การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

สาระสำคัญ/ความคิดรวมยอด

             คนเรามีความต้องการซื้อสินค้าและบริการต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง ดังนั้นทรัพยากรจึงมีความสำคัญต่อการผลิตและการบริโภคอย่างมาก

ตัวชี้วัด/จุดประสงค์การเรียนรู้

ตัวชี้วัด
   ส 3.1   ป.6/3   บอกวิธีและประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

จุดประสงค์การเรียนรู้
    1. บอกความหมายและความจำเป็นของทรัพยากรได้
    2. บอกหลักการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนได้
    3. บอกประโยชน์ของการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืนได้
    4. สร้างจิตสำนึกของคนในชาติให้รู้คุณค่าของทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดได้

การวัดผลและประเมินผล

      ประเมินการวิเคราะห์การใช้ทรัพยากร

ปีการศึกษา 2562 / 1

ชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6

กลุ่มสาระ ประวัติศาสตร์

หน่วย รายวิชากลุ่มบูรณาการ (แกนหลักสังคมศึกษา รหัส16101) ชั้น ป.6 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562

ชั่วโมง การใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน

เรื่อง หลักการและวิธีการใช้ทรัพยากร 20 มิ.ย. 62

เดินหน้าสร้างแนวร่วมสำคัญในการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่ในวันข้างหน้า ด้วยการปลูกจิตสำนึกและสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้แก่เยาวชน ผ่านโครงการค่ายเยาวชน “PTTEP Teenergy ” โดยปีนี้จัดขึ้นเป็นที่ 3 ด้วยความร่วมมือของ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่, สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และมูลนิธิพิทักษ์อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งได้นำนักเรียน จำนวน 100 คน ที่ได้รับการคัดเลือกจากผู้สมัคร 950 คนทั่วประเทศ มาร่วมกิจกรรมค่าย PTTEP ที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

กิจกรรมนี้ ประกอบด้วย การเดินป่าศึกษาธรรมชาติในเส้นทางป่าดงดิบ กับ “ศศิน เฉลิมลาภ” ประธานมูลนิธิสืบ นาคะเสถียร, กิจกรรมสำรวจโพรงรังเกาะติดชีวิต “นกเงือก” นกยักษ์นักปลูกป่า กับ “ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.พิไล พูลสวัสดิ์” เรียนรู้ชีวิตสัตว์ป่ายามค่ำคืนและร่วมทำโป่งเทียม กับ “นายสัตวแพทย์ภัทรพล มณีอ่อน” หรือ “หมอล็อต” หมอรักษาสัตว์ป่าคนแรกของไทย และเวิร์กช็อปจุดประกายการทำโครงการเพื่อสังคม พร้อมนำเสนอโครงงานด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

หมอล็อต กล่าวว่า ในพื้นที่อนุรักษ์ ในหลวง ร.9 ได้ทรงเน้นย้ำในเรื่องของ “ธรรมชาติช่วยธรรมชาติ” ด้วยการไม่นำสิ่งแปลกปลอมเข้าไปยุ่ง หรือข้องเกี่ยวกับธรรมชาติมากนัก ในกรณีที่ธรรมชาติเกิดความเสื่อมโทรม หากทุกคนเข้าใจหลัก การตรงนี้แล้ว ก็จะสามารถนำมาประยุกต์ออกแบบรูปแบบในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ โดยเน้นการมีส่วนร่วม ซึ่งถือเป็นสิ่งสำคัญมาก ในการทำงานของเจ้าหน้าที่ต้องทำให้คนทั่วไปได้เข้ามามีส่วนร่วมให้ได้ นอกจากให้ความรู้ทางวิชาการแล้ว สิ่งสำคัญจะต้องให้ประชาชนเข้ามาสัมผัส มาเรียนรู้ ทำให้เขารู้สึกว่า เขาเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของทรัพยากร ก่อให้เกิดความคิด ความรู้สึก รวมถึงถ่ายทอดบอกเล่าบอกต่อได้ เพราะฉะนั้น เป้าหมายของเรา คือการสร้างแนวร่วม หรือสร้างเครือข่ายในการอนุรักษ์ เราต้องการให้เขา “เข้าใจ เข้าถึง แล้วนำไปพัฒนา” ดังเช่นแนวทางที่พระองค์ท่านได้ทรงวางไว้ โครงการนี้ถือว่าสอดคล้องกับแนวพระราชดำริในการ สร้างบุคลากรให้เข้าใจเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อเยาวชนเหล่านี้ได้รับรู้เรื่องราวและประสบการณ์ ก็จะไปบอกต่อกับคนใกล้ตัว ซึ่งนั่นเองจะเป็นการสร้างความเข้าใจที่ยิ่งใหญ่ ที่ทุกคนเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียร่วมกัน

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

ด้าน กิติศักดิ์ นวลจันทร์ฉา ผู้บริหารโครงการ PTTEP Teenergy กล่าวว่า โครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นของการปลูกจิตสำนึกกลุ่มเยาวชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อสืบสานพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทร มหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทรงให้ความสำคัญกับการทำนุบำรุง และปรับปรุงสภาพทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้น ปตท. สผ.จึงมุ่งเน้นการสร้างโอกาสในการเรียนรู้นอกห้องเรียน ส่งเสริมและผลักดันให้เยาวชนมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างแท้จริง และนำความรู้ไปสร้างประโยชน์แก่สังคม ด้วยการพาเยาวชนไปสัมผัสความงดงามและความสำคัญของผืนป่า จนเกิดความหลงรักในคุณค่าของธรรมชาติ และพร้อมที่จะเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน.

          ธรรมชาติ

           ทรัพยากร

 เกิดขึ้นตามธรรมชาติในสิ่งแวดล้อมที่ค่อนข้างปลอดการรบกวนจากมนุษย์ ในรูปแบบของธรรมชาติ ทรัพยากรธรรมชาติมักมีลักษณะของปริมาณความหลากหลายทางชีวภาพและความหลากหลายของภูมิประเทศในหลายระบบนิเวศทรัพยากรธรรมชาติมาจากสิ่งแวดล้อม บางทรัพยากรสำคัญต่อการดำรงชีพของมนุษย์ ขณะที่ส่วนใหญ่ถูกใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ ทรัพยากรธรรมชาติยังอาจจำแนกต่อไปได้อีกหลายวิธีเช่นการทำสิ่งต่างๆที่เป็นประโยชน์            อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

 
  

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด
การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด
การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

   การอนุรักษ์

 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หมายถึง การใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด โดยใช้ให้น้อย เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยคำนึงถึงระยะเวลาในการใช้ให้ยาวนาน และก่อให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งต้องมีการกระจายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม ในสภาพปัจจุบันทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีความเสื่อมโทรมมากขึ้น ดังนั้นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงมีความหมายรวมไปถึงการพัฒนาคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้วย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด
การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

  ประโยชน์ของการอนุรักษ์

การอนุรักษ์ธรรมชาติมีประโยชน์ต่างๆมากมายเช่น ลดการเกิดโลกร้อนและภัยพิบัติต่างๆ ที่ส่งผลทำให้เกิดความเสียหายตามมาต่างๆมากมาย             อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด
การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

            การปลูกจิตสำนึก

เป็นที่ทราบกันดีว่าป่าไม้ช่วยทำให้อากาศชุ่มชื้น เพราะป่าไม้จะช่วยเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้เกิดเป็นต้นน้ำลำธาร ช่วยป้องกันการพังทลายของหน้าดิน นอกจากนี้ป่าไม้ยังช่วยทำให้เกิดพืชพันธุ์ไม้อื่นและสัตว์ป่า ป่าไม้จึงถือเป็นแหล่งกำเนิดที่สำคัญของทุกชีวิตอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด
  
การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด
การสร้าง จิตสำนึก ให้คน ใน ชาติ รู้ คุณค่าของทรัพยากร ที่มีอยู่ จำกัด

ผู้จัดทำ โรงเรียนทุ่งศุขลา พิทยา "กรุงไทยอนุเคราะห์"

วิธีการสร้างจิตสํานึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติมีอะไรบ้าง

วิธีการที่ดีในการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ป่าไปสู่คนรุ่นใหม่ อีกหนึ่งวิธีที่เริ่มแพร่หลายกันเยอะมากก็คือ การสร้างโอกาสในการปลูกป่า ในวันสำคัญต่างๆ เราควรหาโอกาสให้เด็กรุ่นใหม่ได้ลงมือปลูกป่า ปลูกต้นไม้ด้วยตนเอง จะให้ดีติดป้ายชื่อไว้เลย เพื่อให้เค้าเกิดความรู้สึกรัก หวงแหน และเป็นเจ้าของต้นไม้ต้นนั้น หากมีความรู้สึกดัง ...

การสร้างจิตสำนึกมีอะไรบ้าง

วิธีการสร้างและการปลูกฝังจิตสำนึก.
การสร้างการรับรู้ การสร้างการรับรู้ในประเด็นที่ต้องการสร้างจิตสำนึก.
การชี้ให้เห็นคุณค่า ความสำคัญ ความจำเป็น ที่ต้องตระหนัก.
การกระตุ้นให้เกิดการคิด.
การโน้มน้าวให้เกิดการยอมรับ.
การชักนำให้นำไปปฏิบัติ.
การเชิญชวนให้นำไปเผยแพร่.

ทรัพยากรมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตอย่างไรบ้าง 6 ข้อ

๑. เป็นแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และผลิตผล ๒. เป็นที่รองรับกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์ และช่วยเกื้อกูลให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ ๓. เป็นแหล่งรองรับของเสีย และของ เหลือเศษจากขบวนการผลิตและการบริโภค ๔. ให้ความรื่นรมย์แก่จิตใจของมนุษย์ เช่น ทิวทัศน์ ภูมิประเทศ ความงามของธรรมชาติ

การสร้างจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงานของลูกน้องหรือผู้ใต้บังคับบัญชามีความสำคัญอย่างไร

เมื่อผู้ใต้บังคับบัญชาของ คุณมีจิตสำนึกที่ดีในการปฏิบัติงาน ประโยชน์ที่จะได้รับก็คือจะสามารถลดภาระในการควบคุมงานลง พนักงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชาจะมีความคิดริเริ่มใหม่ๆในการทำงาน องค์กรจะมีพนักงานที่ได้รับการฝึกฝนมาอย่างดี และมีศักยภาพที่จะพัฒนาองค์กรของให้ประสบความสำเร็จ