ที่ตรวจ สาร เสพติด ขึ้น 2 ขีด ท้อง ไหม

1. เงื่อนไขการให้บริการ

 วัตถุประสงค์

1.1 เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางอรรถคดี

1.2 เพื่อบำบัดฟื้นฟูผู้ติด/เสพยาเสพติด

1.3 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันผู้ติด/เสพยาเสพติด

 กลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ  กระทรวงยุติธรรม  กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม หน่วยงานเอกชน

2. ขั้นตอนการให้บริการ

  

ที่ตรวจ สาร เสพติด ขึ้น 2 ขีด ท้อง ไหม

3. ตัวอย่างที่รับตรวจ

ปัสสาวะ

4. การส่งตัวอย่าง

4.1 จำนวนตัวอย่าง

 ปัสสาวะไม่น้อยกว่า 30 มิลลิลิตร

 แนวทางการดำเนินการส่งตัวอย่างปัสสาวะ [download]

4.2 เอกสารประกอบการส่งตัวอย่าง

 บัตรประจำตัวผู้นำส่ง เช่น บัตรข้าราชการ บัตรประชาชน (กรณีส่งตัวอย่างด้วยตนเอง)

  หนังสือนำส่งของทางราชการ /หน่วยงานนำส่ง ที่ลงนามโดยผู้บริหารสูงสุดของหน่วยงาน

  เอกสารระบุรายละเอียด ดังนี้ ชื่อสกุลเจ้าของปัสสาวะและผู้นำส่ง, ชนิดสารเสพติดที่ต้องการตรวจ, วัตถุประสงค์, วันเวลาและผู้เก็บตัวอย่างปัสสาวะ, วันเวลาที่เกิดเหตุ, ชื่อเจ้าของคดี (ถ้ามี), ผลและเทคนิคการตรวจเบื้องต้น (ถ้ามี) [download]

4.3 วิธีการส่งตัวอย่าง

 ส่งด้วยตนเอง

ส่งที่ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 4 ชั้น 1 เวลา 8.30 – 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ

  ส่งทางไปรษณีย์

สามารถส่งทางไปรษณีย์ได้ โดยจัดส่งตัวอย่างในหีบห่อที่ปิดสนิท พร้อมเอกสารตามข้อ 4.2

ส่งไปที่ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 4 ถ.ติวานนท์ ต.ตลาดขวัญ อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000

4.4 ชำระเงินค่าตรวจวิเคราะห์ (ถ้ามี) และรับหลักฐานการรับตัวอย่าง

 ชำระเงินที่ ศูนย์รวมบริการ (One stop service center) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 1 ชั้น 1 เวลา 8.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ โทรศัพท์ 02 951 0000 ต่อ 99968 โดยชำระเงินพร้อมการส่งตัวอย่าง

 ช่องทางการชำระเงิน ได้แก่ เงินสด ตั๋วแลกเงิน แคชเชียร์เช็ค ดราฟต์บัตรเดบิต และบัตรเครดิต

 แคชเชียร์เช็ค หรือตั๋วแลกเงิน สั่งจ่าย "เงินบำรุงกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์"

 ค่าธรรมเนียมธนาคารการใช้บัตรเครดิตเรียกเก็บจากผู้ใช้

 งดรับเช็คบุคคลธรรมดา หรือเช็คนิติบุคคล

5. การปฏิเสธการรับตัวอย่าง 

 ตัวอย่างจากเอกชนที่ไม่ใช่ลักษณะของหน่วยงาน

 จำนวนตัวอย่างน้อยกว่า 30 มิลลิลิตร

 ขวดตัวอย่างไม่ปิดผนึก

 ฉลากที่ขวดมีข้อความไม่ครบถ้วนหรือฉลากเลอะเลือน

 รายละเอียดหนังสือนำส่งไม่ครบถ้วนหรือไม่ตรงกับฉลากที่ขวด

 ชื่อผู้นำส่งไม่ตรงกับชื่อที่ระบุในหนังสือนำส่ง (กรณีไม่ใช่ผู้มิสิทธิตามกฎหมาย)

 ไม่แสดงบัตรประจำตัวผู้นำส่ง เช่น บัตรข้าราชการ บัตรประชาชน

6. ระยะเวลาการให้บริการ 

30 วันทำการ

7. อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์ยาเสพติด

► อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนพิเศษ 130ง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 [download]

► อัตราค่าบำรุงการตรวจวิเคราะห์และให้บริการ (ฉบับที่ 2) อ้างอิงจาก ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 137 ตอนพิเศษ 98ง ลงวันที่ 28 เมษายน 2563 [download]

8. การรับผลตรวจวิเคราะห์

ผู้รับบริการสามารถรับผลการตรวจวิเคราะห์ได้ 2 ช่องทาง ได้แก่

 ทางไปรษณีย์

 รับด้วยตนเอง สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อาคาร 4 ชั้น 1  เวลา 8.30 - 15.30 น. เว้นวันหยุดราชการ โดยต้องนำหลักฐานมาแสดงในวันรับผล ดังนี้

  • บัตรประจำตัวประชาชน
  • ใบนัดรับผลการตรวจวิเคราะห์ฉบับจริง
  • ใบมอบอำนาจ กรณีมอบหมายผู้อื่นรับผลแทน

9. การให้บริการอื่นๆ เกี่ยวกับรายงานผลวิเคราะห์ 

9.1 การขอแก้ไขรายงาน

ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมแนบหลักฐานเอกสารที่ต้องการเปลี่ยน และใบรายงานผลการวิเคราะห์ฉบับจริง โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียมการออกรายงานใหม่ตามอัตราที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์กำหนด

(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)

9.2 การขอสำเนาใบรายงานผลการวิเคราะห์

ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด พร้อมแนบหลักฐานสำเนาเอกสารใบรายงานผลการวิเคราะห์ หรือแจ้งเลขที่รายงาน/ เลขที่ตัวอย่าง เพื่อให้สามารถสืบค้นได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท

(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)

9.3 การแปลรายงานผลวิเคราะห์ฉบับภาษาอังกฤษ

ผู้รับบริการทำหนังสือถึงผู้อำนวยการสำนักยาและวัตถุเสพติด แจ้งวัตถุประสงค์การขอใช้งานบริการที่ต้องการ พร้อมแจ้งเลขที่รายงานและเลขที่ตัวอย่าง  โดยผู้รับบริการต้องเสียค่าธรรมเนียม 500 บาท

(หมายเหตุ ให้บริการเฉพาะหน่วยงานของผู้ส่งตัวอย่างเท่านั้น)

10. คำถามคำตอบที่พบบ่อย

10.1 ต้องเก็บปัสสาวะปริมาตรเท่าไร

ตอบ: 30-60 มิลลิลิตร

10.2 ระยะเวลาการเก็บรักษาปัสสาวะ

ตอบ: ควรส่งห้องปฏิบัติการภายใน 48 ชั่วโมง ในสภาพแช่เย็น

10.3 อุณหภูมิในการเก็บรักษาปัสสาวะที่เหมาะสมควรเป็นเท่าไร

ตอบ: 4-8 องศาเซลเซียส

10.4 ค่าใช้จ่ายในการตรวจยืนยันผล

ตอบ: ค่าใช้จ่ายการตรวจยืนยันผล 700 บาท/ชนิดสาร โดยไม่ขึ้นกับวิธีวิเคราะห์ (อ้างอิงจากราชกิจจานุเบกษาเล่ม 136 ตอนพิเศษ 130ง ลงวันที่ 22 พฤษภาคม 2562 หน้า 125-136)

10.5 ไอซ์ เป็นสารเสพติดประเภทไหน การออกฤทธิ์ และใช้ชุดทดสอบอะไรในการตรวจพิสูจน์

ตอบ: ไอซ์คือผลึกหรือผงเมทแอมเฟตามีน ที่มีความบริสุทธิ์สูง ที่ใช้สำหรับผลิตยาบ้า ไอซ์ออกฤทธิ์เหมือนยาบ้า และสามารถใช้ชุดทดสอบเมทแอมเฟตามีนในการตรวจปัสสาวะผู้ติด ผู้เสพ

10.6 มีชุดทดสอบสารระเหยในปัสสาวะหรือไม่ สามารถตรวจสารระเหยในปัสสาวะด้วยวิธีใด

ตอบ: ปัจจุบันยังไม่มีชุดทดสอบสารระเหยในปัสสาวะ การตรวจสารระเหยในปัสสาวะสามารถตรวจสารเมตาบอไลต์ของสารระเหยคือสาร Hippuric acid โดยวิธี High Performance Liquid Chromatography หรือ Gas Chromatography/Mass Spectrometry

10.7 ชุดทดสอบแบบแถบ และแบบตลับ เหมือนกันหรือต่างกัน อย่างไร

ตอบ: ชุดทดสอบแบบแถบ และแบบตลับ ใช้หลักการเดียวกัน ต่างกันที่ วัสดุ รูปแบบและวิธีการใช้

10.8 หลังจากเสพเมทแอมเฟตามีนไปแล้วกี่วัน จะยังมีสารเสพติดในปัสสาวะ

ตอบ: จะตรวจพบภายใน 1-3 วันหลังการเสพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคลและความถี่ของการเสพ

10.9 สารเสพติดประเภทยาบ้า จะอยู่ในร่างกายนานเท่าไร

ตอบ: ยาบ้าจะถูกขับออกมา 70% ภายใน 24 ชม. หลังเสพ และมักจะตรวจพบภายใน 1-3 วัน หลัง 7 วันไปแล้ว มักจะตรวจไม่พบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละบุคคล ความถี่ของการเสพ และอาหารที่รับประทาน เช่น ถ้ารับประทานอาหารที่ทำให้ปัสสาวะเป็นด่างจะทำให้การขับยาออกจากร่างกายช้าลง

10.10 ถ้าชุดทดสอบเกิดแถบสีแดงที่ตำแหน่ง C ชัดมาก แต่แถบสีที่ตำแหน่ง T เลือนลาง ให้อ่านผลอย่างไร

ตอบ: ให้อ่านเป็นผลลบ

10.11 สารเคมีที่ทำให้ตรวจหาสารเสพติดเป็นผลบวกลวง (ไม่ได้เสพยาบ้า แต่ให้ผลบวกกับชุดทดสอบ) มีอะไรบ้าง

ตอบ: สารที่ให้ผลบวกลวงกับชุดทดสอบได้คือ สารที่มีโครงสร้างคล้ายสารเสพติด แต่ปัจจุบันชุดทดสอบมีความจำเพาะเจาะจงสูง ทำให้มีผลบวกลวงน้อยลง แต่ก็ยังพบสารที่อาจให้ผลบวกลวงกับชุดทดสอบ เช่น ยาลดความอ้วน ยาที่ทำให้ไม่ง่วง Ranitidine Pseudoephedrine Dextromethorphan เป็นต้น

10.12 ช่วยยกตัวอย่างว่ารับประทานอะไรบ้างที่จะตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีน เพราะบางครั้งเขาจะอ้างว่าดื่มเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เช่น กระทิงแดง

ตอบ: สารที่รับประทานหรือเสพแล้ว จะตรวจพบสารเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ คือ ยาบ้า และไอซ์ สารที่ให้ผลบวกลวงกับชุดทดสอบ ได้แก่สารที่มีโครงสร้างคล้ายกัน เช่น ยาลดความอ้วน ยาที่ทำให้ไม่ง่วง แต่ในกระทิงแดงไม่มีสารเหล่านี้ การดื่มกระทิงแดงจึงไม่ทำให้เกิดผลบวกลวง

10.13 วิธีการใช้ชุดทดสอบที่ถูกต้อง จะต้องทำอย่างไร

ตอบ: อ่านคู่มือให้เข้าใจ และทดสอบตามคำแนะนำในคู่มือ

10.14 การเก็บชุดทดสอบก่อนการใช้งานควรเก็บอย่างไร อุณหภูมิเท่าไร อุณหภูมิมีผลต่อชุดตรวจหรือไม่

ตอบ: เก็บรักษาตามที่ระบุในคู่มือของผลิตภัณฑ์

10.15 การใช้ชุดทดสอบชนิดแถบที่ถูกต้อง

ตอบ: การใช้ชุดทดสอบชนิดแถบที่ถูกต้องคือจุ่มปลายชุดทดสอบลงในปัสสาวะ อย่าให้เกินขีดบอกระดับ บนแผ่นทดสอบ ตามเวลาที่กำหนด (ประมาณ 10 วินาที) แล้วหยิบขึ้นวางบนพื้นราบ จับเวลาและอ่านผลตามที่ระบุในคู่มือ

10.16 ปริมาตรปัสสาวะที่หยดในหลุมทดสอบมีผลต่อการตรวจหรือไม่ จำเป็นต้องใช้หลอดหยดที่มากับชุดทดสอบนั้นหรือไม่ หากไม่ได้ใช้ จะมีผลกับการแปลผลหรือไม่

ตอบ: ปริมาตรปัสสาวะที่หยดในหลุมทดสอบมีผลต่อการแปลผลการทดสอบ และควรใช้หลอดหยดที่ให้มากับชุดทดสอบ โดยใช้จำนวนหยดตามที่ระบุในเอกสารกำกับ

10.17 การถ่ายปัสสาวะใส่ถ้วยในปริมาณมากน้อยต่างกัน มีผลต่อการตรวจเบื้องต้นหรือไม่

ตอบ: ปริมาตรของปัสสาวะที่เก็บได้ ไม่มีผลต่อการตรวจเบื้องต้น

10.18 สามารถเก็บปัสสาวะไว้ก่อนส่งตรวจยืนยันผลนานเท่าไหร่

ตอบ: หากเก็บที่อุณหภูมิ 4-8 °C ได้นาน 2-3 เดือน ถ้าแช่แข็งอาจเก็บได้ประมาณ 6 เดือน แต่แนะนำให้ส่งตรวจภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้ปัสสาวะบูดเน่า

10.19 ถ้าใช้ชุดทดสอบของโรงพยาบาล และตำรวจ ได้ผลตรงกัน แต่ส่งตรวจยืนยันผลที่ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ แล้วได้ผลลบ จะแก้ปัญหาอย่างไร

ตอบ: รายงานผลของศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นการตรวจยืนยันผลโดยใช้วิธีแยกสกัดสาร และตรวจอย่างละเอียดเพื่อยืนยันว่ามีสารเสพติดอยู่ในปัสสาวะนั้นจริงๆ ควรยึดผลจากศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เป็นหลัก