กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง

ระยะแรก เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้มีเจ้าหน้าที่ของสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ซึ่งเป็น องค์การอิสระ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง จัดตั้งโดยสมาคมผู้บริโภค ของประเทศต่าง ๆ รวมตัวกันมีสำนักงานใหญ่ อยู่ที่กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ได้เข้ามาชักชวน องค์การเอกชนในประเทศไทยให้มีการจัดตั้งสมาคมผู้บริโภคขึ้น เช่นเดียวกับประเทศอื่น ๆ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจาก องค์การเอกชน ของประเทศไทยในขณะนั้นยังไม่พร้อม ที่จะดำเนินงานอย่างไรก็ตามสหพันธ์องค์การผู้บริโภคระหว่างประเทศ ก็มิได้ย่อท้อ ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาชักชวนอีกหลายครั้ง จนกระทั่งในครั้งที่ 3 องค์การเอกชน ของประเทศไทยได้รับการชักชวน ได้จัดตั้งคณะกรรมการเพื่อการศึกษาปัญหา ของผู้บริโภคมีชื่อว่า กรรมการศึกษาและส่งเสริมผู้บริโภคใน ปี พ.ศ. 2514และได้มีวิวัฒนาการเรื่อยมาในภาคเอกชน รวมทั้งได้ประสานงานกับภาครัฐ บาล จนกระทั่งใน ปี พ.ศ. 2519 รัฐบาลสมัย คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี ได้จัดตั้งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้นคณะหนึ่ง โดยมีรองนายกรัฐมนตรี พลตรีประมาณ อดิเรกสาร เป็นประธานกรรมการชุดดังกล่าว ได้สลายตัวไปพร้อมกับรัฐบาลในยุคนั้นตามวิถีทางการเมือง

ยกร่าง พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 รัฐบาลสมัยต่อมาซึ่งมี พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้เล็งเห็น ความสำคัญและความจำเป็นของการคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภคขึ้นอีกครั้งโดยมีรองนายกรัฐมนตรี นายสมภพ โหตะกิตย์ เป็นประธานกรรมการ การปฏิบัติงานโดยอาศัยอำนาจของนายกรัฐมนตรี และศึกษาหามาตราการถาวรในการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในหลักทาง สาระบัญญัติ และการจัดองค์กรของรัฐเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค จึงได้พิจารณายกร่างกฏหมายว่าด้วยการคุ้มครอง ผู้บริโภค และรัฐบาลได้นำเสนอต่อรัฐสภา มีมติเห็นชอบเป็นเอกฉันท์ให้เป็นกฏหมายได้ รัฐบาลจึงได้นำร่างขึ้นบังคมทูลซึ่งได้มี พระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้ตราเป็นพระราชบัญญัติ ได้ตั้งแต่วัน ทรงลงพระปรมาภิไธย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2522 และประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษเล่มที่ 96 ตอนที่ 72 วันที่ 4 พฤษภาคม 2522 มีผลการใช้บังคับ ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2522 เป็นต้นมา

เหตุผลในการประการใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522

  1. เพื่อกำหนดสิทธิของผู้บริโภค
  2. เพื่อกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ
  3. เพื่อกำหนดให้มีการจัดตั้งองค์กรของรัฐ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

โดยให้เหตุผลในการประกาศใช้ พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากปัจจุบัน การเสนอขายสินค้า และบริการต่างๆ ต่อประชาชนนับวันแต่จะเพิ่มมากขึ้น ผู้ประกอบธุระกิจการค้า และผู้ประกอบธุระกิจ โฆษณา ได้นำวิชาการทางการตลาดและทางการโฆษณามาใช้ในการส่งเสริมการขายสินค้า และบริการซึ่งการกระทำดังกล่าวทำให้ผู้บริโภคตกอยู่ในฐานะและบริการ ที่เสียเปรียบ เพราะผู้บริโภค ไม่อยู่ ในฐานะที่ทราบภาวะตลาด และความจริงที่เกี่ยวกับคุณภาพและราคาของสินค้าต่าง ๆ ได้อย่างถูกต้องทันท่วงที นอกจากนั้นในบางกรณีแม้จะมีกฏหมายให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยการกำหนดคุณภาพ และราคาของสินค้าหรือผู้ประกอบธุระกิจโฆษณาเมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภคย่อมจะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายเป็น การ ไม่คุ้มค่า และผู้บริโภคจำนวนมากไม่อยู่ในฐานะ ที่จะสละเวลาและเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินคดีได้และในบางกรณีไม่อาจจะระงับ หรือยับยั้ง การกระทำที่เกิดความเสียหาย แก่ผู้บริโภค ได้ทันท่วงที สมควรมีกฏหมายให้ความคุ้มครอง สิทธิของผู้บริโภค เป็นการทั่วไป โดยกำหนดหน้าที่ของผู้ประกอบธุรกิจ การค้าและผู้ประกอบธุรกิจ โฆษณาต่อผู้บริโภคเพื่อให้ความเป็นธรรมดา มสมควรแก่ผู้บริโภค ตลอดจนจัดให้มีองค์กรของรัฐ ที่เหมาะสมเพื่อตรวจตรา ดูแลและประสานงานการปฏิบัติงานของส่วนราชการต่าง ๆ ในการให้ ความคุ้มครองผู้บริโภค จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัติ นี้ขึ้น

การจัดตั้งองค์กรของรัฐเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

  1. จัดตั้งคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
  2. จัดตั้งคณะกรรมการเฉพาะเรื่อง
  3. จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ได้บัญญัติให้มีองค์กร ของรัฐ ในการให้ความ คุ้มครองแก่ผู้บริโภค ได้แก่คณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และคณะกรรมการคุ้มครองเฉพาะเรื่อง ซึ่งได้แก่ คณะกรรมการว่าด้วยการโฆษณา และคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก รวมทั้งได้บัญญัติให้มีการจัดตั้งหน่วยงานเพื่อปฏิบัติงานและให้ผู้บริโภค ที่ถูกละเมิดสิทธิใช้บริการ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยให้สังกัดอยู่ในสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เพื่อความสะดวกในการปฏิบัติงานตามนโยบายของรัฐบาลและคำสั่งของคณะกรรมการ คุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ร่วมทั้งเพื่อความสะดวกในการ ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ คุ้มครองผู้บริโภครัฐบาล จึงได้ดำเนินการจัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคโดย ได้ตราเป็นพระราชกฤษฎีกา แบ่งส่วนราชการสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี สำนักนายกรัฐมนตรี พ.ศ. 2522 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 96 ตอนที่ 105 วันที่ 1 กรกฏาคม 2522ซึ่งมีผล การใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 2 กรกฏาคม 2522 จึงถือว่าได้ดำเนินการ จัดตั้งสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ตั้งแต่วันที่ 2 กรกฏาคม 2522 เป็นต้นมา

การคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง การปกป้องดูแลผู้บริโภค ให้ได้รับความปลอดภัย เป็นธรรม และประหยัด จากการบริโภคสินค้าและบริการ

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง

ในปัจจุบัน มีการแข่งขันกันในเชิงธุรกิจมาก ทำให้ผู้ผลิตแข่งกันผลิตและบริการ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค แต่พบว่า มีผู้ผลิตจำนวนไม่น้อย ที่ไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค ด้วยเหตุนี้รัฐบาล จึงต้องทำหน้าที่ดูแล และกำกับแก้ไข โดยมีจุดมุ่งหมายในการคุ้มครองผู้บริโภคดังนี้
1. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้เสียเปรียบผู้ผลิต
2. เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของการโฆษณา
3. เพื่อควบคุมสินค้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ปลอดภัย หรือเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
4. เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ระหว่างผู้ซื้อ และผู้ขาย

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 ได้บัญญัติสิทธิของผู้บริโภคที่จะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 5 ประการ ดังนี้
1. สิทธิที่จะได้รับข่าวสารรวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการโฆษณาหรือการแสดงฉลาก ตามความเป็นจริงและปราศจากพิษภัยแก่ผู้บริโภค รวมตลอดถึงสิทธิที่จะได้รับทราบ ข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการอย่างถูกต้องและเพียงพอที่จะไม่หลงผิด ในการซื้อสินค้า หรือรับบริการโดยไม่เป็นธรรม
2. สิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะเลือกซื้อสินค้าหรือรับบริการโดยความ สมัครใจของผู้บริโภค และปราศจากการชักจูงใจ อันไม่เป็นธรรม
3. สิทธิที่จะได้รับความปลอดภัยจากการใช้สินค้าหรือบริการ ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับสินค้าหรือบริการที่ปลอดภัย มีสภาพและคุณภาพได้มาตรฐานเหมาะสม แก่การใช้ ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกายหรือทรัพย์สิน ในกรณีใช้ตามคำแนะนำหรือระมัดระวังตามสภาพของสินค้าหรือบริการนั้นแล้ว
4. สิทธิที่จะได้รับความเป็นธรรมในการทำสัญญา ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับข้อสัญญาโดยไม่ถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ประกอบธุรกิจ
5. สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาและชดเชยความเสียหาย ได้แก่ สิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองและชดใช้ค่าเสียหาย เมื่อมีการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค ตามข้อ 1, 2, 3 และ 4 ดังกล่าว

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง

https://sites.google.com/site/kruticha/bth-reiyn/ngan-thurkic/hnwy-thi-3-ngein-thxng-khxng-mi-kha/kar-khumkhrxng-phu-briphokhhttps://sites.google.com/site/g4economics/reuxng-thi-2-sersthkic-ni-khrxbkhraw-khxng-rea/2-2-kar-phlit-ni-khraw-reuxn

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค หมายถึง

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคหมายถึงอะไร

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ถือเป็นเครื่องมือของรัฐอย่างหนึ่งที่รัฐสามารถใช้กลไกทาง กฎหมายดาเนินการให้เกิดความเป็นธรรมต่อประชาชนในฐานะผู้บริโภค เนื่องจากรัฐได้เล็งเห็นแล้วว่า แนวโน้มที่ผู้บริโภคจะเสียเปรียบและไม่มีอานาจในการต่อรองกับผู้ประกอบการภายใต้ระบบเศรษฐกิจ แบบเสรีนิยมมีความเป็นไปได้มาก ประกอบกับอ านาจของรัฐเองในการ ...

กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มีอะไรบ้าง

พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 (ฉบับรวม) 41977 ครั้ง พระราชบัญญัติ ขายตรงและตลาดแบบตรง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2560 3753 ครั้ง พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562 17449 ครั้ง พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 2267 ครั้ง

สคบ. ย่อมาจากคำว่าอะไร

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เป็นส่วนราชการระดับกรมสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มีอำนาจ และหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ ๑๐ ประการ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ดังนี้