การสร้างงาน สร้างอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

แบบบันทึกองค์ความรู้รายบุคคล (KM)

  1. ชื่อองค์ความรู้ การสร้างกลุ่มอาชีพในหมู่บ้านสัมมาชีพชุมชน
  2. ชื่อเจ้าของความรู้ นายธัญญาศักดิ์ หนูเมือง  ตำแหน่งนักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ

สังกัด สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองสงขลา

  1. 3. องค์ความรู้ที่บ่งชี้ เทคนิคการสร้างและพัฒนาผู้นำในการขับเคลื่อนสัมมาชีพชุมชน
  2. 4. ที่มาและความสำคัญในการจัดทำองค์ความรู้

การส่งเสริมการขับเคลื่อนการสร้างสัมมาชีพชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนเข้มแข็งของรัฐบาล ซึ่งตอบสนองนโยบายรัฐบาลเรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมและการสร้างโอกาสเข้าถึงบริการของรัฐ  ซึ่งได้กำหนดกระบวนการขับเคลื่อนที่เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชน เพื่อให้กลับไปสร้างทีม และจัดฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนเป้าหมายที่ต้องการฝึกอาชีพในหมู่บ้าน โดยใช้พื้นที่ในบ้านปราชญ์ชุมชนหรือศูนย์เรียนรู้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ เพื่อมุ่งหมายให้ครัวเรือนที่เข้ารับการฝึกอาชีพมีความรู้ และปฏิบัติอาชีพได้จริง จนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือน และต่อยอดสู่การรวมกลุ่มจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง

เพื่อขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลและนโยบายกระทรวงมหาดไทย กรมการพัฒนาชุมชนได้กำหนดให้การพัฒนาอาชีพครัวเรือน เป็น ๑ ใน ๓ ปัจจัยขับเคลื่อนวาระกรมการพัฒนาชุมชน โดยมุ่งผลให้เศรษฐกิจครัวเรือนมีความมั่นคง ประชาชนใช้ชีวิตอยู่ในชุมชนอย่างมีความสุข และดำเนินการภายใต้ “โครงการสร้างสัมมาชีพชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก คือ รายได้ ทำให้ประชาชนในชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น มีความมั่นคงและยั่งยืน สังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขด้วยการสร้างอาชีพ ผ่านกระบวนการสร้างสัมมาชีพ เริ่มต้นด้วยการพัฒนาทักษะการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับปราชญ์ชุมชนด้านอาชีพ จากนั้นกลับไปสร้างทีมและจัดการฝึกอบรมอาชีพให้กับครัวเรือนที่ต้องการฝึกอาชีพมีความรู้และปฏิบัติอาชีพได้จริงจนพัฒนาเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ให้กับครัวเรือนได้อย่างมั่นคงต่อไป

โดยดำเนินการในพื้นที่เป้าหมาย และใช้กระบวนการส่งเสริมการสร้างวิทยากรชาวบ้าน นั่นคือ “ปราชญ์ชาวบ้าน” โดยให้ชาวบ้านสอนชาวบ้านในสิ่งที่อยากทำ และฝึกปฏิบัติจริงให้สามารถนำไปเป็นอาชีพ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว และสามารถ ต่อยอดอาชีพสู่ การรวมกลุ่มจัดตังเป็นกลุ่มอาชีพที่มีความเข้มแข็ง สร้างผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบ OTOP สร้างรายได้แก่ครัวเรือน สู่เศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

  1. ปัญหาที่พบและแนวทางการแก้ไขปัญหา

5.1. การพัฒนาอาชีพครัวเรือนและเลือกครัวเรือนเป้าหมายเพื่อเป็นสมาชิกของกลุ่มอาชีพ

แนวทางแก้ไข การเลือกครัวเรือนเป้าหมาย ต้องเกิดจากความสมัครใจ และมีความตั้งใจในการฝึกอาชีพ เพื่อก่อให้เกิด การสร้างอาชีพที่มั่นคง และควรเลือกอาชีพที่เป็นความต้องการของชาวบ้านโดยแท้จริง มีความถนัด มีความรู้ ประสบการณ์

5.2 ปัญหาเรื่องการบริหารกลุ่มอาชีพ

แนวทางแก้ไข เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชนสอนกระบวนการบริหารจัดการกลุ่ม 5 ก. และติดตามสนับสนุน การดำเนินงานกลุ่มอาชีพ จัดทำรายละเอียดระเบียบกลุ่มเป็นลายลักษณ์อักษร  การแบ่งงานกันทำตามความถนัดของแต่ละคน เพื่อพัฒนาสู่ผลิตภัณฑ์ OTOP ต่อไป

5.3 ปัญหาเรื่องการตลาด

แนวทางแก้ไข เมื่อมีการผลิตสินค้าแล้ว สมาชิกกลุ่มต้องร่วมกันวางแผนการตลาดให้ชัดเจน เช่น ขายที่ไหน ขายอย่างไร ขายส่งหรือขายปลีก ตลาดหลักมีที่ไหนบ้าง มีวิธีการทำตลาดอย่างไร รวมทั้งการจัดทำบัญชีต่างๆของกลุ่ม ให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ

  1. ประโยชน์ขององค์ความรู้

สามารถรวบรวมความรู้ที่มีอยู่ ซึ่งกระจัดกระจายอยู่กับตัวบุคคลหรือเอกสาร มารวบรวมกันให้เป็นระบบ วางแผนการจัดตั้งกลุ่มอาชีพตามความถนัดร่วมกัน เพื่อให้ทุกคนรู้เหมือนกัน เป็นไปในทิศทางเดียว สามารถทำงานทดแทนกันได้ รวมทั้งพัฒนาตนเองให้มีความรู้ สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามตำแหน่งในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้กลุ่มอาชีพเป็นกลุ่มที่มีความเข้มแข็ง สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับสมาชิกและชุมชนได้อย่างยั่งยืน

  1. เทคนิคในการปฏิบัติงาน

          7.1 การสร้างสัมมาชีพชุมชนให้เกิดผลนั้น ต้องบูรณาการการทำงาน ไม่มีหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งที่จะ ทำให้สำเร็จอย่างยั่งยืนได้ การทำงานสัมมาชีพจำเป็นจะต้องมองการทำงานแบบองค์รวมทุกมิติ ทุกด้าน (เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ทรัพยากรธรรมชาติ/สิ่งแวดล้อมฯลฯ) ในแต่ละด้านแต่ละมิติที่เป็นปัญหาและความต้องการของชุมชน จะมีหน่วยงานหรือภาคีการทำงานที่สามารถเข้ามาเชื่อมต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมายได้ จำเป็นจะต้องยึดหลักการทำงานแบบบูรณาการ “มองแบบองค์รวม ทำแบบบูรณาการ”

7.2 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นกลุ่ม โดยใช้หลัก 5 ก. ในการบริหารจัดการกลุ่ม  สร้างความตระหนักในความเป็นเจ้าของ เพื่อให้เกิดความรักและความเสียสละที่จะทำงานให้กลุ่มสามารถดำเนินการได้อย่างเข้มแข็ง และมั่นคง

7.3 กำหนดกิจกรรมของกลุ่มให้ชัดเจน และมีความต่อเนื่อง โดยการจัดทำแผนปฏิบัติการของกลุ่มเพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินงาน

7.4 การกำหนดการแบ่งปันผลประโยชน์ที่เหมาะสม เป็นธรรม และสมาชิกมีความพึงพอใจ เพื่อลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในกลุ่ม

7.5 สร้างกฎระเบียบ กติกาของกลุ่ม โดยเป็นที่ยอมรับของสมาชิกทุกคน

7.6 การส่งเสริมช่องทางการตลาดและการประชาสัมพันธ์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มสามารถจำหน่ายผลผลิตได้หลายๆช่องทางและเป็นที่รู้จักของคนทั่วไป

7.7 ส่งเสริม สนับสนุนให้กลุ่มสามารถขอรับเครื่องหมายรับรองคุณภาพ เช่น อย. ฮาลาล ฯลฯ

(Visited 9,033 times, 1 visits today)

หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการประกอบอาชีพมีอะไรบ้าง

แนวทางการปฏิบัติตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง มีดังนี้  ยึดหลักสามพอ พออยู่พอกิน พอใช้  ประหยัด  ประกอบอาชีพสุจริต  เน้นหาข้าวหาปลาก่อนหาเงินหาทอง  ทามาหากินก่อน ทามาค้าขาย  ใช้ภูมิป๎ญญาพื้นบ้าน ที่ดิน คืนทุนสังคม  ตั้งสติมั่นคง ทางานอย่างรู้ตัวไม่ประมาท  ใช้ป๎ญญาใช้ความรู้แท้  รักษาสุขภาพให้แข็งแรงทั้งกายและใจ

การสร้างงานสร้างอาชีพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้เเบ่งกลุ่มอาชีพออกเป็นกี่กลุ่มอะไรบ้าง

การสร้างงานอาชีพตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 5 กลุ่มอาชีพใหม่.
เกษตรกรรม.
อุตสาหกรรม (ในครอบครัว).
พาณิชยกรรม.
ด้านความคิดสร้างสรรค์.
การอำนวยการและอาชีพเฉพาะทาง โดยจะวิเคราะห์แบ่งกลุ่ม 5 กลุ่มอาชีพใหม่.

การประกอบอาชีพตามแนวทางหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงควรยึดหลักในการปฏิบัติตนอย่างไร

แนวทางการประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง  ทำงานอย่างผู้รู้ ใช้ป๎ญญาท างานอย่างมืออาชีพ  อดทนมุ่งมั่น ยึดธรรมะและความถูกต้อง  อ่อนน้อมถ่อมตน เรียบง่าย ประหยัด

นำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาตนเองเข้าสู่อาชีพอย่างไร

เศรษฐกิจพอเพียงเริ่มที่ตัวเอง.
- ยึดหลัก พออยู่ พอกิน พอใช้.
- ยึดความประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่าย ลดความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีพ.
- ยึดถือการประกอบอาชีพด้วยความถูกต้องและสุจริต.
- ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์และแข่งขันในการค้าขาย.
- มุ่งเน้นหาข้าวหาปลา ก่อนมุ่งเน้นหาเงินหาทอง.
- ทำมาหากินก่อนทำมาค้าขาย.