ค่า ใช้ จ่าย การผลิตคิดเข้างาน

การบัญชีเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิต (Accounting for manufacturing overhead)

                ต้นทุนผลิตภัณฑ์ประกอบด้วย  วัตถุดิบทางตรง  ค่าแรงงานทางตรง และค่าใช้จ่ายการผลิต แต่เนื่องจากค่าใช้จ่ายการผลิตประกอบค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่มีลักษณะแตกต่างกัน ต้นทุนบางชนิดเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตฝันแปร(ค่าเสื่อมราคา(ช.ม. เครื่องจักร) ,ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง)  ต้นทุนบางชนิดเป็นค่าใช้จ่ายการผลิตคงที่ (ค่าเสื่อมราคาเครื่องจักร(เส้นตรง),  ค่าเช่าโรงงาน) ต้นทุนบางชนิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องรอให้ถึงสิ้นงวดก่อนกิจการจึงจะสามารถบันทึกค่าใช้จ่ายการผลิตได้ครบถ้วน(ค่าน้ำค่าไฟโรงงาน,ค่าเสื่อมราคา)

ปัญหาดังกล่าวจึงทำให้มีการกำหนดวิธีการคำนวณต้นทุนตามวิธีปกติ (Normal  costing) ใช้แทนต้นทุนจริง(Actual  costing) ซึ่งการคำนวณต้นทุนตามวิธีปกติจะประกอบด้วย  วัตถุดิบทางตรง (จริง)  ค่าแรงงานทางตรง (จริง) และ ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน (เป็นค่าใช้จ่ายการผลิตที่ประมาณขึ้นล่วงหน้า โดยคำนวณได้จากฐานต่างๆกัน)

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน (Manufacturing  overhead  application)

               อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต                                                                                                                                                                                  กิจกรรม

               จากสูตรดังกล่าวทำให้กิจการต้องทราบงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต ณ ระดับกิจกรรมหนึ่งที่เหมาะสม และทราบหน่วยของกิจกรรมที่จะใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน จึงต้องมีการพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ ต่อไปนี้

1.    งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต จะประมาณจากปริมาณการผลิต ซึ่งหากกิจการประมาณ

ปริมาณการผลิตได้ใกล้เคียงกับความเป็นจริง จะทำให้งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตใกล้เคียงกับความเป็นจริงด้วย การประมาณปริมาณการผลิตสามารถพิจารณาได้ 3 ลักษณะ

1.1  ประมาณตามระดับการผลิตในเชิงทฤษฏี (Theoretical  or  ideal  productive 

capacity)  เป็นการประมาณระดับการผลิตที่จะให้ผลผลิตในจำนวนสูงสุด โดยมีสมมุติฐานว่า การดำเนินการผลิตจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ 100% ซึ่งสามารถทำงานได้ตลอด 24 ช.ม.ได้ในแต่ละวัน  โดยไม่มีการหยุดชะงัก ซึ่งในทางปฏิบัติจริงเกิดขึ้นได้ยาก                          1.2  ประมาณตามระดับการผลิตปกติ (Normal  capacity) เป็นการประมาณการผลิตในช่วงระยะเวลาหนึ่ง  ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เกินกว่า 1 ปี(ระยะยาว) ดังนั้นในช่วงเวลาดังกล่าว งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตจะเท่ากันทุกปี

                        1.3  ประมาณตามระดับการผลิตที่คาดว่าจะผลิตจริง (Actual  expected  capacity)  เป็นการประมาณระดับการผลิตตามแผนในระยะสั้นปีต่อปี โดยประมาณจากความต้องการของตลาดจำนวนเครื่องจักร หรือปริมาณพนักงานฝ่ายผลิต

               * ในทางปฏิบัติจะประมาณงบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต ณ ระดับการผลิตปกติ และระดับการผลิตที่คาดว่าจะผลิตจริง

2.    กิจกรรม มี 5 เกณฑ์ คือ

                     - ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง (Direct  material)

                     - ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง (Direct  labor)

                     - หน่วยผลิตเสร็จ(Unit  of  production)

                     - ชั่วโมงแรงงานทางตรง (Direct  labor  hours)

                     -  ชั่วโมงเครื่องจักร (Machine  hours)

ตัวอย่างที่ 1   กิจการผลิตสินค้าแห่งหนึ่งได้ประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต และมีข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตสำหรับงวด 1 ปี เป็นดังนี้

               งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต                 500,000  บาท

               ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง                           800,000  บาท

               ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง                      400,000  บาท

               หน่วยที่ผลิตเสร็จ                                  200,000  หน่วย

               ชั่วโมงแรงงานทางตรง                         100,000  ชั่วโมง

               ชั่วโมงเครื่องจักร                                 250,000  ชั่วโมง

1.    ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง

               อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน            =  งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

                                                                                            ต้นทุนวัตถุดิบทางตรง

                                                    x 100

                                                   =  62.50 % ของต้นทุนวัตถุดิบทางตรง

                    เหมาะสำหรับกิจการที่มีค่าใช้จ่ายการผลิตสัมพันธ์กับต้นทุนวัตถุดิบทางตรง

2.    ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง

               อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน            =  งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

                                                                              ต้นทุนค่าแรงงานทางตรง

                                                    x 100

                                                   =  125% ของต้นทุนค่าแรงงานทางตรง

               เหมาะสำหรับกิจการที่มีค่าใช้จ่ายการผลิตความสัมพันธ์กับค่าแรงงานทางตรง

3.    หน่วยผลิตเสร็จ

                    อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน        =  งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

                                                                                หน่วยที่ผลิตเสร็จ

                                                  

                                                   =  2.50 บาท/หน่วย

เหมาะสำหรับกิจการที่ผลิตสินค้าเพียงชนิดเดียวเพราะทุกหน่วยผลิตเท่ากันทุกหน่วย    

4.    ชั่วโมง แรงงานทางตรง

               อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน            =  งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

                                                                              ชั่วโมงแรงงานทางตรง

                                                    

                                                   =  5 บาทต่อ ช.ม.แรงงานทางตรง

               เหมาะสำหรับกิจการที่ใช้แรงงานคนหรือเวลาการทำงานของคนเป็นหลัก

                 5.  ชั่วโมงเครื่องจักร

               อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน            =  งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

                                                                                 ชั่วโมงเครื่องจักร

                                                    

                                                   =  2 บาทต่อ ช.ม.เครื่องจักร

               เหมาะสำหรับกิจการที่ใช้เครื่องจักรเป็นจำนวนมากๆ 

* อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตอาจใช้อัตราเดียวทั้งโรงงาน หรืออาจมีหลายอัตราแตกต่างกันไปตามแผนกผลิต

               เมื่อกิจการทราบถึงอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานแล้วก็สามารถคำนวณหาค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานได้ดังนี้

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน X กิจกรรมจริง

 

สูตรในการคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน

การบันทึกค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน เป็นดังนี้

               เดบิต  งานระหว่างผลิต                         XX

                             เครดิต  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน                                XX

ตัวอย่างที่ 2   กิจการมีอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเท่ากับ 120 % ต่อต้นทุนวัตถุดิบทางตรงดังนั้น ถ้าเดือนมีนาคมโรงงานผลิตสินค้าใช้ต้นทุนวัตถุดิบทางตรงไปทั้งสิ้นเท่ากับ 40,000 บาท ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสำหรับเดือนมีนาคมจะเท่ากับ 48,000 บาท(40,000x120%)

               เดบิต  งานระหว่างผลิต                         48,000

                             เครดิต  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน                                48,000

ตัวอย่างที่ 3   บริษัท จันทรา จำกัด ใช้เกณฑ์ชั่วโมงแรงงานทางตรงในการคำนวณค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน  อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน เท่ากับ 5 บาทต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง

               บริษัท จันทรา จำกัดมีค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงได้ดังต่อไปนี้                           

               วัตถุดิบทางอ้อม                                   10,000   บาท

               ค่าแรงงานทางอ้อม                               2,000    บาท     

               ค่าซ่อมแซมเครื่องจักร                           3,000    บาท

               ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำโรงงาน                         1,000    บาท

               เงินเดือนผู้ควบคุมโรงงาน                     4,000    บาท

               ค่าเสื่อมราคา โรงงาน                         5,000    บาท

                    รวม                                               25,000   บาท

   การจัดการเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป

               ทุกๆ สิ้นงวดบัญชีกิจการจะโอนปิดค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน และค่าใช้จ่ายการผลิต ซึ่งจะ

ทำให้เกิดบัญชี  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป  รายการดังกล่าวอาจมียอดคงเหลือด้านเดบิต หรือเครดิตก็ได้  ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประมาณการค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานที่แตกต่างจากค่าใช้จ่ายการผลิต(จริง) ของกิจการ  ในขั้นสุดท้ายกิจการจะต้องปิดค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป ซึ่งมีวิธีจัดการ 2 วิธี คือ

1.    ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป เข้าบัญชีต้นทุนขาย(ผลต่างไม่มีนัยสำคัญ)

               วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่ายและสะดวกต่อการปฏิบัติ ซึ่งใช้ในกรณีที่ยอดคงเหลือของบัญชี

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป มีจำนวนไม่มากหรือไม่มีนัยสำคัญ  การบันทึกบัญชีสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณี ดังนี้

                    1.1  บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป มียอดคงเหลือด้านเดบิต (ประมาณการต่ำไป)

                    เดบิต  ต้นทุนขาย                                                     XX

                                                เครดิต  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป          XX

                    1.2  บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไปมียอดคงเหลือด้านเครดิต(ประมาณการสูงไป)

                    เดบิต  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป                XX

                                                เครดิต  ต้นทุนขาย                                               XX

จากตัวอย่างบริษัท จันทรา จำกัด การบันทึกบัญชีในสมุดรายวันทั่วไปเป็นดังนี้

ถ้าใช้ ช.ม. แรงงานทางตรงจริง 2,000 ช.ม.

ถ้าใช้ ช.ม. แรงงานทางตรงจริง 6,000 ช.ม.

เดบิต ต้นทุนขาย                   15,000

             เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป   15,000

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป   5,000

              เครดิต  ต้นทุนขาย                                         5,000

2.    ปิดบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป เข้าบัญชี งานระหว่างผลิต, 

สินค้าสำเร็จรูป และ ต้นทุนขาย(ผลต่างมีนัยสำคัญ) 

               วิธีนี้เป็นวิธีที่ให้ความสำคัญงานระหว่างผลิต,  สินค้าสำเร็จรูป และ ต้นทุนขาย  เนื่องจากต้นทุนการผลิตจะถูกปันส่วนอยู่ในงานระหว่างผลิตเมื่อทำการผลิต  และเมื่อผลิตเสร็จจะโอนไปเป็นสินค้าสำเร็จรูป และเมื่อกิจการขายสินค้าได้ จะโอนไปเป็นต้นทุนขาย  ดังนั้นทั้ง 3 บัญชีดังกล่าวจะได้รับโอนค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานโดยตรง ซึ่งหมายถึงยอดคงเหลือทั้ง 3 บัญชีก็จะสูงหรือต่ำไปด้วยเช่นกัน 

การบันทึกบัญชีสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณีดังนี้             

                    2.1  บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป มียอดคงเหลือด้านเดบิต(ประมาณการต่ำไป)

                    เดบิต  งานระหว่างผลิต                     XX

                             สินค้าสำเร็จรูป                       XX

                             ต้นทุนขาย                             XX

                                    เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป                       XX

                    2.2  บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไปมียอดคงเหลือด้านเครดิต(ประมาณการสูงไป)

                    เดบิต  ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป                XX

                                                เครดิต  งานระหว่างผลิต                                       XX

                                                            สินค้าสำเร็จรูป                                        XX

                                                             ต้นทุนขาย                                             XX

นอกจากนี้หลักในการปันส่วนผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต สามารถปฏิบัติได้ 2 วิธี คือ

วิธีที่ 1     ปันส่วนผลต่างตามยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท

วิธีที่ 2      ปันส่วนผลต่างตามสัดส่วนที่ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเฉพาะงวดนี้สะสมอยู่

ตัวอย่างที่ 4  บริษัท ธนบัตร จำกัด มีค่าใช้จ่ายการผลิตจริงประจำปีเท่ากับ 200,000 บาท ,มีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเท่ากับ 250,000 บาท และมียอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท ณ วันสิ้นปีดังนี้

                                      ยอดคงเหลือ                   *ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน

งานระหว่างผลิต             200,000                                     40,000              

สินค้าสำเร็จรูป                300,000                                     35,000

ต้นทุนขาย                      500,000                                     50,000

* เป็นค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเฉพาะงวดนี้ที่สะสมอยู่ในยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท

คำนวณผลต่างค่าใช้จ่ายการผลิต :

ค่าใช้จ่ายการผลิตจริง                               200,000 บาท

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน                      250,000 บาท

ประมาณการสูงไป                                  50,000 บาท

วิธีที่ 1 ปันส่วนผลต่างตามยอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภท

งานระหว่างผลิต      50,000 x =          10,000 บาท       

สินค้าสำเร็จรูป        50,000 x =          15,000 บาท

ต้นทุนขาย              50,000 x =          25,000 บาท

รวม                                                      =          50,000 บาท

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป            50,000

               เครดิต งานระหว่างผลิต                                                   10,000

                          สินค้าสำเร็จรูป                                                      15,000

                           ต้นทุนขาย                                                           25,000              

วิธีที่ ปันส่วนผลต่างตามสัดส่วนที่ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเฉพาะงวดนี้สะสมอยู่

งานระหว่างผลิต      50,000 x     =          16,000 บาท                   

สินค้าสำเร็จรูป        50,000 x     =          14,000 บาท

ต้นทุนขาย              50,000 x     =          20,000 บาท

รวม                                                      =          50,000 บาท

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป            50,000

               เครดิต งานระหว่างผลิต                                                   16,000

                          สินค้าสำเร็จรูป                                                      14,000

                               ต้นทุนขาย                                                       20,000

เปรียบเทียบการบันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง(Perpetual inventory method)ระหว่างต้นทุนจริง(Actual costing)กับต้นทุนปกติ(Narmal Costing)

รายการ

ต้นทุนจริง

ต้นทุนปกติ

ซื้อวัตถุดิบ

เดบิต วัตถุดิบ                    xx

        เครดิต เจ้าหนี้                                   xx

เหมือนกัน

เบิกใช้วัตถุดิบ

เดบิต งานระหว่างผลิต(ตรง)     xx

      ค่าใช้จ่ายการผลิต(อ้อม)     xx

              เครดิต วัตถุดิบ                           xx

เหมือนกัน

บันทึกค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงาน      xx

          เครดิต ค่าแรงงานค้างจ่าย               xx

                      ภาษีหัก ณ ที่จ่าย                         xx

               เงินประกันสังคมค้างจ่าย           xx

เหมือนกัน

จำแนกค่าแรงงาน

เดบิต งานระหว่างผลิต(ตรง)     xx

       ค่าใช้จ่ายการผลิต(อ้อม)    xx

              เครดิตค่าแรงงาน                        xx  

เหมือนกัน

จ่ายค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย         xx

             เครดิต เงินสด                               xx                

เหมือนกัน

ค่าใช้จ่ายการผลิตเกิดขึ้นจริง

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต          xx

          เครดิต บัญชีที่เกี่ยวข้อง                    xx

เหมือนกัน

ประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

-

เดบิต งานระหว่างผลิต                 xx

    เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน             xx

โอนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้างานระหว่างผลิต

เดบิต งานระหว่างผลิต               xx

            เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิต             xx

-

ปิดค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน

-

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน  xx

              เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิต                   xx

ปิดค่าใช้จ่ายการผลิต

-

- ค่าใช้จ่ายการผลิตมียอดคงเหลือด้านเดบิต

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป  xx

              เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิต                                     xx

- ค่าใช้จ่ายการผลิตมียอดคงเหลือด้านเครดิต

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต                                   xx

          เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป        xx

เมื่อผลิตเสร็จ

เดบิต สินค้าสำเร็จรูป           xx

              เครดิต งานระหว่างผลิต            xx

เหมือนกัน

เมื่อขายได้

เดบิต ลูกหนี้                         xx

              เครดิต ขายสินค้า                         xx

เหมือนกัน

บันทึกต้นทุนขาย

เดบิต ต้นทุนขาย                 xx

            เครดิต สินค้าสำเร็จรูป                   xx

เหมือนกัน


ตัวอย่างที่ 5
   บริษัท สกุณา จำกัด บันทึกบัญชีสินค้าแบบต่อเนื่อง(Perpetual  inventory method) ต่อไปนี้เป็นข้อมูลที่เกิดขึ้นระหว่างเดือนมกราคม 25X1

               สินค้าคงเหลือ ณ วันที่ 1 มกราคม 25X1 ประกอบด้วย

                        วัตถุดิบ                          10,000 บาท

                        งานระหว่างผลิต             20,000 บาท

                        สินค้าสำเร็จรูป                30,000 บาท

1.    ซื้อวัตถุดิบทางตรง 50,000 บาทและวัตถุดิบทางอ้อม 20,000 บาทเป็นเงินเชื่อ

               2.  เบิกวัตถุดิบไปใช้ในการผลิตทั้งสิ้น 30,000 บาทเป็นวัตถุดิบทางตรง 25,000 บาท

วัตถุดิบทางอ้อม 5,000 บาท

               3.  ค่าแรงงานทางตรงและค่าแรงงานทางอ้อมสำหรับเดือนมกราคมเท่ากับ 20,000 บาท หักภาษี ณ ที่จ่าย 2,000 บาท และเงินประกันสังคม 1,000 บาท (ค่าแรงงานทางตรง 3,000 ชั่วโมง เป็นเงิน 18,000 บาท และค่าแรงทางอ้อม 2,000 บาท)

               4.  จ่ายค่าแรงงานเป็นเงินสด

               5.  อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเท่ากับ 8 บาท/ชั่วโมงแรงงานทางตรง

               6.  ค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงนอกเหนือจากวัตถุดิบทางอ้อม และค่าแรงงานทางอ้อม มีดังนี้

                    ค่าไฟฟ้าในโรงงาน                          5,000(ยังไม่ได้จ่าย)

                    ค่าเสื่อมราคา โรงงาน                     1,000

                    ค่าซ่อมบำรุงเครื่องจักร                     2,000               

                    เงินเดือนผู้ควบคุมโรงงาน                 22,000(ยังไม่ได้จ่าย)

                        รวม                                          30,000  

7.  ต้นทุนสินค้าที่ผลิตเสร็จเท่ากับ 50,000 บาท

8.  ขายสินค้าเป็นเงินเชื่อ 120,000 บาท ต้นทุนสินค้าที่ขาย 40,000 บาท

การบันทึกบัญชีเป็นดังนี้

รายการ

ต้นทุนจริง

ต้นทุนปกติ

ซื้อวัตถุดิบ

เดบิต วัตถุดิบ                   70,000

              เครดิต เจ้าหนี้                                70,000

เดบิต วัตถุดิบ                    70,000

              เครดิต เจ้าหนี้                                      70,000

เบิกใช้วัตถุดิบ

เดบิต  งานระหว่างผลิต      25,000

           ค่าใช้จ่ายการผลิต   5,000

                เครดิต  วัตถุดิบ                          30,000

เดบิต  งานระหว่างผลิต      25,000

           ค่าใช้จ่ายการผลิต   5,000

                เครดิต  วัตถุดิบ                               30,000

บันทึกค่าแรงงาน

เดบิต  ค่าแรงงาน               20,000

           เครดิต  ค่าแรงงานค้างจ่าย                 17,000

                        ภาษีหัก ณ ที่จ่าย                  2,000

                        ประกันสังคมค้างจ่าย              1,000

เดบิต  ค่าแรงงาน               20,000

           เครดิต  ค่าแรงงานค้างจ่าย                 17,000

                        ภาษีหัก ณ ที่จ่าย                  2,000

                        ประกันสังคมค้างจ่าย              1,000

จำแนกค่าแรงงาน

เดบิต  งานระหว่างผลิต            18,000

           ค่าใช้จ่ายการผลิต           2,000

                   เครดิต ค่าแรงงาน                     20,000

เดบิต  งานระหว่างผลิต            18,000

           ค่าใช้จ่ายการผลิต           2,000

                   เครดิต ค่าแรงงาน                        20,000

จ่ายค่าแรงงาน

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย           17,000

             เครดิต  เงินสด                                                  17,000

เดบิต ค่าแรงงานค้างจ่าย          17,000

             เครดิต  เงินสด                                                    17,000

ประมาณค่าใช้จ่ายการผลิต

(8 X 3,000 =   24,000)

-

เดบิต งานระหว่างผลิต           24,000

      เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน            24,000

ค่าใช้จ่ายการผลิตเกิดขึ้นจริง

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต            30,000

      เครดิต ค่าไฟฟ้าค้างจ่าย                                    5,000

                  ค่าเสื่อมราคาสะสม โรงงาน        1,000

                  เงินสด                                                2,000

                  เงินเดือนผู้ควบคุมโรงงานค้างจ่าย 22,000

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิต            30,000

      เครดิต ค่าไฟฟ้าค้างจ่าย                                       5,000

                  ค่าเสื่อมราคาสะสม โรงงาน           1,000

                  เงินสด                                                  2 ,000

                  เงินเดือนผู้ควบคุมโรงงานค้างจ่าย   22,000

โอนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้างานระหว่างผลิต

เดบิต งานระหว่างผลิต     37,000

            เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิต                   37,000

(5,000+2,000+30,000)

-

ปิดค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน

-

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างาน  24,000

              เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิต                      24,000

ปิดค่าใช้จ่ายการผลิต

-

เดบิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป  13,000

              เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิต                       13,000

ปิดค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป

-

ต้นทุนขาย                                     13,000

         ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป      13,000

เมื่อผลิตเสร็จ

เดบิต  สินค้าสำเร็จรูป          50,000

  เครดิต งานระหว่างผลิต                        50,000

เดบิต  สินค้าสำเร็จรูป          50,000

       เครดิต งานระหว่างผลิต                          50,000

เมื่อขายสินค้าได้

เดบิต ลูกหนี้                       120,000

              เครดิต ขายสินค้า                          120,000

เดบิต ลูกหนี้                     120,000

              เครดิต ขายสินค้า                                  120,000

บันทึกต้นทุนขาย

เดบิต ต้นทุนขาย                 40,000

            เครดิต สินค้าสำเร็จรูป                      40,000

เดบิต ต้นทุนขาย                 40,000

            เครดิต สินค้าสำเร็จรูป                              40,000

 ค่าใช้จ่ายการผลิต

                                                5,000                            24,000

                                                2,000

                                                30,000

                                                                                    * 13,000

            ในโรงงานแต่ละแห่งสามารถจำแนกหน้าที่การปฏิบัติงานของพนักงานได้ 2 ลักษณะ คือ

1.       แผนกผลิต เช่น แผนกตัด แผนกเย็บ แผนกหลอม แผนกตกแต่ง เป็นต้น

2.       แผนกสนับสนุน(บริการ) เช่น แผนกซ่อมบำรุง แผนกอาคารสถานที่ แผนกไอที  เป็นต้น

ทั้งแผนกผลิตและแผนกสนับสนุนมีหน้าที่จัดทำงบประมาณค่าใช้จ่าย หรืองบประมาณต้นทุน

ในแผนกของตนไว้ล่วงหน้า แต่เนื่องจากแผนกสนับสนุนมีหน้าที่ให้บริการแผนกผลิต งบประมาณของแผนกสนับสนุนจึงควรปันส่วนมาให้แก่แผนกผลิตตามกิจกรรมที่ให้บริการแก่กัน นั่นหมายความว่า ต้นทุนของแผนกผลิตจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากได้รับการปันส่วนมาจากแผนกสนับสนุน และจะนำต้นทุนรวมไปคำนวณหาอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานของแผนกผลิตต่อไป

การปันส่วนงบประมาณต้นทุนของแผนกบริการไปยังแผนกผลิตมี 3 วิธี

1.       การปันส่วนโดยตรง(Direct  method)

2.       การปันส่วนเป็นขั้น (Step  method)

  1. การปันส่วนแบบพีชคณิต (Algebraic  method)

1.       การปันส่วนโดยตรง(Direct  method) เป็นการปันส่วนจากแผนกบริการไปหาแผนกผลิตโดยตรง

 ตามสัดส่วนของกิจกรรมที่ใช้  วิธีนี้เป็นวิธีที่ง่าย

แผนกบริการ                                                    แผนกผลิต

ตัวอย่างที่ 6  ข้อมูลเกี่ยวกับการประมาณต้นทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตของบริษัท yellow จำกัด มีดังนี้

งบประมาณค่าใช้จ่ายการผลิตในแผนกผลิต :

            แผนกัดต่อ                                                     100,000 บาท

            แผนกประกอบ                                                   70,000 บาท

งบประมาณต้นทุนในแผนกบริการ :

            แผนกซ่อมบำรุง                                                  80,000 บาท

            แผนกบริการทั่วไป                                              30,000 บาท

กิจการคำนวณอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานโดยใช้เกณฑ์ชั่วโมงแรงงานทางตรง

ข้อมูลเกี่ยวกับเกณฑ์ในการปันส่วนมีดังนี้  

แผนก

พื้นที่ต่อตารางฟุต

ชั่วโมงแรงงานทางตรง

จำนวนพนักงาน

แผนกัดต่อ

1,600

200

25

แผนกประกอบ

900

100

5

แผนกซ่อมบำรุง

400

-

10

แผนกบริการทั่วไป     

700

-

20

รวม

3,600

300

60

 การปันส่วนแผนกบริการไปยังแผนกผลิต มีหลักเกณฑ์ดังนี้

1.       ปันส่วนแผนกซ่อมบำรุง ไปยังแผนกผลิต โดยใช้จำนวนพื้นที่ต่อตารางฟุตของแผนกผลิตแต่

ละแผนกเป็นเกณฑ์

2.       ปันส่วนแผนกบริการทั่วไป ไปยังแผนกผลิต โดยใช้จำนวนพนักงานของแผนกผลิตแต่ละ

แผนกเป็นเกณฑ์

วิธีการปันส่วน

รายละเอียด

แผนกบริการ

แผนกผลิต

แผนกซ่อมบำรุง

แผนกบริการทั่วไป

แผนกตัดต่อ

แผนกประกอบ

งบประมาณต้นทุนของแต่ละแผนก

การปันส่วนต้นทุน :

- โอนต้นทุนแผนกซ่อมบำรุง

- โอนต้นทุนแผนกบริการทั่วไป

80,000

(80,000)

30,000

(30,000)

100,000

51,200

25,000

70,000

28,800

5,000

ยอดคงเหลือหลังโอนต้นทุน

0

0

176,200

103,800

อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง

176,200/200

= 881

103,800/100

= 1,038

ปันส่วนต้นทุนของแผนกซ่อมบำรุง

1.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  80,000 x  =         51,200 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             80,000 x             =          28,800 บาท

ปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการทั่วไป

 1.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                 30,000 x      =          25,000 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             30,000 x      =          5,000 บาท

2.  การปันส่วนเป็นขั้น (Step  method) เป็นการปันส่วนจากแผนกบริการหนึ่งไปหาแผนกบริการอื่นตามสัดส่วนของกิจกรรมที่ใช้  จากนั้นจึงจะปันส่วนจากแผนกบริการไปยังแผนกผลิต ตามสัดส่วนของกิจกรรมที่ใช้ 

แผนกบริการ                                                    แผนกผลิต                             

จากตัวอย่างบริษัท yellow จำกัด  ถ้าสมมุติว่ากิจการต้องการที่จะใช้วิธีการปันส่วนต้นทุนเป็นขั้น

มีหลักเกณฑ์ดังนี้

            1.  ปันส่วนต้นทุนของแผนกซ่อมบำรุงก่อนอันดับแรก โดยใช้พื้นที่ต่อตารางฟุตในการปันส่วน

            2.   ปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการทั่วไป เป็นอันดับสอง  โดยใช้จำนวนพนักงานในการปันส่ว

วิธีการปันส่วน

รายละเอียด

แผนกบริการ

แผนกผลิต

แผนกซ่อมบำรุง

แผนกบริการทั่วไป

แผนกตัดต่อ

แผนกประกอบ

งบประมาณต้นทุนของแต่ละแผนก

การปันส่วนต้นทุน :

-โอนต้นทุนแผนกซ่อมบำรุง

- โอนต้นทุนแผนกบริการทั่วไป

80,000

(80,000)

30,000

17,500

 (47,500)

100,000

40,000

39,583.33

70,000

22,500

7,916.67

ยอดคงเหลือหลังโอนต้นทุน

0

0

179,583.33

100,416.67

อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง

179,583.33/200

= 897.92

100,416.67/100

= 1,004.17

ปันส่วนต้นทุนของแผนกซ่อมบำรุง

1.  ปันส่วนให้แผนกบริการทั่วไป        80,000x  =          17,500 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  80,000x  =          40,000 บาท

3.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             80,000x  =          22,500 บาท

ปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการทั่วไป

1.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  47,500x       =          39,583.33 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             47,500x       =          7,916.67 บาท

3. การปันส่วนแบบพีชคณิต (Algebraic  method)เป็นการปันส่วนระหว่างแผนกบริการด้วยกันก่อนตามสัดส่วนของกิจกรรมที่ใช้  จากนั้นจึงจะปันส่วนจากแผนกบริการไปยังแผนกผลิต ตามสัดส่วนของกิจกรรมที่ใช้  วิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุดในสภาพความเป็นจริง

แผนกบริการ                                                    แผนกผลิต

จากตัวอย่างบริษัท yellow จำกัด  ถ้าสมมุติว่ากิจการต้องการที่จะใช้วิธีการปันส่วนต้นทุนแบบพีชคณิต มีหลักเกณฑ์ดังนี้

            1.  ปันส่วนต้นทุนของแผนกซ่อมบำรุงโดยใช้พื้นที่ต่อตารางฟุตในการปันส่วน

            2.   ปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการทั่วไปโดยใช้จำนวนพนักงานในการปันส่วน

แผนกซ่อมบำรุงปันส่วนให้แผนกบริการทั่วไป :

            =         

            =          0.2188 ของต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของแผนกซ่อมบำรุง

แผนกบริการทั่วไปปันส่วนให้แผนกซ่อมบำรุง :

            =           

            =          0.25 ของต้นทุนที่เกิดขึ้นทั้งหมดของแผนกบริการทั่วไป

กำหนดให้

X          =          ต้นทุนที่เกิดขึ้นในแผนกซ่อมบำรุง

Y          =          ต้นทุนที่เกิดขึ้นในแผนกบริการทั่วไป

สูตรสำหรับหาค่า X         =          80,000 + 0.25Y

สูตรสำหรับหาค่า Y         =          30,000 + 0.2188X

การแก้สมการเพื่อหาค่า X และ Y เป็นดังนี้

X                      =          80,000 + 0.25Y

X                      =          80,000 + 0.25(30,000 + 0.2188X)

X                      =          80,000 + 7,500 + 0.0547X

0.9453X            =          80,000 + 7,500

0.9453X            =          87,500

X                      =         

X                      =          92,563.2074 บาท

เมื่อเราทราบค่า X แล้ว ก็จะนำค่า X ไปแทนค่าในสมการ Y เพื่อหาค่า Y ดังนี้

Y          =          30,000 + 0.2188X

Y          =          30,000 + 0.2188(92,563.2074)

Y          =          30,000 + 20,252.8298

Y          =          50,252.8298 บาท

วิธีการปันส่วน

รายละเอียด

แผนกบริการ

แผนกผลิต

แผนกซ่อมบำรุง

แผนกบริการทั่วไป

แผนกตัดต่อ

แผนกประกอบ

งบประมาณต้นทุนของแต่ละแผนก

การปันส่วนต้นทุน :

- โอนต้นทุนแผนกซ่อมบำรุง

- โอนต้นทุนแผนกบริการทั่วไป

80,000

(92,563.2074)

12,563.2075

30,000

20,248.2016

(50,252.8298)

100,000

46,281.6037

31,408.0186

70,000

26,033.4021

6,281.6037

ยอดคงเหลือหลังโอนต้นทุน

0

0

177,689.6223

102,315.0058

อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง

177,689.6223/200

= 888.4481

102,315.0058/100

= 1,023.1500

ปันส่วนต้นทุนของแผนกซ่อมบำรุง

1.  ปันส่วนให้แผนกบริการทั่วไป        92,563.2074 x     =  20,248.2016  บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  92,563.2074 x       =  46,281.6037 บาท

3.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             92,563.2074 x     =  26,033.4021 บาท

ปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการทั่วไป

1.  ปันส่วนให้แผนกซ่อมบำรุง            50,252.8298 x          =          12,563.2075 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  50,252.8298 x          =          31,408.0186 บาท

3.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             50,252.8298 x          =          6,281.6037 บาท

ตัวอย่างการบันทึกบัญชีของบริษัท yellow จำกัด โดยสมมุติว่าในปี 25X1 กิจการปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการโดยตรง(Direct  method) ข้อมูลต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงในปี 25X1 มีดังนี้

            แผนกัดต่อ                                                        230,000 บาท

            แผนกประกอบ                                                   100,000 บาท

            แผนกซ่อมบำรุง                                                  90,000 บาท

            แผนกบริการทั่วไป                                              10,000 บาท

แผนก

พื้นที่ต่อตารางฟุต

ชั่วโมงแรงงานทางตรง

จำนวนพนักงาน

แผนกัดต่อ

1,500

250

20

แผนกประกอบ

500

150

5

แผนกซ่อมบำรุง

400

-

15

แผนกบริการทั่วไป         

900

-

24

รวม

3,300

400

64

วิธีการปันส่วน

รายละเอียด

แผนกบริการ

แผนกผลิต

แผนกซ่อมบำรุง

แผนกบริการทั่วไป

แผนกตัดต่อ

แผนกประกอบ

ต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของแต่ละแผนก

การปันส่วนต้นทุน :

- แผนกซ่อมบำรุง

- แผนกบริการทั่วไป

90,000

(90,000)

10,000

(10,000)

230,000

67,500

8,000

100,000

22,500

2,000

ยอดคงเหลือหลังปันส่วนต้นทุน

0

0

305,500

124,500

ปันส่วนต้นทุนของแผนกซ่อมบำรุง

1.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  90,000 x             =          67,500 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             90,000 x             =          22,500 บาท

ปันส่วนต้นทุนของแผนกบริการทั่วไป

1.  ปันส่วนให้แผนกตัดต่อ                  10,000 x      =          8,000 บาท

2.  ปันส่วนให้แผนกประกอบ             10,000 x      =          2,000 บาท

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานที่สูงหรือต่ำกว่าค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริงจะบันทึกบัญชีอย่างไร

เมื่อจำนวนค่าใช้จ่ายการผลิตจัดสรรมีจำนวนสูงหรือต่ำกว่า ค่าใช้จ่ายการผลิตที่เกิดขึ้นจริง กิจการจะต้องบันทึกรายการดังกล่าวไว้ในบัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตจัดสรรสูงไป” หรือค่าใช้จ่ายการผลิตจัดสรรต่ำไป” แล้วแต่กรณี และเมื่อถึงวันสิ้นงวดบัญชี กิจการต้องแสดงผลการดำเนินงานที่เหมาะสมและใกล้เคียงความเป็นจริง ในขณะที่งบดุลก็จะ ...

การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานเพื่อประโยชน์อะไร

การกำหนดอัตราค่าใช้จ่ายการผลิตจัดสรร หรือ อัตราค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานหมายถึง กระบวนการในการประมาณการ หรือการคาดการณ์ถึงค่าใช้จ่ายการผลิตต่อหน่วย ต่อชั่วโมงแรงงานทางตรง ต่อชั่วโมงเครื่องจักร หรือต่อต้นทุนวัตถุดิบทางตรงไว้ล่วงหน้า ทั้งนี้แล้วแต่นโยบายของกิจการในการกำหนดฐานเพื่อใช้ปันส่วนค่าใช้จ่ายการผลิตเข้าเป็น ...

ค่าใช้จ่ายในการผลิตเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร

ค่าใช้จ่ายการผลิต (Manufacturing Overhead) เป็นต้นทุนรายการหนึ่งของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนที่นอกเหนือไปจากวัตถุดิบทางตรงและค่าแรงงานทางตรง ค่าใช้จ่ายการผลิตอาจเรียกในอีกชื่อว่า ค่าใช้จ่ายโรงงาน (Factory Expenses) ค่าใช้จ่ายการผลิตจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มคือ วัตถุดิบทางอ้อม (Indirect Material) แรงงานทางอ้อม ( ...

ค่าใช้จ่ายในการผลิตคิดเข้างานบันทึกบัญชีอย่างไร

ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป มีจำนวนไม่มากหรือไม่มีนัยสำคัญ การบันทึกบัญชีสามารถแยกพิจารณาได้ 2 กรณี ดังนี้ 1.1 บัญชีค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป มียอดคงเหลือด้านเดบิต (ประมาณการต่ำไป) เดบิต ต้นทุนขาย XX. เครดิต ค่าใช้จ่ายการผลิตคิดเข้างานสูง(ต่ำ)ไป XX.