เครื่องดนตรี วงแชมเบอร์มิวสิค

ประเภทของวงดนตรีสากล แบ่งได้เป็น 8 ประเภทใหญ่

1.วงแชมเบอร์มิวสิค (Chamber  Music) หมายถึงวงดนตรีประเภทบรรเลงด้วย
เครื่องดนตรีที่เหมาะสำหรับแสดงภายในห้องโถง ที่จุผู้ฟังได้เพียงจำนวนน้อย
จำนวนผู้บรรเลง      2    คน       เรียกว่า    ดูโอ  (Duo)
จำนวนผู้บรรเลง      3    คน       เรียกว่า    ตริโอ  (Trio)
จำนวนผู้บรรเลง      4    คน       เรียกว่า    ควอเตท (Quartet)
จำนวนผู้บรรเลง      5    คน       เรียกว่า    ควินเตท (Quintet)
จำนวนผู้บรรเลง      6    คน       เรียกว่า    เซกซ์เตท (Sextet)
จำนวนผู้บรรเลง      7    คน       เรียกว่า    เซปเตท (Septet)
จำนวนผู้บรรเลง      8    คน       เรียกว่า    ออกเตท (Octet)
จำนวนผู้บรรเลง      9    คน       เรียกว่า    โนเนท (Nonet)

การเรียกชื่อจะต้องบอกชนิดของเครื่องและจำนวนของผู้เล่นเสมอ เช่น
สตริงควอเตท (String Quartet)  มี   ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา 1 คัน แล ะเชลโล 1 คัน
สตริงควินเตท (String Quintet)  มี ไวโอลิน 2 คัน วิโอลา1คัน เชลโล 1 คันและดับเบิลเบส 1คัน
วูดวินควินเตท(Wood -Wind Quintet)ประกอบด้วย เครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมไม้ 5คน
ได้แก่ฟลุ๊ต ปี่โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน และเ ฟรนซ์ฮอร์น
แชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน
แชมเบอร์มิวสิคยังไม่จำกัดประเภทของเครื่องดนตรี แต่ตระกูลไวโอลินจะเหมาะที่สุด เพราะเสียงของเครื่องดนตรีตระกูลนี้กลมกลืนกัน
ในดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำไรน์และได้รับการปรับปรุงอีกครั้งในสมัยของไฮเดินและก็เจริญมาเป็นลำดับ

2.วงซิมโฟนี  ออร์เคสตร้า ( Symphony  Orchestra) วงประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ประกอบด้วย
เครื่องดนตรีครบทุกกลุ่ม  ขนาดของวงมีขนาดเล็ก 40-60 คนขนาดกลาง 60-80 คนและวงใหญ่  80-110 คน
หรือมากกว่านั้น ขนาดของวงจะใหญ่หรือเล็กขึ้นอยู่กับเครื่องสายเป็นหลัก และ ผู้เล่นต้องมีฝีมือดี
รวมถึงวาทยากร(conductor)ก็ต้องมีความสามารถอย่างยอดเยี่ยม
ถ้าใช้เฉพาะเครื่องสายของวง Symphony  Orchestra ก็เรียกว่า String Orchestra

3.วงป๊อปปูลามิวสิค (Popular  Music) หรือวงดนตรีลีลาศ ใช้บรรเลงตามงานรื่นเริงทั่วไป

4.วงคอมโบ (Combo  band) หรือสตริงคอมโบ เป็นวงที่เอาเครื่องดนตรีบางส่วนมาจาก  Popular  Music
อีกทั้งลักษณะของเพลงและสไตล์การเล่นก็เหมือนกัน  จำนวนเครื่องดนตรีส่วนมากอยู่ระหว่างประมาณ  3 –10 ชิ้น

5. วงชาร์โด (Shadow) เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณ  20 ปีมานี่เองในอเมริกา
วงดนตรีประเภทนี้ที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือคณะThe Beattle หรือสี่เต่าทอง

6. วงดนตรีแจ๊๊ส  เป็นวงดนตรีขนาดเล็ก ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าเป็นหลัก
เกิดขึ้นครั้งแรกที่เมือง นิวออร์ลีน ประเทศสหรัฐอเมริกา
ลักษณการบรรเลง จะใช้ครื่องดนตรีแต่ละชนิดบรรเลงโต้ตอบกันโดยมีทำนองสั้นๆ
Blues Jazz เพลงบลูส์ เป็นเพลงเก่าแก่ของ แจ๊๊ส มาจากเพลงสวดอันโหยหวลของพวกนิโกร เพลงบลูส์มีอายุร่วม100 ปี
Swing  แบบนี้กู๊ดแมน เป็นผู้ให้กำเนิดจังหวะนี้  เมื่อก่อนกู๊ดแมนเล่นคลาริเน็ทกับพวกผิวดำ
ต่อมาได้แยกออกมาเล่นกับพวกผิวขาวด้วยกัน
และเขาได้แต่งเพลงใหม่ขึ้น และได้ให้ชื่อเพลงใหม่นี้ว่า Swing
Rock n’ Roll  ก็แตกแขนงจาก แจ๊๊ส เมื่อราว พ.ศ. 2493  ได้รับความนิยมสูงสุดในหมู่วัยรุ่นและแพร่หลายอย่างรวดเร็วในอเมริกา
ผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นราชาเพลงร๊อคก็คือ  เอลวิส  เพรสลี่ (เสียชีวิตเมื่อ ส.ค. 2520)

7.วงโยธวาทิต  (Military  Band) ประกอบด้วยเครื่องเป่าครบทุกกลุ่ม  คือ  เครื่องลมไม้
เครื่องทองเหลืองและกลุ่มเครื่องกระทบ  ได้แก่เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะทั้งหลาย
วงโยธวาทิตมีมาตั้งแต่สมัยโรมันใช้บรรเลงเพลงเดินแถวเพื่อปลุกใจทหารในสมัยสงครามครูเสด

8.แตรวง  (Brass  Band) คือวงที่ประกอบด้วยเครื่องดนตรีประเภทเครื่องทองเหลืองและเครื่องกระทบ
แตรวงเหมาะสำหรับใช้บรรเลงกลางแจ้ง การแห่ต่างๆ เช่น ในประเทศไทยใช้แห่นาค  แห่เทียนพรรษา  เป็นต้น

เครื่องดนตรี วงแชมเบอร์มิวสิค

 

Advertisement

Share this:

  • Twitter
  • Facebook

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

เชมเบอร์มิวสิก


                            เชมเบอร์มิวสิกเป็นการบรรเลงเพลงโดยวงเล็กๆ จึงมีความแตกต่างจากออร์เคสตร้าโดยสิ้นเชิงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกมุ่งไปสู่ความเด่นชัดของสีสันของเครื่องดนตรีสำหรับวงเล็ก ๆ ประเภททริโอ ควอเทท ควินเทท จนถึงวงประเภท ๗-๘ คนเท่านั้น ดังนั้นความเด่นชัดของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจึงเป็นเอกลักษณะเฉพาะของเพลงประเภทนี้ นอกจากนั้น การประสานความสัมพันธ์ในการบรรเลงเพลงจนเป็นหนึ่งเดียวกันก็เป็นเสน่ห์ที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสกับดนตรีประเภทเชมเบอร์มิวสิก เพราะแต่ละวงจะมีการการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกต้องการความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังเพลงคลาสสิกประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเพลงประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ย่อมไม่สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกของดนตรีได้อย่างเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า เช่น ความมีพลัง สีสัน หรือเสียงของ วงประสานเสียงที่ร้องไปกับวงออร์เคสตร้า ทำให้รู้สึกยิ่งใหญ่ มโหฬาร แต่สิ่งที่จะได้รับจากเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก จะเป็นในลักษณะลักษณะของเสียงดนตรีที่แท้จริง ในด้านคุณภาพของการเล่น เพราะถ้ามี ผู้เล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ฉะนั้น การบรรเลงประเภทนี้ ผู้บรรเลงต้องมีความถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างกระจ่างแจ่มชัดแจ้งจริง ๆ นอกจากนี้ ความเป็นหนึ่งในการบรรเลงเพลงซึ่งเป็นความหมายของคำว่า Ensemble คือ ความพร้อมเพียงของผู้บรรเลง เป็นสิ่งที่การบรรเลงเพลงประเภทนี้ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เฉพาะความถูกต้องในการบรรเลงของแต่ละคนเท่านั้น ความถูกต้อง ความเป็นหนึ่งของทั้งวง ย่อมจะต้องมีอยู่อย่างครบครัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้จาการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก ซึ่งต่างไปจากเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าโดยปกติการผสมวงแบบเชมเบอร์มิวสิก จะมีนักดนตรีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป จนถึง ๙ คน และวงดนตรีจะมีชื่อต่าง ๆ ตามจำนวนของผู้บรรเลง เช่น
ผู้บรรเลง ๒ คน เรียก ดูโอ (Duo) เช่น เล่น Violin กับ Piano ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๓ คน เรียก ทริโอ(Trio) เช่น เล่น Piano ๓ หลัง หรือ Piano ๒ กับ Flute ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๔ คน เรียกว่า ควอเทท (Quartet) เช่น String Quartet ประกอบด้วยไวโอลิน ๒ คัน
วิโอลา ๑ คัน และ เชลโล ๑ คัน
ผู้บรรเลง ๕ คน เรียกว่า ควินเทท (Quintet) เช่น บทบรรเลง Quintet For two Pianos, Cello and Violin, etc.
ผู้บรรเลง ๖ คน เรียกว่า เซ็กเทท (Sextet)
ผู้บรรเลง ๗ คน เรียกว่า เซ็พเทท (Septet)
ผู้บรรเลง ๘ คน เรียกว่า อ็อคเทท (Octet)
ผู้บรรเลง ๙ คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)


สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกซ้อมกันอย่างดี จนบรรเลงร่วมกันอย่างรู้ใจ คล้ายกับเป็นเครื่องดนตรีเพียงเครื่องเดียวที่มีความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกจึงอยู่ที่ความเด่นชัด ยอดเยี่ยมของผู้บรรเลงซึ่งนำเสนอจากโสตศิลป์ อันเป็นการสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลง แม้ความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ เช่นวงออร์เคสตร้า จะหาไม่ได้จากวงเชมเบอร์มิวสิก แต่ความเด่นชัดเฉพาะตัวของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง กลับเป็นความงดงามที่เชมเบอร์มิวสิก สามารถให้กับผู้ชมได้อย่างเต็มเปี่ยมการสอดประสานสัมพันธ์ และการบรรเลงเป็นผู้นำสอดสลับรับกันไปของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องในวงเชมเบอร์มิวสิกเป็นความสวยงามอีกประการหนึ่งที่ผู้ฟังเพลงประเภทนี้จะได้รับ ส่วนในการฟังเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทสตริงควอเททมิได้นำเสนอสีสันที่แตกต่างมากนักเพราะเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง คือเครื่องสาย ลีลาของเพลง จังหวะ ท่วงทำนองเทคนิคของการบรรเลง และองค์ประกอบดนตรีอื่น ๆเป็นความเฉพาะตัว และเป็นสุนทรีย์ของสตริงควอเททสำหรับวงประเภทอื่นๆ ที่มีดนตรีประเภทอื่นเข้ามาผสม เช่น
เปียโนควินเทท คลาริเนทควินเทท เปียโนทริโอ เป็นต้น ย่อมให้สีสันเพิ่มขึ้นผู้ฟังจึงสามารถสรรเลือกฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกที่หลากหลายได้ส่วนวงดนตรีประเภท เชมเบอร์ออร์เคสตร้า ที่มักจะมีเฉพาะเครื่องสายเท่านั้น ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส และมีผู้บรรเลงประมาณ ๑๖-๒๐ คน เป็นเชมเบอร์มิวสิกอีกประเภทหนึ่งที่น่าฟัง เพราะจะมีความมีพลังของออร์เคสตร้าปรากฏอยู่ แม้จะไม่มากเท่ากับวงออร์เคสตร้าโดยตรง ขณะเดียวกันก็มีความเด่นชัดของเครื่องดนตรีบ้าง แม้จะเทียบกับวงเชมเบอร์มิวสิกวงเล็ก ๆไม่ได้ แต่เป็นความลงตัวที่อยู่ระหว่างเพลงทั้งสองประเภท จึงมีความน่าสนใจและมีสุนทรีย์ในตัวเองอย่างเด่นชัดเช่นกันความเข้าใจในองค์ประกอบของดนตรี และความเข้าใจในเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทวงเล็ก ๆ เป็นรากฐานสำคัญในการฟังเพลงประเภทนี้ให้เข้าถึงสุนทรีย์และความซาบซึ้ง ผู้ประสงค์จะฟังเพลงประเภทนี้ จึงควรศึกษาหาความรู้เรื่องเชมเบอร์มิวสิกมากพอสมควรในระยะเริ่มต้นของการฟัง เพื่อพัฒนาการรับรู้ของตนเองให้เข้าถึงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกอย่างถ่องแท้ต่อไป


เครื่องดนตรีที่ใช้



นิยมใช้บรรเลงที่ห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนักมีชื่อเรียกตามแบบต่างๆกันออกไปจามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้

  1. ดูโอ ( duo ) มีผู้แสดงจำนวน 2 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน นักร้อง 2 คน หรือ กีตาร์ 1 คน กับขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 คน

  2. ทรีโอ ( trio ) มีผู้แสดงจำนวน 3 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน หรือ นักร้องประสานเสียง 3 คน

  3. ควอเต็ต ( quartet ) มีผู้แสดงจำนวน 4 คน เช่น เครื่องสาย 4 ชิ้น คือผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน และ เชลโล 1 คน

  4. ควินเต็ต ( quintet ) มีผู้แสดงจำนวน 5 คน เช่น วงเครื่องเป่าทองเหลือง 5 ชิ้น คือ ผู้เล่นทรัมป็ด 2 คน ฮอร์น 1 คน ทรอมโบน 1 คน ทูบา 1 คน

  5. เซ็กเต็ต ( sextet ) มีผู้แสดงจำนวน 6 คน เช่น นักร้องประสานเสียง 6 คน

  6. เซ็ปเต็ต ( septet ) มีผู้แสดงจำนวน 7 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน วิโอลา ฮอร์น คลาริเน็ต บาสซูน เชลโล และ ดับเบิลเบส อย่างละ 1 คน

  7. อ๊อกเต็ต ( octet ) มีผู้แสดงจำนวน 8 คน เช่น ประกอบด้วยผู้เล่น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น อย่างละ 1 คน

  8. โนเน็ต ( nonet ) มีผู้แสดงจำนวน 9 คน ประกอบด้วย วงสตริงควอเต็ต ( 4 คน ) แล้วเพิ่ม ฟลุท โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น รวมเป็น 9 คน ( เปียโน 1 คน )

เพลงที่ใช้บรรเลงในวงนี้เป็นบทประพันธ์แบบสั้นๆ ต้องการแสดงความโดดเด่น เทคนิคต่างๆ ในการบรรเลงและการประสานเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกัน ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นสำคัญ


แหล่งที่มา http://www.culture.go.th/subculture7/index.php?option=com_content&view=article&id=37:-chamber-music&catid=7:2010-09-01-10-08-02&Itemid=14

                  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วงแชมเบอร์มิวสิคประกอบด้วยเครื่องดนตรีอะไรบ้าง

เครื่องดนตรีที่น ารวมกันเป็นวงแชมเบอร์มิวสิคนั้นที่นิยมแพร่หลายนั้นได้แก่กลุ่มเครื่องสาย ตระกูลไวโอลิน เพราะสุ้มเสียงของเครื่องตระกูลนี้ไม่ว่าจะเป็นไวโอลิน, วิโอลา, และเชลโล ล้วนสามารถกลมกลืนเข้ากันได้เป็นอย่างดี เช่น วงสตริงควอเต็ต ( ไวโอลิน 2 คัน, วิโอลาและเชลโล) ซึ่งถือว่าเป็นวงดนตรีที่ได้รับความนิยมมากที่สุด หรือ ...

วงแชมเบอร์มิวสิคเหมาะสำหรับบรรเลงที่ใด

นิยมใช้บรรเลงที่ห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนักมีชื่อเรียกตามแบบต่าง ๆ กันออกไปตามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้ วงกลุ่มสอง (duo) มีผู้แสดงจำนวน 2 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน นักร้อง 2 คน หรือ กีตาร์ 1 คน กับขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 คน วงกลุ่มสาม (trio) มีผู้แสดงจำนวน 3 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน หรือ นักร้องประสานเสียง 3 คน

วงเชมเบอร์ นิยมบรรเลงเพลงประเภทใด

เพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก เหมาะสำหรับการบรรเลงในบ้านหรือคฤหัสถ์ ในยุคคลาสสิกซึ่งผู้จัดงาน มีแขกพอประมาณ จะจัดให้มีการบรรเลงอันเป็นการแสดงส่วนหนึ่งในงานเลี้ยง เพราะการบรรเลงเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกใช้ผู้บรรเลงไม่กี่คน ซึ่งเหมาะกับการงานมากกว่าการใช้วงออร์เคสตร้าที่ต้องใช้ห้องใหญ่และคนบรรเลงเป็นจำนวนมากเพลงประเภทเชมเบอร์ ...

วงแชมเบอร์ (Chamber Music) ชื่อเรียกว่าวงอะไร

ในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วน ๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้วไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า " วงออร์เคสตราแชมเบอร์มิวสิค" (Chamber Orchestra)