พัฒนาการประชาธิปไตยไทย สรุป

หน่วยที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมือง

1.1 แนวทางการศึกษาพัฒนาการทางการเมือง

การศึกษาพัฒนาการทางการเมืองเริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงความเป็นมาของการศึกษาทางด้านนี้ตลอดจนความหมายและความสำคัญของพัฒนาการทางการเมือง

1.1.1ความเป็นมาของพัฒนาการทางการเมือง
การศึกษาพัฒนาการทางการเมืองมีความเป็นมาจากการศึกษาด้านภูมิศาสตร์ (area studies) การขยายตัวด้านการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย โดยเฉพาะในช่วงหลังสงครามเย็น การพัฒนาคุณภาพและความมั่นคงของมนุษย์ และการใช้ความรุนแรงทางการเมือง

1.1.2 ความหมายของพัฒนาการทางการเมือง
พัฒนาการทางการเมืองมีความหมายที่หลากหลายแต่ที่ยอมรับกันเป็นเรื่องของการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองตลอดจนมีธรรมาภิบาล

1.1.3 ความสำคัญของพัฒนาการทางการเมือง
พัฒนาการทางการเมืองช่วยให้เป้าหมายของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองมีความชัดเจน แนวทางการเปลี่ยนแปลงมีทางเลือกได้หลายทาง และมีความสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

การยุติของสงครามเย็นมีผลต่อการศึกษาพัฒนาการทางการเมืองโดยหันไปสนใจเรื่องของการพัฒนาประชาธิปไตย คือ การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย (democratization) และการทำให้ประชาธิปไตยมั่นคง (Democraic consolidation)

Show

ความหมายของพัฒนาการทางการเมืองที่ฮันติงตันให้ไว้มีข้อเสียคือเป็นการมองพัฒนาการทางการเมืองที่แคบไปเป็นการมองพัฒนาการทางการเมืองในประเด็นเดียวเท่านั้นคือ “การสร้างความเป็นสถาบัน”

ความสำคัญของพัฒนาการทางการเมือง
พัฒนาการทางการเมืองช่วยชี้ว่าจุดมุ่งหมายอะไรที่เป็นที่น่าพึงปรารถนา ช่วยให้ข้อคิดแก่ผู้นำในการเลือกแนวทางพัฒนาการทางการเมืองและมีความเกี่ยวข้องกับการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

1.2 วิธีการศึกษาและข้อจำกัดในการศึกษาพัฒนาการทางการเมือง

วิธีการศึกษาพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญคือการศึกษาแบบระบบ – หน้าที่ แบบกระบวนการทางสังคม แบบประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ และแต่ละแบบล้วนมีข้อจำกัดในการศึกษา

1.2.1 การศึกษาแบบระบบ-หน้าที่
การศึกษาแบบระบบ-หน้าที่แยกไม่ออกกับวิธีการศึกษาแบบโครงสร้างหน้าที่โดยมีผู้ศึกษาที่สำคัญในเรื่องนี้คือ อัลมอนด์ โคลแมนและเพาเวล

1.2.2 การศึกษาแบบกระบวนการทางสังคม
การศึกษาแบบกระบวนการทางสังคมโดยนำเอาพฤติกรรมทางการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เช่น การขยายตัวทางสังคมเมือง การเปลี่ยนแปลงเป็นอุตสาหกรรม และการขยายตัวของสื่อมวลชน เป็นต้น เข้ามาเชื่อมโยงกัน

1.2.3 การศึกษาแบบประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ
การศึกษาแบบประวัติศาสตร์เปรียบเทียบเป็นการศึกษาเปรียบเทียบวิวัฒนาการของสังคมตั้งแต่ 2 สังคมขึ้นไป

1.2.4 ข้อจำกัดในการศึกษาพัฒนาการทางการเมืองกับการกลับสู่การศึกษาการเปลี่ยนผ่านสู่ประชาธิปไตย
ข้อจำกัดในการศึกษาพัฒนาการทางการเมืองเป็นเรื่องของข้อจำกัดในการศึกษาทางด้านพฤติกรรมศาสตร์ทางด้านการวิจัยในประเทศกำลังพัฒนาและข้อจำกัดอันเกิดจากการตกลงกันไม่ได้ในเรื่องค่านิยามของพัฒนาการทางการเมือง

การศึกษาและวิเคราะห์แบบระบบ-หน้าที่มีประโยชน์ในการวางรูปแบบจำลองที่กว้างเท่านั้น

การระดมทางสังคม หรือ Social mobilization ของKarl Deutsch หมายความว่า เป็นกระบวนการที่กลุ่มความผูกพันแบบเก่าทางสังคม เศรษฐกิจ และจิตวิทยาผุกร่อนหรือแตกสลายไปและคนพร้อมที่จะรับแบบแผนใหม่ ของการอบรมขัดเกลาทางสังคมและพฤติกรรม

วิธีการศึกษาแบบประวัติศาสตร์เปรียบเทียบมีข้อดีคือ แม้ว่าวิธีการศึกษาแบบนี้ไม่ได้สร้างกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีมากนัก ไม่มีความรักกรมทางทฤษฎีแบบวิทยาศาสตร์ แต่สามารถสื่อความหมายกับผู้อ่านได้ดี โดยเฉพาะผู้อ่านที่ไม่ชอบศัพท์เทคนิคและตัวเลข

การศึกษาพัฒนาการทางการเมืองที่ใช้วิธีการศึกษาแบบพฤติกรรมศาสตร์มีข้อจำกัดที่สำคัญคือ ยังไม่สามารถสร้างทฤษฎีที่อธิบายได้ทั่วไป (General theory) ทางด้านพัฒนาการทางการเมือง

1.3 การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย

การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยเป็นพัฒนาการทางการเมืองที่สำคัญประการหนึ่ง การจะเข้าใจในเรื่องการเปลี่ยนแปลงนี้จะต้องทราบและเข้าใจในเรื่องของรูปแบบและประเภทของประชาธิปไตย ขั้นตอนของการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม แล้ววัฒนธรรมทางการเมืองที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย ตลอดจนการทำให้ประชาธิปไตยมั่นคง

1.3.1 รูปแบบและประเภทของประชาธิปไตย
ประชาธิปไตยมีทั้งที่เป็นทางตรงและที่มีตัวแทน ประเทศที่มีตัวแทนมีทั้งที่เน้นการเลือกตั้งและที่เน้นเสรีภาพที่เรียกว่าประชาธิปไตยเสรี

1.3.2 ลักษณะและขั้นตอนของกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย
ขั้นตอนการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยอาจเริ่มตั้งแต่รัฐบาลเผด็จการยอมให้มีเสถียรภาพ ต่อจากนั้นมีการขัดแย้งระหว่างกลุ่มที่ผูกขาดอำนาจกับกลุ่มที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง ขั้นตอนต่อไปมีการเปลี่ยนรัฐบาลเป็นแบบประชาธิปไตย

1.3.3 การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมกับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย
ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงทางสังคมมีในหลายประเทศ ผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย

1.3.4 วัฒนธรรมทางการเมืองกับการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมทางการเมืองที่ต้องการประชาธิปไตย

1.3.5 การทำให้ประชาธิปไตยมั่นคง
ความชอบธรรมของประชาธิปไตยเป็นสถาบันของระบบการเมือง ประชาธิปไตยและความเข้มแข็งของภาคประชาชนช่วยให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคง

ความหมายของประชาธิปไตยที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางคือ รูปแบบการปกครองที่ให้ประชาชนจำนวนมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้เป็นผู้กำหนดตัวผู้ปกครอง ซึ่งมักจะใช้วิธีการเลือกตั้ง ซึ่งต้องเป็นไปอย่างเสรีและต้องมีขึ้นเป็นระยะระยะต่อเนื่องกัน และยังต้องเป็นรูปแบบการปกครองที่ให้สิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนอย่างกว้างขวาง

ขั้นตอนแรกของการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่คือ ขั้นตอนที่ระบบการเมืองแบบอำนาจนิยมหรือเผด็จการยินยอมให้ประชาชนมีเสรีภาพมากขึ้น (Liberalization) โดยที่ตัวระบบการเมืองยังแบบเดิม

ประเทศที่ความเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้เป็นประชาธิปไตยและความเจริญทางเศรษฐกิจนั้นโดยมีผู้นำในสมัยนั้นๆ ดังต่อไปนี้
เกาหลีใต ้สมัยประธานาธิบดี พัก ช็อง ฮี
อินโดนีเซีย ในช่วงปลายสมัยประธานาธิบดีซูฮาร์โต้
และประเทศไทย สมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์

ในการเปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นประชาธิปไตยจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมทางการเมืองจากแบบดั้งเดิมที่มีความนิ่งเฉยทางการเมือง ไม่สนใจการเมืองระดับชาติ มาเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย

การสร้างให้ประชาธิปไตยมีความมั่นคง(Consolidation of Democracy)ต้องอาศัยปัจจัยดังต่อไปนี้
ต้องทำให้ประชาธิปไตยมีความชอบธรรม องค์กรทางการเมืองทั้งหลายมีความเป็นสถาบัน (political institutionalization) และภาคประชาชนต้องมีความเข้มแข็ง

1.4 ความรุนแรงทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมือง

ความรุนแรงทางการเมืองมีความเชื่อมโยงกับการพัฒนาการทางการเมืองได้ โดยเฉพาะประเด็นของความชอบธรรม เรื่องของการก่อการร้าย ปัจจัยภายนอก ที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่รุนแรงและแนวทางแก้ไข

1.4.1 ความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงกับพัฒนาการทางการเมือง
ความเชื่อมโยงระหว่างความรุนแรงทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมือง คือเป็นการใช้กำลังรุนแรงเพื่อเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

1.4.2 ความรุนแรงทางการเมืองกับความชอบธรรม
การใช้ความรุนแรงทางการเมืองมีทั้งที่ชอบธรรมและไม่ชอบธรรม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้ความรุนแรง

1.4.3 การก่อการร้ายกับผลกระทบทางการเมือง
การก่อการร้ายมักไม่เป็นที่ยอมรับของคนส่วนใหญ่ แต่อาจมีผลบังคับให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองที่ทำให้ความคับข้องใจลดลงได้และเสรีภาพและความเท่าเทียมกันมากขึ้น

1.4.4 อิทธิพลภายนอกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยความรุนแรง
อิทธิพลภายนอกที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยความรุนแรงมีทั้งทางตรงและทางอ้อม

1.4.5 แนวทางการแก้ไขปัญหาความรุนแรงทางการเมือง
คือการลดช่องว่างหรือความแตกต่างของชนชั้นหรือชนกลุ่มต่างๆในประเทศและการเจรจาจะช่วยแก้ปัญหาความรุนแรงทางการเมืองได้การเจรจาใช่ว่าจะเป็นเรื่องง่ายที่จะเกิดขึ้นได้

ความรุนแรงทางการเมือง (political violence) ที่เกี่ยวข้องกับพัฒนาการทางการเมืองคือ
เป็นเรื่องของการใช้กำลัง (physical Force) ในรูปแบบต่างๆรวมทั้งกำลังอาวุธในการแสดงออกหรือต่อสู้ของกลุ่มบุคคลหรือองค์กร เพื่อเสริมสร้างอำนาจและความเข้มแข็งให้กับตนเอง เพื่อให้การต่อสู้ของตนได้รับชัยชนะ

ความรุนแรงทางการเมืองในส่วนที่ไม่ใช่ของรัฐที่ถือว่ามีความชอบธรรมคือ
การต่อสู้โดยใช้กำลังของกลุ่มประชาชนที่ต้องการล้มล้างผู้นำที่เป็นเผด็จการ คดโกง และกดขี่ประชาชน และไม่มีทางจะล้มล้างด้วยวิธีอื่นได้ อยากเรียนการใช้กำลัง

การก่อการร้าย (terrorism) มีลักษณะแตกต่างจากความรุนแรงทางการเมือง คือมักเป็นการใช้ความรุนแรงแบบ “ตกขอบ” ไม่คำนึงถึงกฎ กติกา คุณธรรม หรือศีลธรรมแต่อย่างใด และยังใช้กับประชาชนที่ไม่ใช่คู่กรณีอีกด้วย

อิทธิพลภายนอกที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองด้วยความรุนแรงที่เห็นได้ชัดเจนคือ การให้การศึกษา อบรม ปลูกฝังความเชื่อและอุดมการณ์ และฝึกฝนการใช้อาวุธดังเช่นการปฏิบัติการก่อการร้ายของกลุ่มอาเคดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายข้ามชาติ

การเจรจาเพื่อนำไปสู่การยุติความรุนแรงทางการเมืองจะเกิดขึ้นได้ต้องอาศัยเงื่อนไขดังต่อไปนี้
ทั้งสองฝ่ายเห็นตรงกันว่าไม่มีทางได้ในสิ่งที่ตนต้องการโดยใช้กำลังและทั้งสองฝ่ายมองเห็นประเด็นที่เจรจากันได้คือมีพื้นที่ของผลประโยชน์ร่วมกัน

1.5 เป้าหมายของการพัฒนาการทางการเมือง

เป้าหมายของการพัฒนาทางการเมือง เป็นเรื่องของเสถียรภาพทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมือง ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมือง ความเป็นสถาบันทางการเมือง และความทันสมัยหรือความเป็นสมัยใหม่ทางการเมือง

1.5.1 เสถียรภาพทางการเมือง
ในสังคมจะมีการเปลี่ยนแปลงเสมอ วิธีการที่จะทำให้สังคมมีเสถียรภาพก็โดยมีระบบปกครองที่ดี เช่น ระบบอำนาจนิยม ระบอบประชาธิปไตย และระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์ ซึ่งระบบประชาธิปไตยมีประสิทธิภาพที่สุดในการรักษาเสถียรภาพแต่อาจจะไม่สมบูรณ์ที่สุด

1.5.2 ความชอบธรรมทางการเมือง
ความชอบธรรมทางการเมืองนั้นเกิดขึ้นได้โดยการยอมรับของประชาชน ซึ่งอาจเกิดจากการขัดเกลาทางสังคมให้มีอุดมการณ์ทางการเมืองหรือวัฒนธรรมทางการเมืองสอดคล้องกับระบบการปกครองประเทศ

1.5.3 ประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมือง
ตัวบ่งชี้ถึงความมีประสิทธิภาพทางการเมืองนั้นโดยพิจารณาจากความสามารถในการดึงทรัพยากรมาใช้และการบังคับใช้กฎหมาย

1.5.4 ความเป็นสถาบันทางการเมือง
ความเป็นสถาบันทางการเมืองนั้นจะทำให้พัฒนาการทางการเมืองประสบผลสำเร็จ มีเสถียรภาพ เนื่องด้วยความยืดหยุ่น ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และความอิสระ ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามสังคม

1.5.5 ความทันสมัยทางการเมือง
สิ่งสำคัญในความทันสมัยทางการเมืองนั้นมีองค์ประกอบหลายอย่างด้วยกัน องค์ประกอบที่สำคัญในการทำให้มีความทันสมัยคือ การใช้เหตุผล หลักนิติธรรม การมีส่วนร่วม และความเท่าเทียมกัน

สาเหตุของการไม่มีเสถียรภาพทางการเมืองในช่วงที่สังคมมีการเปลี่ยนแปลงนั้นในทัศนะของไอเซนสตัดท์คือ
การเปลี่ยนแปลงแต่ละช่วงเวลาหรือแต่ละขั้นตอนของสังคมมักมีการขัดแย้งระหว่างผู้ที่รักษาสภาพคงเดิมกับผู้ที่ต้องการการเปลี่ยนแปลง

สิ่งที่จะทำให้ประชาชนยอมรับระบบการเมืองสมัยใหม่ว่ามีความชอบธรรมก็ทำได้โดยการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (political socialization) ซึ่งเป็นกระบวนการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวัฒนธรรมทางการเมืองหรือให้วัฒนธรรมทางการเมืองหนึ่งมีความมั่นคงยั่งยืน

ระบบการเมืองมีวิธีการในการระดมหรือดึงดูดทรัพยากรทางวัตถุและทรัพยากรมนุษย์
ดังต่อไปนี้
อาจใช้วิธีบังคับเช่นการเสียภาษี หรือการเกณฑ์ทหาร และวิธีสมัครใจถ้าระบบการเมืองสามารถกระตุ้นให้คนปฏิบัติตาม ความต้องการของระบบด้วยความสมัครใจแล้ว การบังคับอาจมีความสำคัญน้อย เช่นเรื่องการเกณฑ์ทหาร หลายประเทศเริ่มใช้วิธีการเกณฑ์ในยามปกติและใช้ความสมัครใจแทน เช่น อังกฤษ และอเมริกา เป็นต้น

ความยืดหยุ่น (flexibility) ซึ่งเป็นลักษณะหนึ่งของความเป็นสถาบันทางการเมือง (political institutionalization) หมายถึงความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมต่างๆได้มากสามารถทำให้ระบบการเมือง ผ่านพ้นภาวะวิกฤตต่างๆและเผชิญกับการท้าทายต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ระบบการเมืองสมัยใหม่ต้องมีรัฐบาลกลางที่มีอำนาจครอบคลุมทั้งระบบ” ข้อความนี้ไม่จริงทั้งหมด ระบบการเมืองที่ทันสมัยหรือสมัยใหม่ต้องมีรัฐบาลที่มีอำนาจควบคุมทางระบบก็จริงแต่มีอำนาจหลักหลักเท่านั้น และได้มีการกระจายอำนาจให้ท้องถิ่นจัดการตนเองตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศ

หน่วยที่ 2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงบริบททางสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การบริหารและการเมืองกับพัฒนาการทางการเมือง

2.1 กระบวนการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่ระบบรัฐธรรมนูญ

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 ระบบการเมืองอยู่ใน “ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์” แต่เมื่อคณะราษฎรได้ก่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวข้างต้น ทำให้ระบบการเมืองไทยเปลี่ยนแปลงมาเป็น “ระบอบรัฐธรรมนูญ”

2.1.1 จากสังคมไพร่ในสมัยอยุธยาสู่ระบบสังคมสามัญชนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
การที่ระบบสังคมไทยในสมัยอยุธยาเกิดความสับสนยุ่งเหยิงวุ่นวายและละรวมทำให้เป็นที่มาของการจัดระเบียบสังคมไพร่ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นที่มีความยืดหยุ่นประกอบกับในช่วงนี้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคมวัฒนธรรมและโดยเฉพาะระบบเศรษฐกิจที่เริ่มเข้าสู่ระบบทุนนิยมแบบผึ้งผ่าเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเสื่อมสลายในระบบไพร่ในสมัยอยุธยาและในที่สุดทำให้รัชกาลที่ 5 ทรงจําเป็นต้องยกเลิกสังคมไทยและได้มีการจัดระเบียบสังคมตามแบบตะวันตกทำให้สังคมไพร่เปลี่ยนแปลงมาสู่สังคมสามัญชนในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

2.1.2 จากระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองสู่ระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชยกรรม
ระบบเศรษฐกิจไทยก่อนทำสนธิสัญญาเบาว์ริงเป็นระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองภายหลังจากการที่ได้มีการทำสนธิสัญญาดังกล่าวระบบเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบพาณิชยกรรมหรือแบบการค้า

2.1.3 การปฏิรูปรัฐในสมัยรัชกาลที่ 5 สู่การบริหารภาครัฐหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
การปฏิรูปภาครัฐครั้งแรกได้เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยจัดให้มีการจัดตั้งกระทรวงขึ้นมา 12 กระทรวงเป็นต้น หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 การบริหารภาครัฐเป็นการรวมศูนย์อำนาจมีการผูกขาดและควบคุมการบริหารงานภาครัฐของส่วนกลางการจัดโครงสร้างองค์การมีลักษณะเป็นการจัดโครงสร้างองค์กรขนาดใหญ่เป็นต้น

2.1.4 การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใต้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองไทยจากสมัยสุโขทัยมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นโดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทำให้ประเทศไทยเริ่มมีสภาพของรัฐศาสตร์ที่รัฐบาลมีอำนาจครอบคลุมทั้งประเทศ ราษฎรมีความรู้สึกเป็นพลเมืองของรัฐ เป็นต้น การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองในลักษณะดังกล่าวถือได้ว่าพัฒนาการทางการเมืองไทยเริ่มต้นเกิดขึ้นแล้ว

2.1.5 การเปลี่ยนแปลงการพัฒนาทางการเมืองการปกครองพ. ศ. 2475 กับการก่อตัวของระบอบอำมาตยาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 แทนที่คณะราษฎรจะได้สถาปนาการปกครองระบอบประชาธิปไตยกลับกลายเป็นการปกครองโดยข้าราชการเมื่อเป็นเช่นนี้อำนาจทางการเมืองการปกครองจึงตกอยู่ในมือข้าราชการโดยใช้ระบบราชการเป็นฐานอำนาจทำให้เป็นที่มาของระบอบการปกครองที่เรียกว่า “ระบอบอำมาตยาธิปไตย” ที่ระบอบการปกครองในระบอบนี้ที่พุ่งขึ้นสุดยอดในสมัยจอมพลสฤษด ิ์ธนะรัชต์ และเริ่มเสื่อมลงภายหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516

ความสำคัญของระบบไพร่ในสมัยอยุธยา
ระบบไพร่ในสมัยสุโขทัยได้มีหลักฐานจากศิลาจารึกต่างๆยืนยันว่ามีแต่ในสมัยอยุธยากล่าวได้ว่าระบบไพร่หรือสังคมไพร่มีอายุยาวนานถึง 400 กว่าปีและมีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างอำนาจทางการเมืองความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเป็นปึกแผ่นของราชอาณาจักรแต่ต่อมาด้วยการจัดระเบียบของระบบไพร่ในสมัยอยุธยามีความหลากรวมยุ่งเหยิงวุ่นวายไม่มีประสิทธิภาพดังนั้นเมื่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นรัชกาลที่ 5 จึงได้ยกเลิกระบบหรือสังคมไพ่ดังกล่าวและเปลี่ยนแปลงมาสู่ระบบสามัญชน

ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเอง
ลักษณะของระบบเศรษฐกิจแบบเลี้ยงตัวเองหรือแบบพอยังชีพก็มีลักษณะที่การผลิตสิ่งต่างๆไม่ว่าจะเป็นเครื่องอุปโภคบริโภคเป็นต้นมักจะมีวัตถุประสงค์หลักที่เห็นได้อย่างชัดแจ้งนั่นก็คือเป็นการผลิตเพื่อการเลี้ยงตนเองมิได้ผลิตเพื่อขายและเมื่อมีของเหลือใช้จึงส่งไปขายซึ่งระบบเศรษฐกิจดังกล่าวจะมีลักษณะที่แตกต่างไปจาก “ระบบ Market economy”

ลักษณะการบริหารภาครัฐในสมัยหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475
ยังคงมีลักษณะของการมุ่งการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางมีการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีขนาดใหญ่ตลอดรวมทั้งมีการขยายตัวขององค์กรภาครัฐในช่วงนี้เป็นอย่างมาก

ลักษณะของการบริหารภาครัฐโดยพัฒนาในการรับคนเข้ามาทำหน้าที่รับใช้ผู้ปกครองในสมัยสุโขทัย
ลักษณะของการบริหารภาครัฐในสมัยสุโขทัยกลไกภาครัฐจะมีลักษณะเป็นผู้รับใช้ผู้ปกครองในสมัยนี้ยังไม่มีการแบ่งส่วนกรม กอง การสามารถคัดเลือกคนเข้ามาทำหน้าที่ที่ใช้ระบบคุณธรรม ปรากฏว่าในสมัยนี้ยังคงใช้ระบบความสัมพันธ์ทางเครือญาติตลอดจนความชอบพอกันเป็นส่วนตัว

ที่มาของแนวคิดทางการเมืองไทยที่เริ่มเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย
เริ่มมาจากการที่มีการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงในพ. ศ. 2398 แล้วหลังจากนั้นต่อมาก็ได้มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตย

2.2 กระบวนการเปลี่ยนแปลงภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตยสู่การก่อตัวของระบอบธนาธิปไตย

ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองไทยมาเป็นระบอบรัฐธรรมนูญ คณะราษฎรก็ไม่ได้ทำการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองให้เป็นระบอบประชาธิปไตย หากแต่กลับกลายเป็นระบอบอำมาตยาธิปไตยที่บรรดาข้าราชการทหารและพลเรือนระดับสูงเป็นผู้มีอำนาจในการตัดสินกำหนดนโยบาย

2.2.1 การก่อตัวขึ้นของชนชั้นกลางและกลุ่มปัญญาชน
ผลของการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้ทำให้เกิดการขยายตัวของชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกับการเกิดขึ้นของกลุ่มปัญญาชนที่ทั้ง 2 กลุ่มได้มีบทบาทในการกำหนดทิศทางเศรษฐกิจการเมืองไทย

2.2.2 พัฒนาการของระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพาสู่ระบบทุนนิยมเสรี
ระบบเศรษฐกิจไทยในช่วงพ. ศ. 2543 ถึง 2475 เป็นระบบเศรษฐกิจแบบพึ่งพา ต่อมาภายหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 ระบบเศรษฐกิจไทยได้เปลี่ยนมาเป็นระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยรัฐและมาในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้เปลี่ยนมาเป็นเศรษฐกิจทุนนิยมเสรี

2.2.3 ปัญหาการบริหารภาครัฐภายใต้การก่อตัวของระบอบธนาธิปไตย
มีปัญหาการบริหารภาครัฐในช่วงที่มีการ “ก่อตัวของระบอบธนาธิปไตย” อยู่หลายประการ อาทิ การกระจายอำนาจทางการบริหาร การแปรสภาพของกิจการภาครัฐให้เป็นกิจกรรมเอกชน การปฏิรูปกฎหมายและระเบียบกฎเกณฑ์ที่มีความล้าหลังไม่ทันสมัย

2.2.4 ประชาธิปไตยจําแลงภายใต้เผด็จการคณาธิปไตย
การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 ประชาธิปไตยที่คณะราษฎรอ้างเป็นประชาธิปไตยเพียงรูปแบบ คือมีสถาบันประชาธิปไตยแต่ในอีกด้านมีการปฏิวัติรัฐประหารมาโดยตลอด ผลทำให้การเมืองการปกครองไทยเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการอํานาจนิยมโดยคณะทหารหลายช่วงขณะเดียวกันในช่วงดังกล่าวก็ได้มีความพยายามจัดตั้งสถาบันและกระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยที่เป็นเพียงประชาธิปไตยแบบจําแลงภายใต้เผด็จการคณาธิปไตย

2.2.5 จากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 นำไปสู่ช่วงถ่ายเทอำนาจกับการก่อตัวของระบอบธนาธิปไตย
นับตั้งแต่หลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516ได้มีการถ่ายเทอำนาจทางการเมืองจากกลุ่มข้าราชการมาสู่กลุ่มธุรกิจ ที่เกิดจากกลุ่มข้าราชการเสื่อมอำนาจลงในขณะที่กลุ่มธุรกิจเริ่มมีอำนาจทางการเมืองมากขึ้นและได้ทำให้เป็นที่มาของการก่อตัวของระบอบธนาธิปไตย

ที่มาของการก่อตัวของชนชั้นกลาง
ผลของการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงได้มีส่วนทำให้เกิดชนชั้นกลางขึ้นมาต่อมาชนชั้นนี้ได้มีการขยายจำนวนเพิ่มมากขึ้นภายหลังการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีในสมัยจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ และหลังจากนั้นก็มีการขยายตัวของชนชั้นกลางโดยเฉพาะในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลและตามหัวเมืองใหญ่และต่อมาได้เข้ามาเคลื่อนไหวทางการเมืองในช่วงสำคัญอยู่หลายช่วงที่มีผลดีต่อพัฒนาทางการเมือง

ลักษณะของเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยรัฐ
ลักษณะเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยรัฐที่เกิดขึ้นในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นเศรษฐกิจที่รัฐเข้ามาลงทุนดำเนินกิจการต่างๆหลายด้าน ทำให้เกิดชนชั้นนายทุนรุ่นใหม่ที่เติบโตภายใต้ความคุ้มครองของอำนาจราชการและอำนาจทางการเมือง โดยลักษณะเศรษฐกิจแบบทุนนิยมโดยรัฐได้ก่อให้เกิดการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจขึ้นมากมาย

ุ    ปัญหาการบริหารภาครัฐภายใต้การก่อตัวของระบอบธนาธิปไตย
– การกระจายอำนาจทางการบริหาร
– การแปรสภาพกิจกรรมของภาครัฐให้เป็นกิจกรรมของภาคเอกชน
– การปฏิรูปกฎหมายและกฎระเบียบ กฎเกณฑ์ที่ล้าหลังไม่ทันสมัย
– การปฏิรูประบบงบประมาณของภาครัฐไทย
– การขจัดปรัชญาการบริหารภาครัฐที่ผูกขาดอำนาจ

ลักษณะของประชาธิปไตยแบบจําแลงภายใต้เผด็จการคณาธิปไตยโดยคณะทหารมีลักษณะที่การเมืองเป็นการปกครองในระบอบเผด็จการคณาธิปไตยโดยคณะทหาร แต่อย่างไรก็ตามก็ได้มีความพยายามที่จะทำการจัดตั้งสถาบันและกระบวนการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยขึ้นมาแต่ตามความเป็นจริงแล้วสถาบันและกระบวนการทางการเมืองที่คณะทหารพยายามจัดตั้งขึ้นมาหาเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงไม่อาจแต่เป็นเพียงประชาธิปไตยแบบจําแลงภายใต้เผด็จการคณาธิปไตยโดยคณะทหารเท่านั้น

ลักษณะของระบอบการปกครองแบบคณาธิปไตยเป็นเรื่องของการใช้อำนาจเงินเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจทางการเมืองทำให้เกิดสภาพของระบอบธนาธิปไตยหรืออธิปไตยของเงินตราทำให้การเมืองไทยในช่วงนี้กลายเป็นเรื่องของเงินตรา (Money Politics) ที่เงินเข้ามามีบทบาทในการเมืองไทยโดยการใช้เงินในแทบทุกขั้นตอนของคณะกรรมการทางการเมือง

2.3 กระบวนการเปลี่ยนแปลงในช่วงต้นภายใต้ระบอบธนาธิปไตยสู่การปฏิรูปทางการเมืองไทย

ต่อมาเมื่อระบอบการปกครองระบอบแบบอำมาตยาธิปไตยเสื่อมลงเนื่องมาจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 บรรดากลุ่มธุรกิจที่เคยรับการอุปถัมภ์จากข้าราชการก็ได้เริ่มให้ความสนใจเข้ามาสู่ระบบการเมืองทำให้เกิดการก่อตัวของระบอบธนาธิปไตยที่อำนาจในการตัดสินกำหนดนโยบายตกอยู่ในมือของกลุ่มธุรกิจ

2.3.1สังคมและวัฒนธรรมวัตถุนิยมและการบริโภคนิยมผสมผสานกับระบบอุปถัมภ์
ผลของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีได้ทำให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ให้ความสำคัญกับวัตถุนิยม ขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้ก่อให้เกิดกลุ่มของเศรษฐกิจ ได้แก่กลุ่มธุรกิจที่นอกจากเข้ามามีบทบาททางเศรษฐกิจแล้วยังเข้าไปมีบทบาททางการเมืองด้วยการเข้าไปมีความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์กับกลุ่มข้าราชการ

2.3.2 ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่ขาดดุลยภาพ
ลักษณะระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่ขาดดุลยภาพหมายถึงการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีแต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นอยู่บนพื้นฐานของการไม่สมดุลหรือยังมีลักษณะขาดดุลยภาพในแง่ของความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้

2.3.3 ข้อเสนอเพื่อนำไปสู่การปฏิรูปปรัชญาหรือกระบวนทัศน์การบริหารภาครัฐใหม่
ข้อเสนอในการปฏิรูปตัดยาหรือกระบวนทัศน์ในการบริการเสนอรัฐใหม่เกิดจากปัญหาอุปสรรคที่ทำให้เกิดความพยายามในการปฏิรูปภาครัฐหรือการปฏิรูประบบราชการที่ผ่านมาผลทำให้เกิดปรัชญาหรือกระบวนทัศน์ให้การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่

2.3.4 สภาพปัญหาของการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองภายใต้ช่วงต้นของระบอบธนาธิปไตย
ปัญหาการเมืองภายใต้ระบอบธนาธิปไตยได้แก่ ปัญหาการใช้เงินซื้อเสียงของนักการเมืองเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจทางการเมือง ปัญหาการแย่งตำแหน่งอำนาจ ปัญหาการแสดงอำนาจบาตรใหญ่ของนักการเมือง เป็นต้น

2.3.5 การเปลี่ยนแปลงการเมืองระบอบคณาธิปไตยในช่วงต้นสู่การปฏิรูปการเมือง
แมนจะมีการปฏิรูปการเมืองเพื่อนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง แต่การเมืองไทยก็ยังมีปัญหา อาทิ ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมทางการเมือง ปัญหาการตรวจสอบ การใช้อำนาจของรัฐขององค์กรอิสระ ปัญหาความสัมพันธ์ของสถาบันทางการเมืองและระหว่างสถาบันทางการเมือง เป็นต้น ถ้าปัญหาดังกล่าวสามารถแก้ไขให้ลุล่วงได้ก็จะทําให้การเมืองไทยเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงได้

ลักษณะของระบบทุนนิยมไทยภายใต้ระบบอุปถัมภ์ในช่วงปีพ. ศ 2490 ถึง 2500
ระบบทุนนิยมไทยเป็นระบบทุนนิยมภายใต้ระบบอุปถัมภ์และคุ้มครองของระบบราชการและขุนนางที่เรียกกันว่า “ทุนนิยมโดยรัฐ” โดยเฉพาะในช่วงที่จอมพลป. พิบูลสงครามขึ้นมามีอำนาจ

ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีที่ขาดดุลยภาพ
หมายถึง การมีลักษณะของระบบเศรษฐกิจที่การเจริญเติบโตที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความไม่สมดุลของการพัฒนาหรือยังมีลักษณะที่ขาดดุลยภาพ คือยังมีปัญหาของความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้ระหว่างเมืองกับชนบทระหว่างคนรวยกับคนจน แล้วรวมทั้งจากการพัฒนาระหว่างภูมิภาคต่างๆของประเทศ

กรณีที่เกิดข้อเสนอแนะการปฏิรูปปรัชญาหรือกระบวนทัศน์ในการบริหารภาครัฐที่มา เกิดจากปัญหาอุปสรรคที่ทำให้เกิดความพยายามในการปฏิรูปปัญญาหรือกระบวนทัศน์ในการบริหารภาครัฐที่มีชื่อว่า “กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่”

ปัญหาของการเมืองไทยภายใต้ระบอบธนาธิปไตยมีดังนี้
1 ปัญหาเรื่องของการใช้เงินซื้อเสียงของนักการเมืองเพื่อเข้าสู่ตำแหน่งอำนาจทางการเมือง
2 ปัญหาการแก่งแย่งตำแหน่งทางการเมือง

การปฏิรูปการเมืองทั้งระบบได้มีการมุ่งเน้นไปใน 3 เรื่องได้แก่
1 การปฏิรูประบบพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
2 การสร้างองค์กรตรวจสอบและกระบวนการสอบสวนลงโทษ
3 การสร้างสถานะผู้นำให้แก่นายกรัฐมนตรี

2.4กระบวนการเปลี่ยนแปลงในช่วงปลายของระบอบธนาธิปไตยสู่ระบอบประชาธิปไตยทางเลือก

การเกิดขึ้นของระบอบธนาธิปไตยได้นำไปสู่การทำให้การเมืองเป็นเรื่องของธุรกิจ หรือ”ธุรกิจการเมือง” ทำให้การเมืองไทยเริ่มกลายเป็นเรื่องของเงินตรา นำมาสู่การปฏิรูปการเมืองที่ทำให้เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และภายหลังเกิดเหตุการณ์รัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ได้ทำให้เป็นที่มาของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 ที่นำแนวคิดเกี่ยวกับ “ประชาธิปไตยแนวทางใหม่” หรือ “ประชาธิปไตยทางเลือก” มาบรรจุไว้ในรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผลทำให้การเมืองแบบตัวแทนลดบทบาทและอำนาจลง ระบบการเมืองไทยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวได้มีส่วนสนับสนุนส่งเสริมการเมืองภาคพลเมืองหรือการเมืองภาคประชาชนที่ถือว่ามีผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยทางด้านบวก จากการเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทยดังกล่าวข้างต้น ส่วนที่สำคัญอย่างยิ่งเกิดจากกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม วัฒนธรรมรวมทางเศรษฐกิจการบริหารและกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเองด้วย แต่เนื่องจากระบอบธนาธิปไตยที่ได้เริ่มก่อตัวในช่วงต้นและพัฒนาเรื่อยมาจนกระทั่งช่วงปลายทำให้เกิดการก่อตัวของการเคลื่อนไหวของสังคมแนวใหม่ที่เกิดขึ้นตั้งแต่หลังการมีรัฐธรรมนูญฉบับพุทธศักราช 2550 จนกระทั่งมาถึงปัจจุบันที่นำไปสู่การเสื่อมลงของระบอบการเมืองดังกล่าวและอาจนำไปสู่จุดจบของระบอบการปกครอง

2.4.1 จากสังคมที่นิยมในวัตถุและบริโภคนิยมสู่สังคมและวัฒนธรรมการบริโภคเชิงสัญญะ
การที่แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1-7 มี GDP โดยเฉลี่ยอยู่ในระดับร้อยละ 7 โดยในช่วงนั้นแม้นจะมีการต่อสู้ตลอดจนมีความขัดแย้งทางการเมืองในรูปของการปฏิวัติรัฐประหารมาโดยตลอดแต่เศรษฐกิจสังคมโดยรวมไม่ค่อยมีปัญหาจึงทำให้สังคมวัฒนธรรมไทยในช่วงมีค่านิยมที่ให้ความสำคัญกับวัตถุและบริโภคนิยมแต่มาภายหลังสังคมวัฒนธรรมตลอดจนค่านิยมของคนในสังคมไทยก็เปลี่ยนแบบแผนในการดำเนินชีวิตมาให้ความสำคัญกับการบริโภคเชิงสัญญะ

2.4.2 จากการพัฒนาระบบทุนนิยมเสรีสู่ระบบเศรษฐกิจทางเลือก
แผนที่ระบบเศรษฐกิจของไทยที่มีการเปลี่ยนแปลงจากระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีมาสู่เศรษฐกิจทางเลือกส่วนสำคัญส่วนหนึ่งเสมอมาจากปัญหาความเหลื่อมล้ำทางด้านรายได้ระหว่างคนในเมืองกับชนบทและระหว่างคนรวยกับคนจนประกอบกับที่สังคมไทยยังไม่สามารถแก้การมีหนี้สินปัญหาความยากจนจึงทำให้หันมาใช้ระบบเศรษฐกิจทางเลือกที่นอกจากระบบเศรษฐกิจระดับท้องถิ่นจะเป็นเศรษฐกิจชุมชนหรือวิสาหกิจชุมชนหรือธุรกิจชุมชนแล้ว แผนพัฒนาฉบับที่ 9 ยังได้อัญเชิญปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาตั้งแต่ฉบับที่ 9 จนถึงแผนพัฒนาฉบับที่ 11 ที่เชื่อกันว่าเศรษฐกิจชุมชนรวมทั้งปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ควบคู่กับระบบเศรษฐกิจทุนนิยมเสรีแสดงว่าสังคมไทยเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจทางเลือก

2.4.3 การปฏิรูปภาครัฐภายใต้กระบวนทัศน์การบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่
การปฏิรูปภาครัฐหรือการปฏิรูประบบราชการในเดือนตุลาคมพ.ศ 2545ได้นำกระบวนทัศน์ “การบริหารจัดการภาครัฐ” มาเป็นกรอบโดยหวังจะให้บทบาทภาครัฐมีบทบาทและขนาดที่เล็กลงโดยส่งเสริมให้มีการใช้กลไกตลาดมาช่วยในการจัด ทรัพยากรมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งมีการแตกหน่วยงานออกเป็นส่วนย่อย ตลอดจนกระทั่งให้มีการกระจายอำนาจให้กับส่วนท้องถิ่นแต่ปรากฏว่าการบริหารภาครัฐอ่อนแอ การบริหารงานไร้ประสิทธิภาพ ไร้ประสิทธิผล เป็นต้น

2.4.4 การพัฒนาทางการเมืองไทยจากระบอบธนาธิปไตยช่วงปลายสู่ระบอบประชาธิปไตยทางเลือก
ภายหลังได้จัดให้มีการปฏิรูปการเมืองในสมัยรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปะอาชา ก็ทำให้มีการจัดทำรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 และตามมาด้วยฉบับพ. ศ. 2550 โดยคาดว่าระบอบประชาธิปไตยของไทยจะเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริงเพราะตามรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับได้นำแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยทางเลือกหรือประชาธิปไตยแนวทางใหม่เข้ามาผสมผสานกับประชาธิปไตยแบบตัวแทนโดยเฉพาะรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2550 แต่เนื่องจากการเมืองในช่วงนี้การเมืองในระบอบธนาธิปไตยที่น่าจะถือได้ว่าเป็นช่วงปลายยังคงดำเนินอยู่แต่การนำแนวคิดเกี่ยวกับประชาธิปไตยทางเลือกมาบรรจุไว้ด้วยก็น่าจะถือได้ว่าการเมืองไทยมีแนวโน้มของการพัฒนาทางการเมืองเป็นไปในทางบวก

การบริโภคเชิงสัญญะจะเป็นการบริโภคเพื่อสร้างความเป็นตัวตนเพื่อแยกตนเองออกจากบุคคลอื่น

ที่มาของเศรษฐกิจทางเลือกเกิดขึ้นเพราะบรรดามวลชนและขบวนการรากหญ้าหรือที่เรียกว่า Grassroot Movement ได้หาทางเลือกเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับพวกตนซึ่งบรรดาคนกลุ่มนี้ได้มีจำนวนมากเพิ่มขึ้นในการแสวงหา “เศรษฐกิจทางเลือก” หรือ “ทางเลือกด้านเศรษฐกิจ” โดยเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา

การปฏิรูปภาครัฐหรือการปฏิรูประบบราชการในเดือนตุลาคมพ. ศ. 2545 โดยนำกระบวนทัศน”์การบริหารจัดการภาครัฐใหม”่มาประยุกต์ใช้มีผลดังนี้
ยังได้ผลไม่เป็นที่น่าพอใจยกตัวอย่างกรณีของค่านิยมทางการบริหารปรากฏว่าการบริหารภาครัฐบาลรัฐ

หน่วยที่ 3 สถาบันพระมหากษัตริย์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย

3.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ไทย

สถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยเป็นสถาบันทางการเมืองที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เจ้าชีวิต และองค์อธิปัตย์ มาจากลัทธิความเชื่อและศาสนา ส่งรับผิดชอบโดยตรงต่อการบริหารราชการแผ่นดิน การสงคราม และการต่างประเทศ ส่วนสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตยเป็นสถาบันทางการเมืองที่พระมหากษัตริย์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขของรัฐทรงใช้อำนาจผ่านสถาบันนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ ทำให้ทรงเป็นกลางทางการเมืองและอยู่เหนือการเมือง ทรงมีพระราชอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญและพระราชอัธยาศัย

3.1.1 แนวคิดสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ราชาธิปไตยคือแนวคิดและระบอบการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุด ทรงมีพระราชอำนาจเหนือผู้คนในแผ่นดินมีความสัมพันธ์กับศาสนาและความเชื่อก่อให้เกิดพัฒนาการที่มีความสัมพันธ์กับรัฐจารีตแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบคือ แนวคิดการเมืองการปกครองแบบปิตุราชาธิปไตยหรือพ่อปกครองลูก แบบระบอบประชาธิปไตยธรรมราชาและจักรพรรดิราช แบบเทวราชา และแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์

3.1.2 แนวคิดสถาบันพระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตยคือการปกครองของประชาชนโดยประชาชนเพื่อประชาชน สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่เหนือการเมืองพระมหากษัตริย์ทรงดำรงสถานะเป็นประมุขของรัฐทรงมีพระราชอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญด้วยทรงใช้พระราชอำนาจอธิปไตยผ่านสถาบันนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ และพระราชอํานาจตามพระราชอัธยาศัย พระราชอำนาจและฐานะจึงกำหนดในรัฐธรรมนูญส่วนหนึ่งและคตินิยมโบราณอันได้แก่ นิติราชประเพณีและราชธรรม อีกส่วนหนึ่ง

แนวคิดเทวราชาที่ประเทศไทยรับจากอิทธิพลของขอมสมัยสุโขทัยและโดดเด่นสมัยอยุธยาส่งผลให้สถาบันพระมหากษัตริย์มีความเปลี่ยนแปลงนับตั้งแต่การเป็นสมมติเทพทำให้พระนามของพระมหากษัตริย์ที่ตั้งชื่อสอดคล้องกับเทพเจ้าของศาสนาฮินดูที่สำคัญคือ สมเด็จพระรามาธิบดี สมเด็จพระนารายณ์ การสร้างที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่เปรียบเสมือนที่ประทับของเทพเจ้าที่ยิ่งใหญ่อลังการเหมือนเขาพระสุเมรุ การกำหนดบุคคลเบื้องซ้ายและเบื้องขวากลายเป็นที่ของสมุหนายกและสมุหกลาโหม การกําหนดท้าวโลกบาลทั้ง 4 ทิศกลายเป็นที่มาของแนวคิดจตุสดมภ์ทั้ง 4 ที่ประกอบด้วย เวียง วัง คลัง นา และมีผลต่อโครงสร้างสังคมการเมืองอย่างกว้างขวางนับตั้งแต่ความสัมพันธ์ระหว่างกษัตริย์ที่เนื่องจากเป็นเทพกับบุคคลทำให้ต้องใช้ราชาศัพท์กับพระมหากษัตริย์การกำหนดขุนนางต้องรับใช้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิดทำให้มีพิธีกรรมที่แสดงความศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญคือ พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา ก่อให้เกิดลิลิตโองการแช่งน้ำ ความเป็นเทพของพระมหากษัตริย์ทำให้ราษฎรห้ามมองหรือจ้องพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นเจ้าชีวิต และเจ้าของที่ดิน นำไปสู่การกำหนดศักดินาและเป็นที่มาของระบบไพร่ในประเทศไทย

จากสถานะของพระมหากษัตริย์ที่ทรงเป็นประมุขของแผ่นดินมีความหมายว่าสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นสถาบันประมุขของรัฐมีคุณลักษณะเฉพาะคือ
1 เป็นที่มาแห่งเกียรติด้วยทรงมีพระราชตระกูลสูง ส่งเสริมราชสันตติวงศ์ พสกนิกรและนานาชาติให้ยอมรับนับถือ
2 ทรงเป็นกลางทางการเมืองไม่ทรงสนับสนุนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งทรงเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายและทรงเป็นผู้ประสานความขัดแย้ง
3 ทรงเป็นพระประมุขถาวรจึงทำให้ทรงมีพระปรีชาสามารถทรงรอบรู้และสั่งสมประสบการณ์มายาวนานทรงเล็งเห็นการไกลที่สอดคล้องกับผลประโยชน์ของชาติ
4 ทรงเป็นศูนย์รวมของความเป็นชาติเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของพสกนิกรและเป็นที่มาของความสมัครสมานสามัคคี

3.2 สถาบันพระมหากษัตริย์กับพัฒนาการทางการเมืองในระบอบราชาธิปไตย

สถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินพ. ศ. 2435 เป็นสถาบันทางการเมืองสูงสุดมีพระราชอำนาจทางทฤษฎีสูงสุด ขุนนางที่มีอำนาจทางการเมืองจึงท้าทายพระมหากษัตริย์ จนช่วงเวลาของการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ 2435ประเทศจึงมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดแต่ภายหลังต้องเผชิญการท้าทายจากข้าราชการและสังคมที่เปลี่ยนแปลง ความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและปัจจัยทั้งภายนอกและภายในนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475

3.2.1 สถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาการทางการเมืองก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินพ. ศ. 2435
สถาบันพระมหากษัตริย์ก่อนการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินพ. ศ. 2435 เป็นสถาบันทางการเมืองสูงสุดมีพระราชอำนาจทางทฤษฎีสูงสุดแต่ในทางปฏิบัติทรงมอบอำนาจให้ขุนนางเพื่อทำหน้าที่บริหารราชการแผ่นดินทำให้ขุนนางมีอำนาจท้าทายพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่สมัยอยุธยา ธนบุรี และรัตนโกสินทร์ นับเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้องปฏิรูปการปกครองเช่นเดียวกับการคุกคามจากตะวันตกภายหลังการปฏิวัติอุตสาหกรรมเพื่อนำสยามสู่การสถาปนารัฐสมัยใหม่ที่เป็นรัฐชาติ

3.2.2 สถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาการทางการเมืองภายหลังการปฏิรูปการปกครองแผ่นดินพ.ศ 2435 ถึงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
การปฏิรูปการปกครองแผ่นดินรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ 2435 ทำให้ประเทศมีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่พระมหากษัตริย์ทรงมีพระราชอำนาจสูงสุดแต่การรวมอำนาจที่สถาบันพระมหากษัตริย์ทำให้มีการท้าทายอย่างต่อเนื่องความเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมและปัจจัยทั้งภายนอกและภายในนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

สถาบันทางการเมืองที่สนับสนุนและท้าทายสถาบันพระมหากษัตริย์สมัยรัตนโกสินทร์
สถาบันขุนนาง ขุนนางตระกูลบุนนาคนับเป็นขุนนางที่มีบทบาทสำคัญต่อการสนับสนุนและการท้าทายพระมหากษัตริย์นับตั้งแต่สายบุนนาคที่มี เชค อะหมัด เจ้ากรมท่าขวาสมัยอยุธยาชาวเปอร์เซียเป็นบรรพบุรุษมีบทบาทสำคัญนับตั้งแต่การสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเป็นเพื่อนสนิทของสินหรือพระเจ้าตากสินมหาราชหรือพระเจ้ากรุงธนบุรี และทองด้วงหรือพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชมีบทบาทสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์เป็นที่มาของตระกูลบุนนาคที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดบุคคลที่เป็นพระมหากษัตริย์ในภายหลังนับตั้งแต่สมเด็จเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์ (ดิส บุนนาค) ที่ดำรงตำแหน่งเป็นสมุหกลาโหมและกรมพระคลังภายหลังที่สนับสนุนกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวแทนเจ้าฟ้ามงกุฎที่ภายหลังสมเด็จเจ้าพระยามหาประยุรวงศ์ (ดิส บุนนาค) และสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ(ทัต บุนนาค) สนับสนุนให้ครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและที่สำคัญคือสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) สนับสนุนให้ครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและทรงโปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินเนื่องจากทรงเป็นยุวกษัตริย์นับเป็นช่วงเวลาที่ขุนนางตระกูลบุนนาคมีอำนาจทางการเมืองสูงสุดเพราะดำรงตำแหน่งขุนนางสูงสุดในประเทศจำนวน 21 ตำแหน่งจากทั้งหมด 30 ตำแหน่ง

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7ทรงวางรากฐานการพัฒนาการปกครองของประเทศเริ่มจากการฟื้นฟูสถาบันทางการเมืองที่สำคัญอภิรัฐมนตรีสภา การตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจระหว่างสถาบันทางการเมือง การวางรากฐานทางการเมืองการปกครอง และการพระราชทานรัฐธรรมนูญ

3.3 สถาบันพระมหากษัตริย์กับพัฒนาการทางการเมืองในรัฐธรรมนูญไทย

ความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมและกษัตริย์นิยมหรือนิยมเจ้า นับเป็นความคิดทางการเมืองที่สําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ สถาบันพระมหากษัตริย์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุยเดชทรงมีบทบาทสำคัญในการจรรโลงประชาธิปไตย ช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่สำคัญทรงมีพระราชดำริ พระราชดํารัส และพระราชกรณียกิจที่สำคัญผ่านโครงการพระราชดำริจำนวนมาก

3.1.1 สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเปลี่ยนแปลงความคิดทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
ความคิดทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมที่เน้นการเปลี่ยนแปลงเพื่อการคงอยู่หรือดำรงอยู่ของสถาบันทางการเมืองเดิมและกษัตริย์นิยมหรือนิยมเจ้าที่เน้นสถาบันพระมหากษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองนับตั้งแต่ช่วงทศวรรษ 2490 นับเป็นความคิดทางการเมืองที่สําคัญของสถาบันพระมหากษัตริย์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชรัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์

3.3.2 สถาบันพระมหากษัตริย์กับการเปลี่ยนแปลงสถานะสู่การเป็นประมุขของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญ
ในพ. ศ. 2475 นับเป็นความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์อยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญเปลี่ยนผ่านรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2492และรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2475แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2495จนเป็นที่ยอมรับเทิดทูนและมีพระราชอำนาจสมัยจอมพลสฤษด ิ์ธนะรัชต์

3.3.3 สถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาการเมืองการปกครองระบอบประชาธิปไตย
สถาบันพระมหากษัตริย์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีบทบาทสำคัญในการจรรโลงประชาธิปไตยช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่สำคัญประกอบด้วยการแพร่ขยายของลัทธิคอมมิวนิสต์เหตุการณ์วันที่ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516 เหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคมพ. ศ. 2519 ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองช่วงทศวรรษที่ 2520 และเหตุการณ์วันที่ 17-20 พฤษภาคมพ. ศ. 2535

3.3.4 สถาบันพระมหากษัตริย์กับการพัฒนาประเทศ
สถาบันพระมหากษัตริย์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงมีพระราชดำริพระราชดำรัสและพระราชกรณียกิจที่สำคัญผ่านโครงการพระราชดำริจำนวนมากที่มีความเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมและบริบททางการเมืองที่แตกต่างกันแต่ละยุคสมัยหรือช่วงเวลาที่สำคัญคือ สมัยจอมพลป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษด ิ์ธนะรัชต์ พลเอกเปรม ติณสุลานนท์ และก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทั้งการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการ การถือกำเนิดขององค์การพัฒนาเอกชนและการถือกำเนิดของเครือข่ายราชสำนักผ่านโครงการพระราชดำริ

เจ้านายที่มีบทบาทสำคัญต่อการฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์
เจ้านายที่สำคัญประกอบด้วย พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร พระราชโอรสพระองค์สุดท้ายของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงมีพระชนม์ชีพ(พ. ศ. 2428 ถึง 2494) ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ประธานองคมนตรี ผู้นำคนสำคัญฝ่ายกษัตริย์นิยมภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 มีบทบาทสำคัญในการรื้อฟื้นพระราชอำนาจของสถาบันพระมหากษัตริย์และกรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากรหรือพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าธานีนิวัต สมาชิกคณะอภิรัฐมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว นักวิชาการ นักเรียนอังกฤษผู้ปราดเปรื่อง องคมนตรี และประธานองคมนตรีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ภายหลังการสิ้นพระชนม์ของพลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนชัยนาทนเรนทร ทรงมีบทบาทสำคัญฟื้นฟูสถาบันพระมหากษัตริย์

พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสละราชสมบัติเมื่อวันที่ 2 มีนาคมพ. ศ. 2477 เนื่องด้วยการล่วงล้ำพระราชอำนาจของคณะราษฎรทั้งนี้เพราะทรงไม่มีบทบาทคัดเลือกสมาชิกสภาผู้แทนประเภทที่ 2 ที่ทรงแต่งตั้งในรัฐสภาตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2475 ฉบับถาวรที่ระบุว่าเสียงข้างมากสามารถยับยั้งพระราชบัญญัติของพระมหากษัตริย์ได้และการที่รัฐบาลมีอำนาจแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาจำนวนครึ่งหนึ่งนอกจากนี้ข้อเรียกร้องของพระองค์ไม่ได้รับการปฏิบัติจากรัฐบาลทั้งที่เป็นประเพณีปฏิบัติของพระมหากษัตริย์ อาทิ พระราชอำนาจออกเสียงแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภา พระราชอำนาจอภัยโทษในกรณีที่ต้องโทษประหารชีวิต เป็นต้น โดยส่งให้เหตุผลว่าพระองค์ควรมีบทบาทมากขึ้นเมื่อรัฐบาลไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่จำกัดอยู่เฉพาะรัฐพิธีเท่านั้น แมนรัฐบาลไม่พยายามทำให้ทรงสละราชสมบัติ ขณะเดียวกันก็ปฏิเสธที่จะทำตามพระราชประสงค์ ทำให้ปฏิเสธข้อเรียกร้องของพระองค์อย่างสุภาพและนุ่มนวล การเสด็จเดินทางไปต่างประเทศยิ่งทำให้ช่องว่างระหว่างพระองค์กับคณะราษฎรห่างเหินกันมากยิ่งขึ้นนำมาสู่การสละราชสมบัติ

สถาบันพระมหากษัตริย์ราชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้มีการกำหนดกุศโลบายท่ามกลางความขัดแย้งจากการแพร่ขยายลัทธิคอมมิวนิสต์ด้วยการปฏิบัติพระราชภารกิจอย่างรอบด้าน กล่าวคือ กับทหาร ตำรวจ ข้าราชการ พลเรือน และเจ้าหน้าที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นหลักชัย เป็นมิ่งขวัญแก่ผู้ปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ผู้ปฏิบัติหน้าที่มีจิตใจที่เข้มแข็ง ที่สำคัญที่สุด ได้แก่ การเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยือนถึงแนวหน้า การพระราชนิพนธ์เพลงเพื่อให้กำลังใจ การพระราชทานเพลิงศพแก่ผู้เสียชีวิต การมอบหมายให้มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์เป็นผู้ดูแลเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติหน้าที่ที่พิการและครอบครัวของเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตกับประชาชนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตระหนักถึงความทุกข์ยากของราษฎรจึงทรงมีโครงการพระราชดำริขึ้นหลายพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจน

เครือข่ายราชสำนักจากโครงการพระราชดำริที่สำคัญประกอบด้วยผู้มีบทบาทสำคัญคือ ปัญญาชน ที่จัดภายใต้โครงสร้างส่วนพระองค์ได้แก่ คณะองคมนตรี พระราชสำนักในสํานักราชเลขาธิการ และสำนักพระราชวังที่สำคัญคือ นายขวัญแก้ว วัชโรทัย ม.ร.ว. เทพฤทธิ์ เทวกุล
ปัญญาชนยุคการพัฒนาเพื่อความมั่นคง (พ. ศ. 2501 ถึง 2523) ที่มีบทบาทสำคัญคือ แก้วขวัญ วัชโรทัย พระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าวิภาวดี รังสิต หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี พลตำรวจเอกวศิษฐ์  เดชกุญชร
และปัญญาชนยุคกำเนิดองค์การประสานงาน (พ. ศ. 2524 ถึง 2530) ที่สำคัญประกอบด้วย นายสุเมธ ตันติเวชกุล
และปัญญาชนยุคกำเนิดองค์กรพัฒนาเอกชน นับตั้งแต่พศ 2531 ที่สำคัญคือ ศาสตราจารย์นายแพทย์ประเวศ วะสี

3.4 สถาบันพระมหากษัตริย์กับพัฒนาการทางการเมืองประเทศแต่ละประเทศ

สถาบันพระมหากษัตริย์นานาอารยประเทศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องจากสังคมโลกจากจารีตสู่สมัยใหม่จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตยก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเทศหลายประเทศจนนำมาสู่การปรับตัวของสถาบันพระมหากษัตริย์เช่นเดียวกับประเทศไทยรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชซึ่งนับเป็นต้นแบบของพระมหากษัตริย์ที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

3.4.1 สถาบันพระมหากษัตริย์กับความเปลี่ยนแปลงที่มีต่อการเมืองการปกครองของนานาอารยประเทศ
สถาบันพระมหากษัตริย์นานาอารยประเทศมีความเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่องในสังคมโลกจากจารีตสู่สมัยใหม่ ทำให้มีความเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมืองการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นประชาธิปไตย ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในประเทศหลายประเทศ จนนำมาสู่การปรับตัวของสถาบันพระมหากษัตริย์

3.4.2 สถาบันพระมหากษัตริย์กับความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยในอนาคต
ความเป็นสถาบันทางการเมืองสูงทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศไทยปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทและสภาพแวดล้อมอย่างลงตัวพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชนับเป็นต้นแบบของพระมหากษัตริย์ที่ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อพสกนิกร พระราชดำริ พระราชดํารัส และพระราชกรณียกิจ เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์เป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวาง

ประเทศที่ถอนตัวออกจากเครือจักรภพอังกฤษสมัยสมเด็จพระราชินีอลิซาเบธที่ 2 ประกอบด้วย
ประเทศปากีสถานในคศ 1956
กานาในคศ 1960
สหพันธ์สาธารณรัฐแอฟริกาใต้ในคศ 1961
แทนแกนยิกาในคศ 1964
ไนจีเรียและยูกันดาในคศ 1962
คีนยาในคศ 1964
แกมเบียและไกอานาในคศ 1970
เซียราเลโอในคศ 1971
ศรีลังกาในคศ 1972
มอลต้า ในคศ 1974
ตรินิแดดและโตเบโก คศ 1976
ฟิจิในคศ 1987
มอริเชียสในคศ 1992

การเสด็จพระราชดำเนินเพื่อศึกษาต่อที่สวิตเซอร์แลนด์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวระหว่างพ.ศ 2489 ถึง 2493 มีนัยต่อบทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภายหลัง โดยภายหลังสงครามระหว่างพ.ศ 2488 ถึง 2493เป็นช่วงที่ประเทศหลายประเทศกำลังออกแบบรูปแบบการปกครองที่ส่งผลต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ที่จะดำรงต่อไปหรือยกเลิกที่นำมาสู่การสิ้นสุดนอกจากอังกฤษที่เป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ที่ลี้ภัยการเมืองแล้วเมืองโลซานน์ สวิตเซอร์แลนด์ นับเป็นสถานที่ที่พระมหากษัตริย์นานาประเทศประทับจำนวนมากนับเป็นสาเหตุที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีความคุ้นเคยกับพระมหากษัตริย์ในยุโรปที่สำคัญคือสมเด็จพระราชาธิบดีโบดวงของเบลเยียม ทำให้ทรงทอดพระเนตรภัยจากคอมมิวนิสต์ที่แพร่ขยายในยุโรปตะวันออกนับเป็นที่มาที่สำคัญประการหนึ่งที่มีต่อบทบาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวต่อการแพร่ขยายคอมมิวนิสต์ในประเทศไทยภายหลัง

หน่วยที่ 4 สถาบันนิติบัญญัติกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

4.1 แนวคิดทั่วไปและที่มาของสถาบันนิติบัญญัติ

แนวคิดทั่วไปอันเป็นที่มาของสถาบันนิติบัญญัติเริ่มต้นจากแนวคิดของฌอง โบแด็ง เกี่ยวกับอำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดซึ่งหมายถึงอำนาจออกกฎหมาย และยกเลิกกฎหมาย ด้วยเหตุนี้อำนาจอธิปไตยก่อนอื่นได้ทั้งหมดจะต้องอยู่ที่อำนาจนิติบัญญัติ และต่อมามองเตสกิเออได้เสนอแนวคิดว่าด้วยทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจ โดยยืนยันว่าอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหารและอำนาจตุลาการ จะต้องไม่รวมอยู่ที่องค์กรเดียวกัน และในที่สุดจึงเป็นจุดกำเนิดสถาบันนิติบัญญัติขึ้นมาทำหน้าที่ในการออกกฎหมายและยกเลิกกฎหมายนั้นเอง

4.1.1 แนวคิดว่าด้วยประชาธิปไตยตัวแทน
ประชาธิปไตยแบบตัวแทนหมายถึงประชาธิปไตยโดยทางอ้อมเป็นรูปแบบการปกครองซึ่งอำนาจขององค์อธิปัตย์ได้ถูกมอบหมายให้คนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งคราวเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชนเพื่อประโยชน์ของประเทศโดยรวมดังเสมือนคำกล่าวของอับราฮัม ลินคอล์นที่ว่าประชาธิปไตยคือ การปกครองของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชนนั่นเอง

4.1.2 แนวคิดว่าด้วย “ผู้แทนราษฎร”
แนวคิดว่าด้วยผู้แทนราษฎรหมายถึงบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่เป็นตัวแทนมีอำนาจที่แสดงออกแทนบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหรือประชาชนโดยมวล ผู้แทนราษฎรถูกเลือกมาโดยกลุ่มพวกหรือประชาชนบางส่วนซึ่งเขาจะต้องเป็นผู้แสดงแทน และ/หรือ ผู้แทนจะต้องรับผิดชอบในการแสดงออกของเขาต่อผู้ที่เขาเป็นตัวแทน

4.1.3 การกำเนิดรัฐสภา
ต้นกำเนิดของรัฐสภาอาจกล่าวได้ว่ามาจากสมัยยุคกรีกโบราณที่นครรัฐเอเธนส์ซึ่งมีสภาที่ร่วมกันทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ และพัฒนาการต่อมาในสมัยโรมัน ที่มีวุฒิสภาที่รวมเอาหลายๆบทบาทเข้าด้วยกัน และเมื่อถึงยุคกลางของยุโรปได้ถือกำเนิดมาหารัฐสภา มันเป็นระบบการถ่วงดุลหรือการประนีประนอมกันระหว่างกษัตริย์ ขุนนาง ผู้นำศาสนา และประชาชน

4.1.4 รูปแบบของสถาบันนิติบัญญัติของไทย
ในอดีตที่ผ่านมารูปแบบสถาบันนิติบัญญัติของไทยมีทั้งระบบสภาเดียว (ที่มาจากการแต่งตั้ง) และระบบสองสภาหรือสภาคู่ (สภาหนึ่งมาจากการเลือกตั้งอีกสภาหนึ่งมาจากการแต่งตั้งหรือการเลือกตั้งหรือทั้งสองอย่างผสมกัน)แต่ยังไม่เคยมีระบบสภาเดียวที่สมาชิกมาจากการเลือกตั้งทั้งหมด

ประชาธิปไตยแบบตัวแทน(representative democracy) ซึ่งเป็นประชาธิปไตยโดยทางอ้อม (indirect democracy)นั้นเป็นรูปแบบของการปกครองซึ่งอำนาจขององค์อธิปัตย์ (power of the sovereignty) ได้ถูกมอบหมายให้คนกลุ่มหนึ่งซึ่งได้รับการเลือกตั้งเป็นครั้งคราวโดยใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของประเทศโดยรวมรูปแบบประชาธิปไตยดังกล่าวนี้เป็นที่นิยมโดยเฉพาะในหน่วยการปกครองที่มีจำนวนประชาชนเป็นจำนวนมากซึ่งประชาธิปไตยโดยตรงอาจมีความซับซ้อนเกินไปหรือเกิดการหยุดชะงักแต่ก็มีบางคนเชื่อว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทนนั้นก็อาจจะมีปัญหาที่ว่าตัวแทนอาจจะไม่ตอบสนองประชาชนซึ่งเขาถูกสมมติให้เป็นตัวแทนได้

แนวคิดว่าด้วย”ผู้แทนราษฎร”นั้นตามอุดมคติหมายถึงการเป็นตัวแทนในฐานะบางอย่างสำหรับคนอื่นเพื่อทำหน้าที่แทนผู้อื่นที่มอบสิทธิให้ส่วนที่มาของผู้แทนนั้นเป็นการถูกเลือกมาโดยพวกซึ่งเขาจะต้องเป็นผู้แสดงโดยเงื่อนไขในการทำหน้าที่แทนก็คือผู้แทนจะต้องรับผิดชอบในการแสดงออกของเขาต่อผู้ที่เขาเป็นตัวแทนกล่าวอีกนัยหนึ่งอะไรที่ผู้เลือกตั้งต้องการก็คือสิ่งที่พวกเขาจะต้องทำนั่นเองแต่ก็มีนักทฤษฎีท่านอื่นอื่นๆที่ไม่เห็นด้วยโดยเห็นว่าในความเป็นจริงแล้วผู้เลือกตั้งนั้นมักจะไม่มีความเห็นในประเด็นข้อปัญหาต่างๆดังนั้นผู้แทนจะต้องทำหน้าที่ในฐานะผู้พิทักษ์ (trustees) โดยนำความปรารถนาของผู้เลือกตั้งไปเสนอหาดเป็นไปได้แต่จะต้องปฏิบัติโดยยึดหลักเพื่อผลประโยชน์ของชุมชนโดยรวมเป็นสำคัญ

ต้นกำเนิดของรัฐสภาอาจกล่าวได้ว่ามาจากสมัยกรีกโบราณที่นครรัฐเอเธนส์ซึ่งมีสภาที่ร่วมกันทำหน้าที่ฝ่ายนิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ และพัฒนาการต่อมาในสมัยโรมัน ที่มีวุฒิสภา (senate) ที่รวมเอาหลายๆบทบาทเข้าด้วยกันและเมื่อถึงยุคกลางของยุโรปได้ถือกำเนิดมหารัฐสภาอันเป็นระบบการถ่วงดุลหรือการประนีประนอมกันระหว่างกษัตริย ์ขุนนาง ผู้นำศาสนา และประชาชน

รูปแบบของสภานิติบัญญัติของไทยนับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขเมื่อวันที่ 24 มิถุนายนพ. ศ. 2475 รูปแบบสถาบันนิติบัญญัติภายใต้รัฐธรรมนูญทั้ง 18 ฉบับมีทั้งรูปแบบที่เป็นสภาเดียวและสภาคู่ซึ่งอาจมีที่มาจากการแต่งตั้งอย่างเดียวเลือกตั้งอย่างเดียวหรือทั้งแต่งตั้งและเลือกตั้งแตกต่างกันออกไปในแต่ละยุคสมัยซึ่งหากวิเคราะห์ถึงพื้นฐานของเหตุผลในการออกแบบสถาบันนิติบัญญัติของไทยแล้วก็จะพบว่าเป็นเจตนารมณ์ของผู้นำที่มีอำนาจในแต่ละยุคสมัยที่ต้องการจะรักษาไว้ซึ่งอำนาจของตนและพวกพ้องจุดประสงค์ที่สำคัญคือต้องการควบคุมสถาบันนิติบัญญัติเพื่อให้ทำหน้าที่สนับสนุนฝ่ายบริหารนั่นเอง

4.2 โครงสร้าง กระบวนการ พฤติกรรม และบทบาทของสถาบันนิติบัญญัติกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

ในอดีตประเทศไทยมีพัฒนาการทางการเมืองจากระบอบอำมาตยาธิปไตยไปสู่ระบอบธนาธิปไตยดังนั้นสถาบันนิติบัญญัติภายใต้ระบอบอำมาตยาธิปไตยหรือเผด็จการอํานาจนิยมจึงมีโครงสร้างแบบสภาเดียวเป็นส่วนใหญ่และมีกระบวนการและพฤติกรรมที่อยู่ภายใต้อิทธิพลของผู้ที่มีอำนาจทางการเมืองการปกครองแบบเผด็จการดังกล่าวส่วนในระบอบธนาธิปไตยที่มีผู้เข้าใจว่าเป็นระบอบประชาธิปไตยส่วนใหญ่แล้วโครงสร้างของสถาบันนิติบัญญัติมักเป็นสภาคู่ ที่สภาหนึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและอีกสภาหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง และมีกระบวนการพฤติกรรมที่แอบอิงอยู่กับนักธุรกิจการเมืองที่เป็น “ผู้อุปถัมภ์” บรรดาสมาชิกเหล่านั้นเป็นสำคัญ

4.2.1 โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมของรัฐสภาไทยในระบอบเผด็จการ
โครงสร้างของรัฐสภาในระบอบเผด็จการส่วนใหญ่เป็นรูปแบบสภาเดียว โดยสมาชิกมาจากการแต่งตั้งและการเลือกตั้งเท่าเท่ากันและบางยุคสมัยสมาชิกทั้งหมดมาจากการแต่งตั้งเป็นหลักดังนั้นกระบวนการของรัฐสภาในระบอบดังกล่าวจึงมักมีขั้นตอนที่สั้นรวบรัดและได้ผลลัพธ์ที่รวดเร็วแต่ขณะเดียวกันก็มักขาดการควบคุมตรวจสอบหรือถ่วงดุลเช่นกันพฤติกรรมของสมาชิกมักมีระเบียบวินัยเพราะส่วนใหญ่มักเป็นข้าราชการประจำ

4.2.2 โครงสร้าง กระบวนการ และพฤติกรรมของรัฐสภาไทยในระบอบประชาธิปไตย
โครงสร้างของรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยเท่าที่ผ่านมาจะมีรูปแบบสองสภาเป็นส่วนใหญ่คือ ประกอบด้วยสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ส่วนวุฒิสภามีทั้งประเภทแต่งตั้งทั้งหมด เลือกตั้งทั้งหมด และแบบที่สมาชิกมาจากการแต่งตั้งส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งมาจากการเลือกตั้ง ดังนั้นกระบวนการของรัฐสภาในระบบดังกล่าวจึงมีหลายขั้นตอน ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นมักล่าช้า แต่ผลดีคือมีการควบคุมตรวจสอบและถ่วงดุลที่ดีกว่า ส่วนพฤติกรรมของสมาชิกมักขาดระเบียบวินัยและเป็นไปตามวาระทางการเมืองเป็นส่วนใหญ่

4.2.3 บทบาทของรัฐสภาในระบอบเผด็จการ
บทบาทของรัฐสภาในระบอบเผด็จการมักทำหน้าที่เป็น “ตรายาง” รับรองกฎหมายที่รัฐบาลเป็นผู้กำหนดและมีสถาบันราชการเป็นกลไกสำคัญในการนำนโยบายไปปฏิบัติหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นบทบาทในระบอบอำมาตยาธิปไตยที่มีข้าราชการเป็นผู้กำหนด

4.2.4 บทบาทของรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตย
บทบาทของรัฐสภาในระบอบประชาธิปไตยมักมีการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติโดยเฉพาะบทบาทของฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎรในการควบคุมตรวจสอบรัฐบาลนอกจากนั้นบทบาทของวุฒิสภาในช่วงหลังมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบถ่วงดุลด้วยเช่นกันและยังสามารถดำเนินการถอดถอนนักการเมืองได้อีกด้วย

4.3 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มของสถาบันนิติบัญญัติในการพัฒนาการทางการเมือง

ปัญหาอุปสรรคของสถาบันนิติบัญญัติในการพัฒนาการทางการเมืองไทยประกอบด้วยปัญหาด้านโครงสร้างและองค์ประกอบที่มักถูกผูกขาดโดยคนส่วนน้อยขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้สำหรับปัญหาด้านกระบวนการคือการปราศจากระบบการตรวจสอบถ่วงดุลอำนาจที่แท้จริงและสุดท้ายปัญหาเกี่ยวกับพฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภา คือไม่ได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนตรงข้ามกลับสะท้อนถึงการมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวและการปฏิบัติหน้าที่โดยปราศจากความสำนึกรับผิดชอบเท่าที่ควรส่วนแนวโน้มของสถาบันนิติบัญญัติมีความจำเป็นต้องมีการปฏิรูปในทุกๆด้านเพื่อให้เป็นสถาบันการเมืองที่มีความชอบธรรมและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลต่อไป

4.3.1 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มด้านระบบโครงสร้างองค์ประกอบของรัฐสภา
ปัญหาและอุปสรรคสำคัญในด้านระบบโครงสร้างองค์ประกอบของรัฐสภาไม่ว่าจะในระบอบเผด็จการหรือระบอบประชาธิปไตยมักถูกออกแบบมาให้ทำหน้าที่สนับสนุนฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลตลอดมา นอกจากนั้นด้วยระบบอุปถัมภ์ทางสังคมที่เข้มแข็งฝ่ายนิติบัญญัติจึงมักถูกครอบงำจากรัฐบาลและผู้นำกลุ่มเล็กๆเท่านั้นทั้งนี้เป็นผลมาจากปัญหาการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างมีคุณภาพแนวโน้มของแนวทางแก้ปัญหาจึงควรมีการปรับปรุงระบบโครงสร้างที่จะเปิดโอกาสให้ตัวแทนกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆในสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการใช้อำนาจทางการเมืองและกระจายอำนาจให้กับองค์กรทางพื้นที่ในระดับต่างๆ

4.3.2 ปัญหาอุปสรรคแนวโน้มด้านกระบวนการที่สำคัญของรัฐสภา
กระบวนการของรัฐสภาไทยส่วนใหญ่เป็นกระบวนการรับรองความชอบธรรมให้กับรัฐบาลมากกว่าการทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบรัฐบาลนอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับความเข้มแข็งของฝ่ายค้านในการทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบรัฐบาลอย่างไรก็ตามฝ่ายค้านก็มันจะไม่สามารถเอาชนะรัฐบาลได้ด้วยจำนวนสมาชิกสภาที่มีน้อยกว่าฝ่ายรัฐบาลและการขาดความรู้ความเข้าใจของผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง

4.3.3 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มด้านพฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภา
พฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภาไทยมิได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของประชาชนที่เลือกต้นมาแต่กลับทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องเป็นส่วนใหญ่ส่วนมากมีความเห็นว่าการเลือกตั้งเป็นการลงทุนดังนั้นเมื่อได้รับเลือกตั้งมาแล้วก็ต้องพยายามแสวงหาผลประโยชน์กลับคืนโดยไม่สนใจที่จะทำหน้าที่เป็นตัวแทนผลประโยชน์หรือความเดือดร้อนของประชาชนนอกจากนั้นสมาชิกรัฐสภาบางส่วนยังสะท้อนให้เห็นพฤติกรรมส่วนบุคคลที่ขาดระเบียบวินัยความรับผิดชอบและจริยธรรมในการปฏิบัติหน้าที่อีกด้วย

ปัญหาและอุปสรรคด้านกระบวนการที่สำคัญของรัฐสภาไทยนั้นสอดคล้องกับปัญหาที่เกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น กระบวนการนิติบัญญัติมิได้เป็นศูนย์กลางของระบบการตัดสินใจของระบบการเมืองฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถควบคุมอย่างแท้จริงและอย่างมีนัยต่อผู้ที่ตัดสินใจในฝ่ายบริหารของรัฐบาลและการปกป้องความชอบธรรมในการแสดงบทบาทในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติโดยพลังจากประชาชนหรือกลุ่มผลประโยชน์สำคัญในระบบการเมืองดังนั้นจะเห็นได้ชัดเจนว่าแม้แต่ในสหรัฐอเมริกาเองซึ่งLocke กล่าวว่ารัฐสภานั้นเป็นรากฐานของประชาธิปไตยแต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างกว้างขวางบนโลกใบนี้ก็คือหน้าที่ของรัฐสภากำลังถูกทำให้หดหายส่วนอำนาจก็กำลังวิ่งเข้าหาผู้นำฝ่ายบริหารดังนั้นแนวโน้มด้านกระบวนการของรัฐสภาของไทยแม้ว่าประเทศไทยจะปกครองในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาซึ่งตามทฤษฎีจะต้องมีการตรวจสอบและถ่วงดุล (check and Balance)ในระหว่างอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 คือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ แต่กลไกทางการเมืองภายใต้ระบบรัฐสภาของไทยก็ไม่สามารถทำงานได้สมดังเจตนารมณ์ตามหลักปรัชญาของระบอบประชาธิปไตยภายใต้ระบบรัฐสภาแต่ประการใด

ปัญหาอุปสรรคด้านพฤติกรรมของสมาชิกรัฐสภาไทยนั้นอยู่ที่ว่าบุคคลเหล่านี้ก็มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวแทนที่แท้จริงของประชาชนที่เลือกตนมาแต่อย่างใดแต่กลับเข้ามาทำหน้าที่เพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องเป็นส่วนใหญ่ในขณะเดียวกันผู้แทนเหล่านี้ก็ไม่ได้เชื่อฟังหรือทำตามมติของพรรคการเมืองที่ตนสังกัดเนื่องจากระบบพรรคการเมืองของไทยยังขาดความเข้มแข็งไม่สามารถจะควบคุมสมาชิกพรรคได้แต่อย่างใดปัญหาที่ตามมาคือคุณภาพของการเป็นตัวแทนเช่น ปัญหาสมาชิกรัฐสภายังขาดความรู้ความเชี่ยวชาญในกิจการเฉพาะด้านหลายอย่าง ปัญหาการขาดประชุมเป็นเนืองนิตย์ มีการกดรหัสบัตรแทนกัน ปัญหาสมาชิกรัฐสภามักเป็นผู้สูงอายุที่ถูกเลือกเข้ามาซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนขาดการถ่ายทอดประสบการณ์ไปยังคนรุ่นใหม่ แนวโน้มของการแก้ไขปัญหาการเป็นตัวแทนอย่างแท้จริงของสมาชิกรัฐสภาจึงขึ้นอยู่ที่การขยายการมีส่วนร่วมอย่างกว้างขวางโดยกลุ่มที่มีอิทธิพลที่หลากหลายในรัฐสภา กระจายอำนาจและสร้างสายการบังคับบัญชาให้สั้นลงในการจัดการของพรรคการเมืองในรัฐสภา ลดการจำกัดและวางหลักประกันองค์ประกอบของเสียงข้างมากของสถาบันนิติบัญญัติในการดำเนินงานที่ต่อเนื่องของปัญหาที่มีลักษณะเฉพาะ

 หน่วยที่5 สถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

5.1 แนวคิด หลักการ และความสําคัญของสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมือง

สถาบันบริหารเป็นองค์กรในการบริหารจัดการทางการเมืองด้วยการกำหนดและควบคุมนโยบายสาธารณะที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวมโดยมีกฎหมายและกลไกอื่นๆที่มีอำนาจควบคุม บังคับ รวมทั้งการใช้กำลังให้มีการปฏิบัติตามในระดับแคบ สถาบันบริหารจึงหมายถึงฝ่ายบริหารการเมืองที่มีอำนาจในการกำหนดนโยบายในระบบการเมืองประชาธิปไตย จึงมีวาระในการทำงานและต้องผ่านมาจากการเลือกตั้งของประชาชนส่วนในระดับกว้างก็รวมเอาส่วนของระบบราชการที่ทำหน้าที่นำเอานโยบายไปปฏิบัติเข้าเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันบริหารด้วย หลักการสำคัญของสถาบันบริหารคือการทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญการมีภาวะผู้นำทางสถาบันบริหารและหลักความรับผิดชอบของสถาบันบริหาร เหตุนี้สถาบันบริหารจึงมีความสำคัญต่อการบริหารการเมืองในทุกระบบการเมืองและมีความสำคัญอย่างมากต่อกระบวนการพัฒนาทางการเมือง

5.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมือง
สถาบันบริหารเป็นแกนกลางของรัฐบาลหรือการปกครองเป็นองค์กรสำคัญในการบริหารการเมืองคือการจัดทำและดำเนินนโยบายสาธารณะเพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาต่างๆในสังคม ในระบบการเมืองประชาธิปไตยผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันบริหารจึงมาจากการเลือกตั้งของประชาชนและมีวาระในการดำรงตำแหน่งท่าสถาบันบริหารสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผลก็จะเกิดระดับความเป็นสถาบันสูงและทำให้พัฒนาการทางการเมืองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการเกิดการเมืองประชาธิปไตยที่ก้าวหน้า

5.1.2 หลักการเกี่ยวกับสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมือง
หลักการสำคัญเกี่ยวกับสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองได้แก่ หลักการทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ หลักการการมีภาวะผู้นำของสถาบันบริหารและหลักความรับผิดชอบในการใช้อำนาจในการบริหารการเมือง

5.1.3 ความสําคัญของสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมือง
สถาบันบริหารมีความสำคัญกับพัฒนาการทางการเมืองคือการสร้างความชอบธรรมประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมืองความสำคัญในการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยการป้องกันและลดปัญหาการทุจริตหรือคอร์รัปชั่นทางการเมืองและความสำคัญต่อการสร้างภาวะผู้นำทางการเมือง

การพัฒนาสถาบันทางการเมืองตามแนวคิดของฮันติงตันกับพาเนเบียงโกในมิติที่เหมือนกันคือ มีการเน้นปัจจัยภายในค่อนข้างมากแต่ส่วนที่ต่างกันคือ ฮันติงตันค่อนข้างเน้นปัจจัยภายในในกรอบวิเคราะห์เชิงโครงสร้างค่อนข้างมาก ส่วนพาเนเบียงโก ใช้กรอบเชิงวิวัฒนาการคล้ายคลึงกับการเติบโตของสิ่งมีชีวิตแต่ทั้งสองคนมองว่าสุดท้ายก็สามารถวัดระดับความเป็นสถาบันได้

หลักการสำคัญเกี่ยวกับสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมือง
หลักการการทำงานภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ การมีภาวะผู้นำทางการเมืองของสถาบันบริหาร และความรับผิดชอบในการใช้อำนาจบริหารการเมืองทั้ง 3 หลักการมีความเกี่ยวข้องกันอย่างแยกไม่ออก เพราะภาวะผู้นำและความรับผิดชอบ แยกจากกันไม่ได้และต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมาย

เหตุผลที่สถาบันบริหารมีความสำคัญกับพัฒนาการทางการเมือง
เนื่องจากสถาบันบริหารเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญในโครงสร้างส่วนบนของระบบการเมืองที่มีอยู่ 3 สถาบันถ้าสถาบันบริหารอ่อนแอและถูกแทรกแซงจากสถาบันอื่นก็จะทำให้เกิดปัญหาในระบบการเมืองและถ้าสถาบันบริหารรวมศูนย์อำนาจและเป็นเผด็จการทางการเมืองก็จะเกิดปัญหาการพัฒนาประชาธิปไตย

5.2 ปัญหาด้านสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

ปัญหาที่สำคัญคือปัญหาการมีระดับความเป็นสถาบันต่ำระบบและกระบวนการบริหารรวมศูนย์อำนาจและมีกระบวนการแทรกแซงการทำหน้าที่ของสถาบันการเมืองอื่นและปัญหาด้านพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันบริหารที่มีลักษณะเด่นในด้านการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวการคอรัปชั่นทางการเมืองและพฤติกรรมอำนาจนิยมซึ่งส่งผลให้เกิดอุปสรรคอย่างมากต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตย

5.2.1 ปัญหาด้านสถาบันกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
สถาบันบริหารของไทยมีปัญหาหลายลักษณะที่สำคัญคือการมีระดับการพัฒนาสถาบันต่ำ การพยายามรวมศูนย์อำนาจและการแทรกแซงการทำงานของสถาบันการเมืองอื่น และปัญหาทุจริตหรือการคอรัปชั่นทางการเมือง ปัญหาด้านเสถียรภาพ ขาดประสิทธิภาพและประสิทธิผลซึ่งเป็นปัญหาส่งผลให้เกิดปัญหาในการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตย

5.2.2 ปัญหาด้านระบบและกระบวนการของสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ด้านระบบและกระบวนการของสถาบันบริหารของไทยก็มีปัญหาหลายลักษณะคือการขาดเอกภาพและการทำงานอย่างไรระเบียบของสถาบันบริหารกระบวนการบริหารงานแบบบนลงล่างและรวมศูนย์อำนาจและระบบและกระบวนการบริหารของสถาบันบริหารยังก่อเกิดการคอรัปชั่นทางการเมืองขึ้นอย่างกว้างขวางและมีความอ่อนแอไร้เสถียรภาพอย่างมากซึ่งล้วนแต่ส่งผลไปสู่ปัญหาการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตยของไทย

5.2.3 ปัญหาด้านพฤติกรรมการเมืองของผู้มีหน้าที่ในสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ผู้มีหน้าที่ในสถาบันบริหารมีพฤติกรรมในเชิงลบหลายอย่างที่สำคัญคือพฤติกรรมการคอรัปชั่นทางการเมือง พฤติกรรมอำนาจนิยม และพฤติกรรมที่เน้นแสวงหาและรักษาผลประโยชน์ของตัวเอง เครือญาติ และพวกพ้อง รวมทั้งพฤติกรรมอุปถัมภ์นิยม

5.3 แนวโน้มและแนวทางแก้ไขปัญหาสถาบันบริหารและพัฒนาการทางการเมือง

แนวโน้มของปัญหาสถาบันบริหารไทยยังคงจะมีปัญหาทางด้านการพัฒนาสถาบันปัญหาด้านระบบและกระบวนการของสถาบันบริหารและด้านพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันบริหารแนวทางการแก้ไขปัญหาจะต้องแก้ไขอย่างจริงจังและครบถ้วนทุกด้านทั้งปัจจัยสำคัญภายในสถาบันบริหารและด้านของสภาพแวดล้อม

5.3.1 แนวโน้มของปัญหาสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
แนวโน้มของปัญหาสถาบันบริหาร ยังคงจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นอยู่ติดต่อกันมาหลายปี คือจะสามารถพัฒนาระดับความเป็นสถาบันทางการเมืองให้สูงขึ้นได้ ระบบและกระบวนการของสถาบันบริหารยังคงจะมีการรวมศูนย์อำนาจ ขาดความชอบธรรม และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันบริหาร ยังคงเน้นแสวงหาและรักษา ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าจะมุ่งสร้างประโยชน์ใหเส่วนรวม พฤติกรรมอำนาจนิยมและการคอรัปชั่นทางการเมือง ที่จะส่งผลลบต่อการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยต่อไป

5.3.2 แนวทางการแก้ไขปัญหาสถาบันบริหารกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
แนวทางแก้ไขปัญหาสถาบันบริหาร ต้องแก้ไขจริงจัง เป็นระบบและเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย รวมทั้งภาคประชาชนโดยแก้ไขทั้งปัจจัยภายในสถาบันบริหารและปัจจัยด้านสภาพแวดล้อม

แนวโน้มของปัญหาสถาบันบริหาร ยังคงจะเป็นไปในลักษณะที่เป็นอยู่ติดต่อกันมาหลายปี คือจะสามารถพัฒนาระดับความเป็นสถาบันทางการเมืองให้สูงขึ้นได้ ระบบและกระบวนการของสถาบันบริหารยังคงจะมีการรวมศูนย์อำนาจ ขาดความชอบธรรม และพฤติกรรมทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งในสถาบันบริหาร ยังคงเน้นแสวงหาและรักษา ผลประโยชน์ส่วนตัวมากกว่าจะมุ่งสร้างประโยชน์ใหเส่วนรวม พฤติกรรมอำนาจนิยมและการคอรัปชั่นทางการเมือง ที่จะส่งผลลบต่อการพัฒนาการเมืองประชาธิปไตยต่อไป
ข้อความข้างต้นส่วนใหญ่ของสถาบันบริหารของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันแนวโน้มก็คงจะเป็นเช่นนั้น อย่างน้อยก็ในช่วงระยะเวลา 4 – 5 ปีข้างหน้า ถ้าไม่มีปัจจัยสำคัญในด้านสังคม/วัฒนธรรม/เศรษฐกิจ/และการเมืองเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในช่วงเวลาดังกล่าว

การศึกษาจะช่วยสร้างเสริมความรู้ความเข้าใจทางการเมืองให้กับประชาชนโดย
“การศึกษา” (Education) หมายถึง การให้ความรู้หรือการได้รับความรู้ที่หมายถึงข้อมูลข้อเท็จจริงต่างๆของคนโดยได้รับผ่านสื่อต่างๆ ถ้าได้รับมากและผู้รับมีความสนใจและมุ่งมั่นเรียนรู้อยู่เสมอก็ยิ่งจะทำให้ได้ความรู้มากมีความคิดสติปัญญาลึกซึ้งดังนั้นถ้าคนไทยได้รับการศึกษาทางการเมืองอย่างกว้างขวางรอบด้านและลึกซึ้งผ่านทั้งระบบโรงเรียน บุคคล สื่อต่างๆ และการอ่านหรือศึกษาด้วยตนเองคนไทยก็จะเข้าใจการเมืองมากกว่าเดิมและมีอิสระทางความคิดไม่ตกเป็นเบี้ยล่างนักการเมืองอีกต่อไป

หน่วยที่ 6 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

6.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญสอดคล้องกับทฤษฎีการแบ่งแยกอำนาจกล่าวคือการแบ่งแยกอำนาจมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญเพื่อแบ่งแยกอำนาจหน้าที่ของอำนาจทางการเมือง นักกำหนดอำนาจหน้าที่ระหว่างองค์กรของรัฐที่แตกต่างกันภายใต้หลักการของการคานและดุลอำนาจระหว่างกัน อันเป็นหลักประกันการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนประการหนึ่ง เมื่อยังเป็นการป้องกันการผูกขาดการใช้อำนาจอธิปไตยขององค์กรใดองค์กรหนึ่ง

6.1.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ
แนวความคิดของการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยมีรากฐานมาจากการที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคืออำนาจอธิปไตยมีที่มาจากประชาชนโดยขยายความกรอบความคิดดังกล่าวในลักษณะที่ว่างนักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นตลอดทั้งบรรดาข้าราชการพนักงานองค์การของรัฐทุกระดับทุกประเภทมีหน้าที่เป็น “ตัวแทน” และ “ผู้รับใช้” ประชาชนโดยได้รับผลตอบแทนจากภาษีอากรของประชาชนเป็นสำคัญอิทธิพลของแนวความคิดดังกล่าวนี้จึงเป็นที่มาของการพยายามที่จะสร้างระบบกลไกในการควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะความพยายามในการควบคุมตรวจสอบนักการเมืองทั้งที่ทำหน้าที่ในองค์กรฝ่ายบริหารหรือองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติก็ตามและแนวความคิดหนึ่งในการสร้างระบบกลไกดังกล่าวก็คือที่มาขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบบรรดานักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั่นเอง

6.1.2 ความหมายและความสำคัญขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระ
องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระหมายความว่า องค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทกฎหมายแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่ได้โดยอิสระปลอดผลจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐหรือสถาบันการเมืองอื่นรวมทั้งอยู่เหนือกระแสและการกดดันใดๆที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งและเป็นสถาบันทางการบริหารที่จำเป็นสำหรับและรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ซึ่งเห็นความจำเป็นของการที่จะต้องสร้างดุลยภาพระหว่างการบริหารที่มีประสิทธิภาพกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรเพื่อให้เกิดกระบวนการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นธรรมหรืออาจหมายถึงหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบอำนาจให้ทำหน้าที่บริหารซึ่งต้องอาศัยความคล่องตัวสูงและสามารถแยกตัวออกจากส่วนราชการตลอดทั้งมีความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองการปกครองและการปฏิรูประบบการบริหารจัดการของรัฐเสียใหม่โดยมีหน้าที่ที่สำคัญคือการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายการเมืองฝ่าย ราชการในด้านต่างๆรวมทั้งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจัดเป็นสถาบันทางการบริหารที่สำคัญเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการบริหารที่มีประสิทธิภาพกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

6.1.3 แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในต่างประเทศ
แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระมีที่มาจากต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศซึ่งเป็นต้นแบบของระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา/อังกฤษ/หรือฝรั่งเศส ทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคมของโลกยุคหลังสงครามเย็น หรือประมาณสองทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดความจำเป็นที่จะต้องมีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่วางระเบียบและควบคุมกิจกรรมบางอย่างภายในรัฐตลอดทั้งโครงสร้างของระบบบริหารแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองการเปลี่ยนแปลงต่างๆดังกล่าวได้อย่างเป็นประสิทธิภาพ ดังนั้น แนวความคิดในเรื่องขององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในต่างประเทศจึงถูกนำมาปรับใช้เพื่อสร้างกลไกในทางการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

6.1.4 แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในประเทศไทย
การจัดโครงสร้างของรัฐที่เป็นมาแต่โดนของที่รัฐถธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ. ศ. 2540 จะใช้บังคับในประเทศไทยจัดโครงสร้างโดยมีหลักการแบ่งแยกการใช้อํานาจรัฐคือรัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภาอำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรีและอำนาจตุลาการผ่านทางศาลต่อมาได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองโดยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ซึ่งมีการระดมนักกฎหมายและให้นักกฎหมายเหล่านั้นศึกษาประเด็นต่างๆที่สำคัญเพื่อใช้เป็นฐานความรู้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่การศึกษาที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือการศึกษาแนวคิดเรื่อง Independent Regulatory Agency ในระบบกฎหมายของต่างประเทศเช่นสหรัฐอเมริกา/อังกฤษ/และฝรั่งเศส ดูในบริบทของประเทศไทยรัฐพิจารณาเรื่องนี้มีความสำคัญมากจึงมีการบัญญัติรับรององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นสถาบันตามรัฐธรรมนูญประเภทหนึ่งเพื่อทำหน้าที่ในการกลั่นกรองการได้มาซึ่งอำนาจรัฐการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเป็นต้น จึงเป็นที่มาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4 องค์กรได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป.ป.ช และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

ความคิดของการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยมีหลักฐานในการที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยคืออำนาจอธิปไตยมีที่มาจากประชาชนโดยขยายความบทความคิดดังกล่าวในลักษณะที่ว่านักการเมืองที่ได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นตลอดทั้งบรรดาข้าราชการพนักงานองค์กรของรัฐทุกระดับทุกประเภทมีหน้าที่เป็น “ตัวแทน” และ “ผู้รับใช้” ประชาชนโดยได้รับผลตอบแทนจากภาษีอากรของประชาชนเป็นสำคัญอิทธิพลของแนวความคิดดังกล่าวนี้จึงเป็นที่มาของการพยายามที่จะสร้างระบบกลไกในการควบคุมตรวจสอบซึ่งกันและกันโดยเฉพาะความพยายามในการควบคุมตรวจสอบการเมืองทั้งที่ทำหน้าที่ในองค์กรฝ่ายบริหารองค์กรฝ่ายนิติบัญญัติก็ตามหัวข้อความคิดหนึ่งในการสร้างระบบกลไกดังกล่าวก็คือที่มาขององค์การของรัฐที่เป็นอิสระเพื่อทำหน้าที่ควบคุมตรวจสอบดำเนินการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐนั่นเอง

องค์กรของรัฐที่เป็นอิสระหมายความว่าองค์กรของรัฐที่ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการเกี่ยวกับภารกิจของรัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมายโดยเป็นองค์กรของรัฐที่มีสถานะพิเศษซึ่งได้รับหลักประกันให้สามารถปฏิบัติภารกิจหน้าที่โดยอิสระปลอดผลจากการแทรกแซงขององค์กรของรัฐหรือสถาบันการเมืองอื่นรวมทั้งยืนเหนือกระแสและการกดดันใดๆที่เกิดขึ้นภายในสังคมในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งและเป็นสถาบันทางการบริหารที่จำเป็นสำหรับรัฐประชาธิปไตยสมัยใหม่ซึ่งเห็นความจำเป็นของการที่จะต้องสร้างดุลยภาพระหว่างการบริหารที่มีประสิทธิภาพกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของราษฎรเพื่อให้เกิดกระบวนการควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐอย่างเป็นธรรมหรืออาจหมายถึงหน่วยงานของรัฐที่ได้รับมอบอำนาจให้ทำหน้าที่บริหารซึ่งต้องอาศัยความคล่องตัวสูงและสามารถแยกตัวออกจากส่วนราชการตลอดทางมีความสำคัญต่อการปฏิรูปการเมืองการปกครองและการตรวจสอบระบบการบริหารจัดการของรัสเซียใหม่โดยมีหน้าที่ที่สำคัญคือการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของฝ่ายการเมืองฝ่ายราชการในด้านต่างๆรวมทั้งการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระจัดเป็นสถาบันทางการบริหารที่สำคัญเพื่อสร้างดุลยภาพระหว่างการบริหารที่มีประสิทธิภาพกับการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

แนวคิดในการจัดตั้งองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในต่างประเทศโดยเฉพาะในประเทศที่เป็นต้นแบบของระบอบการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยในระบบต่างๆไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา อังกฤษ หรือฝรั่งเศสทั้งนี้ด้วยเหตุผลสำคัญหลายประการ อาทิ การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมของโลกยุคหลังสงครามเย็น หรือประมาณ 2 ทศวรรษที่ผ่านมา ทำให้เกิดความจำเป็นที่ต้องมีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่วางระเบียบและควบคุมกิจกรรมบางอย่างภายในรัฐตลอดทั้งโครงสร้างของระบบบริหารแบบดั้งเดิมไม่สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงต่างๆดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพดังนั้นแนวความคิดในเรื่ององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระในต่างประเทศจึงถูกนำมาปรับใช้เพื่อสร้างกลไกในการบริหารที่มีประสิทธิภาพ

การจัดโครงสร้างของรัฐที่เป็นมาแต่เดิมก่อนที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ. ศ. 2540 จะใช้บังคับนั้นประเทศไทยจัดโครงสร้างโดยยึดหลักการแบ่งแยกการใช้อำนาจกล่าวคือรัฐธรรมนูญบัญญัติให้พระมหากษัตริย์ทรงใช้อํานาจนิติบัญญัติผ่านทางรัฐสภา อำนาจบริหารผ่านทางคณะรัฐมนตรี และอำนาจตุลาการผ่านทางศาล ต่อมาได้มีการเรียกร้องให้มีการปฏิรูปการเมืองโดยจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งมีการระดมนักกฎหมายและให้นักกฎหมายเหล่านั้นศึกษาประเด็นต่างๆที่สำคัญเพื่อใช้เป็นฐานความรู้ในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่การศึกษาที่สำคัญเรื่องหนึ่งคือการศึกษาแนวคิดเรื่อง Independent Regulatory Agency ในระบบกฎหมายของต่างประเทศเช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และฝรั่งเศส โดยในบริบทของประเทศไทยข้อพิจารณาเรื่องนี้มีความสำคัญมากจึงมีการบัญญัติรับรององค์กรของรัฐที่เป็นอิสระไว้ในรัฐธรรมนูญในฐานะที่เป็นสถาบันตามรัฐธรรมนูญประเภทหนึ่งทีเดียว มิใช่เพียงบัญญัติรับรองเป็นองค์กรองค์กรไปทั้งนี้เนื่องจากในระบบรัฐธรรมนูญของเราหากไม่มีการบัญญัติรับรองการใช้อำนาจเช่นนี้ไว้การออกกฎหมายสถาปนาองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระมีปัญหาขัดกับรัฐธรรมนูญได้
นอกจากนั้นในการจัดตั้งองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญของไทยยังมีเจตนารมณ์เพื่อให้องค์กรอิสระเหล่านั้นทำหน้าที่ในการกลั่นกรองการได้มาซึ่งอำนาจรัฐ การควบคุมตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การควบคุมตรวจสอบการสืบต่ออำนาจรัฐ เป็นต้น จึงเป็นที่มาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ 4 องค์กรได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป.ป.ช และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน

6.2 บทบาทขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในระบบการเมืองไทย

บทบาทขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญขึ้นอยู่กับเจตนารมณ์และวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งองค์กรอิสระแต่ละองค์กร โดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับการควบคุมตรวจสอบการได้มาซึ่งอำนาจทางการเมืองการใช้อำนาจทางการเมืองและการสืบต่ออำนาจทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นสำคัญอาทิ การจัดตั้งคณะกรรมการการเลือกตั้งเพื่อให้มีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมซึ่งเป็นบทบาทในการควบคุมตรวจสอบการได้มาซึ่งอำนาจรัฐ หรือคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติก็จะมีบทบาทอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลการใช้อำนาจของบรรดานักการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้ปราศจากการทุจริตฉ้อฉลเป็นต้น

6.2.1 ความเป็นมาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในระบบการเมืองไทย
ความเป็นมาขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในระบบการเมืองไทยกำเนิดขึ้นในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ตามแนวทางรัฐธรรมนูญนิยม (Constitutionalism) ซึ่งเป็นที่มาของการจัดตั้งองค์กรอิสระขึ้นมารองรับภารกิจในการปฏิรูปการเมืองดังกล่าวทั้งนี้โดยการกำหนดให้มีองค์กรอิสระที่สำคัญ 4 องค์กรได้แก่ คณะกรรมการการเลือกตั้ง ผู้ตรวจการแผ่นดิน คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน มาทำหน้าที่ในการควบคุม ตรวจสอบ การได้มาซึ่งอำนาจรัฐ การใช้อำนาจรัฐและการสืบต่ออำนาจรัฐโดยเฉพาะของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

6.2.2 องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในระบอบการเมืองไทย
องค์ประกอบและอำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้ง 4 องค์กรมีความแตกต่างกันออกไปโดยคณะกรรมการการเลือกตั้งมีจำนวน 5 คนมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรมคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติและคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและควบคุมตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณให้เกิดความถูกต้องและเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินซึ่งมีจำนวน 3 คนมีอำนาจหน้าที่ในการควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐให้เป็นไปตามหลักนิติรัฐนิติธรรมรวมทั้งการดูแลด้านจริยธรรมของบุคคลดังกล่าวด้วย

6.2.3 บทบาทขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
บทบาทขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้ง 4 องค์กรจะเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาการทางการเมืองไทยเป็นอย่างมากโดยจะทำให้ระบบการเมืองแบบประชาธิปไตยของไทยมีความชอบธรรมมีประสิทธิภาพประสิทธิผลและนำไปสู่เสถียรภาพทางการเมืองมากขึ้นแต่เป็นที่น่าเสียดายเพราะนับตั้งแต่การถือกำเนิดขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เป็นต้นมา องค์กรอิสระเหล่านี้ต้องเผชิญกับปัญหาอุปสรรคทั้งภายในและภายนอกองค์กรจนไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้

แนวคิดเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดินกำเนิดในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและปรากฏเป็นรูปประธรรมในระยะเวลาต่อมาตามลำดับแต่ส่วนใหญ่เป็นองค์กรที่อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของฝ่ายบริหารมาโดยตลอดจนกระทั่งได้รับการพัฒนาเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในพ.ศ 2540 สำหรับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติถือกำเนิดในพ. ศ. 2518 โดยเป็นองค์กรสังกัดฝ่ายบริหารโดยสำนักนายกรัฐมนตรีและได้รับการยกสถานะเป็นองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในพ. ศ. 2540 เช่นเดียวกัน
ส่วนผู้ตรวจการแผ่นดินถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2534แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 5 (พุทธศักราช 2538) และต่อเนื่องด้วยรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2540 และพ. ศ. 2550 ส่วนคณะกรรมการการเลือกตั้งถือกำเนิดครั้งแรกโดยรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2540

อำนาจหน้าที่ขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้ง 4 องค์กรได้แก่
1 คณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจหน้าที่ในการบริหารจัดการการเลือกตั้งให้เกิดความบริสุทธิ์ยุติธรรม
2 ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียน ในกรณีการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายหรือการปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการพนักงานหรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจหรือราชการส่วนท้องถิ่นที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
3 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและปราบปรามการทุจริตของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
4 คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่กำหนดหลักเกณฑ์มาตรฐานเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งให้คำปรึกษา แนะนำและเสนอแนะให้มีการแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับการตรวจเงินแผ่นดิน

บทบาทโดยภาพรวมขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่มีผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยโดยสรุปมี 4 ประการได้แก่
1 บทบาทในการป้องกันการได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบ
2 บทบาทในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐในทางมิชอบ
3 บทบาทในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ
4 บทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

6.3 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

ปัญหาอุปสรรคขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญในการพัฒนาการทางการเมืองไทย ประกอบด้วยปัญหาด้านความชอบธรรม ได้แก่ ที่มาแล้วระบบการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ปัญหาด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ความเป็นอิสระทางด้านการงบประมาณและปัญหาด้านเสถียรภาพขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

6.3.1 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มเกี่ยวกับความชอบธรรมขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ปัญหาอุปสรรคด้านความชอบธรรมขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมักเกี่ยวข้องกับที่มาและระบบกระบวนการสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญที่ขาดความถูกต้องและยุติธรรมซึ่งมีความจำเป็นต้องทบทวนความเหมาะสมของระบบและกระบวนการสรรหาดังกล่าวเพื่อให้เกิดความถูกต้องชอบธรรมต่อไป

6.3.2 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มเกี่ยวกับความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ปัญหาอุปสรรคด้านความมีประสิทธิภาพประสิทธิผลขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาในด้านความรู้ความสามารถหรือความเหมาะสมของบุคคลที่เข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญรวมตลอดถึงความเป็นอิสระทางด้านงบประมาณความสามารถในการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายประจำขององค์กรซึ่งแนวโน้มในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคในเรื่องดังกล่าวนี้เป็นปัจจัยสำคัญยิ่งต่อความสำเร็จขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ

6.3.3 ปัญหาอุปสรรคและแนวโน้มเกี่ยวกับเสถียรภาพขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ปัญหาอุปสรรคทางด้านเสถียรภาพขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางการเมืองไทยเพราะหากองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญสามารถดำเนินการได้อย่างมีความชอบธรรมและมีประสิทธิภาพประสิทธิผลย่อมนำมาสู่การมีเสถียรภาพทางขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและนำไปสู่พัฒนาการทางการเมืองไทยที่จะนำไปสู่ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มีความสมบูรณ์ มั่นคง และยังยืนต่อไป

ปัญหาอุปสรรคที่สำคัญในด้านความชอบธรรมขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้ง 4 องค์กรที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันประการหนึ่งก็คือในด้านที่มาของผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งมักเป็นอดีตผู้พิพากษาหรือตุลาการอันเนื่องมาจากการที่รัฐธรรมนูญพ. ศ. 2550 ได้บัญญัติให้การสรรหาและคัดเลือกมาจากที่ประชุมใหญ่ของศาลหรือมีองค์ประกอบของคณะกรรมการสรรหาที่มาจากบรรดาผู้พิพากษาหรือตุลาการเป็นส่วนใหญ่ซึ่งทำให้แนวโน้มของปัญหาดังกล่าวมีความรุนแรงมากขึ้นและนำไปสู่การเรียกร้องให้มีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในประเด็นดังกล่าวโดยกลุ่มฝ่ายของคน “เสื้อแดง” อาทิ พรรคเพื่อไทย กลุ่มนปช หรือแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ กลุ่มนักวิชาการ “นิติราษฎร์” เป็นต้น

โดยภาพรวมทางด้านความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญอาจกล่าวได้ว่าแนวโน้มขององค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญทั้ง 4 องค์กรยังมีปัญหาอุปสรรคทางด้านประสิทธิภาพประสิทธิผลในการปฏิบัติภารกิจเพื่อให้บรรลุผลตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรม

หน่วยที่ 7 การกระจายอำนาจกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

7.1 แนวคิดเกี่ยวกับการกระจายอำนาจ

การกระจายอำนาจเป็นการจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นในทิศทางที่ให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเองตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่น

7.1.1 ความหมายและความสำคัญของการกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจมีหลากหลายความหมายในแง่หนึ่งการกระจายอำนาจเป็นการจัดความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างส่วนกลางกับส่วนท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนในท้องถิ่นได้ปกครองตนเองและมีความสำคัญสำหรับประเทศที่ปกครองโดยระบอบประชาธิปไตยในฐานะที่การปกครองตนเองเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานหนึ่งในระบอบประชาธิปไตย

7.1.2 ประเภทและลักษณะของการกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจสามารถแบ่งออกเป็นการกระจายอำนาจทางการเมือง การกระจายอำนาจทางบริหาร การกระจายอำนาจทางเศรษฐกิจ และการกระจายอำนาจทางสังคม โดยลักษณะสำคัญประการหนึ่งของการกระจายอำนาจคือมีเป้าหมายเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนและประเทศชาติเป็นสำคัญ

7.1.3 การกระจายอำนาจในบริบทสังคมโลก
การกระจายอำนาจในบริบทของสังคมโลกเกิดขึ้นเป็นกระแสหลักสำคัญในประเทศที่มีระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตยเพื่อให้ประชาชนปกครองตนเองและมีส่วนร่วมในการบริหารท้องถิ่นตามเจตนารมณ์ของประชาชนในท้องถิ่นนั้น

สาเหตุที่ต้องมีการกระจายอำนาจ ได้แก่ การทำให้ประชาชนสามารถเลือกตัวแทนที่ประชาชนเห็นว่าเหมาะสมเข้าไปทำหน้าที่และใช้อำนาจแทนตนเองได้ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่รัฐจัดตั้งขึ้นให้บริการพื้นฐานแก่ประชาชน

การกระจายอำนาจทางการเมืองหมายถึงการกระจายอำนาจที่รัฐถ่ายโอนอำนาจการตัดสินใจรวมถึงทรัพยากรการบริหารจากส่วนกลางไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือชุมชนในการดำเนินการแทนในภารกิจหรือกิจกรรมบางประการที่รัดเห็นว่ามีความเหมาะสมและใกล้ชิดกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน

การกระจายอำนาจในอดีตเป็นการกระจายอำนาจแบบแนวดิ่ง

7.2 การกระจายอำนาจในบริบทของพัฒนาการทางการเมืองไทย

การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นมีมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ที่ทรงจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอมและให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นครั้งแรก

7.2.1การกระจายอํานาจก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
การกระจายอํานาจเกิดขึ้นในประเทศไทยก่อนมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงจัดตั้งสุขาภิบาลท่าฉลอม และให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้าน ณ แขวงบางปะอิน เมืองพระนครศรีอยุธยาเป็นครั้งแรก

7.2.2 การกระจายอำนาจในบริบทของระบอบอำมาตยาธิปไตย(พ. ศ. 2475 ถึง 2516)
การกระจายอำนาจหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองตกอยู่ในบริบททางการเมืองในระบอบอำมาตยาธิปไตยโดยที่ข้าราชการมีบทบาททางการเมืองมากทำให้การกระจายอํานาจกระจุกตัวในส่วนกลางเป็นสำคัญ

7.2.3 การกระจายอำนาจในบริบทของประชาธิปไตย
การกระจายอำนาจในบริบทของประชาธิปไตยเกิดอย่างเป็นรูปประธรรมหลังการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตําบลในปี 2537 และมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 เป็นกรอบกฎหมายสำคัญในการกระจายอำนาจ

ดุสิตธานีเป็นรูปแบบการปกครองที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6

ยุคทองของการจัดตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยได้แก่สมัยรัฐบาลจอมพลปอพิบูลสงครามช่วงพ. ศ 2495 ถึง 2499

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 มีการระบุการกระจายอำนาจไว้อย่างเป็นรูปประธรรมมากที่สุด

7.3 ปัญหาและแนวโน้มของการกระจายอำนาจในบริบทของพัฒนาการทางการเมืองไทย

ปัญหาการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นของไทยเกี่ยวกับภาคส่วนหลัก 2 ภาคส่วนได้แก่ ภาครัฐ ภาคการเมืองท้องถิ่น และภาคประชาชน ส่วนแนวโน้มของการกระจายอำนาจก็เป็นไปตามที่กรอบที่รัฐธรรมนูญบัญญัติและมีส่วนในการพัฒนาทางการเมือง

7.3.1 ปัญหาการกระจายอำนาจกับการพัฒนาทางการเมืองไทย
ปัญหาการกระจายอำนาจในประเทศไทยมีภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐที่ขาดเจตนารมย์ทางการเมืองอย่างจริงจังในการกระจายอำนาจ พรรคการเมืองท้องถิ่นที่ไม่ยึดประโยชน์ประชาชนเป็นสำคัญ และภาคประชาชนที่ยังไม่มีความรู้ความเข้าใจและมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพ

7.3.2 แนวโน้มการกระจายอำนาจกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
แนวโน้มการกระจายอำนาจก็เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่มีบทบัญญัติให้รัฐต้องกระจายอำนาจให้แก่ท้องถิ่นได้พึ่งตนเองและมีส่วนในการส่งเสริมการพัฒนาทางการเมือง

ปัญหาการกระจายอำนาจในส่วนของภาคประชาชนคือ การที่ประชาชนส่วนหนึ่งตกอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์ของนักการเมืองทำให้เกิดการซื้อสิทธิ์ขายเสียงการเลือกตั้งระดับท้องถิ่น

แนวโน้มการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นในประเทศไทย
การกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นยังดำเนินต่อไปแต่ยังอยู่ในอัตราที่ช้าเนื่องจากฝ่ายการเมืองไม่ให้ความสนใจอย่างจริงจัง

หน่วยที่ 8 สถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

8.1 ความหมาย แนวคิด ความสำคัญ และความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมือง

สถาบันทางสังคมมีความสำคัญในฐานะที่เป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีผลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองอันเป็นเรื่องของทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึกของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง ซึ่งวัฒนธรรมทางการเมืองนี้เองเป็นสิ่งที่กำหนดการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองซึ่งมีความหมายต่อกระบวนการทางการเมืองและระบบการเมืองที่ดำรงอยู่ และมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางการเมือง

8.1.1 ความหมาย แนวคิด และความสําคัญของสถาบันทางสังคม
สถาบันทางสังคมมีความสำคัญในฐานะที่เป็นคนภายในการกำหนดรูปแบบพฤติกรรมของบุคคลในสังคมเพื่อให้ความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นระเบียบระบบตามที่สังคมต้องการ โดยมีเป้าหมายเพื่อการดำรงอยู่ของสังคมในสภาพแวดล้อมบริบทหนึ่งหนึ่งในทางรัฐศาสตร์ สถาบันทางสังคม มีความสำคัญในฐานะที่เป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีผลต่อวัฒนธรรมทางการเมือง ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์

8.1.2 ความหมาย แนวคิด และความสำคัญของวัฒนธรรมทางการเมือง
วัฒนธรรมทางการเมืองเป็นคำที่นักวิชาการได้ให้ความหมายไว้หลากหลายแต่มีแก่นที่เป็นสารัตถะร่วมกันคือวัฒนธรรมทางการเมืองเป็นเรื่องของทัศนคติ ความเชื่อ ความรู้สึก ของบุคคลที่มีต่อระบบการเมือง ซึ่งที่มีผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมือง และมีความหมายต่อกระบวนการทางการเมืองและระบบการเมืองที่ดำรงอยู่

8.1.3 ความสัมพันธ์ของสถาบันทางสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมือง
สถาบันทางสังคมเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่ล้อมให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองวัฒนธรรมทางการเมืองนี้เองเป็นตัวกำหนดการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ซึ่งมีความหมายต่อกระบวนการทางการเมืองและระบบการเมืองที่ดำรงอยู่และมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางการเมือง

ในทางรัฐศาสตร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสังคมศาสตร์สถาบันทางสังคมมีความสำคัญในฐานะที่เป็นตัวแสดง(actors) ที่มีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง (political socialization) ที่มีผลต่อวัฒนธรรมทางการเมือง (political culture) ซึ่งเป็นสิ่งที่กำหนดพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์

วัฒนธรรมทางการเมืองซึ่งเป็นผลจากวิถีประชาคือบริบทของประเทศ หนึ่งๆ มีโครงสร้างทางสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรมในช่วงเวลาหนึ่งๆที่มีลักษณะเฉพาะที่ส่งผลต่อการหล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีลักษณะเฉพาะของประเทศนั้นๆในบริบทและช่วงเวลาหนึ่งๆ ทำหน้าที่ของสถาบันทางสังคม เช่น ครอบครัว โรงเรียน ศาสนา สื่อมวลชน เป็นต้น ในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองเพื่อสร้างและสืบทอด ทัศนคติ ความคิด ความเชื่อทางการเมืองให้กับบุคคล ที่จะส่งผลต่อการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมทางการเมืองของบุคคลนั้นมันจะมีผลต่อการดำรงอยู่หรือการเปลี่ยนแปลงของระบบการเมืองและระบบการปกครองในเวลาต่อมา
ยกตัวอย่างเช่น ในสังคมไทยมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบศักดินา วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอุปถัมภ์ ที่หล่อหลอมขึ้นจากโครงสร้าง  สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และวัฒนธรรม ในสมัยอยุธยาซึ่งส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนมาจนถึงปัจจุบัน

ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันทางสังคม วัฒนธรรมทางการเมือง กับพัฒนาการทางการเมือง มีความสัมพันธ์กันในลักษณะที่สถาบันทางสังคมเป็นตัวแสดงที่มีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองที่หล่อหลอมให้เกิดวัฒนธรรมทางการเมืองวัฒนธรรมทางการเมืองนี่เองเป็นตัวกำหนดการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองของมนุษย์ซึ่งมีความหมายต่อกระบวนการทางการเมืองและระบบการเมืองที่ดำรงอยู่และมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางการเมือง

8.2 ลักษณะและบทบาทของสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

สถาบันทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนา สื่อมวลชน ได้หล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมืองที่มี “ลักษณะเฉพาะ”ที่ผสมผสานดนตรีอย่างยากที่จะแยกขาดออกจากกันระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกื้อหนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทยซึ่งมีผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทย

8.2.1 ลักษณะและบทบาทของสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยสถาบันทางสังคมที่สำคัญ ได้แก่ ครอบครัว สถาบันการศึกษา (วัด) สถาบันศาสนา ที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง ผลิตซ้ำวัฒนธรรมทางการเมืองอุปถัมภ์ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยม และวัฒนธรรมทางการเมืองศักดินาซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ที่ส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะที่ยอมรับ ยอมจำนนต่อระบอบการปกครองที่ดำรงเรือง

8.2.2 ลักษณะและบทบาทของสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบเผด็จการ
ภายใต้ระบอบเผด็จการ สถาบันทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนา สื่อมวลชน มีบทบาทสำคัญในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง เราร้องไห้วัฒนธรรมทางการเมืองเคลื่อนตัวจากวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้ามาสู่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมในหมู่ปัญญาชนชื่อระบบการเมืองที่ดำรงอยู่ไม่สามารถปรับตัวตอบสนองต่อความคาดหวังและความต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองได้จนนำไปสู่เหตุการณ์ 14 ตุลาคมพศ 2516 ที่นักเรียน นักศึกษา ออกมาเคลื่อนไหวต่อต้านระบอบการปกครองที่ดำรงอยู่

8.2.3 ลักษณะและบทบาทของสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย
ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย สถาบันทางสังคม ครอบครัว สถาบันการศึกษา ศาสนา สื่อมวลชน ได้หล่อหลอมวัฒนธรรมทางการเมืองที่มี “ลักษณะเฉพาะ” ที่ผสมผสานบนเปอย่างยากที่จะหย่าขาดออกจากกัน ระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกื้อหนุนการปกครองในระบอบประชาธิปไตย กับวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นวิถีชีวิตของคนไทย ซึ่งส่งผลต่อการแสดงพฤติกรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่เบี่ยงเบนไปจากพฤติกรรมของพลเมืองเฉกเช่นในสังคมตะวันตกที่มีหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบต่อรัฐมากกว่าการรับผิดชอบต่อตนเอง

วัฒนธรรมทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตยมีลักษณะดังนี้
วัฒนธรรมทางการเมืองในเชิงแนวคิด ทฤษฎีภายใต้แนวคิดของอัลมอนด์และเวอร์บา ในช่วงแรกเริ่มอาณาจักรสุโขทัยประชาชนมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบคับแคบในช่วงเวลานับตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัยจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 วัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นลักษณะเด่นที่สำคัญคือ วัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้า ซึ่งเป็นวัฒนธรรมทางการเมืองแบบที่ประชาชนยอมรับอำนาจของผู้ปกครอง
วัฒนธรรมทางการเมืองซึ่งเป็นผลจากวิถีประชาภายใต้ระบอบราชาธิปไตย มีลักษณะเป็นวัฒนธรรมการเมืองอุปถัมภ์นิยม วัฒนธรรมการเมืองอำนาจนิยม วัฒนธรรมการเมืองศักดินานิยม

พัฒนาการทางการเมืองในแง่ของความเป็นสถาบันทางการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการอํานาจนิยม
ความเป็นสถาบันทางการเมืองภายใต้ระบอบเผด็จการอำนาจนิยม ยังไม่มีความเป็นสถาบันทางการเมืองแม้มันจะมีการแบ่งแยกโครงสร้างองค์กรทางการเมืองแบบประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตยมีรัฐบาล รัฐสภานิติบัญญัติ มีศาล หากตาองค์กรเหล่านี้ไม่สะท้อนการทำหน้าที่ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจ เยี่ยงองค์กรในประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ไม่มีระบบพรรคการเมือง ไม่มีกระบวนการทางการเมืองที่เรียกว่าการเลือกตั้ง ประชาชนถูกกดทับปิดกั้น ไม่ให้แสดงความคิดเห็น หรือเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง โครงสร้างเชิงสถาบันการเมืองจึงไม่สะท้อนลักษณะขององค์กรที่มีความสามารถในการปรับตัวได้ (adaptability) องค์กรที่ซับซ้อน (complexity) ซึ่งรวมถึงองค์กรที่มีลักษณะความแตกต่างอย่างเฉพาะเจาะจง (differentiation and specialization) การมีความเป็นกลุ่มก้อน (coherence) และองค์กรที่มีความเป็นอิสระ(autonomy) อีกทั้งระบบการเมืองที่ดำรงอยู่ยังไม่สามารถปรับตัวเพื่อสนองความต้องการและการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนได้ระบอบเผด็จการอํานาจนิยมจึงไม่มีพัฒนาการทางการเมืองในแง่ของความเป็นสถาบันทางการเมือง

ลักษณะและบทบาทของสถาบันศาสนาในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
สถาบันศาสนาในที่นี้คือพระพุทธศาสนามีบทบาทน้อยลงและการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองทั้งนี้เนื่องจากเมื่อสังคมมีการพัฒนามากขึ้นมีการสะสมทุนโดยปัจเจกบุคคลมากขึ้นประกอบกับการเข้ามาของกระแสวัตถุนิยม บริโภคนิยม ที่มาพร้อมกับโลกาภิวัตน์ ทำให้คนในสังคมมีโอกาสที่จะประพฤติ ปฏิบัติ เบี่ยงเบน จากหลักคำสอนของพระพุทธศาสนามากขึ้น เบี่ยงเบนจากศีลธรรมและจารีตนิยมที่คนในสังคมยึดถือร่วมกันมากขึ้น ปัจเจกบุคคลในสังคมสมัยใหม่ถูกท้าทายอย่างมาก ระหว่าง ความถูกต้อง ดีงาม กับความอยู่รอดของปากท้อง ความมีศีลธรรมและคุณธรรม กับอำนาจ ผลประโยชน์ และเงินตรา ซึ่งบั่นทอนการประพฤติ ปฏิบัติ ที่ดีงามของคนในสังคม ในไทยที่สุดพฤติกรรมของคนในสังคมที่ห่างไกลจากหลักยึดตามคำสอนทางพระพุทธศาสนาย่อมส่งผลกระทบต่อระบบการเมืองกระบวนการทางการเมืองเมื่อคนเหล่านี้เข้ามาปฏิสัมพันธ์ในกระบวนการทางการเมืองหรือเข้ามาทำหน้าที่ในองค์กรที่เป็นส่วนหนึ่งในระบบการเมืองในระบอบประชาธิปไตยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

8.3 ปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในพัฒนาการทางการเมืองไทย

สถาบันทางสังคมต้องปรับบทบาทในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองเพื่อสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เคลื่อนหนุนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะ “วัฒนธรรมพลเมือง” ซึ่งเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นเงื่อนไขสำหรับการมีเสถียรภาพของประชาธิปไตยที่ประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองหรือสมาชิกของสังคมมีบทบาทและมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ใต้ปกครองที่เคารพและเชื่อฟังกฎหมายบ้านเมือง

8.3.1ปัญหาทางด้านสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในพัฒนาการทางการเมืองไทย
ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบความผสมปนเประหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกิดหนุนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยกับวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นผลมาจากวิถีชีวิตของคนไทยและปัญหาความไม่เข้าใจในวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในการทำหน้าที่กล่อมเกลาเรียนรู้ทางการเมืองของสถาบันทางสังคมได้แก่ ครอบครัว สถานศึกษา พระพุทธศาสนา และสื่อมวลชน ซึ่งส่งผลต่อ “ความเป็นสถาบันทางการเมือง” ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญของพัฒนาการทางการเมืองไทย

8.3.2 แนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในพัฒนาการทางการเมืองไทย
สถาบันทางสังคมต้องปรับบทบาทในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองเพื่อสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เคลื่อนอุ่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะ “วัฒนธรรมพลเมือง” ซึ่งเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นเงื่อนไขสำหรับการมีเสถียรภาพของประชาธิปไตยที่ประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองหรือสมาชิกของสังคมมีบทบาทและมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ใต้ปกครองที่เคารพและเชื่อฟังกฎหมายบ้านเมือง

ปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทย
พัฒนาการทางการเมืองไทยคือความเป็นสถาบันทางการเมืองที่ระบบการเมืองสามารถปรับตัวเพื่อตอบสนองต่อความต้องการความคาดหวังของประชาชนได้โดยเฉพาะการปรับตัวต่อการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนโดยไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายและเสถียรภาพในการเปลี่ยนแปลงปัญหาทางด้านวัฒนธรรมทางการเมืองที่ส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยคือ
1 ความผสมปนเประหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เคลื่อนอุ่นต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเช่น วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย รับวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เกื้อหนุนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันเป็นผลมาจากวิถีชีวิตของคนไทยเช่น วัฒนธรรมการเมืองอุปถัมภ์นิยม ศักดินานิยม อำนาจนิยม การเคารพผู้อาวุโสเป็นต้น
2 ปัญหาความไม่เข้าใจที่มีต่อวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม

แนวทางแก้ไขปัญหาทางด้านสถาบันทางสังคมและวัฒนธรรมทางการเมืองในพัฒนาการทางการเมืองไทย
แนวทางแก้ไขปัญหาวัฒนธรรมทางการเมืองไทยและสถาบันทางสังคมคือการแยกวัฒนธรรมทางการเมืองที่มีความผสมปนเปกันระหว่างวัฒนธรรมทางการเมืองที่เกิดผลต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตยเช่น วัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตย วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม กับวัฒนธรรมทางการเมืองที่ไม่เกื้อหนุนต่อการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันเป็นผลมาจากวิถีชีวิตของคนไทยเช่น วัฒนธรรมการเมืองอุปถัมภ์นิยม ศักดินานิยม อำนาจนิยม การเคารพผู้อาวุโสเป็นต้น ออกจากกัน โดยต้องสร้างความเข้มแข็งให้กับวัฒนธรรมทางการเมืองประชาธิปไตยและวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมนอกจากนี้ยังมีความจำเป็นที่ต้องสร้าง “วัฒนธรรมพลเมือง” ซึ่งเป็นรูปแบบของวัฒนธรรมทางการเมืองที่เป็นเงื่อนไขสำหรับการมีเสถียรภาพของประชาธิปไตยที่ประชาชนในฐานะที่เป็นพลเมืองหรือสมาชิกของสังคมมีบทบาทและมีส่วนร่วมทางการเมืองสูงในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ได้ปกครองที่เคารพและเชื่อฟังกฎหมายบ้านเมืองโดยสถาบันทางสังคมต้องปรับบทบาทในการอบรมกล่อมเกลาทางการเมืองใหม่ให้สอดคล้องกับหลักการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

หน่วยที่ 9 สถาบันตุลาการกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

9.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับสถาบันตุลาการ

สถาบันตุลาการหรือสารเป็นองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นสถาบันที่มีความสำคัญที่ส่งเสริมให้เกิดความมั่นคงในการปกครองระบอบประชาธิปไตย แนวคิดที่เกี่ยวกับสถาบันตุลาการหรือส่งเสริมให้เกิดสถาบันตุลาการหรือแสดงให้เห็นถึงความชอบธรรมของสถาบันตุลาการนั้นอาจมีหลายแนวคิดขึ้นอยู่กับมุมมองหรือจุดเน้นหนักเกี่ยวกับสถาบันตุลาการแนวคิดที่สำคัญที่อาจกล่าวถึงคือแนวคิดด้านหลักการแบ่งแยกอำนาจ แนวคิดด้านหลักนิติธรรม แนวคิดด้านการบังคับใช้กฎหมาย  และแนวคิดด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

9.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันตุลาการ
มีแนวคิดต่างๆที่เกี่ยวกับสถาบันตุลาการที่สนับสนุนเกี่ยวกับการกำเนิดถึงความจำเป็นของการมีสถาบันตุลาการ เช่น แนวคิดด้านการแบ่งแยกอำนาจ หลักนิติธรรม การบังคับใช้กฎหมาย ตลอดจนการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

9.1.2 ความหมายและความสำคัญของสถาบันตุลาการ
สถาบันตุลาการเป็นองค์กรผู้ใช้อำนาจตุลาการตามหลักการแบ่งแยกอำนาจสถาบันตุลาการหมายถึงสารที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้คือศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร
สถาบันตุลาการเป็นสถาบันที่สำคัญเพราะทำหน้าที่ตรวจสอบถ่วงดุลการใช้อำนาจในส่วนต่างๆเพื่อให้การดำเนินการของฝ่ายนิติบัญญัติฝ่ายบริหารตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปโดยถูกต้องชอบธรรมตามที่กฎหมายบัญญัติและยังมีบทบาทด้านการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วย

แนวความคิดที่สำคัญเกี่ยวกับสถาบันตุลาการคือ แนวคิดด้านการแบ่งแยกอำนาจ แนวคิดด้านหลักนิติธรรม แนวคิดด้านการบังคับใช้กฎหมาย และแนวคิดด้านการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

เกี่ยวกับความหมายของสถาบันตุลาการนั้นอาจกล่าวได้ว่าสถาบันตุลาการหมายถึงองค์กรที่ใช้อำนาจตุลาการตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งในที่นี้หมายถึงสารต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ไม่ใช่องค์กรหรือหน่วยย่อยทั่วไปที่เข้ามาเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยเรื่องต่างๆทั่วไปแม้นว่าจะมีลักษณะเหมือนกับการวินิจฉัยของศาลก็ตามกรณีของไทยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติแยกสถาบันตุลาการเป็นสารประเภทต่างๆคือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร
สำหรับความสำคัญของสถาบันตุลาการเราจะเห็นได้ว่าสถาบันตุลาการเป็นองค์กรในการใช้อำนาจตุลาการซึ่งเป็นอำนาจ 1 ใน 3 อำนาจนอกเหนือจากอำนาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร สถาบันตุลาการจึงทำหน้าที่ถ่วงดุลฝ่ายอื่นในแง่ของการวินิจฉัยตีความกฎหมาย การพิพากษาคดี เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนและตรวจสอบการดำเนินการต่างๆของฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายบริหารเพื่อให้การดำเนินการต่างๆเป็นไปโดยถูกต้อง ชอบธรรม เกิดประโยชน์สูงสุดแก่สังคมส่วนรวม ทั้งยังเป็นการยืนยันถึงหลักความเสมอภาคของบุคคลซึ่งเป็นหลักสำคัญประการหนึ่งของการปกครองระบบประชาธิปไตย

9.2 ระยะทำการของสถาบันตุลาการในพัฒนาการทางการเมืองไทย

สถาบันตุลาการมีวิวัฒนาการมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแต่ยังไม่ปรากฏรูปแบบที่มีความแน่นอนชัดเจนในรูปแบบของความเป็นสถาบัน ในสมัยกรุงศรีอยุธยามีการตั้งศาลต่างๆกระจัดกระจายกันออกไปจนกระทั่งมีการปฏิรูปในสมัยรัชกาลที่ 5 สถาบันตุลาการจึงมีความโดดเด่นเป็นหลักประกันความยุติธรรมได้ในระดับที่ทัดเทียมกับระดับสากล

9.2.1 สมัยกรุงสุโขทัย
สถาบันตุลาการมีการพัฒนาตามยุคสมัยและเกี่ยวข้องกับการปกครองการเมืองตลอดจนพัฒนาการทางการเมืองในช่วงต่างๆ
สมัยสุโขทัยเป็นยุคเริ่มต้นของการรวมผู้คนเข้ามาอยู่รวมกันเป็นแว่นแคว้น ตั้งเป็นอาณาจักรหรือนครรัฐนั้น มีการปกครองแบบพ่อกับลูก มีผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองมีความใกล้ชิดกันและจำนวนผู้คนยังน้อยพระมหากษัตริย์หรือพ่อขุนจึงเป็นผู้ใช้อำนาจทั้ง 3 ด้านคือ ประกาศกฎหมาย บริหารและวินิจฉัยตัดสินคดีความ ปรากฏในศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหงว่า พระมหากษัตริย์ทรงรับเรื่องราวร้องทุกข์ของราษฎรมาวินิจฉัย เบอร์ราษฎรมีความเดือดร้อนมีปัญหาทางอรรถคดีสามารถไปสั่นกระดิ่งที่หน้าประตูวังเพื่อขอให้วินิจฉัยชี้ขาดขจัดทุกข์ร้อนได้

9.2.2 สมัยกรุงศรีอยุธยา
สมัยกรุงศรีอยุธยาการเมืองการปกครองได้รับอิทธิพลจากลัทธิเทวราชาหรือเทวสิทธิ์ กล่าวถือว่าพระมหากษัตริย์เป็นสมมติเทพประชาชนในแว่นแคว้นเป็นผู้มีหน้าที่รับใช้ในการจัดวางโครงสร้างทางสังคมในลักษณะของชนชั้นต่างๆมีการใช้ศักดินาเป็นตัวกำหนดฐานะทางสังคมของบุคคลและได้รับการคุ้มครองดูแลตามลำดับศักดินาที่ตนมีอยู่ในส่วนที่เกี่ยวกับอำนาจตุลาการพระมหากษัตริย์ทรงมอบหมายให้ขุนนางที่เกี่ยวข้องเป็นผู้ไต่สวนข้อเท็จจริงแล้วมีคณะผู้ปรับบทกฎหมาย

9.2.3 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นมีการรวบรวมกฎหมายเป็นหมวดหมู่เรียกว่ากฎหมายตราสามดวงการชำระตัดสินความยังคงเป็นไปในรูปแบบเดิมเหมือนสมัยกรุงศรีอยุธยาแตกพระมหากษัตริย์ทรงมีบทบาทในการวินิจฉัยเรื่องราวต่างๆมากขึ้นผ่านการถวายฎีกา

9. 2.4 สมัยรัชกาลที่ 5
สมัยรัชกาลที่ 5 เป็นยุคของการปฏิรูปกฎหมายและการศาลเพื่อให้ทัดเทียมกับนานาประเทศมีการรวบรวมศาลเป็นหมวดหมู่มีการจัดตั้งกระทรวงต่างๆรวมทั้งกระทรวงยุติธรรมซึ่งเป็นสังกัดของศาลให้ ศาลทั้งหลายสังกัดอยู่ในกระทรวงยุติธรรมมีเสนาบดีกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้บังคับบัญชา

สมัยกรุงสุโขทัยลักษณะหรือสภาพของสถาบันตุลาการเป็นแบบยังไม่มีการก่อรูปเป็นสถาบันสารที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีอย่างชัดเจนเพราะเป็นอำนาจของผู้ปกครองที่ทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีเองหรือมอบหมายให้ผู้ใดทำหน้าที่เป็นตระลาการทำหน้าที่ตัดสินคดีโดยมีการเน้นหนักเกี่ยวกับการตัดสินคดีว่าต้องเป็นไปโดยถูกต้อง เที่ยงธรรม ไม่ลำเอียง

สภาพของสถาบันตุลาการหนังมีการปฏิรูปกฎหมายและการศาลในสมัยรัชกาลที่ 5สถาบันตุลาการมีความชัดเจนในรูปแบบของความเป็นสถาบันโดยมีความเป็นอิสระมากขึ้นมีการรวบรวมปรับปรุงศาลต่างๆที่อยู่กระจัดกระจายกันให้มาสังกัดในกระทรวงยุติธรรมมีผู้พิพากษาทำหน้าที่ตัดสินคดีเป็นการเฉพาะคดีมีการตรวจสอบตามลำดับชั้นของสารโดยการอุทธรณ์ฎีกาไปตามลำดับชั้นศาลศาลได้รับการยอมรับว่าเป็นสถาบันที่เป็นหลักประกันในด้านการอำนวยความยุติธรรม

9.3 สถาบันตุลาการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

สถาบันตุลาการตามรัฐธรรมนูญมีบัญญัติไว้คือ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง ศาลรัฐธรรมนูญ และศาลทหาร ซึ่งต่างก็มีบทบาทอํานาจหน้าที่แตกต่างกันออกไป

9.3.1 ศาลยุติธรรม
ศาลยุติธรรมเป็นสารดั้งเดิมก่อนที่ประเทศไทยจะมีการแยกประเภทเป็นสารอื่นๆในภายหลังศาลยุติธรรมมีพัฒนาการความเป็นมาเป็นระยะเวลานานจากเดิมที่เคยสังกัดกระทรวงยุติธรรมต่อมาก็มีการแยกออกจากกระทรวงยุติธรรมเป็นองค์กรอิสระ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั่วทั่วไปซึ่งไม่อยู่ในอำนาจการพิจารณาของศาลอื่น

9.3.2 ศาลปกครอง
ศาลปกครองมีการจัดตั้งขึ้นหลังศาลยุติธรรมเป็นผลให้ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงจากการใช้ระบบศาลเดี่ยวคือเดิมมีเฉพาะศาลยุติธรรมทำหน้าที่พิจารณาคดีทุกประเภทเมื่อมีการตั้งศาลปกครองจึงกลายเป็นระบบศาลคู่คือมีศาลยุติธรรมและศาลปกครองเป็นสารคู่กันศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาคดีปกครองตามที่กฎหมายบัญญัติไว้

9.3.3 ศาลรัฐธรรมนูญ
ศาลรัฐธรรมนูญเป็นสารที่พัฒนาการมาจากคณะตุลาการรัฐธรรมนูญในอดีตทำหน้าที่ชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่เลยมีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยกรณีต่างๆตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ เป็นสถาบันตุลาการที่มีบทบาทโดยตรงต่อการพัฒนาทางการเมืองในด้านต่างๆ

9.3.4 ศาลทหาร
สารอาหารเป็นสารที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาซึ่งผู้กระทำผิดเป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหารและคดีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติไว้โดยมีตุลาการศาลทหารเป็นผู้พิจารณาพิพากษาทั้งนี้เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพความผิดและผู้กระทำผิดซึ่งเป็นทหารเนื่องจากมีลักษณะเฉพาะพิเศษเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามภารกิจต่างๆหรือความจำเป็นเพื่อประโยชน์ทางด้านการทหารโดยเฉพาะ

ศาลยุติธรรมมีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการกระทำผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยมาตรา 219 บัญญัติให้ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยคดีเกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรณีของศาลฎีกานั้นมีอำนาจเกี่ยวกับกรณีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาส่วนศาลอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาและวินิจฉัยกรณีคดีที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งในการเลือกตั้งสมาชิกท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
ในส่วนที่เกี่ยวกับการกระทำผิดของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองนั้นรัฐธรรมนูญบัญญัติให้ศาลยุติธรรมโดยศาลฎีกามีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีในลักษณะดังกล่าวโดยมีการตั้งแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองในศาลฎีกาเพื่อพิจารณาพิพากษาคดีเป็นการเฉพาะ

ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีประเภทดังต่อไปนี้
ตามมาตรา 223 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช2550 ซึ่งบัญญัติให้ศาลปกครองมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีปกครองซึ่งเกิดจากการใช้อำนาจปกครองตามกฎหมายหรือเนื่องจากการดำเนินกิจกรรมทางปกครองของหน่วยงานของรัฐ

ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยในกรณีการตรวจสอบความชอบด้วยรัฐธรรมนูญปัญหาเกี่ยวกับสมาชิก ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา การกระทำต่างๆที่เป็นการขัดต่อรัฐธรรมนูญ การทําสนธิสัญญา ตลอดจนการวินิจฉัยเกี่ยวกับพรรคการเมืองเป็นต้น

กรณีของศาลพลเรือนมีเขตอำนาจตามภูมิศาสตร์ตามกฎหมายจัดตั้งแต่กรณีของสารทหารนั้นอาจมีการจัดตั้งสถานในเขตพื้นที่ที่มีการรบและไม่จำกัดอยู่เฉพาะแต่ดินแดนในประเทศแต่อาจไปทำการรบอยู่ต่างแดนหรือพื้นที่ต่างๆจำเป็นต้องมีสารอาหารประจำหน่วยและหากพิจารณาตามประเภทของสารทหารแล้วก็จะเห็นได้ว่ามีสารทหารทั้งกรณีปกติ กรณีไม่ปกติ และศาลอาญาศึก ซึ่งลักษณะต่างๆที่กล่าวมานั้นมีความแตกต่างไปจากศาลพลเรือนจำเป็นที่จะต้องมีสารทหารที่พิจารณาคดีทหารเป็นการเฉพาะซึ่งในต่างประเทศก็มีการจัดตั้งศาลทหารเช่นเดียวกัน
ซึ่งกฎหมายที่ใช้กับสารอาหารคือพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหารพ. ศ. 2498โดยมีการแบ่งประเภทของสารอาหารออกเป็น 3 ประเภทคือ ศาลทหารในเวลาปกติ ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ และศาลอาญาศึก

9.4 บทบาทของสถาบันตุลาการกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

งานธุรการมีบทบาทอย่างสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาทางการเมืองไทยโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่พัฒนาการทางการเมืองไทยยังไม่เข้มแข็งพอสถาบันตุลาการจะมีบทบาทในด้านของการถ่วงดุลอำนาจ/การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน/ทำให้การเมืองภาคประชาชนมีความเข้มแข็ง การพัฒนาด้านการเมืองการป้องกันและปราบปรามการทุจริต การควบคุมการใช้อำนาจรัฐและ อื่นๆ

9.4.1 การถ่วงดุลอำนาจนิติบัญญัติและอํานาจบริหาร
สถาบันตุลาการเป็นองค์กรที่มีบทบาทในด้านการถ่วงดุลตามหลักการดุลและคานในการปกครองระบอบประชาธิปไตย

9.4.2 การรักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญและการส่งเสริมรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สถาบันตุลาการมีบทบาทเกี่ยวกับการพิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญ ตรวจสอบตีความ วินิจฉัยกฎหมายต่างๆไม่ให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ ตลอดจนการส่งเสริมรักษาการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

9.4.3 การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนและการส่งเสริมพัฒนาการการเมืองภาคประชาชน
การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งได้รับการยอมรับเป็นบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญเป็นภาระหน้าที่ หนึ่ง ของสถาบันตุลาการที่จะกระทำให้เกิดผลเป็นรูปประธรรมในทางปฏิบัตินอกจากนี้แล้วเกี่ยวกับการเมืองภาคประชาชนก็เป็นเรื่องสำคัญที่สถาบันตุลาการมีบทบาทในด้านการส่งเสริมการเมืองภาคประชาชนทั้งทางตรงและทางอ้อมทำให้การเมืองภาคประชาชนมีความเข้มแข็งและเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองที่ถูกต้อง

9.4.4 การพัฒนาด้านพรรคการเมืองและการเลือกตั้ง
พรรคการเมืองเป็นเรื่องที่มีความสำคัญในระบอบประชาธิปไตยสถาบันตุลาการมีบทบาทในด้านของการพัฒนาพรรคการเมืองทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็งดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ถูกต้องตามขอบเขตของกฎหมาย

9.4.5 การควบคุมการใช้อำนาจรัฐและการป้องกันปราบปรามการทุจริต
สถาบันตุลาการมีบทบาทด้านการคุ้มครองการใช้อำนาจรัฐและป้องกันปราบปรามการทุจริตมีการดำเนินคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมีการชี้ขาดเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่และการกระทำของรัฐว่าเป็นไปโดยถูกต้องหรือไม่

9.4.6 แนวโน้มของบทบาทสถาบันตุลาการในสภาวการณ์ทางการเมืองปัจจุบัน
ไม่ว่าจะเกิดการรัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 มีผลทำให้การใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 สิ้นสุดลงและสถาบันตุลาการก็ได้รับยกเว้นให้คงอยู่ต่อไปไม่ได้รับผลกระทบแนวโน้มหรือทิศทางของสถาบันตุลาการจึงยังคงมีบทบาทต่อด้านการพัฒนาทางการเมืองต่อไปโดยสถาบันตุลาการต้องมีการพัฒนาและปรับตัวตามสภาพความเป็นเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาจึงจะสามารถรักษาความเป็นสถาบันที่ได้รับการยอมรับเชื่อถือศรัทธาจากประชาชนและเป็นที่พึ่งของสังคมส่วนรวมได้อย่างแท้จริงต่อไป

สถาบันตุลาการมีการถ่วงดุลลักษณะดุลและคานซึ่งกันและกัน โดยฝ่ายนิติบัญญัติเป็นผู้ออกกฎหมาย ฝ่ายบริหารเป็นผู้ใช้กฎหมาย ในขณะที่สถาบันตุลาการก็เป็นฝ่ายแปลกฎหมาย ตีความกฎหมาย วินิจฉัยพิพากษาคดีตามตัวบทกฎหมาย ขอให้เกิดความถูกต้องเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย การถ่วงดุลดังกล่าวทำให้การใช้อำนาจต่างเป็นไปโดยถูกต้อง เหมาะสม ทำให้การพัฒนาทางการเมืองดำเนินไปทิศทางที่ถูกต้อง เกิดผลในทางการเมืองที่เป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในสังคม

สถาบันตุลาการมีบทบาทในการรักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดและส่งผลต่อพัฒนาการทางการเมืองโดยที่ศาลทุกศาลวินิจฉัยชี้ขาดคดีโดยอาศัยกฎหมาย กฎหมายน้ำต้องไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุด นอกจากนี้แล้วศาลรัฐธรรมนูญเป็นสารที่ตรวจสอบชี้ขาดว่ากฎหมายใดขัดแย้งกับรัฐธรรมนูญหรือไม่ทำให้สามารถพิทักษ์รักษาความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญไว้ได้รัฐธรรมนูญเป็นหลักสำคัญในการปกครองประเทศเป็นกรอบหรือเป็นแนวทางให้การเมืองต้องมีการพัฒนาหรือดำเนินไปตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้

กรณีร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญชี้ขาดเมื่อประชาชนถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้สามารถยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 212 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 และกรณีตามมาตรา 68แห่งรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าวซึ่งเป็นเรื่องร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบการกระทำของบุคคลหรือพรรคการเมืองมีการใช้สิทธิเสรีภาพไปในทางล้มล้างการปกครองศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยให้เลิกการกระทำดังกล่าวได้

ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทเกี่ยวกับด้านพรรคการเมืองดังนี้
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 บัญญัติให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจวินิจฉัยเกี่ยวกับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมืองพ. ศ. 2541 หลายประการคือการวินิจฉัยเกี่ยวกับการจดทะเบียนตั้งพรรค นโยบาย และข้อบังคับของพรรค การสั่งพักการเมืองให้ระงับการกระทำที่อาจเป็นภัยต่อประเทศชาติ การให้หัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคออกจากตำแหน่ง ตลอดจนการสั่งให้ยุบพรรคการเมือง

หน่วยที่ 10 สถาบันราชการกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

10.1 แนวคิดเกี่ยวกับสถาบันราชการกับการพัฒนาการทางการเมือง

ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชการกับการพัฒนาการเมืองเป็นสิ่งที่ต้องพึ่งพาซึ่งกันและกันเนื่องจากสถาบันราชการประกอบด้วยข้าราชการประจำที่ทำงานอย่างต่อเนื่องส่วนระบบการเมืองเป็นระบบที่มีการทำงานอย่างไม่ต่อเนื่องดังนั้นหากระบบการเมืองก้าวหน้าก็จะได้สถาบันราชการเข้ามาช่วยค้ำจุนและลดจุดอ่อนที่เกิดขึ้นได้โดยต้องอาศัยความมีจิตสำนึกในการให้การบริการสาธารณะต่อสังคมประกอบกับต้องมีจิตสาธารณะมีศีลธรรมจรรยาบรรณ โปร่งใส ไม่คอรัปชั่น ทำประโยชน์เพื่อประชาชนและสังคมอย่างจริงจัง ทั้งนี้เพื่อสร้างให้สถาบันราชการและระบบการเมืองเกิดความมีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง

10.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชการกับการพัฒนาการทางการเมือง
ความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชการกับการพัฒนาทางการเมืองนั้นมีส่วนสัมพันธ์กันเนื่องจากสถาบันราชการนั้นเป็นการดำเนินงานที่เป็นงานประจำต่อเนื่องแต่ส่วนการเมืองนั้นเป็นเรื่องที่มีการดำเนินงานตามรอบเวลาที่เป็นคณะรัฐบาลที่อยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีและเลือกตั้งใหม่ดังนั้นสถาบันราชการจะเป็นการสร้างความต่อเนื่องในการนำนโยบายการบริหารประเทศไปปฏิบัติให้เกิดความต่อเนื่องและมีส่วนเข้ามามีบทบาทในการพัฒนาทางการเมืองต่อไป

10.1.2 พัฒนาการของสถาบันราชการไทย
การพัฒนาสถาบันราชการตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาข้าราชการไทย(พ. ศ. 2548 ถึงพ.ศ 2550) คือการปรับเปลี่ยนส่วนต่างๆของสถาบันราชการไทยตามปัจจัยแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปซึ่งมี 7 ยุทธศาสตร์หลักที่ใช้ในการพัฒนาคือ 1) การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน 2)การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน 3)การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ 4)การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่ 5)การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์วัฒนธรรม และค่านิยม 6)การเสริมสร้างสถาบันราชการให้ทันสมัย 7)การเปิดสถาบันราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

10.1.3 รากฐานวัฒนธรรมของสถาบันราชการไทย
ข้าราชการระดับสูงมีส่วนกำหนดยุทธศาสตร์ในการเข้ามาใช้อำนาจโดยหลีกเลี่ยงความขัดแย้งกับฝ่ายการเมืองโดยนำเสนอวิสัยทัศน์ให้มีการปฏิรูปสถาบันราชการจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กรของบรรดาข้าราชการโดยอัตโนมัติและรากฐานวัฒนธรรมของสถาบันราชการไทยหรือค่านิยมแบ่งเป็น 2 ประเภทได้แก่ 1)ค่านิยมที่องค์กรราชการต้องการให้เกิดขึ้นซึ่งองค์กรราชการเป็นผู้กำหนดและถ่ายทอดให้สมาชิกถือปฏิบัติ 2)ค่านิยมที่สมาชิกบุคคลยึดถือและปฏิบัติจริงซึ่งอาจสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องกับสถาบันราชการก็ได้

สถาบันราชการหมายถึงองค์กรที่ประกอบขึ้นด้วยเจ้าหน้าที่ของรัฐหรือข้าราชการซึ่งเป็นกลุ่มบุคลากรที่ไม่ได้เข้าสู่ตำแหน่งโดยผ่านกระบวนการเลือกตั้งที่มีการปฏิบัติภารกิจในด้านการบริหารงานของรัฐตามนโยบาย
การพัฒนาระบบการเมืองหมายถึงทฤษฎีการเมืองที่มองถึงความสามารถของระบบการเมืองที่เป็นทางออกทำให้คนในสังคมสนับสนุนในกิจกรรมทางการเมืองและสามารถตอบสนองความต้องการของสังคมด้วยการระดมทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรธรรมชาติเพื่อแก้วิกฤติความต้องการของสังคมและเพื่อแก้ปัญหาต่างๆของสังคมโดยเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองคือ “การสร้างสถาบันเพื่อจัดระเบียบการมีส่วนร่วมทางการเมือง” เป็นสำคัญ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทยในพ.ศ 2546 ถึงพ.ศ 2550
มี 7 ยุทธศาสตร์หลักคือ
1 การปรับเปลี่ยนกระบวนการและวิธีการทำงาน
2 การปรับปรุงโครงสร้างการบริหารราชการแผ่นดิน
3 การรื้อปรับระบบการเงินและการงบประมาณ
4 การสร้างระบบบริหารงานบุคคลและค่าตอบแทนใหม่
5 การปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ วัฒนธรรม และค่านิยม
6 การเสริมสร้างระบบราชการให้ทันสมัย
7 การเปิดระบบราชการให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม

รากฐานวัฒนธรรมของสถาบันราชการไทยมีลักษณะเป็นค่านิยม 5 ลักษณะดังนี้
1 เป็นแนวความคิดหรือความเชื่อ
2 เกี่ยวกับเป้าหมายหรือพฤติกรรมที่พึงปรารถนา
3 อยู่ในสถานการณ์ (ค่านิยมไม่เปลี่ยน แมนว่าสถานการณ์เปลี่ยน)
4 ชี้นำการคัดเลือกหรือการประเมินพฤติกรรมว่าสิ่งใดควร สิ่งใดไม่ควร และเหตุการณ์ต่างๆเป็นประโยชน์หรือไม่เป็นประโยชน์
5 สามารถจัดลำดับได้ว่าสิ่งใดมีความสำคัญมากกว่าสิ่งใด เช่น ความซื่อสัตย์สำคัญกว่าเงินทอง

10.2 ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชการไทยกับการเมือง

ปัญหาความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันราชการกับการเมืองนั้นเกิดจากการที่สังคมไทยมีลักษณะเป็นสังคมแนวดิ่งมีวัฒนธรรมทางการเมืองแบบอำนาจนิยมซึ่งเป็นเรื่องของกระบวนทัศน์ในการคิดแบบแนวดิ่งของสังคมไทยซึ่งมีการเรียนรู้จากพัฒนาการของสถาบันรัชกาลที่มีอิทธิพลต่อวิธีคิดและวิถีชีวิตของประชาชนชาวไทยการใช้อำนาจราชการส่วนใหญ่ไม่ตอบสนองต่อประโยชน์สาธารณะเพราะสายสัมพันธ์ระหว่างประชาชนและข้าราชการเป็นความสัมพันธ์แนวดิ่งจึงส่งผลกระทบต่อการมีพฤติกรรมและแรงจูงใจเชิงอำนาจของข้าราชการรวมทั้งมีผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในสังคมเป็นอย่างมากทำให้วิเคราะห์ได้ว่าวัฒนธรรมสถาบันราชการได้ส่งเสริมให้เกิดความคิดแบบอำนาจนิยมหรือมีลักษณะแบบพึ่งพา

10.2.1 ปัญหาระหว่างสถาบันราชการกับการเมือง
สถาบันราชการกับการเมืองนั้นมีปัญหา 1)ด้านโครงสร้างสถาบันราชการไทย และ 2)ด้านทัศนคติค่านิยม และพฤติกรรมของข้าราชการไทย
โดยแนวทางแก้ไขคือเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะให้เกิดการสนใจทางการเมืองมากขึ้นและเริ่มมีความเชื่อมั่นในพลังความสามารถของตนที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้และพยายามดูดซับพลังของประชาชนให้เข้ามาอยู่ภายใต้การชักนำของกลุ่มผู้นำ ที่ตั้ง เพื่อประสานนโยบาย การรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญ

10.2.2 การสร้างดุลยภาพระหว่างการเมืองกับราชการ
การสร้างดุลยภาพระหว่างการเมืองกับราชการนั้นต้องอาศัยการปรับกระบวนทัศน์ตามแนวคิดของ 2 กลุ่มหลักคือ 1)กลุ่มรัฐประศาสนศาสตร์ ระบบการสร้างดุลยภาพระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการ 3 วิธี คือ แยกการเมืองกับราชการออกจากกัน ไม่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนและไม่แยกจากกันแต่ราชการต้องเป็นกลาง และ 2)กลุ่มรัฐศาสตร์ จะมองดูแล้วภาพถ่ายการเมืองกับฝ่ายราชการประจำอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในประเทศนับแต่อดีตที่จัดวางความสัมพันธ์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และมาเป็น หรือ “อํามาตยาธิปไตย” ที่ฝ่ายการเมืองหรือผู้นำทางการเมืองนั้นมาจากข้าราชการทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ยึดอำนาจมาด้วยการรัฐประหารและแต่งตั้งรัฐมนตรี

10.2.3 การปฏิรูปสถาบันราชการไทยและผลกระทบ
การปฏิรูปสถาบันราชการไทยและมีผลกระทบคือ ทำให้ ก.พ.ร. กลายเป็นกลจักรสำคัญในการทำหน้าที่ดังกล่าวทิศทางการพัฒนาและแนวทางในการดำเนินการล้วนเกี่ยวข้องกับ ก.พ.ร. ทั้งในทางตรงและทางอ้อม ตามมาตรา 71/10 พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 รวมถึงกำกับดูแลการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา 6และกำกับการปฏิบัติงานของราชการตามมาตรา 8 และบทบาทหน้าที่ตามมาตรา 9 คือการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐ ให้ส่วนราชการปฏิบัติ โดยกำกับให้จัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิบัติให้สำเร็จตามแผนปฏิบัติ กรณีมีปัญหาก็ต้องให้ข้าราชการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้บรรลุในเป้าหมายของแต่ละแผนงาน

ปัญหาระบบราชการกับการเมืองหลักหลักมีดังนี้
1 ปัญหาด้านโครงสร้างระบบราชการไทย
2 ปัญหาด้านทัศนคติ/ค่านิยม และพฤติกรรมของข้าราชการไทย
ส่วนแนวทางแก้ไขคือการเปลี่ยนแปลงทัศนคติและพฤติกรรมทางการเมืองในลักษณะที่ให้เกิดการสนใจทางการเมืองมากขึ้นและเริ่มมีความเชื่อมั่นในพลังความสามารถของตนที่จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองได้และพยายามดูดซับพลังของประชาชนให้เข้ามาอยู่ภายใต้การชักนำของกลุ่มผู้นำฝ่ายทหารและพลเรือนที่ตั้งขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์หลักคือเพื่อประสานนโยบายการรักษาความมั่นคงของรัฐเป็นสำคัญนอกจากนี้สถาบันราชการและการเมืองยังต้องคำนึงถึงการจัดโครงสร้างให้กะทัดรัดไม่มีขนาดใหญ่โตเกินไปด้วย

วิธีการสร้างดุลยภาพระหว่างการเมืองกับรัชกาลมีดังนี้
1 ด้านรัฐประศาสนศาสตร์ ระบุการสร้างดุลยภาพระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการมี 3 วิธีคือแยกการเมืองกับราชการออกจากกัน/ไม่แยกออกจากกันอย่างชัดเจน/และไม่แยกจากกันแต่ราชการต้องเป็นกลาง
2 ด้านรัฐศาสตร์ จะมองดูแลภาพจากฝ่ายการเมืองกับข้าราชการประจำอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับกระบวนการสร้างประชาธิปไตยในประเทศนับแต่อดีตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงปัจจุบันการมองความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายการเมืองกับข้าราชการในการบริหารราชการแผ่นดินที่มองผ่านกรอบรัฐศาสตร์ก็คือช่วงรัชกาลที่ 5 ถึงพ.ศ 2475 นั้นเป็นการจัดวางความสัมพันธ์ตามระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และเปลี่ยนมาเป็นประชาธิปไตย(พ. ศ. 2475 ถึง 2516) หรือ “อำมาตยาธิปไตย” ที่ฝ่ายการเมืองหรือผู้นำทางการเมืองนั้นมาจากข้าราชการทหารชั้นผู้ใหญ่ที่ยึดอำนาจมาด้วยการรัฐประหารและแต่งตั้งรัฐมนตรีเข้ามาบริหารประเทศ

ผลกระทบจากการปฏิรูปราชการไทยมีดังนี้
ก.พ.ร. กลายเป็นกลจักรสำคัญในการทำหน้าที่ดังกล่าวทิศทางการพัฒนาและแนวทางในการดำเนินการล้วนเกี่ยวข้องกับ ก.พ.ร. ทั้งในทางตรงและทางอ้อมตามมาตรา 71/10พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดินฉบับที่ 5 พ. ศ 2545 รวมถึงกำกับดูแลการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดีตามมาตรา 6 แล้วกำกับการปฏิบัติงานของราชการตามมาตรา 8 ในการบริหารราชการเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนส่วนราชการจะต้องดำเนินการโดยถือว่าประชาชนเป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการบริการจากรัฐและบทบาทหน้าที่ตามมาตรา 9 คือการบริหารราชการเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อภารกิจของรัฐให้ส่วนราชการปฏิบัติโดยกำกับให้จัดทำแผนปฏิบัติการและปฏิบัติให้สำเร็จตามแผนปฏิบัติกรณีมีปัญหาก็ต้องให้ข้าราชการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้บรรลุในเป้าหมายของแต่ละแผนงาน

10.3 สถาบันราชการไทยกับเป้าหมายการพัฒนาการเมืองไทย

สถาบันราชการไทยกับเป้าหมายการพัฒนาการเมืองนั้นต้องปฏิบัติไปด้วยกันเพราะการปฏิบัติงานของข้าราชการประจำนั้นเปรียบเสมือนเป็นเครื่องมือการบริหารประเทศของการเมืองซึ่งต้องมีการปรับโครงสร้างของสถาบันราชการและการเมืองด้วยการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ปรับพฤติกรรม และค่านิยมให้เป็นนักประชาธิปไตยที่ยืนบนพื้นฐานของความชอบธรรมทางการเมืองและการมีธรรมาภิบาลที่ดีและสิ่งที่ต้องพัฒนาอีกอย่างก็คือการไม่เข้าไปก้าวก่ายการปฏิบัติงานซึ่งกันและกันหากดำเนินการได้ดังนี้เป้าหมายการพัฒนาทางการเมืองไทยก็จะบรรลุเป็นเป้าหมายของการปกครองตามระบอบประชาธิปไตย

10.3.1 สถาบันราชการไทยกับการสร้างเสถียรภาพและความชอบธรรมทางการเมือง
จะได้รับภาพทางการเมืองหมายถึงสภาวะที่ “การเมือง” ถูกทำให้เป็นระบบมีระเบียบแบบที่กลุ่มอำนาจในสังคมหมายรู้ได้ว่ากลุ่มของตนจะดำรงอยู่ตำแหน่งแห่งใดความมีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นสิ่งซึ่งคนในสังคมอยากให้เกิดขึ้นทุกสังคมทั้งนี้เมื่อมีเสถียรภาพเกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดความมั่นใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามครรลองมีความอุ่นใจว่ากระบวนการทางการเมืองจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่างๆส่วนความชอบธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดสรรคุณค่าโดยมีอำนาจชอบธรรมหรือมีสิทธิ์อำนาจซึ่งพิจารณาใน 2 เรื่องหนึ่งก็คือการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าเองและส่วนที่ 2 คือการจัดสรรคุณค่าโดยมีสิทธิอำนาจเป็นสิ่งที่เรียกว่าอำนาจชอบธรรมหรือมีสิทธิอำนาจเองโดยอำนาจชอบธรรมนี้ต่างจากอำนาจโดยทั่วไปเพราะหมายถึงการใช้อำนาจนั้นต้องได้รับการยอมรับจากผู้คนด้วย

10.3.2 สถาบันราชการไทยกับการบริหารจัดการสมัยใหม่
สถาบันราชการสมัยใหม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือทำการปฏิรูปเพื่อให้ก้าวทันต่อระบบบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานของข้าราชการด้วยการพิจารณาการเพิ่มผลิตผลทำให้สามารถลดขนาดราชการมุ่งเพิ่มประสิทธิภาพการวัดคุณค่าการกระจายอำนาจการสละอำนาจและการให้บริการด้วยระบบตลาดและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่การปฏิรูปสถาบันราชการลักษณะนี้นิยมเรียกว่า “การจัดการภาครัฐแนวใหม่” หรือ เรียกว่า “การจัดการนิยม” หรือ “การบริหารภาครัฐที่อาศัยระบบตลาด” หรือ “รัฐบาลแบบผู้ประกอบการ” และการนำ  Lean Government มาใช้ในการพัฒนากระบวนการทำงานของสถาบันราชการที่สนับสนุนการพัฒนาการทางการเมืองไทยเป็นต้น

10.3.3 การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการ
ในการส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลที่ดีในภาคราชการนั้น ทางภาครัฐได้มีการกำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีพ. ศ. 2542 ที่ได้ระบุหลักการของคำนิยามการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีไว้คือการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน ซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการ ฝ่ายปฏิบัติการ ฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข มีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเป็นส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือเสริมภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ

เสถียรภาพทางการเมือง(political   stability) หมายถึงสภาวะที่ “การเมือง”ถูกทำให้เป็นระบบมีระเบียบแบบที่กลุ่มอำนาจในสังคมมาดูได้ว่ากลุ่มของตนจะดำรงอยู่ตำแหน่งแห่งใดความมีเสถียรภาพทางการเมืองเป็นสิ่งซึ่งคนในสังคมอยากให้เกิดขึ้นทุกสังคมทั้งนี้เมื่อมีเสถียรภาพเกิดขึ้นแล้วก็จะเกิดความมั่นใจว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามครรลองมีความอุ่นใจว่ากระบวนการทางการเมืองจะเป็นไปตามกฎเกณฑ์ต่างๆส่วนความชอบธรรมเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการจัดสรรคุณค่าโดยมีสิทธิอำนาจ (authoritative allocation of value) ซึ่งพิจารณาใน 2 เรื่อง 1 ตัวการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าเองและส่วนที่ 2 คือการจัดสรรคุณค่าโดยมีอำนาจชอบธรรมหรือสิทธิอำนาจนั้นเป็นสิ่งที่เรียกว่าอำนาจชอบธรรมหรือสิทธิอำนาจ(authority) เองโดยอำนาจชอบธรรมนี้ต่างจากอำนาจ(power) โดยทั่วไปเพราะหมายถึงการใช้อำนาจนั้นต้องได้รับการยอมรับจากผู้คนด้วย

การพัฒนาสถาบันราชการด้วยการบริหารจัดการสมัยใหม่ (New Public management) และตัวอย่างประกอบเพื่อสนับสนุนการพัฒนาการเมืองไทย
สถาบันราชการสมัยใหม่ต้องมีการเปลี่ยนแปลงหรือทำการปฏิรูปเพื่อให้ก้าวทันต่อการระบบ บริหาร จัดการสมัยใหม่เพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการทำงานของข้าราชการด้วยการพิจารณาการเพิ่มผลิตผลทำให้สามารถลดขนาดราชการเพิ่มประสิทธิภาพการวัดคุณค่าการกระจายอำนาจการสละอำนาจและการให้บริการด้วยระบบตลาดและเทคนิคการบริหารจัดการสมัยใหม่ การปฏิรูปสถาบันราชการลักษณะนี้นิยมเรียกว่า “การจัดการภาครัฐแนวใหม่” หรือ เรียกว่า “การจัดการนิยม” หรือ “การบริหารภาครัฐที่อาศัยระบบตลาด” หรือ “รัฐบาลแบบผู้ประกอบการ” นอกจากนี้ตัวอย่างการพัฒนาสถาบันราชการได้มีการนำแนวคิดของ Lean Government มาใช้คือแนวคิดหนึ่งที่สามารถนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของภาครัฐหรือแนวคิดที่จะปรับปรุงและพัฒนาระบบราชการให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นโดยลดความสูญเสียทั้งในส่วนของภาครัฐและประชาชนเพื่อให้เหลือแต่เนื้อแท้ในการทำงานหรือทำแต่งานที่มีคุณค่าเท่านั้นเพราะตัดงานที่ไร้คุณค่าออกซึ่งสถาบันราชการไทยเมื่อมีการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพก็ช่วยพัฒนาการเมืองของไทยเช่นกัน

การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการไทยที่ส่งผลต่อการพัฒนาสถาบันราชการและการพัฒนาของการเมืองไทย
การส่งเสริมและพัฒนาธรรมาภิบาลในภาคราชการไทยนั้นทางภาครัฐได้มีการกำหนดระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการสร้างระบบบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีพ. ศ. 2542 ที่ได้ระบุหลักการของคำนิยามการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีไว้คือการบริหารกิจการบ้านเมืองและสังคมที่ดีเป็นแนวทางสำคัญในการจัดระเบียบให้สังคมทั้งภาครัฐภาคธุรกิจเอกชนและภาคประชาชนซึ่งครอบคลุมถึงฝ่ายวิชาการฝ่ายปฏิบัติการฝ่ายราชการและฝ่ายธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขมีความรู้รักสามัคคีและร่วมกันเป็นพลังก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนและเป็นส่วนเสริมสร้างความเข้มแข็งหรือเสริมสร้างภูมิคุ้มกันแก่ประเทศ

หน่วยที่11 สื่อสารมวลชนกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

11.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับสื่อสารมวลชนกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

สื่อสารมวลชนเป็นกระบวนการสื่อสารกับมวลชนหรือคนจำนวนมาก โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญ ดังนี้ 1)หน้าที่ในการเสนอข่าวข้อเท็จจริง 2)หน้าที่ในการเสนอความคิดเห็น 3)หน้าที่ในการให้การศึกษา 4)หน้าที่ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน 5)หน้าที่ในการให้บริการสาธารณะ หากพิจารณาความเป็นมาจะพบว่า สื่อมวลชนของหน่วยงานรัฐเองไม่ได้ตอบสนองต่อพัฒนาการทางการเมืองให้แก่ประชาชนเท่าที่ควร ในขณะที่เอกชนซื้อเวลามาเพื่อเน้นผลตอบแทนทางธุรกิจของตนเป็นสำคัญ สื่อมวลชนไทยทั้งประเภทหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ต้องประสบปัญหาและอุปสรรคทางด้านการเมือง และกฎหมาย ไม่สามารถพัฒนาการทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ดำเนินการโดยรัฐก็ไม่พยายามจะมีบทบาทต่อพัฒนาการทางการเมืองที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมืองของประชาชน และการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแต่รัฐกลับใช้สื่อเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลเองเป็นการลดบทบาทของสื่อในการพัฒนาการทางการเมือง

11.1.1 ความหมายและความสำคัญของสื่อสารมวลชน
สื่อสารมวลชนเป็นกระบวนการสื่อสารมวลชนหรือคนจำนวนมาก “มวลชน” อาจหมายถึงกลุ่มผู้ชม-ผู้ฟังโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวิทยุ กลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกัน สมาชิกแต่ละคนอาจไม่รู้จักกันเลย ปากอยู่กระจัดกระจายจากกัน มวลชนนี้ประกอบด้วยคนจำนวนมากซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในด้านสถานะทางสังคมหรือลักษณะทางประชากร โดยมีบทบาทหน้าที่สำคัญ ดังนี้
1)หน้าที่ในการเสนอข่าวข้อเท็จจริง
2)หน้าที่ในการเสนอความคิดเห็น
3)หน้าที่ในการให้การศึกษา
4)หน้าที่ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
5)หน้าที่ในการให้บริการสาธารณะ

11.1.2 ความเป็นมาของสื่อมวลชนในการเมืองไทย
หากพิจารณาความเป็นมาจะพบว่าสื่อสารมวลชนของหน่วยงานรัฐเองไม่ได้ตอบสนองต่อการพัฒนาทางการเมืองให้แก่ประชาชนเท่าที่ควรในขณะที่เอกชนซื้อเวลามาเพื่อเน้นผลตอบแทนทางธุรกิจของตนเป็นสำคัญสื่อมวลชนไทยทั้งประเภทหนังสือพิมพ์/วิทยุกระจายเสียง/และวิทยุโทรทัศน์ต้องประสบปัญหาและอุปสรรคทางด้านการเมืองและกฎหมาย หนังสือพิมพ์เป็นของเอกชนอยู่ภายใต้กฎหมายการควบคุมหลายฉบับถูกรัฐบาลยึดอำนาจนิยมดำเนินการมาตรการทางการเมืองทั้งลอบสังหารนักหนังสือพิมพ์ การจับกุมคุมขัง การเซ็นเซอร์ การสั่งปิดหนังสือพิมพ์ ทำให้หนังสือพิมไม่สามารถพัฒนาการทางการเมืองได้อย่างเต็มที่ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ดำเนินการโดยรัฐก็ไม่พยายามจะมีบทบาทต่อพัฒนาการทางการเมืองที่จะส่งเสริมการเรียนรู้ทางการเมืองของประชาชนและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตยแต่รัฐกลับใช้สื่อเพื่อรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลเองเป็นการลดบทบาทของสื่อในการพัฒนาการทางการเมือง

สื่อสารมวลชนเป็นกระบวนการสื่อสารกับมวลชนหรือคนจำนวนมาก “มวลชน” อาจหมายถึงกลุ่มผู้ชม-หูฟังโทรทัศน์ ภาพยนตร์และวิทยุ กลุ่มผู้อ่านหนังสือพิมพ์ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจไม่มีความสัมพันธ์ใดๆต่อกัน สมาชิกแต่ละคนอาจไม่รู้จักกันเลย อาจอยู่กระจัดกระจายจากกัน มวลชนนี้ประกอบด้วยคนจำนวนมากซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันในด้านสถานะทางสังคมหรือลักษณะทางประชากร เช่น เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ฐานะทางเศรษฐกิจ ตำแหน่งหน้าที่การงาน ฯลฯ
สื่อมวลชนมีบทบาทหน้าที่สำคัญดังนี้
1 หน้าที่ในการเสนอข่าวข้อเท็จจริง
2 หน้าที่ในการแสดงความคิดเห็น
3 หน้าที่ในการให้การศึกษา
4 หน้าที่ในการพิทักษ์ผลประโยชน์ของประชาชน
5 นาทีในการบริการสาธารณะ

หนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยดังนี้
บทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในการต่อสู้เรียกร้องในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์และแสดงออกหลายวิธีเช่น การวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ การเรียกร้องไห้ปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงการปกครองสะท้อนให้เห็นบทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยทั้งสิ้น บทบาทที่สำคัญที่สุดของหนังสือพิมพ์ไทยที่มีต่อการพัฒนาการทางการเมืองในยุคหลังพ. ศ. 2500 ก็คือการต่อสู้กับระบอบเผด็จการอำนาจนิยมโดยการทำหน้าที่ตรวจสอบรัฐบาลหรือคอยทักท้วงผู้มีอำนาจรวมทั้งการพัฒนาประชาธิปไตยโดยเปิดโอกาสให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการแสดงความคิดความเห็นและนำไปสู่มติมหาชนซึ่งมีส่วนทำให้ระบอบเผด็จการอํานาจนิยมสิ้นสุดลงและสถาปนาระบอบประชาธิปไตยขึ้นในประเทศ

11.2 บาทบาทของสื่อมวลชนในการพัฒนาการเมืองไทยในแต่ละยุคสมัย

ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สื่อสารมวลชนไทย ในรูปแบบหนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเมืองไทย โดยการต่อสู้เรียกร้องในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านการแสดงออกหลายวิธี หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 พัฒนาการของสื่อมวลชน โดยเฉพาะในรูปแบบหนังสือพิมพ์ของไทย ล้วนเกี่ยวโยงกับแนวคิดอุดมการณ์ที่มีส่วนกำหนดสถานภาพของสื่อมวลชนในแต่ละยุค และเกิดสื่อมวลชนในรูปแบบอื่นๆตามมา เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ สื่อมวลชนเหล่านี้ได้พัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ ทั้งที่ส่งผลทั้งในเชิงบวกและในเชิงลบต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยด้วยเช่นกัน เหตุการณ์พฤษภาคม พ.ศ. 2535 เป็นจุดเปลี่ยนให้สื่อมวลชนมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้น พร้อมไป กับถูกตั้งคำถามต่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมือง จนนำไปสู่ความชอบธรรมทางการเมืองในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนประชาชนถูกกล่าวถึงในสังคมอย่างกว้างขวาง เป็นผลให้เกิดแนวคิด “สื่อเสรี” ขึ้น รับจาก พ.ศ. 2548 เป็นต้นมา ความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ท่ามกลางสภาวะที่การเมืองไทยเดินมาบนแนวทางที่ทำให้เกิดการแตกแยกความคิดทางสังคมการเมืองอย่างชัดเจน ก่อให้เกิดการสร้างวาทกรรมความเกลียดชังผ่านสื่อใหม่ดังกล่าวอย่างกว้างขวาง จนกระบวนการสื่อสารมวลชนกลับกลายเป็นชนวนเหตุหนึ่งของความขัดแย้งและความรุนแรงซึ่งเป็นปัญหาต่อพัฒนาการทางการเมืองของไทยไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

11.2.1 บทบาทของสื่อสารมวลชนก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 สื่อสารมวลชนไทยในรูปแบบหนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเมืองไทยและการต่อสู้เรียกร้องในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์พันธุ์การแสดงออกหลายวิธีเช่นการวิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ การเรียกร้องให้ปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง สะท้อนให้เห็นบทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยทั้งสิ้น

11.2.2 บทบาทของสื่อสารมวลชนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
บทบาทของสื่อสารมวลชนหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 ได้เติบโตผ่านวิกฤตการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และกระแสวัฒนธรรมข้ามชาติ จะเห็นได้ว่าพัฒนาการของสื่อมวลชนโดยเฉพาะในรูปแบบหนังสือพิมพ์ของไทยล้วนเกี่ยวโยงกับแนวคิดอุดมการณ์ที่มีส่วนกำหนดสถานภาพของสื่อมวลชนในแต่ละยุค และสื่อมวลชนได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบเนื้อหาและแนวนโยบายไปตามบริบทเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง จากสื่อมวลชนยุคแรกในรูปแบบหนังสือพิมพ์ที่อยู่ในมือของเจ้านายราชสำนัก มาอยู่ในการดำเนินการของปัญญาชน สามัญชน นักการเมือง นักธุรกิจคุณเจ้าของทุน และเกิดสื่อมวลชนในรูปแบบอื่นอื่นตามมา เช่น วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ สื่อมวลชนเหล่านี้และพัฒนาจนกลายเป็นธุรกิจทุนขนาดใหญ่ทั้งที่ส่งผลทั้งในเชิงบวกและเชิงลบต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยด้วยเช่นกัน

11.2.3 บทบาทของสื่อสารมวลชนหลังเหตุการณ์พฤษภาคม พ. ศ. 2535
เหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 เป็นจุดเปลี่ยนให้สื่อมวลชนมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้นพร้อมพร้อมกับถูกตั้งคำถามต่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมืองจนนำไปสู่ความชอบธรรมทางการเมืองในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนคือเหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 ระหว่างวันที่ 17 ถึง 21 พฤษภาคมพ.ศ 2535 เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ประเด็นเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนและสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนถูกกล่าวถึงในสังคมอย่างกว้างขวางเป็นเรื่องให้เกิดแนวคิด “สื่อเสรี” ขึ้น

11.2.4 บทบาทของสื่อสารมวลชนช่วงความขัดแย้งทางการเมืองพ. ศ. 2548 ถึง 2557
นับจากพศ 2548 เป็นต้นมาความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากมายท่ามกลางสภาวะที่การเมืองไทยเดินมาบนแนวทางที่ทำให้เกิดการแตกแยกความคิดทางสังคมการเมืองชัดเจนนั้น ความตื่นตัวทางการเมืองดังกล่าวกลับอยู่บนความโกรธแค้นและความเกลียดชัง แม้ในด้านหนึ่ง ปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจเป็นการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยและความสำคัญของการเลือกตั้งในฐานะเป็นสิ่งตรงข้ามกับอำนาจพิเศษเช่นการทำรัฐประหาร และมีความพยายามตรวจสอบและต่อต้านปัญหาคอรัปชั่นในฐานะเป็นการต่อต้านความฉ้อฉลของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ ผ่านสื่อใหม่ให้เกิดขึ้นพร้อมๆกัน  ไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม สื่ออินเตอร์เน็ต สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อวิทยุชุมชน แต่ในอีกด้านหนึ่ง ปรากฏการณ์นี้กลับก่อให้เกิดการสร้างวาทกรรมความเกลียดชังผ่านสื่อใหม่ดังกล่าวอย่างกว้างขวาง จนกระบวนการสื่อสารมวลชนกลับกลายเป็นชนวนเหตุหนึ่งของความขัดแย้งและความรุนแรงซึ่งเป็นปัญหาต่อการพัฒนาการทางการเมืองของไทยไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

บทบาทของสื่อสารมวลชนก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 มีลักษณะดังนี้
ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 สื่อสารมวลชนในรูปแบบหนังสือพิมพ์มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาการเมืองไทยโดยการต่อสู้เรียกร้องในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ผ่านการแสดงออกหลายวิธีเช่น วิพากษ์วิจารณ์พระมหากษัตริย์ การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพ การเรียกร้องไห้ปฏิวัติหรือเปลี่ยนแปลงการปกครอง สะท้อนให้เห็นบทบาทหนังสือพิมพ์ไทยในการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยทั้งสิ้น

บทบาทของสื่อสารมวลชนในช่วงการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 มีลักษณะดังนี้
ช่วงหลังพ. ศ. 2475 เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองมาสู่ระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎรเป็นยุคที่มีการรับรองสิทธิเสรีภาพในการพูด การเขียน และการโฆษณา (มาตรา 14 แห่งรัฐธรรมนูญพ.ศ 2475)แก่ประชาชนเป็นครั้งแรกแม้จะมีบทบัญญัติในการรับรองสิทธิเสรีภาพและบทบาทของสื่อมวลชนแต่หลังจากเปลี่ยนแปลงการปกครองสถานการณ์ทางการเมืองที่มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจระหว่างกลุ่มเจ้านายและคณะราษฎรทำให้หนังสือพิมพ์เริ่มแบ่งเป็นฝักฝ่ายคือฝ่ายอิสระ ฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายนิยมกษัตริย์ รัฐบาลได้ออกพระราชบัญญัติสมุดเอกสารและหนังสือพิมพ์ แก้ไขเพิ่มเติมพุทธศักราช 2475 เพื่อควบคุมหนังสือพิมพ์อย่างเคร่งครัด มีการตรวจข่าวก่อนนำลงตีพิมพ์ แต่หนังสือพิมพ์หลายฉบับก็ไม่ได้เป็นกลัว จึงมีหนังสือพิมพ์ถูกสั่งปิดในสมัยนี้หลายฉบับ บางฉบับหลีกเลี่ยงด้วยการเพิ่มเนื้อหาบันเทิงมากขึ้น เช่น นำเสนอนิยาย ข่าวชาวบ้าน ประเภทอาชญากรรม และลดเนื้อหาด้านการเมือง

บทบาทของสื่อสารมวลชนหลังเหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535
เหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 เป็นเหตุการณ์สำคัญอีกครั้งหนึ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนให้สื่อมวลชนมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้นพร้อมพร้อมกับถูกตั้งคำถามต่อความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมืองจนนำไปสู่ความชอบธรรมทางการเมืองในการทำหน้าที่ของสื่อมวลชนคือเหตุการณ์พฤษภาคมพ.ศ 2535 ระหว่างวันที่ 17 ถึง 21 พฤษภาคมพ.ศ 2535 เหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้ประเด็นเรื่องเสรีภาพของสื่อมวลชนและสิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของประชาชนถูกกล่าวถึงในสังคมอย่างกว้างขวางเป็นผลให้เกิดแนวคิด “สื่อเสรี” ขึ้น
บทบาทของสื่อมวลชนต่อพัฒนาการทางการเมืองในช่วงนี้ สะท้อนให้เห็นได้ว่า สื่อมวลชนเป็นส่วนหนึ่งที่เป็นพลังสำคัญที่จะต้องประสานกับพลังจากการเคลื่อนไหวทางสังคมของ “ภาคประชาชน” ซึ่งเกิดจากมูลเหตุที่รัฐไม่สามารถแก้ไขปัญหาสังคมหลายๆด้านได้เหตุการณ์เรื่องราวซึ่งเกิดขึ้นในช่วงดังกล่าวล้วนถูกบันทึกและนำเสนอผ่านสื่อมวลชนออกสู่สาธารณชนบทบาทของสื่อมวลชนมีพลังมากขึ้นและมีอิทธิพลที่ส่งผลต่อการพัฒนาการเมืองไทยอย่างเห็นได้ชัดถ้าเปรียบประเทศชาติคือบ้าน ประชาชนเป็นเจ้าของบ้าน สื่อมวลชนก็เปรียบเป็นสุนัขเฝ้าบ้านนั่นเอง

บทบาทของสื่อสารมวลชนช่วงความขัดแย้งทางการเมืองพ. ศ. 2548 ถึง 2557
นับจากพ. ศ. 2548 เป็นต้นมาความตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนไทยเพิ่มขึ้นอย่างมากมายท่ามกลางสภาวะที่การเมืองไทยเดินมาบนแนวทางที่ทำให้เกิดการแตกแยกความคิดทางสังคมการเมืองอย่างชัดเจนนั้นความตื่นตัวทางการเมืองดังกล่าวกลับอยู่บนความโกรธแค้นและความเกลียดชังเม้นในด้านปรากฏการณ์ดังกล่าวอาจเป็นการสร้างสรรค์ประชาธิปไตยและความสำคัญของการเลือกตั้งในฐานะเป็นสิ่งตรงข้ามกับอำนาจพิเศษเช่นการทำรัฐประหารและมีความพยายามตรวจสอบและต่อต้านปัญหาคอรัปชั่นในฐานะเป็นการต่อต้านความชอบส่วนของทุนนิยมโลกาภิวัตน์ผ่านสื่อใหม่ที่เกิดขึ้นพร้อมพร้อมกันไม่ว่าจะเป็นวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม/สื่ออินเทอร์เน็ต/สังคมออนไลน์/และสื่อวิทยุชุมชน แต่ในอีกด้านหนึ่งปรากฏการณ์นี้กลับก่อให้เกิดการสร้างวาทกรรมความเกลียดชังผ่านสื่อใหม่ดังกล่าวอย่างกว้างขวางจนกระบวนการสื่อสารมวลชนกลับกลายเป็นชนวนเหตุหนึ่งของความขัดแย้งและความรุนแรงซึ่งเป็นปัญหาต่อการพัฒนาการทางการเมืองของไทยไปอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

11.3 สื่อสารมวลชนกับเป้าหมายในการพัฒนาการเมืองไทย

หนังสือพิมพ์มีส่วนในการสร้างและก่ให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพทางการเมืองตลอดมา สำหรับสื่อมวลชนประเภทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ รัฐบาลแต่ละสมัยมักเป็นผู้ใช้วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสร้างและรักษาเสถียรภาพ ความชอบธรรมของรัฐบาล แต่ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างความชอบธรรมและเสถียรภาพทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยเท่าใดนัก และในบางครั้งยังมีบทบาทสำคัญในการทำลายความชอบธรรมระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย สื่อมวลชนไทยจึงยังมีส่วนในการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมืองไม่มากนัก เนื่องจากถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน การแก้ไขปัญหาการครอบงำสื่อมวลชนด้วยอำนาจทุนและจักรวรรดินิยมสื่อผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการใช้กำลัง ก็ยังถูกควบคุมทางสังคมตามกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น สื่อทางเลือก สื่อชุมชน เพื่อก่อให้เกิด “ดุลอำนาจในสังคม” ความเป็นสถาบันทางการเมืองของสื่อมวลชนไทย แม้จะเริ่มเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์พฤษภาคม พ. ศ. 2535 แต่ปัจจุบันสถาบันที่ทำการวิจัยและพัฒนาด้านสื่อก็ยังมีน้อยและไม่ค่อยมีทางเลือกมากนักในทางตรงข้ามกับต้องพัฒนาสื่อให้เป็น “พื้นที่สาธารณะ” (public sphere) เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชนชาวบ้าน ราษฎรอย่างจริงจัง มีคุณค่า มีความสามารถในการเผชิญและแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองของสื่อมวลชนที่เข้มแข็งต่อไป การสื่อสารทางการเมืองของไทยในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมายังคงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการครอบงำ ตลอดจนถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจทางการเมืองเพื่อส่งผ่าน “วาทกรรม” ไปยังประชาชนในแต่ละช่วงเวลา จึงส่งผลให้สื่อมวลชนยังมีส่วนช่วยพัฒนาความทันสมัยทางการเมืองไม่มากนัก

11.3.1 สื่อสารมวลชนกับการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของไทย
หนังสือพิมพ์มีส่วนในการสร้างและก่อให้เกิดผลกระทบต่อเสถียรภาพและประสิทธิภาพทางการเมืองตลอดมาสำหรับสื่อมวลชนประเภทวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์รัฐบาลแต่ละสมัยมักเป็นผู้ใช้วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เพื่อสร้างและรักษาเสถียรภาพของรัฐบาลสื่อมวลชนควรมีแนวทางในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองของไทยโดยร่วมกับภาคประชาสังคมในการส่งเสริมให้เกิดองค์กรหรือการรวมกลุ่มเพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบกระบวนการสื่อสารและการเมือง

11.3. 2 สื่อสารมวลชนกับการสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของไทย
วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์เป็นเครื่องมือสำคัญในการสร้างความชอบธรรมและรักษาเสถียรภาพของรัฐบาล และของระบอบอำนาจนิยม แต่ไม่ได้ช่วยเสริมสร้างความชอบธรรมและเสถียรภาพทางการเมืองของระบอบประชาธิปไตยเท่าใดนักและในบางครั้งยังมีบทบาทสำคัญในการทำลายความชอบธรรมระบอบประชาธิปไตยอีกด้วย เช่น ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลาคม 2519 การเกิดสื่อเลือกข้างในการทำลายความชอบธรรมของประชาธิปไตยและการเลือกตั้ง ด้วยวาทกรรมคอรัปชั่นในความขัดแย้งทางการเมืองพ. ศ. 2548 ถึง 2557 เป็นต้น

11.3.3 สื่อสารมวลชนกับการสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมืองของไทย
สื่อมวลชนไทยยังมีส่วนการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลทางการเมืองไม่มากนักเนื่องจากถูกแทรกแซงจากอำนาจรัฐและอํานาจทุน การแก้ไขปัญหาการครอบงำสื่อมวลชนด้วยอำนาจทุนและจักรวรรดินิยมสื่อผ่านการใช้มาตรการทางกฎหมายและการใช้กำลังก็ยังถูกควบคุมทางสังคมตามกระบวนการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเช่น สื่อทางเลือก สื่อชุมชน เพื่อก่อให้เกิด “ดุลอำนาจในสังคม” อีกด้วย

11.3. 4 สื่อมวลชนกับการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองของไทย
ความเป็นสถาบันทางการเมืองของสื่อมวลชนไทยมันจะเริ่มเกิดขึ้นหลังเหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 แต่ปัจจุบันสถาบันที่ทำการวิจัยและพัฒนาด้านสื่อก็ยังมีน้อยและไม่ค่อยมีทางเลือกมากนักทำให้ขาดแหล่งข้อมูลที่จะสามารถนำมาเป็นข้อมูลในการทำรายการให้มีความลึกได้อีกครั้งควรจะต้องมีการพัฒนาแหล่งค้นคว้าข้อมูลที่ดีเพื่อใช้ในการค้นคว้าเชิงลึกควบคู่กันไปด้วยในส่วนของผู้ผลิตรายการนั้นควรมีความคิดสร้างสรรค์ในการผลิตรายการมากขึ้นลดพฤติกรรมที่เรียกว่าวัฒนธรรมเอาตามแบบอย่างในทางตรงข้ามกลับต้องพัฒนาสื่อให้เป็น “พื้นที่สาธารณะ”
เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของประชาชน ชาวบ้าน ราษฎรอย่างจริงจัง มีคุณค่า มีความสามารถในการเผชิญและแก้ไขสถานการณ์ต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความเป็นอิสระ อันจะเป็นรากฐานสำคัญในการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองของสื่อมวลชนที่เข้มแข็งต่อไป

11.3.5 สื่อสารมวลชนกับการสร้างความทันสมัยทางการเมืองของไทย
การสื่อสารทางการเมืองของไทยในแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมายังคงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลและการครอบงำตลอดจนถูกใช้เป็นเครื่องมือของผู้มีอำนาจทางการเมืองเพื่อส่งผ่าน “วาทกรรม” ไปยังประชาชนในแต่ละช่วงเวลา จึงส่งผลให้สื่อมวลชนยังมีส่วนช่วยพัฒนาความทันสมัยทางการเมืองไม่มากนัก อย่างไรก็ตาม ผลกระทบในแง่หนึ่งของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคโลกาภิวัตน์ก็ยังเป็นช่องทางให้ประชาชนสามารถยับยั้ง ตรวจสอบ และถ่วงดุลอำนาจของผู้ปกครองได้ หากสื่อดังกล่าวมีบทบาทสถานภาพเป็นเครื่องมือของสาธารณชน และเป็นพื้นที่สาธารณะเพื่อขับเคลื่อนให้เกิดความเข้มแข็งของภาคประชาสังคมได้อย่างแท้จริง

หน่วยที่ 12 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย

12.1 แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมือง

ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงระบอบการเมืองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 โดยคณะราษฎรได้ลอกเลียนรูปแบบของระบบการเมืองประชาธิปไตยแบบรัฐสภาหรือคณะรัฐมนตรีของอังกฤษ เนื่องจากคณะราษฎรพิจารณาเห็นว่าระบบการเมืองแบบพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญของอังกฤษมีความเหมาะสมกับประเทศไทยเพราะประเทศทั้งสองมีสถาบันพระมหากษัตริย์ปกครองและดำรงอยู่อย่างต่อเนื่องมายาวนานจนเป็นที่ยอมรับว่าเป็นส่วนประกอบของความเป็นรัฐอย่างมีเสถียรภาพมั่นคงความแตกต่างระหว่างระบบการเมืองของอังกฤษกับของไทยที่สำคัญคือระบบของอังกฤษมีรากฐานของความเข้มแข็งของระบบพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ประชาชนอังกฤษให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมผ่านพรรคการเมืองที่มีรากฐานที่เข้มแข็งของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆโดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจพรรคการเมืองในอังกฤษล้วนเป็นภาคแห่งปวงชนกลุ่มผลประโยชน์จะมีความเชื่อมโยงและประสานประโยชน์กับพรรคการเมืองอย่างแยกกันไม่ออกในขณะที่ประชาชนไทยให้ความสำคัญกับตัวบุคคลที่เป็นหัวหน้าพรรคการเมืองหรือผู้ที่เป็นเจ้าของพรรคการเมืองพรรคการเมืองไทยจึงเป็นเพียง “สัญลักษณ์” ของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเท่านั้นความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเป็นความสัมพันธ์แบบอุปถัมภ์และเกื้อกูลผลประโยชน์ซึ่งกันและกันทำให้การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองของไทยมีลักษณะของ “การทุจริตเชิงนโยบาย” และการสมคบคิดกันทุจริตระหว่างชนชั้นนำในพรรคการเมืองกับชนชั้นนำในกลุ่มผลประโยชน์ การลอกเลียนแบบระบบการเมืองแบบอังกฤษมาใช้กับประเทศไทยได้สร้างปัญหาเป็นอย่างมากในระยะเวลาต่อมากล่าวคือมีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองของกลุ่มหรือคณะบุคคลที่มีกำลังอำนาจโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มทหารรวมทั้งกลุ่มนายทุนผู้มีอำนาจและอิทธิพลทางการเงินที่มุ่งหวังเข้ามาผูกขาดอำนาจทางการเมืองเพื่อแสวงหาผลประโยชน์เป็นรัฐบาลมีความร่วมมือระหว่างข้าราชการระดับสูงกับกลุ่มนักธุรกิจผู้มีอิทธิพลเข้ามาสู่อำนาจรัฐโดยใช้การเลือกตั้งสร้างความชอบธรรมมีการใช้เงิน “ซื้อเสียง” และใช้อิทธิพลข่มขู่คู่แข่งทางการเมืองของตนมีการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งโดยใช้กุศโลบายทุกวิถีทางเพื่อเอาชนะการเลือกตั้งเพื่อเป็นรัฐบาล อาทิ นโยบายประชานิยม ทำให้เกิดการทุจริตและบางกรณีเกิดผลเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศเช่น นโยบายรับจำนำข้าวที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อการสูญเสียเงินของงบประมาณแผ่นดินในระหว่างพ. ศ. 2556-2557ไปกว่า 5 แสนล้านบาทและสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการรับจำนำข้าวกว่า 9 แสนรายในที่สุดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)นำโดยพลเอกประยุทธ์ นำโดยพลเอกประยุทธ ์จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบกก็ได้ทำรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และสามารถจ่ายเงินคืนเกษตรกรที่รัฐบาลชุดก่อนติดค้างไว้สำเร็จ

12.1.1 แนวคิดเกี่ยวกับพรรคการเมืองกับพัฒนาการทางการเมือง
พัฒนาการทางการเมืองหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในทางที่ดีขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอันเกิดจากปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ รักการเมืองของโลกและประเทศต่างๆที่เจริญก้าวหน้าในทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรปตะวันตก ญี่ปุ่น Australia และนิวซีแลนด์ ซึ่งมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีผลต่อความปรารถนาของประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายรวมทั้งประเทศไทยที่ต้องการเปลี่ยนแปลงจากระบอบการปกครองแบบดั้งเดิมมาสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างประเทศที่พัฒนาแล้วแต่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเปลี่ยนแปลงประเทศกำลังพัฒนามักเกิดปัญหาความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้นำทางการเมืองที่แสวงหาผลประโยชน์จากระบอบการเมืองใหม่สำหรับประเทศไทยการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญแต่วันที่24 มิถุนายน 2475 มาจนถึงปัจจุบันยังไม่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทางการเมืองไปสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศพัฒนาแล้วปัญหาสำคัญเกิดจากระบบพรรคการเมืองที่ยังไม่เป็นสถาบันทางการเมืองของปวงชนและมิได้ทำหน้าที่อย่างครบถ้วนสมบูรณ์ในการเป็นตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ของประชาชนหากแต่เป็นแหล่งการสร้างความชอบธรรมของกลุ่มผู้มีอำนาจและอิทธิพลเพื่อเข้าสู่การเป็นรัฐบาล

12.1.2 แนวคิดเกี่ยวกับกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมือง
ในการพัฒนาการเมืองกลุ่มผลประโยชน์โดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองเพราะเป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนตามหลักการของสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยผลประโยชน์หลักหลักจะช่วยให้พัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งอาทิ สภาหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธนาคารและสถาบันทางการเงิน สหภาพแรงงาน สมาคมทางการแพทย์ สภาวิศวกรรมสถาน สมาคมสถาปนิก สภาเกษตรกร สมาคมทนายความ ฯลฯ กลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้เป็นที่รวมปัญหาและความต้องการของมวลสมาชิกและประชาชนเพื่อผลักดันให้พรรคการเมืองนำเอาไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรครณรงค์ให้ประชาชนผู้มีสิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้งเลือกผู้สมัครของพรรคเมื่อพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งและมีเสียงข้างมากในสภาก็จะจัดตั้งรัฐบาลโดยนำเอานโยบายหอพักตามที่หาเสียงไว้ไปกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศต่อไปในประเทศที่พัฒนาแล้วและมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยั่งยืนนั้นกลุ่มผลประโยชน์จะมีความเข้มแข็งและเป็น “เสาหลัก” ของระบอบประชาธิปไตยการพัฒนาทางการเมืองที่เกิดขึ้นไม่ได้ถ้าหากประเทศใดก็ตามมีระบบกลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่เอื้อต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตย

12.1.3 ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมือง
ระบอบการเมืองของประเทศที่พัฒนาแล้วความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์มีความแนบแน่นและเกื้อกูลส่งเสริมกันอย่างมากในสหราชอาณาจักรพรรคแรงงานได้รับการสนับสนุนจากสหภาพแรงงานและสมาคม fabian ส่วนพรรคอนุรักษ์นิยมได้รับการสนับสนุนส่วนใหญ่จากสมาคมนายจ้าง สมาคมผู้ประกอบการ กลุ่มอนุรักษ์นิยม และกลุ่มไม่นิยมการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ในสหรัฐอเมริกาพรรครีพับลิกันและพรรคเดโมแครตต่างก็ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่จำนวนมากในญี่ปุ่นพรรคเสรีประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรม สมาคมการค้า สมาคมเกษตรกร สหภาพแรงงาน และสมาคมวิชาชีพจำนวนมหาศาล กลุ่มผลประโยชน์ดังกล่าวรวมประกอบด้วยสมาชิกที่มาจากกลุ่มบุคคลที่มีอาชีพหลากหลาย กินข้าวกับว่าพรรคการเมืองสามารถนำเอาปัญหาและความต้องการของประชาชนผ่านกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้ไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรคและเมื่อพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลก็จะนำเอานโยบายของกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้และกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลในการบริหารประเทศต่อไป ดังนั้น ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์จึงช่วยส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองเป็นอย่างมาก

การมีพรรคการเมืองสอดคล้องกับแนวคิดทางการเมืองของกลุ่มนักทฤษฎีรัฐศาสตร์สัญญาประชาคมดังนี้
พรรคการเมืองมีลักทรัพย์ภาษาละตินว่า pars หมายถึง “ส่วนของประชาชน” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดทางการเมืองของกลุ่มนักทฤษฎีรัฐศาสตร์สัญญาประชาคมซึ่งประกอบด้วยโธมัสฮอบส์ จอห์นล็อค และฌอง ฌากส์ รุสโซ่ ที่อธิบายว่าเป็นการมาร่วมกันก่อตั้งรัฐขึ้นมาเพราะการมีผลประโยชน์ร่วมกัน โดยการทำสัญญาร่วมกันระหว่างมนุษย์ที่ต้องการก่อตั้งรัฐด้วยกัน ยินยอมที่จะอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองร่วมกัน

กลุ่มผลประโยชน์มีบทบาทต่อการพัฒนาพรรคการเมืองดังนี้
ในการพัฒนาทางการเมืองกลุ่มผลประโยชน์โดยเฉพาะกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองเพราะเป็นสถาบันที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อปกป้องคุ้มครองผลประโยชน์ของประชาชนตามหลักการของสิทธิและเสรีภาพในระบอบประชาธิปไตยกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้เป็นที่รวมปัญหาและความต้องการของมวลสมาชิกและประชาชนเพื่อปรับดันให้พรรคการเมืองนำเอาไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรครณรงค์ให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งเลือกผู้สมัครของพรรคเมื่อพรรคการเมืองชนะการเลือกตั้งและมีเสียงข้างมากในสภาก็จะจัดตั้งรัฐบาลโดยนำเอานโยบายของพรรคตามที่หาเสียงไว้ไปกำหนดเป็นนโยบายของรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศต่อไป

กลุ่มผลประโยชน์ในสังคมประชาธิปไตยทางที่เป็นกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นทางการและกลุ่มผลประโยชน์ที่ไม่เป็นทางการแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆได้แก่ กลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ทางสังคม และกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

12.2 วิวัฒนาการและบทบาทของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย

พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ในอังกฤษมีคุณลักษณะความเป็นสถาบันที่มีเสถียรภาพมั่นคงพรรคการเมืองของอังกฤษกำเนิดจากอุดมการณ์ของกลุ่มบุคคลที่ร่วมกันก่อตั้งดังเช่น พรรควิค (whig party) ซึ่งก่อตั้งขึ้นและชนะการเลือกตั้งได้เป็นรัฐบาลครั้งแรกในคศ 1 727 จากกลุ่มคนที่มีอุดมการณ์เสรีนิยมและมีความต้องการที่จะให้สถาบันพระมหากษัตริย์ลดพระราชอำนาจในการปกครองประเทศซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเสรีนิยม (Liberal Party) พรรคการเมืองทั้งสองมีกลุ่มผลประโยชน์และประชาชนจำนวนมากให้การสนับสนุนภายหลังจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมในอังกฤษในคศ 1750 สหภาพแรงงาน (Trade Union) เริ่มมีบทบาทสำคัญในการต่อรองผลประโยชน์ทางการเมืองมากขึ้นจึงร่วมกับสมาคมแฟเบียน (Fabian Society) ที่มีความเชื่อในการเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้เป็นไปตามแบบสังคมนิยมโดยแบบค่อยเป็นค่อยไปก่อตั้งพรรคแรงงาน(Labour Party) และได้จัดตั้งรัฐบาลครั้งแรกในคศ 1924 ในปัจจุบันพรรคแรงงานกับพรรคอนุรักษ์นิยมได้กลายเป็นภาพคู่แข่งทางการเมืองที่สำคัญในอังกฤษ โดยมีพรรคเสรีนิยมสอดแทรกมาเป็นบางช่วงเวลาพรรคการเมืองในอังกฤษจึงมีความเป็นสถาบันทางการเมืองสูงที่มั่นคงและส่งผลดีต่อเสถียรภาพของการเมืองของประเทศสำหรับประเทศไทยถึงแม้ว่าจะลอกเลียนแบบระบบพรรคการเมืองของอังกฤษแต่ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ไม่มีคุณลักษณะของความเป็นสถาบันทางการเมืองและขาดเสถียรภาพ เพราะก่อตั้งขึ้นมาจากปัจจัยพื้นฐานของผลประโยชน์ส่วนตนที่มิใช่อุดมการณ์ทางการเมืองดังเช่นระบบการเมืองของอังกฤษจึงส่งผลให้พรรคการเมืองไทยอ่อนแอและมิได้ส่งผลดีต่อการพัฒนาทางการเมืองทำให้เกิดการปฏิวัติและรัฐประหารตลอดจนการจราจรอันสืบเนื่องมาจากการแย่งชิงอำนาจของผู้นำที่มีอิทธิพลที่เป็น “นายทุนพรรคการเมือง” โดยมีผู้นำของกลุ่มผลประโยชน์เป็นแนวเพื่อผลประโยชน์ต่างตอบแทนระหว่างกันซึ่งเป็นลักษณะของความสัมพันธ์ระหว่าง “เจ้านาย-ลูกน้อง” (patron-client relationship) ที่มีมาช้านานในสังคมไทยผู้นำทางการเมืองของไทยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันส่วนใหญ่ล้วนใช้ระบบการเลือกตั้งมาเป็นการสร้างความชอบธรรมให้กับการเข้าสู่อำนาจทางการเมืองจึงทำให้นักการเมืองพากันก่อตั้งพรรคการเมืองและใช้วิธีการทางการเมืองแบบธุรกิจมาสร้างความชอบธรรมทางการเมืองของตนและมักอ้างการชนะการเลือกตั้งเพื่อการแสวงหาผลประโยชน์ระหว่างที่เป็นรัฐบาลนั้นจะถูกตรวจสอบโดยการเมืองภาคประชาชนองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญและองค์กรอื่นๆตามรัฐธรรมนูญก็ตามผู้นำพรรคการเมืองที่อยู่ในอำนาจอาจจะปฏิเสธคำพิพากษาหรือคำวินิจฉัยขององค์กรดังกล่าวโดยอ้างว่าพรรคของตนเป็นรัฐบาลจากการเลือกตั้งดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อต้นพศ 2557 วินิจฉัยให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 190ที่เสนอโดยรัฐบาลพรรคเพื่อไทยและได้ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอย่างเป็นเอกฉันท์เนื่องจากพรรคเพื่อไทยมีเสียงข้างมากโดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญดังกล่าวขัดต่อบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญมีผลให้ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยคณะรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทยเป็นโมฆะในต้นเดือนพฤษภาคม 2557 คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติได้มีคำวินิจฉัยให้นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีอีกจำนวนหนึ่งของพรรคเพื่อไทยต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากกระทำการทุจริตในโครงการรับจำนำข้าวแต่ได้มีการปฏิเสธไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติจึงเห็นได้ว่าพรรคเพื่อไทยเข้ามาบริหารประเทศโดยอ้างความชอบธรรมของการชนะการเลือกตั้งแต่กลับใช้อำนาจการบริหารราชการแผ่นดินไปในทางที่ไม่สอดคล้องกับหลักธรรมาภิบาลและหลักการประชาธิปไตยนับตั้งแต่พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทยเข้าบริหารประเทศในช่วงพ. ศ. 2544 ถึง 2549 กลับไม่ให้ความสำคัญกับการเข้าร่วมประชุมสภาผู้แทนราษฎรและทำรายการตรวจสอบของพรรคฝ่ายค้านซึ่งขัดกับหลักการของการปกครองระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภาจึงชักนำไปสู่การตรวจสอบของกลุ่มประชาชนนอกสภาหรือที่เรียกว่า “การเมืองภาคประชาชน”การเมืองภาคประชาชน” จนเป็นเหตุให้เกิดความขัดแย้งทางการเมืองระหว่างกลุ่มประชาชนหลายกลุ่มอย่างรุนแรงโดยเฉพาะกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.)นำโดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และกลุ่มแนวร่วมต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช) นำโดยนายจตุพร พรหมพันธุ์ จนชักนำไปสู่การทำรัฐประหารของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช)เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557

12.2.1 วิวัฒนาการและบทบาทของพรรคการเมืองกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ประเทศไทยเริ่มตื่นตัวความคิดในการก่อตั้งพรรคการเมืองมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโดยที่เมื่อครั้งที่พระองค์ทรงดำรงอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธทรงศึกษาวิชาการทหารที่โรงเรียนนายร้อยทหารบกแซนด์เฮิร์ส แล้วมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด พระองค์ทรงตระหนักว่าวันใดวันหนึ่งประเทศสยามจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ใต้รัฐธรรมนูญตามแบบอย่างของอังกฤษจึงสนพระทัยนำความคิดเรื่องระบบพรรคการเมืองแบบ 2 พรรคตามแบบอย่างของอังกฤษมาใช้ในประเทศสยามแต่พระองค์ทรงตั้งพระทัยว่าประชาชนสยามจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในระบบพรรคการเมืองให้ถ่องแท้เสียก่อนมิฉะนั้นอาจเกิดภยันตรายกับประเทศสยามก็ได้ดังนั้นเมื่อเสด็จทรงขึ้นครองราชย์จึงทรงสร้าง “ดุสิตธานี” อันเป็นเมืองจำลองประชาธิปไตยขึ้นมาโดยได้โปรดเกล้าให้มีพรรคการเมือง 2 พรรคได้แก่ พรรคโบว์แดงและพรรคโบว์น้ำเงิน โดยพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคโบว์น้ำเงินและพลเอกรามราฆพดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคโบว์แดง มีการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรโดยให้พรรคการเมืองทั้งสองส่งสมาชิกของพรรคลงเลือกตั้งมีการหาเสียงเลือกตั้งด้วยการกำหนดนโยบายของพรรคและมีการออกหนังสือพิมพ์บางกอกเรคอร์เดอร์ (Bangkok Recotder) เป็นสื่อให้การศึกษาทางการเมืองของพรรคการเมืองความคิดการนำเอาระบบพรรคการเมืองแบบอังกฤษมาใช้ในรัชสมัยของพระองค์จึงเป็นที่มาของวิวัฒนาการระบบการเมืองในประเทศไทยในระยะเวลาต่อมา

12.2.2 วิวัฒนาการและบทบาทของกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย
การรวมกลุ่มของประชาชนในลักษณะของกลุ่มผลประโยชน์เริ่มมีมาตั้งแต่การรวมกลุ่มความคิดทางการเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกล่าวคือได้มีกลุ่มสามัญชนจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้ประเทศสยามมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาตามแบบอย่างของประเทศในยุโรปตะวันตกภายใต้การนำของเทียนวรรณ หรือ ต.ว.ส วัณณาโภ และ ก.ศ.ส วัณณาโภ กุหลาบ เป็นต้น ตอนมาเกิดมีการรวมตัวกันของกลุ่มก้าวหน้าและกลุ่มปฏิกิริยาเกิดขึ้นอย่างรับรับอีกหลายกลุ่มโดยผู้นำกลุ่มการเมืองในประเทศสยามเหล่านี้ได้รับอิทธิพลจากแนวความคิดประชาธิปไตยของหมอสอนศาสนาอเมริกาที่เข้ามาในประเทศสยามตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว อาทิ หมอบรัดเลย์ หมอสมิธ เป็นต้น ในระยะเวลาเดียวกันก็เกิดการรวมกลุ่มทางการเมืองเรียกตัวเองว่า “กลุ่ม ร.ศ. 103” ที่มีแนวคิดเกี่ยวกับการนำของระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภาตามแบบอย่างประเทศอังกฤษมาใช้ในประเทศสยามอีกด้วยเช่นกันภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ก็เกิดกลุ่มทางการเมืองอีกมากมายคณะราษฎรที่ยึดอำนาจการปกครองก็ถือว่าเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองที่สำคัญต่อมาเมื่อประเทศไทยเริ่มมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติในพ.ศ 2501ในยุคของรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนรัชต์ ได้ก่อให้เกิดกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวาง อาทิ กลุ่มการเงินการธนาคาร กลุ่มผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ใช้แรงงาน กลุ่มผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมบริการ ฯลฯ ในระยะเวลาต่อมาประเทศไทยได้มีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติอีกหลายฉบับจนถึงปัจจุบันรวม 11 ฉบับ ได้ก่อให้เกิดการรวมกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและเป็นรูปกระทำในลักษณะของสถาบันทางเศรษฐกิจ อาทิ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าไทย สมาคมธนาคารไทย สมาคมตลาดทุนแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สหภาพแรงงาน ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็เกิดการรวมกลุ่มผลประโยชน์ทางสังคมและกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมืองอีกเป็นจำนวนมาก

12.2.3 บทบาทของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย
กลุ่มผลประโยชน์ต่างๆไม่ว่าจะเป็นกลุ่มผลประโยชน์ทางการเมือง กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ และกลุ่มผลประโยชน์ของสังคมดังกล่าวมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาทางการเมืองไทยโดยพรรคการเมืองที่เกิดขึ้นนับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพ. ศ. 2475 เป็นต้นมาก็ล้วนเกิดจากกลุ่มทางการเมืองที่มุ่งหวังจะเข้ามาบริหารประเทศทั้งสิ้นต่อมาเมื่อเกิดการรวมกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเข้มแข็งขึ้นกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจได้สนับสนุนทางการเงินให้แก่พรรคการเมืองเพื่อจุดมุ่งหมายที่จะให้พรรคการเมืองนำเอาปัญหาและความต้องการของกลุ่มไปกำหนดเป็นนโยบายพรรคการเมืองจึงนับได้ว่าพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์มีส่วนสำคัญในการพัฒนาทางการเมืองไทยเป็นอย่างมาก

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าให้สร้างเมืองดุสิตธานีรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมือง “ดุสิตธานี” ขึ้นในเขตพระราชฐานดุสิตเป็นเมืองสมมติในการฝึกหัดการปกครองระบอบประชาธิปไตยระบบพรรคการเมืองตามแบบอย่างของอังกฤษให้กับคนนางและประชาชนในเขตเมืองหลวงมีการเลือกตั้ง “นคราภิบาล” ซึ่งเปรียบได้กับ “นายกเทศมนตรี” จากสมาชิกนคราภิบาลซึ่งเปรียบได้กับสมาชิกสภาเทศบาลซึ่งเรียกว่า “เชษฐบุรุษ” ก่อนส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งเรียกว่า “ทวยนาคร” ต่อมามีการจัดตั้งพรรคการเมืองแบบระบบสองพรรคตามแบบอย่างของประเทศอังกฤษ โดยโปรดเกล้าฯ จะตั้งพับโบว์สีน้ำเงินและพับโบว์สีแดงสำหรับพักโบว์สีน้ำเงินพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคและทรงโปรดเกล้าฯให้พลเอกเจ้าพระยารามราฆพ ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคโบว์สีแดงโดยที่พรรคการเมืองทั้งสองต่างก็มีกิจกรรมทางการเมืองในการสร้างความรู้ความเข้าใจการเมืองในระบอบประชาธิปไตยในลักษณะของการให้การศึกษาทางการเมืองแก่ประชาชนส่งให้พรรคการเมืองกำหนดนโยบายเพื่อใช้ในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งโดยมุ่งหวังที่จะให้ประชาชนเรียนรู้ประชาธิปไตยระบบพรรคการเมืองด้วยการมีส่วนร่วมทางการเมืองอันเป็นรากฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตย

การปฏิรูปการปกครองประเทศสยาม 7 ประการของกลุ่มรศ 103 มีดังนี้
1 เปลี่ยนระบอบการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ
2 การปกครองประเทศสยามให้อยู่ภายใต้การตัดสินใจของคณะรัฐมนตรี
3 ป้องกันไม่ให้เกิดคอรัปชั่นและให้ข้าราชการมีเงินเดือนใช้อย่างเพียงพอ
4 ให้มีกฎหมายประกันความยุติธรรมและการเก็บภาษีต้องมีความยุติธรรมไม่ว่าต่อคนไทยหรือคนต่างชาติ
5 แก้ไขปรับปรุงขนบธรรมเนียมและกฎหมายที่ขัดขวางความเจริญของประเทศ
6 ให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและการแสดงออกทางความคิด
จัดให้มีการจัดระบบราชการด้านการบริหารบุคคลให้เป็นไปตามหลักคุณธรรมมีการกำหนดคุณสมบัติและการเลือกบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถและความประพฤติดีเข้ารับราชการ

บทบาทของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ในพัฒนาการทางการเมืองของไทย
นับตั้งแต่ประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อพ. ศ. 2475 เป็นต้นมาวิวัฒนาการและบทบาทของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ของไทยได้ดำเนินติดต่อกันมาอย่างต่อเนื่องถึงแม้ว่าในบางช่วงเวลาจะมีการปฏิวัติรัฐประหารและพรรคการเมืองถูกห้ามมิให้ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองก็ตามแต่ยังมีการเคลื่อนไหวของบุคคลและกลุ่มบุคคลที่เป็นสมาชิกพรรคการเมืองชั้นนำเป็นจำนวนไม่น้อยที่แอบเคลื่อนไหวอย่างรับรับนอกจากนี้อิทธิพลของสื่อมวลชนที่เกี่ยวกับบทบาทของพรรคการเมืองในประเทศประชาธิปไตยก็ได้ก่อให้เกิดความกระตือรือร้นทางการเมืองในหมู่คนไทยโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่การแพร่ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพยิ่ง

12.3 ปัญหาและแนวโน้มของพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย

กลุ่มผลประโยชน์มีการตื่นตัวและมีความเข้มแข็งมากขึ้นมีการรวมตัวของกลุ่มนักธุรกิจต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบในวงราชการอย่างเข้มแข็งเอาจริงเอาจังนักธุรกิจเป็นจำนวนมากได้รับผลกระทบจากการคอรัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการระดับสูงมาโดยตลอดซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจและเป็นภยันตรายต่อการพัฒนาเศรษฐกิจไทยบทเรียนจากความสำเร็จในการรวมตัวกันของนักธุรกิจชาวฮ่องกง เกาหลีใต้ สิงคโปร์ ญี่ปุ่นและไต้หวันที่ต่อต้านคอรัปชั่นซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้เจริญก้าวหน้าทำให้กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกับประชาชนรวมตัวกันเป็น “การเมืองภาคประชาชน” ตรวจสอบการคอรัปชั่นอย่างจริงจังของรัฐบาลคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจระดับชาติและท้องถิ่นตลอดจนข้าราชการระดับสูงที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุมัติหรือให้คุณให้โทษในการใช้ดุลพินิจที่ไม่เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลในยุคโลกาภิวัฒน์โดยเฉพาะหลังจากที่ประเทศเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในพ. ศ. 2558 การเมืองภาคประชาชนจะมีบทบาทในการมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้นอิทธิพลของสังคมข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพและการตื่นตัวของคนไทยยุคใหม่ในการใช้สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ในการรับรู้และการติดตามตรวจสอบข้อมูลข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้การเมืองภาคประชาชนมีความเข้มแข็งขึ้นพรรคการเมืองไทยในอนาคตจะต้องถูกตรวจสอบโดยการเมืองภาคประชาชนมากขึ้นอันจะส่งผลดีต่อพัฒนาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยเป็นอย่างมาก

12.3.1ปัญหาและแนวโน้มของพรรคการเมืองกับพัฒนาการทางการเมืองไทย
นับตั้งแต่ประเทศไทยประกาศใช้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในพ.ศ 2502 เป็นต้นมาทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจอย่างมากมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจด้านการเงินและการธนาคาร กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ กลุ่มผู้ประกอบธุรกิจการค้าขนาดใหญ่ กลุ่มตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์ กรมตำรวจและผู้ประกอบการด้านพลังงาน กลุ่มผู้ประกอบการสื่อสารมวลชน กลุ่มนักลงทุนข้ามชาติ ฯลฯ กลุ่มเหล่านี้มีอำนาจการซื้อสูงมากจึงมุ่งแสวงหาอำนาจทางการเมืองผ่านพรรคการเมืองที่มีศักยภาพและมีโอกาสเป็นรัฐบาลโดยจะให้การสนับสนุนทางการเงินกับพรรคการเมืองในทางลับบางครั้งกลุ่มผลประโยชน์จะกดดันให้มีบุคคลที่กลุ่มส่งมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีกระทรวงสำคัญที่สามารถเลือกประโยชน์ให้กับธุรกิจของตนหรือมิฉะนั้นก็จะใช้อิทธิพลให้พรรคการเมืองที่เป็นรัฐบาลต้องนำเอาปัญหาและความต้องการของกลุ่มไปกำหนดเป็นนโยบายของพรรคซึ่งกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้ก็จะได้รับผลประโยชน์ตอบแทนอย่างคุ้มค่าในหลายกรณีนายทุนของกลุ่มอาจจะตั้งพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองเสียเองโดยตรงเช่น พันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยและเมื่อเป็นรัฐบาลระหว่างพศ 2544 ถึง 2549 ก็ดำเนินนโยบายประชานิยมโดยขัดกับหลักการประชาธิปไตยโดยปฏิเสธการตรวจสอบการบริหารประเทศของพรรคฝ่ายค้านการนำเอานายทุนของกลุ่มทุนมาเป็นรัฐมนตรีเพื่อกำกับดูแลให้นโยบายประชานิยมของพรรคไทยรักไทยได้รับประโยชน์จนเกิดการรัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลในปี 2549 ถึงกระนั้นแม้ว่าศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิพากษาล้มเลิกพรรคไทยรักไทยด้วยข้อหากระทำการละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 ก็ตามแต่พันตำรวจโททักษิณก็ยังมอบหมายให้ญาติและบุคคลใกล้ชิดจะตั้งรัฐบาลที่พันตำรวจโททักษิณสนับสนุนได้แก่ พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทยตามลำดับ รัฐบาลหุ่นเชิดของพันตำรวจโททักษิณอันได้แก่ รัฐบาลของนายสมัคร สุนทรเวช รัฐบาลของนายสมชาย วงษ์สวัสดิ์ และรัฐบาลของนางสาวยิ่งลักษณ์ ก็ดำเนินการบริหารประเทศโดยร่วมมือกับกลุ่มทุนทั้งในและนอกประเทศสร้างความได้เปรียบกับพรรคการเมืองอื่นและสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งนโยบายรับจำนำข้าวที่สร้างความเสียหายให้กับประเทศไทยมากกว่า 5 แสนล้านบาทไม่รวมนโยบายประชานิยมอื่นๆอีกมากจนคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่นำโดยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาได้ทำการยึดอำนาจเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 และคงจะเป็นบทเรียนให้กับพรรคการเมืองที่จะต้องปรับตัวให้แก่การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและการตื่นตัวของประชาชนในยุคปัจจุบัน

12.3.2ปัญหาและแนวโน้มของกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย
กลุ่มผลประโยชน์ในประเทศไทยร่วมก่อตั้งขึ้นจากการผูกขาดทุนเสียส่วนใหญ่การระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยการที่ปล่อยให้ธนาคารและสถาบันการเงินไม่ยอมกระจายสินเชื่อหรือสร้างอำนาจซื้อให้กับประชาชนและสถาบันอาชีพขนาดย่อมของประชาชนทั้งในเมืองและชนบทล้วนก่อให้เกิดการผูกขาดกับการประกอบการทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและปราศจากการตรวจสอบหรือมีระบบการตรวจสอบทางจากภาครัฐและภาคประชาสังคมที่อ่อนแอการแข่งขันทางธุรกิจและกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจก็เป็นไปอย่างเอารัดเอาเปรียบกับประชาชนทำให้ประชาชนทั่วไปมีอำนาจซื้อต่ำกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่มักให้ความสำคัญกับสมาชิกที่เป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่เท่านั้นแม้นว่าจะมีการเปิดโอกาสให้กลุ่มธุรกิจขนาดย่อมเข้ามาเป็นสมาชิกเช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ฯลฯ แต่ก็มักดูแลเป็นพิเศษให้กับสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่ๆแต่จากการตื่นตัวของภาคประชาสังคมที่สะสมกันมาโดยตลอดกลุ่มผลประโยชน์เหล่านี้จะต้องมีการปรับตัวเพื่อให้ประชาชนโดยทั่วไปตรวจสอบได้

12.3.3ปัญหาและแนวโน้มของความสัมพันธ์ระหว่างพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์กับพัฒนาการทางการเมืองไทย
ความสัมพันธ์ระหว่างทางการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ที่ผ่านมานั้นมีลักษณะของความร่วมมือแสวงหาผลประโยชน์อันมิชอบระหว่างกันจะเห็นได้ว่าจากการเกิดปฏิวัติรัฐประหารการเดินขบวนประท้วง ฯลฯ ของกลุ่มประชาชนมาตั้งแต่เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในประเทศไทยเมื่อ 14 ตุลาคม 2516 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันล้วนเกิดจากความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มผลประโยชน์กับพรรคการเมืองที่มีลักษณะ “ผลประโยชน์ต่างตอบแทน” แทบทั้งสิ้น จึงเป็นปัญหาของการปกครองระบอบประชาธิปไตยและพัฒนาการทางการเมืองไทยเป็นอย่างมาก จึงจำเป็นจะต้องจัดระเบียบของทั้งพรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ของไทยเพื่อให้ความร่วมมือของทั้งสองสถาบันเป็นไปในลักษณะที่สอดคล้องกับพัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยตามแบบอย่างของประเทศประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว

ปัญหาที่สำคัญของพรรคการเมืองไทยในพัฒนาการทางการเมือง
พรรคการเมืองส่วนใหญ่มิได้เกิดจากความสำนึกทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย แต่เกิดจากการรวมตัวของบุคคลจำนวนไม่กี่คนแล้วแสวงหาการสนับสนุนจากบุคคลอื่นในลักษณะของระบบอุปถัมภ์แทบทั้งสิ้น พรรคการเมืองที่เข้ามาเป็นรัฐบาลในอดีตจึงมักจะเป็นการเข้ามาของกลุามทุน เพื่อหวังทำธุรกิจทางการเมืองมากกว่าจะเกิดจากความเชื่ิหรืออุดมการณ์ทางการเมืองเหมือนพรรคการเมืองในประเทศที่พัฒนาแล้ว บางพรรคการเมืองคอยหาโอกาสเข้าร่วมกับพรรคการเมืองใหญ่จัดตั้งรัฐบาลผสมเพื่อแบ่งปันผลประโยชน์จากพรรคที่สนับสนุน สมาชิกของพรรคการเมืองไทยมักมีวินัยหย่อนยานเพราะคิดถึงผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าอุดมการณ์ทางการเมือง มีการยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหลักการ นอกจากนี้ ยังไม่ให้ความสำคัญกับสาขาพรรคเท้าที่ควร ทั้งที่เป็นองค์ประกอบสำคัญที่จะทำให้พรรคการเมืองนั้นเจริญเติบโตหรือเสื่อมได้

ปัญหาที่สำคัญของกลผลประโยชน์ในพัฒนาการทางการเมืองไทย
กลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจมักจะแสดงบทบาทที่ไม่เกื้อหนุนต่อพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทย โดยกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่และมีอิทธิพลของไทยมักไม่ค่อยแสดงบทบาทในการปกป้องสมาชิกรายย่อยที่ขาดอิทธิพลในการต่อรองผลประโยชน์กับพรรคการเมือง มักแทบไม่มีโอกาสที่ได้รับเลือกเข้าสู่ตำแหน่งคณะกรรมการของกลุ่มผลประโยชน์ขนาดใหญ่ นอกจากนั้นกลุ่มผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจยังมีลักษณะของการปกป้องรักษาผลประโยชน์เฉพาะสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบการรานใหญ่ กลุ่มเกษตรกรไทยก็ยังคงมีความอ่อนแอในการต่อรองผลประโยชน์ กับพรรคการเมือง กลุ่มนายทุนมักถือโอกาสเข้าแทรกกลุ่มเกษตรกรด้วยวิธีการที่แยบคาย สื่อมวลชนก็ไม่ค่อยได้รายงานข้อเท็จจริงถึงการเอารัดเอาเปรียบของกลุ่มนายทุนขนาดใหญ่เหล่านี้ เกษตรกรเป็นจำนวนมากต้องพึ่งพาทุนจากนายทุนนอกระบบ ซึ่งทำให้เกษตรกรต้องเสียดอกเบี้ยสูงมากและเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้ประกอบการธุรกิจรายย่อยก็ประสยปัญหาการขาดแคลนแหล่งเงินทุนมาสนับสนุน ยิ่งกว่านั้นการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติขนาดใหญ่ยังสร้างปัญหากับสภาพแวดล้อม เช่น การตัดไม้ทำลายป่า การบุกรุกป่าสงวน การผูกขาดตัดตอนอีกด้วย

หน่วยที่ 13 กระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

13.1 แนวคิดทั่วไปเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง

การมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นกระบวนการทางการเมืองและการแสดงออกทางการเมืองที่สำคัญของพลเมืองในฐานะสมาชิกเป็นทั้งเป้าหมายและกระบวนการของการพัฒนาการทางการเมืองและการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย

13.1.1 ความหมายและขอบเขตของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีความสัมพันธ์กับพัฒนาการทางการเมืองเป็นหัวใจสำคัญของสังคมประชาธิปไตยเป็นทั้งเป้าหมายและกระบวนการในการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย

13.1.2 ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
นิยาม ความหมายและขอบเขต และรูปแบบของการมีส่วนร่วมทางการเมือง มีความสัมพันธ์กับฐานแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบประชาธิปไตยและการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย

นิยาม ความหมาย และขอบเขตของการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงหมายถึง กิจกรรมที่บุคคลสมัครใจโดยมีจุดประสงค์เพื่อมีอิทธิพลในกระบวนการตัดสินใจของรัฐบาล หรือองค์กรบริหารจัดการปกครองทั้งในระดับรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่น และกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดชีวิตสาธารณะสมัยใหม่ของผู้คนที่มุ่งเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางอำนาจ การต่อรอง ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทางเศรษฐกิจและประชาสังคมด้วยทั้งลักษณะทางการเมืองในและนอกสถาบันที่ลงหลักปักฐาน กิจกรรมที่ถูกกฎหมายหรือเป็นทางการ ไร้ความรุนแรงและกิจกรรมที่มีลักษณะผิดกฎหมาย ไม่เป็นทางการและมีความรุนแรง

ความสำคัญของการมีส่วนร่วมทางการเมืองถือเป็นหัวใจสำคัญของรัฐประชาธิปไตยและเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาระบบการเมืองให้เป็นประชาธิปไตยอีกครั้งเป็นกระบวนการทางการเมืองที่ก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมการเมืองและพลเมืองกับองค์กรการบริหารจัดการการปกครองต่างๆระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นดัชนีชี้วัดสำคัญของระบบการเมืองที่เป็นประชาธิปไตย

13.2 พัฒนาการของการมีส่วนร่วมทางการเมือง

พัฒนาการของแนวคิดและรูปแบบ ช่องทาง กลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงด้านบริบทเศรษฐกิจการเมือง ความขัดแย้งทางสังคมการเมืองใหม่ๆ แล้วปัญหาที่ท้าทายการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตย

13 .2.1 เสรีนิยมประชาธิปไตย ประชาธิปไตยแบบตัวแทนกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบเสรีนิยมประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแบบตัวแทนมุ่งเน้นกระบวนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองการเลือกสรรบุคลากรทางการเมืองหรือรูปแบบการมีส่วนร่วมเชิงโครงสร้างและสถาบัน(Institutionalized Political Participation) หรือรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบดั้งเดิม (conventional political participation)

13.2.2 ประชาธิปไตยทางตรงและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
พัฒนาการของการมีส่วนร่วมทางการเมืองท่ามกลางปัญหาที่ท้าทายความผุกร่อนหรือความไม่เพียงพอของเสรีนิยมประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแบบตัวแทนและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบดั้งเดิม (conventional political participation) นำมาสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยทางตรงและการขยายรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มากไปกว่าการให้ความสำคัญเฉพาะกระบวนการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งการคัดสรรบุคลากรทางการเมือง

13.2.3 ขบวนการทางสังคมหมายกับรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบนอกสถาบันที่ลงหลักปักฐาน
ความขัดแย้งทางสังคมใหม่ๆโลกชีวิตและค่านิยมใหม่ของผู้คนที่นำมาสู่ขบวนการทางสังคมใหม่ (New Social movement) นำมาสู่รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองนอกโครงสร้างและสถาบัน (Non- institutionalized political participation) หรือรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ต่างจากแบบดั้งเดิม (unconventional political participation)

รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองบนฐานคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแบบตัวแทนมีลักษณะดังนี้
รูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองบนฐานคิดเสรีนิยมประชาธิปไตยและประชาธิปไตยแบบตัวแทนมักมองไปในเรื่องของกระบวนการเลือกตั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองโดยการมีส่วนร่วมทางการเมืองคือชุดของสิทธิและหน้าที่ทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเมืองที่ถูกจัดตั้งหรือกำหนดอย่างเป็นทางการเช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง และการเข้าไปมีส่วนร่วมผ่านพรรคการเมือง การเข้าไปเชื่อมต่อหรือเกี่ยวพันธ์กับระบบการเมืองผ่านกลไกทางการเมืองระหว่างประชาชนกับระบบการเมือง เช่น การลงคะแนนเสียงเลือกตั้ง เข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านองค์กรทางการเมือง ซึ่งรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองในกระบวนการเลือกตั้ง เช่น การไปใช้สิทธิ์เลือกตั้ง การแสดงความสนใจทางการเมือง การชักจูงให้ผู้อื่นเลือกตั้งผู้ที่ตนสนับสนุน การบริจาคเงินสนับสนุนพรรคการเมือง การร่วมประชุมหรือผู้ชุมนุมทางการเมือง การร่วมรณรงค์ทางการเมือง การเป็นสมาชิกพรรคการเมือง การร่วมประชุมแกนนำพรรค การร่วมระดมทุน การลงแข่งขันเพื่อรับเลือกตั้ง เป็นต้น

ความสัมพันธ์ของประชาธิปไตยโดยตรงและประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ประชาธิปไตยโดยตรงเกิดขึ้นครั้งแรกในนครรัฐเอเธนส์เกิดขึ้นเมื่อประมาณ 508 ถึง 507 ปีก่อนคริสตกาลและสิ้นสุดลงในราว 321 ปีก่อนคริสตกาล มีรูปแบบการปกครองโดยให้พลเมืองมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงเพื่อพิจารณาตัดสินกิจการสาธารณะด้วยตนเองผ่านสภาประชาชนในทศวรรษที่ 21 ประชาธิปไตยทางตรงสมัยใหม่และประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเกิดจากความไม่พอเพียงของประชาธิปไตยแบบตัวแทนซึ่งหัวใจอยู่ที่การขยายพื้นที่ช่องทางและกลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่มากไปกว่าการให้ความสำคัญกับสถาบันหรือกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องเฉพาะการเลือกตัวแทนผู้แทนหรือบุคลากรทางการเมืองความเกี่ยวพันทางการเมืองผ่านสถาบันพรรคการเมืองและกิจกรรมของพรรคการเมือง

รูปแบบและแนวคิดการมีส่วนร่วมทางการเมืองของขบวนการทางสังคมใหม่และกลุ่มผลประโยชน์
การพิจารณาแนวคิดและรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองจากแง่มุมของขบวนการทางสังคมใหม่ต้องมองจากรากฐานที่เห็นความแตกต่างระหว่างการรวมกลุ่มแบบกลุ่มผลประโยชน์หรือกลุ่มผลักดันซึ่งสามารถมีตำแหน่งแห่งที่ในระบบการเมืองปกติได้แต่ขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเป็นการรวมกลุ่มก้อนทางสังคมของกลุ่มที่ถูกกีดกันออกจากระบบการเมืองปกติ (exclude groups) และกลุ่มผู้ท้าทายระบบการเมืองปกติ (challenger) โดยที่ทั้งสองกลุ่มเป็นกลุ่มที่อยู่นอกวงขอบการเมืองปกติค่ะซึ่งสิทธิในการเข้าสู่การตัดสินใจทางการเมืองอันเป็นสิทธิพื้นฐานที่สำคัญของการเป็นสมาชิกในระบบการเมืองดังนั้นสิ่งที่ผู้ลุกขึ้นต่อสู้ท้าทายระบบจะต้องกระทำคือการหาแนวทางและวิธีการที่จะเอาชนะการไร้ซึ่งอำนาจและสิทธิพื้นฐานเหล่านั้นด้วยการแสวงหายุทธวิธีที่ดีและมีประสิทธิภาพซึ่งมักจะเป็นยุทธวิธีหรือแนวทางที่หลีกเลี่ยงหรือก้าวข้าม (bypass) ช่องทาง กลไกการตัดสินใจในระบบการเมืองแบบปกติ นอกจากนี้ยังต้องหาแนวทางและวิธีการที่จะบังคับให้กลุ่มผู้ต่อต้านการลุกขึ้นสู้ ได้เข้ามาเกี่ยวข้องกับขบวนการการเคลื่อนไหวในพื้นที่ที่มิได้มีการจัดเตรียมไว้ เช่น บนท้องถนน รถโดยสาร ร้านอาหาร เป็นต้น เป็นวิธีการที่เรียกว่าการสร้างแรงชักจูงทางลบ (Negative inducement) และเป็นวิธีการที่ทำให้กลุ่มผู้ต่อสู้และผู้ท้าทายได้รับอำนาจเพิ่มมากขึ้น

13.3 พัฒนาการของการมีส่วนร่วมทางการเมืองตั้งแต่ยุคปฏิรูปการเมืองพศ 2540

13.3.1 พัฒนาการประชาธิปไตยกับการมีส่วนร่วมทางการเมืองในสังคมไทย
ความไม่พอเพียงประชาธิปไตยแบบตัวแทนที่ลงหลักปักฐานในสังคมไทยตั้งแต่ช่วงล่างรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ แล้วความจำกัดด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองในการตรวจสอบกำกับการใช้อำนาจรัฐและการทุจริตคอรัปชั่น การมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจนโยบายสาธารณะได้นำมาสู่วิกฤตการณ์ทางการเมืองและแนวคิดการปฏิรูปการเมืองโดยการสร้างการเมืองภาคประชาชนที่ม่วงขยายการมีส่วนร่วมของประชาชนที่กว้างมากขึ้น

13.3.2รูปแบบและกระบวนการของการมีส่วนร่วมทางการเมืองภายหลังรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ 2540 และฉบับพ. ศ. 2550
รัฐธรรมนูญฉบับพศ. 2540 และฉบับพ.ศ 2550 ได้ขยายการมีส่วนร่วมทางการเมืองบนฐานคิดประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมและประชาธิปไตยทางตรงอย่างกว้างขวางขึ้นในเชิงรับการแม้จะยังมีข้อจำกัดในเชิงปฏิบัติการ

13.3.3 รูปแบบและกระบวนการการมีส่วนร่วมทางการเมืองของกลุ่มพลังทางสังคมและองค์กรประชาสังคม
กลุ่มและองค์กรประชาสังคมเติบโตขึ้นอย่างกว้างขวางในช่วง 2-3 ทศวรรษที่ผ่านมาได้เข้ามามีบทบาทในการสร้างและจรรโลงประชาธิปไตยและผลักดันในการขยายช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองในเชิงสถาบันผ่านบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆและพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองโครงสร้างและสถาบันที่หลากหลายขึ้นมา

13.3.4รูปแบบการเดินขบวน ชุมนุมประท้วง

ปัญหาสำคัญของประชาธิปไตยแบบตัวแทนในยุคประชาธิปไตยแบบตัวแทนเต็มใบก็คือการทุจริตคอรัปชั่น ความโปร่งใสของนักการเมืองซึ่งเป็น “ตัวแทน” ผ่านการใช้อำนาจอธิปไตยของปวงชน

ช่องทางกลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่สำคัญสำคัญซึ่งขยายให้เห็นในรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ 2540 และฉบับพ. ศ. 2550 มีดังนี้
1 การขยายช่องทางกลไกในกระบวนการตัดสินตกลงใจทางการเมืองและนโยบายสาธารณะประกอบด้วย 1.1)การมีส่วนร่วมในการริเริ่มเสนอกฎหมายโดยประชาชน 1.2)สิทธิในการเสนอกฎหมายหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น และ 1.3)การมีส่วนร่วมในกระบวนการนโยบายสาธารณะ
2 การลงประชามติ
3 การถอดถอนผู้บริหารระดับสูง

ประเภทขององค์กรประชาสังคมที่กำเนิดพัฒนาและดำรงอยู่ในสังคมการเมืองนับตั้งแต่ทศวรรษ2536 เป็นต้นมามีอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบคือ ประชาสังคมแบบชุมชนนิยม ประชาสังคมแบบเสรีนิยม และประชาสังคมแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม โดยมีจุดหมาย พื้นที่ทางการเมือง และวิธีการเคลื่อนไหวดังนี้

ประเภท จุดหมาย พื้นที่ทางการเมือง วิธีการเคลื่อนไหว
1.ประชาคมแบบชุมชนนิยม -การสร้างจุดเชื่อมไปสู่พื้นที่ภาครัฐ/ธุรกิจ-การเกิดความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ -เวทีความร่วมมือแบบ “สมานฉันท์” -การพูดคุยแลกเปลี่ยนเรียนรู้-การจัดทำแผนแบบมีส่วนร่วม

ฯลฯ

2. ประชาสังคมแบบเสรีนิยม -การต่อรองผลักดันนโยบายเพื่อประโยชน์ของกลุ่มตน -พื้นที่ ช่องทางและกลไกในระบบการเมืองปกติ -การล็อบบี้ เคลื่อนไหวผลักดันโดยกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ
3. ประชาสังคมแบบขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม -การปรับสัมพันธภาพทางอำนาจในสังคม-สร้างและจรรโลงประชาธิปดไตยแบบมีส่วนร่วม -การสร้างพลังการเคลื่อนไหวจากภายนอกระบบการเมือง -กระทำการแบบถึงลูกถึงคน (Direct action)-การท้าทาย ขักขวาง ระบบการเมืองปกติ

สาเหตุที่ประชาธิปไตยแบบตัวแทนและกลไกปกติของระบบราชการไม่สามารถตอบสนองการเข้าถึงทรัพยากรของสังคมและการปกป้องวิธีชีวิตของชุมชนท้องถิ่นได้และส่งผลต่อกระบวนการทางการเมือง
บริบททางการเมืองตั้งแต่ราวทศวรรษที่ 2530 เป็นต้นมาระบบการเมืองปกติคือประชาธิปไตยแบบตัวแทนและกลไกปกติของระบบราชการไม่สามารถตอบสนองการเข้าถึงทรัพยากรของสังคมและการปกป้องวิถีชีวิตปกติของชุมชนท้องถิ่นเนื่องจากว่าระบบการเมืองปกติทำให้ชุมชนท้องถิ่นถูกกันออกไปจากกระบวนการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจการมีส่วนร่วมที่อาศัยช่องทางสำคัญผ่านกระบวนการเลือกตั้งเป็นเพียงมายาภาพหรือเป็นการบังคับให้ยอมจำนนหรือเป็นหลุมพรางที่บอกว่าประชาชนได้มีส่วนร่วมแล้วประชาธิปไตยแบบตัวแทนของสังคมไทยจึงมีข้อจำกัดไม่สามารถรองรับการเข้ามามีส่วนร่วมท่ามกลางความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจกับชุมชนท้องถิ่นและนำมาสู่การเติบโตขึ้นของประชาสังคมในลักษณะขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งรูปแบบการเคลื่อนไหวสำคัญที่กลุ่มองค์กรเหล่านี้ได้อาศัยเป็นพลังในการต่อสู้เพื่อสร้างอิทธิพลในกระบวนการตัดสินตกลงใจของรัฐบาลและองค์กรบริหารจัดการปกครองต่างๆก็คือการอาศัยวิธีการเดินขบวน ชุมนุมประท้วง หรือการใช้เสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะ

13.4 ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของไทย

ปัญหาประชาธิปไตยแบบตัวแทนและความจำกัดด้านรูปแบบ ช่องทาง กลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง กระบวนการเลือกตั้ง การคัดสรรบุคลากรในสังคมการเมืองไทยนำมาสู่การสร้างการเมืองภาคประชาชนที่พยายามขยายการมีส่วนร่วมทางการเมืองภายใต้แนวคิดประชาธิปไตยทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม

13.4.1ปัญหาด้านโครงสร้างสถาบันทางการเมืองกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในเชิงโครงสร้างและสถาบันที่สถาปนาผ่านแนวคิดในการสร้างการเมืองภาคประชาชนที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ 2540 และฉบับพศ 2550 ประสบปัญหาในเชิงปฏิบัติการเพราะไม่มีการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญปัญหาการถ่ายโอนอำนาจมายังประชาชนในการตัดสินใจทางการเมืองอย่างมีระดับต่ำและปัญหาในเชิงประสิทธิภาพในเชิงการบริหารจัดการทำให้ต้นทุนการมีส่วนร่วมของประชาชนสูงขึ้น

13.4.2ปัญหาด้านวัฒนธรรมทางการเมืองของคนไทยกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองสามารถมองได้จากมิติวัฒนธรรมทางการเมืองและปัจจัยทางด้านเศรษฐกิจ-สังคมที่มีผลต่อพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนในระดับปัจเจกบุคคลแต่ก็มีข้อถกเถียงที่เสนอให้พิจารณาวัฒนธรรมการเมืองในฐานะที่เป็นผลมาจากความไม่พัฒนาประชาธิปไตย เส้นทางออกจึงควรอยู่ที่การขยายพื้นที่การมีส่วนร่วมทางการเมือง การส่งเสริมให้พลเมืองมีรูปแบบจัดการชีวิตสาธารณะเอง ซึ่งเป็นการสร้างเงื่อนไข กลไก และพื้นที่การเมืองเข้ามาใกล้ชีวิตของผู้คน

13.4.3ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบการเดินขบวน ชุมนุมประท้วง
ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบการเดินขบวน ชุมนุมประท้วง มันจะมีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญยอมรับเสรีภาพในการชุมนุมสาธารณะแต่ยังมีกฎหมายที่ยังขัดแย้งและเป็นอุปสรรคอยู่จำนวนมากและอีกด้านหนึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องทำให้เกิดความชัดเจนของการใช้เสรีภาพที่ต้องเป็นการชุมนุมที่ปราศจากอาวุธและไม่ละเมิดสิทธิของบุคคลอื่นและกระทบต่อสาธารณะจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีกฎหมายว่าด้วยการชุมนุมสาธารณะเป็นการเฉพาะที่ตั้งอยู่บนหลักการคุ้มครองเสรีภาพแต่ต้องไม่อยู่ภายใต้วิธีคิดว่าการชุมนุมเป็นการทำลายความมั่นคงและออกกฎหมายเพื่อควบคุมการชุมนุมสาธารณะ

ปัญหาของการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่พยายามพัฒนาไปสู่ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมหรือประชาธิปไตยทางตรงที่ถูกออกแบบฐานบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2540 และฉบับพ.ศ 2550 คือ
1 ปัญหาความจำกัดของกลไกและกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่จะนำมาสู่การสร้างบูรณาการระหว่างพลเมืองกับผู้มีอำนาจและองค์กรที่มีอำนาจตัดสินใจทางการเมืองและกระบวนการนโยบายสาธารณะที่เพียงพอ กลไกที่สำคัญคือ การลงประชามติ การริเริ่มกฎหมายโดยประชาชน การถอดถอนผู้บริหารทางการเมืองระดับสูง ยังมีลักษณะที่ขยายมาสู่การ “ร่วมส่วน” ของประชาชนเท่านั้น การซื้ออำนาจตัดสินใจสูงสุดยังอยู่ที่ผู้มีอำนาจตัดสินใจทางการเมือง
2 ปัญหาด้านประสิทธิภาพและความเป็นไปได้ในการปฏิบัติกลไกการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ขยายขึ้นมาหลายรูปแบบเกิดปัญหาในระดับปฏิบัติการเพราะหากไม่สามารถนำไปสู่การปฏิบัติที่เป็นจริงได้ก็เท่ากับประชาชนไม่มีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมืองในช่องทางนั้นๆ

ตามความคิดของณรงค์ พ่วงพิศ มองว่าระบบไพร่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยดังนี้
ระบบไพร่ฟ้าที่ฝังรากลึกมาเป็นระยะเวลายาวนาน ยังคงมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมทางการเมืองของไทยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ กล่าวคือทำให้เกิดการคงอยู่ของความสัมพันธ์แบบระบบอุปถัมภ์ในแทบทุกระดับของสังคม การยึดถือในระดับบกอาวุธสงทำให้ผู้มีอาวุโสต่ำกว่าไม่กล้าโต้แย้งผู้มีอาวุโสสูงกว่าการยอมรับตนเองในฐานะเป็นไพร่ฟ้าข้าแผ่นดินซึ่งมีผลทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ขาดความสำนึกในทางการเมืองและการมีลักษณะเป็นผู้ตามที่ดีมีผลทำให้ขาดความคิดริเริ่มและความเป็นตัวของตัวเองโดยเห็นว่าวัฒนธรรมทางการเมืองในลักษณะเช่นนี้เป็นอุปสรรคต่อการปกครองในวัฒนธรรมดังกล่าวได้นำมาสู่ระบบอุปถัมภ์ที่มีลักษณะเป็นเครือข่ายเกี่ยวโยงกันจากระดับล่างสุดจนกระทั่งถึงระดับบนสุดคือนักการเมืองที่มีตำแหน่งบริหาร

ปัญหาและอุปสรรคของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบชุมนุมประท้วง
การแสดงออกซึ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองและรูปแบบการเดินขบวน ชุมนุมประท้วงแม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับพ. ศ. 2550 จะมีบทบัญญัติรองรับเอาไว้แต่ไม่มีการบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวกับการชุมนุมสาธารณะโดยตรงบังคับใช้จึงเป็นปัญหาทางด้านผู้ชุมนุมที่ต้องการใช้เสรีภาพในการชุมนุมและเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งต้องดูแลสนับสนุนการชุมนุม รวมทั้งผู้คนสังคมที่อาจได้รับผลกระทบจากการเดินขบวนชุมนุมประท้วง

หน่วยที่ 14 ขบวนการภาคประชาสังคมกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

14.1 แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับขบวนการภาคประชาสังคม

ขบวนการภาคประชาสังคมเป็นการรวมตัวกันของประชาชนที่จำนวนน้อยหรือจำนวนมาก มีพฤติกรรมการรวมกลุ่มกำหนดวัตถุประสงค์บางประการที่แน่นอนมีผลประโยชน์ร่วมเพื่อสร้างหลักประกันในเป้าหมายร่วมกันใช้ความเชื่อและค่านิยมบางประการเป็นหลักในการรวมกลุ่มมากกว่าการใช้เหตุผลรุ่งเรืองการเปลี่ยนแปลงของสังคมและมีขอบข่ายความร่วมมือมีลักษณะที่กว้างขวางจนมีการขยายตัวทางจากภายในประเทศ ภูมิภาค หรือทั่วโลก ขบวนการภาคประชาสังคมจึงมีความแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มกดดัน และพรรคการเมือง ขบวนการภาคประชาสังคมไทยเกิดขึ้นในบริบทซึ่งกลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมที่ได้ลงไปทำงานกับชาวบ้านในยุคหลังความเสื่อมถอยของขบวนการสังคมนิยมหรือองค์กรพัฒนาเอกชนนอกจากนี้ความล้มเหลวของประชาธิปไตยแบบตัวแทนของไทยทำให้เกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 และการก่อตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างกว้างขวางส่งผลให้องค์กรพัฒนาเอกชนมีส่วนสำคัญในอันส่งผลให้เกิดการเมืองแบบมวลชนนับตั้งแต่พ. ศ. 2548 เป็นต้นมา

14.1.1 ความหมายและความสำคัญของกระบวนการภาคประชาสังคม
ขบวนการภาคประชาสังคมหมายถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันโดยเน้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการรณรงค์ในกิจกรรมทางการเมืองสังคมและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญกระแสท้าทายและความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างสังคมการเมืองส่วนล่างก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวการเมืองภาคประชาชนแสดงถึงกระบวนทัศน์ที่ยกระดับอีกขั้นหนึ่งในการอธิบายปรากฏการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ ประชาธิปไตย การมีส่วนร่วม และกระบวนการประชาสังคม

14.1.2ลักษณะสำคัญของขบวนการภาคประชาสังคมและความแตกต่างจากการรวมกลุ่มอื่นๆ
ขบวนการภาคประชาสังคมเป็นการรวมกันของประชาชนจำนวนน้อยหรือจำนวนมากมีพฤติกรรมการรวมกลุ่มกำหนดวัตถุประสงค์บางประการที่แน่นอนมีผลประโยชน์ร่วมเพื่อสร้างหลักประกันในเป้าหมายร่วมกันใช้ความเชื่อและค่านิยมเป็นหลักในการรวมกลุ่มมากกว่าการใช้เหตุผลมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงของสังคมและมีขอบข่ายความร่วมมือมีลักษณะที่กว้างขวางจนมีการขยายตัวทางจากภายในประเทศ ภูมิภาค หรือทั่วโลก ขบวนการภาคประชาสังคมจึงมีความแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มกดดัน และพรรคการเมือง

14.1.3ความเป็นมาของขบวนการภาคประชาสังคมในการเมืองไทย
ขบวนการภาคประชาสังคมไทยเกิดขึ้นในบริบทซึ่งกลุ่มนักกิจกรรมทางสังคมที่ได้ลงไปทำงานกับชาวบ้านในยุคหลังความเสื่อมถอยของขบวนการสังคมนิยมโดยองค์กรพัฒนาเอกชน (NGOs) นอกจากนี้ความล้มเหลวของประชาธิปไตยแบบตัวแทนของไทยทำให้เกิดกระแสการปฏิรูปการเมืองหลังเหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 และการก่อตัวของขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมอย่างกว้างขวางส่งผลให้องค์กรพัฒนาเอกชนมีส่วนสำคัญในอันส่งผลให้เกิดการเมืองแบบมวลชนมาตั้งแต่พ. ศ. 2548 เป็นต้นมา

ขบวนการภาคประชาสังคมหมายถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มคนที่มีจุดมุ่งหมายเดียวกันโดยเน้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมหรือปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงของสังคมและการรณรงค์ในกิจกรรมทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ

ความแตกต่างของขบวนการภาคประชาสังคมกับการรวมกลุ่มอื่นๆ
ขบวนการภาคประชาสังคมมีความแตกต่างจากองค์กรหรือสถาบันทางสังคมและการรวมกลุ่มอื่นที่สำคัญคือกลุ่มผลประโยชน์ที่เป็นการรวมกลุ่มเพราะมีผลประโยชน์ร่วมกันหากเป็นกลุ่มกดดันการรวมกลุ่มเพาะมีอุดมการณ์ร่วมกันหากเป็นประชาสังคมเป็นการรวมกลุ่มเพาะมีความรู้สึกร่วมกันในการเป็นเจ้าของ ขบวนการภาคประชาสังคมเป็นการรวมกลุ่มทอการนำสังคม วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ หรือองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่งทางสังคมเข้ามาเป็นหลักสำคัญในการรวมกลุ่มและแตกต่างจากพรรคการเมืองที่เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐอย่างชอบธรรมทำให้บุคคลในสังกัดพรรคการเมืองต้องลงสมัครรับเลือกตั้งขณะที่ขบวนการทางประชาสังคมต้องการครอบงำต่อต้านสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสังคมโดยที่อาจผ่านรัฐหรือไม่ก็ได้ ขบวนการภาคประชาสังคมซึ่งอาจเป็นเครื่องมือทางการเมืองของพรรคการเมืองในการเผยแพร่อุดมการณ์ทางภายในประเทศและระหว่างประเทศ เช่น กรณีพรรคคอมมิวนิสต์ หรือพรรคนาซีของเยอรมนีเป็นต้น

ขบวนการภาคประชาสังคมมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมการเมืองดังนี้
บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมโดยเป็นปฏิสัมพันธ์กับสังคมการเมืองอยู่โดยตลอดเวลาซ่อมเปลี่ยนแปลงทางสังคมการเมืองหลายยุคสมัยล้วนเกิดจากบทบาทของกระบวนการภาคประชาสังคมในทางกลับกันพัฒนาการเชิงบทบาทของกระบวนการภาคประชาสังคมไทยได้รับอิทธิพลจากพัฒนาการทางสังคมการเมืองด้วยเช่นเดียวกัน

14.2 บทบาทของกระบวนการภาคประชาสังคมในการพัฒนาการเมืองไทย

หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมจะเป็นการต่อต้านอำนาจรัฐของชุมชนท้องถิ่นที่ปรากฏในรูปของการรวมกลุ่มและส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มจากรัฐบทบาทของขบวนการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเมืองความชอบธรรมทางการเมืองและยังมีการรวมตัวกันโดยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้าในการพัฒนาการเมืองไปสู่ความทันสมัยเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพศ 2516 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของขบวนการภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวางอย่างไรก็ตามบทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมสะดุดหยุดลงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคมพ. ศ. 2519 ก่อนกลับมามีบทบาทและมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้นนับตั้งแต่พ. ศ. 2523 ในรูปแบบองค์กรพัฒนาเอกชนเหตุการณ์พฤษภาคมพ.ศ 2535 ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อความล้มเหลวของประชาธิปไตยแบบตัวแทนและกระแสการปฏิรูปการเมืองการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญพ.ศ 2540 เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดการเปิดพื้นที่ให้แก่การเมืองภาคประชาชนอย่างยิ่งขบวนการภาคประชาสังคมจึงมีความเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทต่อการสร้างเสถียรภาพ ความชอบธรรม ประสิทธิภาพประสิทธิผล และความทันสมัยทางการเมือง ความขัดแย้งระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งเป็นขบวนการภาคประชาสังคมที่มีความสำคัญกับรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ส่งผลต่อการก่อเกิดขบวนการภาคประชาสังคมในการต่อต้านขับไล่รัฐบาลในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำมาสู่การทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายนพ. ศ. 2549 และการร่างรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2550 จนเกิดกลุ่มต่อต้านในนามแนมร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และเกิดการต่อต้านขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในนามคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในพ. ศ. 2556 ถึง 2557

14.2.1 บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมจะเป็นการต่อต้านอำนาจรัฐของชุมชนท้องถิ่นที่ปรากฏในรูปของการรวมกลุ่มเช่นกบฏหมอลำน้อยชาดาพ.ศ 2479 กบฏนายสิงห์โตพ. ศ 2483 กบฏนายศิลา วงศ์สิน พ. ศ. 2502 และส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มจากรัฐ เช่น การเกิดขึ้นของระบบสหกรณ์ บทบาทของขบวนการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมือง และยังมีการรวมตัวกันโดยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้าในการพัฒนาการเมืองไปสู่ความทันสมัย เช่น คณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย

14.2.2 บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ.ศ 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคมพศ 2516 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกระบวนการภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น ขบวนการนิสิตนักศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเสถียรภาพ ความชอบธรรม และประสิทธิภาพ ประสิทธิผลทางการเมืองผ่านการร่างรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2517 อย่างไรก็ตาม บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมสะดุดหยุดลงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคมพ. ศ. 2519 ก่อนกลับมามีบทบาทและมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้นนับตั้งแต่พ. ศ. 2523 ในรูปแบบองค์กรพัฒนาเอกชน

14.2.3 บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมหลังเหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535
เหตุการณ์พฤษภาคมพ.ศ 2535 ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อความล้มเหลวของประชาธิปไตยแบบตัวแทนและกระแสการปฏิรูปการเมือง การเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2540 เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดการเปิดพื้นที่ให้แก่การเมืองภาคประชาชนอย่างยิ่ง ขบวนการภาคประชาสังคมจึงมีความเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทต่อการสร้างเสถียรภาพความชอบธรรมประสิทธิภาพประสิทธิผลและความทันสมัยทางการเมือง

14.2.4บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมช่วงความขัดแย้งทางการเมืองพ. ศ. 2548 ถึง 2557
ความขัดแย้งระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งเป็นขบวนการภาคประชาสังคมที่มีความสำคัญกับรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ส่งผลต่อการก่อเกิดขบวนการภาคประชาสังคมในการต่อต้านขับไล่รัฐบาลในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยนำมาสู่การทำรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายนพ.ศ 2549 และการร่างรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2550 จนเกิดกลุ่มต่อต้านในนามแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) และเกิดการต่อต้านขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในนามคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ในพ. ศ. 2556 ถึง 2557

บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475
หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองพ. ศ. 2475 บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมจะเป็นการต่อต้านอำนาจรัฐของชุมชนท้องถิ่นที่ปรากฏในรูปของการรวมกลุ่มเช่น กบฏหมอลำน้อยชาดา พ. ศ. 2479 กบฏนายสิงห์โต พ. ศ. 2483 กบฏนายศิลา วงศ์สิน พ. ศ. 2502  และส่วนหนึ่งเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มจากรัฐ เช่น การเกิดขึ้นของระบบสหกรณ์ บทบาทของขบวนการเหล่านี้เกี่ยวข้องกับเสถียรภาพทางการเมือง ความชอบธรรมทางการเมือง แล้วยังมีการรวมตัวกันโดยกลุ่มบุคคลที่มีความคิดก้าวหน้าในการพัฒนาการเมืองไปสู่ความทันสมัย เช่น คณะกรรมการสันติภาพแห่งประเทศไทย

บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516
เหตุการณ์ 14 ตุลาคมพ. ศ. 2516 ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของขบวนการภาคประชาสังคมอย่างกว้างขวาง เช่น ขบวนการนิสิตนักศึกษา ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาเสถียรภาพ ความชอบธรรม และประสิทธิภาพประสิทธิผลทางการเมืองผ่านการร่างรัฐธรรมนูญพ.ศ 2517 อย่างไรก็ตาม บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมสะดุดหยุดลงหลังเหตุการณ์ 6 ตุลาคมพ.ศ๒๕๑๙ก่อนกลับมามีบทบาทและมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้นนับตั้งแต่พ. ศ. 2523 ในรูปแบบองค์กรพัฒนาเอกชน

บทบาทของกระบวนการภาคประชาสังคมหลังเหตุการณ์พฤษภาคมพ.ศ 2535
เหตุการณ์พฤษภาคมพ. ศ. 2535 ส่งผลให้เกิดการตั้งคำถามต่อความล้มเหลวของประชาธิปไตยแบบตัวแทนและประแสการปฏิรูปการเมืองการเกิดขึ้นของรัฐธรรมนูญพ. ศ. 2540 เป็นส่วนสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้เกิดการเปิดพื้นที่ให้แก่การเมืองภาคประชาชนอย่างยิ่งขบวนการภาคประชาสังคมที่มีความเป็นสถาบันทางการเมืองที่มีบทบาทต่อการสร้างเสถียรภาพ/ความชอบธรรม/ประสิทธิภาพ/ประสิทธิผล/และความทันสมัยทางการเมือง

บทบาทของขบวนการภาคประชาสังคมช่วงความขัดแย้งทางการเมืองพ. ศ. 2548 ถึง 2557
ความขัดแย้งระหว่างองค์กรพัฒนาเอกชนซึ่งเป็นกระบวนการภาคประชาสังคมที่มีความสำคัญกับรัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ ชินวัตร ส่งผลต่อการก่อเกิดขบวนการภาคประชาสังคมในการต่อต้านขับไล่รัฐบาลในนามกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นมัสการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายนพ. ศ. 2549 และการร่างรัฐธรรมนูญพ.ศ 2550 จนเกิดกลุ่มต่อต้านในนามแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ(นปช.) แล้วเกิดการต่อต้านขับไล่รัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในนามคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข(กปปส.) ในพ. ศ. 2556 ถึง 2557

14.3 ปัญหาและอุปสรรคของขบวนการภาคประชาสังคมในการพัฒนาการเมืองไทย

การเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาสังคมในไทยมักถูกแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกในทุกยุคสมัยทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุนส่งผลให้ขบวนการภาคประชาสังคมแม่สามารถของรากลึกในสังคมและเชื่อมต่อกับประชาชนได้อย่างแท้จริงไม่ว่าจะเป็นในเรื่องระดับการมีส่วนร่วมที่ต่ำการถูกชี้นำโดยกลุ่มชนชั้นนำความอ่อนแอของขบวนการภาคประชาสังคมในเขตเมืองความน่าสนใจเข้าร่วมในกระบวนการภาคประชาสังคมเท่าที่ควรของกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจที่สูงการที่ผมคนสมัยใหม่เข้าร่วมในขบวนการภาคประชาสังคมน้อยและการถูกครอบงำจากแนวคิดการเมืองกระแสหลักแบบเก่าเป็นต้นเพราะต้นทุนทางสังคมของประชาสังคมของไทยเป็นต้นทุนทางสังคมที่ผูกพันกับลักษณะเครือญาติและลักษณะพรรคพวก(family and kinship) ที่เรียกว่า “สังคมถอยหลัง” (Backward Society) ที่เป็นสังคมก่อนสมัยใหม่และเอาองค์ประกอบนี้มาใช้รวมคนไม่ใช่รวมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมหนึ่งที่จะรวมกันเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของตัวเองแต่เป็นการรวมกันในเครือข่ายแบบเครือญาติ พรรคพวก เพราะมีความเป็นไทยปนอยู่ด้วย

14.3.1การแทรกแซงกระบวนการภาคประชาสังคมจากอำนาจรัฐและอำนาจทุน
การเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาสังคมในไทยมักถูกแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกในทุกยุคสมัยทั้งอำนาจรัฐและอำนาจทุนส่งผลให้ขบวนการภาคประชาสังคมแม่สามารถฝังรากลึกในสังคมและเชื่อมต่อกับประชาชนได้อย่างแท้จริง

14.3.2ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของขบวนการภาคประชาสังคม
การเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาสังคมในประเทศไทยตลอดช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าจะส่งผลให้ทางบวกต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยมากกว่าด้านลบแต่ในมิติด้านคุณภาพของกระบวนการภาคประชาสังคมไทยยังไม่เข้มแข็งเท่าใดนักไม่ว่าจะเป็นในเรื่องระดับการมีส่วนร่วมที่ต่ำการถูกชี้นำโดยกลุ่มชนชั้นนำความอ่อนแอของขบวนการภาคประชาสังคมในเขตเมืองความน่าสนใจเข้าร่วมในขบวนการภาคประชาสังคมเท่าที่ควรของกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจที่สูงการที่กลุ่มคนสมัยใหม่เข้าร่วมขบวนการภาคประชาสังคมน้อยและการถูกครอบงำจากแนวคิดการเมืองกระแสหลักแบบเก่าเป็นต้น

14.3.3ความสับสนของขบวนการภาคประชาสังคมในการพัฒนาการเมืองไทย
ขบวนการภาคประชาสังคมไทยแตกต่างจากขบวนการภาคประชาสังคมของตะวันตกคือต้นทุนทางสังคมของประชาสังคมของไทยเป็นต้นทุนทางสังคมที่ผูกพันกับลักษณะเครือญาติและลักษณะพรรคพวก (family and kinship) ที่เรียกว่า “สังคมถอยหลัง” (Backward Society) ที่เป็นสังคมก่อนสมัยใหม่และเอาองค์ประกอบนี้มาใช้รวมคนไม่ใช่รวมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมหนึ่งที่จะรวมกันเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของตนเองแต่เป็นการรวมกันในเครือข่ายแบบเครือญาติ พรรคพวก เพราะมีความเป็นไทยปนอยู่ด้วย

ปัญหาการแทรกแซงกระบวนการภาคประชาสังคมจากอำนาจรัฐและทุนที่มีต่อกระบวนการภาคประชาสังคมของไทย
การเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาสังคมในไทยมักถูกแทรกแซงจากปัจจัยภายนอกในทุกยุคสมัยทางอำนาจรัฐและอำนาจทุนส่งผลให้กระบวนการภาคประชาสังคมไม่สามารถฝังรากลึกในสังคมและเชื่อมต่อกับประชาชนได้อย่างแท้จริง

ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของขบวนการภาคประชาสังคมในประเทศไทย
การเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาสังคมในประเทศไทยตลอดช่วงที่ผ่านมาแม้ว่าจะส่งผลให้ทางบวกต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทยมากกว่าด้านลบแต่ในมิติด้านคุณภาพของกระบวนการภาคประชาสังคมไทยยังไม่เข้มแข็งเท่าใดนักไม่ว่าจะเป็นในเรื่องระดับการมีส่วนร่วมเพศต่างกันถูกชี้นำโดยกลุ่มชนชั้นนำความอ่อนแอของขบวนการภาคประชาสังคมในเขตเมืองความไม่สนใจเข้าร่วมในขบวนการภาคประชาสังคมเท่าที่ควรของกลุ่มคนที่มีสถานภาพทางสังคมเศรษฐกิจที่สูงการที่กลุ่มคนสมัยใหม่เข้าร่วมในขบวนการภาคประชาสังคมน้อยและการถูกครอบงำจากแนวคิดการเมืองกระแสหลักแบบเก่าเป็นต้น

ความสับสนของขบวนการภาคประชาสังคมในการพัฒนาการเมืองไทย
ขบวนการภาคประชาสังคมไทยแตกต่างจากกระบวนการภาคประชาสังคมของตะวันตกคือต้นทุนทางสังคมของประชาสังคมของไทยเป็นต้นทุนทางสังคมที่ผูกพันกับลักษณะเครือญาติและลักษณะพรรคพวกที่เรียกว่า “สังคมถอยหลัง” ที่เป็นสังคมก่อนสมัยใหม่ และเอาองค์ประกอบนี้มาใช้รวมคนไม่ใช่รวมกันในฐานะที่เป็นสมาชิกของสังคมหนึ่งที่จะรวมกันเพื่อปกป้องสิทธิทางการเมืองของตัวเอง แต่เป็นการรวมกันในเครือข่ายแบบเครือญาติ พรรคพวก เพราะมีความเป็นไทยปนอยู่ด้วย

หน่วยที่ 15 แนวโน้มของพัฒนาการทางการเมืองไทย

15.1 ความโน้มเอียงของแนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมือง

แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางการเมืองมีความโน้มเอียงที่เกี่ยวข้องไม่ใช่คำนึงถึงแต่เรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียวแต่การเปลี่ยนให้เป็นประชาธิปไตยต้องพิจารณากระบวนการทางการเมืองในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความตื่นตัวและความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม และการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมืองด้วย เพื่อความยั่งยืนของประชาธิปไตยและเสถียรภาพทางการเมืองและการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาล

15.1.1 ความโน้มเอียงในแนวคิดพัฒนาการทางการเมือง
พัฒนาการทางการเมืองเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติของการเมืองที่มีแนวคิดทางการเมืองที่แปรเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ระบบการเมืองของทุกประเทศจึงมิได้หยุดนิ่ง แต่พัฒนาทางการเมืองตลอดเวลา เพื่อการรักษาระบบการเมืองให้มั่นคงสืบไป

15.1.2 ความโน้มเอียงในแนวทางการศึกษาพัฒนาการทางการเมือง
พัฒนาการทางการเมืองมีแนวทางการศึกษา 3 แบบคือ  แบบประวัติศาสตร์เปรียบเทียบ แบบโครงสร้าง-หน้าที่ และแบบกระบวนการทางสังคม

15.1.3 ความโน้มเอียงในกระบวนการพัฒนาการทางการเมือง
กระบวนการพัฒนาการทางการเมืองเป็นกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนให้เป็นประชาธิปไตยที่ไม่คำนึงถึงแต่เรื่องการเมืองเพียงอย่างเดียว ถ้าต้องการคำนึงถึงสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอย่างแท้จริง จำเป็นต้องพิจารณากระบวนการทางการเมืองในการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความตื่นตัวและความเข้มแข็งของภาคประชาสังคม วัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วม และการสร้างความเป็นสถาบันทางการเมือง

15.1.4 ความโน้มเอียงในเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมือง
ความโน้มเอียงเป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองอยู่ที่ความยั่งยืนของประชาธิปไตย เสถียรภาพทางการเมือง และการบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาล

ลูเซียน พาย ได้สรุปความหมายของพัฒนาการทางการเมืองไว้ 10 ประการ
1 การเมืองที่จำเป็นต่อการปรับปรุงและพัฒนาเศรษฐกิจ
2 การพัฒนาระบบบริหารและกฎหมาย
3 การระดมประชาชนให้มีส่วนร่วมทางการเมือง
4 การพัฒนาระบอบประชาธิปไตย
5 ลักษณะหนึ่งของกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ความโน้มเอียงในแนวทางการศึกษาพัฒนาการทางการเมือง
แนวทางการศึกษาพัฒนาการทางการเมืองมีความโน้มเอียงที่จะศึกษาแบบประวัติศาสตร์เปรียบเทียบไปสู่การศึกษาแบบโครงสร้าง-หน้าที่ตามทฤษฎีระบบการเมือง และไปสู่การศึกษาพฤติกรรมทางการเมืองในกระบวนการทางสังคม

เป้าหมายของพัฒนาการทางการเมืองมีความโน้มเอียงที่จะสร้างความยั่งยืนของประชาธิปไตย สร้างเสถียรภาพทางการเมือง และบริหารจัดการภาครัฐอย่างมีธรรมาภิบาล

15.2 ความโน้มเอียงของพัฒนาการทางการเมืองไทย

พัฒนาการทางการเมืองไทยตั้งแต่ในสมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบอำมาตยาธิปไตยทำให้กลุ่มนักธุรกิจนายทุนเติบโตขึ้นภายใต้การอุปถัมภ์ของกลุ่มผู้นำข้าราชการที่เป็นนักการเมืองต่อมาได้เข้าสู่ยุคระบอบธนาธิปไตยที่กลุ่มผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่เติบโตจนสามารถเข้าสู่กระบวนการทางการเมืองด้วยตนเองใช้อำนาจเงินซื้อเสียง ซื้อตำแหน่งทางการเมือง เข้ายึดโครงการตัดสินใจในนโยบายต่างๆแต่ก็สร้างปัญหามากมาย โดยเฉพาะปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้ภาคประชาสังคมลุกขึ้นต่อต้านและนำไปสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างเป็นรูปประธรรม

15.2.1จากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สู่อำมาตยาธิปไตย
เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจล้มเหลวในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สมัยรัชกาลที่ 7ทำให้มีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำอำมาตย์ก่อการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยโดยหวังว่าจะสามารถกอบกู้ฐานะทางการคลังของประเทศไทยแต่กลับนำประเทศเข้าสู่ยุคอำมาตยาธิปไตยเพราะมีการปกครองบ้านเมืองโดยข้าราชการของข้าราชการและเพื่อข้าราชการ

15.2.2 จากอำมาตยาธิปไตยสู่ธนาธิปไตย
ระบอบอำมาตยาธิปไตยได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเสรีทั้งภาพพาณิชยกรรม เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม รวมทั้งพัฒนาสังคมให้มีความก้าวหน้าทันสมัยทำให้กลุ่มนักธุรกิจนายทุนเติบโตขึ้นมาด้วย ภายใต้การอุปถัมภ์คุ้มครองของกลุ่มผู้นำข้าราชการที่เป็นนักการเมือง การร่วมมือระหว่างกลุ่มผู้นำข้าราชการกับกลุ่มผู้นำธุรกิจนายทุนสามารถรักษาระบอบอำมาตยาธิปไตยได้ประมาณ 40 ปีก็เข้าสู่ยุคเสื่อมของอำมาตยาธิปไตย

15.2.3 จากธนาธิปไตยสู่ประชาธิปไตยแบบไทย
ระบอบธนาธิปไตยเป็นระบอบการปกครองที่ต่อเนื่องมาจากยุคอำมาตยาธิปไตยเพราะกลุ่มผู้นำธุรกิจรุ่นใหม่ที่ได้รับการอุ้มชูจากระบอบอำมาตยาธิปไตยได้เติบโตจนกล้าเข้าร่วมกระบวนการทางการเมืองด้วยตนเองใช้อำนาจเงินซื้อเสียง ซื้อตำแหน่งทางการเมือง เข้ายึดกรมการตัดสินใจในนโยบายต่างๆ จนสามารถเข้าครอบงำสัมปทานที่มีมูลค่าสูงได้เกือบทั้งหมด แต่ก็สร้างปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมตามมา โดยเฉพาะปัญหาการฉ้อราษฎร์บังหลวงทำให้ภาคประชาสังคมลุกขึ้นต่อต้านและนำประเทศเข้าสู่การปฏิรูปการเมืองอย่างเป็นรูปประธรรม

สาเหตุของความล้มเหลวของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และสาเหตุของความสำเร็จของการปฏิวัติพ. ศ. 2475
สาเหตุของความล้มเหลวของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เกิดจากการบริหารระบบไพร่ที่ไม่มีประสิทธิภาพตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีการแย่งชิงอำนาจทางการเมืองในชนชั้นปกครองอยู่บ่อยครั้งความระส่ำระสายของเจ้าขุนมูลนายทำให้การควบคุมระบบไพร่ไม่เป็นระเบียบ กำลังกองทัพก็ระส่ำระสายไปด้วยลักษณะเช่นนี้ต่อเนื่องมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจล้มเหลวในสมัยรัชกาลที่ 7 ทำให้มีการปลดข้าราชการออกเป็นจำนวนมากทำให้กลุ่มผู้นำอำมาตย์ก่อการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นประชาธิปไตยเป็นผลสำเร็จ

การก่อเกิดระบอบอำมาตยาธิปไตยภายหลังการปฏิวัติโดยคณะราษฎร รายการล่มสลายของระบอบอำมาตยาธิปไตย
หลังการปฏิวัติด้วยคณะราษฎรกลุ่มข้าราชการระดับสูงทั้งทางทหารและพลเรือนได้เข้าไปมีบทบาททางการเมืองในทุกเรื่องมีอำนาจในการตัดสินใจนโยบายของประเทศมีการปฏิบัติตามนโยบายของข้าราชการด้วยการครอบงำกิจการใหญ่น้อยของรัฐและสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มข้าราชการ
ตั้งแต่พ. ศ. 2510 เป็นต้นมากลุ่มผู้นำธุรกิจกลุ่มนี้เริ่มเข้ามามีอิทธิพลทางการเมืองเพิ่มมากขึ้นโดยเข้ามาเป็นสมาชิกพรรคการเมืองและเติบโตจนกลายเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรประกอบกับได้มีการต่อต้านสงครามเวียดนามโดยกลุ่มบุปผาชนอเมริกัน และแนวคิดนี้ได้ระบาดเข้ามาในประเทศไทยทำให้กลุ่มนิสิตนักศึกษามีการต่อต้านฐานทัพอเมริกันในประเทศไทยด้วย จนลุกลามศูนย์การต่อต้านระบอบเผด็จการทหารของไทยวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จึงประสบความสำเร็จในการโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตยที่ดำเนินมาถึง 40 ปี

ความเป็นมาของระบอบธนาธิปไตยและลักษณะของธนาธิปไตย
ระบอบอำมาตยาธิปไตยกลุ่มข้าราชการทหารและพลเรือนได้เข้ามาครอบงำทางการเมืองและได้ให้ความอุปถัมภ์แก่กลุ่มนักธุรกิจนายทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งให้แก่กลุ่มของตนแต่การเปิดโอกาสให้มีการพัฒนาทางการเมืองแบบประชาธิปไตยขึ้นเพื่อลดแรงกดดันทางสังคมการเมืองกลับทำให้กลุ่มนักธุรกิจนายทุนรุ่นใหม่มีโอกาสได้เข้ามามีอำนาจทางการเมืองแทนกลุ่มข้าราชการทหารและพลเรือนเดิมด้วยการทำให้การเมืองกลายเป็นธุรกิจโดยเริ่มจากการใช้เงินซื้อเสียงในเวลาที่มีการเลือกตั้งและเข้าดำรงตำแหน่งระดับรัฐมนตรีต่อมาจึงใช้ตำแหน่งทางการเมืองเป็นฐานในการทำธุรกิจและหาเงินจากการอนุมัติโครงการใหญ่ๆการเลือกตั้งจึงกลายเป็นส่วนหนึ่งของการลงทุนทางธุรกิจที่เรียกว่าธุรกิจการเมืองทำให้ระบอบการเมืองไทยเข้าสู่ยุคคณาธิปไตยตั้งแต่พ. ศ. 2516 ถึงพ.ศ 2556

15.3 ความโน้มเอียงของสถาบันทางการเมืองไทยกับพัฒนาการทางการเมืองไทย

สถาบันทางการเมืองไทยไม่ว่าจะเป็นสถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร สถาบันตุลาการ องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ สถาบันราชการ สื่อสารมวลชน พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์ และสถาบันทางสังคม ต่างมุ่งที่จะช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไทยไปสู่ระบอบประชาธิปไตยที่มั่นคงและยึดหลักธรรมาภิบาล

15.3.1 สถาบันพระมหากษัตริย์
ด้วยการยอมรับสภาพความเป็นประมุขของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญและการยอมรับการอยู่เหนือการเมืองของสถาบันพระมหากษัตริย์ตามแนวคิดกษัตริย์นิยมประชาธิปไตยนี้ได้มีส่วนเกื้อหนุนให้ประเทศไทยมีพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง

15.3.2 สถาบันนิติบัญญัติ
พัฒนาการทางการเมืองของสถาบันนิติบัญญัติไทยมีความโน้มเอียงไปสู่การเป็นรากฐานแห่งการใช้อํานาจอันชอบธรรมของฝ่ายรัฐบาลไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลระบอบประชาธิปไตยหรือรัฐบาลระบอบอำนาจนิยม

15.3.3 สถาบันบริหาร
พัฒนาการทางการเมืองที่สําคัญของสถาบันบริหารคือการบริหารราชการแผ่นดินภายใต้กฎหมายแม้นว่าจะได้ความชอบธรรมทางการเมืองจากการเลือกตั้งรัฐบาลก็ต้องทำตามรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด

15.3.4 สถาบันตุลาการ
สถาบันตุลาการมีความโน้มเอียงสู่การวางรากฐานวัฒนธรรมทางการเมืองแบบมีส่วนร่วมให้กับการเมืองภาคประชาสังคมและตอกย้ำความสำคัญของธรรมาภิบาลทางการเมืองของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

15.3.5 องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ
องค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีแนวโน้มที่จะประคับประคองการปกครองระบอบประชาธิปไตยโดยเฉพาะอย่างยิ่งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนในการเมืองภาคประชาสังคมตลอด 2 ทศวรรษที่ผ่านมา

15.3.6 สถาบันราชการ
สถาบันราชการไทยสามารถประคับประคองงานของบ้านเมืองไปได้ไม่ว่าจะเกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองอย่างไรแต่แนวโน้มของการจัดการภาครัฐแนวใหม่มีผลต่อการส่งเสริมการเมืองภาคประชาสังคมอย่างเห็นได้ชัด

15.3.7 สื่อสารมวลชน
สื่อสารมวลชนของไทยมีแนวโน้มที่จะส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองแบบประชาธิปไตยเมื่อสื่อสารมวลชนมีความเป็นสถาบันทางการเมืองมากขึ้นจึงกล้าที่จะเสนอข้อมูลข่าวสารทุกแง่มุมให้ประชาชนรับรู้อันเป็นการกระตุ้นการตระหนักรู้ถึงปัญหาบ้านเมืองอย่างต่อเนื่อง

15.3.8 พรรคการเมืองและกลุ่มผลประโยชน์
ปรากฏการณ์ของกลุ่มผลประโยชน์ทางสังคมหรือกลุ่มภาคประชาสังคมที่เติบใหญ่ขึ้นทุกขนาดมีส่วนช่วยกระตุ้นจิตสำนึกทางการเมืองของคนไทยมีให้ไหลไปตามกระแสทุนนิยมทางการเมืองของกลุ่มธนาธิปัตย์ นับเป็นพัฒนาการทางการเมืองที่ก้าวหน้าไปอีกก้าวหนึ่งในความเป็นประชาธิปไตย

15.3.9 สถาบันทางสังคม
ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อทางการเมืองที่เปลี่ยนผ่านจากระบอบธนาธิปไตยสู่ระบบสังคมการเมืองสารสนเทศย่อมเกิดการปะทะทางความเชื่อทางการเมืองระหว่างคนรุ่นเก่ากับคนรุ่นใหม่นำไปสู่ความขัดแย้งในความเชื่อทางการเมืองอย่างรุนแรงและสถาบันทางสังคมไทยได้วางรากฐานแนวคิดการมีคุณธรรมทางการเมืองไว้อย่างลึกซึ้งในคติธรรมทางการเมืองมีส่วนช่วยให้พัฒนาการทางการเมืองไทยเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ในอนาคต

สถาบันพระมหากษัตริย์มีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับบริบททางการเมืองไทยเน้นแนวคิดการพัฒนาประเทศการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของคนในชาติการเรียงความรักชาติและความมั่นคงของชาติซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการธำรงรักษาการปกครองระบอบประชาธิปไตยตั้งแต่พ. ศ. 2475

นอกเหนือจากการเป็นผู้ริเริ่มร่างกฎหมายสถาบันนิติบัญญัติยังมีหน้าที่เสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้สัตยาบันสนธิสัญญา ควบคุมการเก็บภาษี และการกำกับดูแลการบริหารงานภาครัฐ พัฒนาการทางการเมืองของสถาบันนิติบัญญัติไทยมีความโน้มเอียงไปสู่การเป็นรากฐานแห่งการใช้อํานาจอันชอบธรรมของฝ่ายรัฐบาล ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลระบอบอำนาจนิยมหรือระบอบประชาธิปไตย

ความโน้มเอียงของสถาบันบริหารในการพัฒนาการเมืองไทย
1 การพัฒนาสถาบันบริหารยังคงอยู่ภายใต้ระบบอุปถัมภ์
2 การพัฒนาสถาบันบริหารยังโน้มเอียงสู่การปฏิบัติหน้าที่ที่มีประสิทธิภาพต่ำและมีความโน้มเอียงจะเสียดุลยภาพทางการบริหารภาครัฐได้ง่าย
3 พฤติกรรมทางการเมืองของสถาบันบริหารมีความโน้มเอียงที่มุ่งแสวงหา รักษา รักษาผลประโยชน์เพื่อการต่อรองทางการเมือง

บทบาทของสถาบันตุลาการในการพัฒนาการทางการเมืองไทยจะมีความโน้มเอียงดังนี้
1 ถ่วงดุลในการปกครองระบอบประชาธิปไตยเพื่อสนับสนุนให้การปกครองแผ่นดินเป็นไปตามทำนองคลองธรรม
2 พิทักษ์รักษารัฐธรรมนูญตรวจสอบตีความวินิจฉัยกฎหมายต่างๆไม่ให้ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ
3 คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน
4 สนับสนุนธรรมาภิบาลทางการเมืองให้เกิดขึ้น

ในการพัฒนาทางการเมืองไทยองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญมีบทบาทในการพัฒนาการเมืองไทยดังนี้
1 บทบาทในการป้องกันการได้มาซึ่งอำนาจรัฐโดยมิชอบ
2 บทบาทในการป้องกันการใช้อำนาจรัฐในทางมิชอบ
3 บทบาทในการควบคุมการใช้อำนาจรัฐโดยมิชอบ
4 บทบาทในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ

แนวโน้มของสถาบันราชการที่มีต่อการพัฒนาการทางการเมืองไทย
1 สถาบันราชการยังคงรวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลางสูง
2 สถาบันราชการยังไม่เปิดใจการให้ภาคประชาสังคมได้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการภาครัฐอย่างจริงจัง
3 สถาบันราชการยังคงรวมศูนย์อำนาจด้านงบประมาณไว้ที่สำนักงบประมาณ
4 โครงสร้างของสถาบันราชการไทยยังคงมีขนาดใหญ่โต
5 ระบบธุรกิจการเมืองในช่วงธนาธิปไตยได้มีส่วนผลักดันให้ข้าราชการบางส่วนคล้อยตามต่อการทุจริตมิชอบในวงราชการ
6 สถาบันราชการยังคงมีวัฒนธรรมที่ยึดหลักอาวุโส

บทบาทของสื่อสารมวลชนในพัฒนาการทางการเมืองไทยช่วงอำมาตยาธิปไตยและในช่วงธนาธิปไตย
บทบาทของสื่อสารมวลชนในพัฒนาการทางการเมืองช่วงอำมาตยาธิปไตยเป็นไปในลักษณะของการเป็นเครื่องมือของรัฐบาลเพื่อสร้างความชอบธรรมทางการเมืองหรือสร้างการยอมรับของประชาชน
บทบาทของสื่อสารมวลชนในการพัฒนาการทางการเมืองไทยในช่วงคณาธิปไตยเป็นไปในลักษณะของเครื่องมือการตลาดทางการเมืองโดยนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเปรียบเสมือนเป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งที่นำเสนอต่อประชาชนที่มีสิทธิลงคะแนนเสียงเลือกตั้งมีการหาเสียงโดยผ่านสื่อต่างๆในลักษณะการสื่อสารการตลาดทางการเมือง

กลุ่มผลประโยชน์ในสมัยธนาธิปไตยมีบทบาทต่อพัฒนาการทางการเมืองดังนี้
ในสมัยธนาธิปไตยมีการรวมตัวของกลุ่มทุนทางเศรษฐกิจอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มผลประโยชน์ด้านการเงินและการธนาคาร ด้านธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ด้านตลาดทุนและตลาดหลักทรัพย์ ด้านพลังงาน ด้านสื่อสารมวลชน กลุ่มทุนเหล่านี้มุ่งแสวงหาอำนาจทางการเมืองเพราะต้องการคุ้มครองธุรกิจในเครือและต้องการควบคุมนโยบายเศรษฐกิจให้เป็นในทิศทางที่กลุ่มทุนต้องการในระยะแรกกลุ่มทุนจึงให้การสนับสนุนทางการเงินแก่พรรคการเมืองต่อมากลุ่มทุนได้พัฒนาเป็นการกดดันให้พรรคการเมืองแต่งตั้งบุคคลในกลุ่มของตนเป็นรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจที่สำคัญเพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับธุรกิจของกลุ่มทุนต่อมากลุ่มทุนบางกลุ่มได้พัฒนาไปถึงขั้นจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองโดยตรงเสียเองธุรกิจทางการเมืองจึงเกิดขึ้นในสมัยธนาธิปไตยนี้เอง

สถาบันทางสังคมที่มีบทบาทต่อพัฒนาการทางการเมืองไทยได้แก่ ครอบครัว วัด โรงเรียน

15.4 แนวโน้มของพัฒนาการทางการเมืองไทย

แนวโน้มของพัฒนาการทางการเมืองไทยที่สำคัญคือ ประชาชนจะมีส่วนร่วมทางการเมืองมากขึ้น มีการกระจายอำนาจระหว่างส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น ขบวนการภาคประชาชนจะมีบทบาททางการเมืองมากขึ้น

15.4.1 การมีส่วนร่วมทางการเมือง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในกระบวนการพัฒนาการทางการเมืองให้เป็นประชาธิปไตย ระบอบประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมเป็นส่วนขยายต่อของระบอบประชาธิปไตยแบบผู้แทน ซึ่งจะทำให้ลดอำนาจการปกครองโดยอภิชนคนชั้นสูงที่มีมานานในประวัติศาสตร์

15.4.2 การกระจายอำนาจ
การกระจายอำนาจเป็นเรื่องเกี่ยวกับการกระจายธรรมาภิบาลโดยการปรับโครงสร้างหรือการปรับองค์การใหม่เพื่อให้ระบบมีความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างสถาบันที่มีธรรมาภิบาลในส่วนกลางกับส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่นซึ่งการกระจายอำนาจมี 4 รูปแบบได้แก่ การมอบอำนาจหน้าที่ การแบ่งอำนาจ การแปรรูป และการถ่ายโอนอำนาจ

15.4.3 ขบวนการภาคประชาสังคม
ขบวนการภาคประชาสังคมหมายถึงความเคลื่อนไหวของกลุ่มบุคคลจำนวนหนึ่งเพื่อกระทำตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนกลุ่มบุคคลเหล่านี้มีผลประโยชน์ร่วมกันมีการใช้ความเชื่อและค่านิยมเป็นหลักในการรวมกลุ่มมากกว่าการใช้เหตุผลและมีขอบข่ายความร่วมมือที่กว้างขวางขบวนการภาคประชาสังคมมุ่งเน้นการเปลี่ยนแปลงทางสังคมซึ่งแตกต่างจากกลุ่มผลประโยชน์กลุ่มอิทธิพลและพรรคการเมืองที่มีจุดมุ่งหมายทางการเมืองเพื่อยึดถือครอบครองอำนาจรัฐ

แนวโน้มการมีส่วนร่วมทางการเมืองของคนไทยในพัฒนาการทางการเมืองไทยมีมากขึ้นตั้งแต่ทศวรรษที่ 2530 ขบวนการทางสังคมไทยได้เพิ่มการมีส่วนร่วมเพื่อจำกัดขอบเขตการใช้อำนาจของรัฐถ่วงดุลอำนาจรัฐเพื่อประชาสังคมแต่ไม่ยึดอำนาจรัฐดังจะเห็นได้จากขบวนการเคลื่อนไหวคนจนที่ผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาความขัดแย้งเกี่ยวกับทรัพยากรของชุมชน ดิน น้ำ ป่า เป็นต้น สมัชชาคนจนได้ต่อสู้เรียกอำนาจคืนมาจากผู้แทนเพื่อที่จะมาจัดความสัมพันธ์ทางอำนาจกันใหม่ระหว่างรัฐกับประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมตรวจสอบการทำงานของรัฐโดยผ่านกลไกและพื้นที่ทางการเมืองแบบใหม่

พัฒนาการทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของไทยที่เป็นการกระจายอำนาจระหว่างส่วนกลางกับท้องถิ่นมี 4 รูปแบบได้แก่
1 การมอบอำนาจหน้าที่ (Delegation)
2 การแบ่งอำนาจ (deconcentration)
3 การแปรรูป (Privatization)
4 การถ่ายโอนอำนาจ (devolution)

การเคลื่อนไหวของขบวนการภาคประชาสังคมในปัจจุบันมี 2 ลักษณะคือขบวนการภาคประชาสังคมที่สนับสนุนให้มีการเปลี่ยนแปลงทางสังคม กับขบวนการภาคประชาสังคมแนวอนุรักษ์นิยมที่ต่อต้านการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม

บริจากเพื่อเป็นกำลังใจให้เจ้าของบล็อคได้นะคะ

พัฒนาการประชาธิปไตยไทย สรุป

ขอขอบพระคุณเป็นอย่างสูงคร่าาา