งานวิจัยเชิงคุณภาพ ฉบับสมบูรณ์

       พอจะมองเห็นแนวทางการเขียนรายงานวิจัยเชิงคุณภาพออกหรือยังค่ะ  อาจจะไม่ยากหรือไม่ง่ายกว่าการเขียนรายงานวิจัยเชิงปริมาณ  หากท่านผู้อ่านได้ทำงานวิจัยประเภทใดก็ควรศึกษาการเขียนรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ของการวิจัยในประเภทนั้นให้ถูกต้อง  เพื่องานวิจัยของเราจะได้ออกมาอย่างมีคุณภาพค่ะ  ยังคงเหลือการเขียนรายงานวิจัยอีกหนึ่งประเภท คือ การเขียนรายงานวิจัยเชิงผสมผสาน  ไว้ติดตามตอนต่อไปนะค่ะ

อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา โปรดติดต่อหน่วยบริการด้านเงินตราต่างประเทศของธนาคารเพื่อตรวจสอบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราก่อนทำธุรกรรม

การซื้อขายเงินสกุล MYR หรือ IDR ที่ไม่ใช่ธนบัตร จะอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์การชำระเงินสกุลท้องถิ่นระหว่างประเทศ ซึ่งกำหนดโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารกลางของเงินสกุลดังกล่าว

ข้าพเจ้าได้ทราบวัตถุประสงค์และรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคาร ตลอดจนสิทธิของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลตามที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) และหนังสือขอความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้ และเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของธนาคารแล้ว ก่อนการตกลงผูกพันด้านท้ายนี้ และข้าพเจ้าขอรับรองต่อธนาคารว่า (1) ข้าพเจ้าได้แจ้งรายละเอียดตามหนังสือแจ้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ของธนาคาร ซึ่งเป็นเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้าพเจ้าได้ให้ข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลนั้นไว้แก่ธนาคารตลอดมาทราบแล้ว และบุคคลดังกล่าวได้รับทราบรายละเอียดตามหนังสือแจ้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ของธนาคารแล้ว และ (2) ข้าพเจ้ามีสิทธิโดยชอบด้วยกฎหมายในการเปิดเผยข้อมูลใดๆ ของบุคคลอื่น ซึ่งข้าพเจ้าได้ให้ไว้แก่ธนาคาร


ข้าพเจ้ายอมรับและตกลงว่า ธนาคารมีสิทธิเก็บรวบรวม และใช้ ข้อมูลส่วนบุคคลที่ข้าพเจ้าได้ให้ไว้แก่ธนาคารข้างต้น หรือที่ธนาคารจะได้รับหรือเข้าถึงได้จากแหล่งอื่น ตลอดจนมีสิทธิส่ง โอน หรือเปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้แก่พันธมิตรทางธุรกิจของธนาคาร ผู้ให้บริการภายนอก ตัวแทนของธนาคาร หรือบุคคลใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจของธนาคาร ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ตามที่กำหนดไว้ในหนังสือแจ้งการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Privacy Notice) ของธนาคาร ซึ่งรวมถึงการดำเนินการให้เป็นไปตามคำขอของข้าพเจ้าหรือที่เกี่ยวเนื่องกับคำขอของข้าพเจ้า หรือให้เป็นไปตามสัญญาหรือข้อตกลงที่ทำขึ้นระหว่างธนาคารหรือบุคคลอื่น การแจ้ง ติดต่อ ตรวจสอบ หรือตอบข้อซักถามหรือข้อร้องเรียนใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับคำขอของข้าพเจ้า และการดำเนินการต่างๆ ตามที่กฎหมาย กฎเกณฑ์ คำสั่ง หรือระเบียบวิธีปฏิบัติที่หน่วยงานราชการ หรือหน่วยงานกำกับดูแลกำหนด ตลอดจนการใช้สิทธิเรียกร้อง หรือการบังคับสิทธิตามกฎหมาย

การวิจัยเชิงคุณภาพ - Presentation Transcript

  1. การวิจัยเชิงคุณภาพ ( Qualitative research )
  2. การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นการวิจัยที่แสวงหาความจริงในสภาพที่เป็นอยู่ โดยธรรมชาติ ( Naturalistic inquiry ) ซึ่งเป็นการสอบสวน มองภาพรวมทุกมิติ ( Holistic perspective ) ด้วยตัวผู้วิจัยเอง เพื่อหาความสัมพันธ์ของปรากฏการณ์ที่สนใจกับสภาพแวดล้อมนั้น โดยให้ความสำคัญกับข้อมูลที่เป็นความรู้สึกนึกคิด คุณค่าของมนุษย์ และความหมายที่มนุษย์ให้ต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆรอบตัว เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความสร้างข้อมูลสรุปแบบอุปนัย ( Inductive analysis ) ความหมายของการวิจัยเชิงคุณภาพ
  3. เพื่อเข้าใจบริบทของสังคมอันเป็นแนวคิดพื้นฐานที่เห็นได้ชัดเจนในงานวิจัย ซึ่งต้องการศึกษาชุมชน หรือสังคมอย่างรอบด้านทุกแง่ทุกมุมในการศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูล จะมีการเก็บข้อมูลทางด้านสภาพแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง การปกครอง ความเชื่อ พิธีกรรม ฯลฯ
    • 1. มีความต้องการข้อมูลที่รอบด้าน ( Holistic )
    ลักษณะและกระบวนการ
  4. แต่ปรากฏการณ์ทางสังคมบางประการไม่สามารถอธิบายด้วยเหตุผลธรรมดาทั่วไปได้ นักวิจัยจึงพยายามทำความเข้าใจเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี วัฒนธรรม เพื่อนำมาอธิบายปรากฏการณ์ในสังคม
    • 2. มีวัตถุประสงค์ที่จะอธิบายปรากฏการณ์ทางสังคม ( Contextual )
  5. การศึกษาระบบความคิดนี้มาสามารถศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลเพียงครั้งเดียว หรือโดยการใช้แบบสอบถาม เพราะผู้วิจัยต้องซักถามผู้ตอบอย่างละเอียดถี่ถ้วน ให้เข้าใจจริงๆ ว่าการสื่อความหมายระหว่างผู้ถามกับผู้ตอบตรงกัน ข้อมูลที่ได้จะต้องเป็นข้อมูลที่สะท้อนความคิดของผู้ตอบโดยตรง
    • 3. ต้องการเข้าใจระบบความคิด ระบบความเชื่อ และตรรกะของผู้ที่อยู่ในชุมชน หรือสังคม
    • 4. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคม และปรากฏการณ์ในสังคม
    การศึกษาเครือญาติ หรือระบบความสัมพันธ์อื่นๆ ช่วยอธิบายปรากฏการณ์บางอย่างได้ดี ความสัมพันธ์เชิงเครือญาติช่วยอธิบายถึงสาเหตุของปรากฏการณ์ งานวิจัยเชิงคุณภาพเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกในสังคมจะช่วยให้การวิเคราะห์มีความลึกซึ้งมากขึ้น
  6. เป็นอีกลักษณะซึ่งจำเป็นต้องใช้วิธีการวิจัยเพื่อให้สามารถค้นพบคำตอบเกี่ยวกับสาเหตุความเป็นมา และความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ ในลักษณะที่ชี้ให้เห็นความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันขั้นตอนของการเกี่ยวข้อง ช่วงเวลาของการเกี่ยวข้องจะเกิดเป็นกระบวนการศึกษา กระบวนการเปลี่ยนแปลง เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าการศึกษาเชิงมนุษย์วิทยาจะช่วยให้คำตอบในการอธิบายปรากฏการณ์
    • 5. การศึกษากระบวนการติดตามระยะยาว เจาะลึก
  7. การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลบุคคลที่เลือกสรรแล้วว่าเป็นผู้ที่รู้เรื่องนั้นๆดี ( Key informant ) วิธีการเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ถามเฉพาะคนในเรื่องที่คนอื่นไม่รู้ ถือได้ว่าเป็นเทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพที่มีลักษณะเด่น
    • 6. การเก็บรวบรวมข้อมูลที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลบุคคลที่เลือกสรร
  8. วิธีตีความจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่ เช่นการพยายามเข้าใจวิถีชีวิตของผู้หญิงชนบทอีสาน จากข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งทอที่มีอยู่ การวิเคราะห์สิ่งทอรูปแบบต่างๆ และการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทอผ้าของผู้หญิงชนบท ช่วยให้นักวิจัยสามารถอธิบายได้ว่ากระบวนการรวบรวมเลี้ยงดูลูกสาวของคนอีสานสะท้อนให้เห็นเป็นรูปธรรมในเรื่องของการทอผ้าได้อย่างไร
    • 7. วิธีตีความจากข้อมูลที่มีอยู่เพื่อเข้าใจความหมายที่ซ่อนอยู่
  9. ปัญหาการวิจัย การวางแผนการวิจัย - สมมุติฐานการวิจัย - รูปแบบการวิจัย - เครื่องมือ - การเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล การทบทวนวรรณ กรรมงานวิจัยที่ เกี่ยวข้อง สรุปผลข้อมูล ทบ . ที่เกี่ยวกับ องค์ความรู้ปัจจุบัน ขยายความรู้ องค์ความรู้ใหม่
  10. การเก็บรวบรวมข้อมูลของการวิจัยเชิงคุณภาพ
    • ในการเก็บข้อมูลการวิจัยเชิงคุณภาพนั้น ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ที่จะทำให้ผลการวิจัยออกมาเป็นที่ยอมรับคือ การเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งมีวิธีหลักอยู่ 3 วิธี คือ การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารการสังเกต และการสัมภาษณ์
  11. 1. การเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร
    • เป็นการรวบรวมขั้นแรกเมื่อเริ่มทำการวิจัย โดยนักวิจัยจะต้องศึกษาผลงานที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียด เพื่อนำมาประกอบการวิจัย การศึกษาเอกสารจะช่วยในการกำหนดประเด็นและตัวแปรที่จะศึกษา กำหนดแนวคิดนำ รวมทั้งนำมาใช้ในการวิเคราะห์ ถ้าไม่ทำการศึกษาจากเอกสาร
  12. 2. การสังเกต ( Observation)
    • 1. การสังเกตแบบไม่ได้มีส่วนร่วม ( non-participant observation)
    • 2. การสังเกตแบบมีส่วนร่วม ( participant observation)
    เป็นเทคนิคที่มีประโยชน์มากในการวิจัยเชิงคุณภาพ การสังเกต มี 2 แบบคือ
    • ในการวิจัยเชิงคุณภาพ จะเป็นการสัมภาษณ์ชนิดเจาะลึกแบบไม่เป็นทางการ ในการสัมภาษณ์นั้น ควรสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ( key informant) ซึ่งเป็นผู้ที่รู้เรื่องที่จะศึกษาดี
    3. การสัมภาษณ์
  13. เทคนิคการวิจัยเชิงคุณภาพ
    • การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามในการวิจัยเชิงคุณภาพ นอกจากจะใช้วิธีการสังเกตและสัมภาษณ์แล้ว ยังมีวิธีอื่น ๆ ที่ประยุกต์มาจากวิธีสังเกตและสัมภาษณ์ เช่น เทคนิค Life History Collection และเทคนิค Focus Group Discussions
  14. Life History Collection
    • เป็นเทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงคุณภาพที่พัฒนามาจากการสัมภาษณ์ การทำ Life History Collection แตกต่างจากการทำอัตชีวประวัติที่จะเล่าไปอย่างอิสระตามเวลา ตามลำดับเหตุการณ์ แต่จะมีประเด็นที่น่าสนใจในแต่ละกรณีศึกษา ที่ศึกษาแล้วเราก็เข้าไปสัมภาษณ์พูดคุยในเรื่องต่าง ๆ เข้าไปศึกษาหลาย ๆ กรณีศึกษา ยิ่งมากยิ่งดี ถ้าเวลาน้อยจะศึกษาโดยเลือกจาก key informant ซึ่งจะมีกี่คนก็ได้ การให้เขาเล่านั้นในรอบแรกจะให้เขาเล่าให้ฟัง นักวิจัยจะฟังอย่างเดียว เมื่อผ่านไปประมาณครึ่งชั่วโมงจึงค่อยตะล่อมเข้าเรื่อง และประเด็นที่ต้องการ ( โดยสัมภาษณ์และใช้วิธีบันทึกเทปไว้ ) แล้วเอาสิ่งที่บันทึกไว้ทั้งหมด มาสรุปเป็นประเด็นที่สำคัญ บรรยากาศของการใช้เทคนิคนี้ต้องไม่เป็นทางการมากที่สุด เป็นธรรมชาติมากที่สุด
  15. Focus Group Discussions
    • เป็นเทคนิคซึ่งประยุกต์มาจากการสัมภาษณ์ ที่นิยมนำมาใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ มักเป็นการสัมภาษณ์ในประเด็นเกี่ยวพันกับข้อเท็จจริงหรือเรื่องทั่ว ๆ ไป จุดประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกิดการอภิปรายขนาดของกลุ่มมักจะมีประมาณ 5-6 คน เพราะถ้ากลุ่มเล็กเกินไป จะไม่สามารถกระตุ้นให้เกิดการอภิปราย แต่ถ้ากลุ่มใหญ่เกินไปก็อาจจะกระทำได้ไม่ทั่วถึง ประเด็นที่อภิปรายจึงมักมีจำนวนไม่มากเกินไป ผู้ดำเนินการ ( moderator) จะมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้คนในกลุ่มพูดในประเด็นที่กำหนด ข้อสำคัญคือ กลุ่มที่เราเลือกทำ Focus Group Discusions ควรทราบเรื่องนั้นจริง ๆ สถานภาพของสมาชิกในกลุ่มน่าจะใกล้เคียงกัน ผู้ดำเนินการควรปล่อยให้กลุ่มสรุปประเด็นออกมา
  16. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
    • ตัวนักวิจัย เป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยการพูดคุย โดยการสัมภาษณ์ สังเกต และปฏิบัติตนเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่ครอบคลุม และชื่อถือได้
    เอกสารหลักฐาน และสถิติต่างๆของโรงเรียน และอำเภอ เช่นระเบียนสะสม ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนและชุมชน แบบสอบถาม เพื่อใช้ติดตามผู้สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนกรณีศึกษา เครื่องบันทึกเสียง
  17. ข้อดี ข้อด้อย ของการวิจัยเชิงคุณภาพ
    • ข้อดี การวิจัยเชิงคุณภาพมีข้อดี
    1. ช่วยให้เข้าใจปรากฏการณ์สังคมอย่างลึกซึ้ง และได้พบข้อเท็จจริงใหม่ๆ 2. ใช้ในการทำวิจัยที่ให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ 3. ใช้ในการบันทึกกระบวนการ ( Process evaluation ) 4. ใช้ในการทำวิจัยเรื่องที่เกี่ยวกับนามธรรม และใช้การวิจัยและพัฒนา 5. เหมาะสำหรับการวิจัยในสังคมที่มีผู้ไม่รู้หนังสือ หรือสื่อสารกันคนละภาษา 6. ใช้ผลการวิจัยประกอบการตัดสินใจและวางแผนได้ดี
  18. ข้อด้อย การวิจัยเชิงคุณภาพมีข้อด้อย 1. ไม่เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่ 2. มีความยืดหยุ่นในการดำเนินการวิจัย หากนักวิจัยไม่มีประสบการณ์เพียงพอ อาจมีปัญหาในเรื่องความน่าเชื่อถือ ( reliability ) ของการใช้เครื่องมือ และความถูกต้องตรงประเด็นของการศึกษา ( Validity ) 3. การเลือกตัวอย่างในการศึกษาแบบเจาะจงทำให้มีข้อจำกัดในการนำผลการศึกษาไปใช้ในวงกว้าง ( generalization ) 4. เป็นการวิจัยที่มีกระบวนการดำเนินการที่จะเป็น อัตวิสัย 5. ไม่เหมาะสำหรับใช้ทดสอบสมมติฐาน หรือทดสอบแนวทฤษฏี
  19. การวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริม และปัจจัยที่เป็นอุปสรรคของการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนประถมศึกษา : กรณีศึกษาโรงเรียนวัดถนอำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง
    • เรื่องที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
    • ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
    • วิธีการเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
    • ปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน
    • ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค์ในการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน
    • เรื่องที่ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
    • ผู้ที่เข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
    • วิธีการเข้ามามีส่วนร่วมกับโรงเรียน
    • ปัจจัยส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน
    • ปัจจัยที่เป็นอุปสรรค์ในการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียน
    จุดมุ่งหมาย
      • 6.1 ปัจจัยเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในด้านเศรษฐกิจ จากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ด้านการเมืองการปกครอง มีนำท้องถิ่นมีความสำพันธ์กับโรงเรียนน้อย และด้านสังคมวัฒนธรรมจากความเชื่อที่ว่า ทำบุญกับวัดจึงจะได้บุญ จึงไม่ทำกับโรเรียน
      • 6.2 ปัจจัยเกี่ยวกับชุมชนได้แก่ประชาชนที่เข้ามาอยู่อาศัยใหม่ไม่ผูกพันกับชุมชน และโรงเรียน
      • 6.2 ปัจจัยเกี่ยวกับโรงเรียนด้านบุคลากร ผู้บริหารขัดแย้งกับชุมชน และ บุคลากรในโรงเรียน ผู้บริหารปละครูประพฤติตนไม่เหมาะสม ครูดูแลนักเรียนไม่ทั่วถึง และด้านอื่นๆ
  20. ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือโรงเรียนประถมศึกษาโรงเรียนวัดถนน อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  สมุดบันทึกภาคสนาม  กล้องถ่ายรูป  เครื่องคอมพิวเตอร์
    • เทคนิคในการเก็บรวบรวมข้อมูล
    • การเข้าสู่สนามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล
    • ขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
    • ระยะแรก เป็นการเตรียมตัวก่อนเข้าสู่สนามเก็บข้อมูล ผ้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลพื้นฐานทั่วไปของชุมชนและโรงเรียน จากเอกสารต่างๆ
    • ระยะที่สอง เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานที่เป็นบริบทของชุมชน และโรงเรียนโดยผู้วิจัยใช้เวลาประมาณ 4 เดือน โดยเริ่มจากการเดินสำรวจชุมชน ร่วมทั้งการสังเกต และการเข้าร่วมกิจกรรมกับชุมชน
    • ระยะที่สาม เป็นกรเก็บรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของชุมชนกับโรงเรียนเป็นการศึกษาเชิงลึกด้วยวิธีการต่างๆได้แก่ การศึกษาเอกสาร การสัมภาษณ์บุคคลที่เกี่ยวข้องเป็นต้น
  21. 3. ผู้ให้ข่าวสารสำคัญ ( key informants ) การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยเจาะจงเก็บข้อมูลข่าวสารสำคัญ จากกลุ่มบุคคลจำนวน 10 กลุ่ม ได้แก่
      • 3.1 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
      • 3.3 ผู้นำและนักการเมืองท้องถิ่น
      • 3.4 กลุ่มอาชีพและผู้ประกอบการในชุมชน
      • 3.7 หน่วยราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ
  22. วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
    • การศึกษาเอกสาร ( Documentary study )
    • การสังเกต ( Observation )
    • การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทาการ
    • การสนทนากลุ่ม ( Focus group discussion )
  23. การตรวจสอบข้อมูล
    • การให้บุคคลอยู่ในปรากฏการณ์ ได้ตรวจสอบและรับข้อมูลที่ถูกต้องของข้อมูล
    • การตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า ( Triangulation )
    • การตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีการจำแนกข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน
    • การตรวจสอบความเที่ยงตรงของข้อมูล
    • การตรวจสอบความเชื่อมั่นของข้อมูล
  24. การวิเคราะห์ข้อมูล
    • มีขั้นตอนการวิเคราะห์ดังนี้
    • นำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้มาเก็บให้เป็นระบบระเบียบ
    • จัดหมวดหมู ความหมายของข้อมูล
    • วิเคราะห์และสรุปรวบรวมความหมาย