ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

เป็นที่ทราบกันดีว่าเด็กในวันนี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันหน้าซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญของประเทศชาติในอนาคต เพื่อให้สังคมไทยมีความรู้ความเข้าใจกับคำว่า “เด็ก” ที่ถูกต้องตรงกัน จึงขอนำความหมายของคำว่า “เด็ก” ตามพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พุทธศักราช 2542 ซึ่งมี 6 ความหมายดังนี้

1.คนที่มีอายุน้อย

2.ผู้เยาว์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

3.ผู้ที่อายุยังไม่ครบ 18 ปีบริบูรณ์และยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วยการสมรส

4.บุคคลที่มีอายุเกิน 7 ปีบริบูรณ์แต่ยังไม่เกิน 14 ปีบริบูรณ์

5.บุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีลงมา

6.บุคคลผู้มีอายุไม่เกิน 18 ปีบริบูรณ์

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

โดยทั่วไปแล้วคงทราบกันดีว่า​เด็ก หมายถึง ผู้ที่มีอายุไม่เกิน 15 ปีบริบูรณ์ เพศชายมีคำนำหน้าชื่อของตนว่า เด็กชาย เพศหญิงมีคำนำหน้าชื่อของตนว่า เด็กหญิง ทั้งเด็กชายและเด็กหญิงที่กล่าวถึงนี้กำลังศึกษาเล่าเรียนอยู่ในชั้นประถมศึกษาตอนต้น-ตอนปลาย และชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

วันเสาร์สัปดาห์ที่สองในเดือนแรกของทุกปีเป็นวันเด็กแห่งชาติ สำหรับปีนี้ตรงกับวันเสาร์ที่ 8 มกราคม 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหมได้มอบคำขวัญเนื่องในวันเด็กแห่งชาติในปีนี้ว่า​ “รู้คิด รอบคอบ รับผิดชอบต่อสังคม” เป็นคำขวัญซึ่งให้หลักคิดที่ดี เป็นข้อคิดเตือนใจแก่เด็กในการดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง และยังเป็นประโยชน์แก่คนทุกเพศ ทุกวัย ทุกสาขาอาชีพในการทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

วันเด็กแห่งชาติในปีนี้คงต้องนำ​ปัญหาที่มีผลกระทบต่อเด็ก​ในการดำเนินชีวิตและการศึกษาเล่าเรียนมาให้สังคมไทยได้ร่วมกันพิจารณา เพื่อให้ครอบครัวและโรงเรียนซึ่งมีความใกล้ชิดกับเด็ก ได้ให้ความสำคัญกับการเอาใจใส่ในการดูแลเด็กภายใต้สถานการณ์การ​ระบาดใหญ่​ (pandemic) ของโควิด-19 ในทั่วโลกและประเทศไทย​ ซึ่งอุบัติขึ้นตั้งแต่ต้นปี 2563 เป็นต้นมาต่อเนื่องจนถึงต้นปี 2565 ในปัจจุบัน แนวทางการยับยั้งการระบาดใหญ่ของโควิด-19 ในแต่ละประเทศเป็นไปในทิศทางเดียวกัน​ คือ​ ปิดประเทศ ปิดเมือง (lock down) ซึ่งมีมาตรการควบคุมกิจกรรมทางเศรษฐกิจและกิจกรรมทางสังคม​ โดยผู้ใหญ่ต้องทำงานอยู่ที่บ้าน​ ไปที่ทำงานไม่ได้​ ในขณะที่เด็กเรียนหนังสือทางออนไลน์อยู่ที่บ้าน​ ไปโรงเรียนไม่ได้​ ส่งผลให้ประชาชนในแต่ละประเทศไม่สามารถดำเนินชีวิตตามปกติดังที่เคยเป็นอยู่ แต่ต้องดำเนินชีวิตวิถีใหม่ (new normal)

การสะท้อนสภาพปัญหาที่เกิดกับเด็กของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข และ องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (​United Nations International Children’s Emergency Fund -​ Unicef)​เ​ป็นสิ่งที่ทุกภาคส่วนของสังคม ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาชน จะต้องรับรู้ปัญหาและร่วมกันแสวงหาทางออกกับการแก้ปัญหาที่เกิดกับเด็ก​ ความรู้ความเข้าใจในบริบทของสภาพปัญหาเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด จึงขอนำข้อมูลและสภาพการณ์ที่เกิดกับเด็กมาให้ได้พิจารณาไตร่ตรองกัน​ ดังนี้​

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

พญ.อัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า การระบาดของโควิด-19 ทำให้วิถีชีวิตของเด็กวัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไปมาก เด็กจำนวนหนึ่งอาจไม่สามารถปรับตัวกับการเรียนรูปแบบใหม่ จนเกิดผลกระทบต่อการเรียนและพัฒนาการหลายด้าน ทั้งผลกระทบต่อผู้ปกครองและครอบครัวก็ทำให้การเลี้ยงดูทำได้ไม่เต็มศักยภาพ ไม่สามารถใช้เวลาที่มีคุณภาพกับเด็กได้เพียงพอ ปฏิสัมพันธ์ภายในครอบครัวเปลี่ยนแปลงจากการเจ็บป่วย การเว้นระยะห่างทางสังคม การงดกิจกรรมนอกบ้าน และการสวมหน้ากากอนามัย ทั้งนี้ การขาดความรู้ ความตระหนักในสุขภาพจิต ปัญหาการตีตรา และขาดแคลนทรัพยากรด้านสุขภาพจิต ทำให้หลายคนพลาดโอกาสได้รับการดูแล ซึ่งในประเทศไทยมีจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น ในหน่วยงานรัฐประมาณ 200 คน ถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับประชากรวัยรุ่น 15 ล้านคน

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

กรมสุขภาพจิตได้ประเมินสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นไทยอายุต่ำว่า 20 ปีกว่า 1.8 แสนราย ผ่านแอพพลิเคชั่น Mental Health Check-in ตั้งแต่ 1 ม.ค.63-30 ก.ย. 64 พบว่าวัยรุ่นมีความเครียดสูง ร้อยละ 28 เสี่ยงซึมเศร้าร้อยละ 32 เสี่ยงฆ่าตัวตาย ร้อยละ 22 ชี้วัยรุ่นเครียดสูง เข้าสังคมลดลง ติดจอและเกมออนไลน์มากขึ้น ยังพบบางรายทะเลาะกันในครอบครัวนำไปสู่การฆ่าตัวตาย

ก่อนโควิดเด็กและเยาวชน ต่างแบกภาระทางสุขภาพจิตที่แทบไม่เคยถูกกล่าวถึงอยู่แล้ว ซึ่งจากการประเมินพบว่า เด็กอายุ 10-19 ปี กว่า 1 ใน 7 คนทั่วโลกมีความป่วยทางจิตที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ และวัยรุ่นเกือบ 46,000 คนเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิต เปิดเผยว่า สาเหตุหลักของการเสียชีวิตในวัยรุ่นในประเทศไทย ระบุว่า เด็กและเยาวชนอายุ 10-29 ปี ราว 800 คนฆ่าตัวตายสำเร็จใน พ.ศ. 2562 ในขณะที่ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ พบว่า เด็กวัยรุ่นอายุ 10-19 ปีกว่า 10,000 คน ได้โทรฯเข้าสายด่วนสุขภาพจิต 1323 เพื่อขอรับคำปรึกษา ปัญหาที่พบมากที่สุด คือ ความเครียดและความวิตกกังวล ปัญหาความรัก และภาวะซึมเศร้า

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

องค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ ได้เผยแพร่รายงาน The State of the World’s Children 2021; On My Mind: promoting, protecting and caring for children’s mental health ซึ่งชี้ให้เห็นว่าเด็กอย่างน้อย 1 ใน 7 คนทั่วโลกได้รับผลกระทบจากมาตรการปิดเมือง ในขณะที่เด็กอีกมากกว่า 1,600 ล้านคนต้องเผชิญกับการเรียนรู้ที่หยุดชะงักลง และอาจจะต้องเผชิญกับผลกระทบด้านสุขภาพจิตต่อไปอีกหลายปี

ที่จริงแล้ว สภาพปัญหาที่เกิดกับเด็กในปัจจุบันยังมีอีกมากมายในหลายมิติ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาด้านการศึกษา อาทิ ไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาไทยและไม่เข้าใจความหมายของข้อความที่อ่าน ไม่มีสมรรถนะในการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self learning) ไม่มีอุปนิสัยรักการอ่าน ปัญหาด้านโภชนาการ อาทิ ไม่ได้รับประทานอาหารมื้อเช้าก่อนไปโรงเรียน รับประทานอาหารไม่ครบ 5 หมู่ ปัญหาด้านสุขภาพ อาทิ มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (Non Communicable Diseases-NCDs) ทั้งโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคในช่องปาก เจ็บป่วยจากการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ ปัญหายาเสพติด ปัญหาการดื่มสุรา ปัญหาการพนัน ปัญหาการใช้ความรุนแรง ฯลฯ

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบัน 2563

น่าเสียดายว่าประเทศไทยเป็นเมืองพุทธ ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศนับถือพระพุทธศาสนาแต่ไม่ได้รับประโยชน์จากการนับถือพระพุทธศาสนาเลย เพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจในพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงมีแต่ความเห็นผิด (มิจฉาทิฏฐิ)  จึงกล้าประพฤติปฏิบัติทุจริตทั้งทางกาย วาจา ใจ ด้วยความไม่ละอายชั่ว ไม่กลัวบาป สังคมไทยจึงไม่มีความสงบสุขสมกับคำว่า “เมืองพุทธ”

อย่างไรก็ตามในโอกาสที่ยังอยู่ในห้วงเวลาต้นปีพุทธศักราช 2565 ขอเชิญฟังการสนทนาธรรม เรื่อง “รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า”โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา ในวันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม 2565 เวลา 09.00 – 10.00 น. ทางสถานีวิทยุมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คลื่น เอ.เอ็ม. 1107 กิโลเฮิรตซ์ ทางเว็บไซต์ ผิดพลาด! การอ้างอิงการเชื่อมโยงหลายมิติไม่ถูกต้อง และเว็บไซต์ www.dhammahome.com เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตในปีใหม่นี้และตลอดไป

ฟังธรรมเรื่อง “รู้จักพระสัมมาสัมพุทธเจ้า” โดย สุจินต์ บริหารวนเขตต์

…………………………………..
คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ
โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”
อ่านเพิ่มเติมที่.. แฟนเพจ
: สาระจากพระธรรม

ปัญหาเยาวชนไทยในปัจจุบันมีอะไรบ้าง

1) ปัญหาด้านยาเสพติด พบว่า เด็กและเยาวชนมีการเสพยาบ้า สารระเหย กัญชา และ 4X100. 2) ปัญหาด้านพฤติกรรม ได้แก่ ความฟุ้งเฟ้อ การแต่งกาย ติดเกม ขาดวินัย ความรับผิดชอบ ไม่รู้จักหน้าที่ของตนเอง ขาดความร่วมมือกับชุมชน ไม่มีพลังเยาวชน และขาดจิตสำนึก

สถาพปัญหาเยาวชนไทยปัจจุบันเป็นอย่างไร

ปัจจุบันปัญหาของวัยรุ่นในสังคมไทยรุนแรงและซับซ้อนมากขึ้น เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคมเมือง ประกอบกับวัยรุ่นเป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของการเจริญเติบโตมีความเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และอารมณ์ ทำให้วัยรุ่นประสบปัญหามากมาย เช่น ปัญหาเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาการทำแท้ง ปัญหาโรค ...

วัยรุ่นไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร

สถานการณ์ปัญหาเด็กและเยาวชนในสังคมไทยยุคปัจจุบัน ได้ทวีความรุนแรงสูงมากขึ้นเกือบทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการมีทัศนคติและพฤติกรรมเบี่ยงเบน เหินห่างศาสนามีค่านิยมแบบบริโภคนิยมอย่างฟุ่มเฟือย การทะเลาะวิวาท ติดยาเสพติด การเสพสื่อลามกอนาจาร ติดเกม ฯลฯ ซึ่งปัญหาการมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร และขาดความรู้ความเข้าใจในการ ...

ปัญหาสําคัญของวัยรุ่นคืออะไร

ปัญหาเด็กวัยรุ่น ใช้ยาเสพติด ดื่มเหล้าสุรา ใช้สารเสพติด รวมทั้งติดเกม ติดการchat เล่นfacebookสาเหตุหลักๆมาจาก ขาดที่พึ่งพา หรือที่ยึดเหนี่ยวทางใจ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่า ความสุขในการดำรงชีวิต ขาดความสุขในครอบครัว รวมทั้งเด็กไม่มีภูมิต้านทานแรงกดดันจากเพื่อน ซึ่งทั้งหมดมีทางออก หากพ่อแม่หรือคนในครอบครัวมีความสัมพันธ์ที่ดี ...