รับเหมา ราย ได้ เกิน 1.8 ล้าน

ต้องเข้าใจก่อนว่าอาชีพผู้รับเหมา มีรายละเอียดต่างกันไป ซึ่งความต่างนี้จะทำให้ ประเภทของภาษีเงินได้ต่างออกไปด้วย

ปกติแล้ว เงินได้มี 8 ประเภท (ตามนี้ > ประเภทเงินได้)

ในส่วนของผู้รับเหมาจะจัดเป็นประเภทได้ดังนี้

 

  1. ประเภทที่ 7 กรณีรับเหมา ลูกค้าจ้างเราเฉพาะค่าแรง ส่วนค่าของลูกค้าไปซื้อมาเอง
  2. ประเภทที่ 2 ลูกค้าจ้างเหมาเราทั้งแรงและของ
  3. ประเภทที่ 8 ลูกค้าจา้งเหมาเราทั้งแรงและของ และเรามีการจ้างลูกน้องหลายๆคน เหมือนเป็นกิจการย่อมๆ

รับเหมา ราย ได้ เกิน 1.8 ล้าน

ซึ่ง 3 ประเภทนี้จะหักค่าใช้จ่ายได้ต่างกัน

การหักค่าใช้จ่ายต่างกันทำให้เราเสียภาษีต่างกันด้วย

เพราะภาษีคิดจาก รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน

 

รับเหมา ราย ได้ เกิน 1.8 ล้าน

 

ซึ่งเมื่อคำนวณภาษี ได้เท่าไหร่ ต้องหัก ภาษีหัก ณ ที่จ่ายที่ลูกค้าหักเราไปตอนจ่ายเงิน

ไม่ใช่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายแล้วไม่ยื่นภาษี ไม่ใช่ เป็นความเข้าใจที่ผิด

 

 

โดยผู้รับเหมาต้องยื่นภาษี กลางปีและสิ้นปี ด้วยแบบ ภงด94 และ ภงด90 ตามละดับ

รับเหมา ราย ได้ เกิน 1.8 ล้าน

 

Post Views: 12,039

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Tags: ภาษีบริษัทภาษีผู้รับเหมารับทำบัญชีสำนักงานบัญชี

เรียน  นายภาษี

         ปกติทางบริษัทได้มีการหักภาษี ณ ที่จ่ายให้ ผู้รับเหมาทุกครั้ง 3% ในปี 2554  มีผู้รับเหมาหนึ่งรายโดน สรรพากรเรียกให้ไปจ่ายภาษีเนื่องจากมีรายได้จากบริษัทฯ รวมเป็นเงิน 2,400,000 บาท   มีคำถามดังนี้

1.ส่วนแรกก็คืออาจโดนค่าปรับเนื่องจากยอดเงินเกิน 1,800,000 เลยโดนปรับเรื่อง Vat

2.ส่วนที่สองอาจโดนเรื่องภาษีปลายปี ที่เกินยอดหัก ณ ที่จ่ายเอาไว้

3.ไม่ทราบว่า ถ้าให้ผรมรายนี้ ตอบสรรพากรให้ประเมินเป็น ผรม ที่หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 70% เพื่อลดภาระเรื่องภาษีได้หรือไม่

4.แล้วจะมีผลกระทบอย่างไร แล้วจะช่วยให้เค้าเสียภาษีน้อยที่สุดได้อย่างไร
หมายเหตุ ผู้รับเหมารายนี้ ได้ออกจากบริษัทในปลายปี 54 ไปแล้ว

ขอแสดงความนับถือ

แสนดี

เรียน  คุณแสนดี

       ประเด็นดังกล่าวจะมีผลกระทบเรื่อง

1.ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้จากการรับจ้างก่อสร้างสามารถพิจารณาได้เป็น 2 ประเภทคือ

1.1.เงินได้จากการรับทำงานให้ มาตรา 40 (2) ซึ่งหักรายจ่ายได้เป็นการเหมา 40% ไม่เกิน 60,000 บาท

1.2.เงินได้จากการรับเหมา มาตรา 40 (7) หักรายจ่ายได้เป็นการเหมา 70 %

ผู้รับเหมาต้องชี้แจงรายละเอียดการทำงานให้ชัดเจนว่าเป็น งานรับเหมาก่อสร้าง ซึ่งมีสาระสำคัญคือ ผู้รับเหมารับผิดชอบทั้งในส่วนของการจัดหาคนงาน, จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ (บางส่วน) จะเข้าเงื่อนไขเป็นเงินได้จากการรับเหมาตามมาตรา 40 (7) หักรายจ่ายเหมาได้อัตรา 70 %

2.ภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อฐานรายรับเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี และไม่ได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มและนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีนี้จะถูกประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมทั้งชำระเบี้ยปรับค่อนข้างมาตรา 89 ให้ผู้มีหน้าที่เสภาษี หรือบุคคลตามมาตรา 86/13 เสียเบี้ยปรับในกรณีและตามอัตราดังต่อไปนี

(1) ประกอบกิจการโดยมิได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตามมาตรา 85 หรือมาตรา 85/1 หรือประกอบกิจการเมื่อถูกสั่งเพิกถอนใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา 85/17 แล้ว ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียในเดือนภาษี ตลอดระยะเวลาที่ไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าว หรือเป็นเงินหนึ่งพันบาทต่อเดือนภาษีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า

(2) มิได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีภายในกำหนดเวลา ให้เสียเบี้ยปรับอีกสองเท่าของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งในเดือนภาษี

(3) เงินได้พึงประเมินมาตรา 40 (2) และ (7) มีอัตราหักรายจ่ายที่ต่างกัน ทำให้ภาระภาษีจากการประเมินทั้งสองกรณีต่างกันดังนี้

มาตรา 40 (2)

มาตรา 40 (7)

รายได้พึงประเมิน

2,400,000.00

2,400,000.00

หัก ค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา

60,000.00

1,680,000.00

รายได้ก่อนหักค่าลดหย่อน

2,340,000.00

720,000.00

หัก  ค่าลดหย่อนผู้มีเงินได้

30,000.00

30,000.00

เงินได้พึงประเมินสุทธิ

2,310,000.00

690,000.00

ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

(1 - 150,000) ยกเว้น

(150,001 – 500,000) อัตรา 10 %

(500,001 – 1,000,000) อัตรา 20 %

(1,000,001 – 4,000,000) อัตรา 30 %

(4,000,001 เป็นต้นไป อัตรา 37 %

448,000.00

58,000.00

หัก ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย

72,000.00

72,000.00

ภาษีที่ต้องชำระเพิ่ม (ขอคืน)

376,000.00

(14,000.00)

บวก ภาษีมูลค่าเพิ่ม (2.4 – 1.8) ) 7%

42,000.00

42,000.00

บวก เบี้ยปรับกรณีไม่ยื่นแบบ ชำระภาษี (2 เท่า)

84,000.00

84,000.00

รวมภาษีที่ต้องชำระทั้งสิ้น

502,000.00

126,000.00

หมายเหตุ  ภาระภาษีข้างต้นยังไม่รวมเงินเพิ่ม 1.5 % ต่อเดือน และภาษีเงินได้ที่ชำระเกินต้องขอคืนแยกต่างหาก

หากสามารถชี้แจงให้เข้าใจตรงกันว่า เงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้จากการรับเหมา มาตรา 40 (7) จะทำให้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลงตามที่แสดงข้างต้น สำหรับกรณีภาษีมูลค่าเพิ่ม อาจจะต้องเจรจากับเจ้าหน้าที่ให้ช่วยพิจารณาลดหย่อนเบี้ยปรับให้ได้ 40 – 50 % ตามแต่กรณีเป็นแนวทางที่น่าจะเจรจาได้ เพราะเจ้าหน้าที่มีอำนาจในการลดเบี้ยปรับหากเห็นว่าผู้ประกอบการไม่ได้จงใจหลีกเลี่ยงภาษี

รายได้เกิน 1.8 ล้าน คืออะไร

กรณีที่บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคลที่ขายสินค้าหรือ ให้บริการในราชอาณาจักร มีรายรับเกิน 1.8 ล้านบาท ต่อปี ให้ยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เกิน 1.8 ล้านบาท โดยสามารถขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม

บุคคลธรรมดารายได้เกิน 1.8 ล้านต้องจด VAT ไหม

รายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจด VAT. ภาษีมูลค่าเพิ่ม หากผู้ประกอบการมีรายรับจากการขายสินค้าหรือ ให้บริการเกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี ให้ยื่นค าขอจดทะเบียน ภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ รายรับเกิน

เมื่อผู้ประกอบการมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.8 ล้านบาท ผู้ประกอบการจะต้องทำอย่างไรบ้าง

เนื่องจากกฎหมายมีการกำหนดให้ผู้มีรายได้จากการขายหรือให้บริการเกินกว่า 1.8 ล้านบาทต่อปี ต้องจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ยื่นแบบ ภ.พ.01) ภายใน 30 วัน นับจากวันที่มี รายได้เกิน 1.8 ล้าน ซึ่งถ้าหากใครรู้ตัวเร็วรีบยื่นจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ก่อนหมดเวลากำหนด ก็หายห่วงเรื่องการถูกปรับภาษีย้อนหลัง และหลังจากวันที่ยื่นขอ ...

รับเหมาหักภาษีกี่%

ภาษี หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องหัก มีดังต่อไปนี้ ค่าเช่าหัก 5% , ค่าโฆษณาหัก 2%, ค่าขนส่งหัก 1% , ค่ารับเหมาก่อสร้าง ค่าจ้างทำของ ค่าโทรศัพท์ ค่าแรงเหมา ค่าบริการซักรีดผ้า ค่าซ่อมแซม ค่าบริการอื่นๆ หัก 3% ซึ่งหักยอดก่อน Vat นะครับ บุคคลธรรมดา ยื่นแบบ ภงด.3 นิติบุคคล ยื่นแบบ ภงด.53 เงินปันผลจากนิติบุคคล คนไทย 10% ต่างชาติ 15 ...