ตารางคํานวณค่าเสื่อมราคา excel อปท 2564

บทความนี้ เราจะมาดูในเรื่องของการคิดค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินกันนะค่ะ เนื่องจากทรัพย์สินถาวรเป็นบัญชีที่มีความพิเศษกว่าบัญชีทรัพย์สินอื่น ๆ เช่น วัตถุดิบหรือสินค้าคงเหลือ นั่นคือ ทรัพย์สินถาวรมีการเสื่อมสภาพ และสามารถนำค่าที่เกิดจากการเสื่อมสภาพมาบันทึกเป็นค่าใช้จ่ายของกิจการได้  ในโปรแกรม Express คุณสามารถบันทึกรายการทรัพย์สินทั้งหมดที่คุณครอบครองอยู่ ซึ่งโปรแกรมจะคำนวณค่าเสื่อมราคาและบันทึกบัญชีให้โดยอัตโนมัติ บางท่านอาจจะยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับวิธีการคำนวณค่าเสื่อมของตัวโปรแกรมใน แต่ละวิธี ว่ามีหลักการในการคำนวณในรูปแบบไหน  จึงขออธิบายหลักการในการคำนวณค่าเสื่อมราคาทรัพย์สินในแต่ละวิธี ดังนี้
1. วิธีเส้นตรง (Straight-Line Method)

คิด ค่าเสื่อมโดยเอาอายุการใช้งานเป็นจำนวนปีมาหาร  ทำให้ได้ค่าเสื่อมราคาเท่ากันทุกปี เป็นวิธีที่นิยมใช้กัน ตัวอย่างเช่น  คอมพิวเตอร์มูลค่า 10,100.-  มูลค่าซาก 100.-  อายุการ
ใช้งาน 5 ปี ดังนั้นอัตราค่าเสื่อม = 100/5 = 20.00% ค่าเสื่อมราคา จะเป็นดังนี้

ตารางคํานวณค่าเสื่อมราคา excel อปท 2564

โปรแกรมจะคำนวณโดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้
(ราคาซื้อ - ราคาซาก) *  %อัตราค่าเสื่อม

กรณีคิดค่าเสื่อมรายเดือน
ถ้าเป็นกรณีที่คำนวณค่าเสื่อมราคาเป็นรายเดือน แล้ววันที่ซื้อหรือวันที่เริ่มคำนวณค่าเสื่อม อยู่ระหว่างเดือน (คือ ไม่ได้คิดค่าเสื่อมราคาทั้งเดือน) โปรแกรมจะคำนวณโดยใช้สูตรการคำนวณดังนี้
(ราคาซื้อ - ราคาซาก) *  %อัตราค่าเสื่อม / จำนวนวันทั้งหมดในปีนั้น * จำนวนวันในเดือนที่คิดค่าเสื่อมราคานั้น
ตัวอย่าง  เช่น  ซื้อคอมพิวเตอร์ วันที่ 15/01/50 เริ่มใช้วันที่ 15/01/50 ราคา 25,000 บาท ราคาซาก 1 บาท  อายุการใช้งาน 5 ปี  อัตรา 20% ดังรูป

ตารางคํานวณค่าเสื่อมราคา excel อปท 2564

โปรแกรมจะคำนวณค่าเสื่อมของเดือนแรกที่มีการซื้อดังต่อไปนี้
(25,000 -1) *20% / 365 *17 = 232.87  แสดงให้เห็นดังรูป

ตารางคํานวณค่าเสื่อมราคา excel อปท 2564

2.  วิธีลดยอด (The Constant Percentage of Declining Book-Value Method)

หรือเรียกเต็มๆ  ว่า วิธีอัตราคงที่ของราคาตามบัญชีที่ลดลง วิธีนี้จะคำนวณหาอัตราค่าเสื่อมราคาที่คงที่ไว้ แล้วนำอัตรานั้นมาคูณกับราคาตามบัญชี ณ วันต้นรอบบัญชีของปีนั้นๆ เพื่อให้ได้ค่าเสื่อมประจำปี
สูตรการหาอัตราค่าเสื่อมราคาคงที่   =   100 x (1 - รากที่ n ของ (ราคาซาก/ราคาทุน))
โดยที่  n = จำนวนปี
ตัวอย่างเช่น
เครื่องจักรมูลค่า 10,100.-     มูลค่าซาก 100.-   อายุการใช้งาน 5 ปี

ดังนั้นอัตราค่าเสื่อมราคาคงที่    = 100 x (1 – รากที่ 5 ของ (100/ 10,100))
                                      = 100 x (1 - .397))
                                      = 60.27

ค่าเสื่อมแต่ละปีจะเป็นดังนี้

ตารางคํานวณค่าเสื่อมราคา excel อปท 2564

** หมายเหตุ : การคำนวณด้วยวิธีนี้ หากราคาซากกำหนดไว้น้อย  จะมีผลทำให้เปอร์เซ็นอัตราค่าเสื่อมสูงขึ้นมาก  ดังนั้นจึงควรกำหนดราคาซากให้เหมาะสมตามจริง (ไม่ใช่กำหนดเป็น 1 บาท)

3.  คิดค่าเสื่อมต่อปีเอง

เป็นการคิดค่าเสื่อมจากผลผลิต หรือ ชั่วโมงทำงาน  วิธีนี้โปรแกรมจะไม่คำนวณค่าเสื่อมให้ คุณจะต้องป้อนตัวเลขค่าเสื่อมราคาเข้าไปเอง โดยคลิกที่แท็บค่าเสื่อมรายเดือน , คลิกปุ่มแก้ไข แล้วป้อนค่าเสื่อมแต่ละงวดเข้าไปเอง

การคิดค่าเสื่อมในกรณีพิเศษต่างๆ
1.  ค่าเสื่อมเบื้องต้น
นอกจากการคิดค่าเสื่อมตามวิธีการข้างต้นแล้ว  ตามกฎหมายใหม่ พระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่395)  ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 27 มกราคม 2545  เป็นต้นไป  กำหนดให้ทรัพย์สินบางประเภท สามารถหักค่าเสื่อมเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินมา ในอัตราต่อไปนี้

คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ (ไม่รวมโปรแกรม)       40%    ส่วนที่เหลือให้หักได้ใน 3 ปี
อาคารโรงงาน หักเบื้องต้นได้                        25%    ส่วนที่เหลือให้หักได้ใน 20 ปี
เครื่องจักรและอุปกรณ์หักได้                         40%    ส่วนที่เหลือให้หักได้ใน 5 ปี

ทั้งนี้เฉพาะธุรกิจขนาดเล็กและกลาง ที่มีทรัพย์สิน(ไม่รวมที่ดิน) ไม่เกิน 200 ล้าน และมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน ดังนั้นค่าเสื่อมราคาที่คิดในปีแรกของทรัพย์สินเหล่านี้ จะประกอบด้วยค่าเสื่อม 2 ยอดคือ
            1. ค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น คือ (ราคาซื้อ X เปอร์เซ็นที่หักได้)
            2. ค่าเสื่อมราคาที่คิดใช้ในปี

จึงต้องมีการกำหนดให้ป้อนค่าเสื่อมราคาเบื้องต้น ที่คำนวณเป็นเงินแล้วในช่องค่าเสื่อมเบื้องต้นเอาไว้ด้วย  เพื่อโปรแกรมจะนำไปใช้ในการคำนวณค่าเสื่อมราคาส่วนที่เหลือให้เอง และเมื่อปิดประมวลผลสิ้นปีโปรแกรมจะนำยอดค่าเสื่อมหรือค่าสึกหรอในปีนั้น บวกด้วยค่าเสื่อมเบื้องต้น เพื่อบันทึกเป็นยอดค่าเสื่อมสะสมยกมาปีใหม่ (แต่โปรแกรมจะไม่ลบยอดค่าเสื่อมเบื้องต้นนี้ทิ้ง  เพราะว่าในปีถัดไปจะเก็บไว้คำนวณมูลค่าทรัพย์สิน  ดังนั้นห้ามลบยอดเงินในช่องนี้ออกค่ะ)

2.  ทรัพย์สินที่ถูกจำกัดการคำนวณค่าเสื่อม

กรณี ทรัพย์สินที่นำมาบันทึก เป็นทรัพย์สินที่ถูกจำกัดการคำนวณค่าเสื่อมราคาตามกฎหมาย  เช่น รถยนต์ที่มีมูลค่าเกิน 1 ล้านบาท ซึ่งตามกฎหมายจะยินยอมให้คำนวณค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าได้ไม่เกิน 1 ล้านบาท ในกรณีนี้ ให้คุณบันทึกข้อมูลตามวิธีการดังต่อไปนี้ โดยในส่วนของราคาซื้อให้ป้อนมูลค่าตามที่ซื้อมาจริง ตัวอย่างเช่น ซื้อรถยนต์ 1 คัน ราคา 1,500,000 บาท ให้คุณป้อนในช่องราคาซื้อ 1,500,000 บาท ส่วนที่เกินอีก 500,000 บาท ให้นำไปป้อนไว้ในช่องราคาซาก ซึ่งจะทำให้โปรแกรมคำนวณค่าเสื่อมราคาจากมูลค่าทรัพย์สินเพียง 1,000,000 บาทเท่านั้น กรณีข้างต้นนี้สามารถบันทึกข้อมูลในหน้าจอทรัพย์สินถาวรได้ดังรูป