บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

Show
วิธีเขียนเรซูเม่สมัครงานให้น่าสนใจพร้อมตัวอย่าง

ซึ่งใช้ในการสมัครงาน วัตถุประสงค์ของ RESUME ที่สำคัญ คือ การแนะนำตัวกับผู้ว่าจ้างดังนั้น RESUME จึงเป็นเอกสารสำคัญใน การนำเสนอตัวเองเพื่อการสมัครตำแหน่งงานที่ต้องการ

องค์ประกอบของ RESUME อาจแบ่งได้เป็น 7 ส่วน ดังนี้

  1. ประวัติส่วนตัว (Personal Information)
    1. ข้อมูลส่วนตัว ยศ/ตำแหน่ง ชื่อ-นามสกุล
    2. น้ำหนัก ส่วนสูง (จะมีหรือไม่มีก็ได้ แต่บางตำแหน่งต้องใช้)
    3. ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ e-mail address
    4. รูปถ่ายสุภาพ (ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องแบบ แต่ต้องแต่งกายและมีท่าทางสุภาพ)
  2. ประวัติการศึกษา (Education) (เรียงลำดับจากสูงสุด)
    1. ปริญญาเอก
    2. ปริญญาโท
    3. ปริญญาตรี (ถ้ามีเกียรตินิยม ใส่ด้วย)
    4. ประกาศนียบัตรทีผ่านหลักสูตรอบรม
    5. ทุนการศึกษา ที่ได้รับ หรือทุนวิจัยในระดับอุดมศึกษา
    6. ระดับมัธยมศึกษา
    7. ระดับประถมศึกษา
    หมายเหตุ ระดับมัธยมศึกษา และประถมศึกษา ไม่จำเป็นต้องใส่ก็ได้
  3. จุดมุ่งหมายในการทำงาน (Career Objective) กล่าวถึงความน่าสนใจของงานตำแหน่งงาน หรือเป้าหมายในการทำงานของผู้สมัคร ส่วนนี้อาจมีผลต่อการพิจารณาเงินเดือนและตำแหน่งงาน
  4. ประสบการณ์การทำงาน (Work Experience)
    1. ช่วงเวลา ตำแหน่งและบริษัทที่เคยร่วมงาน
  5. ช่วงเวลา ตำแหน่งและบริษัทที่เคยฝึกงาน
  6. ช่วงเวลา รายละเอียดงานที่เคยทำ
  7. ช่วงเวลา กิจกรรมสำคัญต่าง ๆ ที่เคยทำตอนเรียน เช่น งานอาสา งานออกค่าย โครงการประกวดไอเดียต่าง ๆ เป็นต้น
หมายเหตุ ควรลำดับช่วงเวลาจากปัจจุบัน ไปถึงอดีต
  • ทักษะและความสามารถพิเศษ (Skills)
    1. การใช้ภาษา (ควรบอกระดับว่า ดี ปานกลาง หรือพอใช้ได้)
    2. การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ
    3. การขับรถ
    4. ทักษะอื่น ๆ เช่น ดนตรี กีฬา งานอดิเรก เป็นต้น
    หมายเหตุ พิจารณาการระบุรายละเอียดตามตำแหน่งงานที่สมัคร
  • รางวัลแห่งความสำเร็จต่างๆ (Honors/ Awards)
    1. การประกวดแบบ
    2. การร่วมโครงการต่าง ๆ
    หมายเหตุ ควรลำดับช่วงเวลาจากปัจจุบัน ไปถึงอดีต
  • ระบุชื่อบุคคลที่สามารถรับรองหรือให้ข้อมูลให้กับบริษัทที่สมัครงาน
    โดยต้องระบุ ชื่อ-นามสกุล และช่องทางการติดต่อต่าง ๆ
    ส่วนใหญ่นักศึกษาจบใหม่ จะอ้างอิงถึงอาจารย์ หรือผู้ที่เคยทำงานแล้วสามารถอ้างอิงถึงผู้บังคับบัญชาในอดีตได้ แต่ไม่ควรอ้างอิงถึงบุคคลในครอบครัว
  • TRICK
    RESUME ที่ดี ควรกระชับและจบใน 1 หน้า หรือถ้ายาวมากก็ไม่ควรเกิน 2 หน้า
    ไม่จำเป็นต้องมีองค์ประกอบทั้งหมด 7 ส่วน ตัดออกได้
    RESUME คือ เครื่องมือในนำเสนอตัวเอง ดังนั้นจึงควรใส่ใจ และสร้างความน่าประทับใจใน RESUME

    ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.aecjoblisting.com/
    เรียบเรียงโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รุ่งรัตน์ เต็งเก้าประเสริฐ

    Highlight

    • ปี 2563 กลุ่ม Gen Z (คนที่เกิดในช่วงปี 1995 – 2009) จะเริ่มเข้ามาสู่ตลาดแรงงานในฐานะ First Jobber นั่นทำให้คนทำงานจะมีลักษณะนิสัย ทัศนคติในการทำงาน รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปจากคนทำงานรุ่นก่อน
    • เหตุผลที่คนรุ่นใหม่ลาออกไม่ใช่เพราะไม่มีความอดทน แต่เพราะ Gen Z มีทางเลือกอื่น มีโอกาสเจองานอื่นเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึง พื้นฐานทางครอบครัวของ Gen Z ดีขึ้น ทำให้พวกเขามีโอกาสมากขึ้น
    • ประสบการณ์ทำงานเป็นส่วนสำคัญที่สุดใน Resume เพราะเป็นพื้นที่ที่ Candidate ได้โชว์ของว่าเคยทำอะไรที่ไหนอย่างไร มีทักษะความสามารถและผลงานเด่น ๆ อะไรบ้าง ซึ่งกินพื้นที่หน้า Resume ไปกว่า 60 – 70% ทีเดียว
    • HR ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มองว่า สิ่งที่ HR มองหาไม่ใช่ระยะเวลาทำงานในแต่ละบริษัท แต่เป็นผลงานและทักษะที่ผู้สมัครคนนั้นสร้างขึ้น ซึ่งการสร้างผลงานและพัฒนาทักษะอาจเกิดในระยะเวลาอันสั้นได้ อยู่ที่ว่าผู้สมัครคนนั้นสามารถนำเสนอให้ HR เห็นได้หรือไม่
    • นี่จึงเป็นช่วงสำคัญที่เหล่าองค์กร ผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือแม้กระทั่ง HR ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ เพื่อที่ว่าบริษัทจะเลือกพนักงานใหม่เก่ง ๆ เข้ามาร่วมทีม ผ่านการดู “ทักษะความสามารถ” มากกว่า “ระยะเวลา” ในการทำงานนั่นเอง

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    ทุกครั้งที่บริษัทเปิดรับสมัครพนักงานใหม่ แน่นอนว่าย่อมมี Resume หรือ CV จำนวนมากส่งเข้ามาให้ฝ่ายทรัพยากรบุคคลได้เลือกสรร ซึ่งทุกคนล้วนต้องการโชว์ศักยภาพ ทักษะและความสามารถผ่านประสบการณ์ทำงานที่ระบุไว้

    แต่บางครั้ง HR ก็พบว่า Candidate รุ่นใหม่โดยเฉพาะเหล่ามิลเลนเนี่ยม Gen Y กระทั่งถึง Gen Z นั้น มักทำงานในองค์กรหนึ่ง ๆ ไม่นานก็ลาออก แถมบางคนยังคิดว่าทำงาน 1 ปีก็มากเพียงพอแล้ว ทำให้ประวัติการทำงานเต็มไปด้วยประสบการณ์ระยะเวลาสั้นๆ ในหลากหลายบริษัท

    นี่จึงเป็นคำถามสำคัญที่ HR NOTE.asia ชวนเหล่า HR Partner มาแสดงความคิดเห็นกันว่า ประสบการณ์ทำงานยังสำคัญอยู่ไหมในสายตา HR เมื่อคนรุ่นใหม่ทำงานไม่กี่ปีก็ลาออก 

    Contents

    • มุมมองประสบการณ์ทำงานของคนแต่ละช่วงวัย
        • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้
    • ทำไมคนรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อย
    • ประสบการณ์ทำงานคือส่วนสำคัญของ Resume เสมอ
    • ประสบการณ์ทำงานยังสำคัญอยู่ไหมในสายตา HR
      • อ.พลกฤต โสลาพากุล Coach & HROD Mentor Certified OKR Professional by The KPI Institute, Lead Auditor ISO
      • ปราโมทย์ ลาภธนวิรุฟห์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายแรงงานและการบริหารทรัพยากรบุคคล
      • ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร วิทยากรที่ปรึกษา & ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานHRM & HRD & Learning Development
        • HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 
      • คุณรังษี กอวิวัฒนาการ Head of HR Operations บริษัทค้าปลีก
      • ปราการ วงษ์จำรัส Assistant Chief Executive Officer Human Resources
      • โชติช่วง กังวานกิจมงคล HRBP บริษัทชั้นนำ และเจ้าของเพจ คุยกับ HR
    • วิธีป้องกันไม่ให้พนักงานรุ่นใหม่ลาออก
    • บทสรุป

    มุมมองประสบการณ์ทำงานของคนแต่ละช่วงวัย

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    ก่อนอื่น HR ต้องเข้าใจบริบทตลาดแรงงานเสียก่อน เมื่อศูนย์วิจัยกสิกรไทยได้ระบุว่า ปี 2563 กลุ่ม Gen Z (คนที่เกิดในช่วงปี 1995 – 2009) จะเริ่มเข้ามาสู่ตลาดแรงงานในฐานะ First Jobber กันแล้ว ซึ่งนั่นทำให้คนทำงานจะมีลักษณะนิสัย ทัศนคติในการทำงาน รวมถึงไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างไปจากคนทำงานรุ่นก่อนเป็นอย่างมาก

    เพราะกลุ่ม Gen Z มีความคุ้นเคยกับเทคโนโลยีเป็นอย่างดี มองเห็นคุณค่าของตัวเองและเชื่อในสิ่งที่มีข้อมูลรองรับแล้ว ทำให้ผลตอบแทนการทำงานในรูปตัวเงินที่สูงอาจไม่สามารถดึงดูดใจอีกต่อไป ทว่าความยืดหยุ่นในการทำงานจะเป็นสิ่งสำคัญที่จะรักษา Gen Z ให้พัฒนาและเติบโตไปกับองค์กรได้อย่างยั่งยืน 

    เช่นเดียวกับสถิติจาก Skillsolved ที่บอกว่า Gen Y หรือ Millenniums (คนที่ในช่วงปี 1977 – 1994) มองว่าการเปลี่ยนงานบ่อยเป็นเรื่องธรรมดา แถมเป็นเรื่องดีเสียด้วยซ้ำ เพราะทำให้ค้นพบประสบการณ์ใหม่ๆ และค้นหาตัวเองให้เจอได้เร็ว สวนทางกับคนทำงานกลุ่ม Baby boomer (คนที่ในช่วงปี 1946 – 1954) ที่ยังคงมองว่าควรทำงานอย่างน้อย 5-6 ปีขึ้นไปแล้วค่อยหางานใหม่นั่นเอง

    นี่จึงเป็นปัญหาเรื่องประสบการณ์ทำงานที่วงการ HR ทั้งในไทยและต่างประเทศกำลังเผชิญหน้ากันอยู่ ฉะนั้นแล้วผู้ประกอบการหรือนายจ้างจึงต้องศึกษาและเข้าใจถึงพฤติกรรมต่าง ๆ ของคนทำงานเพื่อให้องค์กรเติบโตไปอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ที่จำเป็นกำลังสำคัญของตลาดแรงงานในอนาคต

    คน Gen ไหนทำงานนานแค่ไหน

    ปลายปี 2021 CareerBuilder ได้ทำสำรวจระยะเวลาการทำงานของคนแต่ละ Gen ก่อนลาออกพบว่า

    • Gen Z มีค่าเฉลี่ยทำงาน 2 ปี 3 เดือน
    • Gen Y มีค่าเฉลี่ยทำงาน 2 ปี 9 เดือน
    • Gen X มีค่าเฉลี่ยทำงาน 5 ปี 2 เดือน
    • Baby Boomers มีค่าเฉลี่ยทำงาน 8 ปี 3 เดือน

    HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    Q: HR อย่างเราควรต้องมองผู้สมัครที่ทำงานสั้นๆ 3-4 เดือนอย่างไรดี

    เราในฐานะ Recruiter ควรจะมีมุมมองผู้สมัครเหล่านี้อย่างไร เราควรจะนับเอาประสบการณ์การทำงานสั้นๆ ที่เป็นท่อนๆ เล็กๆ เหล่านี้ของผู้สมัครงานมาต่อกันและนับเป็นประสบการณ์ทำงานรวมหรือไม่ เพราะนายจ้างส่วนใหญ่ก็จะมีการกำหนดระยะเวลาทดลองงานอยู่ที่ 4 เดือน ทำให้อดคิดไม่ได้ว่าหรือผู้สมัครเหล่านี้จะมีคุณสมบัติหรือลักษณะนิสัยบางอย่างที่มีปัญหาหรือไม่ หากรับเข้ามาจะออกไวเหมือนเดิมหรือเปล่า
    หากเป็นเพื่อนๆ จะตัดสินใจคัดผู้สมัครโรไฟล์ดีๆ คุณสมบัติตรงทิ้งไปเพียงเพราะเค้าเปลี่ยนงานบ่อยแบบนี้ไหมครับ และถ้าให้โอกาสพวกเขาได้เข้ามาสัมภาษณ์เราต้องตรวจสอบหรือถามอะไรเพิ่มเติมเป็นพิเศษระหว่างการสัมภาษณ์บ้างครับ

    A: มีเคสไม่น้อยทีเดียวที่ทำงานที่เก่าเพียง 3-4 เดือน แต่มาอยู่กับเราได้หลายปี และเป็น High Performer Candidate อีกด้วย

    ทั้งนี้ในการสัมภาษณ์งานไม่ว่าจะผู้สมัครแบบไหน สิ่งที่ต้องพิจารณาอย่างมากคือผลงาน ทักษะ และความเข้ากันได้กับวัฒนธรรมองค์กร ไม่ควรนับเป็นระยะเวลาที่ทำงานแต่ละที่เพราะในท้ายที่สุดระยะเวลาก็ไม่สามารถฟันธงคุณภาพผู้สมัครได้

    Mindset นี้คือสิ่งที่ Recruiter ควรจำขึ้นใจ และจะต้องถ่ายทอดให้ชัดเจนกับหัวหน้างานครับ,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    ทำไมคนรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อย

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    คำถามดังกล่าว HR NOTE.asia เคยได้คุยกับ คุณอภิชาติ ขันธวิธิ ผู้ทำงานในวงการ HR มาอย่างยาวนาน และเป็นผู้สร้างเพจ HR – The Next Gen ที่มียอดไลก์กว่าสามแสนคน เขากล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ Gen Z เปลี่ยนงานบ่อยเพราะเขามีทางเลือกเยอะ คนรุ่นนี้มีความคิดเกี่ยวกับการทำงานอย่างไร ไว้ว่า เหตุผลที่ลาออกไม่ใช่เพราะไม่มีความอดทน แต่เพราะ Gen Z มีทางเลือกอื่น มีโอกาสเจองานอื่นเพิ่มมากขึ้น รวมไปถึง พื้นฐานทางครอบครัวของ Gen Z ดีขึ้น ทำให้พวกเขามีโอกาสมากขึ้น

    “ในสมัย Gen X การจะลาออกจากที่นึงโดยที่ไม่รู้ว่าจะมีงานรองรับรึเปล่าเลยค่อนข้างน้อย จะออกก็ต่อเมื่อมีงานใหม่รองรับเท่านั้น แต่ Gen Z สามารถตัดสินใจลาออกจากที่ที่พวกเขามองว่าทำงานแล้วเขาไม่มีความสุขได้โดยที่ไม่ต้องมีงานใหม่รองรับ เพราะมีงานอื่นอีกมากมายที่เขาสามารถทำได้”

    ประโยคดังกล่าวสอดคล้องกับงานวิจัยเมื่อปี 2019 ของ World Economic Forum ที่สำรวจคนอาเซียนช่วงอายุ 15 – 35 ปี พบว่า เหตุผลสำคัญที่คนรุ่นใหม่ตัดสินใจเปลี่ยนงานมากที่สุดคือ โอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ รองลงมาคือเงินเดือน และความสมดุลชีวิตการทำงานหรือ Work Life Balance โดย 52.4% มองว่า การจะอยู่รอดในโลกการทำงานสมัยนี้จำเป็นต้องอัพเดทความรู้และทักษะใหม่อยู่เสมอ เพราะการ Reskill และ Upskill คือหัวใจสำคัญของการอยู่รอดในยุคใหม่นั่นเอง

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    ทำความรู้จัก Job Hopper

    Job Hopper คือคำที่ใช้เรียกกลุ่มผู้สมัครงานที่มีประวัติเปลี่ยนงานบ่อย ซึ่งแต่ละคนก็อาจมีเหตุผลที่แตกต่างกันไป โดยสามารแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้

    1. เปลี่ยนเพราะความจำเป็น เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ เช่น บริษัทปิดตัวหรือปรับโครงสร้างใหม่
    2. เปลี่ยนเพราะมองหาความท้าทายใหม่ มักเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในตำแหน่งเดิมที่ทำ เลยต้องการสิ่งที่ท้าทายตัวเองมากขึ้น
    3. เปลี่ยนเพราะยังหาตัวเองไม่เจอ ส่วนมากจะเป็น First Jobber ที่ยังค้นหาตัวตนอยู่
    4. เปลี่ยนเพราะมีปัญหาในที่ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นปัญหาจากการทำงาน หรือมีปัญหากับเพื่อนร่วม เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรไม่ได้
    5. เปลี่ยนเพราะอยากเพิ่มเงินเดือน เนื่องจากการเปลี่ยนงานทำให้เงินเดือนอัพเร็วกว่าการปรับฐานเงินเดือนประจำปี
    6. เปลี่ยนเพราะถูกไล่ออก นับเป็นกลุ่มที่มีปัญหาที่สุด เพราะไม่สามารถทำงานที่ได้รับมอบหมายได้ HR จึงต้องระวังคนกลุ่มนี้มากที่สุด

    ประสบการณ์ทำงานคือส่วนสำคัญของ Resume เสมอ

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    จะว่าไปแล้วในมุมมองของ HR ประสบการณ์ทำงานจะเป็นส่วนสำคัญที่สุดใน Resume สมัครงาน เพราะเป็นพื้นที่ที่ Candidate ได้โชว์ของว่าเคยทำอะไรที่ไหนอย่างไร มีทักษะความสามารถและผลงานเด่น ๆ อะไรบ้าง ซึ่งกินพื้นที่หน้า Resume ไปกว่า 60 – 70% ทีเดียว

    อย่างไรก็ตาม เคยมีสถิติบอกว่า ค่าเฉลี่ย HR จะอ่าน Resume แค่ 7 วินาที เท่านั้น! โดยจะตรวจดูได้ถึงความมั่นใจ, ความถูกต้อง, ความเป็นระเบียบ, ผลงานที่ผ่านมา รวมไปถึงความเป็นผู้นำผ่าน Resume ได้

    และถ้าเอาเฉพาะส่วนประวัติการทำงาน สิ่งที่ HR อยากรู้จริง ๆ คือ

    1. ผู้สมัครมีคุณสมบัติตรงกับตำแหน่งที่สมัครไหม
    2. ผู้สมัครมีประสบการณ์ทำงานงานตรงกับที่สมัครไหม
    3. ประสบการณ์ทำงานของผู้สมัครอยู่ในระดับใด (จูเนียร์ ซีเนียร์ หรือระดับบริหาร)
    4. ประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาเหมาะสมกับเงินเดือนเท่าไหร่

    ท้ายที่สุด สิ่งที่ช่วยกำหนดผู้สมัครให้ตรงโจทย์ที่เราต้องการ คงหนีไม่พ้นการเขียน Job Description หรือคำบรรยายลักษณะงานให้ชัดเจนว่าต้องคนที่ประสบการณ์แบบไหน เปรียบเสมือนหางเสือเรือที่จะนำพาเรือไปถูกทิศไม่หลงทาง และบริษัทก็จะได้ผู้สมัครที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

    ประสบการณ์ทำงานยังสำคัญอยู่ไหมในสายตา HR

    อ.พลกฤต โสลาพากุล Coach & HROD Mentor Certified OKR Professional by The KPI Institute, Lead Auditor ISO

    เราต้องทำความเข้าใจก่อน คำว่าคนรุ่นใหม่คือกลุ่มคนที่เติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยี ในโลกที่มีข้อมูลข่าวสารต่างเป็นจำนวนมาก อยากรู้อะไรก็สามารถหาได้จากอินเทอร์เน็ต ยิ่งในยุคดิจิทัลด้วยแล้ว ผมมองว่าคนรุ่นใหม่ต้องการความก้าวหน้าในหน้าที่การงานที่เร็วขึ้นไม่อยากใช้ระยะเวลานาน คนรุ่นใหม่อยากเรียนรู้หรือพัฒนาด้านใดก็จะมีช่องทางให้เขาได้เรียนรู้ได้เร็วขึ้น ชอบอิสระ โดยเฉพาะการทำงานในองค์กร ที่มีพื้นที่ให้พวกเข้าได้ใช้ทักษะความสามารถส่วนตัวในการทำงานได้อย่างเต็มที่ตอบโจทย์พวกเขา และเอื้ออำนวยความสะดวกให้กับคนเหล่านั้นไม่จำกัดกรอบความคิดจนเกินไป เขาก็สามารถอยู่ได้นานกว่า 1 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูว่าสภาพแวดล้อมที่พวกเขาเติบโตมานั้นต่างก็มีความเชื่อ และพฤติกรรมของแต่ละคนที่แตกต่างกันออกไป

    อย่างคนรุ่นใหม่ที่เติบโตมีพื้นฐานครอบครัวที่ดีหน่อย เช่น ที่บ้านมีกิจการของตนเอง บางคนก็เพียงต้องการออกมาหาประสบการณ์เพื่อลองใช้ชีวิตการเป็นลูกจ้างว่าเป็นอย่างไร แต่บางคนที่เติบโตมาในสภาพแวดล้อมที่ไม่สู้ดีนัก เช่น เกิดมาในฐานะยากจน คนกลุ่มนี้จะมีความคิดอีกแบบหนึ่ง คือต้องทำงานไปส่งเสียตนเองเรียนในระดับที่สูง เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิตตนเองและครอบครัว เมื่อมีเงินมากพอเขาก็จะออกไปทำกิจการของตนเองหรือในงานที่เขามีความฝันอยากจะทำ

    ผมมองว่าไม่ว่าจะคนรุ่นใหม่หรือรุ่นเก่าก็ล้วนมีเป้าหมายความสำเร็จเหมือนกัน แต่จะแตกต่างแค่ช่วงยุคสมัยแค่นั้นเอง และทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความชอบ และไลฟ์สไตล์ บางคนอาจจะทำงานมากกว่า 1 ปี ก็มีให้เห็นอยู่จำนวนมาก ผมมองที่พฤติกรรมและความชอบของแต่ละคนมากกว่า ไม่อยากใช้ความเชื่อ หรือแค่ได้ยินมา หรือเพียงแค่งานวิจัย เพราะสุดท้ายอยู่ที่ตัวเขา และองค์กรที่พวกเขาอยู่ด้วยว่าเป็นอย่างไร

    ปราโมทย์ ลาภธนวิรุฟห์ ที่ปรึกษาด้านกฎหมายแรงงานและการบริหารทรัพยากรบุคคล

    ในมุมมองด้านการสรรหาของ HR ประสบการณ์ของผู้สมัครงานมีผลต่อการคัดเลือกในการเข้ามาทำงานนั้นค่อนข้างสำคัญในตำแหน่งที่ต้องใช้ความรู้ความสามารถ หรือทักษะความชำนาญเฉพาะทาง และนอกเหนือไปกว่านั้นในบางสายอาชีพอาจจะต้องมีการสั่งสมประสบการณ์เป็นระยะเวลานานถึงจะเข้าใจกระบวนการได้อย่างถ่องแท้

    ผู้สมัครงานที่มีประวัติการทำงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่งในระยะเวลาสั้น ๆ แล้วเปลี่ยนงานบ่อย ๆ หรือมีอายุงานไม่ถึง 1 ปี ในบางสายงานอาจจะไม่มีผลกระทบต่อการพิจารณาคัดเลือกในการเข้าทำงาน  ถ้าเป็นงานที่ไม่มีความซับซ้อน

    สำหรับในบางตำแหน่งที่มีความสำคัญซึ่งนอกเหนือจากความรู้และทักษะแล้ว ต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงานเป็นอย่างมาก ซึ่งในกระบวนการคัดเลือกจะมีการกำหนดคุณสมบัติของผู้สมัครงาน (Job Specification) เช่น การศึกษา ทักษะประสบการณ์ตรงในงาน เพื่อใช้ในการพิจารณาคัดเลือกรวมถึงการพิจารณากำหนดการจ่ายค่าจ้างให้เหมาะสม

    และหลังจากที่ผู้สมัครงานได้เข้ามาเป็นบุคลากรในองค์กรแล้ว ก็จะมีการกำหนด Career path ไว้ในการพัฒนาพนักงานเพื่อความก้าวหน้าในสายอาชีพ รวมถึงซึ่งทางองค์กรอาจให้ความไปถึงการรักษาพนักงานในแง่มุมมองของ Employee Engagement เพราะคงไม่มีองค์กรใดต้องการให้มีการ Turnover ในตำแหน่งงานที่สำคัญ ถ้าหากพบว่ามีการเปลี่ยนงานบ่อย ๆ หรือมีอายุการทำงานสั้น ๆ อาจจะไม่ได้รับการพิจารณาในการคัดเลือกอีกด้วย

    ดร.เบ็ญจวรรณ บุญใจเพ็ชร วิทยากรที่ปรึกษา & ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบงานHRM & HRD & Learning Development

    HR มองประสบการณ์การทำงาน ว่าเป็นหนึ่งในคุณสมบัติของผู้มาสมัครงาน ทั้งนี้จะพิจารณาตำแหน่งงานที่รับสมัครด้วย

    การรับคนรุ่นใหม่เข้าทำงาน “เรื่องประสบการณ์การทำงานมองว่าไม่ใช่เรื่องสำคัญ”  ในกระบวนการสรรหา ด้วยเหตุผลคือ ทักษะในการทำงานจริงสามารถเรียนรู้ ฝึกฝนได้ การสรรหาจะใช้หลักการ CBI- Behavior Interview (การสัมภาษณ์เชิงวัดพฤติกรรม) เข้ามาช่วย เพื่อพิจารณาเรื่อง Competency Soft Skill & Power Skill เช่น วิธีคิด ทัศนคติ ความมุ่งมั่นตั้งใจ พลังบวกในตนเอง ซึ่งผู้สัมภาษณ์ต้องมีประสบการณ์พอสมควร เมื่อได้คนที่ใช่เข้ามาร่วมงานแล้ว ก็เป็นหน้าที่ขององค์กร “จะทำอย่างไรให้คนรุ่นใหม่ทำงานอยู่กับองค์กรได้นาน” เพื่อลดปัญหาที่ได้ยินกันบ่อย ๆ ว่าคนรุ่นใหม่ไม่อดทน ไม่ชอบอยู่ในกฎเกณฑ์ รักอิสระ เช่น ความท้าทายของงาน มีการ Coaching & On boardingให้ความรู้ฝึกทักษะอย่างชัดเจน มีโอกาสความก้าวหน้า และอื่น ๆ

    HR มีข้อสงสัยหรือคำถามเกี่ยวกับประเด็นนี้ 

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    Q: คิดอย่างไรกับแนวคิดการจ้างงานยุคใหม่ที่ว่า “hire for mindset and train for skills

    ความหมายของมันจะประมาณว่าการจะจ้างให้ดูที่ Mindset ก่อนเป็นลำดับแรกว่าเป็นไปในทางเดียวกับที่เราต้องการไหม เพราะยังไงสมัยนี้ความรู้ก็ตกยุคไวมาก ในเรื่องของ Skills หรือทักษะสามารถเข้ามาฝึกฝนเรียนรู้กันที่หลังกันได้ เพื่อนๆ คิดอย่างไรกับแนวคิดการจ้างแบบนี้คะ

    A: เห็นด้วยครับ โดยส่วนตัวเป็นคนที่มีความเชื่อว่า Mindset เกิดจากการหล่อหลอมมาจากอดีต จากสถาบันครอบครัว หรือ สังคมรอบข้าง

    ซึ่งไม่สามารถเปลี่ยนได้โดยใช้เวลาอันสั้น Recruiter shapes company culture เพราะลักษณของผู้สมัครที่เราส่งให้ผู้สัมภาษณ์เลือกนั้นจะส่งผลถึงคนที่ต้องทำงานร่วมกับเขา เป็นหัวหน้าเขา เป็นลูกน้องเขา เช่น,,, (คลิกดูคำตอบทั้งหมด👇)

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    คุณรังษี กอวิวัฒนาการ Head of HR Operations บริษัทค้าปลีก

    มุมมองคนรุ่นใหม่บางคนมองว่ากรอบเวลา 1 ปี เพียงพอแล้วกับการเรียนรู้และ move on คำถามคือบริษัทมากกว่าหากได้คนรุ่นใหม่ ไฟแรง ทำงานเก่ง กรอบ 1 ปีก็อาจจะทำให้เขาไม่อยากทำต่อ แต่เขาไม่อยากทำงานต่อเพราะงานปัจจุบันหมดความท้าทายหรือไม่ เป็นคำถามที่บริษัทต้องหาคำตอบว่าทำไมเขาถึงอยากออก

    หากบริษัทมีงานที่ท้าทายอย่างต่อเนื่อง กรอบเวลาที่ว่าอาจไม่ใช่ 1 ปี แต่อาจจะเป็น 2 หรือ 3 ปีก็ได้ หากคนรุ่นใหม่เขาได้เปลี่ยนความท้าทายใหม่ ๆ ในองค์กร อาจจะทุก ๆ 6 เดือนเปลี่ยนหน้าที่การทำงาน เหมือน Management Trainee กว่าจะรู้ตัวก็ผ่านไป 2-3 ปีก็เป็นได้

    เรื่องกรอบเวลาเป็นเพียงตัวเลข หากเวลา 1 ปีที่คนรุ่นใหม่ทำงานให้บริษัทอย่างเต็มที่สุดความสามารถ สิ่งที่ได้กลับมาอาจจะมากกว่าเวลา 3 ปีของอีกคนก็ได้ ไม่สำคัญว่าเขาทำงานกับเรานานแค่ไหน แต่สำคัญว่าในช่วงเวลาที่บริษัทมีเขา เขาเต็มที่กับเรา และบริษัทได้ให้เขาแสดงศักยภาพมากน้อยแค่ไหนมากกว่า

    ปราการ วงษ์จำรัส Assistant Chief Executive Officer Human Resources

    การเปลี่ยนงานของเด็กรุ่นใหม่ ในมุมมองของผมในฐานะ Recruiter คิดว่า ค่อนข้างน่ากังวลในตัวผู้สมัครมากพอสมควร เนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น รับแล้วน้องจะอยู่กับเรานานไหม? น้องมีปัญหาอะไรรึเปล่าถึงเปลี่ยนงานบ่อย? น้องอยากทำงานแบบไหนกันแน่? แต่เมื่อมาพิจารณาอย่างเป็นกลางและเข้าใจเด็กรุ่นใหม่ให้มากขึ้น ให้โอกาสมากขึ้น จะต้องพิจารณาเพิ่มเติมจากสายงานหรือความสามารถในกลุ่มงานที่น้องได้ทำ

    ผมพบว่า ถ้าเด็กรุ่นใหม่มาทำงานสาย Business Development, บัญชี, HR, Marketing สายงานเหล่านี้ไม่ควรเปลี่ยนงานบ่อยโดยเฉพาะช่วง 1-2 ปี แต่สายงาน IT กลุ่ม Developer ต่าง ๆ ผมถือว่าเป็นเรื่องปกติ เด็กรุ่นใหม่กลุ่มนี้ ค่อนข้างเก่ง และสามารถเลือกในวัฒนธรรมองค์กรที่ตนเองชอบ รวมถึงลักษณะธุรกิจใหม่ที่ตนเองสนใจ และเมื่อเจอทางเลือกใหม่ ๆ ก็จะตัดสินใจเปลี่ยนงานทันที เพราะมีปัจจัยที่รองรับคือ ไม่ว่างงานนาน เพราะตลาดต้องการ

    ดังนั้นการที่เด็กรุ่นใหม่เปลี่ยนงานบ่อย ในบทบาทของ HR Recruiter ควรให้โอกาสเพิ่มเติมในการพิจารณาจากกลุ่มงานของเด็กรุ่นใหม่ที่เปลี่ยนงานบ่อยด้วย ซึ่งจากปัจจัยที่กล่าวมาจะสะท้อนกลับมาถึงลักษณะวัฒนธรรมในองค์กรของเราด้วยเหมือนกันว่า เด็กรุ่นใหม่ทำงานไม่ได้นานเพราะไม่มีความอดทน ไม่มีความสามารถ หรือ วัฒนธรรมองค์กรของเรามีปัญหากับเด็กรุ่นใหม่ 

    โชติช่วง กังวานกิจมงคล HRBP บริษัทชั้นนำ และเจ้าของเพจ คุยกับ HR

    สิ่งที่ HR มองหาจริง ๆ แล้วไม่ใช่แค่ประสบการณ์ แต่คือผลงานที่เกิดขึ้น รวมไปถึงทักษะ

    ภาพจำหรือความเข้าใจก่อน ๆ ที่ว่า คนที่ทำงานกับองค์กรนานน่าจะเป็นผู้สมัครที่ดีมีที่มาจากผลงานเช่นกัน เพราะอยู่นานกว่าย่อมต้องมีโอกาสสร้างผลงานมากกว่า และมีโอกาสพัฒนาทักษะได้มากกว่า คือไม่ต้องเสียเวลาปรับตัวกับที่ทำงานใหม่หรือเรียนรู้องค์กรใหม่ ๆ เพราะเปลี่ยนงาน

    ดังนั้นสิ่งที่ HR มองหา (และควรมองหา) ไม่ใช่ระยะเวลาทำงานในแต่ละบริษัทแต่เป็นผลงานและทักษะที่ผู้สมัครคนนั้นสร้างขึ้น ซึ่งการสร้างผลงานและพัฒนาทักษะอาจเกิดในระยะเวลาอันสั้นได้ อยู่ที่ว่าผู้สมัครคนนั้นสามารถนำเสนอให้ HR เห็นได้หรือไม่เท่านั้น

    ผู้สมัครมีประสบการณ์ แต่เป็นไปได้ที่จะไม่มีผลงาน

    ผู้สมัครที่มีผลงาน เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่มีประสบการณ์

    วิธีป้องกันไม่ให้พนักงานรุ่นใหม่ลาออก

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    ถ้าเราไม่อยากให้พนักงานรุ่นใหม่ลาออก เราต้องเข้าใจความต้องการในการทำงานของพวกเขาเสียก่อน เมื่อสิ่งที่ Gen Z มองหาในองค์กรคือ อยากทำในองค์กรที่มั่นคง, อยากมี Work Life Balance ที่ดี และอยากมีอิสระในการทำงาน

    กล่าวโดยย่อ สิ่งที่คนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับการทำงานคือ

    • ค่านิยมองค์กรว่าบริษัททำงานอย่างไร และทำงานเพื่อใคร ซึ่งคนรุ่นใหม่คาดหวังให้องค์กรมีความโปร่งใสในการสื่อสารเสมอ
    • Work Life Balance ความสมดุลระหว่างชีวิตและการทำงาน รวมไปถึงทางเลือกในการทำงานทางไกลได้
    • องค์กรยอมรับวัฒนธรรมอันหลากหลาย ทั้งเชื้อชาติ ชาติพันธุ์ อายุ อัตลักษณ์ทางเพศ ฯลน และคนรุ่นใหม่จะไม่อยากทำงานกับองค์กรที่บริหารแบบบนลงล่างอย่างเดียว
    • สวัสดิการที่ดี ไม่ว่าจะเป็นผลประโยชน์ทางสุขภาพ การเงิน โอกาสการก้าวหน้า และโอกาสในการเรียนรู้

     และสิ่งที่คนรุ่นใหม่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับการทำงานคือ

    • การทำงานที่ไร้จุดหมาย รวมไปถึงสวัสดิการที่คนรุ่นใหม่มองว่าไม่มีประโยชน์ เช่น โต๊ะปิงปอง เมื่อพวกเขาสนใจทำงานที่ไหนก็ได้มากกว่า
    • การให้คุณค่าเพียงแค่ลมปาก เช่น การบอกว่ายอมรับความหลากหลาย แต่พอทำงานจริงแล้วไม่เป็นเช่นนั้น
    • สวัสดิการที่เน้นเฉพาะการเกษียณอายุ เมื่อพวกเขาไม่ได้ต้องการทำงานที่เดียวไปจนเกษียณ แต่ต้องการความเป็นอยู่ที่ดีมากกว่า
    • วัฒนธรรมองค์กรที่ไร้เหตุผล โดยเฉพาะแนวคิดที่ว่า “นี่คือสิ่งที่องค์กรของเราทำมาโดยตลอด” คนรุ่นใหม่จะต่อต้านและต้องการเปลี่ยนแปลงมัน

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    บทสรุป

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    เพราะคนรุ่นใหม่คือกำลังสำคัญในตลาดแรงงานแห่งอนาคต นี่จึงเป็นช่วงสำคัญที่เหล่าองค์กร ผู้ประกอบการ นายจ้าง หรือแม้กระทั่ง HR ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจทัศนคติเกี่ยวกับการทำงานที่เปลี่ยนไปของคนรุ่นใหม่ เพื่อที่ว่าบริษัทจะเลือกพนักงานใหม่เก่ง ๆ เข้ามาร่วมทีม ผ่านการดู “ทักษะความสามารถ” มากกว่า “ระยะเวลา” ในการทำงาน

    เพราะประสบการณ์ทำงานไม่ได้วัดที่เวลาอย่างเดียว

    คุณกำลังมองหาพนักงานที่ใช่อยู่หรือเปล่า?

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    SourcedOut แพลตฟอร์มดิจิทัลที่เชื่อมบริษัทกับนักสรรหามืออาชีพโดยตรง

    ช่วยลดต้นทุนในการสรรหากว่า 30% – 50% เมื่อเทียบกับบริษัทจัดหางานทั่วไป

    ไม่มีการจ้างงานเพิ่ม ไม่มีค่าธรรมเนียม และไม่มีความเสี่ยง!

    คลิกด้านล่างเพื่อประกาศหางานกับ SourcedOut ได้เลย!

    บรรยาย ประสบการณ์การ ทำงาน

    ที่มา 

    • finance.yahoo
    • businessinsider
    • adecco
    • resume
    • launchways
    • forbes