แนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ยิ่งสะท้อนวัฒนธรรมเชิงคุณภาพที่สร้างความมั่นใจ เชื่อมั่น และศรัทธาแก่ผู้เรียน ชุมชน ผู้ปกครองและสังคม

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

     เมื่อระหว่างวันที่  ๒๗-๒๘ กันยายน ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าประชุมเชิงปฏิบัติการยกระดับคุณภาพมาตรฐานของสถานศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๗ ณ โรงเรียนเขาสมิงวิทยาคม ฯ จังหวัดตราด โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมได้แก่ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ งานประกันคุณภาพ งานแผนงานหรืองานวัดผล  และหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก ๑ ท่าน จากโรงเรียนในสังกัด สพม.๑๗ (จันทบุรีและตราด) โรงเรียนละ ๒-๔ ท่านตามขนาดโรงเรียน

    สังเกตได้ว่าในรอบสองเดือนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๗ ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบงาน “ประกันคุณภาพการศึกษา” มาแล้วสามครั้ง แสดงให้เห็นว่าสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต ๑๗ ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

  การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง เป็นกระบวนการที่โรงเรียนต้องดำเนินงานตามแนวทางของระบบประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา โดยมีแนวคิดในการดำเนินงาน ๔ แนวคิดหลัก ได้แก่ กระบวนการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด การจัดการความรู้ การสร้างเครือข่ายการเรียนรู้ และการนำผลการประเมินไปใช้ประโยชน์

ซึ่งการการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการเสริมให้โรงเรียนพัฒนาไปตามวงจรคุณภาพ PDCA

    วันนี้ขออนุญาตชวนเขียน ชวนคิด ชวนแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ๑ แนวคิด คือ กระบวนการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด

    กระบวนการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด เป็นกระบวนการนำข้อมูลสารสนเทศต่าง ๆ ที่โรงเรียนมีอยู่มาใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทั้งในด้านการบริหารจัดการ การจัดการเรียนการสอน หรือด้านอื่น ๆ โดยข้อมูลสารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากผลการประเมินจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษา

โดยมีขั้นตอนการนำข้อมูลไปใช้อย่างชาญฉลาด แบ่งได้เป็น 3 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 คือ การจัดเตรียมข้อมูล เป็นระยะที่สถานศึกษาจัดทำข้อมูลพื้นฐานด้านต่าง ๆ สำหรับใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

ระยะที่ 2 การสืบเสาะเพื่อวางแผนการใช้ข้อมูล เป็นระยะที่สถานศึกษาต้องกำหนด ออกแบบ หาแนวทาง และแบบแผน เพื่อนำข้อมูลไปใช้ ทั้งในด้านการบริหารจัดการ หรือการจัดการเรียนการสอน

ระยะที่ 3 การลงมือปฏิบัติงาน เป็นระยะที่สถานศึกษาลงมือปฏิบัติงานตามแนวทางและแบบแผนที่กำหนดไว้ข้างต้น

ขั้นตอนการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาดเพื่อการจัดการเรียนรู้ของครู

 ระยะที่ 1 การเตรียมการข้อมูล

          ขั้นที่ 1 การวางระบบการทำงานที่ใช้หลักการร่วมมือรวมพลัง

          การวางระบบการทำงานที่ใช้หลักการร่วมมือรวมพลัง เป็นขั้นตอนที่บุคลากรของสถานศึกษาทุกฝ่ายได้ร่วมกันทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลด้านคุณภาพของผู้เรียน ซึ่งอาจใช้วิธีการสนทนาพูดคุย อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลด้านต่างๆ

          ผู้บริหารสถานศึกษาถือเป็น ต้องเป็นผู้นำในการพูดคุย อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลและผลการประเมินของผู้เรียนร่วมกับบุคลากรทุกคน ต้องมีการสร้างวัฒนธรรมการใช้ข้อมูล  และสร้างวัฒนธรรมของการสืบเสาะแสวงหาความรู้ เพื่อให้บุคลากรเกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องในสถานศึกษา โดยบุคลากรทุกคนต้องมีความตระหนัก รับรู้ และเห็นคุณค่าของการปฏิบัติงานร่วมกัน

          ขั้นที่ 2 การพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการประเมินให้กับครู

          ผู้บริหารต้องมีการพัฒนาครูให้มีความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านการประเมิน หากครูมีความรู้ความสามารถและทักษะทางด้านการประเมิน ก็จะทำให้ผลการประเมินที่ได้มามีความตรง ถูกต้อง และสามารถสะท้อนความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี

ระยะที่ 2 การสืบเสาะเพื่อวางแผนการใช้ข้อมูล

          ขั้นที่ 3 การจัดทำข้อมูลภาพรวมทั่วไปของผู้เรียน

          เป็นขั้นตอนที่มีการนำข้อมูลซึ่งเป็นผลการประเมินจากแหล่งต่าง ๆ ทั้งผลการประเมินภายในสถานศึกษาและภายนอกสถานศึกษา มาสรุปและจัดทำเป็นข้อมูลภาพรวมของผู้เรียน

          ขั้นที่ 4 การวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพผู้เรียนอย่างลึกซึ้ง

          หลังจากมีการพูดคุย อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อมูลภาพรวมทั่วไปของผู้เรียนแล้ว ครูต้องมีวิธีการเพื่อระบุถึงลักษณะของปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนภายใต้ข้อมูลผลการประเมินอย่างรอบด้าน รวมทั้งระบุสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้น

          ขั้นที่ 5 การตรวจสอบการจัดการเรียนการสอนของครู

          การตรวจสอบการจัดการเรียนการสอนของครู เพื่อจะได้นำข้อมูลไปสู่การวางแผนและออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้มีความเหมาะสมกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน และสอดคล้องกับคุณลักษณะของผู้เรียนที่ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป

         ผู้บริหารควรมีการสนับสนุน ส่งเสริม และช่วยเหลือครูให้มีทักษะด้านการสำรวจตรวจสอบการจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการต่าง ๆ

 ระยะที่ 3 การลงมือปฏิบัติงาน

          ขั้นที่ 6 การพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ / แผนปฏิบัติงานของครู

          หลังจากที่ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนและมีการตรวจสอบการจัดการเรียนการเรียนการสอนของครูแล้ว ขั้นตอนต่อมา คือ การตัดสินใจกำหนดกลยุทธ์การเรียนการสอน เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียน และนำไปสู่แผนปฏิบัติการประจำปีของสถานศึกษา

ขั้นที่ 7 การวางแผนเพื่อประเมินความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของผู้เรียน

          เป็นขั้นตอนที่ครูจะต้องออกแบบเพื่อตรวจสอบว่าการจัดการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนบรรลุตามเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่

          ขั้นที่ 8 การปฏิบัติและการประเมินผล

          เป็นขั้นตอนที่ครูทุกคนได้ลงมือจัดการเรียนการสอนตามแผนที่กำหนดไว้ และมีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน ในขั้นตอนนี้ ผู้บริหารสถานศึกษามีการตรวจสอบหรือประเมินผลการปฏิบัติงานของครู โดยใช้ข้อคำถาม จำนวน 4 ข้อ เป็นแนวทางในการตรวจสอบหรือประเมินการปฏิบัติการสอนของครู ดังนี้

(1) ครูทุกคนได้ดำเนินการในเรื่องเดียวกันหรือไม่

(2) ครูทุกคนปฏิบัติการสอนตามที่กำหนดไว้ว่าจะดำเนินการหรือไม่

(3) ผู้เรียนได้เรียนรู้เพิ่มขึ้นหรือไม่

(4) สถานศึกษาของเราจะดำเนินการอะไรต่อไปข้างหน้า

          กระบวนการนำแผนสู่การปฏิบัติในขั้นตอนนี้ถือเป็นการตรวจสอบว่ากลยุทธ์การสอนหรือกระบวนการจัดการเรียนการสอนของครูนำไปสู่การพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนได้หรือไม่อย่างไร

ศึกษาเอกสารประกอบเพิ่มเติมได้ทีนี่

แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

ขอบคุณผู้อ่านทุกท่านที่เข้ามาร่วมเรียนรู้ และแบ่งปันครับ...

แนวคิดการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

การพัฒนาคุณภาพการศึกษาคืออะไร

ดังนั้น ค าว่า การพัฒนาคุณภาพ การศึกษา หมายความถึง กระกบวนการพัฒนา การศึกษาเข้าสู่คุณภาพที่สอดคล้องกับมาตรฐาน การศึกษาของชาติ โดยมีการก าหนดมาตรฐาน การศึกษา การจัดระบบและโครงสร้างการ วางแผน และการด าเนินตามแผน รวมทั้งการ สร้างจิตส านึกให้เห็นว่า การพัฒนาคุณภาพ การศึกษาจะต้องด าเนินการอย่างต่อเนื่อง และ เป็นความ ...

แนวคิดใดในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

การศึกษาอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วย ๔ แนวคิด คือ กระบวนการพัฒนา โดยการใช้ข้อมูลอย่างชาญฉลาด (Data Wise Improvement Process) การจัดการความรู้ (Knowledge Management) การสร้างเครือข่าย การเรียนรู้ (Networking) และการนําผลการประเมิน ไปใช้ประโยชน์ (Evaluation Utilization) พร้อมทั้งยกกรณีตัวอย่างสําหรับให้สถานศึกษา

งานพัฒนาคุณภาพการศึกษามีอะไรบ้าง

๑. งานบริหารงานกลุ่มสาระการเรียนรู้ และกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ๒. งานวัดผล ประเมินผล และเทียบโอนผลการ เรียนรู้ ๓. งานทะเบียนนักเรียนและสํามะโนนักเรียน ๔. งานพัฒนาแหล่งเรียนรู้ ๕. ศูนย์คอมพิวเตอร์ ๖. งานการรับนักเรียน ๗. งานแนะแนวการศึกษา ๘. งานพัฒนาหลักสูตรโรงเรียน ๙. งานวิจัยพัฒนาคุณภาพการศึกษา ๑๐. งานจัดทําตารางสอน ๑๑. ...

ทำไมจึงต้องมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษา

1. ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลคุณภาพการศึกษาที่เชื่อถือได้ เกิดความเชื่อมั่นและสามารถตัดสินใจเลือกใช้บริการที่มีคุณภาพมาตรฐาน 2. ป้องกันการจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ ซึ่งจะเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและเกิดความเสมอภาคในโอกาสที่จะได้รับการบริการการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึง