ต่อ soundbar กับทีวีรุ่น เก่า

ก่อนจะอธิบายเหตุผล ขอตอบก่อนเลยว่า ไม่จำเป็น.!”

เพราะคำว่า Soundbarเป็นคำสามัญที่ใช้โดยทั่วไป ไม่ได้เป็นเทคโนโลยีเฉพาะที่คิดค้นโดยแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง ลำโพงซาวนด์บาร์ทุกตัวถูกออกแบบมาด้วยจุดประสงค์หลักก็เพื่อให้นำมาใช้ร่วมกับทีวีอยู่แล้ว ดังนั้น มันจึงสามารถใช้งานร่วมกับทีวีได้ทุกรุ่นทุกยี่ห้อ

ฉนั้น เรื่องของชื่อยี่ห้อจึงไม่ใช่สิ่งจำเป็นที่ต้องพะวง มีแค่เรื่องของ รูปแบบการเชื่อมต่อระหว่างลำโพงซาวนด์บาร์กับทีวีเพียงอย่างดียวเท่านั้นที่คุณต้องพิจารณาก่อนเลือกซื้อ

รูปแบบการเชื่อมต่อ
ระหว่างลำโพงซาวนด์บาร์ กับทีวี

คุณสามารถเชื่อมต่อลำโพงซาวนด์บาร์เข้ากับทีวีได้ 3 วิธี คือ

HDMI= ถูกออกแบบมาให้ใช้กับทีวีรุ่นใหม่ๆ ที่ออกมาหลังปี 2002 (.. 2545) เป็นต้นมา แต่เจนเนอเรชั่นแรกๆ ของ HDMI ยังไม่มีฟังท์ชั่น ARC (Audio Return Channel) ที่ใช้ในการส่งสัญญาณเสียงจากทีวีกลับมาที่ตัวซาวนด์บาร์ ต้องรอถึงเวอร์ชั่น HDMI 1.4 จึงได้เริ่มบรรจุฟังท์ชั่น ARC เข้ามาในการเชื่อมต่อด้วย HDMI เมื่อปี 2009 (.. 2552)

ต่อ soundbar กับทีวีรุ่น เก่า

ลักษณะขั้วต่อสัญญาณภาพ+เสียง HDMI


จุดเด่นของการเชื่อมต่อระหว่างทีวีกับลำโพงซาวนด์บาร์ด้วย HDMI มีอยู่ 2 ประการ อย่างแรกคือ HDMI รองรับการรับส่งสัญญาณเสียงที่มีความละเอียดสูงทั้งระบบเสียง stereo 2 ch และ multichannel อย่างที่สองคือ รองรับฟังท์ชั่น auto lip-sync คือ จัดการให้ภาพบนจอกับเสียงจากลำโพงซาวนด์บาร์ออกมาตรงกันแบบอัตโนมัติ

Optical & Coaxial = เป็นระบบการเชื่อมต่อสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปแบบของสัญญาณดิจิตัลที่มีมานานแล้ว คุณจะเห็นขั้วต่อสัญญาณเสียงแบบนี้อยู่บนอุปกรณ์หลายชนิด อาทิ เครื่องเล่นดีวีดี/บลูเรย์, เครื่องเล่นซีดี/เอสเอซีดี, เครื่องเล่นไฟล์เพลง และทีวี โดยอาศัยแสงเลเซอร์สีแดงเป็นตัวนำสัญญาณเสียงดิจิตัลจากต้นทางส่งไปที่ปลายทางผ่านสายที่มีลักษณะเป็นท่อนำแสง

ต่อ soundbar กับทีวีรุ่น เก่า

ในกรอบสีส้มศรชี้คือส่วนของขั้วต่อสัญญาณเสียงขาออกที่ชื่อว่า Coaxial (ซ้าย) และขั้วต่อ Optical (ขวา) ซึ่งจะส่งสัญญาณเสียงดิจิตัลฟอร์แม็ต PCM, DTS และ Dolby Digital ออกไปให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอก อาทิเช่น ลำโพงซาวนด์บาร์ หรือ AVR เป็นต้น


โดยความเป็นจริงแล้ว HDMI เป็นระบบเชื่อมต่อสัญญาณเสียงที่ออกแบบมาเพื่อทดแทนการเชื่อมต่อทุกรูปแบบที่เคยใช้เชื่อมต่อระหว่างทีวีกับอุปกรณ์ภายนอก แต่เนื่องจากทีวีที่ผลิตออกมาจำหน่ายก่อนปี 2002 ยังไม่มีขั้วต่อ HDMI มาให้ และทีวีที่ออกมาวางจำหน่ายก่อนปี 2009 นั้น ถึงแม้ว่าจะมีขั้วต่อ HDMI มาให้ แต่ก็ยังไม่รองรับฟังท์ชั่น ARC อยู่ดี ดังนั้น ถ้าต้องการส่งสัญญาณเสียงจากตัวทีวีมาที่ลำโพงซาวนด์บาร์จึงต้องอาศัยส่งออกทางช่อง Optical หรือ Coaxial แทน ซึ่งจุดเด่นของการส่งผ่านระบบเชื่อมต่อ Coaxial & Optical ก็คือสามารถรับส่งสัญญาณเสียงที่มีคุณภาพไม่ต่างจากการรับส่งสัญญาณผ่านทาง HDMI ARC

Analog= เป็นระบบการเชื่อมต่อเพื่อรับส่งสัญญาณเสียงระหว่างทีวีกับลำโพงซาวนด์บาร์ด้วยสัญญาณเสียงที่อยู่ในรูปของสัญญาณ analog ล้วนๆ ซึ่งเป็นวิธีเชื่อมต่อสัญญาณระหว่างลำโพงซาวนด์บาร์กับทีวีที่ออกมานานมากแล้วและไม่มีช่องเอ๊าต์พุตสัญญาณเสียงแบบดิจิตัลมาให้เลย ทั้ง HDMI และ Coaxial หรือแม้แต่ช่องเอ๊าต์พุต Optical ด้วย ซึ่งคุณภาพเสียงของลำโพงซาวนด์บาร์ที่ได้จากขั้วต่อ analog จะขึ้นอยู่กับคุณภาพของวงจรจูนเนอร์ที่อยู่ในตัวทีวีตัวนั้นนั่นเอง

ต่อ soundbar กับทีวีรุ่น เก่า

ในกรอบสีส้มศรชี้นั้นคือขั้วต่อสัญญาณเสียง analog ซึ่งทีวีรุ่นนี้ให้มา 2 ชุด แต่ละชุดจะประกอบด้วยขั้วต่อ RCA จำนวน 2 ช่องเพื่อนำพาสัญญาณ analog out ที่เป็นสัญญาณแชนเนลซ้าย (Left = ขั้วสีขาว) กับสัญญาณ analog out ที่เป็นสัญญาณแชนเนลขวา (Right = ขั้วสีแดง)


สรุป

จะเห็นว่า ถ้าทีวีของคุณเป็นทีวีที่ซื้อมานานเกิน 8 ปีแล้ว (ก่อนปี 2009) กรณีนี้ ถ้าต้องการซื้อลำโพงซาวนด์บาร์มาอัพเกรดเสียงจากทีวีของคุณ คุณก็ “ไม่จำเป็น” ต้องเลือกซื้อลำโพงซาวนด์บาร์ที่มีขั้วต่อ HDMI ก็ได้ เพราะทีวีรุ่นเก่ามากๆ จะไม่มีขั้วต่อ HDMI มาให้ คุณจึงไม่สามารถใช้งานขั้วต่อ HDMI ของลำโพงซาวนด์บาร์ตัวนั้นได้ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องของยี่ห้อแต่อย่างใด แต่เป็นเพราะว่าทีวีของคุณไม่สามารถปล่อยสัญญาณเสียงออกมาทางช่อง HDMI ต่างหาก

วิธีที่ถูกต้องซึ่งจะช่วยประหยัดเงินของเราได้มาก ก็คือเลือกซื้อลำโพง Soundbar รุ่นที่มีขั้วต่อ Coaxial หรือ Optical หรือ analog input ที่ตรงกับเอ๊าต์พุตของทีวีที่เรามีอยู่ก็เพียงพอแล้ว ซึ่งคุณจะได้คุณภาพเสียงออกมาดีที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้แล้ว  /

*******************************

* ลำโพงซาวนด์บาร์ที่แนะนำ

สำหรับทีวีที่ “ไม่มี” ช่อง HDMI ARC : Sony รุ่น HT-MT300 (อ่านรีวิว)

สำหรับทีวีที่ “มี” ช่อง HDMI ARC : Sony รุ่น HT-MT500 (ดูสินค้า)

*******************************