Cmcf บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด มหาชน

Cmcf บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด มหาชน

Working hours

Claim to edit

Business Representatives

Loading...

Similar Businesses (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

*MatchLink provides data and other business services. We are not an intermediary to contact the company you are currently viewing.

เผยแพร่: 23 ก.ย. 2564 16:45   ปรับปรุง: 23 ก.ย. 2564 16:45   โดย: ผู้จัดการออนไลน์


ผู้จัดการรายวัน 360 - CMCF โชว์ศักยภาพผู้ผลิตอาหารทะเลแปรรูปครบวงจรรายใหญ่ของไทย มุ่งพัฒนาและผลิตอาหารด้วยนวัตกรรมและมีความปลอดภัยให้แก่สังคมโลก วางกลยุทธ์ขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มประสิทธิภาพด้านการผลิตช่วยลดการเพิ่มแรงงาน รุกขยายสินค้าอาหารสำเร็จรูป ล่าสุดอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเสนอขายหุ้น IPO

นายสมนึก โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท โชติวัฒน์อุตสาหกรรมการผลิต จำกัด (มหาชน) หรือ CMCF เปิดเผยว่า บริษัทฯ วางกลยุทธ์การเติบโต โดยจะเน้นขยายฐานลูกค้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปที่อยู่ในเกรดพรีเมียม ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นและมีการเติบโตสูง มีมาร์จิ้นไม่ต่ำกว่า 6% และขยายตลาดผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปที่ใช้วัตถุดิบจากการประมงอย่างยั่งยืนซึ่งมีแนวโน้มเติบโตขึ้น ส่วนกลุ่มธุรกิจทูน่าก็ยังคงดำเนินต่อเนื่อง


รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตเพื่อลดการเพิ่มแรงงานในอนาคต และ LSS ในอินโดนีเซียมีแผนที่จะผลิตและจำหน่ายปลาทูน่าแปรรูปถุงสุญญากาศและผลิตภัณฑ์อื่นๆ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและลดของเหลือจากกระบวนการผลิต โดยนำผลพลอยได้ในกระบวนการแปรรูปปลาทูน่ามาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต เพิ่มรายได้และอัตรากำไรขั้นต้นที่ดีขึ้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นจากการผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้แบรนด์ของบริษัทฯ ได้แก่ ‘เอ็มโปร’ ผลิตภัณฑ์อาหารเหลวที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ เจาะกลุ่มผู้ดูแลสุขภาพและผู้สูงวัย เริ่มจำหน่ายแก่โรงพยาบาลในปี 2563 ที่ผ่านมา และ ‘อีซี่ ควิก’ ผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปผลิตจากเนื้อสัตว์ ผัก และธัญพืชพร้อมรับประทาน เจาะกลุ่มลูกค้าองค์กรเพื่อให้บริการหรือจัดงานต่างๆ

ปัจจุบันสัดส่วนรายได้มาจาก สินค้าแวลูแอด 70%, จากเพ็ตฟูด 20% และอื่นๆ 10% แต่ในอนาคตสัดส่วนเพ็ตฟูดจะเพิ่ม 30% เนื่องจากแนวโน้มตลาดดี มีผู้สูงวัยมากขึ้น ทำให้มีการเลี้ยงสัตว์เป็นเพื่อนมากขึ้นส่งผลดีต่อตลาดอาหารสัตว์เลี้ยงพรีเมียมด้วย

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้ยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ (Filing) ต่อสำนักงาน ก.ล.ต.เพื่อขออนุมัติเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนแก่ประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 187,500,000 หุ้น หรือคิดเป็นร้อยละ 30.0 ของจำนวนหุ้นที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมดของบริษัทฯ ภายหลังการเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนในครั้งนี้ ประกอบด้วย หุ้นสามัญเพิ่มทุนที่เสนอขายโดยบริษัทฯ จำนวนไม่เกิน 125,000,000 หุ้น และหุ้นสามัญเดิมที่เสนอขายโดย CH Group Capital Limited จำนวนไม่เกิน 62,500,000 หุ้น ปัจจุบันได้รับการอนุมัติแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมในการเสนอขายหุ้น IPO


“ก่อนเข้าตลาดหุ้นเรามีหนี้สินต่อทุนเท่ากับ 1 ส่วนเงินที่ระดมทุนได้จะใช้ขยายกิจการต่อเนื่อง และชำระหนี้สินระยะส้้นด้วย อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้ลงทุนไปมากแล้ว โดยเฉพาะด้านกำลังการผลิตที่ยังมีกำลังผลิตเพียงพอ ทำให้ระยะสั้นนี้ไม่ต้องลงทุนอะไรมาก” นายสมนึกกล่าว

ปี 2563 บริษัทฯ ได้ขยายฐานการผลิตในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นแหล่งจับปลาทูน่าขนาดใหญ่ของโลกและเป็นแหล่งการประมงอย่างยั่งยืน (Sustainable Fishing) ที่สำคัญของโลก โดยเข้าถือหุ้น 49% ใน PT Lautindo Synergy Sejahtera หรือ LSS ซึ่งประกอบธุรกิจแปรรูปและจำหน่ายปลาทูน่าตัดแต่งแช่แข็ง มีกำลังการผลิต 12,700 ตันน้ำหนักสุทธิ (Net Weight) ต่อปี เพื่อนำมาใช้เป็นผลิตภัณฑ์ตั้งต้นในการผลิตปลาทูน่าแปรรูปของบริษัทฯ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการจัดหาปลาและความเสี่ยงจากการขาดแคลนแรงงานและต้นทุนแรงงานต่ำกว่าในไทย 50% รวมถึงรองรับแผนงานรุกขยายตลาดในภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ตอนนี้ใช้กำลังผลิตเพียง 20-30% เท่านั้น

ส่วนในไทยมีโรงงานผลิต 2 แห่ง ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา คือ โรงงานผลิตอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสุญญากาศ อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูปและผลิตภัณฑ์อื่นๆ มีกำลังผลิตกว่า 87,400 ตันต่อปี ขณะนี้ใช้เพียง 50% เท่านั้น และโรงงานผลิตปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทย่อย มีกำลังผลิต 14,000 ตันต่อปี ใช้เพียง 40% เท่านั้น


นายสมบูรณ์ โชติวัฒนะพันธุ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน กล่าวว่า ปัจจุบันเราเป็นผู้ผลิตและแปรรูปปลาทูน่าแบบครบวงจรรายใหญ่ของประเทศ มีกำลังการผลิตรวม 87,900 ตันน้ำหนักสุทธิต่อปี และมีความหลากหลายด้วยต้นทุนการผลิตต่อหน่วยต่ำ

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการพัฒนากระบวนการผลิตสินค้าภายในโรงงาน จนได้รับการรับรองมาตรฐานระดับสากลต่างๆ และให้ความสำคัญด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญต่อเรื่องดังกล่าว จึงเกิดเทรนด์การบริโภคอาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสุญญากาศที่ใช้วัตถุดิบจากการทำประมงอย่างยั่งยืน การทำประมงที่รับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นปัจจัยสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมแปรรูปปลาทูน่า โดย Grand View Research องค์กรด้านการวิจัยระดับโลกประเมินว่าในปี 2562 อุตสาหกรรมปลาทูน่าแปรรูปทั่วโลกมียอดขายรวม 11,721 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเพิ่มขึ้นเป็น 17,331.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2570 หรือเติบโตเฉลี่ย 5% ต่อปี

บริษัทฯ แบ่งธุรกิจหลักเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปบรรจุกระป๋องและถุงสุญญากาศ ซึ่งเป็นสัดส่วนรายได้หลักกว่า 80% ของรายได้จากการขายรวม ประกอบด้วย ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ พร้อมรับประทาน (Standard Product) และผลิตภัณฑ์อาหารทะเลแปรรูปจากปลาทูน่าและปลาทะเลอื่นๆ แบบปรุงรสชาติพร้อมรับประทาน (Value-Added Product) 2. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์เลี้ยงสำเร็จรูป (Pet Food) 3. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์อื่นๆ และ 4. ธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์พลอยได้จากการแปรรูปอาหารทะเล (By Product) ได้แก่ ปลาป่นเพื่อเป็นอาหารปศุสัตว์