แนวคิดในการจัดการศึกษาของไทย

                     การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ต้องเริ่มที่การมีส่วนร่วม การเรียนรู้จากการมีส่วนร่วมทำให้เกิดพลังชุมชน พลังชุมชนทำให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทำให้เกิดสังคมเรียนรู้ สังคมเรียนรู้ทำให้คนในสังคมเกิดสันติสุขและสันติภาพ (พระศุภกร ธมฺมสาโร; ๒๕๕๐)

หมายถึง การดำเนินการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรในภาคการศึกษาทุกระดับ น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในชีวิตประจำวันและการปฏิบัติภารกิจ

  • ความท้าทายในการบริหารการจัดการศึกษา อยู่ที่การยกระดับของการศึกษาที่เป็นการสร้างสรรค์การตอบสนองความต้องการที่ไม่ใช่เป็นการทำลายทรัพยากร หรือก่อให้เกิดมลภาวะเพิ่มมากขึ้น แต่จะต้องบริหารจัดการการศึกษาให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า และสร้างสรรค์อนาคตที่ดีให้กับการดำเนินชีวิตของคนรุ่นอนาคต ซึ่งจะต้องจัดการให้มีการปฏิรูป หลักสูตรของการศึกษาทุกระดับในการช่วยให้เกิดการสร้างผลผลิตและรูปแบบการบริโภคอย่างยั่งยืน
  • แนวพระราชดำริที่เกี่ยวกับการพัฒนาการเกษตรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงให้ความหมายของการพัฒนากับคณะเยาวชนจังหวัดปทุมธานี
  • เมื่อวันที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ ว่า

    “…พัฒนา ก็หมายถึง ทำให้มั่นคง ทำให้ก้าวหน้า การพัฒนาประเทศก็ทำให้บ้านเมืองมันคงมีความเจริญ ความหมายของการพัฒนาประเทศนี้ก็เท่ากับตั้งใจที่จะทำให้ชีวิตของ แต่ละคนมีความปลอดภัย มี ความเจริญ มีความสุข…”

                ความหมายของคำว่า “ความเจริญ” พระเจ้าอยู่หัวพระราชทานคำอธิบายไว้ใน พระบรมราโชวาทพระราชทานแก่บัณฑิตมหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวนัที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๐  โดยนัยแห่งพระบรมราโชวาทนี้ คำว่าความเจริญที่เป็นผลสรุปรวม ต้องประกอบทั้งความเจริญทาง วัตถุ และความเจริญทางจิตใจ มิอาจแยกจากกัน และต้องเป็นเอกภาพกัน

    กล่าวสรุปคือ การพัฒนาบ้านเมืองให้มั่นคงมีความเจริญต้องพัฒนา “คน” ให้ถึงพร้อมทั้งด้านวิชาการ และ ศิลปะ ศีลธรรมจรรยา โดยมี “ความสุข ความ พอใจของทุกคน” เป็นจุดมุ่งหมาย

    1. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการนำไปใช้

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ ปรัชญาชี้ถึงแนวทางการดำรงชีวิต และปฏิบัติตนของประชาชนทุกระดับตั้งแต่ครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับรัฐทั้งในการดำรงชีวิตประจำวัน การพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวหน้าต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก

    การดำเนินชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ ประมาท โดยคำนึงถึงหลักการ 3 ประการ ดังนี้

    1. ความพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล 3. การสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว

    โดยการดำเนินงานเศรษฐกิจพอเพียงที่ดีจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข ความรู้ และคุณธรรม ตลอดจนต้องเป็นคนดี มีความอดทน พากเพียร

    2.1 การปฏิบัติตนตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

    เราสามารถมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงโดยร่วมปฏิบัติในสิ่งง่าย ดังนี้

    1. ยึดหลักประหยัด ตัดทอนค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นในทุกด้าน ลด ละ ความฟุ่มเฟือยในการดำรงชีวิต
    2. ประกอบอาชีพด้วยความถูกต้อง สุจริต แม้จะตกอยู่ในภาวะขาดแคลนในการดำรงชีพ
    3. ละเลิกการแก่งแย่งผลประโยชน์ที่รุนแรงและไม่ถูกต้อง
    4. ไม่หยุดนิ่งที่จะหาทางให้ชีวิตหลุดพ้นจากความทุกข์ โดยขวนขวายหาความรู้ ให้เกิดรายได้เพิ่มพูน จนถึงขั้นพอเพียง
    5. ปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี ลดละสิ่งชั่วร้ายให้หมดสิ้นไป

    2.2 การดำเนินการพัฒนาตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงจักนำไปสู่

    1. การดำรงชีวิตที่สมดุลมีความสุขตามอัตภาพ
    2. การพัฒนาเศรษฐกิจของตนเองและประเทศชาติมั่นคง
    3. การอยู่ร่วมกันในสังคมเกิดวามเอื้ออาทรซึ่งกันและกัน

    “…เศรษฐกิจพอเพียง เป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ถูกตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็ม และลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ำไป…” (พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากวารสารชัยพัฒนา ฉบับประจำเดือนสิงหาคม 2542

    1. พระราชบัญญัติการศึกษาไทย วิสัยทัศน์ประเทศ

    พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คือ บทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่เป็นประจำตามปรกติ เพื่อวางระเบียบบังคับความประพฤติของบุคคลรวมทั้งองค์กรและเจ้าหน้าที่ของรัฐ

    3.1 การศึกษากับการพัฒนาประเทศ

    1) การพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เป็นการพัฒนาการอยู่ร่วมกันของสมาชิกในสังคม เพื่อให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข
    2) การพัฒนาการเมือง เป็นการพัฒนาในเรื่องอำนาจและการใช้อำนาจในการจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าให้กับสมาชิกในสังคม
    3) การพัฒนาเศรษฐกิจ เป็นการพัฒนาเกี่ยวกับผลผลิตและการจำหน่ายสินค้าและบริการ

    3.2 ความสัมพันธ์ระหว่างการศึกษากับสังคม

    1. การศึกษาในฐานะเป็นระบบของสังคม
    2. การศึกษาในฐานะเป็นกระบวนการสังคมประกิต
    3. การศึกษาในฐานะเป็นสถาบนัทางสังคม
    4. การศึกษาเป็นเครื่องมือเปลี่ยนแปลงทางสังคม
    5. สังคมเป็นตัวกำหนดระบบการศึกษา

    4.ปฏิรูปการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

    การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นกระบวนการพื้นฐานในการพัฒนาแบบองค์รวมเพื่อให้ครอบคลุมและสมดุล จำเป็นที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบทุกด้านของสภาพแวดล้อมทางสังคมและเศรษฐกิจทั้ง การเปิดโอกาสให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมในการพัฒนา พิจารณาแบบองค์รวมในแง่ของการมีส่วนร่วม โดยคำนึงถึงการ เชื่อมโยงที่เกิดขึ้นบนความหลากหลายของระบบเศรษฐกิจที่แตกต่างกัน พิจารณาการพัฒนาความสามารถ ในการแข่งขันบนพื้นฐานของทรัพยากรของตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม จำเป็นต้องให้ความสำคัญกับ ความต้องการของทุกฝ่ายซึ่งต้องเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคมและวัฒนธรรม และไม่ส่งผลกระทบในทางลบ ของการพัฒนาในอนาคต

    กระบวนการการพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน ควรดำเนินการภายใต้องค์ประกอบหลัก ต่อไปนี้

    ๏ ความสามารถในการแข่งขันบนพื้นฐานของทรัพยากร และขีดความสามารถของสถาบัน

    ๏ ความสามารถในการตอบสนอง ความต้องการของผู้เรียนและกลุ่มผู้มี ส่วนได้เสีย

    ๏ ความสามารถในการปรับตัวเข้ากับบริบทของท้องถิ่นและเป็นสากล โดยบูรณาการ หลักการของการเรียนรู้ศตวรรษที่ 21 เข้าไปด้วย