การจำแนกและจัดทำรายละเอียดในระดับตัวอาชีพ occupation ของแต่ละประเทศจะแตกต่างกันไปตามข้อใด

มาตรฐานอาชีพ


            กรรมการจัดหางานได้รับประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) ฉบับปีที่ 2544 โดยการสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูลลักษณะงานอาชีพจาสถานประกอบการต่าง ๆ เพื่อนำไปวิเคราะห์ กำหนดนิยามอาชีพและกำหนดรหัสอาชีพ โดยใช้หลักเกณฑ์และโครงการตามอย่างการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ  เพื่อความเป็นสากลและสามารถเปรียบเทียบหรือแรกเปลี่ยนข้อมูลด้านอาชีพกับนานาประเทศได้  และเพื่อประโยชน์โดยตรงของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบริหารแรงงานรวมถึงงานจัดหางาน  งานแนะแนวอาชีพและงานคุ้มครองแรงงานหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ สามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เป็นฐานข้อมูลในการจัดเก็บสถิติเกี่ยวกับแรงงานด้านต่าง ๆ เพื่อนำผลไปใช้ในการวางแผนด้านต่าง ๆ เช่น การวางแผนกำลังคน  การศึกษา การฝึกอบรม  และการกำหนดค่าจ้าง

 การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) 2544

            การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) เดิมเป็นหน้าที่ของกมแรงงาน  กระทรวงมหาดไทยไดเผยแพร่ครั้งแรกเมื่อ  พ.ศ. 2512 โดยใช้หลักเกณฑ์การจัดแบ่งหมวดหมู่ และกำหนดรหัสตามการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล (International  Standard  Classification  of  Occupations: ISCO) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International  Labour Oganization: ILO)  เพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บสถิติด้านแรงงานและเปรียบเทียบข้อมูลกับนานาประเทศได้อย่างเป็นสากล
            ปัจจุบันการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ(ประเทศไทย) เป็นหน้าที่ของกระทรวงแรงงานโดยกรมการจัดหางานเป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินการจัดทำข้อมูลและกำหนดรหัสหมวดหมู่อาชีพตามหลักเกณฑ์เดียวกับการจัดประเภทมาตรฐานสากล



วัตถุประสงค์ของการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ(ประเทศไทย)2544

1.เพื่อปรับปรุงอาชีพของประเทศไทยให้ถูกต้องและสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  ให้สอดคล้องกับการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลที่ได้มีการปรับปรุงใหม่
2.เพื่อหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และบุคคลทั่วไปมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับข้อมูลอาชีพ และสะดวกแก่การนำไปใช้ประโยชน์
3.เพื่อเพิ่มประสิทธิผลของการจัดของการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอาชีพ
4.เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลอาชีพของประเทศไทย

ประโยชน์ของการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย) 2544
            การจัดประเภทอาชีพเพื่อให้หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องอาชีพ และเพื่อการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับการบริหารงานด้านแรงงาน เช่น การกำหนดค่าจ้าง การแนะแนวอาชีพ ฝึกอบรม การจ้างงานรวมถึงการวิเคราะห์ การเจ็บป่วยหรือเสียชีวิต ที่เกิดขึ้นจากอาชีพการที่มีระบบฐานข้อมูลเดียวกันสามารถจะนำข้อมูลสถิติไปอ้างอิงและเปรียบเทียบได้ทั้งในระดับหน่วยงานและระดับประเทศ

กรอบแนวคิดมาตรฐานอาชีพ
            งาน (job)  หมายถึง ภารกิจ (task) หรือหน้าที่ (duties) ที่ปฏิบัติงานหลายงาน  ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันรวมกันเข้าเป็นอาชีพ
            อาชีพ ในที่นี้หมายถึง งานซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งปฏิบัติอยู่ ไม่หมายถึงอุตสาหกรรม กิจการ สถานะการทำงาน หรือประสบการณ์ในกาทำงานของผู้ปฏิบัติงาน

โครงสร้างการจัดประเภทอาชีพ
            มีการจักแบ่งโครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ(ประเทศไทย)โดยใช้หลักเกณฑ์ เช่นเดียวกับการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากล ปี 2531 (International  Standard  Classification  of  Occupations1988 : ISCO) โดยแบ่งออกเป็นหมวดใหญ่ (major) หมวดย่อย (sub major)  หมู่ (group) และหน่วย  (unit) เท่านั้น ในระดับตัวอาชีพ (Occupation) จะเป็นหน้าที่ของแต่ละประเทศในการ พิจารณาจำแนกและจัดทำรายละเอียดอาชีพซึ่งแตกต่างไปตามโครงสร้างเศรษฐกิจและการตลาดแรงงาน

            หลักการใช้เลขรหัส
                        ในระหว่างการดำเนินการจัดประเภทมาตรฐาน (ประเทศไทย) ได้มีผู้เชี่ยวชาญจากองค์กรการแรงงานระหว่างประเทศ คือ Mr. Edwin  Hoffman  ซึ่งเป็นผู้ที่ร่วมดำเนินการปรับปรุงและจัดการทำข้อมูลการจัดประเภทมาตรฐานอาชีพสากลมาให้ความรู้และอธิบายถึงหลักเกณฑ์โครงสร้างการจัดประเภทมาตรฐาน  อาชีพสากล และได้เน้นย้ำให้ประเทศสมาชิกที่นำ ISCO ไปปรับปรุงกำหนดเลขรหัสตั้งแต่ระดับหมวดใหญ่ ถึงหน่วย เป็นเลขรหัสเดียวกับสากล โดยแต่ละประเทศสามารถเพิ่มเลขรหัสตั้งแต่ระดับหน่วยย่อยถึงหมู่ได้แต่ต้องไม่เป็นเลขรหัสที่ซ้ำกัน

หลักการใช้ชื่ออาชีพ
                        สำหรับชื่อของกลุ่มอาชีพตั้งแต่ระดับหมวดใหญ่ถึงหน่วยอาชีพนั้นจะใช้ตมอย่างมาตรฐานสากล คือหมวดใหญ่ ให้ชื่อที่แสดงให้เห็นถึงลักษณะงาน ซึ่งบุคคลนั้นทำอยู่  เช่น งานจัดการ งาน ที่ต้องใช้วิชาการ  งานบริการ งานเสมียน พนักงานหรือด้านการเกษตรหรืออุตสาหกรรม ฯลฯ

หลักการเขียนนิยามอาชีพ
                        นิยามอาชีพของกลุ่มอาชีพในระดับหมวดใหญ่ หมวดย่อย หมู่และหน่วยนั้น ส่วนใหญ่เป็นนิยามอาชีพที่คัดลอกจากนิยามอาชีพสากล โดยผ่านการพิจารณาและปรับให้เข้ากับสภาพข้อเท็จจริงของประเทศซึ่งนิยามแต่ละกลุ่มจะแสดงถึงความหมายของหน้าที่และลักษณะงานของกลุ่มอาชีพนั้น