ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์

17 มิถุนายน 2565

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.) จัดทำ “มาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้อย่างยั่งยืน เฟส 2” ช่วยเหลือลูกค้าที่อยู่ในมาตรการที่ 18 และ 19 และยังได้รับผลกระทบด้านรายได้จาก COVID-19 สามารถขยายระยะเวลาความช่วยเหลือต่อเนื่องตั้งแต่ 1 กรกฎาคม - 31 ธันวาคม 2565 ประกอบด้วย มาตรการที่ 18 [M18]  : สำหรับลูกค้ารายย่อยที่มีสถานะบัญชีปกติ รองรับลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างใช้มาตรการที่ 18 ซึ่งจะสิ้นสุดระยะเวลาความช่วยเหลือวันที่ 30 มิถุนายน 2565 และยังไม่สามารถผ่อนชำระหนี้ให้กับธนาคารได้ตามสัญญากู้เงิน สามารถเลือกแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ [ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย] เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 75% ของเงินงวดผ่อนชำระตามสัญญากู้เงิน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากผลิตภัณฑ์สินเชื่อ/ประกาศที่ผู้กู้ใช้อยู่ลงอีก 0.25%-0.50% ต่อปี ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ผ่าน Application : GHB ALL หรือ GHB Buddy บน Application Line หรือ www.ghbank.co.th หรือ สาขาทั่วประเทศ จนถึงวันที่ 24 มิถุนายน 2565 และ มาตรการที่ 19 [M19] : สำหรับลูกค้าผู้ประกอบการสินเชื่ออพาร์ทเม้นท์ รองรับลูกค้าเดิมที่อยู่ระหว่างใช้มาตรการที่ 19 เลือกแบ่งจ่ายเงินงวดผ่อนชำระ [ตัดเงินต้น ตัดดอกเบี้ย] เหลือ 25% หรือ 50% หรือ 70% ของเงินงวดผ่อนชำระปกติตามสัญญากู้เงิน และลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้จากผลิตภัณฑ์สินเชื่อตามสัญญากู้เงินลงอีก 0.25% ต่อปี ลงทะเบียนแจ้งความประสงค์ที่ ธอส. สำนักงานใหญ่และสาขาทั่วประเทศถึง 30 มิถุนายน 2565 สอบถามรายละเอียดที่ GHBank Call Center โทร 0-2645-9000 และ Facebook Fanpage ธนาคารอาคารสงเคราะห์  

ฝ่ายสื่อสารองค์กร
17 มิถุนายน 2565

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

มาดู แนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไม่เสียประวัติ พร้อมแก้หนี้เสีย พร้อมขั้นตอนการปรับโครงสร้างหนี้ที่ลูกหนี้ต้องรู้หากอยากปลดหนี้  สำหรัยเป็นทางเลือกที่ช่วยให้การดำเนินชีวิตหรือธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องหลังสถานการณ์โควิด-19 ที่เป็นอยู่ในเวลานี้...

แนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไม่เสียประวัติ พร้อมแก้หนี้เสีย

แนวทางเริ่มต้นปรับโครงสร้างหนี้

    • 1. ไม่ต้องรอให้เป็นหนี้เสีย เมื่อคิดว่าเริ่มจะผ่อนไม่ไหว ให้รีบติดต่อสถาบันการเงิน จะได้ไม่เสียประวัติข้อมูลเครดิต
    • 2. หากเป็นหนี้เสียแล้ว ก็สามารถติดต่อสถาบันการเงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสมและผ่อนไหวได้
    • 3. เตรียมตัวก่อนเข้าไปเจรจา คิดไว้คร่าว ๆ ว่าแนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนที่เหมาะกับเรา
    • 4.หรือลองสมัครโครงการทางด่วนแก้หนี้ ก็อาจเป็นวิธีที่ไม่ได้เเย่เท่าไร

แนวทางปรับโครงสร้างหนี้แบบไหนที่เหมาะกับเรา

พักชำระเงินต้น ช่วยลดภาระการผ่อนชั่วคราว : โดยปกติค่างวดที่ผ่อนชำระประกอบด้วย 2 ส่วน คือ เงินต้นกับดอกเบี้ย เช่น เมื่อท่านทำสัญญาเงินกู้จะกำหนดค่าผ่อนชำระเท่ากันทุกเดือน เช่นเดือนละ 10,000 บาท ประกอบด้วยเงินต้น 2,000 บาท และดอกเบี้ย 8,000 บาท การพักชำระเงินต้นจะทำให้ค่างวดเหลือเพียง 8,000 บาท แต่การผ่อนแบบนี้เงินต้นจะไม่ลดลงในช่วงพัก จะส่งผลให้ทำให้ลูกหนี้ต้องจ่ายเงินก้อนใหญ่ขึ้นในช่วงท้ายสัญญา (balloon) หรือทำให้ต้องเป็นหนี้และแบกภาระดอกเบี้ยนานขึ้น โดยปกติทางสถาบันการเงินอาจพิจารณาพักชำระเงินต้น เป็นเวลา 3–6 เดือน แต่เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น ลูกหนี้อาจนำเงินก้อนมา “โปะ” เพื่อลดหนี้ก่อนถึงกำหนดตามสัญญา ซึ่งจะทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายมีจำนวนลดลง และหนี้หมดเร็วขึ้น ซึ่งในช่วงที่ผ่านมาแบงก์ชาติก็ได้รณรงค์ปรับปรุงเรื่องการชำระหนี้ก่อนครบกำหนด (prepayment) ให้มีการปฏิบัติที่เป็นธรรมมากขึ้นด้วย

ยืดหนี้ ขยายระยะเวลาชำระหนี้ : สำหรับการยืดหรือขยายระยะเวลาชำระหนี้ วิธีนี้จะเป็นที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถช่วยให้ภาระการผ่อนสอดคล้องกับรายได้ที่ลดลง โดยตัวอย่างเช่น เมื่อท่านผ่อนสินเชื่อเป็นระยะเวลา 10 ปี เมื่อท่านผ่อนมาแล้ว 6 ปี เหลือ 4 ปี เจอปัญหาทำให้ท่านเริ่มผ่อนไม่ไหว จะขอขยายให้ยาวออกไป เพื่อทำให้ยอดผ่อนชำระต่อเดือนปรับลดลง *สถาบันการเงินอาจพิจารณาอายุตัวของผู้กู้ประกอบด้วย ซึ่งในอดีตค่าเฉลี่ยของระยะเวลาผ่อนชำระหลังจากที่ปรับโครงสร้างหนี้อยู่ที่ประมาณ 8 ปี

ลดอัตราดอกเบี้ย อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ลดลง : ทำให้ค่างวดที่จ่ายแต่ละเดือนแบ่งไปตัดลดเงินต้นได้มากขึ้น และเมื่อเงินต้นลด ภาระดอกเบี้ยก็จะลดลง เช่น เรากู้ยืมโดยมีอัตราดอกเบี้ย MOR+2% ต่อปี ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจทำให้ผ่อนชำระที่อัตราดอกเบี้ยเดิมไม่ไหว สามารถยื่นเรื่องขอลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ให้ต่ำลง โดยวิธีนี้างเหล่าสถาบันการเงินจะพิจารณาลดให้หรือไม่ จะต้องดูจากหลายปัจจัย เช่น ต้นทุนของสถาบันการเงินประวัติการผ่อนชำระของลูกหนี้ ประเภทสินเชื่อ และหลักประกัน เป็นต้น

เปลี่ยนประเภทหนี้ : สำหรับหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยแพงควรถูกเปลี่ยนประเภทเป็นหนี้ที่อัตราดอกเบี้ยถูกลง เช่น ลูกหนี้ SMEs ใช้บัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนอัตราดอกเบี้ยสูง 18% และ 28% หรือลูกหนี้มีวงเงิน O/D ใช้วงเงินเต็ม ด้านสถาบันการเงินอาจพิจารณาเปลี่ยนจากสินเชื่อหมุนเวียนที่อัตราดอกเบี้ยแพงเหล่านี้ ไปเป็นสินเชื่อแบบมีกำหนดระยะเวลาชำระ (term loan) ที่ดอกเบี้ยถูกลง

รีไฟแนนซ์ (refinance) : สำหรับการปิดสินเชื่อจากเจ้าหนี้เดิมและย้ายไปใช้สินเชื่อของเจ้าหนี้ใหม่ที่ให้เงื่อนไขดีกว่า เช่น อัตราดอกเบี้ยถูกลง โดยนำหนี้ใหม่ไปชำระหนี้เดิมที่คงค้างอยู่ก่อน ในประเทศไทยอาจคุ้นเคยกับการรีไฟแนนซ์สินเชื่อบ้านและสินเชื่อธุรกิจที่มีหลักประกันอยู่ระดับหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ดี แบงก์ชาติได้เริ่มสนับสนุนให้เกิดตลาดรีไฟแนนซ์สำหรับหนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด สินเชื่อส่วนบุคคล (หนี้บัตร) โดยเมื่อต้นปี 2563 มีสถาบันการเงินเปิดตัวเข้ามานำเสนอผลิตภัณฑ์รีไฟแนนซ์หนี้บัตรเพิ่มขึ้น ได้แก่ ธนาคารออมสิน ซึ่งรับรีไฟแนนซ์หนี้บัตรสำหรับลูกหนี้ที่มีวินัยทางการเงินและประวัติการชำระดี

วิธีสมัครโครงการทางด่วนแก้หนี้

สำหรับผู้ที่พลาดพลั้งเป็น NPL ท่านสามารถสมัครคลินิกแก้หนี้ หากได้รับอนุมัติจะได้รับสิทธิจ่ายน้อย ผ่อนนาน ยกดอกค้างให้ จ่ายงวดแรกปุ๊บ ประวัติทางการเงินดีขึ้นทันที เพียงทำตามข้อมูลต่อไปนี้

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

เข้าไปที่เว็บไซต์ ทางด่วนแก้หนี้ หรือ กดที่รูปภาพด้านบน จากนั้น อ่านข้อตกลงต่างๆอย่างละเอียดจากนั้นไปกดติ๊กถูกที่ช่องข้าพเจ้ายอมรับข้อตกลง

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

กรอกข้อมูลให้ครบจากนั้นกด เพื่อขอรับรหัสติดตามเรื่อง

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

จากนั้นท่านจะได้ช่องทางรับข้อมูลสำหรับการตรวจสอบรหัสติดตามเรื่อง  โดยข้อความจะระบุตามรูปตัวอย่างด้านบน จากนั้น กดตกลง

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

นำรหัสที่ท่านได้มาใส่แล้วกดส่งข้อมูล หลงัจากส่งคำขอแล้วทางด้าน ศคง. จะจัดส่งข้อมูลคำขอแก้หนี้ไปยังสถาบันการเงินที่ระบุไว้ ตามปกติจะใช้เวลาพิจารณาแต่ละกรณีประมาณ 7-10 วัน ซึ่งผู้ให้บริการจะติดต่อแจ้งผลการพิจารณาให้ลูกค้าทราบผ่านช่องทางที่ให้ข้อมูลไว้ เช่น หมายเลขโทรศัพท์ หรืออีเมล ภายใน 15 วัน หลังจากยื่นเรื่อง หากลูกค้ายังไม่ได้รับการติดต่อ สามารถโทร. ตรวจสอบผลการพิจารณาเบื้องต้นได้ที่ ศคง. หมายเลข 1213

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

อย่างไรก็ตาม ให้ทุกท่านเก็บรหัสติดตามเรื่องไว้ เพื่อใช้ในการตรวจสอบสถานะ สอบถามข้อมูลความคืบหน้าต่าง ๆ ของทางด่วนแก้หนี้ โดยสามารถตรวจสอบสถานะได้โดยกดที่รูปภาพด้านบน

รายชื่อธนาคารหรือสถาบันการเงินที่เข้าร่วม

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้

สุดท้ายนี้หากท่านประสงค์จะร้องเรียน แจ้งเบาะแส หรือสอบถามเรื่องอื่น สามารถติดต่อได้ที่ โทร. 1213 อีเมล หรือหน้าเว็บไซต์ www.1213.or.th

ในช่วงภาวะวิกฤตไวรัสโคโรนาแบบนี้  MoneyGuru ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเป็นกำลังใจให้เราผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยในการจับจ่ายใช้สอยที่ง่าย สะดวก และทำได้ที่บ้าน เรายังมีบัตรเครดิตอื่นๆ ให้เลือกใช้ เข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตได้ทุกวันป MoneyGuru ขอให้ทุกท่านรักษาสุขภาพและเป็นกำลังใจให้เราผ่านช่วงนี้ไปด้วยกัน ส่วนใครที่มองหาตัวช่วยในการจับจ่ายใช้สอยที่ง่าย สะดวก และทำได้ที่บ้าน เรายังมีบัตรเครดิตอื่นๆ ให้เลือกใช้ เข้ามาเปรียบเทียบบัตรเครดิตได้ทุกวัน นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ทางช่องทาง LINE @MoneyGuruThailand รับรองว่าคุณจะได้คำแนะนำราคาเบี้ยประกันที่ดีที่สุดจากเรา

ฝ่าย ปรับปรุงโครงสร้างหนี้
ไม่พลาดทุกเรื่องราวข่าวสำคัญ แค่กดเป็นเพื่อน กับ LINE @MoneyGuruThailand