อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

เบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้อายุที่มากขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน หรือทำให้ฮอร์โมนอินซูลินออกฤทธิ์ได้น้อยลง ความสำคัญของการรักษาโรคเบาหวาน คือ ถ้าควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่ได้อาจเป็นต้นเหตุให้เกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังต่างๆ เช่น อาการชาที่ปลายเท้า ตามองเห็นไม่ชัด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงปลายเท้าตีบ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดแผลที่เท้า ส่งผลให้ผู้ป่วยเบาหวานส่วนหนึ่งต้องสูญเสียอวัยวะ

อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

บางส่วน นอกจากนี้ ยังเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอีกด้วย ดังนั้นการรักษาเบาหวานจึงประกอบไปด้วย การควบคุมอาหารอย่างเหมาะสม การใช้ยาลดน้ำตาล และออกกำลังกาย

สำหรับการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังมากกว่าในวัยอื่นๆ เนื่องจากเป็นวัยที่กล้ามเนื้ออ่อนแอกว่าวัยอื่น การทรงตัวที่อาจทำได้ไม่ดีเท่ากับวัยอื่น ที่สำคัญผู้สูงอายุส่วนใหญ่มีโรคประจำตัวซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย เช่น โรคความดันโลหิต ที่อาจเพื่มสูงขึ้นเมื่อออกกำลังกาย จึงต้องควบคุมความดันให้อยู่ในระดับปกติก่อน นอกจากนี้ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายด้วยท่าง่ายๆเพื่อป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นอีกด้วย

ประโยชน์ของการออกกำลังกาย

  • ทำให้ร่างกายใช้กลูโคสได้ดีขึ้น มีปฏิกิริยาต่ออินซูลินดีขึ้น เป็นการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดส่งผลให้ลดขนาดอินซูลินที่จะใช้ หรือในบางรายที่ระดับน้ำตาลไม่สูงสามารถงดการให้อิซูลินได้
  • ลดปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ และหลอดเลือดแดงแข็ง เพราะช่วยลดการรวมตัวของเกล็ดเลือด
  • ลดความเสี่ยงการเป็นโรคเบาหวานในผู้ป่วยโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และผู้มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวาน
  • คลายความเครียด และเพิ่มคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น

อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

ข้อควรระวังและข้อควรปฎิบัติในการออกกำลังกาย

  • ปรึกษาแพทย์ และได้รับการตรวจร่างกายจากแพทย์อย่างละเอียด
  • ผู้ป่วยต้องมีป้ายแสดงตัวว่าเป็นเบาหวานติดตัวไว้เสมอ สำหรับการออกกำลังกายนอกบ้าน
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำระหว่าง และหลังการออกกำลังกาย
  • งดการออกกำลังกายถ้าระดับน้ำตาลในเลือด มากกว่าหรือเท่ากับ 250 mg/dl ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่1 และไม่เกิน 300 mg/dL ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2
  • ถ้าระดับน้ำตาลต่ำกว่า 90 mg/dl ให้รับประทานอาหารพวกคาร์โบไฮเดรต ก่อนออกกำลังกายครึ่งชั่วโมง
  • งดการออกกำลังกายในช่วงที่อินซูลินออกฤทธิ์สูงสุด โดยปรึกษาทีมผู้รักษา
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อบริเวณที่ฉีดอินซูลินอย่างน้อง 1 ชั่วโมง เนื่องจากอิซูลินจะถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดเร็วเกินไป
  • ตรวจน้ำตาลก่อน และหลังออกกำลังกาย
  • ตรวจดูว่ามีบาดแผลที่เท้า หรือการอักเสบอื่นๆ หรือไม่
  • เลือกรองเท้าให้เหมาะสม และใส่ถุงเท้าทุกครั้ง
  • ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดผลร่วมกับการปรับขนาดยาอินซูลิน และอาหารอย่างน้อย 3 ครั้งต่อสัปดาห์
  • ควรออกกำลังกายในเวลาเดียวกันในแต่ละวัน เพื่อป้องกันระดับน้ำตาลขึ้นๆ ลงๆ
  • หลีกเลี่ยงท่าออกกำลังกายที่มีการเกร็งหรือเบ่งมากเกินไป ในบางรายอาจทำให้ความดันโลหิตสูงได้โดยเฉพาะท่าที่ต้องกลั้นหายใจ

อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

ขั้นตอนในการออกกำลังกาย

1. มีการ Warm up Cool down อย่างละ 5 นาที โดยออกกำลังกายวันละ 20 - 40 นาที

- Warm up อบอุ่นร่างกาย : ออกกำลังกายเป็นจังหวะช้าๆเพื่อช่วยป้องกันการบาดเจ็บของเอ็นและกล้ามเนื้อ

- Cool down ต้องมีการผ่อนคลาย : หากหยุดออกกำลังกายทันทีเลือดจะไหลกลับมาสู่หัวใจอย่างรวดเร็ว ทำให้หัวใจสูบฉีดเลือดมากเกินไป

- ออกกำลังกายอย่างต่ำ 30 นาที เพื่อร่างกายจะได้นำน้ำตาลเข้าสู่เซลล์

2. เริ่มต้นออกกำลังกายแบบเบาๆก่อน และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเมื่อแข็งแรง

3. รู้หลักกายออกกำลังกายที่ถูกวิธี

วิธีการออกกำลังกาย

การเดิน: เป็นการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุ มีข้อปฏิบัติคือต้องเดินเร็วให้เกิดการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น ถ้าเดินเร็วมากไม่ได้ต้องเพิ่มเวลาในการเดินและในขณะที่เดินมีการแกว่งแขนร่วมด้วย เดินในที่อากาศถ่ายเท โดยแนะนำเดินในช่วงเวลาเช้า มีเพื่อนหรือกลุ่มในการเดิน

การวิ่งช้าๆ: เหมาะสำหรับผู้สูงอายุที่สุขภาพยังแข็งแรงดีอยู่

การรำมวยจีน: เป็นการเคลื่อนไหวช้าๆใช้เวลา และสมาธิในการทำ แต่ควรมีครูฝึกที่ดี มีกลุ่มที่เหมาะสม และต้องเวลาปฏิบัติอย่างจริงจัง

โยคะ: เป็นการออกกำลังกายร่วมกับการฝึกการหายใจให้เข้าจังหวะ

อาการโรคเบาหวานในผู้สูงอายุ

การออกกำลังกายมีผลดีต่อการรักษาเบาหวานใช้เป็น 1 ใน 3ส่วนของการบำบัดรักษา โดยช่วยกระตุ้นอินซูลินให้ทำงานดีขึ้น และได้ผลดีกับผู้ป่วยเบาหวานที่จำเป็นต้องฉีดอินซูลิน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังทั้งหลอดเลือดขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ เน้นการออกกำลังกายเป็นจังหวะ และสม่ำเสมอวันละ 30 นาที

ข้อควรระวังที่สำคัญ คือ การบาดเจ็บที่เท้าและภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำที่อาจเกิดขึ้นได้ นอกจากนั้น ต้องเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมมีการประเมินทั้งร่างกาย ที่อยู่ สภาพจิตใจ และความสามารถในการช่วยเหลือตัวเองด้วย


สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โรงพยาบาลเปาโล พหลโยธิน โทร. 1772

โรคเบาหวานในผู้สูงอายุเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาใด

โรคเบาหวานเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และพบมากถึงร้อยละ 20 ในคนไทยที่อายุมากกว่า 60 ปี สาเหตุที่ผู้สูงอายุมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนที่อายุน้อยเนื่องจากอายุที่มากขึ้นจะมีการเสื่อมของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิตฮอร์โมนอินสุลินที่ใช้ในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้การที่อายุมากขึ้นยังอาจทำให้เกิดภาวะ ...

วัยสูงอายุมีโอกาสเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานอย่างไร

เมื่ออายุมากขึ้นความเสื่อมในระบบต่าง ๆ ของร่างกายย่อมตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคซึมเศร้า โรคสมองเสื่อม กายภาพกล้ามเนื้อและมวลกระดูกลดลง การเผาผลาญลดลง ส่งผลให้ผู้สูงวัยมีโอกาสเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น มีโอกาสเกิดโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองอุดตันได้มากกว่าคนอายุน้อยที่เป็นโรคเบาหวาน

อาการของโรคเบาหวานเป็นอย่างไร

อาการของโรคเบาหวาน.
ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะต้องตื่นมาปัสสาวะตอนกลางคืน.
หิวน้ำบ่อย.
หิวบ่อย รับประทานจุ แต่น้ำหนักลด.
ผิวแห้ง.
เป็นแผลแล้วหายยาก.
ตาพร่ามัว.
ชาบริเวณปลายมือปลายเท้า.
หย่อนสมรรถภาพทางเพศ.

โรคเบาหวานแบ่งออกเป็นกี่ชนิด

1. โรคเบาหวานชนิดที่ 1. เป็นภาวะที่ตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เลย จำเป็นต้องฉีดอินซูลินสม่ำเสมอ พบได้ประมาณ 5-10% ของผู้ที่เป็นเบาหวาน มักพบในคนอายุน้อย น้ำหนักน้อย 2. โรคเบาหวานชนิดที่ 2. เป็นชนิดที่พบมากที่สุด (ประมาณ 90 - 95%) มักเป็นจากกรรมพันธุ์ สามารถใช้ยาเบาหวานชนิดทานได้