Cleaner technology หมายถึง

   เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาดเป็นหลักการป้องกันมลพิษ (Pollution Prevention) ที่ใช้หลักการลดของเสียเหลือน้อยที่สุด (Waste Minimization) โดยวิธีการแยกสารมลพิษที่เกิดจากกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน ซึ่งประกอบด้วยการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือการเปลี่ยนวัตถุดิบที่ทำให้เกิดผลพลอยได้ที่ไม่เป็นอันตราย รวมทั้งการลดปริมาณและความเข้มข้นขององค์ประกอบในของเสียด้วยการนำไปใช้ซ้ำ (Reuse) หรือการนำกลับไปใช้ใหม่ (Recycle) จนไม่สามารถนำของเสียไปใช้ประโยชน์ได้แล้ว ก็จะนำไปบำบัดให้ถูกต้องตามหลักวิชาการต่อไป โดยมีการดำเนินการอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นอกจากนี้ในการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้นั้นยังต้องประกอบด้วยทัศนคติที่ดีและการร่วมมือกันอย่างเต็มที่จากบุคคลากรทุกฝ่ายอีกด้วย

   ในปัจจุบัน ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น จึงได้มีการนำเทคโนโลยีสะอาด (CLEAN TECHNOLOGY) หรือมีชื่ออื่นๆ ที่มีความหมายใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกันอีกคือ การป้องกันมลพิษ (POLLUTION PREVENTION) หรือ P2) การผลิตที่สะอาด (CLEANER PRODUCTION หรือ CP) และการลดของเสีย ให้น้อยที่สุด (WASTE MINIMIZATION) มาใช้ ซึ่งทั้งหมดเป็นการป้องกัน ของเสียที่แหล่งกำเนิด แทนการควบคุมบำบัด และจัดของเสียแบบเดิม ที่เมื่อเปรียบเทียบแล้ว ค่าใช้จ่ายสูงกว่า การใช้เทคโนโลยีสะอาด จะเป็นวิธีการ นำไปสู่มาตรฐาน การจัดการสิ่งแวดล้อม ISO14000 ซึ่งเป็นที่ยอมรับ ในวงการค้า ในโลกปัจจุบันด้วย
      เทคโนโลยีสะอาด (Clean Technology : CT) หมายถึง การพัฒนา ปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตหรือผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้การใช้วัตถุดิบ พลังงาน และทรัพยากรธรรมชาติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ก่อให้เกิดผลกระทบ ความเสี่ยงต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ โดยการลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด และมีของเสียเกิดขึ้นน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย ด้วยการเปลี่ยนวัตถุดิบ การใช้ซ้ำและการนำกลับมาใช้ใหม่ ซึ่งเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและลดต้นทุนการผลิตควบคู่กันไป

   ความหมายโดยสรุปของ "เทคโนโลยีสะอาด" ก็คือ กลยุทธ์ในการปรับปรุง ผลิตภัณฑ์ บริการ และกระบวนการ อย่างต่อเนื่อง เพื่อจัดการทรัพยากร อย่างมีประสิทธิภาพ ให้เปลี่ยนเป็นของเสีย น้อยที่สุดหรือไม่มีเลย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิด จึงเป็นทั้งการรักษาสิ่งแวดล้อม และการลดค่าใช้จ่าย ในการผลิตไปพร้อม ๆ กันด้วย สำหรับประเทศไทย การนำเทคโนโลยีสะอาด มาใช้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ

1. เป็นการเสริมสร้าง ความสามารถ ในการแข่งขัน ในตลาดโลก เนื่องจากความได้เปรียบ ด้านต้นทุนและแรงงาน ของอุตสาหกรรมไทยมีน้อยลง 

2. เป็นการพัฒนาขีดความสามารถ และประสิทธิภาพ ของการประกอบธุรกิจ เพื่อการพัฒนาแบบยั่งยืน ให้สอดคล้องกับ แผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8

เทคโนโลยีสะอาดไม่ได้เจาะจงใช้เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมเท่านั้น เรายังสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสะอาดที่บ้าน โรงเรียน หรือในชุมชนของเราได้อีกด้วย โดยยึดหลักการและแนวคิดของเทคโนโลยีสะอาดเป็นสำคัญ ตัวอย่างของการประยุกต์หลักการของเทคโนโลยีสะอาดมาใช้ ได้แก่ การลดหรือเลิกใช้ยาฆ่าแมลง/ปุ๋ยที่ผลิตจากสารเคมี แล้วหันมาใช้ยาฆ่าแมลง/ปุ๋ยที่ทำขึ้นเองหรือใช้วิธีธรรมชาติบำบัด การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในการตากผ้าแทนการใช้เครื่องอบผ้า เป็นต้น

นอกจากนั้น เรายังสามารถประยุกต์หลักการนำกลับมาใช้ซ้ำ (Reuse) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) มาใช้ในชีวิตประจำวันได้อีกด้วย เช่น

– การนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ เมื่อเอกสารบางอย่างที่พิมพ์หน้าเดียวไม่ได้ใช้ต่อแล้ว เราสามารถนำมาใช้อีกด้านหนึ่งได้

– การประดิษฐ์ของใช้หรือเครื่องประดับจากวัสดุเหลือทิ้ง เช่น กล่องนม กระป๋องน้ำอัดลม กล่องใส่ไข่ แกนกระดาษทิชชู เป็นต้น

– ล้างถุง ถ้วย หรือจานพลาสติกที่ใช้แล้วเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ

– นำของที่เราไม่ใช้แล้วไปบริจาค แทนที่จะเอาไปทิ้ง

– เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุ Recycle

– เก็บรวบรวมและแยกขยะต่างๆ ที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น แก้ว พลาสติก เหล็ก อลูมิเนียม ผ้า ฯลฯ เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปจัดการนำขยะเหล่านั้นไปผ่านกระบวนการต่างๆ ที่เหมาะสม ก่อนจะใช้วัสดุ Recycle ในกระบวนการผลิตอื่นๆ ต่อไป

1.มีสุขภาพกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจากสารพิษต่างๆ เพราะมีสารพิษที่ปล่อยสู่ธรรมชาติและตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์น้อยลง สุขภาพจิตก็ดีด้วย

2.เทคโนโลยีสะอาดทำให้เราได้ใช้สินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้น

3.มีสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่ และคุณภาพชีวิตดีขี้น เช่น แม่น้ำลำคลองจะสะอาดขึ้นและมีขยะลดน้อยลง

4.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล

5.มีความภาคภูมิใจในผลงานที่มีส่วนทำให้เกิดสิ่งดีๆ ขึ้นในสังคม

1.มีความสมานสามัคคีกันระหว่างข้านน ชุมชนและโรงงานดีขึ้นเพราะเข้าใจปัญหา และร่วมกันหาหนทางแก้ไข

2.ทำให้เกิดสังคมที่หน่าอยู่ มีทรัพยากรธรรมชาติเหลือให้ใช้อย่างเพียงพอ เพราะมีการจัดสรรและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น มีการนำเอาของเสียกลับมาใช้ใหม่ เป็นต้น

1.ช่วยทำให้เกิดการประหยัดการใช้น้ำ วัตถุดิบ พลังงาน และลดการเกิดมลพิษ โดยกระบวนการนำกลับมาใช้ใหม่และใช้ซ้ำ

2.การปรับปรุงสภาพการทำงาน เทคโนโลยีสะอาดจะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากคนงานมีสุขอนามัยดีขึ้น และลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุต่างๆ

3.การปรับปรุงคุณภาพสินค้า คุณภาพของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญของผู้ผลิตภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากต้องแข่งขันในระดับสากล การลดมลพิษ ณ แหล่งกำเนิดทำให้คุณภาพสินค้าดีขึ้น

4.การเพิ่มประสิทธิภาพและกำไรการประหยัดวัตถุดิบและพลังงานนำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต ซึ่งเป็นการเพิ่มกำไร และขีดความสามารถในการแข่งขัน

5.เทคโนโลยีสะอาด ทำให้โรงงานเกิดของเสียน้อยลง ง่ายต่อการจัดการและยังปฏิบัติได้ตามมาตรฐานกฎหมายบ้านเมือง

6.การลดต้นทุนการบำบัดเสีย การลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดทำให้มลพิษมีปริมาณลดลง ซึ่งจะมีผลทำให้ต้นทุนการบำบัดของเสียลดลงด้วย

7.การมีภาพพจน์ที่ดีต่อสาธารณชน เทคโนโลยีสะอาดทำให้โรงงานหรือสถานประกอบการสะอาด และทำให้เป็นเพื่อนบ้านที่ดีกับชุมชนรอบข้าง

8.เทคโนโลยีสะอาดจะลดจำนวนมลพิษจากอุตสาหกรรมลง และเป็นการลดการสะสมตัวของความเป็นพิษต่างๆ ในสิ่งแวดล้อม

เทคโนโลยีสะอาดมีวิธีการปฏิบัติอย่างไร

หลักการคิดของเทคโนโลยีสะอาดคือเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การใช้ทรัพยากร และลด การเกิดมลพิษต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม คือการลดมลพิษที่แหล่งก าเนิดเพื่อขจัดปัญหาการสูญเสีย และการเกิดมลพิษที่ต้นตอ และหากยังมีของเสียเกิดขึ้น ต้องพยายามน าของเสียเหล่านั้นกลับมาใช้ ซ ้า (Reuse) หรือน ากลับมาใช้ใหม่โดยผ่านกระบวนการ (Recycle & ...

ข้อใดเป็นประโยชน์ของเทคโนโลยีสะอาด

ประโยชน์ต่อตัวเราเอง 1. มีสุขภาพกายที่แข็งแรง ปลอดภัยจากการได้รับสารพิษต่างๆ ที่ปล่อยสู่ธรรมชาติและ ตกค้างอยู่ในผลิตภัณฑ์ 2. เทคโนโลยีสะอาดท าให้ได้ใช้สินค้าอุตสาหกรรมที่มีคุณภาพสูงขึ้น 3. มีสภาพแวดล้อม ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตดีขี้น เช่น คุณภาพน้าในแม่น้าล าคลอง จะสะอาดขึ้นและมีขยะลดน้อยลง

เทคโนโลยีสายคลีน มีอะไรบ้าง

หนึ่ง : พลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy).
สอง : อาคารคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Construction).
สาม : ยานยนต์ทางเลือก (Alternative Mobility).
สี่ : เทคโนโลยี Clean Tech เพื่อดักจับคาร์บอน รวมทั้งการใช้และจัดเก็บ (Carbon Capture, Use & Storage).
ห้า : การจัดการขยะให้นำกลับใช้ใหม่ (Circular Waste Management).

ขั้นตอนของเทคโนโลยีสะอาดมีกี่ขั้นตอน

เทคโนโลยีการผลิตที่สะอาด มีวิธีดำเนินงานแบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ วิธีลดมลพิษที่แหล่งกำเนิดและวิธีการนำกลับมาใช้ใหม่หรือการใช้ซ้ำ