ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์

ความคิดสร้างสรรค์เป็นความจำเป็นของธุรกิจที่ต้องส่งเสริมพนักงานให้มีทักษะนี้ เพื่อให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้  มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ และผลักดันการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความท้าทายการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันได้

Show

แต่เวลาที่เราพูดถึงความคิดสร้างสรรค์ เรานึกถึงอะไร  

- นึกถึงศิลปินวาดภาพงานศิลปะที่สวยงาม 

- นักออกแบบที่มีจินตนาการและทักษะในการออกแบบสถาปัตยกรรมร่วมสมัย

- ผู้กำกับภาพยนต์ สร้างหนังและซีรีย์ 

- นักคิดที่สร้างเทคโนโลยีระดับโลก  อย่าง สตีฟ จอบส์ (Steve Jobs) 

สิ่งที่เขียนมาทั้งหมดข้างบนนี้ เป็นความคิดสร้างสรรค์แน่นอน แต่คนที่คิดสร้างสรรค์ ยังรวมไปถึงคนที่คิดวิธี สิ่งที่มีคุณค่าและเป็นประโยชน์ในการทำสิ่งต่างๆ  และใช้แก้ปัญหาเป็นประจำ ซึ่งถือว่า นั่นคือความคิดสร้างสรรค์ที่เป็นประโยชน์อย่างมากในการทำธุรกิจ 

ช่วงเริ่มธุรกิจใหม่ๆ หรือช่วงเริ่มทำงานใหม่ๆ โปรเจคใหม่ๆ ทุกคนมักจะมีไอเดียดีๆมานำเสนอ มาทดลอง มาทำกัน แต่พองานเริ่มไปได้ดี และมั่นคง แล้ว ความคิดสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ เริ่มหายไป คนเริ่มไม่กล้าคิด ไม่กล้าเสนอหรือทำสิ่งใหม่ๆ เพราะกลัวว่าจะทำได้ไม่ดีเท่าเดิม 

การพัฒนาพนักงานให้มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถทำได้ เพราะความคิดสร้างสรรค์ ไม่ใช่พรสวรรค์ แต่เป็นทักษะที่สามารถส่งเสริม และฝึกฝน เพื่อการพัฒนาอย่างต่อเนื่องได้ ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้  มีการพัฒนากลยุทธ์ใหม่ ๆ และผลักดันการเปลี่ยนแปลงภายในองค์กร เพื่อให้ได้เปรียบในการแข่งขันและเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพื่อรับมือกับความท้าทายการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบันได้

แนวทางการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ในองค์กร

1. ส่งเสริมและสนับสนุนการให้คุณค่าและรางวัลสำหรับผู้ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในด้านต่างๆ เช่น การแก้ไขปัญหาในองค์กร การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรมขึ้นมาได้ เป็นต้น

2. นำวิธีการ เครื่องมือ ต่างๆ มาใช้ในกระบวนการทำงาน และถ่ายทอดสร้างองค์ความรู้  เพื่อให้คนทำงานมีแนวทางปฏิบัติในการคิดสร้างสรรค์ให้เข้ากับกระบวนการทำงานประจำวัน

3. ใช้คำถามเพื่อระดมความคิดและแก้ปัญหาทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพราะคำถามดีๆสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆออกมาได้  

4. สร้างเสริมสร้างแนวคิดกลยุทธ์และเทคนิคใหม่ ๆ ขององค์กรอย่างต่อเนื่อง

5. มีการจัดการความรู้ (knowledge management) อย่างเหมาะสม ให้พนักงานเข้าถึงแหล่งความรู้ได้ทั้งในและนอกองค์กร

6. ส่งเสริมคนทำงานให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างเป็นทีม จนเป็นวัฒนธรรมขององค์กร

7. และที่สำคัญ ผู้บริหาร ต้องเปิดใจยอมรับความคิดเห็นใหม่ๆ ยอมรับความความคิดต่างจากพนักงาน และกล้าตัดสินใจ สามารถจัดการความเสี่ยงและวางแผนกลยุทธ์ได้

ความคิดสร้างสรรค์ จะออกมาเป็นรูปเป็นร่าง พัฒนาออกมาจนเป็นสิ่งใหม่ๆ บริการใหม่ๆ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆได้นั้น ต้องมีความร่วมมือจากทั้งข้างบนลงล่าง และข้างล่างไปข้างบน  การร่วมมือร่วมใจ และเปิดใจทั้งผู้บริหารและพนักงานค่ะ

 .........................................

ติดตามข่าว เรื่องความคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม และแลกเปลี่ยนเรื่องการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่และนวัตกรรม หรือติดต่อวิทยากรอบรม In-House training หลักสูตรความคิดสร้างสรรค์  การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และนวัตกรรม (Product Development and Innovation) ได้ที่

  

ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
 

อ.ศศิมา สุขสว่าง (เก๋)
วิทยากร ที่ปรึกษา โค้ช ด้านการพัฒนานวัตกรรมและพัฒนาองค์กร

E-mail :
Website : www.sasimasuk.com

line ID : sasimasuk.com 
Facebook : https://www.facebook.com/CreativetoInnovation
Tel. : 081-560-9994 (โทรกลับเฉพาะเบอร์มือถือนะคะ)

บทความ “ ความคิดสร้างสรรค์ เป็นพื้นฐานขอบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ ” เป็นบทความลำดับที่ 3 ของหมวด เรื่องเล่า ความฝัน และความสำเร็จ จะกล่าวถึง ความนำ ความคิดสร้างสรรค์คืออะไร ประโยชน์ของการคิดสร้างสรรค์ การคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างไร คุณสมบัติของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ อุปสรรคของการสร้างความคิดสร้างสรรค์ ประเภทของความคิดเชิงสร้างสรรค์ ตัวอย่างความคิดสร้างสรรค์ของบุคคลผู้ประสบความสำเร็จ สรุป และคุยกับดร.ชา

  • 1.ความนำ
  • 2. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คืออะไร
    •              ความคิดสร้างสรรค์
    •             2.1 ต้องเป็นความคิดด้านบวก (Positive Thinking)  
    •             2.2 ต้องเป็นความคิดออกด้านข้าง (Lateral Thinking)
    •             2.3 ต้องเป็นความคิดใหม่ (New, original)
    •             2.4 ต้องเป็นความคิดที่นำมาใช้การได้ (Workable)
    •             2.5 ต้องไม่เป็นความคิดที่ทำร้ายใคร (Constructive Thinking)
    •             2.5 ต้องเป็นความคิดที่เหมาะสม (Appropriate)
  • 3.ประโยชน์ของการคิดสร้างสรรค์
    •             3.1 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ลงตัว
    •             3.2 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ก่อให้เกิดนวัตกรรม
    •             3.3 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ทำให้เราได้สิ่งที่ดีกว่า แทนการจมอยู่กับสิ่งเก่า ๆ
    •             3.4 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์เป็นความฉลาดประเภทหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หลายด้าน เช่น ความฉลาดในการสร้างสรรค์ (Creative Intelligence) ความฉลาดในการคิดวิเคราะห์ (Analytic Intelligence) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และความฉลาดในการปฏิบัติ (Practical Intelligence) เป็นต้น
  • 4. ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างไร
    •             4.1 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์เกิดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว
    •             4.2 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เกิดจากการเปรียบเทียบ
    •             4.7 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ มักจะเกิดกับคนที่เป็นนักอ่าน
    •             4.8 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจเกิดจากการจดบันทึก
  • 5.คุณสมบัติของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์
    •             5.1 ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้น
    •             5.2 ต้องคนเป็นมีสติปัญญาดี แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ
    •             5.3 มีบุคลิกลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่งจองหอง
    •             5.4 ต้องชอบศึกษาใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ
  • 6.อุปสรรคของการคิดสร้างสรรค์
    •             6.1 เป็นคนที่ชอบมองโลกในแง่ลบ
    •             6.2 เป็นคนที่กลัวความล้มเหลว
    •             6.3 ไม่มีเวลาที่จะคิดให้ได้ดี
    •             6.4 เป็นคนที่ยึดมั่นในกรอบมากจนเกินไป
    •             6.5 เป็นคนชอบทึกทักเอาเองว่า คงไม่มีอะไรใหม่
    •             6.6 ชอบอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา
    •             6.7 ชอบคิดว่า ตนเองเป็นไม่มีความคิดริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์
  • 7.ประเภทของความคิดเชิงสร้างสรรค์
  • 8.ตัวอย่างความคิดในเชิงสร้างสรรค์
    •             8.1 วาทะบุคคลสำคัญของโลก แสดงให้เห็นความคิดในเชิงสร้างสรรค์
  • 9. สรุป
  • คุยกับดร.ชา   

1.ความนำ

            ในบทความ (1) ได้กล่าวถึง ความสำเร็จจะเกิดขึ้น หากบุคคลมีแรงบันดาลใจ มีความฝันมีความทะเยอทะยาน มีความมุ่งมั่น และความเพียรพยายาม

            ปัญหา คือ คนเราควรจะใช้ความคิดประเภทใดในการสร้างความฝัน เพราะหากไม่รู้จักว่าควรจะใช้ความคิดประเภทใด ความฝันที่สร้างขึ้นอาจเป็นความฝันลม ๆ แล้ง ๆ เป็นความฝันที่ทำลายตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติก็ได้

            ดังนั้น ในบทความนี้ จะนำเสนอเรื่องราวของการคิดสร้างสรรค์ ที่บุคคลผู้ต้องการประสบความสำเร็จทั้งหลายพึงมี

2. ความคิดสร้างสรรค์ (Creative Thinking) คืออะไร

          ความคิดของคนเรา อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทกว้าง ๆ คือ ความคิดสร้างสรรค์ ความคิดทำลาย และความคิดกลาง ๆ

             ความคิดสร้างสรรค์

            ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เป็นความคิดด้านบวก เป็นความคิดออกด้านข้าง เป็นการใช้จินตนาการหรือความคิดริเริ่มใหม่ ๆ  เพื่อนำไปสร้างสิ่งใหม่ ๆ โดยมีองค์ประกอบ 6 ประการ คือ

            2.1 ต้องเป็นความคิดด้านบวก (Positive Thinking)  

           การมีความคิดด้านบวก หมายความว่า ต้องมองโลกในแง่ดี ไม่ใช่มองโลกในแง่ร้าย

            คนหลายคนชอบมองโลกในแง่ร้าย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในสังคมยุคปัจจุบัน จะเต็มไปด้วยข้อมูลข่าวสารทางสื่อสังคมต่าง ๆ ใส่ร้ายป้ายสี บิดเบือนข้อมูลต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์ไปในทางทำลาย คนประเภทนี้จัดเป็นคนที่ไม่มีความคิดสร้างสรรค์ แต่เป็นคนทีมีความคิดไปในทางทำลาย

            ท่ามกลางคนที่มีความคิดไปทางลบ หรือทางทำลาย ก็มีข้อมูลข่าวสารด้านบวกที่เราสามารถเลือกเสพได้เป็นจำนวนมากเช่นกัน

            หากท่านชอบการเสพแต่ข้อมูลข่าวสารด้านลบหรือด้านทำลาย โดยไม่สนใจว่า ข้อมูลเหล่านั้น เป็นความจริงหรือไม่เพียงใด ย่อมแสดงว่า ท่านเป็นคนชอบไปทางลบหรือทางทำลายเช่นเดียวกัน

            ในทางตรงกันข้าม หากท่านเลือกเสพแต่ข้อมูลข่าวสารด้านบวก แสดงว่า ท่านมีแนวโน้มที่จะเป็นคนมีความคิดสร้างสรรค์

            2.2 ต้องเป็นความคิดออกด้านข้าง (Lateral Thinking)

            ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เป็นความคิดออกทางด้านข้าง ไม่ใช่ความคิดในแนวดิ่ง ดังนั้น จึงเป็นความคิดที่ไม่มีข้อจำกัด ไม่มีขอบเขต เพราะเป็นความคิดออกนอกกรอบ

            แต่ถ้าเป็นความคิดในแนวดิ่ง มีข้อจำกัด เพราะเป็นความคิดในกรอบหรือเป็นความคิดที่อยู่ภายใต้กฎเกณฑ์

            2.3 ต้องเป็นความคิดใหม่ (New, original)

            ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ จะต้องเป็นความคิดริเริ่มใหม่ ๆ  แม้อาจจะไม่ใหม่ที่สุดในโลก หากเป็นความคิดใหม่ในชุมชน สังคม หรือองค์กร ก็ถือว่า เป็นความคิดใหม่ได้ เพราะบางครั้งคนเราอาจจะมีความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมาตรงกันหรือสอดคล้องกันโดยบังเอิญได้

            หรือแม้แต่การเอาความคิดเก่า ๆ ในอดีตที่เสื่อมความนิยมไปแล้ว นำมาใช้ใหม่ในปัจจุบัน ก็อาจถือเป็นความคิดใหม่ได้ อย่างเช่น แฟชั่นในการแต่งกาย มีการเปลี่ยนกลับไปกลับมา ตามกระแสนิยมในแต่ละยุค

            รวมทั้งการนำความคิดจากต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก ก็ถือเป็นความคิดในเชิงสร้างสรรค์ของประเทศไทยได้เช่นกัน เช่น การนำเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของต่างประเทศมาใช้ในประเทศไทย

            2.4 ต้องเป็นความคิดที่นำมาใช้การได้ (Workable)

            ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ จะต้องเป็นความคิดที่นำมาใช้การได้ หรือนำมาทำประโยชน์

            ความคิดใหม่ของผู้คนมีมากมาย แต่มีเพียงไม่กี่ความคิดที่นำมาใช้ได้หรือนำมาปฏิบัติได้จริง อย่างเช่น มีผลงานคิดค้นใหม่ ๆ ของนักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอก เป็นจำนวนมากที่ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์หรือแก้ปัญหาอันใดในสังคม อย่างนี้ยังไม่นับว่าเป็นความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เพราะเป็นเพียงความคิดที่เก็บไว้ในห้องสมุดเท่านั้น

            ในอดีตที่ผ่านมา ประเทศไทย เป็นประเทศที่ไม่ได้นำผลของการคิดค้นใหม่ ๆ ที่ได้จากการศึกษาวิจัยมาใช้ประโยชน์  ส่วนหนึ่งอาจจะเป็นเพราะผลการศึกษาวิจัยที่ได้มายังไม่มีคุณภาพพอก็ได้

            2.5 ต้องไม่เป็นความคิดที่ทำร้ายใคร (Constructive Thinking)

            ความคิดใหม่นั้น ต้องไม่เป็นความคิดที่มีจุดประสงค์ทำร้ายใคร หมายความว่า แม้จะไม่ได้เป็นความคิดที่ทำให้ทุกคนได้ประโยชน์ แต่ก็ต้องไม่ใช่ความคิดที่ทำร้ายใคร

            อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติ ความคิดแปลกใหม่บางอย่างก็อาจจะมีผลกระทบต่อบุคคลบางกลุ่มหรือบางอาชีพได้ เช่น โครงการรถไฟฟ้า อาจจะส่งผลกระทบผู้ประกอบอาชีพขับรถแท็กซี่ เพราะรถไฟฟ้าอาจจะส่งผลทำให้จำนวนคนขึ้นรถแท็กซี่ลดน้อยลง

            2.5 ต้องเป็นความคิดที่เหมาะสม (Appropriate)

            ความคิดใหม่ดังกล่าว ต้องสามารถนำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทหรือสภาพแวดล้อมของสังคม จึงจะนับเป็นความคิดในเชิงสร้างสรรค์  เพราะมีความคิดใหม่หลายอย่างที่อาจจะนำมาใช้บริบทอย่างหนึ่ง แต่พอมีบริบทแตกต่างกัน ความคิดใหม่นั้นก็ไม่อาจจะนำมาปฏิบัติหรือใช้ประโยชน์ได้

            อย่างเช่นสินค้าบางอย่าง ออกแบบไว้ให้ใช้ในประเทศที่มีอากาศหนาว แต่นำมาใช้ในประเทศที่มีอากาศร้อน สินค้าดังกล่าวก็ใช้ไม่ได้ จำเป็นต้องคิดแก้ปัญหาใหม่

3.ประโยชน์ของการคิดสร้างสรรค์

          การมีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ มีประโยชน์ ดังนี้

            3.1 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ทำให้เราสามารถแก้ปัญหาได้ลงตัว

            การแก้ปัญหาต่าง ๆ เมื่อสภาวะแวดล้อมหรือบริบทเปลี่ยนแปลงไป การแก้ปัญหาด้วยวิธีการเดิม ๆ อาจจะไม่ได้ผล จำเป็นต้องคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ เช่น

            ยุคปัจจุบัน การสื่อสารสามารถทำได้หลายทาง ไม่เหมือนในอดีตที่ทำได้เพียงบางช่องทาง เช่น ในอดีตการจะค้นคว้าหาข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตทำได้ยาก สามารถทำได้เฉพาะทางคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะหรือโน้ตบุ๊ก ไม่สามารถผ่านช่องทางมือถือได้ ดังนั้น ถ้ารัฐอยากแก้ปัญหาการเสพข้อมูลบิดเบือนใส่ร้ายป้ายสี รัฐจำเป็นต้องใช้ทุกช่องทางที่มีอยู่ในสังคมขณะนั้น  เพราะแต่ละช่องทาง สามารถเข้าถึงกลุ่มบุคคลเป้าหมายได้แตกต่างกัน

            3.2 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ก่อให้เกิดนวัตกรรม

            ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ หากสามารถนำไปใช้ได้ในเชิงพาณิชย์ เรียกว่า นวัตกรรม (Innovation)

            นวัตกรรมจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าหากขาดความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ประเทศใดที่รัฐสนับสนุนให้สถาบันการศึกษาและภาคเอกชนคิดค้นสร้างนวัตกรรมขึ้นมาได้มาก ประเทศนั้นก็จะเจริญก้าวหน้ามากกว่าประเทศที่ไม่มีนวัตกรรมเป็นของตนเอง

            นวัตกรรมทำให้เกิดเทคโนโลยีสมัยใหม่ และทำให้สามารถผลิตสินค้าที่แปลกใหม่ มีคุณภาพสูง ราคาไม่แพงจนเกินไป เข้าสู่ท้องตลาด เอาชนะคู่แข่งขันจากประเทศอื่น ๆ ได้ไม่ยาก

            3.3 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ทำให้เราได้สิ่งที่ดีกว่า แทนการจมอยู่กับสิ่งเก่า ๆ

            โลกของเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ทุกวัน ความแตกต่างอยู่ที่ประเทศใดหรือสังคมใดจะเปลี่ยนแปลงช้าหรือเร็วกว่ากันเท่านั้น

            ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ จะทำให้เราสามารถสร้างสิ่งใหม่ ๆ ที่ดีกว่าเดิม แทนที่จะมัวจมปลักอยู่กับแต่อดีตอันเศร้าหมองหรือล้าหลัง

            3.4 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์เป็นความฉลาดประเภทหนึ่ง ซึ่งมีอยู่หลายด้าน เช่น ความฉลาดในการสร้างสรรค์ (Creative Intelligence) ความฉลาดในการคิดวิเคราะห์ (Analytic Intelligence) ความฉลาดทางอารมณ์ (Emotional Intelligence) และความฉลาดในการปฏิบัติ (Practical Intelligence) เป็นต้น

            บุคคลใดที่ไม่รู้จักการใช้ความคิดใหม่ ๆ แก้ปัญหา จะถือว่าบุคคลนั้นมีความฉลาดหาได้ไม่ เมื่อการแก้ปัญหาไม่สามารถใช้วิธีการเดิม ๆ ได้ คนฉลาดก็ต้องรู้จักคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ มาแก้ปัญหาได้เสมอ

4. ความคิดสร้างสรรค์เกิดขึ้นได้อย่างไร

          หลายคนอาจจะเข้าใจว่า ความคิดแปลกใหม่ เป็นสิ่งที่สร้างขึ้นยาก ถ้าหากไม่ได้เป็นคนเรียนหนังสือจบชั้นสูง ๆ  ความเข้าใจดังกล่าว อาจจะถูกต้องเพียงบางส่วน

            แท้ที่จริงความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจเกิดขึ้นได้ด้วยการจินตนาการ หรือไม่ก็ด้วยองค์ความรู้ หมายความว่า แม้เป็นคนที่ไม่มีความรู้สูง แต่ถ้าเป็นคนที่รู้จักการสร้างจินตนาการ ก็ย่อมจะสร้างความคิดในชิงสร้างสรรค์ได้

            อย่างไรก็ตาม หากท่านอยากฝึกตัวเองให้เป็นคนรู้จักสร้างความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ผมได้รวบรวมข้อชี้แนะของนักวิชาการด้านภาวะผู้นำ มาเล่าให้ทราบพอเป็นแนวทางเบื้องต้น ดังนี้

            4.1 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์เกิดจากสิ่งที่มีอยู่แล้ว

            หมายความว่า ก่อนจะเกิดความคิดใหม่ ๆ ก็ให้ศึกษาดูความคิดที่มีอยู่เดิมก่อน ว่ามีปัญหาหรือจุดอ่อนอะไร และสมควรจะแก้ไขอย่างไร

            4.2 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ เกิดจากการเปรียบเทียบ

            หมายความว่า การเปรียบเทียบจะทำให้เราเห็นข้อแตกต่าง ซึ่งจะเป็นจุดเริ่มต้นให้เราเกิดความคิดใหม่ ๆ ได้

            4.3 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจเกิดจากการค้นพบโดยไม่ตั้งใจหรือโดยไม่คาดฝันก็ได้

            หมายความว่า จู่ ๆ ความคิดแปลกใหม่อาจจะเกิดขึ้นโดยที่เราไม่ตั้งใจก็ได้

            4.4 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ มักจะเกิดกับผู้ที่มีนิสัยอยากรู้อยากเห็น

            คนประเภทนี้เวลาพบอะไรที่แปลกใหม่หรือผิดสังเกต เขามักจะตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่า เป็นเพราะสาเหตุจึงเกิดเหตุการณ์หรือเรื่องราวนั้นขึ้น

            4.5 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์มักจะเกิดกับคนที่ชอบสังเกต

คนที่ชอบสังเกตมักจะพบสิ่งที่ผิดปกติ และแปลกใหม่เสมอ ซึ่งจะนำไปสู่การเกิดความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้

            4.6 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจจะเกิดจากการเงียบเพื่อฟังความคิด

            คนที่รู้จักฟังคนอื่นพูด มีโอกาสจะได้ความคิดใหม่ ๆ ผิดกับคนที่ไม่ชอบฟังคนอื่น เอาแต่คัดค้าน โต้แย้ง ย่อมยากที่จะสร้างความคิดแปลกใหม่ขึ้นมาได้

            4.7 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ มักจะเกิดกับคนที่เป็นนักอ่าน

            คนที่ชอบอ่านหนังสือเป็นนิสัย มีโอกาสจะได้รับความคิดใหม่ ๆ เข้ามาได้เสมอ ผิดกับคนที่ไม่ชอบอ่านหนังสือ มักจะมีความคิดแบบเดิม ๆ ซ้ำซาก

            4.8 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจเกิดจากการจดบันทึก

ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
กรมสมเด็จพระเทพรัคนราชสุดา ฯ (วิกีพีเดีย, กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ , 21 มกราคม 2564) ทรงชอบการจดบันทึก

            เมื่อเราได้อ่าน ได้พบเห็น สิ่งใด หากเราได้จดบันทึกบางสิ่งบางอย่างไว้ จะทำให้เกิดความคิดที่แปลกใหม่ขึ้นมาได้

            4.9 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจเกิดจากการทดสอบสมมุติฐาน

            หมายความว่า เมื่อเราได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องใด ๆ เราอาจลองตั้งคำถาม แล้วลองเดาหาคำตอบ  ต่อจากนั้นให้ทดสอบสมมุมิฐานหรือคำตอบที่เราเดาไว้ว่า ถูกต้องหรือไม่ วิธีนี้จะทำให้เราได้ความคิดใหม่ ๆ ขึ้นมา

            4.10 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ อาจเกิดความนึกคิดในส่วนลึกของจิตใจ

            หมายความว่า ความคิดแปลกใหม่อาจเกิดจากจิตใต้สำนึก พอมีสิ่งกระตุ้นความคิดนั้นก็อาจผุดขึ้นมาได้

            4.11 ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ ไม่จำเป็นต้องรอแรงบันดาลใจ

            หมายความว่า หากเราต้องการหาความคิดแปลกใหม่ เราก็สามารถคิดได้เลย ไม่จำเป็นต้องรอแรงบันดาลใจอะไร

            4.12 การสร้างทักษะในการคิดเชิงวิเคราะห์ (Analytic Skills) ให้แหลมคม จะทำให้เกิดความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้

            หมายความว่า การวิเคราะห์อย่างแหลมคม จะทำให้เราสามารถแยกแยะข้อมูล และวิเคราะห์ปัญหาอุปสรรค และสาเหตุของปัญหา และจะนำไปสู่ความคิดใหม่ในการแก้ปัญหา

            4.13 อย่ารีบร้อนตัดสินใจ เพื่อรอให้เกิดความคิดดี ๆ ขึ้นมาก่อน

            บางเรื่องคำตอบที่ได้อาจจะยังไม่ชัดเจนหรือดีพอ ก็ให้เรารอการตัดสินใจไว้ก่อน แล้วค่อยคิดหาคำตอบอีกที เพื่อให้ได้คำตอบที่ดีกว่าเดิม

            4.15 หัดฝึกหัดใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวัน

            ในชีวิตประจำวันของคนเรา อาจจะมีปัญหาให้ขบคิดอยู่เสมอ ลองใช้ความคิดใหม่ ๆ แก้ปัญหาดู

5.คุณสมบัติของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์

          คนที่จะสามารถสร้างความคิดแปลกใหม่ ควรจะมีคุณสมบัติ ดังนี้

            5.1 ต้องมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนั้น

            หากไม่มีพื้นฐานความรู้ ก็คงยากที่จะสร้างความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้ยาก

            5.2 ต้องคนเป็นมีสติปัญญาดี แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นอัจฉริยะ

            คนที่สมองทึบ คงคิดอะไรใหม่ ๆ ในทางสร้างสรรค์ไม่เป็น

            5.3 มีบุคลิกลักษณะอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่เย่อหยิ่งจองหอง

            หากไม่รู้จักอ่อนน้อมถ่อมตน คงยากที่จะได้รับความรู้หรือข้อมูลจากผู้อื่น เมื่อขาดความรู้หรือข้อมูล การสร้างความคิดแปลกใหม่จะเกิดได้ยาก

            5.4 ต้องชอบศึกษาใฝ่หาความรู้ใหม่ ๆ

            ความรู้ในโลกเกิดขึ้นใหม่อยู่เสมอในทุกด้าน หากเราไม่ชอบการติดตามหาความรู้ใหม่ ๆ ก็คงยากที่จะสร้างความคิดในเชิงสร้างสรรค์ได้

6.อุปสรรคของการคิดสร้างสรรค์

            การที่คนเรามีความรู้สึกว่า ตนเป็นคนไม่มีความคิดใหม่ ๆ กับเขา ก็เนื่องจากมีอุปสรรคอยู่ 7 ประการ คือ

            6.1 เป็นคนที่ชอบมองโลกในแง่ลบ

            คนพวกนี้มักจะมองปัญหาทุกอย่างไปในทางลบหมด แม้คนส่วนใหญ่จะชื่นชอบว่าดี แต่พวกนี้ก็จะมองไปในทางตรงกันข้าม พอได้ยินได้ฟังอะไรที่สังคมเขาว่าดี คนพวกนี้ก็จะมองไปในทางตรงข้ามหรือทางลบอยู่เสมอ เรียกว่าชอบเป็นฝ่ายค้านหรือฝ่ายแค้นนั่นเอง

            คนที่ชอบมองโลกในแง่ลบ ไม่มีทางที่จะเกิดความคิดในทางสร้างสรรค์ได้ เพราะในจิตใจเต็มไปด้วยอคติ โกรธแค้นชิงชัง หรือไม่ก็อาจจะเกิดความคิดรุนแรงถึงขั้นอยากทำลาย

            6.2 เป็นคนที่กลัวความล้มเหลว

            ไม่กล้าเสนอความคิดใหม่ ๆ เพราะในใจมีแต่ความกลัว กลัวความล้มเหลว จึงไม่อยากจะเปลี่ยนแปลงอะไร

            6.3 ไม่มีเวลาที่จะคิดให้ได้ดี

            การไม่มีเวลาคิดให้ดี อาจจะเกิดจากความไม่สนใจ ทำให้มีความรู้สึกว่า ตนไม่มีความคิดดี ๆ จึงไม่กล้าเสนอความคิดใหม่ ๆ

            6.4 เป็นคนที่ยึดมั่นในกรอบมากจนเกินไป

            คนที่ยึดมั่นอยู่ในกรอบ เป็นคนที่ไม่กล้าคิดออกด้านข้าง เพราะกลัวผิด ในเมื่อไม่กล้าคิดออกด้านข้าง ความคิดใหม่ ๆ จึงไม่อาจจะเกิดขึ้นได้

            6.5 เป็นคนชอบทึกทักเอาเองว่า คงไม่มีอะไรใหม่

            เมื่อเชื่อว่าหรือคิดว่า คงไม่มีอะไรใหม่ จึงปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามสภาพเดิม ไม่ยอมรับความจริงว่า โลกเรามีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา

            6.6 ชอบอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา

            เป็นการอ้างเหตุผลต่าง ๆ นานา เพื่อปกป้องตนเองในการที่จะไม่ยอมคิดเปลี่ยนแปลงอะไรใหม่ ๆ ทั้ง ๆ ที่เหตุผลที่ยกขึ้นมาอ้างมานั้น ฟังไม่ขึ้นเลย เพราะเป็นเหตุผลในทางปฏิเสธการเปลี่ยนแปลงทั้งสิ้น

            6.7 ชอบคิดว่า ตนเองเป็นไม่มีความคิดริเริ่มในเชิงสร้างสรรค์

            ในเมื่อเกิดความคิดว่า ตนเป็นคนที่ขาดความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จึงเคยชินกับการอยู่ตามสภาพเดิม ไม่มีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลงอะไรให้ดีขึ้น

7.ประเภทของความคิดเชิงสร้างสรรค์

            ความคิดเชิงสร้างสรรค์อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

            7.1 ความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

            7.2 ความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร

            7.3 ความคิดเชิงสร้างสรรค์ทั่วไป ที่อยู่นอกเหนือ 7.1 และ 7.2

8.ตัวอย่างความคิดในเชิงสร้างสรรค์

          เพื่อให้ท่านผู้อ่านมองเห็นภาพได้ชัดเจนว่า ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ คืออะไร และเป็นอย่างไร ขอยกตัวอย่างประกอบ ดังนี้

            8.1 วาทะบุคคลสำคัญของโลก แสดงให้เห็นความคิดในเชิงสร้างสรรค์

ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
จอห์น เอ็ฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy,21 st January 2021) ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 35 ผู้มีวาทะเป็นความคิดสร้างสรรค์

            จอห์น เอ็ฟ. เคนเนดี (John F. Kennedy)  ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 35 ได้มีวาทะแสดงความคิดในเชิงสร้างสรรค์ที่เป็นที่จดจำของคนทั้งโลก คือ

            “ ผู้นำและการเรียนรู้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้”

             เป็นการชี้แสดงว่า เป็นผู้นำต้องใฝ่หาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอ มิฉะนั้น อาจจะสูญเสียความเป็นผู้นำ

            “ อย่าถามว่า ประเทศชาติจะให้อะไรแก่ท่านบ้าง แต่จงถามว่า ท่านจะให้อะไรแก่ประเทศชาติได้บ้าง ”

            เป็นการชี้แสดงว่า ประชาชนพึงตระหนักในหน้าที่ของตนเองที่มีต่อประเทศชาติ มิใช่คอยคิดเอาแต่สิทธิประโยชน์จากประเทศชาติแต่อย่างเดียว

            8.2 พระดำรัสของสมเด็จพรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย และคนไทยพระองค์แรก ที่องค์การยูเนสโก ยกย่องให้เป็นบุคคลสำคัญของโลก

            “ เจ้าคุณ… อำนาจที่แท้จริงไม่ได้อยู่ที่พระแสงศาสตราวุธ  แต่อยู่ที่ประชาชนเชื่อถือ หากประชาชนเชื่อถือ แม้แต่ในหลวงก็ถอดถอนเจ้าคุณไม่ได้ ”

            เป็นพระดำรัสในการสั่งสอนนักปกครองทั้งหลายให้มีความคิดในเชิงสร้างสรรค์ในการปฏิบัติตนต่อประชาชน กล่าวคือ นักปกครองที่ดีต้องสร้างศรัทธาแก่ประชาชนด้วยการไปนั่งอยู่ในหัวใจของประชาชน ไม่ใช่มุ่งที่จะใช้อำนาจรังแกข่มเหงประชาชนให้ได้รับความเดือดร้อน

            8.3 โครงการของรัฐบาลในการช่วยเหลือประชาชน

            มีโครงการของรัฐบาลพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หลายโครงการที่ใช้ความคิดในเชิงสร้างสรรค์ในการแก้ปัญหา โดยใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เป็นกลไกในการให้ประชาชนผู้มีสิทธิ สมัครขอรับสิทธิหรือขอลงทะเบียนผ่านทางแอพพลิเคชัน  และจ่ายเงินช่วยเหลือเข้าบัญชีของประชาชนผู้ได้รับสิทธิโดยตรง เช่น

            โครงการคนละครึ่ง

            โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ

9. สรุป

ความคิดเชิงสร้างสรรค์ เป็นพื้นฐานสำคัญของคนที่จะประสบความสำเร็จ กล่าวคือ คนที่จะประสบความสำเร็จ จำเป็นต้องรู้จักมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ เพื่อทำงานให้ประสบความสำเร็จ

            ความคิดเชิงสร้างสรรค์อาจแบ่งออกเป็น 3 ประเภทกว้าง ๆ คือ

            ความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่อยู่ภายใต้การคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์

            ความคิดเชิงสร้างสรรค์ที่สามารถนำไปจดทะเบียนสิทธิบัตรได้ตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร

            และความคิดเชิงสร้างสรรค์ทั่วไป

            ความคิดเชิงสร้างสรรค์อาจเกิดจากการมีจินตนาการ หรืออาจเกิดจากองค์ความรู้

            สำหรับความคิดเห็นเพิ่มเติม กรุณาติดตามได้ในหัวข้อ คุยกับดร.ชา ท้ายบทความนี้

คุยกับดร.ชา   

            คู่สนทนาของผมในวันนี้ คือ คุณเบน เช่นเดิม

ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
คุณเบน กับเพื่อนที่อุทยานแห่งชาติ เขาใหญ่

            “สวัสดี คุณเบน คราวที่แล้ว เราได้คุยกันในเรื่องราวของ อีลอน มัสก์ บุคคลที่รวยที่สุดในโลกประจำปี 2021

            แต่วันนี้เราจะมาคุยกันในเรื่องความคิดเชิงสร้างสรรค์ว่า เป็นพื้นฐานในการทำให้บุคคลประสบความสำเร็จ ” ผมเกริ่นนำเล็กน้อย

            “ สวัสดีครับ อาจารย์ ผมคิดว่า น่าจะดี ฟังดูแค่ชื่อแล้วก็น่าสนใจ ขอเชิญอาจารย์กำหนดประเด็นเลยครับ ” คุณเบนตอบสนองด้วยดี

            “ ประเด็นแรก คุณเบนคิดว่า การจดบันทึกมีส่วนสำคัญต่อการสร้างความคิดเชิงสร้างสรรค์หรือไม่อย่างไร ทำไม สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี   เวลาเสด็จไปทรงงาน ณ ที่แห่งใด มักจะทรงบันทึกลงในสมุดบันทึกของพระองค์ทุกครั้ง ”  ผมถามประเด็นแรก

            “ ผมคิด การบันทึกจะทำให้เราสามารถจดจำในสิ่งที่เราได้เห็น ได้อ่าน ได้ยิน หรือได้ฟัง ได้ดี หากเราไม่บันทึกไว้ เชื่อว่าไม่นานก็จะลืม และเมื่อลืมแล้ว ก็จะไม่มีข้อมูลหรือองค์ความรู้ที่จะต่อยอดไปได้

            ดังนั้น การที่กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ทรงชอบการบันทึกสิ่งที่ได้ทอดพระเนตร ก็คงจะมีวัตถุประสงค์เช่นนี้

            ผมคิดว่า พวกเราเวลาเดินทางไปศึกษาดูงานที่ใด ก็น่าบันทึกอะไรไว้บ้าง ตามแบบอย่างของพระองค์ท่าน ”                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                                     

ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
รถยนต์ไฟฟ้าเทสลา โมเดล 3 ก็เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ ของอีลอน มัสก์ และทีมงาน

            “อาจารย์เห็นด้วยกับคุณเบนนะ พวกเราเวลาเข้ารับการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เวลาไปศึกษาดูงาน มักจะดูเฉย ๆ ไม่ค่อยชอบจดบันทึกอะไรเลย

            ต่อไปประเด็นที่สอง อาจารย์ขอความเห็นเกี่ยวกับวาทะของจอห์น เอ็ฟ. เคนเนดี ประธานาธิบดีอเมริกาคนที่ 35 ที่ว่า ผู้นำและการเรียนรู้ไม่สามารถจะแยกออกจากกันได้ คุณเบนคิดอย่างไร ” ผมถามถึงบุคคลสำคัญของโลกคนหนึ่ง

            “ ผมคิดว่า ท่านประธานาธิบดี กล่าวได้ถูกต้อง เพราะการเป็นผู้นำ เราจะต้องเรียนรู้อยู่เสมอ เนื่องจากความรู้ในทุกแขนงมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  หากเราขี้เกียจไม่ยอมเรียนรู้ให้ทันสมัย เวลาเข้าประชุมหรือทำงานร่วมกับคนอื่น เราก็อาจจะเหมือนคนโง่ ไม่รู้เรื่องอะไรกับเขา

            เรียกว่า หากไม่มีความรู้ที่ทันสมัย สภาวะผู้นำก็แทบจะหมดไปแล้ว ” คุณเบนตอบด้วยความมั่นใจ

            “ ใช่ ถูกต้อง คุณเบน อย่างอาจารย์ทุกวันนี้ก็ต้องหาความรู้ใส่ตัวอยู่เสมอ มิฉะนั้น ก็อาจจะคุยกับเขาไม่รู้เรื่อง

            ขอประเด็นสุดท้าย ตามพระดำรัสของสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ องค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยพระองค์แรกที่ว่า  อำนาจอยู่ที่ราษฎรเชื่อถือ ไม่ใช่อยู่ที่พระแสงศาสตราวุธ คุณเบนคิดอย่างไร ” ผมถามถึงพระดำรัสขององค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงมหาดไทยบ้าง

            “ อ๋อ ข้อนี้ ผมเห็นด้วยร้อยเปอร์เซ็นต์เลย เพราะการจะทำให้ประชาชนหรือราษฎรเชื่อถือได้ ต้องทำหลายอย่าง แต่อาจจะพูดสั้น ๆ ได้ว่า ต้องมีสี่ครอง ต้องครองตน ครองคน ครองงาน และครองพื้นที่

            แต่ละครองก็มิใช่ของง่าย แต่ก็มิใช่ว่าจะยากจนเกินไป หากมีความตั้งใจจะทำก็คงจะทำได้ ” คุณเบนตอบแบบใช้ความคิดตามสมควร

            “ในประเด็นสุดท้ายนี้ อาจารย์คิดว่า คุณเบนให้ความเห็นได้ดี เป็นความเห็นในเชิงสร้างสรรค์ สมกับเป็นนักปกครองหนุ่มอนาคตไกล

            วันนี้ อาจารย์ขอรบกวนเวลาเท่านี้ ขอบคุณมาก คุณเบน มีโอกาสค่อยพบกันใหม่นะ

            ขอให้เจริญในหน้าที่การงานสมปรารถนานะ ขอให้โชคดี” ผมกล่าวปิดท้ายการสนทนา

            “ด้วยความยินดีครับ อาจารย์”

ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
ความคิดสร้างสรรค์ ประโยชน์
ดร.ชาตรี ดิเรกศรี (Dr.Chartri Direksri) เคยรับราชการเป็นนักปกครองในตำแหน่งปลัดอำเภอตรี เมื่อปีพ.ศ.2517 ผ่านการดำรงตำแหน่งนายอำเภอหลายอำเภอ เป็นปลัดจังหวัด และเกษียณอายุราชการในตำแหน่งรองผู้ว่าราชการจังหวัด เมื่อปีพ.ศ.2554 นอกจากนี้ยังเคยเป็นอาจารย์ผู้บรรยายพิเศษ หลักสูตรปริญญาโท คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เป็นเวลา 9 ปี

View all posts by Dr.Char | Website

ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์อะไรบ้าง

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ · ก่อให้เกิดความสนุก เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องค้นหาวิธีการคิดใหม่ๆขึ้นมาทดแทน ความคิดเก่าๆสำหรับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่มนุษย์ต้องคิดอะไรใหม่ๆอยู่เสมอย่อมเป็นเรื่องสนุกเพราะทำให้ชีวิตไม่จำเจ · พัฒนาสมองของคนให้มีความฉลาดเฉียบคม การฝึกการคิดหรือพยายามคิดเรื่องที่

ประโยชน์ของการคิดมีอะไรบ้าง

1. เป็นการแสดงถึงความเข้าใจในเรื่องที่ตนเองคิด 2. สามารถช่วยให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องที่เราคิดได้ดีขึ้น 3. ช่วยให้มองเห็นองค์ประกอบหรือปัจจัยเรื่องที่คิดทั้งในส่วนที่เป็นองค์ประกอบหรือ ปัจจัยหลัก และในส่วนที่เป็นส่วนย่อย 4. ช่วยให้การท างานในชีวิตประจ าวันส าเร็จได้ง่ายขึ้น เพราะท างานอย่างมีขั้นตอน

ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์อย่างไรต่อการทำงาน

ความคิดสร้างสรรค์มีประโยชน์หลายอย่าง เช่น ทำให้บริษัทเล็กๆ แข่งขันกับบริษัทใหญ่ๆ ในตลาดได้ ทำให้เกิดวัฒนธรรมองค์กรที่ดี ทำให้คนในองค์กรรู้สึกภูมิใจ ทำให้คนทำงานอย่างโปรดักทีฟ และบางทีก็อาจจะทำให้ธุรกิจของเราช่วยเปลี่ยนโลกได้ไม่มากก็น้อย

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์ออกได้กี่ระดับ

ระดับของความคิดสร้างสรรค์ แบ่งออกได้เป็น 3 ระดับ คือ 1. ความคิดสร้างสรรค์ระดับต้น เป็นความคิดที่มีอิสระ แปลกใหม่ ยังไม่ค านึงถึงคุณภาพและการน าไป ประยุกต์ใช้ 2. ความคิดสร้างสรรค์ระดับกลาง เป็นความคิดที่เริ่มค านึงถึงผลผลิตทางคุณภาพ และสามารถน าไป ประยุกต์ใช้งานได้ 3. ความคิดสร้างสรรค์ระดับสูง เป็นความคิดที่เกิดจากการ ...