การฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

ความหมาย
 หมายถึง  การอ่านที่ผู้อ่านนำเอาวิธีคิดอย่างมีวิจารณญาณ  มาใช้ในการรับสารจากการอ่าน ทั้งนี้  เพื่อประเมินสิ่งที่อ่าน และ ตัดสินใจว่าสิ่งที่ผู้เขียนนำเสนอมีเหตุผลน่าเชื่อถือหรือไม่  เพียงใด การอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะการอ่านขั้นสูง  ที่ผู้อ่านจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านเพื่อเป็นพื้นฐานในการวิเคราะห์วิจารณ์ในขั้นสูงต่อไป  ทักษะการอ่านอย่างมีวิจารณญาณเป็นสิ่งที่มีความสำคัญ  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโลกของข้อมูลข่าวสารเช่นในปัจจุบัน  ทั้งนี้เพราะจะช่วยให้ผู้อ่านรู้จักวิเคราะห์ ตรวจสอบ และเลือกรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ได้อย่างมีเหตุผล

ลำดับขั้นการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๑.  จำความหมายของคำ  ข้อความ  หรือประโยค
๒.  เข้าใจเนื้อเรื่องที่อ่าน  สรุปมโนทัศน์ของเรื่อง  เรียงลำดับเหตุการณ์  หรือ  เล่าเรื่องได้
๓.  นำเหตุการณ์และถ้อยคำ หรือ ประโยคที่ได้จากการอ่านไปเทียบเคียงหรือแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน
๔.  วิเคราะห์แยกแยะรายละเอียดของเนื้อเรื่อง  เช่น  บุคลิกภาพของตัวละคร  หรือ ลักษณะพิเศษที่ทำให้เกิดเหตุการณ์สำคัญของเรื่อง
๕.  สังเคราะห์โดยการเปรียบเทียบกับสถานการณ์  คติ  สำนวน  สุภาษิตที่เกี่ยวข้อง
๖.  ประเมินค่า  พิจารณาตัดสินข้อเท็จจริง  หรือข้อคิดเห็น  รวมทั้งคุณค่าเหตุผล  และ  ความประทับใจที่ได้รับจากการอ่าน

หลักปฏิบัติในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
๑.  นั่งในท่าสบาย  ลำตัวตรง
๒.  กะระยะสายตาห่างจากหนังสือประมาณ  ๑  ฟุต
๓.  ไม่เอียงคอ  หรี่ตา  หรือส่ายหน้าตามบรรทัด
๔.  ไม่ทำปากขมุบขมิบ  หรือออกเสียงขณะอ่าน
๕.  กวาดสายตาตลอดบรรทัด  ไม่มองย้อนกลับ
๖.  ไม่ใช้นิ้วชี้ตามตัวอักษร
๗.  มีสมาธิและปฏิบัติตามลำดับขั้นการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
การอ่านงานเขียนโดยทั่วไปนั้น   ต้องรู้จักคิด พิจารณาไตร่ตรองให้รอบคอบ การอ่านอย่างมีวิจารณญาณต้องอาศัยการวิเคราะห์เป็นพื้นฐาน ผนวกกับการประเมินค่าเรื่องที่เราอ่านอีกขั้นหนึ่ง คือ สามารถวิจารณ์เรื่องนั้น แสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล วิเคราะห์ถ้อยคำ ประโยค วิเคราะห์ทรรศนะของผู้แต่งและเนื้อหาได้

การฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  
การฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  
การฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ
  
การฟังและการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ

                การฟัง เป็นการรับรู้ความหมายของสาร กระบวนการฟังจะเริ่มตั้งแต่เสียงมากระทบกับประสาทหู เกิดการได้ยิน การฟังจะมีกระบวนการทำงานของสมองมาเกี่ยวข้องด้วย สามารถรับรู้สิ่งที่ได้ยิน ตีความ จับความ เข้าใจความหมาย และจดจำไว้

                วิจารณญาณคือ ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง

                การฟังการอ่านให้เกิดวิจารณญาณจะต้องตั้งใจ ทำความเข้าใจเนื้อหาสาระ รู้จักคิดใคร่ครวญ ใช้ความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ของตนประกอบการพิจารณา

                การฟังการอ่านให้เกิดวิจารณญาณนั้น อาจสรุปได้ดังนี้

๑.             พิจารณาจุดมุ่งหมายของผู้พูด

๒.             พิจารณาความเป็นไปได้ของเรื่อง

๓.             พิจารณาความน่าเชื่อถือของเรื่อง

๔.             พิจารณาสารประโยชน์ แง่คิดของเรื่อง

๕.             วินิจฉัยความเข้าใจของผู้พูด

๖.             พิจารณาวิธีการพูด วิธีการถ่ายทอดของผู้พูด

กระบวนการฟังให้เกิดวิจารณญาณ

                กระบวนการฟังสารให้เกิดวิจารณญาณ เริ่มจากเกิดการรับรู้ เข้าใจความหมายของสาร ต่อจากนั้นจะต้องใช้ความคิดวิเคราะห์ ใคร่ครวญ ตัดสินใจได้ว่าสิ่งใดเป็นใจความสำคัญ สิ่งใดเป็นพลความแยกข้อเท็จจริง ออกจากความคิดเห็นได้ วินิจฉัยได้ว่าสารที่ฟังนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่มากน้อยเพียงใด ประเมินค่าได้ ทั้งประเมินค่าของสารที่ฟัง และประเมินค่าผู้พูดในด้านต่าง ๆ

                การฟังเพื่อให้เกิดวิจารณญาณจะต้องฟังอย่างไม่มีอคติ

การพัฒนาวิจารณญาณในการฟัง

                การฝึกฟังประเภทต่าง ๆ จะช่วยพัฒนาวิจารณญาณในการฟังได้ โดยทั่วไปสารแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ

1.              สารให้ความรู้

สารให้ความรู้บางชนิดเข้าใจได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องใช้วิจารณญาณ แต่บางชนิดจำเป็นต้องใช้วิจารณญาณ เช่น บทความที่แฝงแง่คิดและเจตนาไว้ การฟังสารให้ความรู้เพื่อให้เกิดวิจารณญาณ มีแนวทางปฏิบัติดังนี้

๑.๑       พิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์ควรแก่การฟังหรือไม่

๑.๒   เรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณในการฟัง ต้องตั้งใจฟัง จับประเด็นสำคัญให้ได้ วินิจสาร คือ ตีความให้ได้ความหมายที่แท้จริงที่ผู้ส่งสารสื่อถึงผู้ฟัง ตรวจสอบความสามารถในการวินิจสาร เทียบกับคนอื่นที่ฟัง

๑.๓          แยกข้อเท็จจริงจากข้อคิดเห็น พิจารณาทัศนคติของผู้พูด พิจารณา ความน่าเชื่อถือของสาร

๑.๔          บันทึกประเด็นสำคัญไว้ บันทึกคำถามหรือประเด็นที่ควรอภิปรายไว้

๑.๕       ประเมินค่าสารนั้นว่ามีประโยชน์ มีแง่คิด มีคุณค่าอะไรบ้าง

๑.๖    พิจารณากลวิธีในการเสนอความรู้ของผู้พูด การใช้ถ้อยคำสำนวน ถูกต้องเหมาะสมหรือไม่

2.              สารโน้มน้าวใจ

                เมื่อฟังสารประเภทนี้ จะต้องพิจารณาก่อนว่าผู้ส่งสารมีจุดมุ่งหมาย อย่างไร เป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ดี การฟังที่โน้มน้าวใจ อาจพิจารณาดังนี้

๒.๑  สารนั้นดึงดูดความสนใจของผู้ฟัง หรือเสริมสร้างความน่าเชื่อถือของผู้พูดมากน้อยเพียงใด

๒.๒   สารนั้นสนองความต้องการหรือก่อให้ผู้ฟังเกิดความปรารถนาอย่างไร มากน้อยเพียงใด

๒.๓   ผู้พูดเสนอแนวทางที่จะสนองความต้องการของผู้บังคับหรือประโยชน์ที่ผู้ฟังจะได้รับอย่างไร

๒.๔   สารนั้นเร้าให้ผู้ฟังเชื่อถือเกี่ยวกับสิ่งใด ต้องการให้ผู้ฟังคิดปฏิบัติ อย่างไร

๒.๕   ภาษาที่ใช้มีลักษณะเร้าอารมณ์อย่างไร

3.              สารจรรโลงใจ

สารจรรโลงใจจะทำให้ผู้ฟังผ่อนคลายจากความตึงเครียด เกิดความสุข ช่วยยกระดับจิตใจของมนุษย์ให้สูงขึ้น การฟังสารจรรโลงใจมีวิธีสำคัญ ดังนี้

๓.๑   ตั้งใจฟัง ทำใจให้สบายในขณะที่ฟัง

๓.๒   ทำความเข้าใจเนื้อหาสำคัญ ใช้จินตนาการให้ตรงจุดประสงค์ของสาร

๓.๓   พิจารณาว่าสารนั้นจรรโลงใจในแง่ใด อย่างไร สมเหตุสมผลหรือไม่

๓.๔   พิจารณาการใช้ภาษาว่าเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้รับสารเพียงใด

แบบทดสอบ

๑.     ที่ชายชลเขาชะโงกเป็นโกรกธารน้ำพุพุ่งซ่า ไหลมาฉาดฉาน เห็นตระการ มันไหลจอก ๆ โครม ๆ มันดังจอก ๆ จอก ๆ โครม ๆ

1.             สารให้ความรู้

2.             สารจรรโลงใจ

3.             สารโน้มน้าวใจ

4.             ข้อ ๑ และข้อ ๓

.   ลูกเอ๋ย กลับบ้านของเราเถอะนะ ลูกเป็นหัวใจของบ้านเรา ทุกคนในบ้านรักลูก อยากเห็นลูกเป็นคนดี กลับเนื้อกลับตัวกลับบ้านพร้อมพ่อแม่เถิดลูกรัก

๑.           สารให้ความรู้

๒.           สารจรรโลงใจ

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔            ข้อ ๑ และข้อ ๓

๓.      วิธีทำหมูอบนั้นต้องล้างเนื้อหมูให้สะอาด หั่นเป็นชิ้น โขลกรากผักชี กระเทียม เกลือ พริกไทยให้ละเอียด ใส่ซีอิ๊วขาว เหล้า เนย เคล้ากับหมูให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้สักครู่ แล้วนำไปอบด้วยไฟ 400 องศาฟาเรนไฮต์ จนเนื้อหมูสุกดี

๑.           สารให้ความรู้

๒.           สารจรรโลงใจ

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔.           ข้อ ๑ และข้อ ๓

๔.  ผิวของคุณจะนุ่มนวลอ่อนละมุน เมื่อคุณใช้ครีมทาผิว....ที่ผสมด้วยน้ำมะนาว ผิวสาวของคุณจะสดสวยตลอดกาล อย่ารอช้าปล่อยเวลาให้ผ่านไป รีบใช้ครีมทาผิว.......

๑.           สารให้ความรู้

๒.           สารจรรโลงใจ

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔.           ข้อ ๑ และข้อ ๓

๕.      พิศดูหมู่วิหกผกโผผิน                                โบกบินร่อนร้องก้องขรม 
นกแก้วสาลิกาน่าชม                                    เสียงระงมพลอดเพรียกเรียกกัน    
นกเขาเคล้าคู่ชูคอ                                          จับตอต้นตาลขานขัน        
เสียงคู่กู่พร้องก้องอรัญ                                ผลัดกันไซ้ขนต้นคอ

นกแก้วสาลิกาน่าชม                                    เสียงระงมพลอดเพรียกเรียกกัน    
นกเขาเคล้าคู่ชูคอ                                          จับตอต้นตาลขานขัน        
เสียงคู่กู่พร้องก้องอรัญ                                ผลัดกันไซ้ขนต้นคอ

๑.           สารให้ความรู้

.           สารจรรโลงใจ

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔.           ข้อ ๑ และข้อ ๓

๖.     การดอกไม้ดอกหนึ่งจะมีสีใด ก็เป็นเพราะดอกไม้ดอกนั้นมีเกล็ดบางอย่าง แทรกอยู่ในเนื้อเยื่อของกลีบ และเกล็ดนั้นสะท้อนแสงสีนั้นเข้ามานัยน์ตาเรา เช่น ดอกบานบุรี มีเกล็ดเหลืองแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อของกลีบ เมื่อแสงอาทิตย์ส่องมาโดนเกล็ดเหลือง ก็สะท้องแสงสีเหลืองมาเข้านัยน์ตาเรา เราก็เห็นดอกบานบุรีเป็นสีเหลือง

.           สารให้ความรู้

๒.           สารจรรโลงใจ

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔.           ข้อ ๑ และข้อ ๓

๗.    ถึงเวลาแล้วที่คุณต้องรู้จักวางแผนครอบครัว การวางแผนครอบครัวจะช่วยให้คุณมีเวลาเอาใจใส่ดูแลลูกได้มากขึ้น ทั้งคุณก็จะมีเวลาพักผ่อน ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย วิธีการวางแผนครอบครัวนั้นแสนสะดวกและปลอดภัย อย่ามัวรีรอไปติดต่อรับบริการได้ที่โรงพยาบาลทุกแห่งทั่วประเทศ

๑.        สารให้ความรู้

๒.           สารจรรโลงใจ

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔.           ข้อ ๑ และข้อ ๓

ใช้ข้อความต่อไปนี้ตอบคำถามข้อ ๘-๑๔

      “วันเพ็ญเดือนสิบสอง                                  น้ำนองเต็มตลิ่ง   
เราทั้งหลายชายหญิง                                    สนุกกันจริงวันลอยกระทง               
ลอย ลอยกระทง                                            ลอยลอยกระทง   
ลอยกระทงกันแล้ว                                       ขอเชิญน้องแก้ว  
ออกมารำวง                                                    รำวงวันลอยกระทง            
รำวงวันลอยกระทง                                      บุญจะส่งให้เราสุขใจ         
บุญจะส่งให้เราสุขใจ

๘.      เนื้อหาของเพลงนี้ควรจัดเป็นสารประเภทใดชัดเจนที่สุด

๑.          สารจรรโลงใจ

๒.         สารให้ความรู้

๓.           สารโน้มน้าวใจ

๔.           สารโฆษณาชวนเชื่อ

๙.      สารตอนใดมีข้อเสนอที่สอดคล้องกับความต้องการพื้นฐานของผู้ฟัง

๑.         น้ำนองเต็มตลิ่ง

.           รำวงวันลอยกระทง

๓.         ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง

๔.           บุญจะส่งให้เราสุขใจ

๑๐.  สารดังกล่าวนี้ไม่ได้กล่าวถึงสิ่งใด

๑.         กำหนดวันลอยกระทง

๒.           รำวงวันลอยกระทง

.           การทำบุญวันลอยกระทง

๔.           ความสนุกสนานวันลอยกระทง

เฉลยแบบทดสอบ

๑.                                                .                                                      .                                      .   

.                                                .                                                       .                                      .    

.                                                 ๑๐



สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ( ๒๕๕๐ )วรรณสารศึกษา เล่ม ๑พิมพ์ครั้งที่ ๗กรุงเทพฯ คุรุสภาลาดพร้าว.

วิจารณญาณในการฟังและการดูหมายถึงอะไร

วิจารณญาณในการฟังและดู คือการรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

วิจารณญาณในการฟัง มีอะไรบ้าง

หลักการฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณ 1. พิจารณาว่าผู้พูดหรือผู้แสดงมีจุดมุ่งหมายอย่างไร จุดมุ่งหมายนั้นชัดเจนหรือไม่ 2. เรื่องที่ฟังหรือดูนั้นให้ประโยชน์ แง่คิด ก่อให้เกิดความเจริญงอกงาม หรือมีความคิดสร้างสรรค์อย่างไร 3. เนื้อหาของเรื่องนั้นมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใด

การฟังและการดูมีความสําคัญอย่างไร

การฟังและดูเป็นการรับสารเข้าสู่สมอง ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น การฝึกรับสารด้วยการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญ จะทำให้ผู้รับสารมีความรู้ที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมและนำความรู้ที่ได้รับพูดนำเสนออกไปได้อย่างมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

การอ่านอย่างมีวิจารณญาณหมายถึงอะไร

วิจารณญาณในการอ่าน คือการรับสารจากการอ่านให้เข้าใจเนื้อหาสาระแล้วใช้สติปัญญาใคร่ครวญหรือไตร่ตรอง โดยอาศัยความรู้ ความคิด ประสบการณ์มาเป็นเหตุผลประกอบและสามารถนำไปใช้ในชีวิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสม