการได้คือ
Vt = Eb + IaRa
เมื่อ Vt = แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่จ่ายให้กับมอเตอร์ หน่วยโวลท์ (V)
Eb = แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ต้านกลับ หน่วยโวลท์ (V)
IaRa = แรงเคลื่อนไฟฟ้าตกคร่อมในอาร์เมเจอร์ หน่วยโวลท์ (V)
กำลังที่เกิดขึ้นในมอเตอร์
จากสมการแรงเคลื่อนไฟฟ้าของมอเตอร์
Vt = Eb + IaRa
นำเอาค่า Ia คูณตลอดเพื่อหา Power จะได้คือ
Vt Ia = Ia Eb+ Ia2Ra
จะได้ Vt Ia = กำลังงานจ่ายให้กับมอเตอร์ หน่วยวัตต์ (W)
Eb Ia = กำลังงานที่เกิดขึ้นจากอาร์เมเจอร์ หน่วยวัตต์ (W)
Ia2Ra = กำลังงานการสูญเสียที่เกิดขึ้นที่อาร์เมเจอร์ หน่วยวัตต์ (W

18.ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
        1.ความหมายและชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

มอเตอร์ไฟฟ้าเป็นอุปกรณ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในโรงงานต่างเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ควบคุมเครื่องจักรกลต่างๆในงานอุตสาหกรรมมอเตอร์มีหลายแบบหลายชนิดที่ใช้ให้เหมาะสมกับงานดังนั้นเราจึงต้องทราบถึงความหมายและชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าตลอดคุณสมบัติการใช้งานของมอเตอร์แต่ละชนิดเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งานของมอเตอร์นั้นๆและสามารถเลือกใช้งานให้เหมาะสมกับงานออกแบบระบบประปาหมู่บ้านหรืองานอื่นที่เกี่ยวข้องได้

        1.1ความหมายของมอเตอร์และการจำแนกชนิดของมอเตอร์ 

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
มอเตอร์ไฟฟ้า (MOTOR) หมายถึงเป็นเครื่องกลไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงพลังงาน
ไฟฟ้ามาเป็นพลังงานกล มอเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้พลังงานไฟฟ้าเปลี่ยนเป็นพลังงานกลมีทั้งพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับและพลังงานไฟฟ้ากระแสตรง


        1.2ชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้า

 มอเตอร์ไฟฟ้าแบ่งออกตามการใช้ของกระแสไฟฟ้าได้ 2 ชนิดดังนี้
     1.2.1 มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (Alternating Current Motor) หรือเรียกว่าเอ.ซี มอเตอร์ (A.C. MOTOR) การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้าสลับแบ่งออกได้ดังนี้
          มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งออกเป็น3 ชนิดได้แก่
               1.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 1 เฟส หรือเรียกว่าซิงเกิลเฟสมอเตอร์ (A.C. Sing Phase)
               - สปลิทเฟส มอเตอร์( Split-Phase motor)
               - คาปาซิเตอร ์มอเตอร์ (Capacitor motor)
               - รีพัลชั่นมอเตอร์ (Repulsion-type motor)
               - ยูนิเวอร์แวซลมอเตอร์ (Universal motor)
               - เช็ดเดดโพล มอเตอร์ (Shaded-pole motor)
               2.มอเตอร์ไฟฟ้าสลับชนิด 2 เฟสหรือเรียกว่าทูเฟสมอเตอร์ (A.C.Two phas Motor)
               3.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับชนิด 3 เฟสหรือเรียกว่าทีเฟสมอเตอร์ (A.C. Three phase Motor)
     1.2.2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Direct Current Motor ) หรือเรียกว่าดี.ซี มอเอตร์ (D.C. MOTOR) การแบ่งชนิดของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกได้ดังนี้ 
               มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบ่งออกเป็น 3 ชนิดได้แก่
               1.มอเตอร์แบบอนุกรมหรือเรียกว่าซีรีส์มอเตอร์ (Series Motor) 
               2.มอเตอร์แบบอนุขนานหรือเรียกว่าชันท์มอเตอร์ (Shunt Motor)
               3.มอเตอร์ไฟฟ้าแบบผสมหรือเรียกว่าคอมเปาวด์มอเตอร์ (Compound Motor) 

        2.มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

          มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง เป็นต้นกำลังขับเคลื่อนที่สำคัญอย่างหนึ่งในโรงงานอุตสาหกรรมเพราะมีคุณสมบัติที่ดีเด่นในด้านการปรับความเร็วได้ตั้งแต่ความเร็วต่ำสุดจนถึงสูงสุด นิยมใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรม เช่นโรงงานทอผ้า โรงงานเส้นใยโพลีเอสเตอร์ โรงงานถลุงโลหะหรือให้ เป็นต้นกำลังในการขับเคลื่อนรถไฟฟ้า เป็นต้นในการศึกษาเกี่ยวกับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงจึงควรรู้จัก อุปกรณ์ต่าง ๆ ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและเข้าใจถึงหลักการทำงานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบต่าง ๆ 

        2.1 ส่วนประกอบของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่ส่วนประกอบที่สำคัญ 2 ส่วนดังนี้ 
            1 ส่วนที่อยู่กับที่หรือที่เรียกว่าสเตเตอร์ (Stator) ประกอบด้วย

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

  1) เฟรมหรือโยค (Frame Or  Yoke) เป็นโครงภายนอกทำหน้าที่เป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็กจากขั้ว
เหนื้อไปขั้วใต้ให้ครบวงจรและยึดส่วนประกอบอื่นๆให้แข็งแรงทำด้วยเหล็กหล่อหรือเหล็กแผ่นหนาม้วนเป็นรูปทรงกระบอก

          ขั้วแม่เหล็ก (Pole) ประกอบด้วย 2 ส่วนคือแกนขั้วแม่เหล็กและขดลวด

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

ภาพขดลวดพันอยู่รอบขั้วแม่เหล็ก

               ส่วนแรกแกนขั้ว (Pole Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางๆ กั้นด้วยฉนวนประกอบกันเป็นแท่งยึดติดกับเฟรม ส่วนปลายที่ทำเป็นรูปโค้งนั้นเพื่อโค้งรับรูปกลมของตัวโรเตอร์เรียกว่าขั้วแม่เหล็ก (Pole Shoes) มีวัตถุประสงค์ให้ขั้วแม่เหล็กและโรเตอร์ใกล้ชิดกันมากที่สุดเพื่อให้เกิดช่องอากาศน้อยที่สุด เพื่อให้เกิดช่องอากาศน้อยที่สุดจะมีผลให้เส้นแรงแม่เหล็กจากขั้วแม่เหล็กจากขั้วแม่เหล็กผ่านไปยังโรเตอร์มากที่สุดแล้วทำให้เกิดแรงบิดหรือกำลังบิดของโรเตอร์มากเป็นการทำให้มอเตอร์ ์์มีกำลังหมุน (Torque)
 

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

ลักษณะของขั้วแม่เหล็ก

               ส่วนที่สอง ขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field Coil) จะพันอยู่รอบๆแกนขั้วแม่เหล็กขดลวดนี้ทำหน้าที่รับกระแสจากภายนอกเพื่อสร้างเส้นแรงแม่เหล็กให้เกิดขึ้น และเส้นแรงแม่เหล็กนี้จะเกิดการหักล้างและเสริมกันกับสนามแม่เหล็กของอาเมเจอร์ทำให้เกิดแรงบิดขึ้น

        2 ตัวหมุน (Rotor) ตัวหมุนหรือเรียกว่าโรเตอร์ตัวหมุนนี้ทำให้เกิดกำลังงานมีแกนวางอยู่ในตลับลูกปืน (Ball Bearing) ซึ่งประกอบอยู่ในแผ่นปิดหัวท้าย (End Plate) ของมอเตอร์

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
ตัวโรเตอร์ประกอบด้วย 4 ส่วนด้วยกัน คือ 
1.แกนเพลา (Shaft)
2. แกนเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature Core)
3.คอมมิวเตอร์ (Commutator)
4. ขอลวดอาร์มาเจอร์ (Armature Widing)
 

1.แกนเพลา (Shaft) เป็นตัวสำหรับยืดคอมมิวเตเตอร์ และยึดแกนเหล็กอาร์มาเจอร์  (Armature Croe) ประกอบเป็นตัวโรเตอร์แกนเพลานี้จะวางอยู่บนแบริ่ง เพื่อบังคับให้หมุนอยู่ในแนวนิ่งไม่มีการสั่นสะเทือนได้ 
2. แกนเหล็กอาร์มาเจอร์ (Armature Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอาบฉนวน  (Laminated Sheet Steel) เป็นที่สำหรับพันขดลวดอาร์มาเจอร์ซึ่งสร้างแรงบิด (Torque)
3. คอมมิวเตเตอร์ (Commutator) ทำด้วยทองแดงออกแบบเป็นซี่แต่ละซี่มีฉนวนไมก้า (mica) คั่นระหว่างซี่ของคอมมิวเตเตอร์ ส่วนหัวซี่ของคอมมิวเตเตอร์ จะมีร่องสำหรับใส่ปลายสาย ของขดลวดอาร์มาเจอร์ ตัวคอมมิวเตเตอร์นี้อัดแน่นติดกับแกนเพลา เป็นรูปกลมทรงกระบอก มีหน้าที่สัมผัสกับแปรงถ่าน (Carbon Brushes) เพื่อรับกระแสจากสายป้อนเข้าไปยัง ขดลวดอาร์มาเจอร์เพื่อสร้างเส้นแรงแม่เหล็กอีกส่วนหนึ่งให้เกิดการหักล้างและเสริมกันกับเส้นแรงแม่เหล็กอีกส่วน ซึ่งเกิดจากขดลวดขั้วแม่เหล็ก ดังกล่าวมาแล้วเรียกว่าปฏิกิริยามอเตอร์ (Motor action)
4. ขดลวดอาร์มาเจอร์ (Armature Winding) เป็นขดลวดพันอยู่ในร่องสลอท (Slot) ของแกนอาร์มาเจอร์ ขนาดของลวดจะเล็กหรือใหญ่และจำนวนรอบจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับการออกแบบของตัวโรเตอร์ชนิดนั้นๆ เพื่อที่จะให้เหมาะสมกับงานต่างๆ ที่ต้องการ ควรศึกษาต่อไปในเรื่องการพันอาร์มาเจอร์ (Armature Winding) ในโอกาสต่อไป


แปรงถ่าน (Brushes)


เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

 แปรงถ่าน

   

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

                     ซองแปรงถ่าน                    

                ทำด้วยคาร์บอนมีรูปร่างเป็นแท่งสี่เหลี่ยมผืนผ้าุ่ในซองแปรงมีสปิงกดอยู่ด้านบนเพื่อให้ถ่านนี้สัมผัสกับซี่คอมมิวเตเตอร์ตลอดเวลาเพื่อรับกระแส และส่งกระแสไฟฟ้าระหว่างขดลวดอาร์มาเจอร์ กับวงจรไฟฟ้าจากภายนอก คือถ้าเป็นมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรงจะทำหน้าที่รับกระแสจากภายนอกเข้าไปยังคอมมิวเตเตอร ์ให้ลวดอาร์มาเจอร์เกดแรงบิดทำให้มอเตอร์หมุนได้ 

        2.2 หลักการของมอเตอร์กระแสไฟฟ้าตรง (Motor Action)
               หลักการของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง (Motor Action) เมื่อเป็นแรงดันกระแสไฟฟ้าตรงเข้าไปในมอเตอร์ ส่วนหนึ่งจะ แปรงถ่านผ่านคอมมิวเตเตอร์เข้าไปในขดลวดอาร์มาเจอร์สร้างสนามแม่เหล็กขึ้น และกระแสไฟฟ้าอีกส่วนหนึ่งจะไหลเข้าไปในขดลวดสนามแม่เหล็ก (Field coil) สร้างขั้วเหนือ-ใต้ขึ้น จะเกิดสนามแม่เหล็ก 2 สนาม ในขณะเดียวกัน ตามคุณสมบัติของเส้นแรง แม่เหล็ก จะไม่ตัดกันทิศทางตรงข้ามจะหักล้างกัน และทิศทางเดียวจะเสริมแรงกัน ทำให้เกิดแรงบิดในตัวอาร์มาเจอร์ ซึ่งวางแกนเพลาและแกนเพลานี้ สวมอยู่กับตลับลุกปืนของมอเตอร์ ทำให้อาร์มาเจอร์นี้หมุนได้ ขณะที่ตัวอาร์มาเจอร์ทำหน้าที่หมุนได้นี้เรียกว่า โรเตอร์ (Rotor) ซึ่งหมายความว่าตัวหมุน การที่อำนาจเส้นแรงแม่เหล็กทั้งสองมีปฏิกิริยาต่อกัน ทำให้ขดลวดอาร์มาเจอร์ หรือโรเตอร์หมุนไปนั้นเป็นไปตามกฎซ้ายของเฟลมมิ่ง (Fleming’left hand rule)

19.มอเตอร์แม่เหล็กถาวร( Brushless Permanent Magnet Motor)ของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

มอเตอร์ซิงโครนัสชนิดแม่เหล็กถาวร (PMSM)

มอเตอร์ซิงโครนัสชนิดแม่เหล็กถาวร (PMSM) คือมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่กระตุ้นสนามไฟฟ้าโดยใช้แม่เหล็กถาวร และมีรูปคลื่น EMF แบบไซน์กลับด้าน PMSM คือลูกผสมระหว่างมอเตอร์เหนี่ยวนำและมอเตอร์ไร้แปรงถ่าน ซึ่งคุณลักษณะที่เหมือนกับมอเตอร์ไร้แปรงถ่านแบบ DC คือ โรเตอร์แม่เหล็กถาวรและการพันขดลวดบนสเตเตอร์ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของสเตเตอร์ที่มีการพันขดลวดเพื่อสร้างความหนาแน่นฟลักซ์แบบไซน์ในช่องว่างอากาศของเครื่องจักรนั้นคล้ายกับมอเตอร์แบบเหนี่ยวนำ ความหนาแน่นของพลังงานนั้นสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำที่มีอัตรากระแสเท่ากัน เนื่องจากไม่มีกำลังเฉพาะจากสเตเตอร์เพื่อสร้างสนามแม่เหล็ก

แม่เหล็กถาวรทำให้ PMSM สามารถสร้างแรงบิดจากความเร็วเป็นศูนย์ได้ ซึ่งต้องการอินเวอร์เตอร์ชนิดควบคุมแบบดิจิตอลสำหรับการทำงาน PMSM มักใช้ในตัวขับมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง การควบคุมมอเตอร์ประสิทธิภาพสูงนั้นจะสังเกตได้จากการหมุนที่นุ่มนวลในทุกช่วงความเร็วของมอเตอร์ การควบคุมแรงบิดเต็มที่จากความเร็วเป็นศูนย์ และมีอัตราเร่งและลดความเร่งได้อย่างรวดเร็ว

เพื่อให้สามารถควบคุม PMSM ดังที่กล่าวมาได้ จึงต้องนำเทคนิคการควบคุมเวกเตอร์มาใช้ เทคนิคการควบคุมเวกเตอร์นั้นมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการควบคุมโดยกำหนดทิศทางสนามแม่เหล็ก (Field-Oriented Control - FOC) แนวคิดพื้นฐานของอัลกอริธึมควบคุมเวกเตอร์นั้นคือการสลายกระแสของสเตเตอร์ให้กลายเป็นส่วนสร้างสนามแม่เหล็กและส่วนสร้างแรงบิด ทั้งสองส่วนสามารถควบคุมแยกกันได้หลักจากถูกสลายแล้ว

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

20.คุณลักษณะและการนำไปใช้งานของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

มอเตอร์ AC ตัวสับเปลี่ยนภายนอกแก้ไข

มอเตอร์เหนี่ยวนำ AC และแบบซิงโครนัสถูกออกแบบให้ได้ประโยชน์สูงสุด สำหรับการใช้งาน กับรูปคลื่นแบบซายน์หรือคล้ายแบบซายน์เฟสเดียวหรือหลายเฟส เช่น สำหรับการใช้งานความเร็วจาก AC power grid หรือ ความเร็วปรับได้จากตัวควบคุม VFD (Variable-frequency drive) มอเตอร์ AC มีสองส่วนคือสเตเตอร์อยู่กับที่มีขดลวดรับไฟ AC เพื่อผลิตสนามแม่เหล็ก ที่หมุน และ โรเตอร์ที่ติดอยู่กับเพลาเอาต์พุตที่ให้แรงบิดโดยสนามที่หมุน

มอเตอร์เหนี่ยวนำแก้ไข

มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอก(SCIM)และแบบพันรอบโรเตอร์(WRIM)แก้ไข

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

โรเตอร์กรงกระรอกที่แสดงลามิเนตเพียงสามชั้น

มอเตอร์เหนี่ยวนำเป็นมอเตอร์ AC แบบอะซิงโครนัส ที่พลังงานจะถูกโอนไปยังโรเตอร์โดยการเหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า เหมือนการกระทำของหม้อแปลงไฟฟ้า มอเตอร์เหนี่ยวนำมีลักษณะคล้ายกับหม้อแปลงที่กำลังหมุน โดยที่สเตเตอร์เป็นขดปฐมภูมิและ โรเตอร์เป็นขดทุติยภูมิ มอเตอร์เหนี่ยวนำหลายเฟสถูกนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรม

มอเตอร์เหนี่ยวนำอาจจะแบ่งออกต่อไปอีกเป็น SCIM และ WRIM. มอเตอร์เหนี่ยวนำแบบกรงกระรอกมีขดลวดที่หนักทำขึ้นจากแท่งโลหะตัน ปกติเป็นอะลูมิเนียมหรือทองแดง เชื่อมกันด้วยแหวนที่ปลายของโรเตอร์ทั้งสองปลาย เมื่อพิจารณาแล้วแท่งและแหวน มีลักษณะเหมือนกรงสำหรับออกกำลังกายของสัตว์ที่หมุนได้ จึงได้ชื่ออย่างนั้น

กระแสที่เหนี่ยวนำในขดลวดทำให้เกิดสนามแม่เหล็กที่โรเตอร์ รูปร่างของแท่งโลหะของโรเตอร์จะเป็นตัวกำหนดลักษณะสมบัติของความเร็ว-แรงบิด ที่ความเร็วต่ำ กระแสที่เหนี่ยวนำในกรง กระรอกเกือบจะอยู่ที่ความถี่ของ line และมีแนวโน้มที่จะอยู่ในส่วนด้านนอกของกรงโรเตอร์ ในขณะที่มอเตอร์เร่งความเร็ว ความถี่สลิปจะลดลงและกระแสจะมากขึ้นในด้านในของขดลวด โดย การตกแต่งรูปร่างของแท่งโลหะเพื่อเปลี่ยนความต้านทานของขดลวดที่อยูด้านในและด้านนอกของกรง เหมือนกับได้ใส่ความต้านทานปรับค่าได้เข้าไปในวงจรของโรเตอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ของมอเตอร์ดังกล่าวมีแท่งโลหะที่มีรูปร่างเพียงแบบเดียว

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

ไดอะแกรมแสดง wound-rotor induction motor

ใน WRIM, ขดลวดโรเตอร์ทำจากลวดหุ้มฉนวนหลายๆรอบต่ออยู่กับ slip ring บนเพลาของ มอเตอร์ slip ring นี้จะต่อระหว่างขดลวดของโรเตอร์กับตัวต้านทานภายนอกหรืออุปกรณ์ควบคุมอื่นๆ ตัวต้านทานช่วยควบคุมความเร็วของมอเตอร์ แม้ว่าจะเกิดพลังงานความร้อนจำนวนมากกระจายในความต้านทานภายนอก ตัวแปลงสักตัวสามารถต่อกับวงจรโรเตอร์และจ่ายพลังงานที่ความถี่ของสลิปกลับมา, แทนที่จะถูกทิ้งไปเปล่าๆ, เข้าระบบส่งกำลังผ่านทางอินเวอร์เตอร์อีกตัวหนึ่ง หรือเข้าที่มอเตอร์-เจเนอเรเตอร์ต่างหาก

WRIM ใช้เป็นหลักในการสตาร์ทโหลดความเฉื่อยสูง หรือโหลดที่ต้องการแรงบิดเริ่มต้นที่สูงมากๆตลอดช่วงความเร็วเต็มสุด โดยการเลือกตัวต้านทานอย่างถูกต้องเพื่อใช้ในการต้านทานรองหรือตัวสตาร์ทแหวนสลิป มอเตอร์จะสามารถผลิตแรงบิดสูงสุดที่แหล่งจ่ายกระแสค่อนข้างต่ำ จากความเร็วเป็นศูนย์จนกระทั่งความเร็วเต็มสุดได้ มอเตอร์ประเภทนี้ยังให้ความเร็วที่สามารถควบคุมได้

ความเร็วมอเตอร์สามารถเปลี่ยนแปลงได้เพราะว่าเส้นโค้งแรงบิดของมอเตอร์มีการแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพตามขนาดของความต้านทานที่เชื่อมต่อกับวงจรโรเตอร์ การเพิ่มค่าความต้านทานจะลดความเร็วของแรงบิดสูงสุดลง ถ้าความต้านทานเพิ่มเกินกว่าจุดที่แรงบิดสูงสุด เกิดขึ้นที่ความเร็วเป็นศูนย์, แรงบิดจะลดลงอีกต่อไป

เมื่อใช้กับโหลดที่มีเส้นโค้งแรงบิดที่เพิ่มขึ้นตามความเร็ว มอเตอร์จะทำงานด้วยความเร็วที่แรงบิดที่เกิดจากมอเตอร์จะเท่ากับแรงบิดโหลด การลดโลดจะทำให้มอเตอร์เพิ่มความเร็ว และการเพิ่มโหลด จะทำให้มอเตอร์หมุนช้าลงจนโหลดและแรงบิดของมอเตอร์มีค่าเท่ากัน การทำงานในลักษณะนี้ ความสูฃเสียหรือความร้อนในสลิปจะกระจายในตัวต้านทานรองและอาจมีความสำคัญมาก การควบคุมความเร็วและประสิทธิภาพสุทธิยังแย่มากอีกด้วย

21.การเริ่มเดินของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

การควบคุมมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

        1.การเริ่มเดินมอเตอร์

             การสตาร์ทมอเตอร์หรือการเริ่มเดินมอเตอร์ ในช่วงเริ่มแรกยังไม่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าต้านกลับ (Back Emf) เกิดขิ้นที่อาเมเจอร์ ทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าไฟฟ้าที่ตกคร่อม (Voltage Dorp) ที่อาเมเจอร์จะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเป็นจำนวนมาก อาจเป็นให้เกิดอัตรายกับมอเตอร์หรือฟิวส์ขาดได้ เนื่องจากความต้านทานของอาเมเจอร์ที่มีค่าตํ่ามาก  เพราะฉนั้นในการสตาร์ทมอเตอร์หรือเริ่ม
เดินมอเตอรนั้นจำเป็นมากที่ต้องต่อความต้านทานอนุกรมกับเข้ากับอนุกรมกับอาเมเจอร์ เพื่อให้กระแสถูกควบคุมในขั้นปลอดภัยเมื่อมอเตอร์หมุนไปแล้วค่อยๆลดค่าควมต้านทานทีละน้อย ในที่สุดจะถูกปลดออกจากวงจรอาเมเจอร์
               สำหรับอุปกรณ์ที่ใช้สตาร์ทมอเตอร์หรือเริ่มเดินมอเตอร์ เรียกว่าสตาร์ทติ้งบ๊อก มีชนิด 3 ขั้ว (Three - Ponti Startting Box) สตาร์ทติ้งบ๊อกชนิด 4 ขั้ว (Four Point Box) 

        1.1 การควบคุมด้วยมือ (Manual Operation) 

                การปรับฟิลด์รีโอสตาร์ต (Field Rheostet) ด้วยมือซึ่งอนุกรมกับวงจรชั้นฟิลด์เป็นวิธีที่ง่ายที่สุดที่ใช้ควบคุมแรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้วของเครื่องกำเนิดไฟฟ้ากระแสตรงดังแสดง ในรูป1.1


เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่1.1 การปรับฟิลด์รีโอสตาร์ทด้วยมือ

               การควบคุมตามวิธีฟิลด์รีโอสตาร์ตจะเป็นตัวต้านทานที่ต่อแยกออกมาหลายๆและมีสายต่อไปยังสวิตช์ที่มีหลายปุ่มแขนของสวิตช์จะหมุนไปตามสัดส่วนโค้ง และสัมผัสปุ่มสวิตช์ที่ต่อแยกออกจากตัวต้านทาน ดังนั้นจึงเป็นการเปลี่ยนแปลงจำนวนความต้านทานในวงจรฟิลด์ถ้าแขนของสวิตช์หมุนไปตามทิศทาง "LOVER" จะทำให้ความต้านทานเพิ่มขึ้นเป็นผลให้แรงเคลื่อนไฟฟ้าที่ขั้วลดลงแต่ถ้าแขนของสวิตช์หมุนไปตามทิศ"RAISE" ความต้านทานจะลดลงเป็นผลทำให้แรงเคลื่อนไฟฟ้า ที่ขั้วเพิ่มขึ้น
               ฟีลด์รีโอสตาร์ตที่ใช้กับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงที่มีขนาดปานกลางตัวต้านทานที่ใช้จะเป็นลวดโลหะผสมที่มีความต้านทานจำเพาะสูง และสัมประสิทธ์อุณหภูมิต่ำ โลหะผสมนี้ประกอบด้วยทองแดง นิคเกิล แมงกานีส ละโครเมี่ยม และมีชื่อเรียกทางการค้าว่า นิคโครม แมงกานีส และอื่นๆ เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ๆ ฟีลด์รีโอสตาร์ตทำจากตาข่ายเหล็กหล่อ ประกอบอยู่กับกลไกลสวิตช์
                รีโอสตาร์ตเริ่มเดิน ได้ออกแบบให้นำกระแสไฟฟ้าในการเริ่มเดินในชั่วระยะเวลาสั้นๆเท่านั้น ไม่มีค่าต่ำกว่าปกติโดยการยึดแขนไว้ตรงกึ่งกลางของปุ่มสัมผัสก็จะทำให้ตัวต้านทานในการเริ่มเดิน เกิดการ ไหมขึ้นได้ 

22.การควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

       2. การควบคุมความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

   
            มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงมี 3 ชนิด คือมอเตอร์แบบอนุกรม แบบขนาน และแบบผสม  ในการควบคุมความเร็ว ต้องมีวิธีการที่ควบคุมแตกต่างกันไปตามชนิดของมอเตอรดังนี้       2.1 การควบคุมความเร็วมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงแบบอนุกรม

               มอเตอร์ไฟฟ้าแบบอนุกรมนี้จะมีความเร็วสูงมากจึงจำเป็นต้องมีการควบคุม ให้เหมาะสมกับงานที่ต้องการ ในที่นี้จะกล่าวถึงการควบคุมอยู่ 2 วิธี 
                ใช้การต่ออนุกรมกับขดลวดเพื่อลดแรงดันไฟฟ้า และลดกระแสได้อาร์มาเจอร์ ตัวต้านทานที่นิยมใช้ก็คือลวดนิโคม (Nichrome Wire) และแผ่นคาร์บอน (Carbon Plate) แบบที่นิยมใช้ในมอเตอร์จักรเย็บผ้า 
              

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
  

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2


รปที่2.1 ูการควบคุมความเร็วมอเตอร์โดยใช้ความต้านทาน

       2.2 ใช้การแบ่งที่ขดลวดขั้วแม่เหล็ก (Tapped Field) 

               โดยการนำขดลวดขั้วแม่เหล็กที่ 1 มาแบ่งออกตามลักษณะดังรูปจากนั้นก็ต่อเข้ากับสวิตซ์เลือกเพื่อปรับให้อยู่ในจุด ที่ทำการแบ่งเพื่อให้ความเร็ว ของมอเตอร์เป็นไปตามต้องการดังรูปที่2.2

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่2.2 การควคุมความเร็วโดยการแบ่งขดลวด

               สำหรับมอเตอร์ขนาดใหญ่มีกระแสสูงการควบคุมโดยความเร็วการต่อความต้านทานและการปรับค่าความต้านทานและการเลื่อนปุ่มจะทำให้เกิดประกายไฟ (Arc) และเกิดความร้อนสูง จึงใช้วิธีแบ่งแยกกระแสในขดลวดขั้วแม่เหล็ก (Field Divertor) โดยนำความต้านทานปรับค่าได้ต่อขนานกับขดลวดสนามแม่เหล็ก ใช้ปรับความเร็ว เมื่อต้องการความเร็วสูง กว่าความเร็วปกติ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2
     

รูปที่2.3 การควบคุมความเร็วมอเตอร์อนุกรมให้สูงกว่าความเร็วปกติ

              และเมื่อต้องการความเร็วต่ำกว่าความเร็วปกติใช้ความต้านทานปรับค่าได้ (Rheostat) ต่อขนานกับขดลวดอาร์มาเจอร์ ดังรูปที่2.4
 

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่2.4 การควบคุมความเร็วมอเตอร์ให้ตํ่ากว่าความเร็วปกติ
 

        การควมคุมความเร็วมอเตอร์กระแสตรงแบบชันต์ (Shunt Motor)

               มอเตอร์กระแสตรงแบบขนานนี้ต่อขดลวดขั้วแม่เหล็ก (Field Coil) ขนานกับขดลวดชุดอาร์มาเจอร์ จึงเรียกว่าแบบขนานหรือชันต์มอเตอร์ มอเตอร์แบบนี้มีความเร็วปกติคงที่ 
     ก. ถ้าจะทำให้ความเร็วมอเตอร์แบบชันต์นี้สูงกว่าปกติใช้รีโอสตาท (Rheostat) ต่ออนุกรมกับขดลวดขั้วแม่เหล็ก เพื่อทำให้ค่ากระแสในขดลวดขั้วแม่เหล็กลดลง เป็นการเพิ่มความเร็วของมอเตอร์แบบชันต์นี้ได้

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่2.5 การปรับความเร็วชั้นท์มอเตอร์ให้มีความเร็วสูงกว่าปกติโดยใช้รีโอสตาท

     ข. ถ้าจะให้ความเร็วของมอเตอร์แบบชันต์มีความเร็วต่ำกว่าปกติโดยการต่อรีโอสตาทอนุกรมกับขดลวดวงจรอาร์มาเจอร์ของมอเตอร์

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปที่2.6 การปรับความเร็วชั้นท์มอเตอร์ให้มีความต่ำกว่าปกติ โดยใช้รีโอสตาท 

23.การกลับทิศทางการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรง

Arduino กับพื้นฐานการกลับทางหมุนมอเตอร์(DC motor)

การหมุนกลับทางของมอเตอร์นั้นสามารถจะใช้วงจรได้หลายรูปแบบ เช่น ใช้ ทรานซิสเตอร์ เป็นตัวขับวงจร หรือ ใช้ IC สำเร็จรูปในการขับวงจร หรือ ใช้รีเลยในการจับวงจรก็สามารถทำได้ แต่ในตอนนี้จะใช้ ทรานซิสเตอร์เป็นตัวขับซึงเรียกวงจรแบบนี้ H -bridge 
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

การกลับทางหมุนมอเตอร์

วงจรขับมอเตอร์แบบกลับทางหมุนโดยใช่ทรานซิสเตอร์ 
ในวงจรดังกล่าวจะใช้ทรานซิสเตอร์ 4 ตัว ในการควบคุมมอเตอร์ 1 ตัว โยอาจจะใช้ ทรานซิสเตอร์ NPN หรือ PNP ก็สามารถทำได้แต่จะมีการออกแบบที่แตกต่างกันออกไป ในการทำงานนั้น ทรานซิสเตอร์ จะทำงานเพียง 2 ตัว เท่านั้น เพื่อควบคุมการหมุนด้านหนึ่ง และ จะสลับการทำงานอีก 2 ตัว เพื่อควบคุมหรือสลับการหมุนของมอเตอร์ ดังนั้น ในการป้อนไฟ ไปจะเลี่ยงทรานซิสเตอร์ 2 ตัวเท่านั้นที่ทำงาน อีก 2 ตัว จะหยุดทำงาน จนกว่าเราจะสลับการทำงาน )(ห้ามป้อนไฟให้ทรานซิสเตอร์ทำงานพร้อมกันทั้งหมด) แต่ในการออกแบบมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น วงจรอาจจะออกแบบให้มีระบบป้องกันที่มากขึ้นและซับซ้อมขึ้นตามไปด้วยครับ

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

วงจรขับมอเตอร์แบบกลับทางหมุน H -bridge
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

การต่อวงจร
เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

รูปการทอลอง

หลักการการทำงาน และ Code 
ในการทำงาน นี้จะให้มอเตอร์ไป 2 วินาที และหยุด 2 วินาที่ จากนั้นจะให้หมุนสลับกันไป เรื่อยๆ ครับ คือจะเป็นการสลับการทำงานของ ขา 13 และ ขา 12 ดังนี้ ขา 12 = 0 ขา 13 = 1 มอเตอร์หมุนทางใดทางหนึ่ง 
ขา 12 = 1 ขา 13 = 0 มอเตอร์หมุนสลับกัน 
ขา 12 = 0 ขา 13 = 0 มอเตอร์หยุดหมุน 
ขา 12 = 1 ขา 13 = 1 แบบนี้ห้ามครับ จะเกิดอันตรายได้

int led1 = 13; 
int led2 = 12;

void setup()
{
pinMode(led1,OUTPUT);
pinMode(led2,OUTPUT);

}
void loop()
{
digitalWrite(led1,HIGH); 
digitalWrite(led2,LOW); 
delay(2000);
digitalWrite(led1,LOW); 
digitalWrite(led2,LOW); 
delay(2000);
digitalWrite(led1,LOW); 
digitalWrite(led2,HIGH); 
delay(2000);
digitalWrite(led1,LOW); 
digitalWrite(led2,LOW); 
delay(2000);
}

ใช้วงจรรีเลย์ในการกลับทางหมุน 
การใช้รีเลย์นั้นสามารถทำได้เล่นกัน แต่ต่องระวังในการหมุนหลับทางแบบทันทีทันใด เพราะอาจจะเกิดความเสียหายกับตัวมอเตอร์ได้เช่นเดียวกัน แต่ข้อดีของการใช้รีเลย์คือจะทำให้กระแสที่ไหลผ่านมอเตอร์ไม่ตก ทสามารถใช้งานได้เต็มกำลัง

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

ใช้วงจรรีเลย์ในการกลับทางหมุน

ใช้ IC ในการกลับทางหมุน 
ในการใช้ IC แทนการใช้ทรานซิสเตอร์ก็สามารถทำได้ โดยนิยมใช้เบอร์ L293D ซึ่งใน IC 1 ตัวสามารถขับมอเตอร์ได้ 2 ตัว

เครื่องกลไฟฟ้ากระแสตรง บทที่2

วงจรL293Dในการกลับทางหมุน