การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

1.1 ความหมายของสถิติ ข้อมูลและข่าวสาร

1.1.1 สถิติ (Statistics) อาจพิจารณาได้ 3 ความหมาย คือ

• สถิติ หมายถึง ตัวเลขที่ใช้บรรยายเหตุการณ์หรือข้อเท็จจริง (facts) ของเรื่องต่างๆ ที่เราต้องการศึกษา เช่น สถิติจำนวนผู้ป่วย สถิติจำนวนคนเกิด สถิติจำนวนคนตาย เป็นต้น
• สถิติ หมายถึง ศาสตร์หรือวิชาที่ว่าด้วยหลักการและระเบียบวิธีทางสถิติ สถิติใน ความหมาย นี้มักเรียกว่า สถิติศาสตร์ (Statistics)

• สถิติ หมายถึง ค่าที่คำนวณขึ้นมาจากตัวอย่าง เพื่อแสดงถึงคุณลักษณะบางอย่างของข้อมูลชุดนั้น โดยทั่วไปจะนำค่าสถิติไปใช้ในการประมาณค่าพารามิเตอร์ ตัวอย่างเช่น ถ้าเราสนใจรายได้เฉลี่ยของคนในหมู่บ้าน แล้วเราสามารถนำรายได้ของทุกคนมา รวมกันแล้วหาค่าเฉลี่ยของรายได้ ค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้นี้ถือว่าเป็นค่าพารามิเตอร์ แต่ถ้าเราสุ่มตัวอย่างคนในหมู่บ้านมาจำนวนหนึ่งแล้วคำนวณรายได้เฉลี่ย ค่าเฉลี่ยที่ได้นี้จะเป็นค่าสถิติ

1.1.2 ข้อมูล (data) หมายถึง ข้อเท็จจริง (facts) ที่เกี่ยวกับเรื่องต่างๆ ซึ่งอาจเป็นข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข เช่น จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ในหมู่บ้าน ราคาของพืชผักและผลไม้ต่างๆ ในหมู่บ้าน เป็นต้น หรืออาจเป็นข้อเท็จจริงที่ไม่ใช่ตัวเลข เช่น การศึกษา หรือ อาชีพของคนในหมู่บ้าน เป็นต้น

1.1.3 สารสนเทศหรือข่าวสาร (Information) หมายถึง ผลลัพธ์จากการนำเอาข้อมูลที่สังเกต และบันทึกไว้มาทำการจัดการข้อมูล ประมวลผล เชื่อมโยงความสัมพันธ์ และแปลความหมาย แล้วเลือกนำเสนอขึ้นเป็นสารสนเทศหรือข้อความรู้เพื่อใช้เป็นพื้นฐานสำหรับ ตัดสินใจปฏิบัติการต่างๆ

1.2 ขอบข่ายของสถิติ

1.2.1 ในกรณีที่สถิติ หมายถึง ข้อมูลสถิติ

ข้อมูลสถิติได้ครอบคลุมไปในแทบทุกแขนงของวิชาการในกิจกรรมต่างๆ ของการดำรงชีวิตประจำวัน การวางแผน การบริหารงาน การติดตามผล เป็นต้น


ในวงการสถิติของรัฐบาล ไม่ว่าข้อมูลสถิตินั้นๆ จะอยู่ในลักษณะของผลพลอยได้จากการบริหารงาน หรือจัดทำขึ้นมาเพื่อการสถิติโดยตรง สามารถจำแนกข้อมูลสถิติ ดังกล่าว ออกเป็น 23 สาขาด้วยกัน คือ

• สถิติประชากรและเคหะ
• สถิติแรงงาน
• สถิติการศึกษา การฝึกอบรม ศาสนาและวัฒนธรรม รวมถึงสถิติสื่อสารมวลชน
• สถิติด้านสุขภาพ
• สถิติสวัสดิการสังคม
• สถิติเกี่ยวกับหญิงและชาย
• สถิติรายได้และรายจ่ายของครัวเรือน
• สถิติด้านสังคม ประชากรศาสตร์ และสถิติอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
• สถิติบัญชีประชาชาติ
• สถิติการเกษตร การป่าไม้และการประมง
• สถิติอุตสาหกรรมและเหมืองแร่
• สถิติพลังงาน
• สถิติการค้าส่ง ค้าปลีกและการค้าระหว่างประเทศ
• สถิติการขนส่ง
• สถิติการคมนาคม
• สถิติการท่องเที่ยว
• สถิติการเงิน การธนาคาร การประกันภัย และดุลการชำระเงิน
• สถิติการคลัง
• สถิติราคา
• สถิติด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิทธิบัตร
• สถิติด้านเศรษฐกิจอื่น ๆ
• สถิติด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
• สถิติอุตุนิยมวิทยา

1.2.2 ในกรณีที่สถิติ หมายถึง สถิติศาสตร์ (Statistics)

วิชาสถิติมีขอบข่ายกว้างขวาง และเกี่ยวข้องกับศาสตร์อื่นๆ หลายแขนง เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ตรรกวิทยา เศรษฐศาสตร์ การบริหาร เป็นต้น จึงมีผู้ให้คำจำกัดความของวิชาการสถิติขึ้นใหม่ว่า

“ วิชาสถิติเป็นวิทยาศาสตร์ของการตัดสินใจในท่ามกลางความไม่แน่นอน ” ในการศึกษาวิชาสถิติ มักแบ่งสาขาและเนื้อหาออกเป็น 2 แขนงใหญ่ ๆ คือ

1. วิธีการทางสถิติ (Statistical Methods) ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

• สถิติพรรณนา (Descriptive Statistic) เป็นวิธีการทางสถิติเกี่ยวกับระเบียบวิธีที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดระเบียบข้อมูล การนำเสนอข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลอย่างง่าย และการสรุปผลข้อมูล

• สถิติอนุมาน (Inferential Statistic) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลจากตัวอย่างที่เก็บรวบรวมมาแล้วอนุมานหรือสรุปผลไปสู่ประชากร ด้วยวิธีการทางสถิติ เช่น การประมาณค่า (Estimation) การทดสอบสมมติฐาน (Hypothesis Testing) เป็นต้น

2. ทฤษฎีสถิติ (Statistical Theory) เป็นการศึกษาหลักวิชา และวิธีการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งใช้ในการพัฒนาและสนับสนุนความถูกต้องสมบูรณ์ของระเบียบวิธีสถิติ

1.3 ประเภทของข้อมูลสถิติ
แบ่งได้ 2 ลักษณะดังนี้

ข้อมูลเชิงคุณภาพ (Qualitative data) หมายถึงข้อมูลที่แสดงถึงสถานภาพ คุณลักษณะ หรือคุณสมบัติ เช่น เพศ เชื้อชาติ สถานภาพสมรส ศาสนา กลุ่มเลือด เป็นต้น

ข้อมูลเชิงปริมาณ (Quantitative data) หมายถึงข้อมูลที่อยู่ในรูปตัวเลข (numerical data) ที่แสดงถึงปริมาณ อาจเป็นค่าที่ไม่ต่อเนื่อง (discrete) คือค่าที่เป็นจำนวนเต็มหรือจำนวนนับ เช่น จำนวน รถยนต์ในกรุงเทพมหานคร จำนวนบุตรในครอบครัว เป็นต้น หรือเป็นค่าที่ต่อเนื่อง (continuous) คือค่าที่มีจุดทศนิยมได้ เช่น ความสูง น้ำหนัก อายุ อัตราเงินเฟ้อ สถิติน้ำฝนในปีต่างๆ เป็นต้น

1.4 แหล่งที่มาของข้อมูล (Source of Data)
ข้อมูลสถิติอาจจำแนกตามแหล่งที่มาได้ 2 ทาง คือ

• ข้อมูลปฐมภูมิ (Primary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้หรือหน่วยงานที่ใช้เป็นผู้ทำการเก็บข้อมูลด้วยตนเอง ซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลอาจใช้วิธีการสัมภาษณ์ การทดลอง หรือการสังเกตการณ์ ข้อมูลปฐมภูมิเป็นข้อมูลที่มีรายละเอียดตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ แต่มักจะเสียเวลาในการจัดหาและมีค่าใช้จ่ายสูง

• ข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) เป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ได้เก็บรวบรวมเอง แต่มีผู้อื่นหรือ หน่วยงานอื่นๆ ทำการเก็บรวบรวมไว้แล้ว เช่น จากรายงาน ที่พิมพ์แล้ว หรือยังไม่ได้พิมพ์ของ หน่วยงานของรัฐบาล สมาคม บริษัท สำนักงานวิจัย นักวิจัย วารสาร หนังสือพิมพ์ เป็นต้น การนำเอาข้อมูลเหล่านี้มาใช้เป็นการประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย แต่ในบางครั้งข้อมูลอาจจะไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ หรือมีรายละเอียดไม่เพียงพอที่จะนำไปวิเคราะห์ นอกจากนี้ในบางครั้ง ข้อมูลนั้นอาจมีความผิดพลาดและผู้ใช้มักจะไม่ทราบข้อผิดพลาดดังกล่าว ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อการสรุปผล ดังนั้น ผู้ที่จะนำข้อมูลทุติยภูมิมาใช้ควรระมัดระวังและตรวจสอบคุณภาพข้อมูลก่อนที่ จะนำไปวิเคราะห์

1.5 คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
ข้อมูลที่ดีจะต้องประกอบด้วยคุณสมบัติที่สำคัญๆ ดังนี้คือ

1. ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด

2. ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของ ผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม

3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้

4. ความกระทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที

5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล

6. ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

1.6 การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ
การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อมูลสถิติมีวิธีการที่ใช้โดยทั่วไปมี 5 วิธี ดังนี้

1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงาน (Reporting System) เป็นผลพลอยได้จากระบบการบริหารงาน เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานที่ทำไว้หรือจากเอกสารประกอบการทำงาน ซึ่งการเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานส่วนมากใช้เพียงครั้งเดียว จากรายงานดังกล่าว อาจมีข้อมูลเบื้องต้น บางประเภทที่สามารถนำมาประมวลเป็นยอดรวมข้อมูลสถิติได้ วิธีเก็บรวบรวมข้อมูลจากรายงานของหน่วยบริหาร นับว่าเป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลสถิติโดยไม่ต้องสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการ ดำเนินงานมากนัก ค่าใช้จ่ายที่ใช้ส่วนใหญ่ก็เพื่อการประมวลผล พิมพ์แบบฟอร์มต่างๆ ตลอดจนการพิมพ์ รายงาน วิธีการนี้ใช้กันมากทั้งในหน่วยงาน รัฐบาลและเอกชน

หน่วยงานของรัฐที่มีข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากรายงาน ได้แก่ กรมศุลกากรมีระบบ การรายงานเกี่ยวกับ การส่งสินค้าออก และการนำสินค้าเข้า ใบสำคัญหรือเอกสารที่ใช้ในการแจ้งการนำเข้าและ ส่งออกนั้น จะเป็นแหล่งของข้อมูลเบื้องต้น ซึ่งสามารถจะประมวลยอดรวมข้อมูลสถิติ แสดงปริมาณการค้าระหว่างประเทศได้ กรมสรรพากร มีแบบรายงาน ยื่นเสียภาษี ที่เรียกว่า ภงด . 9 ซึ่งสามารถรวบรวมข้อมูลสถิติเกี่ยวกับรายได้ของประชากร และกระทรวงศึกษาธิการ มีรายงานผลการปฏิบัติงานของโรงเรียนภายในสังกัดของกรมต่างๆ ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการประมวลผลสถิติทางการศึกษาได้ นอกจากนี้ ก็มีแบบรายงานของหน่วยราชการส่วนท้องถิ่นเกี่ยวกับรายได้ - รายจ่าย รายจ่ายเกี่ยวกับการลงทุน งบแสดงฐานะทางการเงิน และแบบรายงานผู้ได้รับอนุมัติให้ก่อสร้าง ซึ่งทำให้ได้ข้อมูลสถิติต่างๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการคำนวณบัญชีต่างๆ ในบัญชีประชาชาติได้ สำหรับหน่วยงานเอกชนนั้น ได้แก่ ข้อมูลเกี่ยวกับการผลิต การใช้วัตถุดิบ ซึ่งรวบรวมได้จากรายงานของฝ่ายผลิต สถิติแสดงปริมาณการขายสินค้าก็รวบรวมได้จากรายงานของพนักงานขายแต่ละคน เป็นต้น

2. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากทะเบียน (Registration) เป็นข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากระบบทะเบียน มีลักษณะคล้ายกับการรวบรวมจากรายงานตรงที่เป็นผลพลอยได้เช่นเดียวกัน จะต่างกันตรงที่ แหล่งเบื้องต้นของข้อมูลเป็นเอกสารการทะเบียนซึ่งการเก็บมีลักษณะต่อเนื่อง มีการปรับแก้หรือเปลี่ยนแปลง ให้ถูกต้องทันสมัย ทำให้ได้สถิติที่ต่อเนื่องเป็นอนุกรมเวลา ข้อมูลที่เก็บโดยวิธีการทะเบียน มีข้อรายการไม่มากนัก เนื่องจากระบบทะเบียนเป็นระบบข้อมูลที่ค่อนข้างใหญ่ มีพระราชบัญญัติคุ้มครอง หรือบังคับ การที่จะเปลี่ยนระบบทะเบียนเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ต้องการ ย่อมไม่อยู่ในวิสัยที่จะทำได้ง่ายนัก คุณภาพของข้อมูลสถิติที่ได้ขึ้นอยู่กับคุณภาพของการทะเบียนซึ่งข้อมูล บางอย่างอาจจะไม่ถูกต้องทันสมัย ตามความเป็นจริง

ตัวอย่างข้อมูลสถิติที่รวบรวมจากระบบทะเบียน ได้แก่ สถิติจำนวนประชากรที่กรมการปกครอง ดำเนินการเก็บรวบรวมจากทะเบียนราษฎร์ ประกอบด้วย จำนวนประชากร จำแนกตามเพศเป็นรายจังหวัด อำเภอ ตำบล นอกจากทะเบียนราษฎร์แล้วก็มีทะเบียนยานพาหนะของกรมตำรวจที่จะทำให้ได้ข้อมูล สถิติจำนวน รถยนต์ จำแนกตามชนิดหรือประเภทของรถยนต์ ทะเบียนโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งทำให้ทราบจำนวนโรงงานอุตสาหกรรม จำแนกตามประเภทของโรงงาน เป็นต้น

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน ( Census ) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติของทุกๆ หน่วยของประชากรที่สนใจศึกษาภายในพื้นที่ที่กำหนด และภายในระยะเวลาที่กำหนด การเก็บรวบรวม ข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้ข้อมูลในระดับพื้นที่ย่อย เช่น หมู่บ้าน ตำบล อำเภอ และทำให้ได้ ข้อมูลที่เป็นค่าจริง

ตามพระราชบัญญัติสถิติ พ . ศ .2508 ได้บัญญัติไว้ว่า สำนักงานสถิติแห่งชาติเป็นหน่วยงานเดียวที่สามารถจัดทำสำมะโนได้ และการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีการสำมะโน เป็นงานที่ต้องใช้เงิน งบประมาณ เวลาและกำลังคนเป็นจำนวนมาก สำนักงานสถิติแห่งชาติจึงไม่สามารถจัดทำสำมะโนได้ในทุกๆ ปี ส่วนใหญ่จะจัดทำสำมะโนทุกๆ 10 ปี หรือ 5 ปี สำมะโนที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำ คือ สำมะโนประชากรและเคหะ ( ปีล่าสุด พ . ศ . 2543) สำมะโนการเกษตร ( ปีล่าสุด พ . ศ . 2546) สำมะโน ประมงทะเล ( ปีล่า สุด พ . ศ . 2538) สำมะโนอุตสาหกรรม ( ปีล่าสุด พ . ศ . 2540) และสำมะโนธุรกิจทางการค้าและธุรกิจทางการบริการ ( ปีล่า สุด พ . ศ . 2545)

4. การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำรวจ (Sample Survey) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ จากบางหน่วยของประชากรด้วยวิธีการเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบ รวมข้อมูลสถิติด้วยวิธีนี้ จะทำให้ได้ ข้อมูลในระดับรวม เช่น จังหวัด ภาค เขตการปกครอง และรวมทั่วประเทศ และข้อมูลที่ได้จะเป็นค่าโดยประมาณ การสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ใช้งบประมาณ เวลา และกำลังคนไม่มากนักจึงสามารถจัดทำได้เป็นประจำทุกปี หรือ ทุก 2 ปี ปัจจุบันการสำรวจเป็นวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติที่มีความสำคัญ และใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุด ทั้งในวงการราชการและเอกชน ไม่ว่าจะเป็น การสำรวจ เพื่อหาข้อมูลทางด้านการเกษตร อุตสาหกรรม สาธารณสุข การคมนาคม การศึกษา และ ข้อมูล ทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ รวมทั้งการหยั่งเสียงประชามติ การวิจัยตลาด ฯลฯ สำหรับสำนักงานสถิติแห่งชาติ ได้จัดทำโครงการสำรวจที่สำคัญๆ หลายโครงการ เช่น การสำรวจภาวะการทำงานของประชากร ( การสำรวจแรงงาน ) การสำรวจการย้ายถิ่นของประชากร การสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของ ครัวเรือน การสำรวจการใช้พลังงานของครัวเรือน การสำรวจการเปลี่ยนแปลงของประชากร การสำรวจวิทยุ - โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ การสำรวจอนามัยและสวัสดิการ การสำรวจข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชน การสำรวจภาวะการครองชีพของข้าราชการพลเรือนสามัญ การสำรวจข้อมูลระดับหมู่บ้าน เป็นต้น

5. วิธีการทดลอง (Experimental Design) การเก็บรวบรวมข้อมูล โดยวิธีนี้จะต้องอาศัยวิชาสถิติในเรื่องการวางแผนการทดลองมาช่วย การวิจัยทางสังคมส่วนใหญ่จะใช้วิธีนี้ไม่ได้ โดยมากจะใช้กับการทดลองทางด้านเกษตร วิทยาศาสตร์ การแพทย์ เช่น ทดสอบผลของการใช้ปุ๋ยชนิดต่างๆ ต่อ การเจริญเติบโตของพืช เป็นต้น ในการทดลองจะพยายามควบคุมปัจจัยอื่นที่ไม่ต้องการทดสอบให้มากที่สุดเท่าที่ จะมากได้ แต่ให้ปัจจัยที่จะทดสอบนั้นเปลี่ยนแปลงได้แล้วคอยติดตามบันทึกข้อมูล ซึ่งเป็นผลของการทดลองจากหน่วยทดลองของแต่ละกลุ่มตามแผนการทดลองนั้นๆ

1.7 แนวทางการเลือกวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

การที่จะเลือกใช้วิธีใดวิธีหนึ่งให้เหมาะสมที่สุดในการเก็บรวบรวมข้อมูลนั้นจะต้องพิจารณาถึงตัวประกอบที่สำคัญต่อไปนี้ คือ

• ลักษณะของข้อมูลที่จะรวบรวม
• คุณภาพของข้อมูลที่จะได้หรือระดับความถูกต้องเชื่อถือได้ของข้อมูลที่จะได้จากแต่ละวิธีโดยเทียบกับความต้องการ
• เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสียของแต่ละวิธี
• ความสามารถในการปฏิบัติงานของแต่ละวิธี
• เวลาที่จะต้องใช้ทั้งในการเก็บรวบรวมข้อมูลและการประมวลผล
• งบประมาณและอัตรากำลังที่จะใช้

1.8 ขั้นตอนการดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีสำมะโน / สำรวจ

สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลที่สำคัญ 2 วิธี คือ วิธีการสำมะโน และวิธีการสำรวจ ซึ่งมีขั้นตอนในการปฏิบัติงานอยู่ 4 ขั้นตอน คือ

1. ขั้นการวางแผนและเตรียมงาน เป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ความรู้ทางวิชาการสถิติมากที่สุด โดย ต้องทำการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสถิติที่จะเก็บรวบรวม ตลอดจนประโยชน์ที่จะได้รับ พร้อมทั้งกำหนดแผนงาน ที่จะดำเนินการ ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษารายละเอียดของโครงการ กำหนดวัตถุประสงค์ พิจารณางบประมาณ จัดทำแบบสอบถาม กำหนดระเบียบวิธีการสำรวจ การอบรมเจ้าหน้าที่การประชาสัมพันธ์ ตลอดจนการเตรียมงานประมวลผล

ขั้นตอนที่มีความสำคัญมากในการที่จะทำให้ได้ข้อมูลถูกต้องสมบูรณ์ใกล้เคียงกับความเป็นจริง คือ การกำหนดระเบียบวิธีการสำรวจซึ่งเป็นขั้นตอนในการกำหนดขนาดตัวอย่าง และวิธีการในการเลือกตัวอย่าง ซึ่งจะต้องจัดทำให้ถูกต้องตามหลักวิชาการสถิติมากที่สุด

2. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ในทางปฏิบัติเรียกขั้นตอนนี้ว่า การปฏิบัติงานสนาม เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะเป็นขั้นตอนที่จะทำให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการ ซึ่งอาจจะเก็บข้อมูลจากรายงาน เอกสารต่างๆ หรือส่งเจ้าหน้าที่ออกไปทำการสัมภาษณ์จากแหล่งที่ให้ข้อมูลโดยตรง เช่น ครัวเรือน สถานประกอบการ หรือผู้ที่สามารถให้ข้อมูลได้แล้วบันทึกข้อมูลลงในแบบสอบถาม หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้บันทึกข้อมูลลงในแบบสอบถาม การปฏิบัติงานใน ขั้นตอนนี้จำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่ให้ข้อมูลเป็นอย่างมาก

3. ขั้นการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว แบบสอบถามที่บันทึกข้อมูลแล้ว จะถูกนำมาทำการประมวลผล ซึ่งในปัจจุบันจะทำการประมวลผลด้วยระบบคอมพิวเตอร์ (Mainframe และ Microcomputer) โดยแบบสอบถามเหล่านั้นจะถูกนำมาทำการบรรณาธิกร คือ การตรวจสอบความครบถ้วน ความถูกต้อง ความแนบนัย และความเป็นไปได้ของข้อมูล แล้วนำไปทำการลงรหัส คือ การแปลงข้อมูลจากแบบสอบถามให้เป็นรหัส หลังจากนั้นนำข้อมูลที่อยู่ในรูปของรหัส มาบันทึกลงในสื่อ เพื่อใช้ในการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เทปแม่เหล็ก diskette เป็นต้น ปัจจุบันสำนักงานสถิติแห่งชาติได้นำเครื่อง ICR (Intelligent Character Recognition) มาใช้ในการอ่านข้อมูล ซึ่งทำให้สามารถลดเวลาในการประมวลผลลงได้อย่างมาก ต่อจากนั้นทำการทวนสอบข้อมูลที่บันทึกลงในสื่ออีกครั้งด้วยระบบคอมพิวเตอร์ แล้วทำการประมวลผลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ตามรูปแบบที่ได้กำหนดไว้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นในรูปของตารางสถิติ เมื่อประมวลผลเสร็จแล้วก็จะทำการตรวจสอบข้อมูลที่ได้อีกครั้งแล้วจึงนำมา วิเคราะห์ ตีความหรือแปลความหมายของข้อมูลสถิติที่ได้

4. ขั้นการนำเสนอข้อมูลและจัดทำรายงาน เป็นขั้นตอนที่จะนำผลที่ได้จากการทำสำมะโน หรือสำรวจออกเผยแพร่ให้ผู้ใช้ข้อมูลหรือประชาชนได้ทราบ งานในขั้นนี้ มีเป้าหมายหลัก คือ เพื่อจัดข้อมูลที่ให้ความหมายอย่างเป็นระเบียบ สรุปข้อมูลได้ง่าย และเพื่อเน้นลักษณะของข้อมูลนั้น ซึ่งได้แก่ การจัดรูปแบบการนำเสนอข้อมูล ( ตารางสถิติ แผนภูมิ แผนภาพ ) การจัดทำต้นฉบับรายงานผล สำมะโนหรือสำรวจ พร้อมทั้งดำเนินการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มและเผยแพร่ต่อไป

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

1.9 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ ในทางปฏิบัติอาจทำได้หลายวิธี คือ

1. วิธีการสัมภาษณ์จากผู้ให้คำตอบโดยตรง (Personal interview หรือ Face to face interview) เป็นวิธีการที่ส่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานออกไปสัมภาษณ์ผู้ให้คำตอบ และบันทึกคำตอบลงในแบบข้อถาม วิธีนี้นิยมใช้กันมากในการทำสำมะโนและสำรวจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับสภาพการณ์ของประเทศไทย เป็นวิธีการที่จะทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด พนักงานสัมภาษณ์สามารถชี้แจงหรืออธิบายให้ ผู้ตอบเข้าใจในคำถามได้ ทำให้ได้รับคำตอบตรงตามวัตถุประสงค์ แต่การที่จะให้ได้คำตอบที่ดี ก็ต้องขึ้นอยู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น วิสัยสามารถของผู้ตอบที่จะเข้าใจคำถาม ความตั้งใจของผู้ตอบและความสุจริตใจที่จะให้คำตอบ ความสามารถของพนักงาน ที่จะสัมภาษณ์ได้อย่างละเอียดครบถ้วน และบันทึกคำตอบอย่างถูกต้อง และที่สำคัญที่สุดคือ ความซื่อสัตย์สุจริตของพนักงานสัมภาษณ์ที่จะไม่กรอกข้อมูลเอง ซึ่งในทางปฏิบัติก่อนที่จะส่งเจ้าหน้าที่หรือพนักงานออกไปปฏิบัติงาน จะต้องทำการอบรมชี้แจงให้เข้าใจถึงขั้นตอนการสัมภาษณ์ ตลอดจนวัตถุประสงค์ของโครงการ คำจำกัดความหรือความหมายของคำต่างๆ ที่ใช้ในแบบข้อถาม การกรอกแบบข้อถาม ซึ่งรายละเอียดต่างๆ เหล่านี้ ได้กำหนดไว้ในคู่มือการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล

2. วิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ (Enumeration by telephone) เป็นวิธีการที่อาจทำได้อย่างรวดเร็ว และทุ่นค่าใช้จ่าย เพราะไม่ต้องเดินทาง แต่มีขอบเขตจำกัด คือใช้ได้เฉพาะผู้ที่มีโทรศัพท์เท่านั้น คำถามที่ถามจะต้องสั้นและเข้าใจง่าย วิธีนี้จึงใช้ในการเก็บรวบรวมที่รายการข้อถามไม่มากนัก ประมาณ 1 – 2 รายการ จึงมักใช้ร่วมกับวิธีอื่น หรือใช้ในการทวงถามใบแบบข้อถาม หรือสอบถามเพิ่มเติมเมื่อมีข้อสงสัย เกี่ยวกับคำตอบ หรือไม่ได้รับคำตอบในบางรายการ หรืออาจใช้ในการตรวจสอบการทำงานของพนักงาน

3. วิธีการให้พนักงานไปทอดแบบไว้ให้ผู้ตอบกรอกข้อมูลเอง (Self enumeration) วิธีนี้พนักงานจะนำแบบข้อถามไปมอบไว้ให้กับผู้ตอบ โดยอธิบายถึงวิธีการกรอกเท่าที่จำเป็น ผู้ตอบจะต้องกรอกแบบ ข้อถามเอง พนักงานจะกลับไปรับแบบข้อถามที่กรอกข้อมูลแล้วในวันที่กำหนด ในขณะเดียวกันพนักงานจะต้องทำการตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนของข้อมูลที่กรอกแล้ว ถ้าผิดพลาดหรือ ไม่ครบถ้วนจะต้องสัมภาษณ์เพิ่มเติม วิธีนี้เหมาะที่จะใช้กับผู้ที่ มีการศึกษาพอที่จะอ่าน เขียน เข้าใจคำถามได้ สำหรับประเทศไทยระดับการศึกษาและการให้ความร่วมมือของประชากรยังแตกต่างกัน มาก ฉะนั้นจึงเหมาะสมที่จะใช้กับงานบางโครงการเท่านั้น แบบข้อถามที่จะใช้วิธีนี้จะต้องมีคำถามที่เข้าใจง่าย มีคำอธิบายอย่างชัดเจน และการกรอกแบบข้อถามต้องไม่ยุ่งยาก


4. วิธีการส่งแบบข้อถามให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ (Mailed questionnaire) เป็นวิธีที่ส่งแบบข้อถาม ให้ผู้ตอบทางไปรษณีย์ และให้ผู้ตอบส่งแบบข้อถามที่กรอกข้อมูลแล้วกลับคืนมาทางไปรษณีย์เช่นเดียว กัน วิธีนี้คล้ายกับการทอดแบบ แต่ต่างกันตรงที่ส่งแบบทางไปรษณีย์ เป็นวิธีการที่เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด เพราะเสียเพียงค่าแสตมป์แทนค่าใช้จ่ายของพนักงานสนาม โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ที่จะให้คำตอบอยู่กระจัดกระจายกันมาก ซึ่งไม่อยู่ในวิสัยที่จะส่งพนักงานสนามไปทำการสัมภาษณ์ได้ ในกรณีที่ผู้ตอบเห็นความสำคัญของข้อมูล ข้อมูลที่ได้อาจมีคุณภาพดีกว่าข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เพราะผู้ตอบมีเวลา คิด ก่อนตอบ และไม่ต้องตอบภายใต้สภาวะการณ์เร่งรีบของพนักงานสัมภาษณ์ แต่วิธีนี้ก็มีข้อเสียที่มักจะมีอัตราการไม่ตอบ (non-response rate) สูง วิธีนี้มีข้อจำกัดในการใช้คือ

• แบบต้องไม่ยากและไม่ยาวเกินไป
•ใช้ในประเทศที่มีบริการไปรษณีย์ดี
• ผู้ตอบต้องสามารถอ่านคำถาม และข้อสั่งชี้แจงได้เข้าใจ
•ต้องใช้เวลาคอยจนกว่าจะได้รับแบบครบจำนวนที่ต้องการ และบางทีต้องมีการทวงถามหลายครั้ง
• ถ้าคำตอบไม่ชัดเจน ต้องเสียเวลาถามซ้ำโดยวิธีการอื่

5. วิธีการสังเกตการณ์ (Observation) เป็นวิธีเก็บข้อมูลโดยการสังเกตโดยตรงจากปฏิกิริยา ท่าทาง หรือเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ ที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่ง และจดบันทึกไว้โดยไม่มีการสัมภาษณ์ วิธีนี้ใช้กันอย่างกว้างขวางในการวิจัย เช่น จะศึกษาดูปฏิกิริยาของผู้ขับรถยนต์บนท้องถนนภายใต้ สภาพการณ์จราจรต่าง ๆ กัน ก็อาจจะส่งเจ้าหน้าที่ไปยืนสังเกตการณ์ได้ การสังเกตจำนวนลูกค้าและบันทึกปริมาณการขายของสถานประกอบการ โดยพนักงานเก็บภาษีของกรมสรรพากร เพราะการไปสัมภาษณ์ผู้ประกอบการถึงปริมาณการขาย ย่อมไม่ได้ข้อมูลที่แท้จริง

6. วิธีการบันทึกข้อมูลจากการวัดหรือนับ วิธีนี้จะมีอุปกรณ์เพื่อใช้ในการวัดหรือนับตามความจำเป็นและความเหมาะสม เช่น การนับจำนวนรถยนต์ที่แล่นผ่านที่จุดใดจุดหนึ่ง ก็อาจใช้เครื่องนับโดยให้รถ แล่นผ่านเครื่องดังกล่าว หรือ การเก็บข้อมูลด้วยการวัด เช่น การเก็บข้อมูลเกี่ยวกับขนาดของ แปลงเพาะปลูก พืช ทำได้โดยการวัดความยาวของแต่ละด้าน เพื่อคำนวณหาพื้นที่ตามหลักเกณฑ์การหาพื้นที่ เป็นต้น

1.10 คุณสมบัติของผู้เก็บรวบรวมข้อมูล ( พนักงานสนาม )

สำหรับการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่อที่ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพดีนั้น ผู้เก็บรวบรวมข้อมูลจะต้องยึดถือหลักปฏิบัติ ดังนี้

• ต้องมีความซื่อสัตย์ต่องานอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุด ถ้าพนักงาน ไม่ซื่อสัตย์ต่องานแล้ว นอกจากข้อมูลที่ได้มาจะไม่สมบูรณ์แล้วยังเป็นการแสดงว่า ตัวพนักงานเองเป็นบุคคลที่ไม่พึงได้รับความเชื่อถือและไว้วางใจอีกด้วย ความซื่อสัตย์นี้เป็นสิ่งจำเป็นไม่เฉพาะเพียงแต่ในงานสัมภาษณ์เท่านั้น แต่จำเป็นตลอดถึงงานทุกงานด้วย จะต้องไม่หลบงาน ปฏิบัติงานตามตารางเวลาที่กำหนดไว้ในเขตรับผิดชอบของตน มีความตรงต่อเวลา

• ต้องเป็นคนที่ไว้ใจได้ หมายความว่า ไว้ใจได้ในผลของงานที่ได้ปฏิบัติไปแล้ว และที่จะปฏิบัติต่อไปว่ามีความถูกต้องสมบูรณ์ไม่บกพร่อง

• ต้องรู้จักวิธีถาม เพื่อที่จะให้ผู้ตอบสัมภาษณ์ตอบได้ตรงกับวัตถุประสงค์ของการสำรวจ ดังนั้น ตัวผู้สัมภาษณ์เองจะต้องเข้าใจวัตถุประสงค์อย่างแจ่มแจ้ง เพื่อที่จะอธิบายและดำเนินการสัมภาษณ์ได้ ตรงจุด หากไม่เข้าใจวัตถุประสงค์อาจจะอธิบายหรือซักถามไม่ตรงกับเป้าหมาย อันจะทำให้ข้อมูลหรือข้อความ ที่ได้มาผิดความต้องการไป

ต้องบันทึกแบบให้ตรงกับความเป็นจริง หมาย ความว่า ต้องบันทึกคำตอบตามที่ได้รับมา และวางตัวเป็นกลางกับคำตอบของผู้สัมภาษณ์ ไม่ใช่ว่าได้รับคำตอบมาอย่างหนึ่งแต่พยายามจะแปลความหมายไปอีกอย่างหนึ่ง ต้องไม่มีความลำเอียงกับคำตอบของผู้สัมภาษณ์ ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่า ผู้ตอบตอบความจริง ถ้าไม่แน่ใจให้ซักถามต่อไป อย่าใช้ความคิดของตนเองแปลความหมายของผู้ให้สัมภาษณ์

• ต้องมีความตั้งใจในการบันทึกแบบให้ครบถ้วนและให้อ่านออกด้วย การบันทึกคำตอบ ลงในแบบนั้น ต้องกระทำโดยรอบคอบ เรียบร้อย และตั้งใจไม่ใช่เป็นการรีบ ๆ ปฏิบัติเพื่อให้พ้นภาระไปเท่านั้น ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้ง คือ ผู้ที่มีหน้าที่ประมวลผลหรือตีความหมายข้อมูลไม่สามารถอ่านข้อความที่ พนักงานบันทึกมาได้ ซึ่งก็เกิดผลเสียแก่ข้อมูลที่ได้มา

• ต้องสนใจและเข้าใจในแนวความคิดของผู้ถูกสัมภาษณ์ คือ ต้องให้ความสนใจว่าสิ่งที่ ผู้ถูกสัมภาษณ์ต้องการคืออะไร มีแนวความคิดอย่างไร เพื่อที่จะให้ได้คำตอบที่ตรงกับวัตถุประสงค์ของเรา ต้องแสดงให้เขาเห็นถึงความสำคัญของการสำรวจ การที่พนักงานจะออกไปสัมภาษณ์โดยไม่เข้าใจในผู้ถูกสัมภาษณ์นั้น อาจทำให้ได้ข้อมูลที่ผิดพลาดมาได้
• ต้องสามารถที่จะกระตุ้นให้ผู้ถูกสัมภาษณ์เกิดความเชื่อมั่นและสบายใจในการที่จะให้ ความร่วมมือ เช่น ชี้แจงให้เห็นประโยชน์จากการที่เขาจะให้ความร่วมมือกับเราและรับรองอย่างแข็งขันว่า ข้อ ความที่ให้ไปจะถือเป็นความลับโดยเคร่งครัด

การแต่งกาย การแสดงกิริยา และการวางตัว เป็น สิ่งสำคัญในการโน้มน้าวไปสู่ความรู้สึก ที่ดีและการมีไมตรีจิต พนักงานควรแต่งตัวให้เรียบร้อยและมีท่วงทีวาจาสุภาพอ่อนโยนเป็นกันเอง ไม่วางตัวข่มขู่ผู้ให้สัมภาษณ์ ในการปฏิบัติงานพนักงานจะต้องพบกับบุคคลจำนวนมากซึ่งมีนิสัยใจคอและการให้ ความร่วมมือแตกต่างกัน พนักงานควรมีความอดทนต่อสิ่งที่ไม่พอใจ เช่น การไม่ตอบคำถาม การตำหนิติเตียนต่างๆ เป็นต้น

1.11 การตรวจสอบคุณภาพข้อมูล

ข้อมูล สถิติควรจะมีความสมบูรณ์ครบถ้วน (Completeness) และความถูกต้อง (accuracy) มากพอสมควร เพื่อผู้ใช้ข้อมูลจะได้นำไปใช้ในการวิเคราะห์วิจัยให้ได้ผลใกล้เคียงความ จริงมากที่สุด การที่จะได้มาซึ่งข้อมูลที่มีความสมบูรณ์ถูกต้องก็คือ ต้องขจัดความคลาดเคลื่อน ให้เหลือน้อยที่สุด

วิธีการตรวจสอบคุณภาพของข้อมูล คือ

• ตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูล เป็นการตรวจสอบรายการต่างๆ ว่า ได้มีการบันทึกครบถ้วนทุกรายการที่กำหนดหรือไม่
• ตรวจสอบความถูกต้องและความแนบนัยของข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลว่า มีการบันทึกมาถูกต้องแนบนัยหรือไม่ ดังนี้
• การตรวจสอบความแนบนัยภายใน (Internal consistency) คือ การตรวจว่าข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน มีความสอดคล้องกันหรือไม่
• การตรวจสอบความแนบนัยภายนอก (External consistency) เป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล โดยอาศัยความรู้ความชำนาญหรือสถานการณ์ภายนอกมาช่วยในการพิจารณา

การตรวจสอบข้อมูลสถิติควรจัดทำในขั้นตอนของการดำเนินงานทางสถิติ ดังนี้

1. ขั้นการเก็บรวบรวมข้อมูล ( งานสนาม ) การเก็บรวบรวมข้อมูลสถิติ เป็นขั้นตอนหนึ่งที่สำคัญมาก เนื่องจาก ข้อมูลสถิติจะมีคุณภาพดีหรือไม่และมีความ เชื่อถือได้มากน้อยเพียงไร ขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการปฏิบัติงานเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนั้นการตรวจสอบ ข้อมูลในขั้นนี้จะต้องตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องมากที่สุด สำหรับนำไปใช้ในขั้นตอนต่อไป โดยต้องทำการตรวจสอบ

- ความครบถ้วนของข้อมูล เป็นการตรวจสอบรายการต่างๆ ในแบบข้อถามว่าได้มีการบันทึกครบถ้วนทุกรายการที่กำหนดหรือไม่ ในการบันทึกหรือกรอกแบบข้อถามนั้น ถ้ามีรายการหรือข้อถามใดที่คำตอบว่างไว้เฉยๆ ก็จะถือได้ว่า แบบข้อถามนั้นขาดความครบถ้วนของข้อมูลไป นอกจากอาจมีบางรายการที่ไม่ต้องทำการบันทึกข้อมูลเพราะเงื่อนไขบางประการ ตัวอย่างเช่น

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

จากตัวอย่างแบบข้อถามข้างต้นจะต้องตรวจสอบว่า มีการบันทึกครบตามรายการหรือไม่ ในกรณีตัวอย่างนี้ถ้าผู้ที่ถูกสำรวจมีอาชีพรับราชการ ก็ไม่ต้องบันทึก ข้อ 6 ข้ามไปบันทึก ข้อ 7 แต่ถ้า ผู้ตอบมีอาชีพทำ การเกษตรก็ต้องบันทึกข้อมูลเนื้อที่ถือครองทำการเกษตร ( ข้อ 6) ด้วย ฉะนั้นในการตรวจสอบความครบถ้วนผู้ตรวจสอบจะต้องดูทุกรายการว่าได้มีการ บันทึกหรือไม่บันทึกอย่างไร

- ความถูกต้องและความแนบนัยของข้อมูล เป็นการตรวจสอบข้อมูลที่บันทึกอยู่ในแบบ ข้อถามว่ามีความถูกต้องหรือไม่ แบบข้อถามบางแบบอาจจะบันทึกมาครบถ้วนทุกรายการที่กำหนด แต่ข้อมูล ที่บันทึกอาจไม่ถูกต้อง เช่น จากแบบสำรวจข้างต้น ถ้าการบันทึกแบบเป็นดังนี้

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

เมื่อตรวจสอบแบบข้างต้นอย่างละเอียดแล้ว จะพบความผิดในการบันทึกข้อมูลดังนี้

1) ข้อ 2 การบันทึกเครื่องหมาย 3 ทั้งสองแห่ง ที่ถูกควรกา 3 ที่เพศชาย ไม่ใช่กา 3 ทั้งสองเพศ

2) อายุ 14 ปี มีการศึกษาจบปริญญาตรี ซึ่งจะเห็นว่าคนอายุ 14 ปี ยังไม่น่าที่จะจบปริญญาตรี ฉะนั้นจะเห็นว่าการบันทึกข้อมูล ในข้อ 3 และข้อ 4 นี้ไม่แนบนัยกัน
3) การบันทึกในข้อ 6 มีที่นา 10 ไร่ ได้ผลผลิตข้าว 20 เกวียน ( เท่ากับ 2,000 ถัง ) เฉลี่ย ผลผลิตต่อไร่ = เท่ากับ 200 ถังต่อไร่ ซึ่งสูงผิดปกติ เพราะตามความเป็นจริงนั้นผลผลิตข้าวเฉลี่ย 1 ไร่ จะไม่สูงถึง 200 ถัง ฉะนั้น การบันทึกข้อมูลอาจจะผิดที่จำนวนที่นาหรือจำนวนผลผลิต ก็ได้

1.12 การคำนวณค่าสถิติ

ค่าสถิติที่นิยมใช้สำหรับสรุปผลข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล และนำเสนอข้อมูลได้แก่

1. ยอดรวม (Total) คือ การนำข้อมูลสถิติมารวมกันเป็นผลรวมทั้งหมด เช่น จำนวนประชากรทั้งหมด ในภาคเหนือ จำนวนคนว่างงานทั้งประเทศ เป็นต้น
2. ค่าเฉลี่ย (Average, Mean) หมายถึง ค่าเฉลี่ยซึ่งเกิดจากข้อมูลของผลรวมทั้งหมดหารด้วยจำนวนรายการของข้อมูล เช่น การวัดส่วนสูงของผู้เข้ารับการอบรมสถิติ จำนวน 20 คน สำหรับส่วนสูงของผู้เข้ารับการอบรม 20 คน ที่วัดได้เป็นเซ็นติเมตร มีดังนี

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

3. สัดส่วน (Proportion) คือ ความสัมพันธ์ของจำนวนย่อยกับจำนวนรวมทั้งหมด กล่าวคือ ให้ถือจำนวนรวมทั้งหมดเป็น 1 ส่วน เช่น

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

4. อัตราร้อยละหรือเปอร์เซนต์ (Percentage or Percent) คือ สัดส่วน เมื่อเทียบต่อ 100 การคำนวณก็ทำได้ง่าย โดยเอา 100 ไปคูณสัดส่วนที่ต้องการหาผลลัพธ์ก็จะออกมาเป็นร้อยละ หรือเปอร์เซนต์

ตัวอย่าง ในโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง มีคนไข้อยู่ 750 คน แยกเป็นคนไข้ประเภทต่าง ๆ ดังนี้ คนไข้ โรคทรวงอก 180 คน คนไข้ระบบทางเดินอาหาร 154 คน คนไข้ระบบประสาท 145 คน คนไข้ โรคตา หู คอ จมูก 112 คน ที่เหลือเป็นคนไข้โรคอื่น ๆ 159 คน เราจะหาร้อยละหรือเปอร์เซนต์ของคนไข้ประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

การเก็บรวบรวมข้อมูล โดย การทอดแบบ

5. อัตราส่วน (Ratio) คือ ความสัมพันธ์ของตัวแปรที่มีต่อกันระหว่างตัวแปรสองตัวแปร เป็น การเปรียบเทียบตัวเลขจำนวนหนึ่งหรือหลายจำนวนกับตัวเลขอีกจำนวนหนึ่ง ตัวเลขที่เราใช้เปรียบเทียบ ด้วยนั้นเราเรียกว่า “ ฐาน ” เราสามารถคำนวณหาอัตราส่วนได้โดยใช้ตัวเลขจำนวนที่เราต้องการจะเปรียบเทียบ ตั้งหารด้วยตัวฐาน ตัวอย่างเช่น

• อัตราส่วนระหว่าง 502 ต่อ 251 คือ 2 ต่อ 1 ซึ่งเราใช้ตัวเลข 251 เป็นฐาน 502 เป็นตัวเลขที่ต้องการจะเปรียบเทียบกับตัวเลขฐาน 251
• หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีประชากรทั้งสิ้น 7,530 คน เป็นเพศชาย 4,110 คน เป็นเพศหญิง 3,420 คน จะหาอัตราส่วนของเพศชายต่อเพศหญิงของประชากรในหมู่บ้านนี้จะเป็น 4,110 ต่อ 3,420 คือ 1.2 ต่อ 1 หมายความว่า ในหมู่บ้านนี้มีประชากรเพศชายเป็นจำนวน 1.2 เท่าของจำนวนประชากรเพศหญิง

หมู่บ้านแห่งหนึ่งมีประชากร 759 คน มีเนื้อที่ 30 ตารางกิโลเมตร ดังนั้น ความหนาแน่น ของประชากรในหมู่บ้านนี้ จะเท่ากับ 25.3 คนต่อตารางกิโลเมตร